งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสื่อสาร ข่าวประเสริฐ ในบริบทของ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสื่อสาร ข่าวประเสริฐ ในบริบทของ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสื่อสาร ข่าวประเสริฐ ในบริบทของ
การสื่อสาร ข่าวประเสริฐ ในบริบทของ พุทธศาสนาไทย โดย ศจ.ดร.บัณฑูร บุญอิต

2 มิชชันนารีได้นำ ข่าวประเสริฐมาสู่ประเทศไทยกว่า 500 ปี แล้ว แต่เหตุใด
มิชชันนารีได้นำ ข่าวประเสริฐมาสู่ประเทศไทยกว่า 500 ปี แล้ว แต่เหตุใด... จึงมีคริสเตียนในประเทศไทย ไม่ถึง 1%

3 คริสเตียนชาวไทย-ชนเผ่า
ประชากร จำนวน คริสเตียน อัตราส่วน ชาวไทย 61,638,401 185,741 (57%) 0.30% ชนเผ่า 1,400,000 137,907 (43%) 10.00% รวม 63,038,401 323,648 (100%) 0.51% ที่มา : คริสเตียนโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย ปี โดย มนตรี วิซเซอร์ Marten Visser

4 เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ทำไมคนไทยจึง ไม่ยอมรับ พระกิตติคุณ ?
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ทำไมคนไทยจึง ไม่ยอมรับ พระกิตติคุณ ?

5 จริงหรือ. ที่คริสเตียนไทย อธิษฐานน้อยเกินไป
จริงหรือ... ที่คริสเตียนไทย อธิษฐานน้อยเกินไป ไม่ร้อนรนในการประกาศ พี่น้องชาวไทยจึงกลับใจน้อย

6 จริงหรือ.... ที่จิตใจคนไทยแข็งกระด้าง ประกาศจึงไม่ค่อยได้ผล
จริงหรือ.... ที่จิตใจคนไทยแข็งกระด้าง ประกาศจึงไม่ค่อยได้ผล

7 จริงหรือ.... ที่เราทำได้เพียง พึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ที่จะทำงานในใจ พี่น้องคนไทย

8 ฤทธิ์อำนาจ ของพระเจ้า ที่จะทิ่มแทงใจคนไทย
จริงหรือ....ที่คริสเตียนไทย รู้พระคัมภีร์ ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าใจพุทธศาสนา เพราะพระคัมภีร์มี ฤทธิ์อำนาจ ของพระเจ้า ที่จะทิ่มแทงใจคนไทย

9 ประเทศเอเชียที่ นับถือพุทธศาสนา จึงไม่ค่อยยอมรับ พระกิตติคุณ ?
ทำไมประชาชนใน ประเทศเอเชียที่ นับถือพุทธศาสนา จึงไม่ค่อยยอมรับ พระกิตติคุณ ?

10 แต่คนฟังที่เติบโตมาใน
ทำไมทั้งๆที่พูดภาษาไทย แต่คนฟังที่มาจากพื้นครอบครัวพุทธ ฟังแล้วไม่เข้าใจ เหมือนอย่างที่เรา อยากจะสื่อสารให้เขาเข้าใจ ? แต่คนฟังที่เติบโตมาใน “ครอบครัวคริสต์” กลับเข้าใจได้โดยไม่มีปัญหา

11 ทำไมจึงเป็นเรื่องยาก สำหรับพี่น้องชาวพุทธ ที่จะต้อนรับพระเยซูคริสต์ ?

12 ทำไม ยอห์น 3:16 สำหรับพี่น้องชาวพุทธ ไม่สื่อความหมาย อย่างที่คริสเตียนไทย ประสงค์จะให้สื่อ

13 ไม่เป็นที่เข้าใจของพี่น้อง
เป็นไปได้ไหม ที่พระกิตติคุณที่เราสื่อออกไป ไม่เป็นที่เข้าใจของพี่น้อง ชาวพุทธ และ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีความสลักสำคัญ ต่อชีวิตเขา

14 การที่เราจะตอบคำถามเหล่านี้ เราจะต้อง
การที่เราจะตอบคำถามเหล่านี้ เราจะต้อง ... เอาใจเราไปใส่ใจเขา คิดอย่างเขา มองอย่างเขา

15 1) เรียนรู้โลกทัศน์พุทธ 2) เข้าใจว่าชาวพุทธมองชาว คริสต์อย่างไร
โดยการ... 1) เรียนรู้โลกทัศน์พุทธ 2) เข้าใจว่าชาวพุทธมองชาว คริสต์อย่างไร ชาวพุทธเข้าใจสิ่งที่ชาว คริสต์สื่อว่าอย่างไร ?

