งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดและแนวทางขั้นตอนในการปรับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดและแนวทางขั้นตอนในการปรับ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดและแนวทางขั้นตอนในการปรับ
แผนยุทธศาสตร์จังหวัด โดย ศ.ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่

2 ที่มา สืบเนื่องจากการประชุม ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 49 และ 15 ธ.ค.49
รนม. (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ได้พิจารณาเกี่ยวกับบทบาท ผวจ. และระบบบริหารจังหวัด โดยเห็นว่า ผวจ.ควรมีบทบาทใน 2 มิติ คือ - บทบาทเป็นผู้ประสานงานส่วนภูมิภาค โดยบูรณาการและประสาน ความร่วมมือกับส่วนราชการในภูมิภาค เพื่อจัดให้มีการเชื่อมโยง ประสานงานภายในจังหวัดของตนให้มีการทำงานมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น - บทบาทในฐานะของ ผวจ.โดยบริหารจัดการ ดูแลชุมชนและอปท. ให้เข้มแข็งและแก้ไขปัญหาสังคม รนม. มอบหมายให้ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการทดลองเพื่อให้เกิดความชัดเจนในบทบาท ผวจ.

3 จังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด
สรุปผลการประชุมร่วมเพื่อหารือบทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด (14 พ.ย.49).... ยุทธศาสตร์จังหวัด ปรับยุทธศาสตร์จังหวัดปัจจุบันให้สอดรับกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข 5 ด้าน (สำหรับส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขทั้ง 5 ด้าน (รวมถึงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด) จังหวัดก็สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง ทบวง กรม) เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดโครงการ จังหวัด ประเด็น ยุทธศาสตร์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ ประเด็น ยุทธศาสตร์อื่นๆ สงเคราะห์ เศรษฐกิจ พอเพียง (เน้นเกษตร ทฤษฎีใหม่) ทรัพยากร ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ ชุมชน การให้ บริการ ยุทธศาสตร์ปัจจุบัน ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข

4 องค์ประกอบของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด
การบริการ ประชาชน การสงเคราะห์ ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตภัณฑ์ ชุมชน ทรัพยากร ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม

5 ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด
กลยุทธ์ที่ 1 : การให้ทุนการศึกษา สงเคราะห์ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส (ครอบครัวยากจนต่ำกว่ามาตรฐาน) การจัดทุนการศึกษาแก่เด็กเยาวชน โดยมีเงื่อนไขว่าจบการศึกษาแล้วต้อง มาอยู่ในชุมชน ประเด็นยุทธศาสตร์ : การบริการประชาชน 1.1 การจัดตั้งเคาน์เตอร์ บริการของรัฐ ประเด็นยุทธศาสตร์ : การสงเคราะห์ 1.2 การจัดตั้งศูนย์ บริการร่วมอำเภอยิ้ม (AmphorGovernment Outlet : AGO) กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาบริการประชาชนทั้งที่จังหวัด อำเภอ และหน่วยการปกครองท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 2 : การสงเคราะห์ด้านอาชีพ ระยะสั้นที่เห็นผลทันตาแก่ครอบครัว ยากจนที่อยากออกจากภาคการเกษตร (พัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาด) 1.3 จัดตั้งศูนย์บริการร่วม (Service Link) ประเด็นยุทธศาสตร์ : ผลิตภัณฑ์ชุมชน ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด ประเด็นยุทธศาสตร์ : เศรษฐกิจพอเพียง(เน้นเกษตรทฤษฎีใหม่) 1.1 การให้ความรู้ ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มี ลู่ทางในการตลาด ทั้งตลาดระดับ ภูมิภาค ระดับประเทศ และการส่งออก กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาการเกษตร เป็นไปตามแนวทางเกษตร ทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรที่ ยากจนและยังอยากอยู่ใน ภาคการเกษตร 1.1 ให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง 1.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบบวิจัยและพัฒนา 1.2 อุดหนุนการจัดการ พื้นฐานในระดับไร่นา กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมการสร้างแผนผลิตภัณฑ์ชุมชนในลักษณะ Supply chain และ cluster 1.3 การพัฒนา Branding และ Packaging 1.3 อุดหนุนทุนเพื่อ จัดหาพันธุ์พืช/ พันธุ์สัตว์ กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมให้มีการ พัฒนาเกษตรกรบนพื้นที่สูง 1.4 การส่งเสริมด้านการ ผลิตผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ กลยุทธ์ที่ 1 : สนับสนุน ส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ เพื่ออนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ประด็นยุทธศาสตร์ : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่ 2 : การลดข้อขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชน

