งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต
ชุดการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษา (พ ๒๒๑๐๑) เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ค้ำจุนหนุนชีวิต นางวันเพ็ญ คฤคราช ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘

2 คำนำ ชุดการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต สร้างขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในวัยรุ่น และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในวัยรุ่น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ชุดการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมจากตำราเรียน มีคำถามทบทวนบทเรียน มีแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง ตามความสนใจและศักยภาพของนักเรียนเอง ผู้จัดทำมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ที่ศึกษาชุดการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้ผลบรรลุจุดมุ่งหมายทุกท่าน

3 สารบัญ เรื่อง หน้า คำแนะนำการใช้สำหรับครู ๑
เรื่อง หน้า คำแนะนำการใช้สำหรับครู ๑ คำแนะนำการใช้สำหรับนักเรียน ๒ เป้าหมายการเรียนรู้ ๓ มาตรฐานและตัวชี้วัด ๓ สาระสำคัญ ๓ สาระการเรียนรู้ ๓ แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ๔ ความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๖ พฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๖ กระบวนการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๗ บรรณานุกรม ๘ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ๙

4 คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู
คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทั้งนักเรียนที่เรียนดีและนักเรียนที่เรียนช้า ๒. ใช้ประกอบการสอนในแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียนจะได้ศึกษาหาค้นคว้า ปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่กำหนด ๓. ชุดการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปประเมินผลการสอนผลผ่านจุดประสงค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาได้ โดยประเมินจากแบบทดสอบ วิธีใช้ ๑. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล ให้เข้าใจ ๒. ชี้แจงให้นักเรียนอ่านคำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนอย่างละเอียด และปฏิบัติตาม ขั้นตอนจนจบ ๓. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของกิจกรรม ๔. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนตามขั้นตอน ถ้านักเรียนคนใดศึกษาชุดการเรียนการสอน แล้วยังไม่เข้าใจ ครูควรชี้แนะเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ทั้งที่บ้าน และโรงเรียน จะทำให้เข้าใจชุดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น ๕. ผลการปฏิบัติกิจกรรมสามารถนำไปประกอบการพิจารณาผ่านจุดประสงค์โดยครูผู้สอน ๖. ประเมินผลกิจกรรมตามขั้นตอน

5 คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน
คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน และ การฝึกปฏิบัติไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. นักเรียนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับวัย วิธีใช้ ๑. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในชุดการเรียนการสอน นักเรียนจะทราบว่า เมื่อเรียนจบ ทุกบทเรียนแล้วจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมใดได้บ้าง ๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ตามความเข้าใจของตนเองแม้คำตอบผิดก็ไม่เป็นไร นักเรียน ต้องศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้วจะสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง ในขั้นตอนสุดท้าย ๓. ชุดการเรียนการสอนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อยๆ บรรจุลงเนื้อหาตามลำดับต่อเนื่องกันไป ๔. ในบางเนื้อหาจะมีคำถามง่ายๆ เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง ตอบคำถามแล้วตรวจคำตอบในหน้าต่อไป ๕. ถ้านักเรียนตอบคำถามถูก แสดงว่าเข้าใจดีแล้ว ให้อ่านเนื้อหาต่อไปได้ แต่ถ้าตอบคำถามผิด ต้องกลับไปอ่านเนื้อหาเดิมให้เข้าใจ ตอบคำถามอีกครั้งจนตอบถูก แล้วจึงอ่านเนื้อหาต่อไป ๖. ไม่ควรดูคำตอบก่อนตอบคำถามเป็นอันขาด เพราะจะทำให้นักเรียนไม่เข้าใจบทเรียน อย่างแท้จริง ๗. บางบทเรียนมีคำแนะนำให้นักเรียนไปฝึกปฏิบัติด้วย นักเรียนต้องลองปฏิบัติให้ได้ตาม คำแนะนำ จะทำให้เกิดความรู้และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