16 1) ทำความเข้าใจโลกทัศน์พุทธ

17 ทุกข์ ... คือ จุดเริ่มต้นของโลกทัศน์พุทธ ดังพุทธพจน์ที่ว่า
ในอดีต และปัจจุบัน เราสอนเรื่อง ทุกข์และทางดับทุกข์

18 ลักษณะแห่ง สังขารธรรม ทั้งหลาย
ไตรลักษณ์ ลักษณะแห่ง สังขารธรรม ทั้งหลาย 1.อนิจจตา(Impermanence) ความเป็นของไม่เที่ยง 2.ทุกขตา (State of suffering) ความเป็นทุกข์ 3.อนัตตตา (Not-self) ความเป็นของไม่ใช่ตน

19 ความเข้าใจว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง เป็นพื้นฐานของความเข้าใจ “ความทุกข์” (อริยสัจจ์ข้อแรก) ทุกอย่างในโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกิดแล้วดับ เป็นวงจรต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด

20 ความจริง เกี่ยวกับ ความเป็นอนิจจังนี้ อธิบายด้วย ปฏิจจสมุปบาท

21 ทางสู่ความหลุดพ้น พระนิพพาน
ความเข้าใจว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง เกิดแล้วดับ เป็นปัจจัย หมุนเวียนไป ไม่มีอะไรให้ยึดถือว่าเป็น ตัวกูของกู คือจุดเริ่มต้นของ.... ทางสู่ความหลุดพ้น พระนิพพาน

22 การเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์
การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง สังขารทั้งหลายทั้งปวง (เบญจขันธ์หรือมนุษย์) เป็นทุกข์

23 ความทุกข์ ไม่ใช่เพียงความทรมาน
เจ็บ ปวด ปัญหา ความบีบคั้นทางกาย และใจ และตรงข้ามกับความสุขสงบ แต่ทุกข์ รวมไปถึง..... ความเปลี่ยนแปลง ความบกพร่อง ความไม่บริบูรณ์ / สมบูรณ์

24 ความทุกข์ เป็นธรรมดาโลก การมีชีวิตอยู่ คือ ความทุกข์
ความทุกข์ เป็นธรรมดาโลก การมีชีวิตอยู่ คือ ความทุกข์

25 ในทัศนะพุทธ ความทุกข์เป็นธรรมดาโลก ดังนั้น
ในทัศนะพุทธ ความทุกข์เป็นธรรมดาโลก ดังนั้น...เมื่อพระเจ้าสร้างโลก พระเจ้าจึงควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้น

26 ดังนั้น...พระเจ้าผู้ทรงสร้าง จึงเปรียบได้กับ...อวิชชา
ดังนั้น...พระเจ้าผู้ทรงสร้าง จึงเปรียบได้กับ...อวิชชา

27 สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนิจจัง นั้นไม่ใช่เฉพาะโลกนี้
แต่รวมถึง มนุษย์ ด้วย

28 (ตัวตน แท้ๆของสิ่งทั้งหลาย ไม่มี )
มนุษย์... คือ “อนัตตา” (ตัวตน แท้ๆของสิ่งทั้งหลาย ไม่มี )

29 มนุษย์... เป็นเพียง “เบญจขันธ์”

30 รูปขันธ์ (1) + นามขันธ์ (4)
เบญจขันธ์ (5) = รูปขันธ์ (1) + นามขันธ์ (4) -เวทนา -สัญญา -สังขาร -วิญญาณ

31 ทุกอย่างในโลก ล้วนอนิจจัง ไม่มีอะไรให้เรายึดมั่นถือมั่น
ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวกูของกู เราจะติดอยู่ในความทุกข์ เราสามารถพ้นทุกข์ ถ้าเราตระหนักว่า ทุกอย่างในโลก ล้วนอนิจจัง ไม่มีอะไรให้เรายึดมั่นถือมั่น

32 การที่เรายึดมั่นถือมั่น มีความต้องการ สิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่อนิจจัง จึงนำมาสู่ การที่ตัวกูจะทุกข์ เพราะสูญเสีย หรือ ไม่สมหวัง

33 แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นอนัตตา
แต่ถ้าเราตระหนักว่า ตัวเรานั้นไม่เที่ยง เปลี่ยนไปอยู่เสมอ เป็นอนิจจัง กลุ่มเบญจขันธ์นั้นๆ ก็จะรู้ว่า ไม่ควรยึดเป็นอัตตา เป็นตัวกู แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นอนัตตา

34 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ อริยสัจจ์ 4
หลักปฏิจจสมุปบาท คือ “หัวใจ” ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพื้นฐานของ อริยสัจจ์ 4

35 อริยสัจจ์ 4 (ความจริงอันประเสริฐ)
1. ทุกข์ (suffering unsatisfactoriness) (การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัด พรากจากสิ่งที่รัก, ความปรารถนาไม่สมหวัง) 2. ทุกขสมุทัย (cause of suffering) เหตุเกิดแห่งทุกข์ 3. ทุกขนิโรธ (cessation of suffering) ความดับทุกข์ หลุดพ้น คือนิพพาน 4.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (path leading to the cessation of suffering) ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค

36 โลกทัศน์พุทธมองว่า ทุกสิ่งในโลก มีความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุปัจจัยต่างๆ ภายในกระบวนการของธรรมชาติ

37 การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีความเป็นปัจจัยแก่กัน
ไม่ได้หมายความว่า เพราะเหตุนี้ จึงมีผลนี้ตามมา

38 สาเหตุ สามารถเลี่ยงได้
การพึ่งพาอาศัย หลีกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุ สามารถเลี่ยงได้

39 เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

40 ปัจจัยต่อเนื่อง หมุนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย “ภวจักร”

41 ทุกข์ สมุทัย ภพ ชาติ อุปาทาน ตัณหา ชรามรณะ อวิชชา เวทนา ผัสสะ สังขาร
สฬายตนะ วิญญาณ นามรูป

42 นิโรธ มรรค ภพ ชาติ อุปาทาน ตัณหา ชรามรณะ อวิชชา เวทนา ผัสสะ สังขาร
สฬายตนะ วิญญาณ นามรูป นิโรธ มรรค

43 อัฏฐังคิกมรรค (มรรค 8) ไตรสิกขา: ศีล สมาธิ ปัญญา

44 รวมเป็น “ ปัญญา ” 1. สัมมาทิฎฐิ (Right view) เห็นชอบ เห็น ไตรลักษณ์
หรือ ปฏิจจสมุปบาท 2.สัมมาสังกัปปะ (Right thought)ดำริชอบ รวมเป็น “ ปัญญา ”

45 รวมเป็น “ ศีล ” 3. สัมมาวาจา (Right Speech) เจรจาชอบ
4.สัมมากัมมันตะ (Right Action) กระทำชอบ 5.สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) เลี้ยงชีพชอบ รวมเป็น “ ศีล ”

46 รวมเป็น “ สมาธิ ” 6.สัมมาวายามะ (Right Effort)พยายามชอบ
7.สัมมาสติ (Right Mindfulness) ระลึกชอบ 8.สัมมาสมาธิ (Right Concentration) ตั้งจิตมั่นชอบ รวมเป็น “ สมาธิ ”

47 มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า
มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า ...“มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า …ทางสายกลาง… นำไปสู่จุดหมายแห่ง ความหลุดพ้น เป็นอิสระ “ นิพพาน ”

48 ภูมิ 4 : ระดับชีวิต (Planes of existence)
1.อบายภูมิ 4 Planes of loss & woe ภูมิที่ปราศจาก ความเจริญ 2.กามสุคติภูมิ 7 Sensuous blissful planes ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม 3.รูปาวจรภูมิ 16 Form-planes ชั้นรูปพรหม ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป 4.อรูปาวจรภูมิ 4 Formless-planes ชั้นอรูปพรหม ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป 1.1 นรก (hell) 2.1 มนุษย์ 1.2 กำเนิดดิรัจฉาน (animal kingdom) 2.2 จาตุมหาราชิกา 2.3 ดาวดึงส์ 1.3 เปรต (ghost-sphere) 2.4 ยามา 2.5 ดุสิต 1.4 อสูร (demons) 2.6 นิมมานรดี 2.7 ปรนิมมิตวสวัตดี

49 2) พี่น้องชาวพุทธ มองคริสตศาสนาอย่างไร ?
2) พี่น้องชาวพุทธ มองคริสตศาสนาอย่างไร ?

50 การดับทุกข์ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เรื่องพระเจ้า และ สวรรค์
“ดีกว่า” การเชื่อ เรื่องพระเจ้า และ สวรรค์

51 พุทธทาส กล่าวว่า มติที่ถือพระเจ้าเช่นนั้น ย่อมเพ่งเล็งในด้านจะกำราบ ผู้เชื่อถือให้อยู่ในโอวาท โดยปราศจากความแย้งยันอย่างเดียว จึงเป็นมติที่มีหลักไปในทางกดขี่ ไม่ปล่อยให้มีความคิดและการกระทำอันเป็นอิสระ อะไรๆก็ต้องแล้วแต่พระเป็นเจ้าเช่นนี้ นับว่าเป็น ลัทธิอัตตาที่ต่ำเตี้ย หรือเหมาะสำหรับคนที่ส่วนใหญ่ยังเป็นป่าเถื่อน ไร้การศึกษา นับว่าเป็นลัทธิอัตตาที่ถูกจำกัดเขต เป็นลัทธิสำหรับคนในวัยเด็กหรือที่มีความคิดอย่างเด็ก

