งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างไร จึงจะได้ตำแหน่งทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างไร จึงจะได้ตำแหน่งทางวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างไร จึงจะได้ตำแหน่งทางวิชาการ
การพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างไร จึงจะได้ตำแหน่งทางวิชาการ โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ วันอังคารที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา น. ณ ห้องสัมมนา สค ชั้น 5 อาคาร 3 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2 ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 ประกาศ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2556

3 ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์
“ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้ (1) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด หรือ (2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทําเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ (3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด หรือ (4) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีโดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กําหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ”

4 ระดับรองศาสตราจารย์ ประกอบด้วยข้อ 1 และ ข้อ 2 ดังนี้ ข้อ1 1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ 1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และ ข้อ 2 งานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ผลงานทางวิชาการข้างต้นต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย

5 ระดับศาสตราจารย์ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 ประกอบด้วยข้อ 1 และ ข้อ 2 ดังนี้ ข้อ1) 1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมากและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ 1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และ ข้อ2) งานแต่ง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษาไม่น้อยกว่า 1 เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

6 วิธีที่ 2 ประกอบด้วยข้อ 1 หรือข้อ 2 หรือข้อ 3 ดังนี้ ข้อ1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่นและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ ข้อ2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ ข้อ3 งานแต่ง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษาไม่น้อยกว่า 1 เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ผลงานทางวิชาการข้างต้นต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย

7 ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ตำรา หนังสือ บทความวิชาการ บทความวิจัย

8 ผู้พิจารณาผลงานทางวิชาการต้องเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับรองศาสตราจารย์ ดร. ขึ้นไป

9 คำนิยามของผลงานวิจัย
1. ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ 2. มีวัตถุประสงค์ทีชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมทั้งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์

10 รูปแบบ อาจจัดเป็น 2 รูปแบบ
1. รายงานวิจัย ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์และชัดเจนตลอดทั้งกระบวนการวิจัย (Research Process) อาทิ การกำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การทำวรรณกรรมปริทัศน์ (การทบทวนวรรณกรรม) สมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การพิสูจน์สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะ การอ้างอิง และอื่นๆ 2. บทความวิจัย ที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิชาการนั้น ให้มีความกระชับและสั้นสำหรับการนำเสนอในการประชุมทางวิชาการหรือในวารสารทางวิชาการ

11 การเผยแพร่ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีกองบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ 3. นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมแล้วเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ 4. การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่า ได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

12 รายการประเมิน ผลงานวิจัย
ความถูกต้องของระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง วิธีการหรือขั้นตอนในการวิจัยมีการวางแผน เก็บข้อมูลและเสนอผลงาน ฯลฯ อย่างถูกต้องตรงตามหลักวิธีวิจัยเพียงใด ความคิดริเริ่ม หมายถึง ลักษณะของงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า มีความคิดริเริ่ม ความก้าวหน้าทางวิชาการมากน้อยเพียงใด การตีพิมพ์เผยแพร่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา หมายถึง ความพยายามของผู้วิจัยในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในแหล่งที่เป็นที่ยอมรับและเป็นแหล่งอ้างอิงในวงวิชาการมากน้อยเพียงใด (ค่า impact factor...)

13 การอภิปรายผลงานวิจัย หมายถึง ความสามารถของผู้วิจัยในการวิจารณ์หรืออธิบายผลงานวิจัยให้เป็นที่เข้าใจได้ดีเพียงใด และมีการนำผลการวิจัยของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายหรือไม่ ศักยภาพของประโยชน์ของงานวิจัย หมายถึง ประโยชน์ของงานวิจัยพื้นฐานหรือประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การวิจัยในปัญหาต่อเนื่อง หรือให้ความรู้ใหม่ทางวิชาการ ฯลฯ ได้เพียงใด ปริมาณงานที่ทำ หมายถึง ปริมาณที่ผู้เสนอขอตำแหน่งต้องเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือ ทำร่วมกับคนอื่นต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในเรื่องนั้นตามประกาศ ก.พ.อ. กำหนด

