งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลกระทบทางจริยธรรม และสังคมของระบบสารสนเทศ Ethical and social impact

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลกระทบทางจริยธรรม และสังคมของระบบสารสนเทศ Ethical and social impact"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลกระทบทางจริยธรรม และสังคมของระบบสารสนเทศ Ethical and social impact
บทที่ 7 ผลกระทบทางจริยธรรม และสังคมของระบบสารสนเทศ Ethical and social impact

2 บทนำ การปกป้องความเป็นส่วนตัวบนระบบอินเทอร์เน็ตและการอ้างสิทธิในการรับรู้ข่าวสารเป็นตัวอย่างของประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อระบบสารสนเทศถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ประเด็นอื่นได้แก่ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับผลที่จะเกิดขึ้นจากใช้ระบบสารสนเทศ การกำหนดมาตรฐานเพื่อประกันคุณภาพของระบบที่ปกป้องความปลอดภัยของแต่ละบุคคลและสังคม และการรักษาคุณธรรมและสถาบัน ถือว่าเป็นหัวใจของคุณภาพชีวิตในสังคมข่าวสาร

3 หัวข้อการเรียนรู้  หลักจริยธรรมและประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน - รูปแบบในการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการเมือง - มิติความชอบธรรมห้าประการในยุคข่าวสาร - แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็นการโต้แย้งกับหลักจริยธรรม  จริยธรรมในยุคสังคมข่าวสาร - นิยามพื้นฐานของ ความรับผิดชอบ การตรวจสอบ และพันธกรรม - การวิเคราะห์ตามหลักจริยธรรม - ตัวอย่างความขัดแย้งทางจริยธรรม

4 หัวข้อการเรียนรู้  มิติความชอบธรรมของระบบสารสนเทศ - ปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคลในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน – สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา - ความท้าทายต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา - คุณภาพของระบบในด้านคุณภาพของข้อมูล และความผิดพลาดของ ระบบ - คุณภาพของชีวิตในด้านความเท่าเทียมกัน การใช้งาน และขอบเขต - ผลกระทบต่อการจ้างงานจากเทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยน โครงสร้างงาน

5 หลักจริยธรรมและประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน
จริยธรรม (Ethics) หรือจรรยาธรรม หมายถึงหลักพื้นฐานในการตัดสินความถูกหรือผิดที่แต่ละบุคคลนำมาใช้อย่างอิสระในการเลือกหนทางปฏิบัติหรือกำหนดพฤติกรรมของตนเอง เทคโนโลยีข่าวสาร และระบบสารสนเทศได้ทำให้เกิดคำถามใหม่ ๆ ทางด้านจริยธรรมสำหรับทั้งบุคคลและองค์กรเนื่องจากได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรุนแรงและทำให้เกิดแรงกดดันต่อวิธีการกระจายอำนาจการเงิน สิทธิ และข้อบังคับในปัจจุบัน

6 Information Technology and Systems
รูปแบบในการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการเมือง Information Rights and Obligations Property Rights and Obligations Political Issues Social Issues Ethical Issues Information Technology and Systems Accountability and control System Quality Individual Society Polity Quality of Life ระบบสารสนเทศมักจะพบกับทางสองแพร่งที่ไม่สามารถหาทางออกได้ง่าย เมื่อพิจารณาตามหลักจริยธรรมที่ถูกสะท้อนออกมาในรูปของการโต้เถียงทางสังคมและการเมือง

7 รูปแบบในการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการเมือง
รูปแบบในการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการเมือง รูปแบบ (Model) เป็นการเชื่อมโยงหลักจริยธรรม สังคม และการเมืองเข้าด้วยกัน สามารถนำมาใช้เป็นต้นแบบในการจัดการความผันผวนที่เกิดขึ้น ยังมีประโยชน์สำหรับการแยกแยะมิติความชอบธรรมของสังคมข่าวสารซึ่งเกี่ยวพันกับการกระทำในหลายระดับ คือ ส่วนบุคคล สังคม และการเมือง