52 อยู่กับตัณหาและอุปาทาน
คนทั้งหลายที่ไม่รู้ความจริงก็หลงใหลใน สวรรค์ มุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์ ซึ่งเป็นแดนที่ ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ตามปรารถนา เป็นเมืองที่ตนจะหาความสำราญได้อย่าง สุดเหวี่ยง แบบสวรรคนิรันดรของศาสนาอื่นๆ ที่เขาใช้สวรรค์เป็นเครื่องล่อให้คนทำความดี คนจึงไม่สนใจที่จะดับทุกข์กันที่นี่และเดี๋ยวนี้ ตามความมุ่งหมายอันแท้จริงของพุทธศาสนา สวรรค์ทำให้คนเราเขวไป หันมาหมกมุ่น อยู่กับตัณหาและอุปาทาน

53 แต่ไม่อยากขัดคอใครตรงๆ ในเรื่อง พระเป็นเจ้า เรื่องนรก หรือเรื่องสวรรค์ จึงปล่อยเรื่องเหล่านี้ไปตามความเชื่อ และความประสงค์ของคนที่อยากจะเชื่อ ถ้าหากจะนำเรื่องเหล่านั้นเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง ก็นำมาเพียงเป็นเครื่องช่วยบุคคล ที่มีปัญญาอ่อน หรือบุคคลที่เคยมีความเชื่อ อย่างนั้นมาก่อน จะได้อาศัยเป็นกำลังใจ สำหรับจะละความชั่วและทำความดีเท่านั้น เพราะเขายังไม่สามารถกำจัด “ตัวตน-ของตน” โดยสิ้นเชิงได้

54 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอื่นใดเลย
พระพุทธศาสนาต้องการขจัดทุกข์ภัย อันเกิดจาก “ตัวตน ของตน” จึงได้มีหลักปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป นับแต่ต้นจนปลาย โดยไม่เกี่ยวกับสิ่งภายนอก เช่น ผีสางเทวดา พระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอื่นใดเลย

55 พุทธศาสนา มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหา ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์
ชีวิตประจำวันของคนทุกคนในโลกนี้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ โดยไม่มีความทุกข์เลย ให้อยู่ในกองทุกข์ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ หรืออยู่ในท่ามกลางของเตาหลอมเหล็กอันใหญ่ ที่กำลังลุกโชนอยู่ แต่กลับมีความรู้สึก เยือกเย็นที่สุดดังนี้

56 พุทธศาสนา มุ่งหมายที่จะขจัดความทุกข์
ให้หมดไปจากคน ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ หาใช่มุ่งหมายจะพาคนไปสวรรค์อันไม่รู้กันว่า อยู่ที่ไหน มีจริงหรือไม่ และจะถึงได้ หลังจากตายแล้วหรือในชาติต่อๆไป จริงหรือไม่ เพราะไม่มีใครพิสูจน์ได้ นอกจากการกล่าวกันมาอย่างปรัมปรา แล้วก็ยอมเชื่อกันไป โดยไม่ใช้เหตุผล จนเป็นความงมงายไปอีกอย่างหนึ่ง

57 มนุษย์ ไม่ต้องไปหวังใน ความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้า หรือพระศาสดาต่างๆ
มนุษย์ ไม่ต้องไปหวังใน ความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้า หรือพระศาสดาต่างๆ ซึ่งอาจเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดมั่นถือมั่น จนกระทั่งเกิด “ตัวตน-ของตน” ขึ้นมาอีกแบบใหม่ๆ แปลกๆ

58 สำหรับอารมณ์ในอนาคตที่จะพึงได้ข้างหน้านั้น ก็เป็นอารมณ์ของตัณหาอย่างยิ่งด้วยเหมือนกัน “ความหวัง” ดูจะเป็นปัญหายุ่งยากกว่าอย่างอื่น ด้วยซ้ำไป เพราะว่าเราอาจจะหวังกันได้มากๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกำลังใจ จนกระทั่งพากันถือว่า ชีวิตนี้อยู่ได้ด้วยความหวัง อารมณ์ในอนาคตนั้นแหละ เป็นปัญหายุ่งยากที่สุด สำหรับมนุษย์เรา คือ มันเป็นไปได้กว้างขวางที่สุด

59 เป็นศาสนาของผู้ที่ยังเป็นเด็ก ที่ยังไม่มีปัญญารู้แจ้ง
ศาสนาคริสต์ถูกมองว่า เป็นศาสนาของผู้ที่ยังเป็นเด็ก ที่ยังไม่มีปัญญารู้แจ้ง

60 คริสเตียนไม่ควรจะโกรธ
หรือเป็นเดือดเป็นแค้น แต่ควรจะถามว่า..... ทำไมเขาจึงมองเราเช่นนั้น ? อะไรคือสาเหตุ ? ความเข้าใจผิดอยู่ที่ใด ? เราสื่ออะไรออกไป ? เราล้มเหลวที่จะสื่ออะไร ?