14 เกณฑ์ประเมินระดับคุณภาพ
ระดับดี : เป็นงานวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอนถูกต้องเหมาะสมในระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปประยุกต์ได้ ระดับดีมาก : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี และ 1) เป็นผลงานที่แสดงถึงการวิเคราะห์และนำเสนอผลเป็นความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่เคยมีผู้ศึกษาแล้ว 2) เป็นประโยชน์ทางวิชาการอย่างกว้างขวางหรือสามารถนำไปประยุกต์ได้อย่างแพร่หลาย

15 ระดับดีเด่น : ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก และต้อง 1) เป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่ง และมีการสังเคราะห์อย่างลึกซึ้งจนทำให้เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างชัดเจน 2) เป็นที่ยอมรับและได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือระดับนานาชาติ

16 ปิยนาถ บุนนาค. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ ). พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) 351 หน้า

17 รายงานผลการวิจัย เรื่อง นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์- รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖-๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑) โดย ศาสตราจารย์ ดร.ปิยนาถ บุนนาค และคณะ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ.๒๕๕๑ ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์-รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (14 ตุลาคม พ.ศ สิงหาคม พ.ศ.2531). กรุงเทพฯ : ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2551.

18 รายงานผลการวิจัย เรื่อง นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ- รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑-๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙) โดย ศาสตราจารย์ ดร.ปิยนาถ บุนนาค และคณะ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ.๒๕๕๒ ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ-รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (4 สิงหาคม พ.ศ กันยายน พ.ศ.2549). กรุงเทพฯ: ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2552.

19

20

21

22

23 ตำราหนังสือ ความถูกต้องของเนื้อหาหมายถึง ผลงานมีเนื้อหา แนวคิด นิยาม สมการ ฯลฯ ถูกต้องทางวิชาการในระดับใด ความสมบูรณ์และความทันสมัยของเนื้อหา หมายถึง บทหรือตอนตามชื่อเรื่องหรือตามวัตถุประสงค์ มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาอยู่ในระดับใด และเนื้อหาทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบันเพียงใด เพราะบางสาขาวิชาความทันสมัยของเนื้อหามีความจำเป็น เนื่องจากเอกสารใหม่ๆ หรือความรู้ใหม่ๆ ได้รับการตีพิมพ์ออกมาตลอดเวลา ความชัดเจนในการอธิบาย หมายถึง ผู้เขียนสามารถอธิบายเรื่องต่างๆ ได้ชัดเจน รัดกุม และเที่ยงตรงให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายเพียงใด ความเหมาะสมของการใช้ภาษา หมายถึง การเขียนประโยครัดกุม มีการใช้ภาษาอังกฤษปะปนเท่าที่จำเป็นหรือมีความเหมาะสมในการใช้ถ้อยคำ หรือศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์ที่นิยมใช้กันในสาขานั้นๆ ได้ดีเพียงใด

24 ความสม่ำเสมอของการเขียน หมายถึง การใช้คำหรือศัพท์ทางวิชาการที่นิยมใช้กันในสาขาวิชานั้น รวมถึงการเขียนบรรณานุกรมอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งเล่มเพียงใด ความพยายามในการแต่งและเรียบเรียง หมายถึง มีความพยายามเพียงใดในการเขียนของผู้เขียน เมื่อพิจารณาตามสาระของทางวิชาการ รายละเอียดและการค้นคว้า ความสามารถในการเรียบเรียงและดำเนินเรื่อง หมายถึง ความสามารถของผู้เขียนในการศึกษาค้นคว้า เขียนอธิบาย และดำเนินเรื่องอย่างมีขั้นตอน ไม่วกวนสับสน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจนเพียงใด ปริมาณงานที่ทำ หมายถึง ปริมาณเนื้อหาของเอกสารว่ามากหรือน้อยเพียงใด

25

26 บทความทางวิชาการที่ไม่ได้มาจากผลงานวิจัย
คํานิยาม งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกําหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการโดยมีการสํารวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้อาจเป็นการนําความรู้จากแหล่งต่างๆมาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย รูปแบบ ประกอบด้วยการนําความที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และสรุป มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์

