งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

2 หลักการ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โดยปกติแล้วในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะมีอยู่ 2 หลักการใหญ่ ๆ คือ 1. การพัฒนาคุณค่าจากภายใน 2. การสร้างสภาพแวดล้อมภายนอก

3 หน่วยวิเคราะห์ 1. การพัฒนาคุณค่าจากภายใน
เดิมใช้จารีตประเพณี คำสอน ความเชื่อทางศาสนา การขัดเกลาทางสังคม 2. การสร้างสภาพแวดล้อมภายนอก ปัจจุบันเชื่อว่า สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคคลและกลุ่มบุคคล โดยเฉพาะปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนค่านิยมในยคโลกาภิวัตน์

4 คำถามที่ถามกันมากในสมัยนี้คือ
“ทิศทางการพัฒนาสังคมน่าจะเป็นอย่างไร ในทศวรรษหน้า ? และบุคลิกภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ ควรจะเป็นอย่างไร ?”

5 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม เชื่อว่ามีทางเลือก 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. มีการพัฒนาภายใต้สมมุติฐานว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย นั้นก็คือ ปัญหาสะสมมากขึ้น (กฎแห่งวิวัฒนาการ) 2. มีการปฏิรูปบางส่วนของปัญหาใหญ่ ๆ เช่น ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปสวัสดิการ ปฏิรูปภาษี และปฏิรูปการศึกษา ฯลฯ (การปฏิรูปสังคม) 3. มีการพัฒนาสังคมที่เน้นการเปลี่ยนแปลงระบบ นั่นคือ มีภาพสังคมใหม่ มีเป้าหมายใหม่ มีค่านิยมใหม่ มีการปรับเปลี่ยนระบอย่างกว้างขวางแบบถอนรากถอนโคน (การปฏิวัติสังคม)

6 การพัฒนาสังคม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในระยะหลัง ๆ ในทฤษฎีสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมมีการเน้นเรื่อง “การพัฒนามนุษย์” (Human Development) มากขึ้น ทั้งนี้เพราะในระยะที่ผ่านมาเราพูดถึงแต่เรื่องระบบและโครงสร้าง แต่เราไม่มองตัวมนุษย์ การพัฒนามนุษย์ แท้จริงแล้วก็คือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ หมายความว่า เราจะต้องสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ความเป็นมนุษย์นั่นเอง

7 ในระบบสังคมสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นโลกตะวันตกของทุนนิยมหรือโลกตะวันออกของสังคมนิยม (ก่อนล่มสลาย) ปรากฏว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เหมือนกัน นั่นคือ

8 1. ทั้ง 2 ระบบเน้นความสำเร็จทางด้านวัตถุ เน้นโลกภายนอก ไม่มองโลกภายในจิตใจ
2. ปัจเจกชนที่อยู่ในระบบจึงมีแนวโน้มที่จะต้องการวัตถุและเน้นค่านิยมในการบริโภควัตถุเท่านั้น 3. ทั้ง 2 ระบบเน้นการใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้ามากขึ้น 4. มนุษย์ของทั้ง 2 ระบบ ได้กลายเป็นเครื่องจักร

9 ท่ามกลางวิกฤติการณ์ในสังคมกระแสหลัก ซึ่งหมายถึงกระแสที่กำลังดำเนินอยู่ทั่วโลก ปรากฏว่ามีความพยายามเกิดขึ้นทางทฤษฎีและอุดมการณ์เพื่อสร้างแบบจำลองขึ้นมาใหม่ ที่เรียกว่า แนวคิดแบบ “มนุษยนิยม” (Humanism) ซึ่งเป็นการนำมนุษย์กลับมาสู่ศูนย์กลางของระบบ แนวมนุษยนิยมมีหลายแนว เช่น แนวของคริสต์ศาสนา พุทธปรัชญา แนวมาร์กซิสต์ แนวคานธี และ แนวจิตวิทยาแบบมนุษยนิยม (Humanistic Psychology)

10 ปรัชญาแนวจิตวิทยามนุษยนิยม (Humanistic Psychology)
ทฤษฎีนี้จะเน้นเรื่องใหญ่ ๆ 3 เรื่องด้วยกันคือ เรื่องประสบการณ์ เรื่องความเข้าใจ และเรื่องการพัฒนามนุษย์ ทางด้านประสบการณ์ ย้ำว่า เราควรมีวิธีการสัมผัสโลกด้วยวิธีการใหม่ ๆ ไม่ใช่เน้นวิทยาศาสตร์แบบกลไกหรือเน้นวิชาการ เราไม่เน้นเหตุผล แต่เน้นการพัฒนาความรู้สึกลงไปในจิตใจมนุษย์ โดยไม่ให้มนุษย์ยึดถือกับโลกภายนอก

11 ทางด้านความเข้าใจ หมายความว่า เราควรจะมองโลกด้วยสายตาที่กว้างไกล มองโลกไม่แยกเป็นส่วน ๆ มีจิตสำนึกมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ทางด้านการพัฒนา เราจะใช้แนวทางที่สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีหลายระดับจากความต้องการพื้นฐานไปถึงการพัฒนาทางด้านจิตใจและค่านิยมในระดับปัจเจกชน

12 ปัญหาและข้อจำกัดของแนวคิด
อย่างไรก็ตาม ทางด้านสังคมมหภาค แนวคิดนี้อาจมีปัญหาเพราะระบบโครงสร้างอำนาจยังเหมือนเดิม เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ระบบโครงสร้างอำนาจและระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ยังมีอิทธิพลต่อจิตใจและชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ส่วนดีของแนวคิดมนุษยนิยมคือ เรามีปรัชญา ใหม่ ๆ ขึ้นมา เราเรียกว่า “ปรัชญาที่เน้นการพัฒนามนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสังคม”

13 ปรัชญาที่เน้นการพัฒนามนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสังคม มีหลักการใหญ่ ๆ อยู่ 5 หลักการด้วยกัน คือ
1. การพัฒนาต้องเน้นความเสมอภาคของสังคม 2. การพัฒนาต้องเน้นความหลากหลายและความเป็นอิสระของการพัฒนาตนเอง ไม่มีการครอบงำ 3. การคิดคำนึงถึงอนาคตและระบบนิเวศเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง 4. ไม่ลืมที่จะแก้ไขปัญหาของผู้ยากไร้ 5. ต้องส่งเสริมการปกป้องเสรีภาพ และการสร้างสรรค์ชีวิตของมนุษย์ให้มีความหมาย

14 ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ : กรณี “สรรโวทัย” ในศรีลังกา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ : กรณี “สรรโวทัย” ในศรีลังกา มีการนำเอาแนวคิดบางอย่างของชาวพุทธมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม คือ มีการแบ่งปันทรัพยากรให้แก่เพื่อนมนุษย์ในชุมชน ใช้หลักเศรษฐศาสตร์แห่งความรัก ทำงานเพื่อช่วยกันทางเศรษฐกิจ ยึดหลักความเสมอภาคทางสังคม

15 หลักการพัฒนาแบบพุทธ จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์หลักเน้นที่ “ความเป็นมนุษย์” มากกว่า “ความปรารถนาที่จะครอบครองวัตถุ” เน้นเรื่องความสามัคคี (Solidarity) ใช้หลักการมีส่วนร่วม (Participation) การพัฒนาไม่ใช่เรื่องของการสงเคราะห์ แต่เป็นเรื่องของการปลดปล่อยและหลุดพ้น (Liberation)

16 มนุษย์และความเป็นมาของมนุษย์
คำสอนของศาสนาคริสต์ กล่าวว่า มนุษย์สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษคู่แรกของโลก ชื่อ อาดัม และอีวา นักบวชชื่อ เซนต์ ออกัสติน (ค.ศ ) คาดคะเนว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์คู่นี้เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตศักราช ในคำสอนของพุทธศาสนา ไม่ระบุถึงกำเนิดโลกและจักรวาล มีเพียงร่องรอยปรากฏในพระคัมภีร์เป็นบาลีบทหนึ่งว่า “ปฐมัง กลลัง โหติ” แปลว่า ในเบื้องแรกของโลกนั้นมีแต่สัตว์เซลเดียว

17 ต่อมานักชีววิทยาชาวสวีเดนชื่อ Carl Von Linne (มีวิตอยู่ระหว่างปี ค. ศ
ต่อมานักชีววิทยาชาวสวีเดนชื่อ Carl Von Linne (มีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ ) และเป็นที่รู้จักกันดีในนามภาษาละตินว่า ลินเนียส (Linneaus) ได้จัดระบบสิ่งมีชีวิตไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Systema naturae (System of Nature) และเป็นบุคคลแรกที่จัดกลุ่ม Homo Sapiens ไว้ในกลุ่มเดียวกับลิงและวานรอื่น ๆ เขาเรียกกลุ่มสัตว์เหล่านี้ว่า “ไพรเมตส์” (primates) แนวคิดของ ลินเนียส เห็นว่า แม้คนและวานรจะมีลักษณะทางสรีระคล้ายกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน หมายความว่า วานรชนิดต่าง ๆ อาจมีการแตกสาขาพิเศษและหยุดการวิวัฒนาการเพียงแค่นั้น นักธรรมชาติวิทยาในสมัยศตวรรษที่ 18 หลายท่าน ต่างก็เสนอความคิดเห็นในลักษณะเดียวกัน อาทิ ยอร์จ บัฟฟอน (Gorges Buffon, ) จีน ลัมมาร์ค (Jean lamarck, ) และ เอรัสมัส ดาร์วิน (Erasmus Darwin, ) ซึ่งคนหลังสุดนี้เป็นปู่ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

18 ในปี ค.ศ.1859 ชาร์ลส์ ดาร์วิน เขียนหนังสือชื่อ 0n the Origin of Species by Means of Natural Selection ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักฐานการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและแนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสรรตามธรรมชาติ และต่อมาเขาได้เขียนหนังสือชื่อ The Decent of Man ซึ่งกล่าวถึงวิวัฒนาการของมนุษยชาติอย่างละเอียด หนังสือเล่มนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่ง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เจริญขึ้นมาตามลำดับ มีการค้นพบหลักฐานอวัยวะต่าง ๆ (fossil) และพัฒนาวิธีการทำนายอายุอวัยวะเหล่านั้นตลอดจนมีการทำนายอายุของโลก และรูปแบบของการวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ข้อค้นพบเหล่านี้ได้ทำให้คำกล่าวของนักบวชชื่อ เซนต์ ออกัสติน มีผู้เชื่อถือน้อยลง

