งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การลำเลียงสารในไฮดรา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การลำเลียงสารในไฮดรา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การลำเลียงสารในไฮดรา
Hydra – multicellular ไฮดรามีเนื้อหรือผนังที่ประกอดด้วยเซลล์ที่บางมาก 2 ชั้น ซึ่งทั้ง 2 ชั้นติดต่อกับอากาศภายนอกได้โดยตรง จนสามารถเกิดการแพร่หรือdiffusion อากาศจากภายนอกได้เลย โดยไม่ต้องผ่านรูจมูกเหมือนสัตว์ชั้นสูงอย่างพวกเรา จำนวนของ oxygen ที่แพร่เข้ามาขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของอากาศภายนอก กล่าวคือ ถ้าอากาศภายนอกมี oxygen มาก แต่ในตัวไฮดรามี oxygen น้อย oxygen ก็จะแพร่เข้ามา แต่ในทางกลับกัน ถ้าในตัวไฮดรามี oxygen มากกว่าอากาศภายนอก อากาศก็จะแพร่ออกไปตามกฎของการแพร่ หลังจากแพร่เอาoxygenเข้ามาแล้ว ก็ยังมีการแพร่นำพา oxygen ไปที่ cell membranes อาหารจะเข้าสู่ช่องว่างกลางลำตัว (Gastrovascular Cavity) และจะถูกย่อยโดยเซลล์ที่บุผนังลำตัวด้านใน จากนั้นอาหารที่ถูกย่อยแล้ว จะแพร่เข้าสู่เซลล์โดยตรง ส่วนของเสียก็จะแพร่ออกจากเซลล์และขับออกจากลำตัวทางช่องเปิดด้านบน ชวนคิด ? ถาม ทำไมพวกไฮดราถึงไม่มีปอด? ตอบ เพราะ ขนาดตัวที่เล็กมากๆของมัน เพียงแค่ การแพร่เอา oxygen และ carbon dioxide เข้าและออก ก็เพียงพอแล้วสำหรับ ขนาดตัวของมัน ดังนั้น คงไม่จำเป็นที่ต้องมีปอดไว้เก็บอากาศเยอะๆ การลำเลียงสารในพลานาเรีย พลานาเรียมีหัวใจ 2 ห้อง แต่ถึงกระนั้น พลานาเรียก็ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ส่วน oxygen และ carbon dioxide เข้าสู่ร่างกายโดยการแพร่เช่นเดียวกันไฮดราดังที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยจะแพร่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ส่วนสารอาหารก็ไม่มีการลำเลียงเพราะถูกดูดซึมไปแล้วที่ลำไส้ซึ่งทอดยาวไปตามลำตัว ถาม ถ้าเราจับไฮดราหรือพลานาเรียขึ้นมาบนบกแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นหนอ ? ตอบ สัตว์พวกนี้ ปกติอาศัยการแพร่เป็นทั้งระบบหายใจและระบบลำเลียงสารด้วย สัตว์พวกนี้จำเป็นต้องใช้ oxygen ซึ่ง oxygen จะละลายอยู่ในน้ำได้ดีกว่าและน้ำจะเป็นตัวที่ช่วยให้การแพร่ดีขึ้น กล่าวคือ น้ำช่วยในการลำเลียงสารภายในตัวมัน ดังนั้นถ้าเราจับมันขึ้นบก มันก็จะหายใจลำบากกว่าเดิม เพราะ เกิดการแพร่ได้ oxygen ในอตราที่น้อยลงนั่นเอง! ชวนคิด ?