6 ประเด็นยุทธศาสตร์ : การสงเคราะห์
กลยุทธ์ที่ 1 การให้ทุนการศึกษาสงเคราะห์ ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส (ครอบครัว ยากจนต่ำกว่ามาตรฐาน) เช่น กรณีที่หัวหน้าครอบครัว (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย) ป่วยหรือพิการไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ ลูกหลานที่เป็นเด็กเยาวชนต้องดูแลโดยลำพัง กลยุทธ์ที่ 2 การสงเคราะห์ด้านอาชีพระยะสั้นที่เห็นผลทันตา เช่น กรณีครอบครัวยากจนที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานในชุมชนนั้นๆ และอยากออกจากภาคการเกษตร (พัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด) - การจัดทุนการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ทั้งการศึกษาภาคบังคับ ภาคสามัญ ภาควิชาชีพ (ช่างเทคนิค ครู พยาบาลฯลฯ) โดยมีเงื่อนไขว่าจบการศึกษาแล้วต้องมาอยู่ในชุมชน

7 ประเด็นยุทธศาสตร์ : เศรษฐกิจพอเพียง (เน้นเกษตรทฤษฎีใหม่)
กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาการเกษตรเป็นไปตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรที่ยากจนและยังอยากอยู่ในภาคการเกษตร กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง 1.1 ให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 อุดหนุนการจัดการ พื้นฐานในระดับไร่นา 1.3 อุดหนุนทุนเพื่อจัดหาพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์

8 ประเด็นยุทธศาสตร์ : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 1 : สนับสนุน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเพื่ออนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น โครงการที่นำผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชดำริมาใช้เป็นประโยชน์ให้กว้างขวางเหมาะสมกับ แต่ละชุมชน เช่น - การแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว โดยวิธีแกล้งดิน - การพัฒนาพื้นที่พุหรือเว็ตแลนด์ - การปลูกหญ้าแฝก - โครงการอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ป่าชายเลน ป่าชุมชน (จุดเน้นคือชุมชนทำได้ด้วนตนเองและใช้กระบวนการชุมชน) กลยุทธ์ที่ 2 : การลดข้อขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น โครงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องนากุ้ง-นาข้าว พื้นที่น้ำเค็ม-น้ำจืด ผลกระทบการเลี้ยงหมูในชุมชน โครงการฟื้นฟูและลดมลพิษทางน้ำและทางอากาศในระดับชุมชน

9 ยุทธศาสตร์ย่อย : ผลิตภัณฑ์ชุมชน
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีลู่ทางในการตลาด ทั้งตลาดระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และการส่งออก เป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม และชุมชนที่มีความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมการสร้างแผน ผลิตภัณฑ์ชุมชนในลักษณะ Supply chain และ cluster 1.1 การให้ความรู้ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด 1.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ วิจัยและพัฒนา 1.3การพัฒนา Branding และ Packaging 1.4 การส่งเสริมด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ

10 ยุทธศาสตร์ย่อย : การบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์ย่อย : การบริการประชาชน กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาบริการประชาชนทั้งที่จังหวัด อำเภอ และหน่วยการปกครองท้องถิ่น 1.1 การจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการของรัฐ เช่น การจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล แอร์พอร์ต พลาซ่า 1.2 การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมอำเภอยิ้ม (Amphor Government Outlet : AGO) เช่น การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมอำเภอยิ้มที่จังหวัดนนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร 1.3 จัดตั้งศูนย์บริการร่วม (Service Link) เช่น ตัวแบบของบริการร่วมด้าน สาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งจัดตั้งที่ อ.เมืองเชียงใหม่ อ.เมืองชลบุรี อ.บางละมุง อ.เมืองนครปฐม และ 4 เขตใน กทม. ตัวแบบด้านบริการร่วมด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ อบต.สุเทพ

11 ประชาชนพึงพอใจการให้บริการ การมีส่วนร่วม/ โปร่งใส
แผนที่ยุทธ์ศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด วิสัยทัศน์จังหวัด : พัฒนาความอยู่ดีมีสุขของประชาชน (ระดับชุมชน และครอบครัว) ในพื้นที่โดยการดำเนินการให้ประชาชน มีสุขภาพอนามัยดี ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำอย่างทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นในสภาพแวดล้อมที่ดี ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ คนไทยอยู่ดีมีสุข รายได้จาก ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวยากจน ในชุมชนลดลง เกษตรกรรายย่อย ในภาคการเกษตร มีความเข้มแข็งขึ้น การมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประชาชนพึงพอใจการให้บริการ ของภาครัฐ การมีส่วนร่วม/ โปร่งใส ความสะดวกสบาย คุณภาพ สนับสนุนและยกระดับ ผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมและพัฒนา เกษตรกรรายย่อย ให้มีความเข้มแข็ง จัดทุนการศึกษา สงเคราะห์ด้าน อาชีพระยะสั้น (Quick Win) ให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อุดหนุนการจัดพื้นฐานระดับไร่นา อุดหนุนทุนเพื่อจัดหาพันธุ์พืช/สัตว์ พัฒนาเกษตรกรบนพื้นที่สูง ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการบริหาร จัดการทรัพยากร ธรรมชาติฯ พัฒนาระบบการให้ บริการภาครัฐ อนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูระดับชุมชน ลดข้อขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร ให้ความรู้ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ แบบวิจัยและพัฒนา พัฒนาBranding และ Packaging ส่งเสริมด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าและการ ขยายโอกาส จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการของรัฐ จัดตั้งศูนย์บริการร่วมอำเภอยิ้ม จัดตั้งศูนย์บริการร่วม ประสิทธิภาพ พัฒนาระบบคุณภาพ การบริหารงาน พัฒนาทุนมนุษย์ พัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบบริหารความรู้ พัฒนาองค์กร