6 ๑. เป้าหมายการเรียนรู้ เลือกใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันตนเอง เช่น ทักษะปฏิเสธ ทักษะการต่อรอง ฯลฯ และหลีกเลี่ยงสถานการณ์คับขันที่อาจนำไปสู่อันตราย ๒. มาตรฐานและตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรง ตัวชี้วัด : สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ ใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงสถานการณ์คับขันที่อาจนำไปสู่อันตราย ๓. สาระสำคัญ คนเราทุกคนรักความปลอดภัยและกลัวความไม่ปลอดภัย แต่ความปลอดภัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของตนเองว่ามีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยหรือไม่ แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ควรหลีกเลี่ยง จากพฤติกรรมที่อาจทำให้ไม่ปลอดภัย ตลอดจนความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ด้วยการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ๔. สาระการเรียนรู้ ๑. หลักของความปลอดภัย ๒. คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน ๓. กลวิธีในการป้องกันเพื่อสร้างความปลอดภัยต่อสุขภาพ ๔. สวัสดิภาพในการเดินทาง ๕. ภัยธรรมชาติ ๖. ความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ๗. แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ๘. การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

7 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  ลงในตัวเลือก ก. ข. ค. และ ง. ที่ถูกต้องที่สุด ๑. บุคคลในข้อใดอยู่ในมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย ก. ออมไปเรียนดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ ข. อ้อมไปทำบุญที่วัดกับคุณยายในวันพระ ค. อั้มชวนเพื่อนๆ มาเล่นฟุตบอลหลังเลิกเรียน ง. อ้นชอบไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ร้านอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ๒. การมั่วสุมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ยกเว้นข้อใด ก. ผลการเรียนตกต่ำ ข. ใช้คอมพิวเตอร์ได้เก่งขึ้น ค. เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ง. เกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรงจากเกมคอมพิวเตอร์ ๓. หากนักเรียนต้องการพักผ่อน นักเรียนควรไปสถานที่ใด เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง ก. สวนสาธารณะ ข. บ่อนการพนัน ค. สถานเริงรมย์ต่างๆ ง. ร้านเกมคอมพิวเตอร์ ๔. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาและผลกระทบจากการแข่งขันรถจักรยานยนต์บนท้องถนน ก. ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง และเกิดปัญหาการจราจร ข. ได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันรถจักรยานยนต์ ค. การจราจรติดขัด และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ง. อาจถูกตำรวจจับดำเนินคดีได้ ๕. ใครหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงต่ออันตรายได้อย่างเหมาะสม ก. สนชอบนัดเพื่อนไปดื่มเหล้าในตึกร้าง ข. สาวไปไหนกับเพื่อนๆ เป็นกลุ่มใหญ่เสมอ ค. นุ่นชอบไปเที่ยวสถานที่ที่มีคนเยอะๆ เพราะทำให้รู้สึกคึกคัก ง. นิ่มคบเพื่อนที่มีความประพฤติดีและอยู่ในทำนองคลองธรรม

8 ๖. ทักษะชีวิต คืออะไร ก. การฝึกฝนทุกอย่างให้ชำนาญ ข. การยอมทำตามผู้อื่น เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ค. ทักษะการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ง. การเข้าใจความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ๗. บุคคลที่มีทักษะชีวิตที่ดีจะเป็นอย่างไร ก. เป็นคนดี ข. เป็นคนเก่ง ค. เป็นคนที่มีคนรักมาก ง. เป็นคนที่อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ๘. กลวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด ก. ทักษะการคิด ข. ทักษะการต่อสู้ ค. ทักษะการต่อรอง ง. ทักษะการปฏิเสธ ๙. ทักษะการปฏิเสธในข้อใดมีความสำคัญในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ก. ปฏิเสธที่จะแข่งขันรถจักรยานยนต์ ข. ปฏิเสธที่จะไปมั่วสุมเล่นการพนัน ค. ปฏิเสธที่จะใช้อินเทอร์เน็ต ง. ปฏิเสธที่จะใช้สารเสพติด ๑๐. นักเรียนคิดว่า เราควรนำสิ่งใดมาใช้ร่วมกับทักษะการคิดตัดสินใจ และแก้ปัญหา เพื่อให้ สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ก. ความรอบรู้ และประสบการณ์ชีวิต ข. ความมุ่งมั่น และประสบการณ์ชีวิต ค. ความมั่นคง และความกล้าหาญ ง. ความรอบรู้ และความกล้าหาญ

