งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แบบทดสอบชุดที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดสะกดถูกต้องทุกคำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แบบทดสอบชุดที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดสะกดถูกต้องทุกคำ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แบบทดสอบชุดที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดสะกดถูกต้องทุกคำ 1. บรรทัด บรรทุก บันเทิง 2. เครื่องยนต์ เครื่องลาง เครื่องสำอาง 3. กะเพรา กะทิ กะโหลก 4. ชะโลม ชะลอ ชะรอย

2 2. ข้อใดมีจำนวนพยางค์แตกต่างจากข้ออื่น
1. ชันษา 2. ชัยศรี 3. ซ่อมซ่อ 4. ชนนี

3 3 5 5 4 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายน้อยที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
1. บ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้า 2. เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน 3. ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน 4. คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก 5 ง ด น ม ว 5 น ย ว บ ด 4 น ก ง ม 3 น ก ง

4 4 ข้อใดมีคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น
1. ไม้นอกกอ 2. น้ำบ่อน้อย 3. ยาหม้อใหญ่ 4. หญ้าปากคอก

5 5. คำประพันธ์วรรคใดเป็นคำไทยแท้ทั้งวรรค
1. อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช 2. จะหมายมาดเอาชีวิตริษยา 3. แล้วเสแสร้งแกล้งทำบีบน้ำตา 4. อนิจจาใจหายเจียวสายใจ

6 6. คำประพันธ์วรรคใดมีคำภาษาสันสกฤต
1. เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย 2. เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า 3. สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่ 4. สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ

7 7. คำที่พิมพ์ตัวหนาข้อใดไม่ใช่คำประสม
7. คำที่พิมพ์ตัวหนาข้อใดไม่ใช่คำประสม 1. ปืนกระบอกนี้เสียศูนย์แล้ว คงยิงได้ไม่แม่น 2. เครื่องนี้ใช้ลูกเบี้ยวควบคุมการปิดเปิดของลิ้นไอดี ไอเสีย 3. ต้องขันให้แน่นไม่เช่นนั้นนอตหลุดแน่ถ้าเครื่องกระเทือน 4. จะนอนแล้วเหรอ ยังไม่เห็นอาบน้ำเลยนี่จะซักแห้งอีกแล้วใช่ไหม

8 8. ข้อใดมีสระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคหิตสนธิ ตามลำดับ
8. ข้อใดมีสระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคหิตสนธิ ตามลำดับ 1. หัสดาภรณ์ วัชโรทัย สันนิบาต 2. อัคโยภาส รโหฐาน สโมสร 3. ฉันทาคติ จันทโรภาส สมิทธิ 4. สตางค์ ทิฆัมพร กินนร

9 คำใดใช้ลักษณนามแตกต่างจาก “มรณบัตร”
1. บัตรเชิญ 2. บัตรประจำตัว 3. บัตรประชาชน 4. บัตรสนเท่ห์

10 10. ข้อใดใช้บุพบทถูกต้อง
ใส่บาตรเสียหน่อยจะได้เป็นมงคลกับชีวิต ฉันมองหน้าแม่โดยความแปลกใจ แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืน ฉันรู้สึกได้ในความเงียบสงบ

11 11. คำในข้อใดทำหน้าที่แตกต่างจากข้ออื่น
1. ติดต่อ ติดปาก 3. ติดไฟ ติดอ่าง

12 12. ข้อใดขาดสันธานเชื่อมประโยค
1. พอแม่ทำแกงจืดเสร็จ แม่ก็ตักใส่ถุงพลาสติก 2. ขอให้ลูกพบ แต่สิ่งดี ๆ ในชีวิตนะลูกนะ 3. บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้นยามเช้าจึงเงียบสงบ 4. คิดดีก็ได้บุญ

13 13. ประโยคใดต้องการกรรม 1. เขาเดินทางไปอังกฤษเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 2. ความกตัญญูเป็นคุณสมบัติของคนดี 3. สุดาหอมแก้มน้องดังฟอด 4. เขานั่งบนเสื่อผืนโต

14 ด ซ ซ ซ 14. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดจากข้ออื่น 1. ยื่นแก้วให้วานร
14. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดจากข้ออื่น 1. ยื่นแก้วให้วานร 2. สีซอให้ควายฟัง 3. เขียนเสือให้วัวกลัว 4. สอนลูกให้เป็นโจร