27 การเผยแพร่ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกําหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆในหนังสือนั้นแล้ว 3. เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นําเสนอนั้นแล้ว เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “บทความทางวิชาการ” นั้นแล้ว การนํา “บทความทางวิชาการ” นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อนํามาเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการและให้มีการประเมินคุณภาพ “บทความทางวิชาการ” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทําไม่ได้

28 จุดอ่อนที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการพิจารณา ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

29 1. วิธีการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ควรขอด้วยวิธีการปกติ วิธีปกติแบบที่ 1 วิธีปกติแบบที่ 2 ไม่ควรขอด้วยวิธีพิเศษ เพราะค่อนข้างยากที่จะผ่าน

30 2. ให้ความสำคัญต่อคุณธรรมจริยธรรมของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ: การขาดจรรยาบรรณในการนำงานของผู้อื่นมาใช้หรืออ้างอิงในงานของตน ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า ต้องไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้องและเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัวหรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

31 3. ความไม่เข้าใจระหว่างบทความทางวิชาการกับบทความวิจัยของผู้ขอเสนอกำหนดตำแหน่ง
ลักษณะสำคัญของบทความทางวิชาการ มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม ช่วยให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ มีการนำเสนอความรู้ ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้นๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสาระประโยชน์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน

32 ส่วนประกอบของบทความทางวิชาการ
ส่วนนำ ส่วนสาระสำคัญของเรื่อง 2.1 การจัดลำดับเนื้อหาสาระ 2.2 การเรียบเรียงเนื้อหา - ด้านการใช้ภาษา - ด้านลีลา (สไตล์) การเขียน - ด้านวิธีการนำเสนอ 2.3 การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และการนำเสนอความคิดของผู้เขียน

33 ส่วนสรุป ส่วนอ้างอิง 4.1 การอ้างอิงแบบแทรกปนไปในเนื้อหา - ระบบนามปี - ระบบหมายเลข 4.2 การอ้างอิงแบบลงเชิงอรรถ 4.3 การเขียนบรรณานุกรม เรื่องเฉพาะอื่น ๆ ลักษณะจำเพาะของบทความเฉพาะสาขา แบบฟอร์ม รายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์ ตัวอักษรตัวเลข ความยาวที่เหมาะสม

34 มีการอภิปรายให้แนวคิด แนวทางในการนำความรู้ ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็นประโยชน์
มีประเด็นใหม่ ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความรู้หรือพัฒนาความคิดในประเด็นนั้น ๆ ต่อไป มีการอ้างอิงทางวิชาการและให้แหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณของนักวิชาการ

35 ลักษณะของบทความวิจัย
เป็นการรายงานผลการวิจัย (ต้องทำวิจัยก่อน) ขอเท็จจริงหรือหลักฐานได้มาจากการวิจัยของผู้เขียนเอง เน้นสมมติฐาน และวิธีการดำเนินการวิจัย เน้นการทดสอบทฤษฎี สมมติฐานหรือการได้ทฤษฎีใหม่ เน้นการนำผลไปใช้เฉพาะเรื่องหรือประยุกต์ใช้ นำประเด็นเด่นที่ค้นพบมาเขียนเป็นบทความวิจัย มีลักษณะเล็กแต่ลึก มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง พัฒนาองค์ความรู้หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่

36 บทความวิจัยมี 2 แบบ แบบวิเคราะห์ (analytical)
แบบโต้แย้ง (argumentative)

37 บทความวิจัยแบบวิเคราะห์
บทความวิเคราะห์มักแสดงว่าผู้เขียนหรือผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่วิเคราะห์เพราะมักต้องศึกษาวิจัยในเรื่องนั้นๆ มาก่อน การวิเคราะห์คือการ “หั่น สับ ชำแหละ” ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงออกเป็นชิ้นๆ เพื่อศึกษา ตรวจสอบและเข้าใจอย่างถ่องแท้ หลังจากนั้น มีการสรุปภาพรวมในเชิงที่มีความหมายสำหรับผู้วิจัยเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของผู้วิจัย