12 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) คณะทำงานระดับจังหวัด
กลไกการดำเนินการ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด คณะทำงานระดับจังหวัด ปัญหา/ความต้องการในภาพรวมของอำเภอ คณะทำงานระดับอำเภอ ปัญหา/ความต้องการของ หมู่บ้านหรือชุมชน วิทยากรกระบวนการ

13 องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานระดับจังหวัดและอำเภอ
คณะทำงานระดับอำเภอ องค์ประกอบ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ผู้ซึ่ง ผวจ. แต่งตั้งจากผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และ ภาคประชาชนตามความเหมาะสม เป็นคณะทำงาน หัวหน้าสำนักงานจังหวัด และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการร่วม องค์ประกอบ นายอำเภอ เป็นประธาน ผู้ซึ่งนายอำเภอ แต่งตั้งจากผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และ ภาคประชาชนตามความเหมาะสม เป็นคณะทำงาน หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่นายอำเภอมอบหมายและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการร่วม อำนาจหน้าที่ จัดทำกรอบแนวทาง (Check list) และเค้าโครงยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัดให้สอดคล้องกับสภาพของจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการในการจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด สรรหาวิทยากรกระบวนการในระดับอำเภอ/ตำบลและสร้างคามรู้ความเข้าใจให้แก่วิทยากร อำนวยการ ประสาน และติดตามการจัดทำยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุขของจังหวัดให้แล้วเสร็จตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด บูรณาการกิจกรรม/แผนงานและโครงการตามยุทธศาสตร์อยู่ดี มีสุขของระดับอำเภอเป็นระดับจังหวัดเพื่อเสนอ ก.บ.จ.พิจารณาเห็นชอบ อำนาจหน้าที่ จัดทำกรอบแนวทาง (Check list) และเค้าโครงยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของอำเภอให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของอำเภอ อำนวยการ ประสาน และกำกับการปฏิบัติงานของวิทยากรกระบวนการและการจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของอำเภอให้แล้วเสร็จตามแผนปฏิบัติการที่จังหวัดกำหนด บูรณาการกิจกรรม/แผนงานและโครงการตามความต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตามกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดี มีสุข

14 หน้าที่ของวิทยากรในระดับตำบล หน้าที่ของวิทยากรในระดับอำเภอ
วิทยากรกระบวนการ ตัวแทนส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนากร /ครู/ ธ.ก.ส./อสม. ฯลฯ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชนหรือองค์กรภาคเอกชนหรือองค์กรเครือข่ายเครือข่ายที่มีใน พื้นที่ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ องค์ประกอบ อำเภอละ 5 -7 คน โดยให้จัดเป็นทีมรับผิดชอบเป็นตำบล ทั้งนี้ในการจัดทีมให้จัด ผสมมีทั้งตัวแทนของส่วนราชการและที่มิใช่ส่วนราชการดังกล่าวข้างต้น จำนวน ทำความเข้าใจในขั้นตอนของงาน ศึกษาสภาพปัญหา และศักยภาพของชุมชน/หมู่บ้าน และระบุตัวแทน ของคนในหมู่บ้านที่เป็นคนที่มีความรอบรู้ (โดยไม่ต้องมีตำแหน่ง) และเป็นตัวแทนจากหลายกลุ่มกิจกรรม หมู่บ้านละไม่เกิน 30 คน เพื่อร่วมประชุม เชิญและชี้แจงตัวแทนดังกล่าวให้ทราบถึงวัตถุประสงค์และวิธีการประชุมพร้อมทั้งนัดหมายวันประชุม จัดการประชุมตามวัน เวลาที่กำหนด จัดทำบัญชีปัญหาและบัญชีความต้องการของหมู่บ้านและตำบล (กิจกรรม/แผนงาน/โครงการ) หน้าที่ของวิทยากรในระดับตำบล หน้าที่ของวิทยากรในระดับอำเภอ กำกับให้วิทยากรตำบลปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและขั้นตอนตามที่กำหนด กำหนดวัน เวลาที่จะลงไปปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน จัดการประชุมในระดับอำเภอตามวัน เวลาที่กำหนด จัดทำบัญชีปัญหาและบัญชีความต้องการ (กิจกรรม/แผนงาน/โครงการ)ใน ระดับอำเภอ