61 ปัญหาความไม่เข้าใจกัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การสื่อสารข้ามโลกทัศน์
เมื่อเข้าไปศึกษาพุทธศาสนา จึงจะเริ่มเข้าใจและเห็นถึง ปัญหาความไม่เข้าใจกัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การสื่อสารข้ามโลกทัศน์ ระหว่าง พุทธ และ คริสต์

62 ยิ่งเราเข้าใจศาสนาพุทธ เราจะยิ่งตระหนักถึงความสับสน ความเข้าใจได้ยาก
และความไม่เกี่ยวข้อง ของพระกิตติคุณที่สื่อออกไป ต่อวิถีชีวิตแบบพุทธ

63 ยิ่งเข้าใจว่าชาวพุทธ ในการสื่อพระคริสต์สู่คนไทย
มองคริสต์อย่างไร เราจะยิ่งซาบซึ้งถึง ความยากลำบาก ความสลับซับซ้อน ในการสื่อพระคริสต์สู่คนไทย

64 การที่จะสื่อพระคริสต์ ข้ามไปสู่โลกทัศน์พุทธ
เป็นงานที่ท้าทาย สำหรับคริสเตียนไทย

65 แต่เรากำลังสื่อข้ามโลกทัศน์
ปัญหาความไม่เข้าใจนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากคริสเตียน มองข้าม และ ไม่ตระหนักว่า เราไม่ได้สื่อพระคริสต์ กับคนในโลกทัศน์เดียวกัน แต่เรากำลังสื่อข้ามโลกทัศน์

66 คริสเตียนไทยส่วนใหญ่
ยังไม่ตระหนัก ถึงความจำเป็นที่ จะต้องเข้าใจ พุทธศาสนา

67 สื่อพระคริสต์อยู่นั้น ไม่เป็นที่เข้าใจ หรือโดนใจพี่น้องชาวพุทธ
เพราะความไม่เข้าใจ พุทธศาสนา เราจึงไม่ตระหนักว่า ภาษาไทยที่เราใช้ สื่อพระคริสต์อยู่นั้น ไม่เป็นที่เข้าใจ หรือโดนใจพี่น้องชาวพุทธ

68 ทำให้เราไม่เข้าใจว่า
เพราะความไม่เข้าใจ โลกทัศน์พุทธ ทำให้เราไม่เข้าใจว่า ทำไม เขา จึงไม่เข้าใจเรา ?

69 ถ้าเราเข้าใจโลกทัศน์พุทธ เราจึงจะสามารถเข้าใจว่าทำไม...
ศาสนาคริสต์ที่เราสื่อไปนั้น ไม่เป็นที่เข้าใจ และไม่เป็นที่ต้องการ ของชาวพุทธ

70 เป็นเรื่องที่เขาไม่คุ้นเคย ไม่เกี่ยวข้อง และ รู้สึกแปลก
เพราะโลกทัศน์คริสต์ แตกต่างจาก โลกทัศน์พุทธ โลกทัศน์คริสต์ เป็นเรื่องที่เขาไม่คุ้นเคย ไม่เกี่ยวข้อง และ รู้สึกแปลก

71 เหมือนดังที่เราต้องการ
คำศัพท์ไทย ที่เป็นหลักคริสตธรรม เมื่อสื่อให้ผู้ที่มีโลกทัศน์พุทธฟัง เขาจะไม่มีความเข้าใจ เหมือนดังที่เราต้องการ ให้เขาเข้าใจ

72 พระเจ้า (God) พุทธ : มีได้หลายความหมาย
พุทธ : มีได้หลายความหมาย คริสต์ : ผู้ทรงสร้าง, ผู้ครอบครอง

73 ตน, คน, (Self), มนุษย์ พุทธ : เบญจขันธ์ ถ้าสามารถตระหนักได้ว่า
พุทธ : เบญจขันธ์ ถ้าสามารถตระหนักได้ว่า เบญจขันธ์นั้นเป็นอนัตตา ไม่ยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นตัวกูของกู ก็จะพ้นจาก ทุกข์ หลุดจากวัฏสงสารเข้าสู่นิพพาน คริสต์ : ถูกสร้างมาในพระฉายาของพระเจ้า (created in the image of God) เพื่อที่จะมีความสัมพันธ์กับผู้ทรงสร้าง (Intended to heave a relationship with the creator God)

74 คริสต์สอนให้รัก รักพระเจ้า และรักคนอื่นเหมือนรักตนเอง ฟังดูราวกับว่า เป็นคำสอนให้หมกมุ่น อยู่ในโลกียวิสัย ยังยึดติดอยู่ ไม่รู้จักปล่อยวาง

75 เป้าหมายชีวิต (goal) ∆ เข้าสู่พระนิพพาน  เข้าสู่แผ่นดินของพระเจ้า ซึ่งคน พุทธมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นการที่ อัตตาทำอะไรเพื่ออัตตา คือ เพื่อ ตัวตนจะไปสวรรค์ ไปอยู่กับพระเจ้า

76 สวรรค์ (heaven) นรก (hell)
∆ มีหลายระดับที่จะไปเกิดเพื่อเสวยสุข หรือรับทุกข์ตามแต่ผลกรรมของตนที่ ทำไว้  การไปอยู่กับพระเจ้าในแผ่นดินของ พระเจ้าหรือการถูกตัดขาดจากพระเจ้า