38 บทความวิจัยแบบโต้แย้ง
มักเป็นเรื่องที่มีข้อขัดแย้ง หรือ ยังหาข้อสรุปไม่ได้ มีการแสดงจุดยืนของผู้เขียน มีการให้เหตุผลอย่างเป็นขั้นตอน ใช้ข้อค้นพบและหลักฐานข้อมูลสนับสนุนจุดยืนและเหตุผล นำไปสู่ข้อสรุปของผู้เขียนโดยใช้ชุดเหตุผลหรือข้อค้นพบของตนเอง

39 การเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนต้องรู้จักหลัก 4 ประการ
ต้องรู้จักสรุปความ (summarize) ต้องรู้จักประเมิน (evaluate) ต้องรู้จักวิเคราะห์ (analyze) ต้องรู้จักสังเคราะห์ (synthesize)

40 4. การเสนอบทความวิจัยควรส่งรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์มาให้กรรมการฯ อ่านประกอบการพิจารณาด้วย

41 5. ความไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างผลงานวิจัย กับ หนังสือ ตำรา

42 6. การนำเสนอเนื้อหาสาระในงานที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ชัดเจน
กรณีงานวิจัย กรอบแนวความคิด ระเบียบวิธีวิจัย ไม่ชัดเจน ไม่เป็นระบบ ขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ กรณีทั่วไป การใช้ภาษา ไวยากรณ์ ราชาศัพท์ การเขียนลำดับเรื่องราวของเนื้อหาขาดความต่อเนื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล เนื้อหานำเสนอแบบผิดๆ ถูกๆ

43 7. การทำเชิงอรรถและบรรณานุกรมไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์หรือไม่เป็นระบบเดียวกัน

44 8. มีปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษใน Abstract กรณีงานวิจัย

45 9. ความไม่รอบคอบ ขาดความละเอียดละออใส่ใจในการพิมพ์และการตรวจปรู๊ฟของผลงานที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ภาพประกอบไม่ระบุแหล่งที่มาที่ชัดเจนถูกต้อง

46 10. การมีส่วนร่วมในงาน จำนวนเปอร์เซ็นต์ของการมีส่วนร่วม
การทำวิจัยร่วมกัน การเขียนบทความร่วมกัน การนำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในคำปรึกษา (advisee ส่วนตัว) มาขอ

47 11. การพิมพ์เผยแพร่ วารสารที่ไม่มีคุณภาพ รูปเล่มในการพิมพ์เผยแพร่
การพิมพ์เผยแพร่ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร (ระยะเวลาที่ทำงานเสร็จต้องสัมพันธ์กับการเผยแพร่)

48 การเผยแพร่ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกําหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆในหนังสือนั้นแล้ว

49 3. เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่างๆ ที่นําเสนอนั้นแล้ว เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “บทความทางวิชาการ” นั้นแล้ว การนํา “บทความทางวิชาการ” นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อนํามาเสนอขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการและให้มีการประเมินคุณภาพ “บทความทางวิชาการ” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทําไม่ได้

50 Impact Factor เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารในแต่ละปี หมายถึง ความถี่ที่บทความในวารสารนั้น ได้รับการอ้างถึง หรือถูกนำไปใช้

51 มีฐานข้อมูลบทความในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพสูงทั่วโลก พร้อมการอ้างอิงความถี่ที่วารสารชื่อเรื่องนั้นๆ ได้ถูกนำมาอ้างอิงในแต่ละปี ดูจากจำนวนครั้งหรือค่าเฉลี่ย การอ้างถึงของบทความที่ตีพิมพ์กับวารสารนั้น ๆ

52 ลักษณะของวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ
คำสำคัญคือ วารสาร วิชาการ ระดับชาติ ระดับนานาชาติ วารสาร คือ หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เพื่อเสนอความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ ในสาขาวิชาหรือด้านใดด้านหนึ่ง วิชาการ หมายถึง เขียนโดยนักวิชาการ เพื่อเสนอความรู้ใหม่ ระดับชาติ หมายถึง เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการโดยเป็นที่อ้างอิงได้ในประเทศ ระดับนานาชาติ หมายถึง มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับโดยเป็นที่อ้างอิงได้ในระหว่างประเทศ ใช้ภาษาที่เป็นภาษาสากลส่วนใหญ่คือ ภาษาอังกฤษ ผู้เขียน สมาชิก ผู้วิจารณ์หรือผู้อ่าน มาจากประเทศต่างๆ บรรณาธิการควรเป็นคนมีประสบการณ์การตีพิมพ์บทความวิชาการนานาชาติ กองบรรณาธิการควรมาจากประเทศอื่นด้วย บทความต้องเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล

53 มาตรฐานของวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ
การดำเนินงานต้องเป็นระบบ ต้องมีการเลือกสรร เรื่องที่ตีพิมพ์ ต้องมีการตรวจเนื้อหา (Peer review) ต้องมีการตรวจภาษา ต้องมีการตรวจรูปแบบ มีการอ่านปรู๊ฟหลายครั้ง พยายามออกวารสารให้เป็นเวลา โดยมีการตามงานอย่างเคร่งครัด

54

55

56

57

58

59

60 ข้อสังเกตเกี่ยวกับวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
กระจุกตัวที่สำนักพิมพ์ International Academy of Business and Economics (IABE) วารสารไม่อยู่ในฐานข้อมูลวารสารวิชาการระดับนานาชาติของ สกว. สำนักพิมพ์อยู่ใน Beall’s List ซึ่งเป็นฐานข้อมูลต้องห้ามของ สกว. ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาไทยสรุปว่า การตีพิมพ์ในวารสารใน Beall’s List เป็นอันตรายต่อวงการศึกษาและวงวิจัยไทย

61 จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวารสารที่ใช้ตีพิมพ์ผลงานอยู่ใน Beall’s list
งานวิจัยเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการแสดงความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ  ทำให้เกิดแรงผลักดันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมต่างๆ  ด้วยการที่มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาทำให้ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเผยแพร่เป็นบทความผ่านวารสารวิชาการ บทความต่างๆ จะผ่านการกลั่นกรองโดยผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเดียวกัน  การนำบทความต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ก็จะสามารถตรวจสอบได้จากปริมาณการอ้างอิง (citation) จากบทความอื่น

62 การรวบรวมบทความนับล้านเรื่องจากวารสารในสาขาวิชาต่างๆ ในโลกที่มีนับหมื่นรายการไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  จึงมีองค์กรที่รวบรวมรายการวารสารเหล่านี้ เช่น ISI Knowledge และ Scopus  สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายความสำคัญวารสารแต่ละฉบับ จัดสร้างดัชนี (Index) ของวารสาร เช่น Science Citation Index และ Scopus เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณภาพวารสาร โดยดัชนีเหล่านี้มีหลักการเบื้องต้นคล้ายกันว่า วารสารที่ได้รับการอ้างอิงบ่อยกว่าก็จะถือว่ามีผลกระทบ (impact factor) สูงกว่า

63 impact factor สามารถช่วยนักวิจัยตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรส่งผลงานไปตีพิมพ์ที่วารสารใด

64 ด้วยแรงจูงใจดังกล่าวนี้ ได้สร้างแรงปฏิกิริยาขึ้นมาเพื่อหาทรัพย์แทนจะเป็นกิจกรรมทางวิชาการ 
โดยจะมีการสร้างวารสารใหม่ขึ้นมา มีการจัดการเป็นอย่างดี จนสามารถสร้างวารสารใหม่ที่ปรากฏชื่ออยู่บนดัชนี แต่มีข้อสงสัยด้านคุณภาพการประเมิน และวารสารเหล่านี้มีรายได้จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์สูงลิ่ว ในขณะที่ วารสารที่ดีโดยทั่วไปมักจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์  กระบวนการเหล่านี้ นอกจากทำให้งานวิจัยขาดการประเมินที่เหมาะสม แล้วยังทำให้ องค์กรวิจัยต่างๆยังเสียเงินทุนวิจัยจำนวนมากไปอย่างไร้ค่า

65 Beall’s list Beall’s list of predatory publishers ( เป็นรายชื่อสำนักพิมพ์ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ ในบางกรณีอาจพบวารสารลักษณะนี้ ที่ไม่ได้ดำเนินการโดยสำนักพิมพ์ ก็จะมีบัญชีรายชื่อวารสาร ( แยกต่างหาก