19 วิวัฒนาการของมนุษยชาติ
นักมานุษยวิทยาอธิบายว่า มนุษยชาติมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ดังนี้ 1. มนุษย์มีบรรพบุรุษที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งชื่อ ลิงเอป (Apes) หรือ ลิงคน ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 25 ล้านปีมาแล้ว 2. มนุษย์มีบรรพบุรุษมาจาก รามาพิทิคุส (Ramapithecus) ค้นพบในประเทศอินเดียเมื่อปี ค.ศ.1939 และพบอีกในแอฟริกาและยุโรป สัตว์ชนิดนี้มีขากรรไกรและฟันใกล้เคียงกับมนุษย์มาก เชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ระหว่าง ล้านปีมาแล้ว 3. มนุษย์มีบรรพบุรุษมาจากลิงใหญ่ชื่อ ออสตราโลพิทิคุส (Astralopithecus) พบในแถบแทนซาเนียในแอฟริกาใต้ สามารถยืนตัวตรงคล้ายมนุษย์ คาดว่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2 ล้านปี – 5 แสนปี

20 4. มนุษย์มีบรรพบุรุษมาจาก โฮโม อีเรคตุส (Homo Erectus) มีลักษณะเป็นคนที่ยืนตัวตรง ซากของมนุษย์เผ่าพันธุ์นี้พบในแถบชวา และประเทศจีน จึงเรียกว่า มนุษย์ชวา และมนุษย์ปักกิ่ง คาดว่ามีอายุอยู่เมื่อประมาณ 1.7 ล้านปี – 1 แสนปีมาแล้ว มนุษย์โฮโม อีเรคตุส รู้จักทำเครื่องมือหิน และเริ่มใช้ไฟแล้ว 5. กลุ่มมนุษย์ นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal Man) ค้นพบที่หุบเขานีแอนเดอร์ธัลในเยอรมันนี ต่อมาพบตามถ้ำหลายแห่งในยุโรป มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีรูปร่างใหญ่ เป็นนักล่าสัตว์และรู้จักใช้ไฟเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องมือต่าง ๆ ฝังรวมอยู่กับศพ สันนิษฐานว่ามนุษย์กลุ่มนี้รู้จักทำพิธีฝังศพและมีสำนึกทางสังคมและศาสนา เชื่อกันว่ามีชีวิตอยู่ราว 1.5 แสนปี – 40,000 ปีมาแล้ว 6. กลุ่มมนุษย์ โฮโม ซาเปียนส์ (Homo Sapiens) นักมานุษยวิทยาเชื่อว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลวิวัฒนาการมาเป็น โฮโม ซาเปียนส์ หรือมนุษย์ปัจจุบัน โฮโม ซาเปียนส์ชุดแรกสุดคือ มนุษย์โครมันยอง (Cromagnon) ค้นพบที่ประเทศฝรั่งเศส มีอายุอยู่ระหว่าง 4 – 2.5 หมื่นปี และเชื่อว่า โครมันยอง เป็นมนุษย์พวกแรกที่ออกมาจากถ้ำเพื่อสร้างบ้าน เริ่มทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเรียกว่า ยุคแห่งการปฏิวัติเกษตรกรรม โดยนับย้อนหลังไปประมาณ 20,000 ปี

21 เชื้อชาติเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการซึ่งจำแนกมนุษย์แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน เกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. เกิดจากการเลือกสรรทางธรรมชาติ 2. เกิดจากการผ่าเหล่า 3. เกิดจากการแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว 4. เกิดจากการเลือกสรรทางเพศ 5. เกิดจากการเลือกสรรทางสังคม 6. เกิดจากการผสมเป็นพันธุ์ใหม่

22 ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์
ทัศนะทางพุทธศาสนา เห็นว่า ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์มี 2 ด้าน คือ 1. ความต้องทางด้านร่างกายหรือวัตถุ คือ ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค 2. ความต้องการทางด้านจิตใจหรือนามธรรม ความต้องการของมนุษย์ในลักษณะนี้มีแทรกอยู่ในพระไตรปิฏก หมวดอริยสัจ 4 หมวดอิฏฐารมณ์ 4 และมีแทรกอยู่ในตอนท้ายของบทสสวดมนต์ของพระสงฆ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือ ตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา กลุ่มที่สองคือ อิฏฐารมณ์ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข กลุ่มที่สามคือ คำให้พรของพระสงฆ์ ได้แก่ อายุ วรรโณ สุขัง พลัง

23 ทัศนะของนักจิตวิทยา เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความต้องการอยู่ 2 ด้านด้วยกัน คือ
1. ความต้องการทางร่างกาย (Organic Needs) ประกอบด้วยความต้องการอาหาร น้ำ อากาศหายใจ การพักผ่อน การขับถ่าย ที่อยู่อาศัย ความต้องการทางเพศ เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค 2. ความต้องการทางจิตใจ (Psychological Needs) หรือความต้องการทางสังคมอันเป็นความต้องการขั้นสูงของมนุษย์ ประกอบด้วย ความต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ ความต้องการให้ผู้อื่นยกย่อง สรรเสริญ นับถือและชมเชย ตลอดจนความต้องการประสบความสำเร็จ

24 สภาพัฒนาการโพ้นทะเล ยูเนสโก สรุปเกณฑ์คุณภาพชีวิตไว้ดังนี้
1. อัตราการตายของเด็กทารก (in-font mortality Rate) จำนวน 1,000 คน ต่อหนึ่งปี ดัชนีชี้ให้เห็นถึงความสามารถของประชากรในการจัดสรรปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ 2. อายุขัยเฉลี่ย (life expectancy) ของประชากร 3. ระดับการศึกษาหรือการอ่านออกเขียนได้ของประชากร ในขณะที่ คณะกรรมการประเมินผลโครงการพัฒนาชนบท นิยามว่า ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากร ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดเกณฑ์พิจารณาความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เพื่อถือเป็นเกณฑ์ประเมินคุณภาพของคนไทยในระดับพื้นฐาน ดังนี้

25 1. การกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะในปริมาณที่เพียงพอ
2. มีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 3. มีงานทำอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 4. ได้รับบริการพื้นฐานที่จำเป็น 5. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6. มีผลผลิตที่เพียงพอ 7. มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น 8. สามารถควบคุมช่วงเวลาในการมีบุตรและจำนวนบุตร 9. ประพฤติตามขนบธรรมเนียมประเพณี หลักธรรมทางศาสนา และรักษาส่งเสริมกิจกรรมวัฒนธรรม จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีผู้วางเกณฑ์ประเมินคุณภาพชีวิตไว้ต่างกัน อย่างไรก็ดีการกำหนดความต้องการของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับความเชื่อ ค่านิยม การให้คุณค่าและการให้ความหมายต่อชีวิตของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละช่วงด้วย

26 ความเชื่อ ค่านิยม และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ความเชื่อ ค่านิยม และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทุกสังคมจะมีระบบความเชื่อของตนเอง ความเชื่อเป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ ประชาชนในภาคอีสานมีความเชื่ออยู่ 2 ระบบคือ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ และความเชื่อในเรื่องโชคลาง 1. ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์ หมายถึง อำนาจลึกลับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง น้ำมนต์ และเวทมนต์คาถา โดยปกติไสยศาสตร์มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1.1 เพื่อการผลิตหรือก่อให้เกิดผลผลิต เช่น ทำให้เกิดฝนตก ให้ได้กำไรจากการค้า ปลูกพืช 1.2 เพื่อป้องกัน เช่น ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ให้ปลอดภัยในการเดินทาง 1.3 เพื่อการทำลาย เช่น ทำให้ศัตรูถึงแก่ความตาย หรือพ่ายแพ้

27 ไสยศาสตร์ ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ
1. มนต์หรือคาถาอาคม (the spell) คือ ข้อความอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประพันธ์ขึ้นสำหรับบริกรรม หรือสวดขับเพื่ออ้อนวอนสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ (Super-nature) มีผีสางเทวดา ฯลฯ 2. พิธี (Rite) การใช้เวทมนต์ต้องมีพิธีกรรม เช่น เสก เป่า สวดบริกรรม 3. เงื่อนไขของผู้ปฏิบัติ (Condition of Performance) เนื่องจากการใช้เวทมนต์ คาถา ต้องมีพิธีกรรม แต่ผลจะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัตินั้นด้วย เช่น ข้อห้าม หรือต้องละเว้นทานอาหารบางอย่าง 4. อุปกรณ์พิธี ในการประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ อุปกรณ์ในการทำพิธีถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นมาก เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องบูชา และที่ตั้งอุปกรณ์ 5. วันประกอบพิธี ขึ้นอยู่กับพิธีไสยศาสตร์ที่จะทำ ว่าสมควรจะทำในวันไหน เช่น วันเสาร์ห้า เป็นต้น

28 2. ความเชื่อเรื่องโชคลาง
โชคลาง หมายถึง เครื่องหมายที่ปรากฏให้เห็นอันบอกเหตุร้ายหรือดี สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมอีสานมีความยึดมั่นในเรื่องโชคลางจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติในสังคม เครื่องหมายโชคลางบอกร้ายหรือดี มีดังนี้ 2.1 นามธรรมของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ ชื่อคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ 2.2 รูปธรรมของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ รูปร่างลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ 2.3 ความฝัน ถือกันว่า “ความฝัน” เป็นการสะท้อนโชคลาง ในปัจจุบันความฝันมักได้รับการตีความหมายเกี่ยวกับการเสี่ยงโชคในเรื่องเลขท้ายล็อตเตอรี่ 2.4 ประสบการณ์ เช่น เห็นขบวนศพเป็น “โชคลาง” อย่างหนึ่ง 2.5 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ถือเป็นโชคลางอย่างหนึ่ง 2.6 พิธีการ เช่น การปูที่นอนให้แก่คู่สมรส

29 ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพ
สังคมชนบทที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เวลาเจ็บป่วยบางรายไปพบแพทย์ บางรายรักษากับหมอยากลางบ้าน บางรายให้หมอแผนโบราณโดยวิธีการเสกเป่าคาถากับหมากพลู การรักษาแบบไสยศาสตร์จะมีข้อห้ามเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิภาพ ดังนี้ การปฏิบัติของสตรีมีครรภ์ เช่น ห้ามรับประทานมะเขือพวง เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดพรายคืออาการนอนไม่หลับ มีจุดคล้ำตามตัว สตรีมีลูกอ่อนห้ามรับประทานของเผ็ด เปรี้ยวและมัน ห้ามใช้สบู่เหลวเวลาอาบน้ำ เพราะจะทำให้ผิดสำแดง ผู้เป็นมารดาให้อาบน้ำร้อน ถ้าอาบน้ำเย็นจะทำให้เลือดขึ้นสมอง ห้ามทำงานหนัก ให้เข้านอนแต่หัวค่ำ ให้ดื่มน้ำข้าวที่ได้จากการหุงข้าวโดยผสมเกลือเล็กน้อย ถ้าเด็กนอนสะดุ้งให้เอามือจับหัวเด็ก อาการสะดุ้งจะหาย เวลาเจ็บป่วยต้องเรียกขวัญ และเชื่อว่าน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพรักษาคนที่นอนกัดฟันให้หายได้