8 มิติความชอบธรรมห้าประการในยุคข่าวสาร
สิทธิการรับรู้ข่าวสารและพันธกรณี (information rights and obligations) สิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (Property rights) การชี้แจง และการควบคุม (Accountability and control) คุณภาพของระบบ (System quality) คุณภาพของชีวิต (Quality of life)

9 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็น การโต้แย้งกับหลักจริยธรรม
เทคโนโลยีข่าวสารได้ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องหลักจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความเครียดแก่บุคคลในกลุ่มพวกต่าง ๆ ในสังคมสูงขึ้น และทำให้กฎหมายบางส่วนล้าสมัยหรือได้ลดทอนอำนาจของกฎหมายลงอย่างมาก แนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญที่เป็นต้นเหตุของความเครียดเหล่านี้สรุปได้เป็น 5 เรื่อง ดังนี้

10 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็น การโต้แย้งกับหลักจริยธรรม
ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (The doubling of computing power) องค์การส่วนใหญ่นำระบบสารสนเทศไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในกระบวนการหลักของการผลิตสินค้าและบริการ ผลที่เกิดตามมาคือ องค์กรได้ผูกมัดตนเองเข้ากับระบบฯ อย่างแน่นหนา ทำให้ความผิดพลาดของระบบฯ และข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร

11 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็น การโต้แย้งกับหลักจริยธรรม
2. ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล (Advances in data storage) และราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายตัวอย่างมากมายของฐานข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ความก้าวหน้าในการเก็บรักษาข้อมูลทำให้การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทำได้ในราคาที่ถูกมากแต่กลับมีประสิทธิภาพสูงยิ่ง

12 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็น การโต้แย้งกับหลักจริยธรรม
3. ความก้าวหน้าในเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Advances in data mining techniques) เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศช่วยให้องค์กรสามารถปะติดปะต่อและรวบรวมข่าวสารนับพันนับหมื่นชิ้นที่เก็บรักษาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอาจถูกนำไปใช้หาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้

13 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็น การโต้แย้งกับหลักจริยธรรม
4. ความก้าวหน้าของระบบเครือข่าย (Advances in networking) การให้บริการเคลื่อนบ้ายข้อมูลปริมาณสูงมากด้วยระยะเวลาที่สั้นมาก และยังอำนวยความสะดวกในการทำเหมืองข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขนาดเล็กที่สามารถใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่หลายแห่งผ่านระบบเครือข่าย จึงเท่ากับเป็นการขยายขนาดฐานข้อมูลให้กว้างมากจนแทบจะหาขอบเขตไม่พบ

14 แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่เปิดประเด็น การโต้แย้งกับหลักจริยธรรม
5. การพัฒนาระบบเครือข่ายการสื่อสารดิจิตอลซุปเปอร์ไฮเวย์ (Global digital superhighway) ซึ่งช่วยให้องค์กรหรือบุคคลสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายได้สร้างความตื่นตระหนกที่ท้าทายหลักจริยธรรมและสังคมโดยส่วนรวม

15 จริยธรรมในยุคสังคมข่าวสาร
มนุษย์ที่มีจริยธรรม คือกลุ่มคนที่มีความต้องการเป็นอิสระในทางเลือกของตนเอง หลักจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทางเลือกของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อเผชิญหน้ากับการปฏิบัติที่มีหลายทางเลือกแล้ว จะต้องสามารถพิจารณาว่าอะไรคือทางเลือกที่ชอบธรรม หรืออะไรเป็นลักษณะเด่นของทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

16 นิยามพื้นฐานของ ความรับผิดชอบ การตรวจสอบ และพันธกรรม
นิยามพื้นฐานของ ความรับผิดชอบ การตรวจสอบ และพันธกรรม หลักจริยธรรม (Ethical choice) คือการตัดสินใจโดยแต่ละบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อผลของการกระทำที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ความรับผิดชอบ (Responsibility) คือลักษณะเด่นของแต่ละบุคคลและเป็นกุญแจสำคัญของการกระทำที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ความรับผิดชอบยังหมายถึงการยอมรับสิ่งที่อาจกลายเป็นค่าใช้จ่าย หน้าที่ หรือข้อผูกพันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตัดสินใจนั้น