15 ขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการปรับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ให้สอดคล้องกับแนวคิด “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข”
การจัดทำ เค้าโครง ยุทธศาสตร์ ในระดับจังหวัด การเตรียมการ การปรับแผนจังหวัด การดำเนินการ ประชาคมใน ระดับอำเภอ/ตำบล กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุข 5 ด้าน สำนักงานก.พ.ร.จัดส่งกรอบยุทธศาสตร์ อยู่ดีมีสุขให้ จังหวัดนำร่อง จังหวัดปรับ กรอบที่ได้รับ ให้สอดคล้อง กับสภาพเงื่อนไขและปัญหาในจังหวัด จังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด/อำเภอ จัดทำแผนปฏิบัติการการดำเนินงาน จังหวัดจัดทำกรอบแนวทาง (Check list)และเค้าโครง ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ของจังหวัดโดยดึงโครงการและกิจกรรม จากยุทธศาสตร์จังหวัด(เดิม) ที่อยุ่ในกรอบของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขทั้ง 5 ด้านออกมา จังหวัดจัดหาวิทยากรกระบวนการและประชุมชี้แจงวิทยากรฯ สำหรับการดำเนินการสร้างความเข้าใจในชุมชน จังหวัดจัดส่งกรอบแนวทาง (Check list)และเค้าโครงยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จังหวัด (พร้อมทั้งกรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขทั้ง 5 ด้าน) ไปให้อำเภอเพื่อนำไปทำประชาคม อำเภอพิจารณาปรับเป็นกรอบของอำเภอที่สอดคล้องกับพื้นที่ และพิจารณาว่าโครงการที่จังหวัดส่งมาอยู่ในพื้นที่/ตำบลใดแล้วส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้ชุมชนนั้น อำเภอจัดประชุมชี้แจงวิทยากรตำบล/อำเภอ ตำบล จัดทำประชาคมเพื่อ 1. วิเคราะห์สภาพปัญหาว่าอะไรคือ ปัญหาระดับบุคคล/ครัวเรือน อะไรคือปัญหาของชุมชน/หมู่บ้าน อะไรคือปัญหาร่วมของกลุ่มหมู่บ้าน อะไรที่เป็นทุนทางสังคมของหมู่บ้าน 2. ปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขได้อย่างไรและระบุ ความต้องการของพื้นที่ โดยแยกเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1-4 (กรณีที่ชุมขนใดมีแผนแม่บทชุมชนให้นำแผนดังกล่าวมาทบทวนด้วย) 3. พิจารณาว่าแผนงาน/โครงการ ที่ส่วนราชการจัดส่งมาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือไม่ หากไม่สอดคล้อง มีแผนงาน/โครงการใดที่ชุมชนต้องการเพิ่มเติม แผนงาน/โครงการดังกล่าวเป็นแผนงานที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้โดยชุมชนของตนเอง หรือการช่วยเหลือ จังหวัดนำแผนงาน/โครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1-4 ที่ได้รับจากอำเภอ มารับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ สำหรับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 จังหวัดกับอำเภอร่วมกันพิจารณากำหนดโดยดู จากความพร้อมของพื้นที่ประกอบกับความต้องการของลูกค้า จังหวัดจัดทำสรุปภาพรวมแผนงาน/โครงการ แยกเป็น 5 ด้าน นำเสนอ กบจ.และส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ.ร. ประมวลเป็นตัวแบบและนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และอาศัยกันระหว่างชุมชน หรือใช้งบประมาณของท้องถิ่น หรือต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ (กรณีที่ไม่มีผู้ทำ) ตำบลจัดทำบัญชีระบุปัญหา ความต้องการของชุมชน พร้อมทั้งข้อเสนอและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ส่งให้อำเภอ อำเภอประมวลข้อมูลที่ได้รับจากแต่ละชุมชน และจัดประชุมเพื่อพิจารณาภาพรวมและกำหนดเป็นแผนงาน/โครงการระดับอำเภอจัดส่งให้จังหวัด

16 สิ่งที่ตำบลจะได้จากอำเภอ
 กรอบของอำเภอที่ปรับให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่  แผนงาน/โครงการที่จะลงในพื้นที่ (หากมี)