66 โดยหลักการคือแนะนำว่าไม่ควรตีพิมพ์วารสารทีปรากฏใน Beall’s list
รายชื่อเหล่านี้รวบรวมโดยบรรณารักษ์ของ University of Colorado Denver ชื่อ Associate Professor Jeffrey Beall โดยได้ review วารสาร และสำนักพิมพ์ จำนวนมาก และรวบรวมเป็นรายชื่อสำนักพิมพ์/วารสาร ที่อาจจะเข้าข่ายวารสารที่ไม่ควรส่งรายงานไปตีพิมพ์ (Beall ไม่ใช้คำว่าหลอกลวง) เพื่อนักวิจัยจะได้ใช้ประกอบการพิจารณาว่าควรจะตีพิมพ์หรือเป็นกองบรรณาธิการ หรือเป็นผู้ประเมิน (reviewer) ให้หรือไม่ รายชื่อเหล่านี้มีการปรับปรุงเสมอๆ โดยมีการถอนออก หรือเพิ่มเข้าไปใหม่ และเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ โดยหลักการคือแนะนำว่าไม่ควรตีพิมพ์วารสารทีปรากฏใน Beall’s list

67 ลักษณะทั่วไปของวารสารใน Beall’s list of predatory publishers
เป็นวารสาร online เป็นส่วนใหญ่ อาจมีการพิมพ์เป็นเล่มบ้าง (ทั้งนี้ Beall สนใจเฉพาะวารสารที่เป็น online แต่ไม่ได้หมายความว่า วารสารที่ตีพิมพ์เป็นเล่มจะมีคุณภาพดีกว่า) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ในราคาสูง มีกระบวนการพิจารณาเรื่องเพื่อตีพิมพ์ รวดเร็วทันใจ อาจมีการประเมินบทความแบบอะลุ่มอล่วยและส่งให้ปรับปรุงบ้างพอเป็นพิธี สำนักพิมพ์ไม่มีชื่อเสียงในวงการ อาจตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่ามีความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขานั้นๆ (กรณีนี้ไม่จำเป็นเสมอไป หลายสำนักพิมพ์ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ยุโรปบางประเทศ) หลายวารสารตั้งชื่อคล้ายคลึงกับวารสารมีชื่อเสียง เช่นเติม s ไปท้ายชื่อวารสารเดิม ใช้ภาษาไม่ถูกต้องมากมาย (ผิดไวยากรณ์/มีคำผิด) พบทั้งใน website และเรื่องที่ตีพิมพ์ ฯลฯ

68 ถ้าท่านตีพิมพ์วารสารที่อยู่ใน Beall’s list
ทำให้การนำ Beall’ list มาให้นักวิจัยใช้เป็นทางเลือกในการตัดสินใจว่าจะส่งตีพิมพ์ในวารสารใดถึงจะเหมาะสม  (ทั้งนี้ วารสารในโลกที่ดียังมีอีกจำนวนมาก)  องค์กรที่ให้ทุนวิจัยก็สามารถลดความเสี่ยงที่ผลงานวิจัยที่ให้ทุนไปกลายเป็นงานที่ไม่มีใครยอมรับ โดยไม่สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยที่นิยมตีพิมพ์ใน Beall’s list

69 แม้จะเป็นการยากที่จะห้ามไม่ให้ตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้  แต่ถ้าท่านเลือกจะตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ ท่านก็อาจพบปัญหาดังนี้ ผลไม่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ ทำให้เอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึง การขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ การพิจารณาทุนวิจัย การพิจารณารางวัล การสมัครเข้ารับตำแหน่งในบางกรณี ฯลฯ ขาดโอกาสในการปรับปรุงตนเอง อาจตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพที่หาโอกาสจากการต้องการตีพิมพ์ของนักวิจัย

70 ผลกระทบต่อวงการศึกษา
หลายมหาวิทยาลัยกำหนดให้นิสิต/นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อยกมาตรฐานการวิจัยของสถาบัน และของประเทศ การตีพิมพ์ในวารสารที่ไม่มีคุณภาพนี้ จึงเป็นอันตรายต่อระบบการศึกษาวิจัยของประเทศไทย

