งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Policy Infrastructure

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Policy Infrastructure"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Policy Infrastructure
โครงสร้างนโยบาย การวิจัยของชาติระยะยาว ( ) Policy Infrastructure for Long Term Research ( ) เทคโนโลยีชีวภาพ : ระดับมหภาคและจุลภาค Biotechnology: Macro-Micro Perspective

2 คณะผู้วิจัย: พงศ์เทพ อัครธนกุล วิชัย โฆสิตรัตน อรชส นภสินธุวงศ์ สุจินต์ ภัทรภูวดล อรอุบล ชมเดช จุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์ นุช ศตคุณ

3 วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อทบทวนสถานการณ์ของเทคโนโลยีชีวภาพทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goals) และแผนที่นำทางวิจัย (Research roadmap)ของนโยบายวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพระยะยาว โดยการวิเคราะห์ภาพอนาคต (Foresight analysis) 3. เพื่อเสนอยุทธศาสตร์ และกลไกการขับเคลื่อนนโยบายวิจัยระยะยาวด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

4 ขอบเขตของเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพด้านเภสัชศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม

5 สถานการณ์ปัจจุบัน การวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ กับนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ
5

6 กรอบนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ (2547-2552)
ที่มา : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

7 งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเกษตร
ชิ้นงานทั้งหมด 1,343 เรื่อง ที่มา: รวบรวมและจัดกลุ่มจากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของเครือข่ายมหาวิทยาลัย และฐานข้อมูลวิจัยไทย (พ.ศ )

8 ชิ้นงานทั้งหมด 750 เรื่อง
งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเภสัชศาสตร์ ชิ้นงานทั้งหมด 750 เรื่อง ที่มา: รวบรวมและจัดกลุ่มจากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของเครือข่ายมหาวิทยาลัย และฐานข้อมูลวิจัยไทย (พ.ศ )

9 ชิ้นงานทั้งหมด 847 เรื่อง
งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการแพทย์ ชิ้นงานทั้งหมด 847 เรื่อง ที่มา: รวบรวมและจัดกลุ่มจากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของเครือข่ายมหาวิทยาลัย และฐานข้อมูลวิจัยไทย (พ.ศ )

10 ชิ้นงานทั้งหมด 308 เรื่อง
งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ชิ้นงานทั้งหมด 308 เรื่อง ที่มา: รวบรวมและจัดกลุ่มจากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของเครือข่ายมหาวิทยาลัย และฐานข้อมูลวิจัยไทย (พ.ศ )

11 ชิ้นงานทั้งหมด 1,045 เรื่อง
งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านอุตสาหกรรม ชิ้นงานทั้งหมด 1,045 เรื่อง ที่มา: รวบรวมและจัดกลุ่มจากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของเครือข่ายมหาวิทยาลัย และฐานข้อมูลวิจัยไทย (พ.ศ )

12 เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเกษตร
เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเกษตร

13 เป้าหมายเชิงกลยุทธ์และฐานวิชาการ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตร
เป้าหมายที่1 1. จีโนมิคส์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2. การปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคนิคทางอณูวิทยาและเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ “เพิ่มผลิตภาพในการผลิตพืชรวมถึงการใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตรลดสภาวะการแข่งขันพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อผลิตพืชอาหารและพลังงาน” 3. การพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม 4. การตรวจสอบและการวินิจฉัยและเทคโนโลยีวัคซีน 1 2 3 4 เป้าหมายที่2 เป้าหมายที่3 เป้าหมายที่4 “เพิ่มความสามารถในการแข่งขันการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัย” “เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตัวเองของภาคผลิตเกษตรและเศรษฐกิจชุมชน” “เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออก” 1 2 4 1 2 4 2 3 4