2 การลำเลียงสารในไส้เดือนดิน
ระบบหมุนเวียนโลหิตของไส้เดือนดินจะเป็นระบบปิด ถ้าเราผ่าไส้เดือนดิน เราจะพบเส้นเลือดหลัก 2 เส้นคือ Dorsal กับVentral blood vessels Dorsal vessel จะมีเลือดไหลอยู่ภายใน เส้นเลือดเส้นนี้จะเป็นสีดำทอดยาวอยู่บนผิวdorsalตรงบริเวณย่อยอาหาร อยู่บริเวณด้านบนของตัวไส้เดือน ทำหน้าที่นำเลือดกลับสู่หัวใจ Ventral blood vessel จะพบมันยึดติดกับผนังของลำไส้ และจะอยู่ด้านล่างของลำตัว มีหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจ ในเส้นเลือดนี้ เลือดจะไหลเวียนไปข้างหลัง ของลำตัว เส้นเลือดนี้จะแตกกิ่งก้านสาขา แต่ละกิ่งก็จะแตกตัวออกเป็นเส้นเลือดฝอยไปหล่อเลี้ยงลำไส้และลำตัว ที่เส้นเลือดฝอยกับผิวหนัง และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยเกิดการแพร่จากอากาศภายนอกเข้าสู่ร่างกาย จากนั้น oxygen จะถูกลำเลียงโดยน้ำเลือดที่มี Hemoglobin จากเส้นเลือดฝอยนี้ oxygen ก็จะถูกเลือดลำเลียงไปที่หลอดเลือดใหญ่คือ dorsal vessel บริเวณหลอดอาหาร ซึ่งเส้นเลือดจะแตกตัวเป็น aortic arches หรือ ก้านเส้นเลือดaorta หรือที่เรียกว่า “หัวใจ” ซึ่งมีสีดำและขยายตัวอยู่ขนาบสองข้างของหลอดอาหารแต่อย่างไรก็ตาม หัวใจของไส้เดือนดินก็มีหน้าที่แค่สูบฉีดเลือดจาก dorsal vessel ไปที่ ventral vessels เพียงแค่นั้น เลือดของไส้เดือนดินนั้นส่วนที่เป็นของแข็งหรือเม็ดเลือดจะมีสีใส เพราะไม่มี Hemoglobin และยังมีนิวเคลียสอยู่ด้วยซึ่งต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนที่มี Hemoglobin คือน้ำเลือดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ชวนคิด ? ถาม ทำไมหัวใจของไส้เดือนดินถึงเรียกว่า “Aortic arches” หรือ หัวใจเทียม ? ตอบ ที่หัวใจของไส้เดือนดินเรียกว่า aortic arches นั่นก็เพราะว่า หัวใจของไส้เดือนมีลักษณะเหมือนเส้นเลือดที่พันอยู่รอบหลอดอาหารอยู่ 5 รอบ ส่วนหัวใจเทียมนั่นก็มาจากที่ว่ามีลักษณะไม่เหมือนกับหัวใจคือมีลักษณะเหมือนเส้นเลือด แต่ทำหน้าที่เหมือนกับหัวใจ คือ สูบฉีดเลือด จากdorsal vessel ไป ventral vessel แต่ไม่ได้ผ่านปอดเพราะไม่มีปอดดังในรูปด้านซ้ายมือ ระบบหมุนเวียนโลหิตของไส้เดือนดินซึ่งเป็นระบบปิด หน้าสุดจะdorsal vessel ต่อมาก็มีหัวใจเทียมซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดจาก dorsal vessel ไปยัง ventral vessel ถาม ถ้าสังเกตที่รูปดีๆ... ทำไมตัวไส้เดือนถึงเหมือนเป็นเมือก? ตอบ ที่ไส้เดือนต้องผลิตเมือกออกมานั้น ก็เพื่อให้การแพร่ง่ายขึ้น จากที่เรารู้กันอยู่ ไส้เดือนหายใจทางผิวหนังโดยการแพร่เพียงทางเดียว oxygen จะสามารถละลายได้ดีในน้ำด้วย ดังนั้น ไส้เดือนดินจึงผลิตเมือกมาเพื่อละลาย oxygen เพื่อให้ง่ายต่อการแพร่ oxygen เข้าสู่ร่างกายยังไงล่ะ ! ชวนคิด ?