17 นิยามพื้นฐานของ ความรับผิดชอบ การตรวจสอบ และพันธกรรม
นิยามพื้นฐานของ ความรับผิดชอบ การตรวจสอบ และพันธกรรม การตรวจสอบ (Accountability) เป็นลักษณะเด่นของระบบและสังคมที่เกี่ยวกับหาทางแก้ปัญหา หมายความว่า เป็นกลไกสำหรับการกำหดตัวบุคคลผู้ที่ได้แสดงความรับผิดชอบไปแล้ว และผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบต่อไป พันธกรรม (Liability) ขยายขอบเขตนิยามของความรับผิดชอบออกไปในทางกฎหมาย พันธกรรม คือลักษณะเด่นของระบบทางกฎหมายซึ่งได้กำหนดวิธีการแก้คืนหรือการฟื้นสภาพให้กับบุคคลที่ได้รับผลเสียหายจากการกระทำของบุคคล ระบบหรือองค์กรอื่นใด

18 การวิเคราะห์ตามหลักจริยธรรม
แยกแยะและอธิบายข้อเท็จจริงให้ชัดเจน กำหนดความขัดแย้งหรือทางเลือกและแยกแยะค่านิยมระดับสูงที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แยกแยะผู้สนับสนุน แยกแยะทางเลือกที่สามารถยอมรับได้ แยกแยะผลที่อาจจะเกิดตามมาจากทางเลือกที่มี

19 ตัวอย่างความขัดแย้งทางจริยธรรม
กรณี “Downsizing with Technology of the Telephone Company” บริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่หลายแห่งได้นำเทคโนโลยีข่าวสารมาใช้เพื่อลดจำนวนพนักงานลง เช่น AT&T ได้นำเทคโนโลยีการวิเคราะห์เสียงพูด (Voice recognition) มาใช้เพื่อลดจำนวนพนักงานตอบรับโทรศัพท์ โดยให้ลูกค้าโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์แทนที่จะเป็นพนักงาน ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถลดจำนวนพนักงานระดับปฏิบัติงานลงได้ 3,000 ถึง 6,000 คน ลดพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการลงได้ 200 ถึง 400 คน และ ปิดสำนักงานสาขาจำนวน 31 แห่งใน 21 มลรัฐ

20 ตัวอย่างความขัดแย้งทางจริยธรรม
กรณีบริษัท GTE ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมอีกแห่งหนึ่งได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในส่วนการให้บริการลูกค้าเพื่อลดจำนวนพนักงานในส่วนการซ่อมแซมอุปกรณ์ พนักงานที่ให้บริการลูกค้าที่เคยต้องส่งเรื่องต่อมายังเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค ได้รับอนุญาตให้แก้ปัญหาด้วยตนเองโดยการทดสอบอุปกรณ์ของลูกค้าได้โดยตรง ผลการปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานนี้รวมทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ ทำให้บริษัทสามารถลดจำนวนพนักงานลงได้ 17,000 คน

21 ปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กฎหมายปกป้องสิทธิส่วนบุคคลที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถครอบคลุมไปถึงเนื่องจากการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายนี้จะต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จำนวนมากนับตั้งแต่ผู้ส่งจนกระทั่งถึงผู้รับ ซึ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีขีดความสามารถในการตรวจสอบ และทำสำเนาข้อมูลที่ส่งผ่านไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ได้

22 ปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เช่น ที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( address) ก็อาจถูกบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในการส่งข้อความต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ไม่ได้ร้องขอ (เรียกว่า จดหมายขยะ หรือ Junk ) ซึ่งกระบวนการนี้ถูกเรียกว่า “Spamming” เหตุผลหลักที่มีการใช้เทคนิคนี้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นวิธีการ “โฆษณา หรือขายตรง” ที่มีราคาต้นทุนต่ำมาก คือ ใช้เงินลงทุนน้อยแต่สามารถส่งข้อความโฆษณาไปได้นับพันเป้าหมายเลยทีเดียว