14 การวิเคราะห์ภาพอนาคต (foresight analysis) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตร
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goal) เป้าหมายพัฒนา (Development objective) แผนที่นำทาง (Roadmap) 1. “เพิ่มผลิตภาพในการผลิตพืชรวมถึงการใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านเกษตรลดสภาวะการแข่งขันพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อผลิตพืชอาหารและพลังงาน” 1. มีพันธุ์พืชอาหารและพลังงาน ที่มีผลิตภาพสูง เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สร้างฐานพันธุกรรมพืชเป้าหมาย สร้างฐานวิชาการด้านจีโนมิคส์และวิทยาการต่อเนื่อง สำหรับพืชเป้าหมาย ปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล รวมถึงการพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุ์พืชเป้าหมาย 2. “เพิ่มความสามารถในการแข่งขันการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัย” 3. “เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออก” 1. มีสินค้าเกษตร ที่มีคุณภาพและปลอดภัย เช่น กระดาษคุณภาพสูง ไม้ตัดดอกคุณภาพสูง สร้างฐานวิชาการด้านจีโนมิคส์และวิทยาการสำหรับการพัฒนาชุดตรวจสอบและวินิจฉัย ปรับปรุงพันธุ์สินค้าเป้าหมาย พัฒนาวัคซีนในการป้องกันโรคเฉพาะของสัตว์เศรษฐกิจเป้าหมาย พัฒนาชุดตรวจสอบและวินิจฉัยโรคเฉพาะของสัตว์เศรษฐกิจเป้าหมายและ ชุดตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร 2. มีสินค้าอาหาร ที่มีคุณภาพและปลอดภัย เช่น ข้าวและผลไม้คุณภาพสูง 3. มีชุดตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร 4. “เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตัวเองของภาคผลิตเกษตรและเศรษฐกิจชุมชน” 1. มีพันธุ์พืชอาหารหลักที่แก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกรรายย่อย เช่น ข้าวก่ำ มะละกอ พริก มะเขือเทศทนโรค การปรับปรุง เพาะเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ พันธุ์พืชเป้าหมาย การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่เป็นเป้าหมาย 2. มีพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย

15 เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเภสัชศาสตร์
เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเภสัชศาสตร์

16 “การผลิตโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอางโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ”
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์และฐานวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพด้านเภสัชศาสตร์ เป้าหมายที่1 1. Biotechnological tools in drug discovery 2. Biologics, pharmaceutical, nutraceutical, and cosmaceutical development and manufacturing “การเพิ่มปริมาณ ปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ” 3. Pharmacogenomics and bioinformatics 4. Product safety and monitoring 1 3 4 เป้าหมายที่2 เป้าหมายที่3 เป้าหมายที่4 “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ของโรคอุบัติใหม่และกลับมาอุบัติใหม่และโรคในภูมิภาคเขตร้อน” “การนำวิทยาการทางเภสัชพันธุศาสตร์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาในผู้ป่วย อย่างสมเหตุสมผล ” “การผลิตโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอางโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ” 1 2 3 4 1 2 1 3 4

17 (Development objective)
การวิเคราะห์ภาพอนาคต (foresight analysis) เทคโนโลยีชีวภาพด้านเภสัชศาสตร์ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goal) เป้าหมายพัฒนา (Development objective) แผนที่นำทาง (Roadmap) 1. “การเพิ่มปริมาณ ปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” 2. “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ของโรคอุบัติใหม่และกลับมาอุบัติใหม่และโรคในภูมิภาคเขตร้อน” 3. “การผลิตโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอางโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ “ 4. “การนำวิทยาการทางเภสัชพันธุศาสตร์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาในผู้ป่วย อย่างสมเหตุสมผล” 1. สร้างฐานข้อมูลความแปรผันทางพันธุกรรมของยีนในประชากรไทย ที่เกี่ยวข้องกับออกฤทธิ์ของยา (เช่น ยีนของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการแปรสภาพยา ยีนของรีเซบเตอร์ที่ยาไปออกฤทธิ์ เป็นต้น) โดยประกอบด้วยข้อมูลความถี่ของความแปรผันทางพันธุกรรมที่สำคัญและผลทางคลินิกของความแปรผันทางพันธุกรรมเหล่านั้น (bioinformatics) ค้นหาและออกแบบสารที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าเป้าหมาย ปรับปรุงโครงสร้างสารที่มีศักยภาพเป็นยาเพื่อผลิตสำหรับสินค้าเป้าหมายทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับนำร่อง พัฒนาระบบนำส่งสินค้าเป้าหมาย ค้นหาความแปรผันทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาที่สำคัญในประชากรไทย และในแต่ละภูมิภาคกรณีความแปรผันทางพันธุกรรมมีความแตกต่างกัน ส่งเสริมงานวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่มีลักษณะรูปแบบงานวิจัยที่มีทิศทางและต่อยอดความรู้เดิม ตอบคำถามทางเภสัชพันธุศาสตร์ของประชากรในประเทศไทย พัฒนาระบบเก็บข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลที่ง่ายแก่การเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้งานวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์ดำเนินไปข้างหน้า และ ไม่ซ้ำซ้อน พัฒนากระบวนการผลิตผลิตสินค้าเป้าหมายอย่างปลอดภัยและสร้างกลไกการตรวจสอบ 2. มีเครือข่ายความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์ 3. ผลิตวัคซีนและเภสัชภัณฑ์ที่ป้องกันและรักษาโรคเขตร้อน 4. ผลิตวัคซีนและเภสัชภัณฑ์ที่ป้องกันและรักษาโรคอุบัติใหม่และโรคกลับมาอุบัติใหม่ 5. ผลิตเภสัชภัณฑ์ อาหารเสริมและเครื่องสำอางที่ตรงกับความต้องการของตลาดระหว่างประเทศ 6. ผลิตเภสัชภัณฑ์ อาหารเสริมที่จำเพาะเจาะจงกับผู้สูงวัย