3 การลำเลียงสารของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
หัวใจของกบ (สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ) - ในกบนั้น เราจะพบหัวใจ 3 ห้องด้วยกัน นั่นคือ atria หรือหัวใจห้องบน 2ห้อง และ ventricle หรือหัวใจห้องล่าง 1 ห้อง หัวใจห้องบนขวา หรือ right atrium จะรับเลือดเสียจากทั่วร่างกาย ส่วนหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดทีมี oxygen มากจากผิวหนังและปอด แล้วหลังจากนั้น เลือดจะถูกส่งลงห้อง ventricle ซึ่งใน ventricle จะมีห้องเล็กๆแคบๆอยู่ 2 ห้อง ดังนั้น เลือดดีกับเลือดเสียจะแยกกัน ทำให้มีกันปนกันระหว่างเลือดดีกับเลือดเสียน้อยลง เมื่อไรที่ห้อง ventricle บีบตัว เลือดจาก left atrium จะถูกส่งออกไปซึ่งเป็นเลือดที่ดี เลือดจะถูกส่งไปยังเส้นเลือด carotid arteries แล้วนำไปส่วนศีรษะ เลือดเสียจะออกจากหัวใจผ่านทาง right atrium และผ่านทาง pulmocutaneous arteries ซึ่งจะส่งเลือดไปยังปอดและผิวหนังเผื่อที่จะไปแลกเปลี่ยนก๊าซหรือpurification ที่ปอดและผิวหนัง จะมีเพียงเส้นเลือดเดียวที่เลือดเป็นเลือดที่ผสมระหว่าง oxygen กับ carbon dioxide นั่นคือเส้นเลือด aortic arches แต่ก็มีปริมาณ oxygen เพียงพอสำหรับหล่อเลี้ยงไปทั่วร่างกายส่วนที่เหลือ ความดันเลือด ความดันเลือดจะเหมือนกับคนคือถ้าเพิ่งออกจากหัวใจ ความดันจะสูง ถ้าใกล้จะเข้าหัวใจความดันก็จะลด ระบบเส้นเลือด - มีอยู่ 2 ระบบ คือ 1. Pulmonary system เป็นระบบตั้งแต่หัวใจไปปอด และ ตั้งแต่ปอดถึงหัวใจ Systemic system เป็นระบบตั้งแต่หัวใจไปทั่วร่างกายและกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้ง เลือด - เลือดของกบมี 1. Erythrocytes หรือ เซลล์เม็ดเลือดแดง 2. Leucocytes หรือ เซลล์เม็ดเลือดขาว 3. Thrombocytes หรือ เกล็ดเลือด รูประบบหมุนเวียนโลหิตของสัตว์จำพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ คำถาม ทำไมผิวหนังกบถึงต้องมีผิวที่เปียกตลอดเวลาล่ะ ? ตอบ กบนั้นมีการรับอากาศเข้ามา 2 ทาง คือทางจมูกกับทางผิวหนัง เหตุผลนั้น ก็เหมือนกับพวกไฮดรา คือ OXYGEN จะละลายได้ดีน้ำ ดังนั้น เพื่อให้การหายใจง่ายขึ้น ลำตัวจึงต้องเปียกอยู่ตลอดเวลา ชวนคิด ?

4 ระบบลำเลียงสารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หัวใจ แบ่งได้เป็น 3 ชั้น นั่นคือ 1. ชั้นนอก มีเส้นเลือดที่นำเลือดมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจคือ “coronary vessel” 2. ชั้นกลาง มีกล้ามเนื้อที่หนามากเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ 3. ชั้นใน มีห้องทั้งหมด 4 ห้อง เป็น atrium 2ห้อง มีด้าน ซ้ายและขวา และมี ventricle อีก 2 ด้านมีด้านซ้ายและขวาเช่นเดียวกัน การหมุนเวียนเลือด เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะไปตามหลอดเลือด veins และเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือด Inferior vena cava จากทางด้านล่างของลำตัว และSuperior vena cava จากทางศีรษะของตัว เข้าตรง right atrium แล้ว right atrium จะบีบตัวทำให้เลือดผ่านลิ้นที่มีชื่อว่า Tricuspid valve ซึ่งมีแง่งหรือกล้ามเนื้อ 3 ชิ้นประกอบเป็นลิ้น เข้าสู่ห้อง right ventricle จากนั้นลิ้น tricuspid ก็จะบีบตัว ผ่านลิ้นที่มีชื่อว่า Pulmonary semi lunar valve ผ่านเส้นเลือดที่มีชื่อว่า Pulmonary artery