30 การฝังรกเด็ก ต้องฝังหรือเผาภายใน 3 วัน ควรฝังนอกบริเวณบ้าน โดยขุดหลุมเอาแกลบวางบนหลุม เอาไฟจุดข้างบน ถ้าไม่เผาเชื่อว่าจะทำให้เด็กมีอาการคันตามตัว ห้ามฝังในบริเวณเพราะจะทำให้เด็กเจ็บป่วยบ่อย การปลูกข้าว ห้ามปลูกข้าวเจ้าล้อมข้าวเหนียว หรือข้าวเหนียวล้อมข้าวเจ้า เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดภัยพิบัติ และเกิดการเจ็บป่วยภายในครอบครัว ข้อห้ามในการรับประทานอาหาร สำหรับคนปกติห้ามยืน เดิน นอนรับประทานอาหาร คนเกิดวันพฤหัสบดีห้ามรับประทานเนื้อควาย ของเผ็ด หรือภรรยาต้องให้สามีรับประทานอาหารก่อน 3 คำ แล้วจึงรับประทานตาม สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานหัวปลีและมะละกอ ห้ามรับประทานเสียงดัง ห้ามคุย เวลาเดินทางไกลห้ามรับประทานเนื้อสัตว์และขนมจีน ห้ามรับประทานผลเพการวมกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เสียสุขภาพ

31 ข้อห้ามเกี่ยวกับการเดิน ห้ามเดินเสียงดัง ห้ามเดินบนที่สูง ห้ามเดินผ่านหน้าผู้ใหญ่ ห้ามเดินกระทืบเท้าเสียงดัง ห้ามสตรีอุ้มลูกบ่อยเด็กจะเคยตัว ห้ามสตรีเดินแกว่งแขน ห้ามเดินเหยียบขั้นบันไดเสียงดัง จะไม่มีใครขอแต่งงานเพราะถือเป็นเรื่องจัญไร ห้ามเดินลอดราวตากผ้า ห้ามเก็บของตก เวลาเดินทางไกลห้ามเดินข้ามไม้คานหาบน้ำ ห้ามเดินผิวปากตอนกลางคืน ห้ามเดินข้ามครกหรือสากตำข้าว ห้ามเดินเอาเท้าขูดพื้นจนเสียงดัง ห้ามเดินแรงจนได้ยินเสียงผ้าถุงดังพึบพับ ข้อห้ามเกี่ยวกับการนั่ง ห้ามนั่งค้ำศีรษะผู้ใหญ่ ห้ามนั่งชันเข่า ห้ามนั่งเอาก้นกระแทกพื้นเสียงดัง ห้ามนั่งบนเตาไฟ สตรีห้ามนั่งขัดสมาธิ ห้ามนั่งไขว่ห้าง ห้ามนั่งแกว่งขา สตรีห้ามนั่งยอง ๆ ห้ามนั่งบนครกตำข้าว ผู้ชายไม่เคยบวชห้ามนั่งสมาธิ ห้ามนั่งอุ้มลูกบนครกตำข้าว จะทำให้เด็กร้องไห้ไม่หยุด

32 ข้อห้ามเกี่ยวกับการนอน สตรีห้ามนอนหงาย ห้ามนอนคว่ำ ให้นอนตะแคง ห้ามนอนสลับหัวเท้ากัน ห้ามนอนเสมอสามี ห้ามนอนเอาศีรษะไปทางทิศตะวันตก เดินทางไกลห้ามนอนก่ายหน้าผาก ข้อห้ามเกี่ยวกับการยืน ห้ามยืนใกล้ผู้ใหญ่ ห้ามยืนถ่างขา ห้ามยืนเท้าสะเอว ห้ามยืนใกล้สามี ห้ามยืนใกล้บ่อน้ำ ห้ามยืนใต้สะพาน ห้ามยืนขวางประตู ห้ามยืนขวางในบ้าน ข้อห้ามอื่น ๆ เช่น ห้ามหัวเราะเสียงดังในเวลากลางคืน ห้ามแต่งกายไม่สุภาพไปทำบุญ ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ ห้ามด่าสามี ห้ามทำไม้คานหัก ห้ามทำครกตำน้ำพริกแตก ฯลฯ

33 ทฤษฎีทางประชากร ความหมายของประชากร
ในทัศนะของนักสังคมศาสตร์ ประชากร หมายถึง คน ซึ่งจำแนกเป็นเพศชาย และเพศหญิง เท่านั้น ในทัศนะของนักชีววิทยา ประชากร หมายถึง คน พืช และสัตว์ ในทัศนะของนักสถิติหรือนักวิจัย ประชากร หมายถึง คน พืช สัตว์ และยังหมายรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถเป็นหน่วยในการนับได้

34 ทฤษฎีทางประชากร 1. ทฤษฎีประชากรลัทธิพาณิชย์นิยม นักทฤษฎีในกลุ่มนี้ ได้แก่ บาเทโร (Batero) แทมเบอร์ (Tamber) และ สเปนเจอร์ (Spenger) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ยิ่งประชากรมาก ยิ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ 2. ทฤษฎีประชากรด้านวัฒนธรรม นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า อัตราการเกิดของประชากรถูกกำหนดโดยวัฒนธรรม อย่างเช่น ดูม็องค์ (Dumont) ชาวฝรั่งเศส ได้ตั้งทฤษฎี Social Capillarity เสนอว่า บุคคลที่ต้องการความสำเร็จควรอยู่เป็นโสด ส่วน เบรนทาโน (Brentano) เชื่อว่า อัตราการเกิดจะลดหรือเพิ่มขึ้นอยู่กับจิตใจเป็นสำคัญ ในขณะที่ สเตรนเบอร์ก (Ungern Strenberg) เสนอว่า ชนชั้นสูงมักมีบุตรน้อย ขณะที่คนงานกรรมกรจะมีบุตรมาก ดังนั้นหากคนจนต้องการสร้างฐานะของตนเอง จึงต้องพยายามจำกัดขนาดของครอบครัว

35 3. ทฤษฎีประชากรด้านชีววิทยา นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า ปัจจัยทางชีววิทยากำหนดอัตราเพิ่มหรือลดประชากร ดังเช่น แซดเลอร์ (Michael Thomas Sadler) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ สรุปกฎของเขาว่า ภาวะเจริญพันธุ์จะผันแปรเป็นปฏิภาคกลับกับความหนาแน่นแระชากร และอัตราตายและอัตราเกิดจะผันแปรตามกัน ดับเบิลเดย์ (Doubleday) ทำการทดลองกับพืชโดยนำพืชชนิดเดียวกันไปแยกปลูก

36

37

38

39

40

41

42

43

44 ------------------ ---------------------
โลกาภิวัตน์ศึกษา Globalization   ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

45 Post-Structuralism or Nothing

46 ประเด็นศึกษา บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์
บทที่ 2 ลักษณะของโลกาภิวัตน์ บทที่ 3 แนวคิดโลกาภิวัตน์ บทที่ 4 โลกาภิวัตน์กับสังคมไทย บทที่ 5 เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัตน์

47 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์
  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

48 ความหมายของโลกาภิวัตน์
1. ชุดของคำที่มีความหมายเดียวกัน ได้แก่ คำว่า โลกยุคคลื่นลูกที่สาม ยุคแห่งการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร ยุคสารสนเทศหรือยุคไอที ยุคทุนนิยมตอนปลาย ยุคโลกาภิวัตน์ ยุคหลังทันสมัยหรือยุคหลังโครงสร้างนิยม และยุคหลังอุตสาหกรรม เป็นต้น 2.ความหมายที่เลื่อนไหลในบริบทสังคมไทย ในแวดวงวิชาการใช้หลายคำ เช่น โลกานุวัตร โลกาภิวัฒน์ โลกไร้พรมแดน โลกสันนิวาส แต่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้คำว่า “โลกาภิวัตน์” เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โลกาภิวัตน์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Globalization” เริ่มใช้กันตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 และต่อมาในทศวรรษที่ 1980 จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยมีความหมายว่า “การกลายลักษณะเป็นสากล” “การแผ่ขยายไปทั่วโลก” ดังนั้น โลกาภิวัตน์ จึงถือเป็นปรากฏการณ์สากล

49 Globalization ในความหมายของตะวันตก
Jame N. Rosenau เสนอว่า Globalization คือ การที่ คน กิจกรรม บรรทัดฐาน ความคิด สินค้า บริการ เงินตรา ฯลฯ ลดบทบาทที่เคยอยู่ในความจำกัดของขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือเคยมีวิธีปฏิบัติดั้งเดิมที่แตกต่างกัน ให้มาอยู่รวมกันในขอบเขตระดับโลก และมีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน Susan Strange เสนอว่า Globalization หมายถึง การมีสินค้าในตลาดโลก การเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ รสนิยม ให้เข้ามารวมเป็นแบบเดียวในระดับโลก Martin Albrow เสนอว่า Globalization หมายถึง กระบวนการที่ประชาชนในโลกมารวมกันอยู่ภายในสังคมเดียวกัน คือ สังคมโลก Zdravko Mlinar พยายามแจกแจงความหมายในระดับลึกและกว้างว่า Globalization คือ สภาวะที่โลกอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพาต่อกัน (independence) ลักษณะดังกล่าวทำให้ Globalization คือ เผด็จการของ Globalizers

50 Martin Carnoy เสนอว่า องค์ประกอบของกระแสโลกาภิวัตน์ คือ ระบบเศรษฐกิจ การเคลื่อนตัวของทุน การแข่งขันในตลาดโลก การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสารและการคมนาคม และวัฒนธรรมในการซื้อการขายและการบริโภค Robertson เสนอว่า Globalization เป็นชุดของมโนทัศน์ที่ใช้ในการทำความเข้าใจปัญหาของระเบียบโลก Canadian Unitarian Council เสนอว่า Globalization เป็นกระบวนการที่แสดงถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของระบบทุนนิยม ตามทัศนะของ นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตก เสนอว่า Globalization หมายถึง การขยายขอบเขตกิจกรรมด้านเศรษฐกิจระหว่างพรมแดนของรัฐชาติ โดยการขยายระบบเศรษฐกิจให้เปิดกว้าง การพึ่งพาทางเศรษฐกิจระหว่างกันและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับภูมิภาคและในระดับโลก

51 Globalization ในความหมายของสังคมไทย
ชัยอนันต์ สมุทวานิช เดิมได้แปลคำ Globalization เป็นภาษาไทยว่า “โลกานุวัตร” โดยให้ความหมายว่า ประพฤติตามโลก ซึ่งเป็นการย่นกาล (Time) เทศะ (Space) ยุค ศรีอาริยะ ใช้คำว่า “ระบบโลก” และ “โลกาภิวัฒน์” แทนคำว่า Globalization โดยให้เหตุผลว่า โลกาภิวัฒน์ หมายถึง การวิวัฒน์ของระบบโลก ซึ่งประกอบด้วยมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม รวมทั้งมิติทางประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยมีการเคลื่อนตัวของทุนในระดับโลกเป็นหัวใจที่ทำให้ระบบนี้ก่อตัวขึ้น ใน การชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เมื่อปี พ.ศ.2537 ได้ตกลงเลือกคำว่า “โลกาภิวัตน์ ” เป็นศัพท์แทนคำว่า Globalization อย่างเป็นทางการ และให้เพิ่มคำว่า โลกาภิวัตน์ พร้อมด้วนิยามเพิ่มเติมไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ดังนี้ “โลกาภิวัตน์ น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น (ป. โลก + อภิวตตน แปลว่า การแผ่ถึงกันทั่วโลก) (อ. Globalization)

52 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระแสโลกาภิวัตน์
การเชื่อมโยงในด้านการค้า การลงทุน และการบริการในรูปแบบต่าง ๆ ทั่วโลก ที่เรียกว่า Globalization กำลังมีการขยายตัวด้วยอัตราเร่งและด้วยความถี่ที่สูงขึ้นตลอดเวลา โดยมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้คือ 1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโทรคมนาคม 2. การสิ้นสุดของสงครามเย็น และชัยชนะของระบบทุนนิยมภายใต้การนำของอเมริกา 3. การเคลื่อนย้ายของผู้คน วัฒนธรรม ข้อมูลข่าวสาร และเงินทุนข้ามพรมแดนรัฐชาติ 4. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5. อิทธิพลของบริษัทข้ามชาติ และทุนนิยมบริโภค โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีทั้งมูลเหตุระยะสั้นเฉพาะหน้าในโครงสร้างส่วนบน คือการพังทลายของค่ายคอมมิวนิสต์และการสิ้นสุดสงครามเย็น ไปจนถึงมูลเหตุระยะยาวในโครงสร้างส่วนล่าง คือการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ

53 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
Globalization ถือเป็นยุคหนึ่งของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ โดยก่อนหน้านี้นักวิชาการคือ Alvin Toffler ได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ไว้ในหนังสือชื่อ The Third Wave (1980) ดังนี้ ยุคแรก คือ ยุคชุมชนบรรพกาล ซึ่งมีระดับพัฒนาการสูงสุดคือระดับชุมชนหมู่บ้าน ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย มีความสัมพันธ์ทางสังคม 2 แบบ คือ แบบพ่อเป็นใหญ่ และแบบแม่เป็นใหญ่ ยุคที่สอง คือ ยุคจักรวรรดิทางการเมือง เกิดขึ้นจากคลื่นการปฏิวัติทางเกษตรกรรมที่ประสานกันกับการปฏิวัติทางการเมือง คือการกำเนิดรัฐและชนชั้น รวมถึงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ยุคที่สาม คือ ยุคโลกาภิวัตน์ โดยมี “ทุน” เป็นหัวใจของการวิวัฒน์ เริ่มจากยุคการปฏิวัติทางการรับรู้ (การกบฏต่อศาสนา) และการปฏิวัติทางการค้า ตามด้วยการปฏิวัติทางการเมือง การล่มสลายของของศักดินาในยุโรป การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม จักรวรรดินิม และการล่าอาณานิคม ความสูงสุดของยุคนี้คือ การกำเนิดระบบทุนนิยม ที่เรียกว่า “ระบบตลาดโลก”

54 พัฒนาการของโลกาภิวัตน์
พัฒนาการของโลกาภิวัตน์ ปรากฏในข้อเสนอของนักวิชาการตะวันตกหลายท่าน ดังนี้ Norbert Elias เสนอว่า โลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่สภาวะที่ศิวิไลซ์ (Civilization) Immanuel Wallerstein เสนอแนวคิดว่า สังคมโลกได้เชื่อมโยงเข้าด้วยกันมานานแล้ว จากระบบย่อยคือ แคว้นเล็ก ๆ สู่ระบบจักรวรรดิ เช่น จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิเปอร์เซีย จีนหรืออาหรับ สู่ระบบใหญ่ในปัจจุบันคือ ระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งทุนนิยมก่อตัวมาตั้งแต่ ค.ศ.1500 ฟรานซิส ฟูกูยามา เสนอบทความชื่อ The End of Ideology เมื่อ 30 ปีที่แล้วว่า ในอีก 25 ปีข้างหน้า (เทียบได้กับปัจจุบัน) สังคมจะเป็นสังคมหลังพัฒนาอุตสาหกรรม (Post-industrial ) Jerald Hage และ Charles H. Powers เขียนหนังสือชื่อ Post-industrial ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถูกกำหนดด้วยขอบเขตของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อบทบาทและความสัมพันธ์ทางสังคมในครอบครัว การทำงาน ชีวิตและสังคม

55

56 ------------------ --------------------- ลักษณะของโลกาภิวัตน์
บทที่ 2   ลักษณะของโลกาภิวัตน์ ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

57 ลักษณะของโลกยุคโลกาภิวัตน์
1. การพึ่งอิงร่วมกัน (Interdependence) 2. ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายถ่ายโอน (Mobility) 3. การเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน (Simultaneity) 4. การมีมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก (Standardization) 5. กระแสสิ่งแวดล้อม (Environmentalism) 6. กระแสวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. การปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสาร

58 การปรับเปลี่ยนสังคมเข้าสู่ยุคไร้พรมแดน
John Nasbitt ได้สรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกไว้ 10 ประการ ดังนี้คือ 1. เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมสู่สังคมข้อมูลข่าวสาร (Industrial Society to Information Society) 2. เปลี่ยนจากเทคโนโลยีหนักสู่เทคโนโลยีชั้นสูงระบบสัมผัส (Forced Technology to High Technology) 3. เปลี่ยนจากเศรษฐกิจระดับประเทศสู่ระดับโลก (National Economy to World Economy) 4. เปลี่ยนจากระยะสั้นสู่ระยะยาว (Short Term to Long Term) 5. เปลี่ยนจากการรวมอำนาจแบบศูนย์กลางสู่การกระจายอำนาจ (Centralization to Decentralization) 6. เปลี่ยนจากการช่วยเหลือของสถาบันสู่การช่วยเหลือตนเอง (Institutional help to Self help) 7. เปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Representative Democracy to Participatory Democracy) 8. เป็นจากลำดับขั้นสู่การเป็นเครือข่าย (Hierachies to Net working) 9. เปลี่ยนจากเหนือสู่ใต้ (North to South) 10. เปลี่ยนจากข้อจำกัดสู่หลายทางเลือก (Either/ or to Multiple Option)

59 โลกาภิวัตน์กับการเมืองโลก
การล่มสลายของลัทธิการเมืองค่ายสังคมนิยม มีผลทำให้ลัทธิการเมืองค่ายเสรีประชาธิปไตยกลายเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก อุดมการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ การเรียกร้องและปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส อำนาจอธิปไตยใหม่ ๆ มีบทบาททางการเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น องค์การระหว่างประเทศ ชนกลุ่มน้อย ขบวนการก่อการร้ายสากล ทำให้รัฐต่าง ๆ ต้องจำกัดอำนาจและบทบาทลง ดังนี้ 1. การลดบทบาทของรัฐ 2. ความไม่ยั่งยืนของรัฐอธิปไตย 3. ความไม่ชัดเจนในความเป็นรัฐชาติ 4. การครอบงำของมหาอำนาจ

60 แนวโน้มการเมืองโลกในอนาคต
1. ระบบโลกเคลื่อนเข้าสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ (Multi-polar System) 2. การขยายตัวของกระแสประชาธิปไตย (Democratization) และสิทธิมนุษยชน (Human Right) 3. การนิยาม “ความมั่นคงของชาติ” (National Security) ในรูปแบบใหม่ และการมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นขององค์การระหว่างประเทศ 4. การก่อการร้ายระหว่างประเทศขยายตัวลุกลามไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

61 โลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจโลก
กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ตลาดของโลกขยายตัวกว้างขวางขึ้น มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และการลงทุนข้ามชาติไปทั่วโลก แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในยุคโลกาภิวัตน์มีหลายประการ ดังนี้ 1. เศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพ 2. มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) 3. การเปิดเสรีทางการค้าโลกขยายตัวมากขึ้น 4. การลงทุนระหว่างประเทศชะลอตัว 5. เกิดกระแสการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ (Regional Trade Block) 6. ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น 7. การขยายตัวและเพิ่มบทบาทของบริษัทเอกชน 8. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม 9. เงินดอลล่าร์สหรัฐเป็นสกุลหลัก

62 โลกาภิวัตน์กับวัฒนธรรมโลก
สภาพไร้พรมแดนและการเปิดกว้างในมิติของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การค้าการลงทุนอย่างไร้ขีดจำกัด และการสื่อสารโทรคมนาคม ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายวัฒนธรรมข้ามพรมแดนอย่างสะดวกและรวดเร็ว นำไปสู่กรณีเหล่านี้ 1. การเปลี่ยนผ่านสภาพสังคมในคลื่นลูกที่ 4 (สังคมแห่งความรู้) สู่สภาพสังคมในคลื่นลูกที่ 5 (ปราชญสังคม) 2. เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศยากจน 3. เกิดการปะทะกันทางอารยธรรม 4. เกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย 5. ประชากรวัยสูงอายุกลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ (ยุคขิงแก่) 6. เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social Movement)