9 ความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง
ความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงเป็นการกระทำของบุคคลที่มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นได้มาก เช่น การขับรถเร็ว การหลับใน การเมาแล้วขับ เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การยอมให้โอบกอด สัมผัสร่างกาย เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ สถานการณ์เสี่ยงเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสจะนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อตนเอง หรือผู้อื่นได้มาก เช่น การอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการทะเลาะวิวาท อาจถูกลูกหลงจนบาดเจ็บ พิการหรือเสียงชีวิต การเดินทางทางเรือข้ามไปยังเกาะขณะมีลมพายุ เรืออาจล่มได้ เราต้องรู้จักหลักเลี่ยงพฤติกรรมและสถานการณ์ต่างๆ ที่จะนำไปสู่อันตราย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพราะมีบุคคลจำนวนมากที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต อันเนื่องมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองหรือของผู้อื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย พฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๑. การมั่วสุม การมั่วสุมเป็นการรวมกลุ่มกันทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งการมั่วสุมของวัยรุ่น มีหลายลักษณะ ดังนี้ ๑.๑ การมั่วสุมเสพสารเสพติด ๑.๒ การมั่วสุมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ๑.๓ การมั่วสุมในเรื่องเพศ ๑.๔ การมั่วสุมเพื่อยกพวกตีกัน ๑.๕ การมั่วสุมในที่สาธารณะ ๑.๖ การมั่วสุมในห้องน้ำของโรงเรียน ๑.๗ การมั่วสุมตามงานต่างๆ

10 กระบวนการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง
๒. การทะเลาะวิวาท ๒.๑ การทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ๒.๒ การทะเลาะวิวาทในกลุ่มของคนที่อยู่สถาบันเดียวกัน ๒.๓ การทะเลาะวิวาทในกลุ่มของคนต่างสถาบัน ๓. การเข้าไปในแหล่งอบายมุข ๓.๑ การดื่มสุรา ๓.๒ การเที่ยวกลางคืน ๓.๓ การดูการเล่น ๓.๔ การเล่นการพนัน ๓.๕ การคบคนชั่วเป็นมิตร ๓.๖ ความเกียจคร้าน ๔. การแข่งขันรถจักรยานยนต์บนท้องถนน ๕. การเข้าไปในฝูงชน กระบวนการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๑. กระบวนการคิด หมายถึง ระบบการคิดสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่สำคัญ การใช้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสม และตัดสินใจอย่างมีเป้าหมายที่ดีในแต่ละสถานการณ์ของชีวิต ๒. ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการฝึกและกระทำซ้ำๆ จนเป็นลักษณะนิสัย ทักษะชีวิตประกอบด้วยทักษะต่างๆ เช่น การรู้จักตนเอง การเข้าใจตนเอง การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ ๓. การคาดคะเน หมายถึง การคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคาดคะเนแล้วว่าจะเป็นการเสี่ยงต่ออันตรายและไม่ปลอดภัยก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง เช่น เพื่อนชวนไปเที่ยวกลางคืน ๔. การต่อรอง หมายถึง การเจรจาเพื่อให้สถานการณ์ที่คับขันดีขึ้น หรือการเจรจาเพื่อหลักเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยง การใช้ทักษะการต่อรอง เช่น เมื่อมีคนเมายาบ้า คนที่เครียดจัดหรือโจรผู้ร้ายมีการจี้ตัวประกัน ๕. การปฏิเสธ เป็นทักษะสำคัญในการเอาตัวรอด หรือหลีกเลี่ยงต่อสถานการณ์เลวร้ายที่จะเข้ามาในชีวิตทักษะการปฏิเสธนี้สามารถใช้ได้กับทุกเรื่องที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิเสธการใช้สารเสพติด การปฏิเสธที่จะเล่นการพนัน

11 บรรณนุกรม กิตติ ปรมัตถผลและคณะ. (๒๕๕๑). หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ วิชา สุขศึกษา ๒. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. คู่มือครู. (๒๕๕๑). สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). อภิลักษณ์ เทียนทองและคณะ. (๒๕๕๑). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ประสานมิตร (ปสม.) จำกัด.

12 เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ชุดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต ก่อนเรียน-หลังเรียน ข้อ ตอบ ๑๐

13


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google