15 15. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
1. เรื่องที่คัดมาข้างต้นเป็นตำนานประเพณีสงกรานต์ 2. ผู้ถือคำสัตย์มั่นคงเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญ 3. ขนมจีนที่เขานำมาทำจากข้าวกล้อง 4. พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานไว้ที่พระนั่งพุทไธศวรรย์

16 16. “ตก” ในข้อใดมีความหมายว่า “ได้”
ตกปลา 2. ตกรถ 3. ตกฟาก 4. ตกทุกข์

17 17. ข้อใดไม่ใช่ภาษาปาก 1. การพูดจาโอเว่อร์ทำให้ขาดคนเชื่อถือได้ 2. ต้องเบรกเขาเสียบ้างก่อนที่จะเลยเถิด 3. เอทิลแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำลายสมองและประสาท 4. อยากให้เรื่องนี้เกมเสียที ทุกฝ่ายจะได้พอใจ

18 18. ข้อใดมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางไวยากรณ์ตามภาษาต่างประเทศ
1. เด็กสมัยนี้พัฒนาความคิดไปได้อย่างรวดเร็ว 2. เด็กถูกหล่อหลอมจากสังคมรอบตัวพวกเขา 3. เด็กรับผิดชอบงานที่เขากระทำได้ดี 4. เด็กรู้สึกผูกพันกับครอบครัวและสังคม

19 20. ข้อความข้างต้นขาดคำประเภทใด 1. คำสมาส 2. คำสนธิ 3. คำซ้อน 4. คำซ้ำ
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 19 – 20 “ ตำนานหมายถึงเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลสำคัญ บุคคลที่มีลักษณะพิเศษ ปูชนียวัตถุหรือสถานที่สำคัญ ที่มาของประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ตำนานส่วนใหญ่มีเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติรวมอยู่ด้วย ” 19. สาระสำคัญของข้อความข้างต้นตรงกับข้อใด 1. อภิปรายให้เชื่อถือตำนาน 2. บรรยายเรื่องตำนานโบราณ 3. อธิบายความหมายของตำนาน 4. พรรณนาลักษณะของปูชนียวัตถุ 20. ข้อความข้างต้นขาดคำประเภทใด 1. คำสมาส 2. คำสนธิ 3. คำซ้อน 4. คำซ้ำ

20 ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 21 – 22 ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู
ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู่รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปถู้มูทู 22. คำประพันธ์ข้างต้นขาดลักษณะใด 1. การเล่นเสียง การเล่นคำ 3. การใช้คำเลียนเสียง การใช้โวหารอุปมา 21.ประพันธ์วรรคใดมีจำนวนเสียงวรรณยุกต์ต่างจากวรรคอื่น (ไม่นับเสียงซ้ำ) 1. วรรคที่ วรรคที่ 2 3. วรรคที่ วรรคที่ 4

21 ข้อความข้างต้นมีการเปรียบเทียบอุปมากี่วรรค 1. 1 วรรค 2. 2 วรรค
23. “ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรดูดังพระยาสุริย์ฉาย ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา” ข้อความข้างต้นมีการเปรียบเทียบอุปมากี่วรรค 1. 1 วรรค วรรค 3. 3 วรรค วรรค

22 24. ข้อใด มิได้ แสดงความเชื่อในสังคมไทย
24. ข้อใด มิได้ แสดงความเชื่อในสังคมไทย 1. พระรูปหล่อพ่อคุณของเมียอา ควรหรือมาทิ้งขว้างหมองหมางเมีย ทั้งนี้เพราะเคราะห์กรรมทำให้วุ่น จึงสิ้นบุญวาสนาสีกาเอ๋ย 3. เพราะหวงผัวมัวเมาเฝ้าตะโกรง ว่ากูโกงมึงก็ตกนรกเอง 4. อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริษยา

23 25. “ใครไม่รู้นึกว่าคนเป็นบ้ามานอนอยู่ข้างข้างเราเหลือบดู
“ใครไม่รู้นึกว่า คนเป็นบ้ามานอนอยู่ ข้างข้างเรา เหลือบดู จึงเห็นว่านายนั่นเอง ทีแรกตกใจลนลาน เห็นคนสวมกางเกง ขายาวเหมือนนักเลง อันธพาลมาราวี” 25. “ใครไม่รู้นึกว่าคนเป็นบ้ามานอนอยู่ข้างข้างเราเหลือบดู จึงเห็นว่านายนั่นเองทีแรกตกใจลนลาน เห็นคนสวมกางเกง ขายาวเหมือนนักเลงอันธพาลมาราวี” ข้อความนี้ถ้าแบ่งวรรคถูกต้องจะเป็นคำประพันธ์ประเภทใด 1. กลอนสุภาพ กาพย์ยานี 3. กาพย์ฉบัง โคลงสี่สุภาพ

24 26. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
26. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะท้ายมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ) 1. มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ 2. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก 3. มั่งมีในใจแล่นใบบนบก 4. บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ย ว ม ก ม ย ว ย น ก ย ม น

25 27. ข้อใดมีพยัญชนะต้นไม่ครบไตรยางศ์
1. เขียนเสือให้วัวกลัว 2. คบคนให้ดูหน้า 3. เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา 4. ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด

26 28. ข้อใดมีความหมายต่างกับข้ออื่น
1. เขาสูงเท่าเรา 2. เขากับเราสูงพอๆกัน 3. เขาสูงไล่เลี่ยกับเรา เขาสูงเหมือนกับเรา

27 จงอ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 29 – 30
อันอำนาจใดใดในโลกนี้ ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี

28 29. กลอนดังกล่าวนี้ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โทมากที่สุด
1. วรรคส่ง 2. วรรครอง 3. วรรครับ 4. วรรคสดับ

29 30. กลอนดังกล่าววรรคใดมีคำต่างประเทศมากที่สุด
1. วรรคส่ง 2. วรรครอง 3. วรรครับ 4. วรรคสดับ

30 31. ข้อใดเป็นคำสนธิทุกคำ
1. อธิการบดี อัคคีภัย โจรภัย ธันวาคม มหัศจรรย์ ปรมินทร์ 3. อภิบาล มหรรณพ นรินทร์ เคมีภัณฑ์ สวรรค์ อเนก

31 32. ข้อใดเป็น คำประสมที่เกิดจากคำไทยประสมกับคำเขมร
1. ผลไม้ 2. โคถึก 3. ผีโขมด 4. หมอหลวง

32 33. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียงทั้งหมด
1. มอมแมม โฉ่งฉ่าง จัดจ้าน อุ้ยอ้าย ตึงตัง ข้าทาส 3. ทักทาย ป้ำเป๋อ เข้มงวด เอะอะ ลนลาน กล้าหาญ

33 34. ข้อใดเป็นคำในภาบาลี 2 คำ ภาษาสันสกฤต 2 คำ
1. อัปสร วุฒิ มัตสยา อาชญา 2. ไทยทาน ปรัชญา อธิบาย อัคนี 3. ปฐม มัชฌิมา สถาปนา กัณหา 4. ปุจฉา พยัคฆ์ เขต วิทยา

34 35. คำภาษาบาลีในข้อใดมีความหมายตรงกับภาษาสันสกฤต ต่อไปนี้ “สามานย์ อวกาศ ปรัชญา”
1. สามัญ อากาศ ปริญญา 2. สามัญ โอกาส ปัญญา 3. สามัญ อวกาศ ปัญญา 4. สามัญ โอกาส ปริญญา

35 ใช้โคลงต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 36 – 37
น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้นโดยตาม

36 36. สาระสำคัญของโคลงบทนี้กล่าวถึงผู้ใด
1. คนโลภ 2. คนเห็นแก่กิน 3. คนไม่รอบคอบ 4. คนเห็นแก่ตัว

37 37. โคลงบทนี้ใช้คำตายแทนคำเอกกี่คำ
คำ คำ คำ คำ

38 38. “เราต่างคงความกร่อนในความแกร่ง และคงความเข้มแข็งในความเปราะ
38. “เราต่างคงความกร่อนในความแกร่ง และคงความเข้มแข็งในความเปราะ สะอื้นไห้อยู่ในเสียงหัวเราะ และเงียบนิ่งในเสนาะเสียงดนตรี” จากคำประพันธ์ข้างบนนี้ เป็นกวีโวหารประเภทใด 1. บุคคลวัต 2. อุปลักษณ์ 3. ปฏิพากย์ 4. อธิพจน์