23 ปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประเด็นด้านจริยธรรม ด้านจริยธรรมในยุคข่าวสารนั้นหมายถึงภายใต้เงื่อนไขใดที่บุคคลหนึ่งสามารถก้าวล้ำสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นได้ความชอบธรรมใดที่จะมีสิทธิล่วงละเมิดชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อื่นด้วยวิธีการเฝ้าตรวจ การค้นคว้าทางการตลาด หรือหนทางใด ๆ ผู้ที่ทำการดักฟังการสนทนาจำเป็นจะต้องแจ้งให้ผู้ที่จะถูกดักฟังทราบเป็นการล่วงหน้าหรือไม่ นายจ้างจะต้องแจ้งให้คนที่มาสมัครงานทราบหรือไม่ว่าตนเองใช้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการใช้เงินมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาจ้างงาน

24 ปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประเด็นทางสังคม ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลคือ การพัฒนาความคาดหวังในการรักษาสิทธิส่วนบุคคล หรือการสร้างค่านิยมในการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของคนในสังคม การกระตุ้นให้คนในสังคมได้รับทราบถึงขอบเขตที่มีอยู่ของสิทธิส่วนบุคคลที่ซ่อนอยู่ภายในขอบเขตของการอยู่ร่วมกัน

25 ปัญหาด้านสิทธิส่วนบุคคล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประเด็นทางการเมือง ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมาย หรือพระราชบัญญัติในส่วนที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนที่เก็บข้อมูลและคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น เป็นการสมควรหรือไม่ที่จะออกกฎหมายห้ามการเข้ารหัสข้อมูล (Data encryption) เพื่อที่ตำรวจสันติบาลจะได้สามารถดักจับข้อมูลที่ต้องการได้เสมอ ควรจะออกกฎหมายที่บังคับให้บริษัทที่ทำการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องขออนุญาตต่อบุคคลก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้หรือติดต่อเข้ามาที่บุคคลนั้น

26 สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ระบบสารสนเทศในปัจจุบันแม้ไม่มีเจตนาแต่ก็ได้ท้าทายต่อกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติในสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ให้การปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลหรือองค์กร ระบบสารสนเทศได้ทำให้การปกป้องทรัพย์สินประเภทนี้กระทำได้ยากมากเนื่องจากข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถถูกทำสำเนาและเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาสามารถกระทำได้ใน 3 รูปแบบ คือความลับทางการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร

27 สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ความลับทางการค้า สินค้าใดก็ตามที่เกิดขึ้นมากจากใช้สติปัญญาในการคิดค้นขึ้นมา ที่ทำขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเรียกว่าเป็นความลับในทางการค้า (Trade Secret) องค์การต่าง ๆ มีความจำเป็นจะต้องหาวิธีการปกป้อง ความลับในทางการค้าด้วยตนเองโดยเฉพาะ การป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือพนักงานใน องค์กรตนเองนำความลับไปเผยแพร่แก่ผู้อื่น

28 สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึงการได้รับสิทธิในการปกป้องของผู้ที่เป็นผู้สร้างหรือประดิษฐ์สิ่งนั้นขึ้นมาด้วยสติปัญญาของตนเอง กฎหมายลิขสิทธิ์มีความซับซ้อนมาก ซึ่งอาจจะเป็นช่องโหว่หรือจุดบกพร่อง คือการ ที่ไม่สามารถคุ้มครองแนวความคิดพื้นฐานของ ซอฟต์แวร์ได้

29 สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร สิทธิบัตร (Patent) ให้ความคุ้มครองความเป็นเจ้าของความคิดในสิ่งประดิษฐ์ โดยสิ่งประดิษฐ์ที่จดทะเบียนสิทธิบัตรจะต้องแสดงรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ซึ่งสามารถเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้เจ้าของสิทธิบัตรจะต้องอนุญาตให้ผู้อื่นนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ประโยชน์ได้โดยการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์เป็นการตอบแทน การอนุญาตใช้ประโยชน์และการให้ผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกลางเป็นผู้กำหนดหรือการใช้คำตัดสินของผู้พิพากษาเป็นหลัก

30 ความท้าทายต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ความแพร่หลายของระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตทำให้การปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญายากแก่การป้องกันมากยิ่งขึ้น ข่าวสารสามารถแพร่กระจายผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย และด้วยความรวดเร็ว ด้วยระบบ เครือข่ายเว็บ (World Wide Web) ผู้คน สามารถส่งสำเนาข้อมูลไปยังคนอื่น นับล้านคนได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ข้อมูลทั้งหลายจึงอาจถูกละเมิดสิทธิ ความเป็นเจ้าของไปด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจได้อย่างง่ายดาย