77 ความรอด, ความหลุดพ้น(freedom)
∆ วิมุตติ พ้นจากทุกข์  รอดจากความบาป

78 ความบาป (sin) แต่มีการกระทำที่เป็นกรรมดำ อกุศลกรรม-บาป, กุศลกรรม-บุญ
∆ ไม่มีความบาปแบบคริสต์ แต่มีการกระทำที่เป็นกรรมดำ อกุศลกรรม-บาป, กุศลกรรม-บุญ  การไม่เชื่อฟังพระเจ้า ผิดต่อพระเจ้า

79 ความจริงเกี่ยวกับโลก
∆ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  โลกนี้ถูกสร้างและอยู่ได้โดย พระเจ้าควบคุม ครอบครองและดูแล Created and sustained by God

80 เพราะความแตกต่าง ของโลกทัศน์ จึงไม่น่าแปลกใจ ที่พี่น้องชาวพุทธ ไม่เข้าใจข่าวประเสริฐ

81 ข่าวประเสริฐที่สื่อออกไป โดยมิได้คำนึงถึง โลกทัศน์แบบพุทธนั้น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ และเป็นที่ยอมรับ ของพี่น้องชาวไทยพุทธได้

82 ท่านตระหนักหรือยังว่า คริสเตียนไทย กำลังสื่อสารข่าวประเสริฐ ด้วยภาษาไทย ที่ไม่เป็นที่เข้าใจ ของพี่น้องชาวพุทธ

83 เมื่อเราเข้าใจโลกทัศน์พุทธ เราจึงจะเข้าใจว่า สิ่งที่เรากำลังพูดนั้น ทำให้ชาวพุทธสับสน และฟังไม่เข้าใจ

84 เผยให้เราเห็น ช่องว่างระหว่างโลกทัศน์
เมื่อเราทราบว่า “ชาวพุทธมองชาวคริสต์อย่างไร” เผยให้เราเห็น ช่องว่างระหว่างโลกทัศน์ ที่เราจะต้องสื่อสารข้ามไป

85 คริสเตียนจะต้องแก้ไข วิธีการนำเสนอที่ไม่เกิดผล ขาดการคำนึงถึงบริบทพุทธ
ความเข้าใจคริสต์ศาสนาของชาวพุทธ เผยให้เห็นว่า คริสเตียนจะต้องแก้ไข วิธีการนำเสนอที่ไม่เกิดผล เพราะการนำเสนอพระคริสต์ ของคริสเตียนที่ผ่านมานั้น ขาดการคำนึงถึงบริบทพุทธ

86 เราสื่อ โดยไม่ตระหนักว่า เรากำลังสื่อพระคริสต์ ข้ามไปสู่โลกทัศน์พุทธ โดยที่ขาดความเข้าใจ โลกทัศน์พุทธ

87 ศาสนาคริสต์ จึงถูกมองว่า เป็นศาสนาที่ด้อยกว่า และไม่สามารถสนองตอบ ความต้องการของชาวพุทธได้

88 ถ้าหากเราไม่รู้โลกทัศน์พุทธ ของความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น
เราก็จะไม่เข้าใจ สาเหตุ ต้นตอ ของความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น

89 เราจะต้องสื่อพระคริสต์ ให้เป็นที่เข้าใจ ในบริบทพุทธศาสนา เพื่อช่วยให้พี่น้องชาวพุทธ ได้มีโอกาสรู้จักพระคริสต์

90 พี่น้องชาวพุทธจะได้ตระหนักว่า ศาสนาคริสต์ ไม่ใช่ศาสนาต่างชาติ ที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อเขาจะเกิดความเข้าใจ และเห็นถึงทางเลือกใหม่ ในการที่เขาจะหลุดพ้นจากทุกข์

91 เราจะต้องแก้ปัญหา การสื่อสารข้ามโลกทัศน์
เราจะต้องแก้ปัญหา การสื่อสารข้ามโลกทัศน์

92 คริสเตียนเรานั่นแหละ ที่ไม่ได้สื่อพระคริสต์ ให้เป็นที่เข้าใจของชาวพุทธ
ความพยายามเข้าใจการมองโลก ของชาวพุทธ ช่วยให้เราตระหนักว่า คริสเตียนเรานั่นแหละ ที่ไม่ได้สื่อพระคริสต์ ให้เป็นที่เข้าใจของชาวพุทธ

93 เราต้องเข้าใจโลกทัศน์พุทธก่อน เราจึงจะสร้างสะพาน ข้ามช่องว่าง ระหว่างโลกทัศน์ได้

94 เราต้องเรียนรู้ โลกทัศน์ของกันและกัน เพื่อแก้ปัญหา ความไม่เข้าใจกันและกัน ในการสื่อสาร

