งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข. ประเภทตำนาน-พงศาวดารท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข. ประเภทตำนาน-พงศาวดารท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข. ประเภทตำนาน-พงศาวดารท้องถิ่น
เอกสารประเภทนี้เป็นเพียงเอกสารชั้นรองที่ใช้ประกอบการศึกษากับหลักฐานประเภทอื่นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ พระราชพงศาวดาร / ตำนานพื้นบ้าน ตำนานศาสนา

2 -  ประเภทพระราชพงศาวดารและตำนานพื้นบ้าน เช่น
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่สำคัญ น่าเชื่อถือที่สุดรวบรวมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2223) พงศาวดารเมืองน่าน(พงศาวดารล้านนาไทย) พงศาวดารโยนก เป็นต้น ประเภทตำนานศาสนา ได้แก่ ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา สิหิงคนิทาน เป็นต้น

3 หลักฐานประเภทนี้จัดเป็นเอกสารชั้นที่ 2 คือข้อความที่เขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ โดยผู้เขียนมิได้เห็นเหตุการณ์และอาจเพิ่มเติมความเห็นส่วนตัวเข้าไปด้วย ดังนั้นการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (ทั้งที่เป็นศิลาจารึก ใบลาน สมุดข่อยฯ) จึงจำเป็นต้องตรวจสอบและพิจารณาให้ดีเสียก่อน

4 ค. จดหมายเหตุจีน จดหมายเหตุจีนเป็นเอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าสนใจซึ่งอาจไม่พบในเอกสารอื่นเนื่องจากจีนเป็นชาติที่สนใจประวัติศาสตร์และราชสำนักจีนให้ความสำคัญแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบันทึกเหตุการณ์และวันเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นวันเวลาที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุจีนจึงมีความน่าเชื่อถือสูง ข้อมูลอกสารจีนที่เกี่ยวกับสุโขทัยถือเป็นข้อมูลชั้นที่ 1 ซึ่งหมายถึงข้อความที่บันทึกหรือเล่าโดยผู้อยู่ร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้นๆ

5 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ได้แก่ หลักฐานโบราณคดีและหลักฐานทางศิลปกรรมประเภทต่างๆ, หลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม, ชุมชนโบราณ หลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรม ได้แก่ ก.  สถาปัตยกรรม ข.  ประติมากรรม ค.  จิตรกรรม ง.   เครื่องสังคโลก จ. ชุมชนโบราณ

6 สถาปัตยกรรม ก. เจดีย์ เจดีย์สุโขทัยแบ่งได้เป็น 1. แบบสุโขทัยแท้ ฐานเป็นสี่เหลี่ยม 3 ชั้นซ้อนกัน องค์เจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ยอดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือรูปดอกบัวตูม เช่น ที่วัดมหาธาตุ, วัดตระพังเงิน, พระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย (รูป 2,3,4)

7

8

9

10 2. เจดีย์ทรงกลมหรือเจดีย์ทรงลังกา คงได้อิทธิพลมาจากเกาะลังกาพร้อมพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ตัวอย่างของเจดีย์แบบนี้ เช่น เจดีย์ที่วัดตะกวน, วัดสระศรี นอกจากนี้เจดีย์ช้างล้อมก็จัดอยู่ในประเภทนี้ (รูป 5,6,7)

11

12

13

14 3. เจดีย์แบบศรีวิชัย หรือ เจดีย์ทรงปราสาท คือเจดีย์ที่มีฐานและองค์ระฆังสูงทำเป็นสี่เหลี่ยม บางครั้งมีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป ตอนบนเป็นพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา และเจดีย์องค์เล็กๆประกอบอยู่ที่มุม ตัวอย่างได้แก่ มณฑปวัดเขาใหญ่ และเจดีย์รายบางองค์ในวัดเจดีย์เจ็ดแถว ลักษณะของเจดีย์แบบนี้คงได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัย แต่นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าได้รับแบบอย่างมาจากศิลปะพม่าที่เมืองพุกาม (รูป 8,9,10)

15

16

17

18 เจดีย์อีกแบบหนึ่งที่พบในสุโขทัย คือ เจดีย์ทรงจอมแห เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนของฐานมีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป องค์ระฆังก่อเป็นริ้วคล้ายแห ได้แก่เจดีย์ที่เขาพระบาทน้อย (รูป 11)

19

20 ข. ปราสาทเขมร ในกำแพงเมืองเก่าสุโขทัยมีอยู่สองแห่ง คือ ศาลตาผาแดง กับปราสาทสามหลังวัดศรีสวาย สร้างด้วยอิฐ ศาสนสถานทั้งสองเป็นปราสาทในศิลปะเขมร (รูป 12,13)

21

22

23 ค. ปรางค์ สถาปัตยกรรมสุโขทัยอีกประเภทหนึ่งคือ พระปรางค์ เป็นสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลขอมแต่มีลักษณะทรวดทรงที่สูงชลูดขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น พระปรางค์ที่วัดศรีสวาย ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ และพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง (รูป 14-15)

24

25

26 ง. โบสถ์และวิหาร โดยทั่วไปวิหารสมัยสุโขทัยจะใหญ่กว่าโบสถ์ ผนังก็มักเจาะเป็นช่องลูกกรงเล็กๆแทนหน้าต่าง ตัวอย่างเช่น วิหารที่วัดนางพญา เป็นต้น (รูป 16)

27

28 จ. มณฑป (เรือนที่ประดิษฐานพระพุทธรูป) เป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมอีกแบบหนึ่งในสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยม และมักมีพระพุทธรูปสี่อิริยาบถประดับที่ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้าน ตัวอย่าง เช่น มณฑปวัดศรีชุม ผนังของมณฑปมี 2 ชั้น มีบันไดอยู่กลางซึ่งสามารถเดินขึ้นไปที่ด้านหลังพระพุทธรูปและหลังคาได้ (รูป 17)

29

30 มณฑปนี้ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสถาปัตยกรรมเมืองศรีสัชนาลัย มีรูปแบบพิเศษ คือ นิยมสร้างประตูทาง
เข้าด้านหน้าโค้งแหลม (แบบโค้งกลีบบัว) มีซุ้มประตูซ้อน กัน 2 ชั้น แบ่งออกเป็น ก.  มณฑปขนาดเล็ก – นิยมประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย เช่น มณฑปวัดชมชื่น วัดกุฎีราย วัดสวนแก้วอุทยานน้อย (รูป 18,19,20)

31

32

33

34 ข.  มณฑปขนาดใหญ่ – ประดิษฐานพระพุทธรูปปาง
ลีลาหรือยืน เช่น มณฑปวัดพญาดำ วัดสระปทุม วัดหัวโขน


ดาวน์โหลด ppt ข. ประเภทตำนาน-พงศาวดารท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google