17 สิ่งที่ตำบลต้องทำ ด้านการสงเคราะห์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
หาครอบครัวเป้าหมายที่ยากจนซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานในชุมชนนั้นๆ หรือครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวป่วยหรือพิการไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวที่เป็นเยาวชนได้ เพื่อจัดให้ทุนการศึกษา หาครอบครัวที่ยากจนต่ำกว่ามาตรฐานในชุมชนนั้นๆ และอยากออกนอกภาคการเกษตร เพื่อจัดพัฒนาอาชีพระยะสั้นตามความต้องการของตลาด หาเกษตรกรรายครัวเรือนที่ยากจนและยังอยากอยู่ในภาคการเกษตร เพื่อนำเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้ โดยแยกตามกิจกรรมที่ต้องการ คือ - ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง - การอุดหนุนการจัดการพื้นฐานในระดับ ไร่นา - การอุดหนุนทุนเพื่อจัดหาพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ กรณีเป็นเกษตรกรบนพื้นที่สูง - ให้ระบุครัวเรือนเกษตรกรบนพื้นที่สูง - ระบุความต้องการความช่วยเหลือหรือกิจกรรมที่ต้องการดังกล่าวข้างต้น

18 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่ตำบลต้องทำ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้นำกิจกรรมของศูนย์การศึกษาการพัฒนาตามพระราชดำริมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละชุมชน ให้หาผลิตภัณฑ์ที่มีลู่ทางในตลาด โดยจำแนกว่าเป็นตลาดระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศและการส่งออก ให้ระบุปัญหาและกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน รวมทั้งโครงการเกี่ยวกับการแก้ไขข้อขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรในระดับชุมชน หาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อมในชุมชนและชุมชนที่มีความสามารถในการแข่งขน หากลุ่มของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมการผลิตของกลุ่มในพื้นที่หนึ่งที่อาจสนับสนุนการผลิตในอีกพื้นที่หนึ่ง ระบุความต้องการหรือกิจกรรมที่ต้องการให้การช่วยเหลือ คือ -การให้ความรู้ด้านการจัดการ การผลิตหรือ การตลาด -การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบวิจัยและพัฒนา -การพัฒนาตราผลิตภัณฑ์และการบรรจุภัณฑ์ -การส่งเสริมด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ

19 แผนการดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดนำร่อง
วัน กิจกรรม ผลผลิต 20 และ 29 ธ.ค.49 รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ประธาน ก.พ.ร. มอบนโยบาย และแนวทางดำเนินเกี่ยวกับบทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด นโยบายและกรอบการดำเนินการ Kick off จังหวัดนำร่อง การบรรยายเรื่อง “กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และแนวทางในการดำเนินการ” โดย นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร กรรมการ ก.พ.ร. เลขาธิการ ก.พ.ร. และ ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ 3 ม.ค.49 – ก.พ..50 จังหวัด / อำเภอ ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด บัญชีความต้องการของชุมชนในระดับตำบลและอำเภอ ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข พร้อม แผนงาน โครงการ งบประมาณ ปี 2550 – 2551 15 ก.พ..50 จังหวัดจัดส่งยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข พร้อม แผนงาน โครงการ งบประมาณ ปี 2550 – 2551 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ก.พ.50 สำนักงาน ก.พ.ร. นำตัวแบบเสนอ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาและจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตัวแบบการจัดทำยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขที่ผ่านการพิจารณาของ ก.พ.ร.

20

21

22

23 ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัด..... ยุทธศาสตร์ย่อยด้าน......
รายละเอียดโครงการ ชื่อโครงการ 2. ความสำคัญของโครงการ หลักการและเหตุผล อะไรคือที่มาที่ไป หลักการและเหตุผล ของโครงการ 3. วัตถุประสงค์ของโครงการ อะไรคือวัตถุประสงค์ของโครงการ 4. ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการระดับจังหวัด ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการนี้คืออะไร 5. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ตัวชี้วัดที่จะบ่งบอกว่าโครงการนี้บรรลุผลผลิต และผลลัพธ์คืออะไร 6. ความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ ความพร้อมของโครงการ โครงการนี้มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ใด (ในระดับกระทรวง กรม กลุ่มจังหวัด และจังหวัด) 7. ผู้รับผิดชอบ ใคร (หน่วยงานใด) คือผู้จัดการโครงการ (project manager) 8. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานใดบ้างที่เกี่ยวข้อง 9. ทรัพยากรที่ต้องใช้ นอกเหนือจากงบประมาณแล้ว โครงการนี้ต้องใช้ทรัพยากรใดเพิ่มเติมอีกบ้าง เช่น ทุนความรู้ ทุนทางสังคม ทุนการจัดการ เป็นต้น 10. งบประมาณ งบประมาณของโครงการนี้ เท่ากับเท่าไร (ปี 50 ปี ) 11. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ (stakeholders) หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ใครคือผู้ที่ได้รบผลกระทบจากโครงการนี้ และได้รับผลกระทบอย่างไร 12. โครงการที่เกี่ยวข้อง มีโครงการใดที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับโครงการนี้ 13. ความเสี่ยง อะไรคือความเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ 14. ระยะเวลา และกิจกรรมที่สำคัญของโครงการ อะไรคือกิจกรรมที่สำคัญของโครงการ และระยะเวลาที่ต้องใช้ (นำเสนอรูปแบบของ Gantt chart)