แล้วไปฟอกเลืดที่ปอดเมื่อฟอกเสร็จแล้วก็กลังสู่หัวใจผ่านทางเส้นเลือด Pulmonary vein เข้าสู่หัวใจผ่านทาง left atrium พอ left atrium บีบตัว เลือดก็ไหลลง left ventricle ผ่านลิ้นที่มีชื่อว่า Bicuspid valve หรือ Mitral valve แล้ว left ventricle ซึ่งมีผนังหนาที่สุดก็บีบตัวผ่านลิ้นที่มีชื่อว่า Aortic semi lunar valve ไปหล่อเลี้ยงร่างกายผ่านทางเส้นเลือด Aorta เส้นเลือดอาร์เตอรีหรือเส้นเลือดแดง เส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชื่อว่า Aorta ซึ่งอยู่ต่อกับ left ventricle มีชั้นถึง 50 ชั้น ส่วนที่เล็กที่สุดคือ Arteriole ซึ่งอยู่ติดกับ capillary หรือเส้นเลือดฝอย เส้นเลือดแดงเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ และเส้นเลือดแดงเกือบทุกเส้น เป็นเส้นเลือดที่ลำเลียง oxygen ยกเว้น pulmonary artery ซึ่งนำเลือดจาก right ventricle ไปสู่ปอดซึ่งมีปริมาณ carbon dioxide สูง เส้นเลือดแดงยิ่งอยู่ใกล้หัวใจจะยิ่งใหญ่ขึ้น ตรงกันข้าม ยิ่งเส้นเลือดแดงที่อยู่ไกลจากหัวใจจะมีขนาดเล็กลงเพื่อรองรับแรงดัน ในเส้นเลือดนี้มีชั้นที่เรียกว่า Tunica media ซึ่งมีเนื้อมากหนาที่สุด ชั้นในสุดคือEndothelium ซึ่งมีผนังที่ลื่น

5 ชวนคิด ? ชวนคิด ? เส้นเลือด Veins หรือ เส้นเลือดดำ
เส้นเลือดดำที่ใหญ่ที่สุดคือ Vena cava ทั้งสองเส้นคือ Superior vena cava และ Inferior vena cava ส่วนที่เล็กที่สุดคือ Venteriole ซึ่งอยู่บริเณที่ติดกัยเส้นเลือดฝอย เส้นเลือดดำเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ เป็นเส้นเลือดที่ขนเลือดที่มี carbondioxide ในปริมาณมากเกือบทุกเส้น ยกเว้น Pulmonary vein ซึ่งนำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจซึ่งมีปริมาณ oxygen มาก เส้นเลือดดำยิ่งใกล้หัวใจก็จะยิ่งใหญ่ ถ้ายิ่งไกลก็ยิ่งเล็ก เส้นเลือดดำจะมีลิ้นไว้คอยกั้นเป็นระยะๆเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ เส้นเลือดนี้จะมีLumen หรือ Endothelium ที่มีช่องใหญ่กว่า เส้นเลือดแดงเพราะมีขนาดผนังที่บางกว่า เส้นเลือดดำไม่จำเป็นต้องมีผนังหนาเพราะว่าไม่ได้รับแรงดันมากเท่ากับเส้นเลือดแดง เส้นเลือด Capillaries หรือ เส้นเลือดฝอย เส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดที่อยู่ระหว่างเส้นเลือด Arteriole กับVentriole มีหน้าที่เป็นที่ๆเกิดการแพร่แลกเปลี่ยนแก๊สต่างๆ ดังนั้น ผนังของเส้นเลือดฝอยจะบางมาก เพื่อให้การแลกเปลี่ยนก๊าสง่ายขึ้น ชวนคิด ? ถาม ทำไมเส้นเลือดดำถึงต้องมีลิ้นเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ ? ตอบ เพราะว่าเส้นเลือดดำนั้น อาศัยแรงดันของตัวมันเอง ซึ่งแรงดันนั้นต่ำ ในขณะที่เส้นเลือดแดงอาศัยแรงดันจากหัวใจ ซึ่งเป็นแรงดันที่แรง ดังนั้น เส้นเลือดดำจึงต้องมีลิ้นไว้คอยกั้น ส่วนเส้นเลือดแดงนั้น แค่แรงดันดันเลือดไปก็พอแล้ว ชวนคิด ? ถาม ถ้าไม่มีเส้นเลือดฝอยตจะเป็นอย่างไร ? ตอบ ถ้าไม่มีเส้นเลือดฝอยซึ่งเป็นตัวที่เกิดการแลกเปลี่ยนสารแล้ว แน่นอนว่าสารที่ใช้แล้วอย่างพวก carbon dioxide หรือ Uria ที่เป็นพิษต่อร่างกายจะไม่ได้ถูกขับออก แล้วจะสะสมอยู่ในร่างกาย

6 เม็ดเลือดขาวกินเชื้อโรคร้าย
เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงนั้น จะมีลักษณะคือ จะบุ๋มตรงกลาง กลมแบน และลักษณะเฉพาะคือ ในตอนที่เพิ่งถูกสร้างจะมี แต่ว่าหลังจากนั้นนิวเคลียสก็จะสลายไปเอง ในเม็ดเลือดแดงจะมีสารที่เป็นโปรตีนที่เรียกว่า Hemoglobin ซึ่งสามารถจับ oxygen ได้ดี และมีพวก ธาตุเหล็กอยู่ด้วย ชวนคิด ? ถาม ทำไมเม็ดเลือดแดงถึงไม่มีนิวเคลียส ? ตอบ ที่เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียสก็เพื่อที่จะขน oxygen และสารอาหารได้สะดวก โดยใช้รอยบุ๋มเป็นเหมือนกระเป๋าหรือถุง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดขาวมีด้วยกัน 5 ชนิด คือ 1.Neutrophils ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ โดยกลืนทำลายสิ่งแปลกปลอมที่มีอยู่ในกระแสเลือด สามารถเคลื่อนที่ออกจากหลอดเลือดไปตามเนื้อเยื่อต่างๆได้ 2.Eosinophils มีหน้าที่ทำลายสารที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดการอักเสบได้ และยังมีหน้าที่ทำลายพวกพยาธิได้อีกด้วย 3. Basophils ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบและภูมิแพ้ 4. Monocytes ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Neutrophils 5. Lymphocytes ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย การกลืนหรือทำลายเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว 1. เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดเว้าลงและโอบล้อมเซลล์แบคทีเรีย 2. เซลล์แบคทีเรียเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยบรรจุในถุงเล็กๆ 3. เซลล์เม็ดเลือดขาวย่อยสลายเซลล์แบคทีเรียที่อยู่ในถุง เม็ดเลือดขาวกินเชื้อโรคร้าย

7 นอกจากนี้ เม็ดเลือดขาวยังบ่างได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีแกรนูล เรียกว่าแกรนูโลไซต์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่คอดเป็นพู สร้างจากไขกระดูก มีไวโทพลาซึมค่อนข้างมากและมีแกรนูลกระจายอยู่ทั่วไปในไซโทพลาซึม เมื่อนำมาย้อมสีจะมีลักษระแตกต่างกันมี 3 ชนิด คือ อีโอโนฟิลมีแกรนูลสีส้มแดงและเบโซฟิล มีแกรนูลสีน้ำเงิน ทำลายเชื้อโรคโดยการหลั่งเอนไซม์หรือสารเคมี ส่วนนิวโทรฟิล มีแกรนสีม่วงชมพูทำหน้าที่ลายเชื้อโรคโดยวิธีฟาโกไซโทซิส 2.กลุ่มที่ไม่มีแกรนูล เรียกว่า อะแกรนูโลไซต์ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่มี 2 ชนิดคือ โมโนไซต์และลิมโฟไซต์ โมโนไซต์เมื่อแทรกออกจากหลอดเลือดสู่เนื้อเยื่อต่างๆ จะเป็นแมคโครฟาจ มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคด้วยวิธีฟาโกไซโทซิส ส่วนเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์มี 2 ชนิด ได้แก่ ลิมโฟไซต์ชนิดบี หรือเซลล์บี สร้างและเจริญในไจกระดูกกับลิมโฟไซต์ชนิดที หรือเซลล์ที ที่สร้างจากไขกระดูกแล้วไปเจริญที่ต่อมไทมัสทั้งเซลล์บีและเซลล์ที มีการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อน เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนผ่านผนังหลอดเลือดฝอยมาสู่เนื้อเยื่อที่เชื้อโรคหรือเซลล์แปลกปลอมปล่อยออกมา เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกฟาโกไซต์สามารถเคลื่อนที่คล้ายอะมีบาโอบล้อมเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้ ลักษณะของเม็ดเลือดขาว เมื่อเจริญเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-20 ไมโครเมตร มีจำนวนน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ มีจำนวน ประมาณ 5000 ถึง เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร สร้างและเจริญที่ไขกระดูก แต่บางชนิดจะเจริญในต่อมไทมัส มีอายุประมาณ 2-3 วัน เซลล์เม็ดเลือดขาวยังมีสมบัติเฉพาะ คือ สามารถเคลื่อนที่ได้แบบอะมีบา แม้เม็ดเลือดขาว ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ก็ยังสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังของเส้นเลือดฝอย เข้าสู่น้ำเหลืองไปตามเนื้อเยื้อต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่ หนีสารเคมีหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารที่เกิดในตอนที่มีบาดแผลหรือเกิดการบวม อักเสบ                เซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 8 ไมโครเมตร เซลล์เม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียสขนาดใหญ่  มีจำนวนน้อยกว่าเซลล์ เม็ดเลือดแดงมาก เลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรมีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 5, ,000 เ ซลล์ และจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายการสร้างเม็ดเลือดขาว                                        เม็ดเลือดขาวจะมีหน้าที่หลักที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เกิดมาจาก pluripotent stem cell ซึ่งจะเจริญเป็น 2 สายด้วยกัน คือ                1. สาย lymphoid เกิด lymphocyte                2. สาย myeloid เกิด phagocytes ได้แก่ monocyte, neutrophils และเซลล์อื่น ๆ                Lymphocyte ประกอบด้วย T cell, B cells และ non-T, non B cell ซึ่ง T cells จะเจริญโดยผ่านต่อม thymus   ในขณะที่ B cell จะเจริญในตับในวัยทารกในไขกระดูกหรือใน bursa of fabricious  ส่วน non-T และ non-B cell หรือ null cells จะเจริญในไขกระดูก                Phagocytes มีเซลล์ 2 กลุ่มคือ monocytes และ polymorphonuclear granulocytes (PMN) ซึ่งได้แก่ neutrophils, basophils หรือ eosinophils นอกจากนั้นยังมี antigen presenting cells (APC), เกร็ดเลือด (platelets)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด (coagulation) และ mast cells ซึ่งคล้าย basophils

8 เกล็ดเลือด แผ่นเลือดหรือเกล็ดเลือด (blood platelet หรือ thrombocyte)            เกล็ดเลือดเป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ไมครอนไม่มีนิวเคลียส รูปร่างกลมรี และแบน สร้างจากเซลล์เมกะคารีโอไซต์ (megakaryocyte) ซึ่งสร้างมาจากไขกระดูก เกล็ดเลือดค่อนข้างเปราะแยกเป็นชิ้นย่อยๆ ได้ง่าย ปริมาณในเลือดโดยทั่วไปมีประมาณ 250,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์ มิลลิเมตร ถ้าปริมาณเกล็ดเลือดต่ำลงเรียกว่าทรอมโบไซโทพีเนีย (thrombo cytopenia) ทำให้มีเลือดออกเป็นจ้ำๆตามตัว            หน้าที่ของเกล็ดเลือด คือ ช่วยให้เลือดแข็งตัว จัดเป็นการห้ามเลือดเมื่อเกิด บาดแผล ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันดังนี้ (ก) เส้นเลือดบีบตัว ในขณะที่มีบาดแผลเพื่อช่วยลดปริมาณของเลือด (ข) กลุ่มของเกล็ดเลือดไปอุดบาดแผลและ (ค) เกิดการแข็งตัวของเลือด เกล็ดเลือด

9 บรรณานุกรม http://books.google.co.th
From the books “Biology – A modern introduction GCSE edition by B.S.Beckett publish in Oxford


ดาวน์โหลด ppt การลำเลียงสารในไฮดรา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google