31 ความท้าทายต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ประเด็นทางจริยธรรม การทำสำเนาสามารถทำได้อย่างสะดวกง่ายดายในปัจจุบันซึ่งจะได้ซอฟต์แวร์ที่เหมือนกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับทุกประการ บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์เองก็ให้ความสำคัญต่อประโยชน์ทางการค้ามากเกินไปจึงได้ละเลยวิธีการปกป้องซอฟต์แวร์ทั้ง ๆ ที่ทราบว่าการคุ้มครองตามกฎหมายนั้นไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการทำสำเนาซอฟต์แวร์และแจกจ่ายกันมากจนเกินไปก็จะทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าลงทุนสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ออกมาอีกซึ่งผลร้ายก็จะสะท้อนกลับมาที่ผู้ใช้นั่นเอง

32 ความท้าทายต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ประเด็นทางสังคม ในประเด็นการใช้ซอฟต์แวร์นี้ทำให้ สังคมกลายสภาพเป็นสังคมของผู้ละเมิดกฎหมาย ซึ่งมีผลทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้ ชะลอตัวลงอย่างมาก ประเด็นทางการเมือง ประเด็นความเกี่ยวข้องกับฝ่ายปกครองคือเรื่องการสร้างมาตรการใหม่ ๆ สำหรับการปกป้องทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องการลงทุนด้านซอฟต์แวร์

33 คุณภาพของระบบในด้านคุณภาพของข้อมูล และความผิดพลาดของระบบ
คุณภาพของระบบในด้านคุณภาพของข้อมูล และความผิดพลาดของระบบ ระบบที่มีคุณภาพต่ำมีสาเหตุมาจาก 3 ประการคือ ข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์, ความล้มเหลวของอุปกรณ์จากเหตุผลต่าง ๆ และความผิดพลาดของข้อมูลนำเข้า ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากซอฟต์แวร์ที่มีข้อบกพร่องนั้นไม่สามารถประเมินค่าได้ นั่นคือในปัจจุบันยังคงมีกำแพงเทคโนโลยีขวางกั้นทำให้ไม่สามารถผลิตซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์ได้ ผู้ใช้จำเป็นจะต้องรับทราบปัญหาความล้มเหลวต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยังไม่สามารถพัฒนากระบวนการทดสอบที่มีมาตรฐานที่ดีพอในการรับประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกมาจำหน่าย

34 คุณภาพของชีวิตในด้านความเท่าเทียมกัน การใช้งาน และขอบเขต
คุณภาพของชีวิตในด้านความเท่าเทียมกัน การใช้งาน และขอบเขต ผลด้านลบที่เกิดขึ้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุคคล สถาบันทางสังคม และสถาบันทางการเมือง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีข่าวสารสามารถทำลายบุคคลหรือส่วนประกอบของสังคมที่มีคุณค่ารวมทั้งวัฒนธรรมอันดีงามได้อย่างง่ายดายในขณะเดียวกันกับที่ได้สร้างผลประโยชน์ในด้านอื่น ๆ มากมาย ถ้าหากว่าการนำเทคโนโลยีข่าวสารเข้ามาใช้งานได้สร้างความสมดุลระหว่างผลดีกับผลเสียแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องไปกังวลกับผลเสียแต่เพียงด้านเดียว ผลเสียของการนำเทคโนโลยีข่าวสารมาใช้งานที่มีต่อบุคคล สังคม และการเมืองสามารถสรุปได้ดังหัวข้อต่อไปนี้