24 แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
แผนปฏิบัติราชการประจำปี ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้า ประสงค์ ตัวชื้วัด เป้า หมาย โครงการ งบปนะมาณ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 50 51 การสงเคราะห์ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส ทุนศึกษาสงเคราะห์ การสงเคราะห์อาชีพ เศรษฐกิจพอเพียง ทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ชุมชน บริการ กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว เจรจาทำคำรับรองกัน ผ่านการวิเคราะห์กลั่นกรอง

25 ตัวอย่าง แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แผนปฏิบัติราชการประจำปี ประเด็น
กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 50 51 การสงเคราะห์ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส ทุนศึกษาสงเคราะห์ สนับสนุนและยกระดับผู้ด้อยโอกาส ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ(มัธยมศึกษาตอนต้น)ที่ได้รับการศึกษาสูงขึ้น การสงเคราะห์อาชีพ ร้อยละที่ลดลงของจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์จปฐ. ระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

26 ตัวอย่าง แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แผนปฏิบัติราชการประจำปี
ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 50 51 เศรษฐกิจพอเพียง ให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรายย่อยให้เข้มแข็ง ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมความเข้มแข็งให้เกษตรกรรายย่อย อุดหนุนการจัดการพื้นฐานในระดับไร่นา ผลผลิตสินค้าเกษตรเป้าหมายเฉลี่ยต่อไร่ ทุนเพื่อจัดหาพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ ระดับความสำเร็จของการป้องกันแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก การพัฒนาการเกษตรทฤษฎีใหม่

27 ตัวอย่าง แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แผนปฏิบัติราชการประจำปี ประเด็น
กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 50 51 ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูระดับชุมชน การลดข้อขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัด

28 ตัวอย่าง แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แผนปฏิบัติราชการประจำปี
ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 50 51 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ความรู้ด้านการจัดการการผลิต การตลาด ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าและการขยายโอกาส จำนวนผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อมมีความรู้ด้านการจัดการการผลิตและการตลาด พัฒนาผลิดภัณฑ์แบบวิจัยและพัฒนา ร้อยละของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) การพัฒนา branding และ packaging จำนวนผลิตภัณฑ์ ได้รับการพัฒนา branding และ packaging การส่งเสริมด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน

29 ตัวอย่าง แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แผนปฏิบัติราชการประจำปี
ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 50 51 บริการ จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการของรัฐ พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐ ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วม จัดตั้งศูนย์บริการร่วมอำเภอยิ้ม ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ จัดตั้งศูนย์บริการร่วม ร้อยละของจำนวนตำบล/หมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง

30 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครนายก

31 โอกาส (Opportunities)
…SWOT จังหวัดนครนายก... จุดอ่อน (Weaknesses) มีพื้นที่ดินเปรี้ยวประมาณ 554,091 ไร่ ทำให้ มีต้นทุนการผลิตสูง ประชาชนยังขาดความมีจิตสำนึกของการมี ส่วนร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมขาดการ รวมตัวที่เข้มแข็ง ขาดมาตรฐานการบริการ ขาดการบริหารจัดการพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยว อย่างเหมาะสม ที่พักแรมไม่เพียงพอรองรับ การท่องเที่ยว/การประชุมสัมมนา การพัฒนาของชุมชน อุตสาหกรรม และการ เกษตรกรรมขาดการกำกับ โดยผังเมืองที่ดี การพัฒนาระบบชลประทานของแม่น้ำและ คลองต่างๆ ขาดการบูรณาการของผังเมือง ที่ดี ประชาชนมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. จุดแข็ง (Strengths) มีแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศวิทยา เช่น อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ และมีแหล่งวัฒนธรรม โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ เมืองธรรมชาติระดับโลกที่ใกล้กรุงเทพฯ 100 ก.ม. พื้นที่และแหล่งน้ำเหมาะแก่การพัฒนาการเกษตร ทำเลที่ตั้งเอื้อประโยชน์ที่สามารถเชื่อมโยงแหล่ง ซื้อขายใน กทม. ซึ่งมีกำลังซื้อสูง มีสถานศึกษาชั้นนำ เช่น จปร.,มศว.,มสธ., ราชภัฏสวนดุสิต, เตรียมทหาร, ว.เซ็นเทเรซ่า ซึ่งสามารถช่วยเสริมด้านสังคมฐานความรู้ได้ดี SWOT โอกาส (Opportunities) ประชากรโลกสนใจการท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สุขภาพมากขึ้น กรุงเทพฯ เผชิญกับปัญหาการพัฒนาที่ปราศจาก ผังเมืองที่ดี จึงเป็นโอกาสให้จังหวัดนครนายกซึ่งเป็น เมืองบริวารได้รับการพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้ว สนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสำนักงานในประเทศไทย ทำให้นครนายกมีโอกาส ร่วมในการพัฒนารองรับกิจการดังกล่าว นโยบายเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ (FTA) เป็น โอกาสที่จะพัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพของผลไม้ การเกษตร อุตสาหกรรมและOTOP ที่โดดเด่น สู่ ประเทศคู่ค้า การพัฒนาต้นทุนแหล่งน้ำต่างๆ การแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม มลภาวะ และมีแผนพัฒนาการเกษตร รัฐบาลเริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการวางผังเมือง ที่ดีและการพัฒนาตามผังเมืองที่ดี อุปสรรค (Threats) การแข่งขันด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศสูง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มีอุปสรรคด้าน กฎหมาย จึงทำให้ไม่สามารถส่งเสริมและ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้ตามต้องการ ภาครัฐยังขาดการวางแผนพัฒนาการเกษตร ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง การพัฒนาการผังเมืองไม่ได้รับความสนใจและ ขาดงบประมาณ ปัญหามลภาวะที่ต้องแก้ไข แต่ขาดงบประมาณ จังหวัดไม่สามารถจัดตั้งงบประมาณของ ตนเองได้ และการตั้งงบประมาณของ ส่วนราชการต่างๆ ยังเป็นแบบเดิมๆ ขาดการ บูรณาการกับยุทธศาสตร์จังหวัดอย่างจริงจัง

32 วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์
แผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครนายกปัจจุบัน วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ระดับโลก เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับโลก มีแหล่งท่องเที่ยว ที่สมบูรณ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีกิจกรรมและ สินค้าเพื่อการท่องเที่ยวที่หลากหลายสู่ระดับชาติและนานาชาติ ภายใต้ผังพื้นที่เฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว “เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับโลกและน่าอยู่ เมืองใหม่มาตรฐานผังเมืองสูงล้ำยุคเพิ่มฐานเศรษฐกิจแก่ประชาชน อนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อมควบคู่การพัฒนา การเกษตรก้าวหน้าสู่สากลและเป็นสังคมฐานความรู้ ” 2.1 เป็นแหล่งรองรับการขยายตัวของเมืองหลวงและสนามบิน สุวรรณภูมิ มีการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมดี มีปัจจัยและโครงสร้างพื้นฐานได้มาตรฐาน และพอเพียง มีการวางผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน อย่างมีระบบ เศรษฐกิจดี สภาพสังคมได้รับการพัฒนา มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการบริหารจัดการ บ้านเมืองที่ดี 2. เมืองน่าอยู่ 3. การเกษตรก้าวหน้าสู่สากล 3.1 เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัย และได้ มาตรฐานเพื่อการส่งออก 4. สังคมฐานความรู้ 4.1 ให้คนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เป็นคนดี มีคุณธรรม มีศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน และมีคุณธรรม จริยธรรม สู่สังคมฐานความรู้ 4.2 ให้คนมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม มีการเชิดชูคุณค่า ความเป็นไทยและวัฒนธรรมไทยบนความเข้าใจ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ทำให้ชุมชน สังคม มีความสมานฉันท์ และสันติสุข