63 ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์
ทั่วโลกรับเอาแนวคิด New Social Movement จากตะวันตก นำมาสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านโลกาภิวัตน์ในลักษณะของ “ขบวนการท้องถิ่นนิยม“ หรือที่เรียกว่า “ม็อบ” ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. ขบวนการเหล่านี้มิได้ผูกติดกับชนชั้นใดชั้นหนึ่งที่ชัดเจน 2. กระบวนการเรียกร้องไม่สนใจที่จะดำเนินการผ่านกลไกของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือนักการเมือง แต่จะเข้าเรียกร้องด้วยตนเองเป็นหลัก 3. เป้าหมายของการเรียกร้องมิใช่เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐ แต่ต้องการสร้างสรรค์กติกาหรือกฎเกณฑ์ใหม่ในการดำเนินชีวิต ยุทธวิธีที่สำคัญคือ 1. กระบวนสร้างความหมาย (Process of Social Construction) 2. กระบวนการสร้างความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ (Process of Identity Construction)

64 ความหลากหลายและความซับซ้อนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้เป็น 5 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ผูกติดอยู่กับชนชั้นใหม่ในสังคม (Middle-Class Movement) เช่น การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ กลุ่มพันธมิตร ฯลฯ 2. รูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) เช่น กระบวนการยุติธรรมของโลก ขบวนการขวาจัด ขบวนการซ้ายจัด ลัทธิก่อการร้าย ฯลฯ 3. รูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของการพัฒนา (Politics of Development) เช่น ขบวนการวัฒนธรรมชุมชน สมัชชาคนจน ยายใฮ ขันจันทา ฯลฯ 4. รูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านของชาวนาในชีวิตประจำวัน (Everyday Life Resistance) เช่น ขบวนการชาวนาในอดีต James Scott เรียกวิธีการของชาวนานี้ว่า “อาวุธของผู้อ่อนแอ” (Weapons of the Weak) 5. รูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิ (The Rights Movement) เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มชนพื้นเมือง กลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี ฯลฯ

65 ------------------ ---------------------
บทที่ 3   แนวคิดโลกาภิวัตน์ ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

66 1. แนวคิดกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมโลก
แนวคิดนี้ เชื่อว่า พลังทางเทคโนโลยี พลังทางเศรษฐกิจ พลังทางการเมือง และพลังทางวัฒนธรรมจากโลกภายนอกที่ไหลบ่ามาท่วมทับคนทั้งโลก จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามมานั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น (นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2537) 2. แนวคิดเรื่องการย่นย่อมิติทางเวลาและพื้นที่ แนวคิดนี้ เชื่อว่า การปฏิวัติระบบสื่อสารคมนาคม เป็นหัวใจของโลกาภิวัตน์ในรูปของการหลอมละลายเชิงพื้นที่และเวลา ทำให้การติดต่อสัมพันธ์ถี่ยิบและเข้มข้นขึ้น (Harvey, David. 1995) 3. แนวคิดระบบโลก ระบบโลก เป็นภาพของอาณาบริเวณที่ถูกสร้างขึ้นจากการไหลเวียนไปทั่วโลกของข่าวสารข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการไหลเวียน “ทุน” ระหว่างชาติ Immanuel Wallerstein อธิบายว่า การขยายตัวของทุนนิยมโลกเกิดขึ้นในอาณาบริเวณ 3 ประเภทคือ รัฐศูนย์กลาง (Core State) เขตรอบนอก (Perphery) และ ระหว่าง 2 บริเวณดังกล่าว (Semi -perphery) แนวคิดนี้เชื่อว่า ระบบสังคมที่มีอยู่เพียงระบบเดียวในเวลานี้คือ ระบบโลก

67 4. แนวคิดวัฒนธรรมมวลชนระดับโลก
Stuart Hall เสนอว่า วัฒนธรรมโลกยุคโลกาภิวัตน์ จะถูกควบคุมโดยเครื่องมือสมัยใหม่ที่ทำหน้าที่ในการผลิต “วัฒนธรรมมวลชนโลก” ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ - ทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ในโลกตะวันตก โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลในการสื่อสาร - วัฒนธรรมมวลชนโลกมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมที่เป็นอันเดียวกัน ที่สร้างขึ้นมาจากตัวแทนวัฒนธรรมอันหลากหลาย มีการปรับเปลี่ยน ผสมผสาน คัดเลือก ต่อรอง และซึมซับระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ระหว่างท้องถิ่นกับสากล ไม่มีคำตอบ ไม่สิ้นสุด ทุกอย่างยังคงดำเนินต่อไปไม่ขาดสาย 5. แนวคิดการไหลเวียนของวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ เป็นกระแสที่ก่อให้เกิดการไหลเวียนของวัฒนธรรมมิติต่าง ๆ ข้ามพรมแดนรัฐชาติในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์ Arjun Appadurai เสนอว่า ระบบเศรษฐกิจและวัฒนธรรมโลกสมัยใหม่ จำต้องได้รับการทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นระเบียบที่สลับซับซ้อน มีรอยต่อ เหลื่อมกันและกัน แทนที่จะเป็นการพิจารณาตัวแบบที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับชายขอบ เหมือนที่เป็นมา

68 ทั้งนี้ กระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดการไหลเวียนหรือเคลื่อนย้ายของวัฒนธรรมใน 5 มิติที่สำคัญ คือ
1. มิติทางชาติพันธุ์ (Ethno-scopes) ได้แก่ การย้ายของผู้คนไปทั่วโลก เช่น นักท่องเที่ยว ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ นักธุรกิจ นักลงทุน นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ฯลฯ 2. มิติทางเทคโนโลยี (Techno-scopes) ได้แก่ การเคลื่อนย้ายของเครื่องจักร โรงงาน การจัดการ สินค้าและบริการ ทั้งที่เป็นของบรรษัทข้ามชาติ บริษัทแห่งชาติ และหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล 3. มิติทางการเงิน (Finance-scopes) ได้แก่ การไหลเวียนอย่างรวดเร็วของเงินตราในตลาดเงิน ตลาดหุ้น และการลงทุนข้ามชาติ 4. มิติทางสื่อมวลชนและข่าวสารข้อมูล (Media-scopes) ได้แก่ การเดินทางของข่าวสารข้อมูลและภาพลักษณ์ต่าง ๆ ข้ามพรมแดนรัฐชาติหรืออาณาเขตทางภูมิศาสตร์ ผ่าน ทางสื่อมวลชนชนิดต่าง ๆ เช่น เครือข่ายวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ สารสารต่าง ๆ 5. มิติทางอุดมการณ์ (Ideo-scopes) ได้แก่ การแพร่หลายของแนวคิดและอุดมการณ์ข้ามพรมแดนรัฐชาติ โดยเฉพาะแนวคิดและอุดมการณ์ที่เป็นผลผลิตทางดการปฏิวัติภูมิปัญญาของตะวันตก เช่น แนวคิดเรื่องประชาธิปไตย เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม สวัสดิการสังคม สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี และจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

69 6. แนวคิดกระบวนการทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า
โลกที่วิวัฒน์ไปในทิศทางอันเป็นหนึ่งเดียว ได้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จต่อแนวทางพัฒนาและวิถีชีวิตของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ เกือบทั่วโลก โดยมีกลไกแห่งอำนาจ ที่เรียกว่า “ระบบตลาด” และ “เศรษฐกิจเสรี” เป็นอาวุธที่ทรงพลัง พร้อมนี้ ได้มีการก่อเกิดวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ขึ้นแทนที่วัฒนธรรมเดิมที่หลากหลาย ครอบงำวิถีชีวิต ค่านิยม และหลอมละลายโลกทั้งโลกไปสู่ “เอกภาพแห่งโลกยุคใหม่” โลกาภิวัตน์ คือ ระบบทุนนิยมที่มีพัฒนาการ งอกเงย เป็นลำดับ ตั้งแต่ยุคทุนอุตสาหกรรมที่ประเทศโลกที่หนึ่ง แสวงหาประโยชน์จากการถลุงทรัพยากรในประเทศอื่น หรืออาณานิคมของตน โดยเฉพาะในหมู่ประเทศโลกที่สาม เครื่องมือที่สำคัญของตะวันตกคือ การพยายามใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรม โดยการเปลี่ยน “วัฒนธรรม” และ “คุณค่า” บางอย่าง ให้เป็น “สินค้า” ที่เรียกว่า การสร้าง “วัฒนธรรมบริโภค” ผ่านอิทธิพลของการสื่อสารทุกรูปแบบ วิธีการ คือ กระตุ้น ปลุกเร้า เพื่อให้เกิดความต้องการ “เทียม” ต่อสินค้า เหมือนกันไปทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภค ไม่ว่าผิวสีใด เชื้อชาติไหน ต่างรู้จักชื่อของสินค้า เมื่อความต้องการถูกทำให้ต้องการ เพื่อเสพ “สัญญะ” หรือ “สัญลักษณ์” ดังนั้น กระบวนการทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้า ก็คือ กลยุทธ์ในการกระตุ้น ปลุกเร้า ให้ผู้คนหลงใหล ชื่นชม เพียงเพื่อต้องการบริโภค “ความหมาย” ของสินค้า นั่นเอง

70 7. แนวคิดเรื่องกระแสที่ขัดแย้งกัน
เมื่อโลกทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในซีกหนึ่งของโลก ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกซีกหนึ่งอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี แม้โลกาภิวัตน์จะสามารถเปิดพรมแดนของรัฐชาติ อาจสร้างระบบเศรษฐกิจโลก หรืออาจสร้างวัฒนธรรมบริโภคที่คล้ายคลึงกันได้ แต่โลกาภิวัตน์ก็มีกระบวนการบางอย่างที่ขัดแย้งอยู่ในตัว เช่น ขณะที่โลกกำลังจะเป็นหนึ่งเดียว ไร้พรมแดนทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็มีขบวนการท้องถิ่นนิยม วัฒนธรรมนิยม ชาตินิยม หรือเผ่าพันธุ์นิยม ที่เรียกว่า “ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์” เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก Anthony Giddens เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า กระแสโลกาภิวัตน์นั้น เป็นกระบวนการที่ประกอบขึ้นจากแนวโน้มหรือกระแสที่ขัดกัน ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 5 มิติ ดังนี้คือ 1. กระบวนการเป็นสากลกับกระบวนการเฉพาะถิ่นและเฉพาะตัว (Universalization & Particularization) 2. การเป็นเนื้อเดียวกับการจำแนกความแตกต่าง (Homogenization & Differentiation) 3. การบูรณาการกับการแตกแยก (Integration & Fragmentation) 4. การรวมศูนย์อำนาจกับการกระจายศูนย์อำนาจ (Centralization & Decentralization) 5. การโละมาเรียงกันและการผสมผสานกัน (Juxtaposition & Synchronization)