95 คริสเตียนจะต้องพยายาม เข้าใจชาวพุทธ
คริสเตียนจะต้องพยายาม เข้าใจชาวพุทธ ...ไม่เช่นนั้น เราจะไม่สามารถสื่อพระคริสต์ ข้ามไปสู่พี่น้องที่มีโลกทัศน์พุทธ ได้สำเร็จ

96 การท้าทาย ในการสื่อพระคริสต์ สู่คนไทย

97 คริสเตียนไทยควรที่จะสามารถ อธิบายความเชื่อของตน ให้พี่น้องคนไทย สามารถเข้าใจได้

98 อ.เปาโล เรื่องของพระคริสต์ในลักษณะที่คนฟัง จะสามารถเข้าใจได้
เน้นถึงความสำคัญของการที่เราจะต้องสื่อสาร เรื่องของพระคริสต์ในลักษณะที่คนฟัง จะสามารถเข้าใจได้ “...โปรดอธิษฐานเพื่อข้าพเจ้า จะได้ประกาศเรื่องราวอย่างแจ่มชัด ตามที่ควร...” โคโลสี 4:3-4

99 พระเยซู ทรงเลือกใช้ คำศัพท์สามคำได้แก่
ชีวิตนิรันดร์, แผ่นดินของพระเจ้า, ความรอด เพื่อที่จะสื่อสารเนื้อหาคำสอน ให้ผู้ฟังเข้าใจ - เศรษฐีหนุ่ม (มาระโก 10:17-31)

100 ในพระคัมภีร์ องค์พระเยซูคริสต์ ทรงกระทำที่ไม้กางเขน
อธิบายความสำคัญของสิ่งที่ องค์พระเยซูคริสต์ ทรงกระทำที่ไม้กางเขน ในลักษณะที่แตกต่างกัน ให้เหมาะสมกับบริบท ของกลุ่มคนฟังที่แตกต่างกันไป

101 ในบริบทของชาวยิว มีความเข้าใจเรื่อง -แผ่นดินของพระเจ้า
(Kingdom of God) -ระบบการถวายเครื่องสัตวบูชาไถ่บาป (Sacrificial & temple system)

102 การเลือกใช้ศัพท์และวิธีการอธิบาย(Concept) ก็จะอยู่ในบริบทที่คนยิวจะสามารถเข้าใจได้ -ความเป็นมหาปุโรหิตขององค์พระเยซูคริสต์ (ฮีบรู 2:17-18) -ดังเลือดลูกแกะที่ปราศจากตำหนิ (1เปโตร 1:18-19) -การลบล้างพระอาชญาเพราะบาป (Sacrificial atonement) 1ยอห์น 4:10

103 ในบริบทที่ไม่ใช่ชาวยิว
ผู้ฟังไม่ใช่ชาวยิว ไม่มีพื้นฐานหรือ เบื้องหลังพอที่จะเข้าใจ เรื่องแผ่นดินของพระเจ้าและการ ถวายเครื่องสัตวบูชาไถ่บาปแบบ ชาวยิว

104 อาจารย์เปาโลจึงเลือกใช้ศัพท์ และวิธีการอธิบายความหมาย ของไม้กางเขนให้เหมาะสมกับ ผู้ฟังที่อยู่ในอาณาจักรโรมันใน สมัยนั้นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทาส

105 อาจารย์เปาโลจึงใช้เรื่อง
การไถ่จากความเป็นทาสให้เป็นไท (Redemption) บุตรบุญธรรม (Adopted son) พลเมือง (citizenship) แทน (Roman citizen vs subject of a kingdom)

106 โลกทัศน์ของคนเราจะกำหนด ความคิด,การกระทำ, ภาษาที่ใช้ ขนบธรรมเนียมประเพณี

107 ภาษาไทย คำศัพท์ต่างๆ เหมาะสำหรับสื่อ โลกทัศน์แบบพุทธ
ภาษาไทย คำศัพท์ต่างๆ เหมาะสำหรับสื่อ โลกทัศน์แบบพุทธ

108 ตัวอย่างเช่น …. การมองโลกแบบอนัตตา ภาษาไทย มีสรรพนามแทน “ฉัน” มากมาย เช่น กู อาตมา ข้า หนู ดิฉัน ผมข้าพเจ้า ชื่อเล่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง อนิจจังเป็นวัฏจักร - ไม่เป็นไร สบายๆ ทางเดินสายกลาง - ไม่เป็นไร อย่ายึดติด อะไรเข้ามาในชีวิต ไม่เป็นไร

109 การสื่อสาร Communication ความสัมพันธ์ ผู้รับ-ผู้ส่ง
= ข้อมูล message + ความสัมพันธ์ ผู้รับ-ผู้ส่ง relationship

110  ?  ข้อมูล + การสื่อสาร ภรรยา เสียงไม่ดี แปลกหน้า เสียงไม่ดี
ข้อมูล + ความสัมพันธ์ = การสื่อสาร ? ภรรยา เสียงไม่ดี แปลกหน้า เสียงไม่ดี ภรรยา เสียงดี