39 39. ข้อใดเป็นสำนวนที่ไม่เกี่ยวกับการพูด
1. ขวานผ่าซาก 2. มะนาวเดือนห้า 3. ปากเป็นชักยนต์ 4. ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม

40 40. ข้อใดเป็นสำนวนที่ไม่ถูกต้อง
1. ติเรือทั้งโกลน ติโขนก่อนรำ 2. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย 3. เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย 4. หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม มะนาวกลมเลี้ยงไม่มีใครกลึง

41 41. ข้อใดเป็นคำขึ้นต้นในการกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
1. ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลใต้ละอองพระบาท 2. ขอพระราชทาน กราบบังคมทูล ฝ่าละอองพระบาท 3. ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลใต้ฝ่าพระบาท 4. ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

42 42. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
1. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีทรงลงพระ ปรมาภิไธยในสมุดเยี่ยม 2. ประชาชนถวายการต้อนรับ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอย่างเนืองแน่น 3. หม่อมเจ้า.... สิ้นพระชนม์ ด้วยพระโรคหทัย 4. มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเสื้อผ้าแด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่นักเรียนที่ยากจน

43 43. ข้อใดใช้ลักษณนามตรงกับคำว่า “ทับทรวง”
1. ส้ม 2. ส้มตำ 3. ส้มมะขาม 4. ส้มลิ้ม

44 44. คำประสมในข้อใดไม่ใช่คำนาม
1. มัดจำ 2. มัดหมู 3. มัดเชื้อเพลิง 4. มัดมือชก

45 45. ข้อใดใช้คำผิดหน้าที่
1. เธอมีพัฒนาการทางความคิดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม 2. โรงเรียนประกาศหยุดเรียนเนื่องจากน้ำท่วม 3. ข่าวปฏิวัติรัฐประหารสร้างความตื่นตระหนกแก่ ประชาชน 4. ฉันจดหมายไปถึงเขาให้รีบกลับบ้านแล้ว

46 46. “เมตตากรุณาเป็นเรื่องของใจ เกิดอยู่ในใจ ดังนั้นตนเองเท่านั้นจึงจะรู้ว่าตนมีเมตตาหรือไม่”
ข้อความข้างต้นไม่ปรากฏ ประโยคชนิดใด 1. ความรวมคล้อยตาม 2. ความรวมเหตุผล 3. ความรวมขัดแย้ง 4. ความรวมให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

47 ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 47 – 48
“ เราจะหาผลประโยชน์ด้วยความโกง ความล่อลวงและความกดขี่ได้ชั่วสมัยแต่ เราจะหาผลประโยชน์ด้วยความซื่อตรง ได้เป็นอย่างมั่นคงตราบเท่าชีวิตจะหาไม่” 47. ข้อความข้างต้นมีกริยาทำหน้าที่ตัวแสดงกี่คำ คำ คำ คำ คำ

48 48. ข้อความข้างต้นเป็นประโยคชนิดใด
1. ความรวมคล้อยตาม 2. ความรวมขัดแย้ง 3. ความซ้อนนามานุประโยค 4. ความซ้อนคุณานุประโยค

49 49. “สายหยุดพุทธชาดบานเกลื่อนกลาดดาษดาไป
49. “สายหยุดพุทธชาดบานเกลื่อนกลาดดาษดาไป นึกน้องกรองมาลัยวางให้พี่ข้างที่นอน” จากข้อความข้างบนนี้เป็นคำประพันธ์ประเภทใด 1. กลอนสุภาพ 2. กาพย์ยานี 11 3. อินทรวิเชียรฉันท์ 11 4. โคลงสี่สุภาพ

50 50. “เพื่อนไปไหนเสียนานนะท่านเต่า” เต่าว่า “เรานี้ได้ไปเที่ยวบก” “ บกนั้นเป็นอย่างไรไหนลองยก”
เต่ายืดอกเล่าไปให้ปลาฟัง ข้อความข้างต้นจัดวรรคเป็นคำประพันธ์ประเภทใด 1. กาพย์ 2. กลอน 3. โคลง 4. ฉันท์ จบแล้วครับ


ดาวน์โหลด ppt แบบทดสอบชุดที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดสะกดถูกต้องทุกคำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google