71 8. แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ (Post-Modernism)
ระบบคิด ความรู้ อุดมการณ์ ของผู้คนในยุคโลกาภิวัตน์มาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ได้เปลี่ยนผ่านจากระบบคิดแบบสมัยใหม่ (Modernism) มาเป็นระบบคิดแบบหลังสมัยใหม่ (Post-modernism) หรือที่เรียกว่า พวกโพสต์โมเดิร์น ไรท์ ซี. มิลล์ ตั้งข้อสังเกตว่า “ยุคหลังสมัยใหม่กำลังก้าวมาแทนที่ยุคสมัยใหม่ อันเป็นยุคที่สมมุติธรรมเกี่ยวกับความสมานฉันท์ในค่านิยมที่ว่าด้วยความมีเหตุผลตามหลัก “วิทยาศาสตร์” และอิสรภาพทาง “การเมือง” กำลังถูกท้าทาย” ปัจจุบันเริ่มมีการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของความรู้ 2 ประการที่สำคัญ คือ ประการแรก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เคยถูกมองว่าเป็นความรู้สูงสุดในยุคสมัยใหม่ ไม่ใช่ความรู้แบบเดียว แต่ยังมีความรู้แบบอื่น ๆ (Narrative) ประการที่สอง เกณฑ์ในการตัดสินว่า อะไรเป็นความรู้ หรือว่าไม่เป็นความรู้ เป็นเกณฑ์เดียวกับที่ผู้ปกครองใช้ตัดสินว่า อะไรยุติธรรมในการใช้กฎหมาย ดังนั้น ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงไม่ใช่ความจริงที่บริสุทธิ์

72 เปรียบเทียบได้ว่า ผู้คนในยุคสมัยใหม่มีโลกทัศน์ที่ได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์แบบกลไกของ ไอแซค นิวตัน ที่เห็นว่า จักรวาลมีความคงที่ หรือมีเสถียรภาพ ในขณะที่ผู้คนในยุคหลังสมัยใหม่ เชื่อว่า ในสภาพที่เราอยู่โลกได้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกัน ความรู้ที่มีลักษณะอย่างดีที่สุด ก็คือ เป็นความรู้แบบชั่วคราวที่ต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ Michel Foucault เห็นว่า ความรู้กับอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกัน ทำให้เกิดความสงสัยในวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้ที่ถูกจัดให้อยู่ในระดับสูงสุดของความรู้ ทั้งปวงในยุคสมัยใหม่ การอ้างว่าความรู้แบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นความรู้ที่จริงที่สุด เพราะปลอดค่านิยม และเป็นอิสระจากอุดมการณ์ทางการเมือง Foucault ไม่เห็นด้วย แต่กลับมองว่า แท้ที่จริงแล้วมันกลับเป็นความรู้ที่ให้ผลประโยชน์กับกลุ่มชนชั้นนำในสังคม Baudrillard เห็นด้วยกับ Foucault โดยเขาเสนอว่า วิทยาศาสตร์ก็มีฐานะไม่แตกต่างไปจากอภิตำนาน (Grand Narrative) ที่ทำให้คนเชื่อ ติดตาม และนำมาอ้างอิง แท้ที่จริงแล้วก็คือ วาทกรรม (Discourse) นั่นเอง

73 ทัศนะของ Post-modern ต่อระบบคิด ความรู้ หรือลักษณะของความรู้ที่พึงประสงค์ คือ ความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น หลากหลาย ใช้วิธีวิเคราะห์ในระดับจุลภาค และเป็นเรื่องเล่าในขอบเขตแคบ ๆ (Little Narrative) แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีวิทยาแบบหนึ่งแบบใดเพียงแบบเดียว ไม่ว่าจะเป็นเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ แต่เสนอให้ใช้ พหุวิธี (Metrologies) และมองปัญหาด้วยทัศนภาพที่หลากหลาย (Multiple Perspective) Post-modern ท้าทายอะไร ? พวก Post-modernism ท้าทายรากฐานหรือ “หัวใจ” (Center) ของภูมิปัญญาของยุคสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธแต่ลดฐานะของวิทยาศาสตร์ว่าเป็แค่ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติสังคมมนุษย์แบบหนึ่งเท่านั้น พวก Post-modernism เห็นว่า การพยายามแบ่งประเภท จัดสรร จัดหมวดหมู่ที่นำไปสู่กฎเกณฑ์ระเบียบทางวิทยาศาสตร์ ระเบียบทางสังคม ได้อ้างความรู้และความสมเหตุสมผลอย่างเดียว เป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรม เพราะในความเป็นจริง ความสมเหตุสมผลมีได้หลายแบบ

74 9. แนวคิดเรื่องวาทกรรม (Discourse)
วาทกรรม คือ มโนทัศน์หลักทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาชุดหนึ่งซึ่งกำลังมีบทบาทและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในวงวิชาการปัจจุบัน เดิมวาทกรรมหมายถึงการวิเคราะห์ความหมายของภาษาพูด (Spoken Language) และมักนิยมศึกษากันในหมู่นักวรรณคดี ในปัจจุบันนักสังคมวิทยานิยมนำเอาวิธีการวิเคราะห์วาทกรรมมาทำการวิเคราะห์ประเด็นของอำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ นักปรัชญาอย่าง Wittgenstein วิเคราะห์ว่า ในโลกนี้มี “วาทกรรม” หลายแบบ (Different Modes of Discourse) รูปแบบที่หลากหลายของกาแสดงออกซึ่งคำพูด เรียกว่า Language Games “เกมภาษา” ผู้เล่นจะต้องมาร่วมกันสร้างกฎกติกา เกมทุกเกม ย่อมต้องมีกติกาการเล่น นักทฤษฎีผู้บุกเบิกการศึกษาในแนววิเคราะห์วาทกรรมคือ Michel Foucault วิธีคิดและวิธีวิทยาของ Foucault ได้ผ่านขั้นตอนของการพัฒนาในแง่วิธีวิทยามาตามลำดับ กล่าวคือในสมัยต้น ๆ Foucault ได้รับอิทธิพลของทฤษฎีโครงสร้างนิยม เขาเขียนเกี่ยวกับ “โบราณคดีเกี่ยวกับความรู้” (Archaeology of Knowledge) อันเป็นผลงานซึ่งเน้นศึกษาปรากฏการณ์ด้านวาทกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ ความคิด และรูปแบบของวาทกรรม (Modes of Discourse)

75 ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ Michel Foucault คือหนังสือชื่อ “Madness and Civilization” และ “The Order of Things : An Archaeology of the Human Sciences” เล่มแรกจะกล่าวถึงการแบ่งแยกความวิกลจริตออกจากความมีเหตุผล และในที่สุดเหตุผลก็กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือความวิกลจริต ส่วนเล่มหลังเป็นงาน ที่กล่าวถึงบทบาททั้งสองด้านของวาทกรรมในรูปของงานเขียนที่ว่า งานเขียนหากไม่เชิดชู ตอกย้ำ ก็ต้องการสลาย สั่นคลอน ล้มล้าง หรือสร้างความพร่ามัวให้กับบรรดาระบบระเบียบที่ดำรงอยู่ ความหมายของวาทกรรม วาทกรรม หมายถึง ระบบ และกระบวนในการสร้าง/ผลิต (constitute) เอกลักษณ์(Identity) และความหมาย (significance)ให้กับสรรพสิ่งในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความจริง อำนาจ หรือตัวตนของเราเอง หน้าที่ของวาทกรรม วาทกรรมจะทำหน้าที่ปัก/ตรึงสิ่งที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง (valorize) ให้กลายสภาพเป็น “วาทกรรมหลัก” (dominant discourse) ในสังคม

76 การผลิต/สร้างวาทกรรม วาทกรรมจะถูกผลิตหรือสร้างขึ้นจากความแตกต่างระหว่างสิ่งที่สามารถพูดถึงได้อย่างถูกต้องในช่วงเวลาหนึ่ง (ภายใต้กฎเกณฑ์และตรรกะชุดหนึ่ง) กับสิ่งที่ถูกพูดอย่างแท้จริง วาทกรรมเป็นเรื่องของอำนาจและความรุนแรงที่แสดงออกมาในรูปของภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรมในสังคม การวิเคราะห์วาทกรรม คือ การพยายามศึกษาและสืบค้นถึงกระบวนการ ขั้นตอน ลำดับเหตุการณ์และรายละเอียดปลีกย่อยในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสรรพสิ่งที่ห่อหุ้มเราอยู่ในสังคมในรูปของวาทกรรมและภาคปฏิบัติการของวาทกรรม หัวใจของการวิเคราะห์วาทกรรมอยู่ที่การพิจารณา ค้นหาว่าด้วยวิธีการหรือกระบวนใดที่สิ่งต่าง ๆ ในสังคมถูกทำให้กลายเป็นวัตถุเพื่อการศึกษา/เพื่อการพูดถึงวาทกรรม หลักการวิเคราะห์วาทกรรม มิได้อยู่ที่การวิเคราะห์คำพูดนั้นจริงหรือเท็จอย่างแนวปฏิฐานนิยมและประจักษ์นิยม (positivists and Empiricists) แต่ให้ความสนใจกับ “กฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง” ที่เป็นตัวกำกับคำพูดนั้น ๆ เป็นไปได้มากกว่าเป็นเรื่องข้อเท็จหรือจริง กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่ในวาทกรรมและภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม

77 ในการวิเคราะห์วาทกรรม มักจะเริ่มต้นด้วยคำถามที่พื้น ๆ และดูเหมือนง่ายที่สุด เช่นว่า “อะไร คือสิ่งที่เรียกว่า การพัฒนา” (What is Development ?) หรือ ”อย่างไร ถึงจะเป็นการพัฒนา” (How is Development ?) การตั้งคำถามในลักษณะนี้มิใช่ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการสร้างหรือกำหนดนิยามที่แน่นอน ตายตัว ชัดเจน และสามารถวัดได้ในเชิงปริมาณดังที่ นักทฤษฎีแนวปฏิฐานนิยมและประจักษ์นิยมเรียกว่า “คำนิยามเชิงปฏิบัติการ” (Operational Definition) แต่เป็นการตั้งคำถามเพื่อต้องการตรวจสอบหรือสืบค้นว่าเอกลักษณ์และความหมายของสิ่งที่เรียกว่า/ ถือว่า “การพัฒนา” นั้นถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไรและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (Formation and Transformation) แนววิเคราะห์วาทกรรม จะอยู่ที่ ประการที่ 1 การวิเคราะห์ วาทกรรมมิได้แยกอย่างเด็ดขาดระหว่างสิ่งที่เรียกว่า “ทฤษฎี” กับโลกแห่งความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรมระหว่างอุดมการณ์กับความเป็นจริง และประการที่ 2 การวิเคราะห์วาทกรรมจะช่วยให้เราตระหนักว่าเรื่องของจุดยืน ความคิด ความเห็น ความเชื่อ ความรู้ ความหมาย ฯลฯ ของคนในสังคม

