งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระธาตุเก้าจอม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระธาตุเก้าจอม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระธาตุเก้าจอม

2 ตำนานบูชาพระธาตุเก้าจอม พระธาตุเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา

3 ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล “อยู่เย็นเป็นสุข” หรือ ตามคติล้านนาว่า “อยู่ดีกินหวาน” ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

4 พระธาตุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชน มักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่งสุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือพาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้งบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง

5 ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก พระธาตุเก้าจอม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนต่างๆ ของพระวรกายโดยแท้ มีประวัติตำนานกล่าวขานที่เป็นพุทธมงคลรวมทั้งนามที่ตั้งก็เป็นมงคลนาม ผู้ที่ได้สักการะพระธาตุครบทั้งเก้าจอมจะถือว่าน้อมรับมงคลอันยิ่งใหญ่และสิ่งงดงามมาสู่ชีวิตของตนเองและบริวาร

6 พระธาตุเก้าจอม ประกอบด้วย

7 พระธาตุจอมทอง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
ตั้งอยู่ที่ : วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

8 ประวัติพระธาตุ   พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘๐๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทธะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน

9 ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ. ศ
ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ) ความเชื่อ   ในการไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เชื่อกันว่า ถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะมีทรัพย์สินเงินทอง

10 พระธาตุจอมหมอกแก้ว ตั้งอยู่ที่ : วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

11 ประวัติพระธาตุ   พระธาตุจอมหมอกแก้ว ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่าและได้พบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง และในบริเวณนั้นมีต้นไม้ที่ชาวเหนือเรียกว่าต้นส้มป่อยอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพญานาคและได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น

12 ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าจอมปลวกนั้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของเชื้อพระวงค์ในสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกภายหลัง ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่าอุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้งหลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ

13 พระธาตุจอมผ่อ ตั้งอยู่ที่ : วัดอรัญญวิเวกคีรี (จอมผ่อ) บ้านดง-หล่ายหน้า หมู่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

14 ประวัติพระธาตุ ตามหลักฐานเอกสารในทำเนียบการตั้งวัดของจังหวัดเชียงรายระบุว่า ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๓ แต่ยังไม่พบหลักฐานใดอื่นอีก นอกจากหลักฐานทางโบราณวัตถุ เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป กองหินกองอิฐ ที่สันนิษฐานได้ว่า ตรงนี้เคยเป็นโบสถ์เป็นวิหารมาก่อนเท่านั้นจากคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนกล่าวว่า ที่วัดม่อนจอมผ่อนี้ เดิมมีพระพุทธรูปทองเหลืองทองแดงองค์เล็กองค์ใหญ่จำนวนมาก พิงอยู่ตามต้นไม้บ้าง วางอยู่บนกองอิฐกองดินบ้างไม่มีใครสนใจ เมื่อทางการได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุ ประกอบกับทางวัดไม่มีผู้ดูแลแน่นอน จึงได้เก็บเอาพระพุทธรูปที่เป็นโลหะชนิดต่างๆไปรวบรวมไว้จนหมดไม่เหลือแม้แต่องค์เดียว

15 ในระหว่างการรื้อเจดีย์ เมื่อปี พ. ศ
ในระหว่างการรื้อเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ยังพบวัตถุมงคลอีกมากมายพร้อมแผ่นเงินจารึกประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์ที่จานด้วยเหล็กจานเป็นภาษาล้านนา จึงได้มีการบูรณะเรื่อยมา จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๖ และได้จัดให้มีประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุจอมผ่อขึ้น ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ ความเชื่อ   ในการไหว้พระธาตุดอยจอมผ่อ ผ่อ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ดูหรือมอง เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานเปรียบเหมือนการลืมตาเจอแสงสว่างในชีวิต

16 พระธาตุจอมแจ้ง ตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

17 ประวัติพระธาตุ   วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๑ จึงได้ขอวานตาแก่คนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรม เฝ้ารักษาพระธาตุแห่งนี้ให้ไปตักน้ำที่แม่น้ำซ่วยขึ้นมาล้างหน้า และได้พักอยู่ที่นี่ ๗ วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ตาแก่คนนั้นนำไปบรรจุลงในพระธาตุจนเป็นที่สำเร็จลุล่วงแล้วจึงเดินทางจาริกต่อไป และยังได้ทำนายไว้ว่าสมัยต่อไปข้างหน้านี้ ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ส่วนแม่น้ำซ่วยนั้น ชาวบ้านจะเรียกเปลี่ยนไปว่า “แม่น้ำสรวย”

18 ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่ออดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่สรวย และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง ได้เทศนาอบรมประชาชนให้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในองค์พระธาตุแน่นแฟ้นขึ้นจนประชาชนในเขตอำเภอแม่สรวยได้จัดงานบุญประเพณีทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แดละได้แนะนำชักชวนศรัทธาญาติโยมให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างภายในวัดเพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองทิพย์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ ความเชื่อ             ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแจ้ง เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง

19 พระธาตุจอมแว่ ตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

20 ประวัติพระธาตุ   ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในราว จ.ศ. ๖๕๖ (พ.ศ. ๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง จากนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวใน เดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้

21 สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีการเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ. ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘๐) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้ร่วมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณะพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม แล้วบรรจุพระมหาชินธาตุเอาไว้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ความเชื่อ ถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง หรือถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ

22 พระธาตุจอมจ้อ ตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

23 ประวัติพระธาตุ   พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้านภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง มีพญานาคตนหนึ่งรู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ ๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง

24 จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลางดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ ทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด เหนือ ความเชื่อ            ในการไหว้พระธาตุดอยจอมจ้อ จ้อ หมายถึง พูดดี พูดเก่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่งความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ

25 พระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

26 ประวัติพระธาตุ ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกองค์ที่ ๒๔ คือ พระเจ้าพังคราช พร้อมด้วยโอรส คือ พระเจ้าพรมมหาราช ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระเจ้าชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รวม ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชจึงทรงโปรดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ ขนาดเล็กอีก ๒ องค์ ประธานแก่พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนาราย์ ซึ่งพระยาเรือนแก้วได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานไว้ ณ. ดอยจอมทองที่เหลืออีก ๑๑ องค์ ทรงโปรดให้นำ

27 พระโกศแก้ว พระโกศเงิน มารองรับพระบรมธาตุ พระราชทานให้พระเจ้าพรหมมหาราชนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติที่พระเจ้าสิงหนวัตนิ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกได้เคยบรรจุพระบรมสารีริธาตุ ทั้ง ๑๑ไว้ด้วยกัน ในปี ๑๔๘๓ ในระยะต่อมาเจดีย์พระธาตุทรุดโทรมมากเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เจ้าเมืองเชียงแสน ได้ร่วมกับศรัทธาชาวเมืองบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งในปี ๒๒๓๗ ความเชื่อ   ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมกิตติเชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะอุดมไปด้วยศถาบรรดา ศักดิ์ ลาภยศ ผู้คนสรรเสริญ เจ้าคนนายคน

28 พระธาตุจอมจันทร์ ตั้งอยู่ที่ : วัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

29 ประวัติพระธาตุ   พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยเห็นนิมิตในคืนหนึ่งเป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสว่างไสวระยิบระยับ สีเขียวบนดอยที่ตั้งขององค์พระธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนยอดดอยแห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าดอยแห่งนี้มีคูล้อมรอบ โดยการขุดของคนโบราณ ซึ่งไม่ติดกับดอยลูกใดเลยในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์

30 ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงได้ก่อสร้างกุฏิ วิหาร และศาลาตามลำดับ ตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดพระธาตุจอมจันทร์ มีภิกษุจำพรรษาติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฏิจนหมด คงเหลือไว้แต่พระเจดีย์และวิหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง อยู่ห่างจากวัดเดิม ๓๐๐ เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นมา จนถึงปี ๒๕๔๒ จึงได้มีการบุรณะขึ้นมาใหม่ โดยพระมหายงยุทธ เทวธัมโม พร้อมคณะศรัทธา ความเชื่อ   ในการไหว้ พระธาตุจอมจันทร์ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานผิวพรรณสวยงามเปล่งปลั่งรัศมีดุจแสงจันทร์งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้

31 พระธาตุจอมสัก ตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

32 ประวัติพระธาตุ   พระธาตุจอมสักเดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนก องค์ที่ ๒๔ ได้มีพระเถระองค์หนึ่งชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศลังกามาถวายพระองค์จำนวน ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชทรงโปรดให้แบ่งพระธาตุออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งประดิษฐานอยู่บนพระธาตุดอยจอมทอง

33 ส่วนที่สองประดิษฐานอยู่บนพระธาตุจอมกิติ และส่วนที่สามนำมาประดิษฐานที่พระธาตุดอยบ้านยาง ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ พระครูบาคำหล้า สังวโร ได้เป็นประธานในการบูรณะพระธาตุองค์ใหม่ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เดิมไว้และได้สร้างวิหารเรือไม้สักยกใต้ถุนหลังหนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพระธาตุจอมสักจนถึงทุกวันนี้ ความเชื่อ   ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมสัก เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้ท่านจะได้รับสิริมงคลสูงสุดและพานพบแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

34 จัดทำโดย 1. นายพิศีล ฉั่วสุวรรณ เลขที่ 11 2. น. ส
จัดทำโดย 1.นายพิศีล ฉั่วสุวรรณ เลขที่ 11 2.น.ส.ธัญนาถ อินทจักร เลขที่ 29 3.น.ส.ระพีพรรณ ทองแท่ง เลขที่ 35 ม.6.3


ดาวน์โหลด ppt พระธาตุเก้าจอม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google