18 เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการแพทย์
เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการแพทย์

19 “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์เพื่อประกันความมั่นคงทางสุขภาพ”
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์และฐานวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์ เป้าหมายที่1 การหาสาเหตุและกลไกการเกิดโรค 1.1 ระบาดวิทยา 1.2 กลไกระดับเซลล์และโมเลกุล 1.3 สรีรวิทยาของความผิดปกติ “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์เพื่อประกันความมั่นคงทางสุขภาพ” 2. การวินิจฉัยและทำนายโรค 2.1 โมเลกุลเป้าหมายสำหรับวินิจฉัย 2.2 วิธีตรวจที่สะดวกและรวดเร็ว 3. การรักษาโรค 3.1 โมเลกุลเป้าหมาย 3.2 การค้นพบยา 3.3 แนวทางการรักษาเฉพาะบุคคลและเภสัชพันธุศาสตร์ระดับจีโนม 3.4 เวชศาสตร์การซ่อมแซม (วิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นแบบ) 1 2 3 4 4. การป้องกันโรคและความมั่นคงทางสุขภาพ 4.1 วัคซีน (โรคใหม่และโรคประจำถิ่น) 4.2 การป้องกันโรคโดยการปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลและสังคม เป้าหมายที่2 “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการในเชิงพาณิชย์” 1 2 3 4

20 การวิเคราะห์ภาพอนาคต (foresight analysis) เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic goal) เป้าหมายเชิงพัฒนา (Development objective) แผนที่นำทาง (Roadmap) 1.“การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์เพื่อประกันความมั่นคงทางสุขภาพ” 1. มีองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อหาสาเหตุและกลไกการเกิดโรคที่มีความสำคัญ สร้างฐานข้อมูล/องค์ความรู้พื้นฐานของสาเหตุและกลไกการเกิดโรค สร้างความสามารถในการผลิตวัคซีนและผลิตภัณฑ์ยาต่อโรคระบาดประจำถิ่นและโรคอุบัติใหม่ สร้างฐานข้อมูลร่วมด้าน Pharmacogenomics และพัฒนาขีดความสามารถด้าน Bioinformatics ที่นักวิจัยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 2. มีการจัดระบบความปลอดภัยจากการใช้ยาของผู้ป่วย 3. มีชุดตรวจสอบวินิจฉัยโรคทั้งโรคติดต่อและโรคทางพันธุกรรมเพื่อใช้ตรวจ ณ จุดให้การรักษา 4. มีนวัตกรรมเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่และโรคประจำถิ่น 2. “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการในเชิงพาณิชย์” นำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อเพื่อผลิตออกสู่ตลาดในระดับอุตสาหกรรม ประเมินศักยภาพและกำหนดเป้าหมายการผลิตชุดตรวจ วัคซีน หรือผลิตภัณฑ์ยาของโรคที่เป็น non-infectious ผลักดันให้มีการลงทุนร่วมกันของภาครัฐและเอกชน (Matching fund)

21 เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม

22 เป้าหมายเชิงกลยุทธ์และฐานวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม
1. การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีทางชีวภาพ 2. การวิจัยและพัฒนาพลังงานทางชีวภาพ 3. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 4. การพัฒนาการผลิต green product เป้าหมายที่1 เป้าหมายที่2 เป้าหมายที่3 “แก้ปัญหาและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีทางชีวภาพ bioremediation” “อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน” “สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน” 1 2 3 4 2 4 1 2 3 4