78 แนวทางการวิเคราะห์และวิธีวิทยาในการวิเคราะห์วาทกรรมในแนวทางดังกล่าว
จะช่วยให้เราเห็นโครงข่าย/ โยงใยทางอำนาจของความรู้ชุดต่าง ๆ ในสังคม ตลอดจนจะทำให้มองเห็นกลไกการทำงานที่สอดผสานกันระหว่างวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรม รวมทั้งยังทำให้เห็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นจากเงื่อนไข/ ปัจจัยทางความรู้และสังคม ที่สำคัญวิธีการวิเคราะห์วาทกรรมในแนวของ Foucault มิได้สนใจศึกษาความจริง (Truth) แต่สนใจศึกษา วาทกรรมว่าด้วยความจริง (A Discourse of Truth) สิ่งที่เป็น “ขีดจำกัดของวาทกรรม” ซึ่งหมายถึง “สิ่งที่ไม่ถือเป็นวาทกรรม” ได้แก่ ประการที่หนึ่ง สิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นไม่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ประการที่สอง เมื่อกระแสหลักไม่ได้ถูกตอบโต้โดยกระแสรอง ประการที่สาม เมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นไม่มีการลุกขึ้นมาตอบโต้การครอบงำ

79

80 ------------------ --------------------- โลกาภิวัตน์กับสังคมไทย
บทที่ 4   โลกาภิวัตน์กับสังคมไทย ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

81 ปัจจัยที่ตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ของสังคมไทย
กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางชนชั้น ทัศนคติและอุดมการณ์ ปัจจัยที่ตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ของสังคมไทย ได้แก่ 1. โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เป็นระบบทุนนิยมเสรี มีลักษณะเอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามระบบเศรษฐกิจโลก 2. โครงสร้างสังคมไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอิทธิพลของอุดมการณ์แบบเสรีนิยมกระจายไปอยู่ในชนทุกชั้น 3. โครงสร้างทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมขยายตัวลงมาสัมพันธ์กับวิถีชีวิตประจำวันทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น

82 ผลกระทบโดยรวมในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีการขยายตัวขององค์ประกอบทางเศรษฐกิจ การปรับตัวของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การขยายอิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติและการลดลงของอำนาจรัฐ การครอบงำทางเศรษฐกิจโดยมหาอำนาจและองค์การระหว่างประเทศ ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ในสังคม ฯลฯ ด้านการเมือง มีการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูประบบราชการ การปฏิวัติรัฐประหาร เล่นพรรคเล่นพวก ซื้อสิทธิ์ขายเสียง ปัญหาชายแดน ฯลฯ ด้านสังคม เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคม ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการศึกษา ปัญหาค่านิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ ฯลฯ

83 ผลบวกของโลกาภิวัตน์ 1. ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว 2. ช่วยจัดระเบียบและประมวลผลข้อมูล 3. ช่วยลดการใช้กำลังแรงงานลง 4. ช่วยสนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้น และการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ 5. ช่วยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลความคิดเห็น ข่าวสาร วัฒนธรรม และแบบแผนปฏิบัติระหว่างมนุษย์อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

84 ผลลบของโลกาภิวัตน์ 1. ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบที่เป็นสากล แต่ทำลายคุณค่า วิธีคิด ค่านิยม วัฒนธรรม และแบบแผนปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสังคม 2. สร้างความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ หรือบุคคล 3. เปิดโอกาสให้เกิดการแทรกแซงและครอบงำโดยประเทศหรือสังคมที่มีความเหนือกว่า 4. ย้ำความสำคัญของลัทธิทุนนิยม วัตถุนิยม และบริโภคนิยม แต่ลดคุณค่าทางจิตใจและวัฒนธรรมของมนุษย์ 5. เปิดช่องให้มีการติดต่อธุรกรรม การกระจายสื่อหรือเนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม หรือการเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างเสรี ซึ่งเป็นโอกาสของอาชญากรรมข้ามชาติ การหลั่งไหลของยาเสพติด การหลอกลวง มอมเมาเยาวชน การก่อการร้าย และการกอบโกยผลประโยชน์ซึ่งฝ่ายที่เสียเปรียบคือประเทศที่อ่อนแอ

85

86 ------------------ --------------------- เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัตน์
บทที่ 5   เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

87 ลักษณะและโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย
ความหมาย เศรษฐกิจ หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต การผลิต รายได้ การจ้างงานและการประกอบอาชีพ การแลกเปลี่ยนซื้อขาย การบริโภคและการใช้จ่ายของรัฐบาลและเอกชน การนำเข้าและการส่งออกสินค้า และดุลการค้าและการชำระเงิน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา ซึ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ

88 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในกรณีแรก เป็นการพิจารณาถึงการขยายตัวสัดส่วนการผลิต และการจ้างงานของภาคการผลิตต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการผลิต ผลผลิตและสินค้าออก ในกรณีที่สอง พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราการง่างงาน ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลชำระเงินต่างประเทศ

89 1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง นโยบาย มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล และบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ความพร้อมของทรัพยากรในการพัฒนาภาคการผลิตต่าง ๆ และการเปิดประเทศของระบบเศรษฐกิจ

90 2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยจากต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ด้านการค้ากับต่างประเทศ การพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างประเทศ และการเรียนรู้ด้านการผลิตและการเลียนแบบในการใช้จ่ายจากต่างประเทศ

91 ระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์
เศรษฐกิจไทยมีอยู่ 2 ระบบ หรือที่เรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ “ทวิลักษณ์” (Dual Economics) ได้แก่ 1. เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม 2. เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โครงสร้างการผลิตของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคบริการได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานที่อพยพมาจากภาคเกษตรกรรม

92 1. เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม
ภาคเกษตรกรรมของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน จากเป้าหมายการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นผลิตเพื่อขายและส่งออก ผลผลิตมีความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงไม่ได้ดำเนินควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

93 2. เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม
การผลิตในระบบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสาขาหัตถกรรมได้เปลี่ยนไปเมื่อมีการเปิดประเทศ ในช่วงแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น แต่การผลิตในสาขาหัตถอุตสาหกรรมไม่ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานมากเท่าที่ควร มีการกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลางและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สำหรับโครงสร้างการผลิตด้านการบริการโดยทั่วไปมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่การบริการด้านการศึกษาและกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีบทบาทมากขึ้น พบว่าเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทำให้บริการด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การค้า รวมทั้งระบบการประกันสุขภาพมีอัตราลดลง

94 ลักษณะและปัญหาเศรษฐกิจไทย
1.การเงินการคลังและภารกิจระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นภาวะเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยในช่วงก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเกิดภาวะเงินเฟ้อจะมาจากปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ แต่หลังจากมีการใช้แผนพัฒนาฯ สาเหตุหลักมาจากต่างประเทศ คือการที่ราคาน้ำมันและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ภาวะเงินฝืด หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิต ทำให้สินค้าขาดแคลน ส่งผลให้เกิดการว่างงานในประเทศ

95 2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้าเกือบทุกปี แต่ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวเข้ามาชดเชย ในขณะที่ดุลบัญชีการชำระเงินมีการเกินดุลเกือบทุกปี เพราะจากการที่มีเงินลงทุนไหลจากต่างประเทศเข้ามามาก แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจมีเงินไหลออกนอกประเทศทำให้เกิดการขาดดุลชำระเงิน 3. ข้อจำกัดและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในระยะแรกของการพัฒนา สถานการณ์การว่างงานในประเทศไทยไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะเชื่อว่า เมื่อมีการพัฒนาให้มีการขยายตัว ปัญหาการว่างงานจะมีไม่มาก แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นมาก ปัญหาการว่างงานมีมากขึ้น และเมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

96 ความหลากหลายของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
การพัฒนาที่ผ่านมาเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยหวังว่า ผลของความเจริญจะกระจายไปยังคนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งล้มเหลว ในปัจจุบันการพัฒนาจึงมุ่งไปยังพื้นฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม การพัฒนาที่มุ่งให้ความสำคัญกับเมืองทำให้ชีวิตคนส่วนใหญ่ในท้องถิ่นถูกทอดทิ้ง ในปัจจุบันจึงต้องมุ่งพัฒนาชนบทบนพื้นฐานของความยั่งยืน การพัฒนาแนวนิเวศและการสร้างชุมชนสีเขียวมุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของมนุษย์

97 ปรัชญาการพัฒนาเปรียบเทียบ
ปรัชญาตะวันตก มองว่า มนุษย์แยกจากธรรมชาติ จึงมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด ขณะที่ปรัชญาตะวันออกมองว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จึงเคารพและให้ความยุติธรรมกับธรรมชาติ นิเวศวิทยาของชาวพุทธ สอนให้มนุษย์มองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และการพัฒนาอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การพัฒนาที่แท้ตามแนวทางของเต๋า มุ่งให้มนุษย์ค้นหาจิตสำนึกของตัวเองให้พบ ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาได้อย่างชัดเจน

98 แนวทางการพัฒนาและการเปรียบเทียบเชิงระบบ
การพัฒนาวิถีใหม่ เน้นความสำคัญจริยธรรมของการพัฒนากับความยั่งยืนด้านนิเวศ การพัฒนากระแสหลัก เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนการพัฒนากระแสทางเลือกเน้นความสำคัญของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิม เน้นการมองปัญหาการพัฒนาเพียงมิติเดียว โดยมุ่งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบใหม่เน้นการมองปัญหาการพัฒนาหลายมิติและเป็นองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน การพัฒนาแบบทุนนิยม เน้นการบริโภคและการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน ส่วนการพัฒนาแบบสังคมนิยมเน้นความยุติธรรมและความอยู่รอดของสังคม

99 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10
ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-2 ( ) มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คือ ถนน ไฟฟ้า และน้ำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3-4 ( ) เพิ่มการพัฒนาด้านสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ( ) มุ่งเน้นการพัฒนาชนบท ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6-7 ( ) มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