35 คุณภาพของชีวิตในด้านความเท่าเทียมกัน การใช้งาน และขอบเขต
คุณภาพของชีวิตในด้านความเท่าเทียมกัน การใช้งาน และขอบเขต ผลเสียของการนำเทคโนโลยีข่าวสารมาใช้งานที่มีต่อบุคคล สังคม และการเมืองสามารถสรุปได้ดังหัวข้อต่อไปนี้ การสร้างสมดุลระหว่างอำนาจที่ศูนย์กลางกับอำนาจที่กระจายอยู่ทั่วไป ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว : การเพิ่มอำนาจในการแข่งขันด้วยการตอบสนองที่เร็วขึ้น การรักษาขอบเขตความสัมพันธ์ให้คงที่ : ครอบครัว การทำงาน และการพักผ่อนหย่อนใจ ความเป็นอิสระ และการพึ่งพิงอย่างเหนียวแน่น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และการคุกคามด้วยคอมพิวเตอร์

36 ผลกระทบต่อการจ้างงานจากเทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างงาน
ผลกระทบต่อการจ้างงานจากเทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างงาน การปรับเปลี่ยนโครงสร้างงานมักจะเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการนำเทคโนโลยีข่าวสารเข้ามาใช้งานการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะทำให้ผู้บริหารระดับกลางและพนักงานธุรการหรือเสมียนจะต้องสูญเสียงานของตนเองไปเป็นจำนวนมาก และที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ ถ้าระบบสารสนเทศ สามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อย่างแท้จริงแล้วองค์การอื่นก็จะนำไปพัฒนาใช้ งานเหมือนกัน ซึ่งจะทำให้บุคคลที่สูญเสียงาน เหล่านี้ไม่สามารถหางาน (ประเภทเดิม) ที่อื่น ได้ด้วย

37 ตารางการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในทางอาชญากรรม และการก้าวร้าวผู้อื่น
ผลกระทบต่อการจ้างงานจากเทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างงาน ตารางการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในทางอาชญากรรม และการก้าวร้าวผู้อื่น

38 ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ
โรคชนิดใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน คือ อาการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากความเครียดจากการทำงานซ้ำ ๆ (Repetitive Stress Injury: RSI) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งถูกใช้งานจากการกระทำซ้ำ ๆ โดยมีการกระแทกอย่างรุนแรง เช่น การพิมพ์งานทางแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ทุก ๆ วันในที่ทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางสั่งงานผ่านระบบประสาท carpal tunnel เพื่อบังคับกล้ามเนื้อข้อมือที่ต้องพิมพ์ 23,000 ครั้งใน 8 ชั่วโมง การเจ็บป่วย RSI สามารถแก้ไขได้ เช่น การออกแบบแป้นพิมพ์ให้สอดคล้องกับโครงสร้างของร่างกายมนุษย์

39 ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ
ตารางแสดงอาการเจ็บป่วย RSI อาการป่วยแบบ CVS (Computer Vision Syndrome) หมายถึง การเจ็บป่วยของดวงตาอันเนื่องมาจากการมองจอภาพคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน จะเกิดอาการ ปวดหัว สายตาพร่ามัว ดวงตาแห้ง และอาการเคืองตา

40 ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ
อาการเจ็บป่วยจากคอมพิวเตอร์ล่าสุดมีชื่อว่า ความเครียดแบบ Techno stress หมายถึง อาการเจ็บป่วยหรือความเครียดที่มีสาเหตุมาจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานคือ จะมีความจริงจังในระดับสูงมาก มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์เปลี่ยนไป มีความอดทนต่ำ และมีความก้าวร้าวมากขึ้น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ใช้จะต้องมองภาพที่ปรากฏบนจอภาพ (Video Display Terminal ; VDT) ซึ่งมีการแผ่รังสีออกมาอยู่ตลอดเวลา จอภาพจะปล่อยอนุภาคอิเล็กตรอนและรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำมาก รังสีนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้ซึ่งยังไมมีผู้ใดทราบว่าจะมีผลอย่างไรต่อเอ็นไซม์ (enzymes) โมเลกุล และโครโมโซมในร่างกายมนุษย์

41 จริยธรรมขององค์กรสำหรับผู้บริหาร
ได้กำหนดหลักจริยธรรมสำหรับระบบสารสนเทศ (Information System Code for Ethics) ขึ้นมาใช้งาน ในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ยังไม่ได้จัดทำขึ้น ทำให้บุคลากรในองค์กรเหล่านั้นยังคงไม่มีทิศทางการปฏิบัติตนที่ชัดเจน จริยธรรมสำหรับระบบสารสนเทศควรครอบคลุมในห้าประเด็นต่อไปนี้ 1. สิทธิในข่าวสารและพันธะกรณี (Information Rights and Obligations) : กล่าวถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรแต่ละคน การจับตามองบุคลากรเมื่ออยู่ในสถานที่ทำงาน การปฏิบัติต่อข่าวสารขององค์กร และนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้า