71 Science Citation Index, Scopus และ Beall’s list
ทั้งนี้ จากการที่มีวารสารทางวิชาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเป็นทวีคูณ ทำให้การประเมินคุณภาพอาจไม่สมบูรณ์แบบ เมื่อได้รับข้อมูลเพียงพอ ฐานข้อมูลเหล่านี้ก็จะถอดวารสารเหล่านั้นออกจากดัชนีอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น Beall’s list จึงเปรียบเสมือน จุดเริ่มต้นเพื่อให้เราสังเกตได้ว่าวารสารใดน่าจะไม่มีคุณภาพ  ซึ่งในทางปฏิบัติก็มีความจำเป็นในการตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

72 บรรณานุกรม กัลยา ยวนมาลัย. การอ่านเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ขอนแก่น, มหาวิทยาลัย. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาตามประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลักษณะของผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งวิชาการตามติของ ก.ม. (อัดสำเนา) (ม.ป.ป.). ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. เทคโนโลยีการอ่าน. กรุงเทพฯ : บูรพาสาส์น, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แบบ วชก. 4 และ เอกสารของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มปป. ปรีชา ช้างขวัญยืน และคณะ. เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

73 ปิยนาถ บุนนาค. คำบรรยายวิชาการอ่านในประวัติศาสตร์ไทย นิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคปลายปีการศึกษา ____________. “แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์” ใน ไทยคดีศึกษาในบริบทแห่งความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ____________. “รัฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์” ใน สหวิทยาการทางรัฐศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, สุพรรณี วราทร. การอ่านอย่างมีประสิทธภาพ. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อุทัยรัตน์ ณ นคร และ พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวารสารที่ใช้ตีพิมพ์ผลงานอยู่ใน Beall’s list” ใน เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ

74 PowerPoint ประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และ การพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 3 มิถุนายน 2556 PowerPoint ประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง เขียนผลงานและทำงานวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุนสนับสนุนและมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ตาม ก.พ.อ. กำหนด โดยศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ PowerPoint ประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง การเขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ได้ impact factors สูงสุด (ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) โดยศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร วันที่ 22 มกราคม พ.ศ PowerPoint ประกอบการบรรยาย เรื่อง การขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสำหรับอาจารย์ โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2552

75 PowerPoint ประกอบการบรรยาย เรื่อง การเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ณ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2552 PowerPoint ประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง การตีพิมพ์บทความในวารสารระดับนานาชาติ โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 20 ตุลาคม 2551. PowerPoint ประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง การตีพิมพ์บทความในวารสารระดับนานาชาติ โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ ณ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 20 ตุลาคม 2551. PowerPoint ประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการ โดยศาสตราจารย์ ดร.เทียนฉาย กีระนันท์. มปท., มปป. และจากการรวบรวมของ ศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ ศาสตราจารย์ในสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ภาควิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ขอบคุณภาพประกอบจาก Internet

76 ถ้าอาจารย์สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนข้างต้นซึ่งเรียกว่า เป็นการดำเนินการอย่าง “ครบวงจร” ก็จะส่งผลให้
ได้รับการสนับสนุนให้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในรูปแบบอื่นๆ ที่มีมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลต่อการได้รับและเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุด (ถ้าเป็นไปได้) อันถือเป็น หน้าที่ สำคัญประการหนึ่งของการเป็นอาจารย์

77 ขอบคุณที่ติดตามการนำเสนอและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติไม่มากก็น้อย
“ขอให้ทุกคนมีความรักหรือมีฉันทะในการผลิตผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในรูปแบบอื่นๆ อันจะนำไปสู่วิริยะ จิตตะ และ วิมังสา อันเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ”

78 ขอบคุณค่ะ เนื้อหาและออกแบบ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค
PowerPoint นางสาวรสสุคนธ์ พึ่งผลพฤกษ์ ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างไร จึงจะได้ตำแหน่งทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google