100 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (2540-2544) มุ่งเน้นการพัฒนาโดยใช้คนเป็นศูนย์กลาง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ( ) มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ( ) เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นการพัฒนาคนเพื่อให้มีความสุข โดยเน้น “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

101 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเมื่อปี พ.ศ.2540 โดยมุ่งหมายให้เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตในฐานะเศรษฐกิจทางเลือกแบบหนึ่งเพื่อให้ประเทศชาติล่วงพ้นจากสภาพวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น ดังนั้น วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการต่อสู้ ทางอุดมการณ์ระหว่างรูปแบบเศรษฐกิจที่มีความเป็นเฉพาะกับความ เป็นสากล หรือชูกระแสท้องถิ่นต่อสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์

102 หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
มีผู้อธิบายว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1. กรอบแนวคิด 2. คุณลักษณะ 3. คำนิยาม 4. เงื่อนไข 5. แนวปฏิบัติ

103 กรอบแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา      

104 คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

105 คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ ในระดับพอประมาณ - ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ - การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัวหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

106 เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ •  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

107 จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
แนวปฏิบัติ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

108 สรุปลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นเศรษฐกิจสำหรับคนทั้งมวล มีพื้นฐานอยู่ที่ความเข้มแข็งของชุมชน มีความเป็นบูรณาการ อยู่บนพื้นฐานความเข้มแข็งของตนเอง มีการจัดการและนวัตกรรมใหม่ ๆ

109 บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์และทฤษฎี
เศรษฐกิจพอเพียง บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์และทฤษฎี   ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

110

111 ประเด็นนำเสนอ ที่มาและฐานความคิด ข้อเสนอทางปรากฏการณ์ คำถามเชิงทฤษฎี

112

113 ที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความสำคัญของปรัชญา ปรัชญา ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการดำเนินชีวิต เพราะเป็นเรื่องของวิธีคิด และจิตสำนึกของผู้คน ทุกปรัชญา ไม่เฉพาะแต่ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2517 ในพระราชวังสวนจิตรลดา และมาสำแดงพลังอย่างเต็มที่ ในปี พ.ศ.2540 เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และสังคมไทยเริ่มตั้งถามว่า เราจะหาทางออกจากวิกฤตินั้นอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นศัพท์ประดิษฐ์ ที่เรียกว่า “ประดิษฐกรรมทางภาษา” จึงเป็นที่ชัดเจนว่า เศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ “ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น”

114 เศรษฐกิจพอเพียง : ปมปัญหาระหว่างความรู้ กับความไม่รู้
หลังปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้สังคมตกอยู่ในภาวะ “วิกฤติทางพาราไดม์” ว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปพันกันกับบริบททางการเมืองขณะนั้นอย่างแนบแน่น วิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศัพท์ประดิษฐ์ ที่เรียกว่า “ประดิษฐกรรมทางภาษา” ในมุมนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็น ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น แฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ นักสัญวิทนาชาวสวิส เสนอว่า ในโครงสร้างของภาษามีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ รูปภาษา กับความหมายภาษา การให้ความหมายภาษาจึงเกิดจากการตีความ ในกรณีดังกล่าว จึงดูเหมือนว่าเรากำลังถูก “ล้อมกรอบ” ด้วย “กรงดัก” ทางภาษา เมื่อติดอยู่ในรูปแบบของภาษาจึงทำให้เกิดความสับสน และเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งในการทำความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของภาษา

115 หากในหลวงท่านเปลี่ยนไปใช้คำว่า เศรษฐกิจแบบศีลธรรม (Moral Economy) หรือ เศรษฐกิจแบบจิตสำนึก (Conciousness Economy) หรือคำอื่น อาจตรงกับเจตนารมณ์ที่ต้องการจะ “สื่อ” ได้มากกว่านี้ หรือว่า เป็นความผิดพลาดของการสร้างวาทกรรม โดยเฉพาะมีคำว่า “เศรษฐกิจ” คนจึงมองว่า เป็นรูปแบบหนึ่ง ของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ยิ่งคำว่า “พอเพียง” ซึ่งเป็นคำที่ไม่สามารถบอกเกณฑ์หรือมาตรฐานได้ชัดว่าคืออะไร ยิ่งก่อให้เกิดการตีความอย่างกว้างขวาง เรียกได้ว่า เป็นความสับสนทางทฤษฎี สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียง คือเศรษฐกิจที่สามารถอยู่อย่างอิสระ และสามารถปลดปล่อยตัวเองได้จากโลกาภิวัตน์

116 เศรษฐกิจพอเพียง : บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ “พื้นที่” ที่ภาคใต้เศรษฐกิจพอเพียง “ไม่เวิร์ค” เพราะคนใต้เขาโดยสารรถไฟระหว่างประเทศ ไม่ใช่รถไฟระหว่างเมือง หรือระหว่างหมู่บ้าน เขาเชื่อว่า โซ่ของการผลิต ถูกจัดตั้งจากต่างประเทศ ที่อีสาน เศรษฐกิจพอเพียง “ทำได้” เพราะคนที่อยู่ในชุมชนเป็นคนที่ปลดเกษียณแล้วในตลาดแรงงาน ถ้ามีจิตสำนึกก็สร้างกลุ่ม โครงการที่ประสบความสำเร็จ เป็นความเก่งเฉพาะครัวเรือน ไม่ใช่กระจายไปทุกที่ และอาจเกิดจากเงื่อนไขหรือศักยภาพอย่างอื่น มากกว่าการตอบสนองทางอุดมการณ์ ส่วนที่ล้มเหลวก็ไม่ใช่เป็นเพราะพฤติกรรมไม่สามารถบรรลุตามคำอธิบายเชิงทฤษฎี แต่เป็นเพราะแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาวบ้านในตัวของมันเองมีแรงเฉื่อย และถูก ”แรงต้าน” จากตลาด ที่ “แข็งแกร่ง เฉยชา และไร้จิตสำนึก” การผลิตซ้ำวาทกรรม “ประชานิยม” ของภาคการเมือง ภายหลังจาก คมช. ทำการโค่นล้มอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมุ่งทำลายระบอบเศรษฐกิจแบบ “ทักษิโณมิกส์” จนกระทั่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกพรรคการเมืองต่างผลิตซ้ำวาทกรรม “ประชานิยม” เป็นหลัก ปรากฏการณ์ดังกล่าว น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า 1. ภาคการเมืองขาดความเชื่อมั่นในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. รู้ว่าแนวคิดประชานิยมสามารถดึงมวลชนรากหญ้ามาเป็นพวกได้มากกว่า 3. เป็นการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจ โดยนัยดังกล่าว เศรษฐกิจพอเพียงในความหมายของภาคการเมือง จึงเป็นเพียง “ไม้ประดับของโลกาภิวัตน์” หรือเหมือนมวยคู่ก่อนเวลา เพื่อรอ “มืออาชีพ” เข้ามาจัดการแบบเบ็ดเสร็จ

117 เศรษฐกิจพอเพียง : บทวิพากษ์ทางทฤษฎี
ผู้เสนอคิดว่า ขณะนี้เรากำลังยืนอยู่บนเยื่อบาง ๆ ของ 2 สิ่ง ระหว่างสิ่งที่เป็น 1. วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง 2. การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ประเด็นที่หนึ่ง วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง วาทกรรม หมายถึง การต่อสู้ทางความคิดที่อยู่ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ผู้ที่อยู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมีหลายกลุ่ม ได้แก่ ราชสำนัก รัฐบาล ระบบราชการ ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อสารมวลชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองท้องถิ่น และชาวบ้าน ในหลวง นำเสนอวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะปรัชญาในการดำเนินชีวิต รัฐ ตีความและแปรรูปปรัชญามาผลักดันนโยบาย ระบบราชการ นำนโยบายมาปฏิบัติ ข้าราชการ ทำงานตามคำสั่งของหนังสือสั่งการ ใช้แบบแผนปฏิบัติแบบจารีต องค์กรพัฒนาเอกชน จัดตั้งเครือข่ายในกลุ่มชาวบ้านระดับรากหญ้า นักวิชาการ ทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วิพากษ์ เพื่อชี้นำสังคม นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างภาพกับทุนนิยม องค์กรปกครองท้องถิ่น ใช้ปรัชญาสร้างกิจกรรมดึงหัวคะแนน ชาวบ้าน ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการวาทกรรมจากทุกกลุ่ม โดยสรุป กลุ่มต่าง ๆ มีส่วนในวาทกรรมคนละอย่าง มีคนได้ประโยชน์จากวาทกรรม และมีคนเสียเปรียบ จากวาทกรรม ที่สำคัญคือ บางกลุ่มไม่เชื่อในสิ่งที่ทำ และบางกลุ่มไม่เชื่อในสิ่งที่พูด

118 ประเด็นที่สอง การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
ประเด็นที่สอง การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” มีคนจำนวนไม่น้อยตีความว่า รูปแบบเศรษฐกิจที่เกิดก่อน “ทุนนิยมเสรี” หรือที่ “ไมใช่ทุนนิยม” คือ เศรษฐกิจพอเพียง มีคำถามว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีจริงหรือไม่ ? ถ้ามี แล้วเป็นแบบไหน? หรือเป็นเพียง “วาทกรรมชั่วคราว” คำถามมีว่า ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงที่เราพูดถึงมีจริงในอดีต - ทำไมพระพุทธเจ้า จึงเชื่อว่า ข้างหน้ามียุคพระศรีอาริย์ - ทำไม Plato จึงใฝ่ฝันถึง The Republic State - ทำไม Karl Marx จึงถามหาสังคม Utopia ถามว่า ถ้าความพอเพียงมีอยู่จริง ทำไมคนในอดีตต้องโหยหา สังคมในอุดมคติ (Imaged Society) ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บอกเราว่า โลกในยุคอดีตก็ไม่ได้มีความสมดุล เช่น มีโรคระบาด มีการอพยพของผู้คนเพื่อหนีภาวะข้าวยากหมากแพง โจรผู้ร้าย ภาวะสงคราม การแย่งชิงดินแดน การล่าอาณานิคม เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพที่ต้องดิ้นรนในอดีต พาราไดม์เกี่ยวกับความยากจนมี 2 แบบ คือ กลุ่มแรก เชื่อว่า ความยากจนเป็นพันธุกรรม กลุ่มที่สอง เชื่อว่า ความยากจนเป็นนวัตกรรม ถามว่า ในสังคมไทยเชื่อแบบไหน ?

119

120 Post-Structuralism or Nothing


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google