111 คำศัพท์ไทยที่เป็นหลักคริสตธรรม ที่คริสตชนไทย
ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร ข้ามไปสู่โลกทัศน์แบบพุทธ

112 - พระเจ้า : พระวิญญาณบริสุทธิ์ (Holy Spirit)
- ความรัก (Love) - ความบาป (Sin) - ตัวตน (Self) - ความรอด (Salvation) - กลับใจ (Conversion) - รับเชื่อ (Accept Christ) - ความเชื่อ (Faith) - สามัคคีธรรม (Fellowship) - หนุนใจ (Encouragement) - อธิษฐาน (Prayer)

113 เวลาเราสื่อสารข่าวประเสริฐ ไม่ว่าจะเป็น
เราต้อง ระมัดระวัง เวลาเราสื่อสารข่าวประเสริฐ ไม่ว่าจะเป็น * การเทศนา (preach) * เป็นพยาน (witness) * สอนพระคัมภีร์ (teach) * สร้างสาวก(Discipleship, train) ว่าเราสื่อไปแล้ว เขาเข้าใจตามที่เราตั้งใจสื่อหรือไม่

114 ปัญหา : เราจะสื่อสารพระกิตติคุณให้กับคนไทยที่มีโลกทัศน์แบบพุทธได้อย่างไร

115 ปัจจุบันคริสเตียนไทย แก้ปัญหาโดยไม่รู้ตัว ทำให้เรามองข้ามปัญหานี้
ปัจจุบันคริสเตียนไทย แก้ปัญหาโดยไม่รู้ตัว ทำให้เรามองข้ามปัญหานี้

116 เราแก้ปัญหาโดย การอาศัยเวลาที่จะอธิบาย และบัญญัติศัพท์ภาษาไทย แต่ละคำที่เราใช้ ในการสื่อสารขึ้นมาใหม่ โดยใส่ความหมายแบบคริสต์เข้าไป

117 เป็นการเหมาะสมหรือที่เราจะคาดหวัง ให้พี่น้องชาวพุทธต้องมีความ
เป็นการเหมาะสมหรือที่เราจะคาดหวัง ให้พี่น้องชาวพุทธต้องมีความ *เข้าใจแบบยิวเสียก่อน หรือ *เข้าใจบริบทของสมัยอาจารย์เปาโลเสียก่อน จึงจะสามารถเข้าใจเรื่องพระเยซูคริสต์ที่ เราสื่อให้เขาฟัง โดยใช้บริบทซึ่งคนที่มี โลกทัศน์แบบพุทธไม่คุ้นเคย?

118 คริสเตียนจะต้องตื่นขึ้น ข่าวประเสริฐที่เรากำลัง
และตระหนักว่า ข่าวประเสริฐที่เรากำลัง สื่อออกไปนั้น ไม่เป็นที่เข้าใจ สำหรับพี่น้อง ที่มีโลกทัศน์พุทธ

119 ในฐานะที่เราเป็นคริสเตียนไทย
เราจะเลือก *คำศัพท์และ *วิธีการอธิบายเรื่องของไม้กางเขน อย่างไร เพื่อให้คนที่มีโลกทัศน์แบบพุทธฟังแล้ว เข้าใจและมีความหมายสำหรับเขา ?

120 เขามองและเข้าใจ เราจะสามารถสนองตอบความต้องการ ของพี่น้องชาวพุทธ
ได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจโลกทัศน์พุทธ และเข้าใจว่าปัจจุบัน เขามองและเข้าใจ ศาสนาคริสต์ว่าอย่างไร

121 ที่ผ่านมา เราไม่ได้สื่อพระคริสต์ ในลักษณะที่เพื่อนชาวพุทธ จะเข้าใจ และมีความหมาย สำหรับชีวิตของเขา

122 “สื่อสารข่าวประเสริฐ”
เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่คริสเตียน จะต้องคิดหาวิธีในการ “สื่อสารข่าวประเสริฐ” ให้แตะต้องจิตใจชาวไทยจริงๆ

123 การที่จะสื่อพระคริสต์ ข้ามสู่โลกทัศน์พุทธ จะต้องอาศัย การสื่ออย่างชาญฉลาด มีไหวพริบเฉียบคม

124 สิ่งที่เราเรียนรู้ ในสถานการณ์ไทย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์อื่นๆ (ประเทศพุทธอื่น)

125 ขอเชิญชวนพี่น้องทุกท่าน มาร่วมกันหาหนทางคิดแก้ไข “สื่อสารข่าวประเสริฐ”
เพื่อที่จะสามารถ “สื่อสารข่าวประเสริฐ” ให้โดนใจชาวไทยจริงๆ


ดาวน์โหลด ppt การสื่อสาร ข่าวประเสริฐ ในบริบทของ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google