33 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก

34 โอกาส (Opportunities)
SWOT จังหวัดพิษณุโลก จุดแข็ง (Strengths) ที่ตั้งเหมาะสมเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือตอนล่าง มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับทุกภูมิภาคของประเทศ “อินโดจีน” มีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีสถานประกอบธุรกิจการค้าขนาดใหญ่ทั้งค้าส่งและค้าปลีกที่ทันสมัยครบวงจร มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งที่มีขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นที่ตั้งของส่วนราชการระดับศูนย์ เขต ภาคและเป็นที่ตั้งของสถาบันฝีมือแรงงานภาค9 มีศาสนสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รวมจิตใจของประชาชน คือพระพุทธชินราชและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีระบบชลประทานเพื่อการเกษตรที่สมบูรณ์ของภาคเหนือและมีแหล่งวิชาการด้านการเกษตรที่เอื้อต่อการเกษตรกรรม เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรภาคเหนือ เป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้านความมั่นคงของประเทศทั้งในเชิงยุทธศาสตร์การปกครองและการทหาร จุดอ่อน (Weaknesses) พื้นที่การเกษตรมีปัญหาอุทกภัยซ้ำซากเป็นประจำทุกปี เช่น อ.บางระกำ,อ.บางกระทุ่ม ไม่มีศูนย์กลางการขนส่งที่ครบวงจร ไม่มีตลาดกลางสินค้าการเกษตรที่เป็นระบบครบวงจร สถานที่ท่องเที่ยวเสื่อมโทรมเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและขาด ความสามารถการบริหารจัดการ ขาดข้อมูลด้านการจัดหากำลังคนของตลาดแรงงาน อุปสรรค (Threats) ต้นทุนที่เป็นปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันราคาแพง ค่าขนส่ง สินค้าที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจท้องถิ่นถูกคุกคามโดยทุนต่างชาติ กรอบนโยบายความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนระหว่างไทยกับ กัมพูชา ลาวและพม่า ที่สนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านผลิตสินค้า บางชนิดอาจส่งผลกระทบกับราคาผลผลิตในประเทศ ข้อกำหนดและมาตรการกีดกันทางการค้าในเรื่องคุณภาพและความ ปลอดภัยจากสารตกค้าง โอกาส (Opportunities) ครม.มีมติให้เป็นพื้นที่พัฒนา “สี่แยกอินโดจีน”และมีข้อตกลงการประชุมระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion-GMS) เห็นชอบให้มีการพัฒนาพื้นที่แนวเศรษฐกิจเชื่อมโยงตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสามารถขยายฐานการผลิตด้านการเกษตร การส่งออก และการส่งเสริมการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน กรอบนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านประกอบกับการพัฒนาด้านการคมนาคมจะส่งผลให้สามารถเพิ่มตลาดการค้าได้มากขึ้น มีโอกาสเขื่อมโยงภาคการผลิตอุตสาหกรรมกับกลุ่มจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตอนล่างกับจังหวัดพิจิตร รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ สศช.กำหนดให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการขนส่งและเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร เป็นเมืองคู่หรือเมืองพี่เมืองน้องกับเมือง เจ๋อจียงของสาธารณประชาชนจีน

35 แผนยุทธศาสตร์จังหวัดพิษณุโลกปัจจุบัน
วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ 1.ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการบริการด้าน การขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร 1.1เป็นศูนย์กลางการบริการด้านการขนส่งสินค้าและ ผู้โดยสาร 2.ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทค โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของภาคเหนือตอนล่าง 2.1เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร(ICT) ของภาคเหนือตอนล่าง “เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน” 3.ส่งเสริมการบริการด้านสุขภาพให้เป็นศูนย์ บริการแก่ประชาชนในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง โดยพัฒนามาตรฐานการบริการให้เป็นสากล และให้เป็นจังหวัดที่ประชาชนมีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง (Healthy Province) 3.1เป็นศูนย์บริการด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐานสากลและ เป็นจังหวัดที่ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง (Healthy Province )เพื่อเสริมสร้างไปสู่ความเป็น ประเทศไทยแข็งแรง 4.ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนมีการปรับปรุง ให้บริการให้มีคุณภาพและอยู่ในระดับ มาตรฐานให้ประชาชนและพนักงานมีหัวใจ แห่งการบริการ(Service Mind) ในฐานะ เจ้าของบ้านที่ดี 4.1ภาครัฐและเอกชนมีการบริการที่ได้มาตรฐานและ มีคุณภาพ 5.พัฒนาการบริการจัดการการผลิตสินค้า การเกษตรที่เชื่อมโยงการตลาดและ การแปรรูป 5.1เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร มีการจัดการผลิตและ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ตามความต้องการของตลาด 6.ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการประชุม ภายในประเทศและส่งเสริมกิจกรรมการ ท่องเที่ยว กีฬาและวิชาการ 6.1เป็นศูนย์กลางจัดการประชุมภาคเหนือตอนล่างและ ระดับประเทศตลอดจนให้บริการด้านการท่องเที่ยวของ จังหวัด 7.ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สะอาด สวยงามเป็น เอกลักษณ์และมีความปลอดภัย 7.1เป็นเมืองที่มีความสะอาดสวยงามปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน 8.ส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการแก้ไขปัญหา ความยากจนและสังคมเชิงบูรณาการ 8.1เป็นเมืองที่ชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืนทาง เศรษฐกิจและสังคม


ดาวน์โหลด ppt กรอบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดและแนวทางขั้นตอนในการปรับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google