42 จริยธรรมขององค์กรสำหรับผู้บริหาร
2. สิทธิในทรัพย์สิน และพันธะกรณี (Property Rights and Obligations): กล่าวถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิในการใช้งานซอฟต์แวร์ ความเป็นเจ้าของในข้อมูลขององค์กร ความเป็นเจ้าของของซอฟต์แวร์ที่บุคลากรสร้างขึ้นมาโดยใช้ทรัพยากรขององค์กร และลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ 3. การกำหนดผู้ตรวจสอบและควบคุม (Accountability and Control) : กล่าวถึงการกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบต่อระบบสารสนเทศ รวมทั้งบุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ผู้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิในทรัพย์สิน ผู้ตรวจสอบคุณภาพระบบ และผู้รับผิดชอบคุณภาพชีวิตของบุคลากร

43 จริยธรรมขององค์กรสำหรับผู้บริหาร
4. คุณภาพของระบบ (System Quality) : กล่าวถึงการกำหนดมาตรฐานหรือระดับคุณภาพของข้อมูล ระดับความผิดพลาดของระบบที่จะไม่ทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย 5. คุณภาพของชีวิต (Quality of Life): กล่าวถึงการกำหนดมาตรฐานหรือระดับคุณภาพที่ต้องการในการเพิ่มหรือสนับสนุนคุณภาพชีวิตให้แก่ลูกค้าโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง และการให้บริการที่ดีเยี่ยม การสนับสนุนบุคลากรขององค์กรโดยการจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานที่ไม่ทำลายสุขภาพ การสนับสนุนความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และการพัฒนาบุคลากร

44 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ผู้บริหารคือผู้ที่กำหนดจริยธรรมสำหรับองค์กรด้วยการสร้างนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับจริยธรรมซึ่งรวมไปถึงการนำระบบสารสนเทศไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้บริหารยังจะต้องรับผิดชอบในการกำหนด วิเคราะห์และแก้ปัญหาเกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางจริยธรรมที่มีอยู่เสมอใน ทุก ๆ เรื่อง ซึ่งจะต้องทำให้เกิดความสมดุล ระหว่างความต้องการและความขัดแย้งของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง

45 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เทคโนโลยีข่าวสารได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้นในสังคม สร้างสถานการณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาโดยที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของสังคมไม่สามารถปรับตัวได้ทัน สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดเป็นช่องว่างขึ้นในสังคมซึ่งยัง ไม่มีผู้ใดสามารถการกำหนดจริยธรรมที่ เหมาะสมได้ วิธีการกำหนดจริยธรรม แบบใหม่จะต้องได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ในโลกดิจิตอลโดยเฉพาะ

46 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เทคโนโลยีข่าวสารได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมซึ่งได้สร้างประเด็นทางจริยธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาที่จะต้องมีการร่วมกันพิจารณาหาข้อสรุป ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล การเก็บข้อมูลและระบบเครือข่ายสื่อสารที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถนำมาใช้ในการขยายความสามารถในการรับรู้ข่าวสารของบุคคลทั่วไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ในเวลาเดียวกันความสามารถในการสื่อสารการทำสำเนา และการจัดการข้อมูลในปัจจุบันได้เข้ามาท้าทายกฎเกณฑ์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น และความประพฤตินอกลู่นอกทาง ที่สามารถทำลายจริยธรรมในสังคมได้อย่างง่ายดาย

47 แบบฝึกหัด อะไรคือแนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญต่อความกังวลทางด้านจริยธรรม ประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการปกครอง มีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างไร ยกตัวอย่างมาให้เข้าใจ


ดาวน์โหลด ppt ผลกระทบทางจริยธรรม และสังคมของระบบสารสนเทศ Ethical and social impact

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google