23 การวิเคราะห์ภาพอนาคต (foresight analysis) เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic goal) เป้าหมายเชิงพัฒนา (Development objective) แผนที่นำทาง (Roadmap) 1.“แก้ปัญหาและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีทางชีวภาพ” 1. มีพันธุ์พืช จุลินทรีย์ที่สามารถบัดบัดมลพิษ เช่น จุลินทรีย์สลายสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์ มีฐานข้อมูลและแหล่งเก็บฐานพันธุกรรมของจุลินทรีย์ สร้างฐานข้อมูลและฐานพันธุกรรมพืชเป้าหมาย ปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล รวมถึงการพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุ์ ให้สามารถบำบัดมลพิษ 2. มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น จุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพ ปรับปรุงพันธุ์พืชให้เหมาะกับการผลิตเยื่อกระดาษ เพื่อลดกระบวนการผลิต การฟอกโดยใช้สารเคมี เช่น พันธุ์ไม้ที่มีลิคนินต่ำ 2. “สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน” 1. มีพันธุ์พืชในการผลิตไบโอดีเซล ปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล รวมถึงพัฒนาการผลิตพันธุ์พืชที่มีปริมาณน้ำมันสูง มีพันธุ์พืชที่มีผลิตภาพสูง เหมาะกับการผลิตเอธานอล ในแต่ละสภาพพื้นที่ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ผันแปร 2. มีจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเอธานอลที่มีประสิทธิภาพสูง ค้นหา ปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีอัตราการเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นเอธานอลได้อย่างรวดเร็ว และทนต่อเอธานอล กระบวนการหมักชีวมวล เพื่อการผลิตเอธานอล ที่มีประสิทธิภาพ 3. “อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน” 1. รู้สภานภาพทรัพยากรธรรมชาติ มีการสำรวจจุลินทรีย์ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในดิน เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม มีฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ สัตว์น้ำ และจุลินทรีย์ในธรรมชาติ 2. มีฐานความรู้ด้านสมุนไพร มีการสำรวจ ชนิด สายพันธุ์ของสมุนไพร และอนุรักษ์ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยง เซลล์ และเนื้อเยื่อพืช ปรับปรุงพันธุ์พืชสมุนไพรให้มีผลิตภาพสูง รวมทั้งพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในระดับธุรกิจชุมชน

24 เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านอุตสาหกรรม

25 เป้าหมายเชิงกลยุทธ์และฐานวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม
อาหาร เครื่องดื่ม และอาหารสัตว์ 2. กระบวนการวิศวกรรมชีวภาพ 3. พลังงานชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและโรงสกัดชีวภาพ 4. เอนไซม์เพื่ออุตสาหกรรม 5. การผลิตยา วัคซีน และชุดตรวจสอบ เป้าหมายที่1 เป้าหมายที่2 “สามารถผลิตสินค้าพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม” “สามารถผลิตเชื้อบริสุทธิ์และเอนไซม์” 1 2 3 4 5 1 2 3 4

26 การวิเคราะห์ภาพอนาคต (foresight analysis) เทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic goal) เป้าหมายเชิงพัฒนา (Development objective) แผนที่นำทาง (Roadmap) 1. “สามารถผลิตสินค้าพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม” 1. มีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่แข่งขันได้ในตลาดโลกและมีความปลอดภัย มีวัตถุดิบเช่น พืชอาหารและสัตว์ ที่มีผลิตภาพสูงและและมีคุณภาพที่ได้จากการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในการลดต้นทุนการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพ มีมาตรฐานการการผลิตและตรวจรับรองมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล เช่นใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการตรวจสอบการปนเปื้อน มีบรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนการใช้ชีววัสดุที่ผลิตในประเทศ มีพลังงานชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืนและไม่กระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร 2. มีพลังงานชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืนและไม่กระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร มีวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำและมีคุณภาพที่เหมาะสมในการนำไปสู่กระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย มีกระบวนการสกัด แปรรูปวัตถุดิบเพื่อนำไปสู่การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ เช่นการปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพในการย่อยและหมักวัตถุดิบที่ประสิทธิภาพ มีกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดการติดลบด้านพลังงาน 2. “สามารถผลิตเชื้อบริสุทธิ์และเอนไซม์” มีเอนไซม์ที่ใช้ปริมาณมากในอุตสาหกรรมรมทดแทนการนำเข้า เช่น เอนไซม์ไฮโดรเลส และเอ็นไซม์เพื่อตลาดเฉพาะทางเช่น ในอุตสาหกรรมยา มีการคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ในท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการผลิตเอ็นไซม์ มีการปรับปรุงพันธุกรรมของจุลินทรีย์ให้ผลิตเอ็นไซม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีการหมักที่มีประสิทธิภาพเช่นมีระบบการควบคุมการหมักแบบ on-line มีเทคโนโลยีการสกัดและทำให้เอนไซม์ให้บริสุทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ

27 ฉากทัศน์ (Scenario) และทางเลือก (Alternatives)

28 “สามารถผลิตเชื้อบริสุทธิ์และเอนไซม์”
ฉากทัศน์ที่ 1 : ภาวะเศรษฐกิจดี ภาวะคุณภาพชีวิตดี ทางเลือก: • เลือกประเด็นเชิงกลยุทธ์ในการลงทุนงานวิจัยพื้นฐาน ระยะยาวด้วยงบประมาณที่พอเพียง มุ่งสร้างองค์ความรู้ นำสู่นวัตกรรม สำหรับการปรับปรุงคุณภาพสินค้า บริการ และคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน • เน้นสร้างงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ (Action research) ที่หลากหลาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ความหลากหลายของสินค้าและบริการ ขยายตลาด • ลงทุนวิจัยในรูปแบบ operation research เพื่อผดุงความสามารถในการแข่งขันภาคผลิต ในการให้บริการ อย่างมีคุณภาพ • คงระดับงานวิจัย เพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการรักษาภาวะคุณภาพที่ดี เป้าหมายที่2 “สามารถผลิตเชื้อบริสุทธิ์และเอนไซม์”

29 ภาวะเศรษฐกิจดี ภาวะคุณภาพชีวิตไม่ดี
ฉากทัศน์ที่ 2 : ภาวะเศรษฐกิจดี ภาวะคุณภาพชีวิตไม่ดี ทางเลือก: • เลือกประเด็นเชิงกลยุทธ์ในการลงทุนงานวิจัยพื้นฐาน ระยะยาวด้วยงบประมาณที่พอเพียง มุ่งสร้างองค์ความรู้ นำสู่นวัตกรรม สำหรับการปรับปรุงคุณภาพสินค้า บริการ และคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน • เน้นสร้างงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ (action research) ที่หลากหลาย เพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ความหลากหลายของสินค้าและบริการ ขยายตลาด • ลงทุนวิจัยในรูปแบบ operation research เพื่อผดุงความสามารถในการแข่งขันภาคผลิต ในการให้บริการ อย่างมีคุณภาพ • ทุ่มเทการลงทุนงานวิจัยประยุกต์ ในกรอบประเด็นที่ตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพชีวิต

30 ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ภาวะคุณภาพชีวิตดี
ฉากทัศน์ที่ 3 : ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ภาวะคุณภาพชีวิตดี ทางเลือก: • ทุ่มการลงทุนวิจัยในรูปแบบ operation research เพื่อพัฒนาผลผลิต กระบวนการผลิต และบริการ ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาที่ภาคผลิตเผชิญได้ทันที • เน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อขยายตลาด • สนธิ/บูรณาการงานวิจัยและเทคโนโลยีที่มีอยู่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการประยุกต์ และนวัตกรรม • สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานในประเด็นที่จำเป็น เสริมกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว และให้ผลตอบสนองต่อการแก้ปัญหาในระยะสั้นถึงปานกลาง

31 ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ภาวะคุณภาพชีวิตไม่ดี
ฉากทัศน์ที่ 4 : ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ภาวะคุณภาพชีวิตไม่ดี ทางเลือก: • สนธิ/บูรณาการงานวิจัยและเทคโนโลยี ผนวกกับการคัดสรรและนำเข้าเทคโนโลยีที่จำเป็นจากต่างประเทศ เพื่อการประยุกต์ และนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา ภาคผลิตเผชิญได้ทันที • สนับสนุนงานวิจัยเชิงประยุกต์ที่เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการรายย่อย- กลาง ควบคู่กับการสนับสนุนงานวิจัยเชิงพื้นฐานและประยุกต์ เน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระยะเวลาไม่เกิน ปี โดยเฉพาะงานวิจัยที่สนับสนุนการสร้างงาน • เน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อขยายตลาด และสร้างงาน • เน้นการวิจัยเชิงบริการที่มีผลในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในชนบทและเมือง

32 เป้าประสงค์ (Purpose) และเป้าหมายใน 20 ปี

33 “เป้าประสงค์: ประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางสุขภาพ ทางอาหารและพลังงาน อนุรักษ์สภาพแวดล้อม และยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันโดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นเครื่องมือสำคัญ” เป้าหมายเพื่อสาธารณประโยชน์ ประกันความมั่นคง ทางอาหาร สุขภาพ พลังงาน สภาพแวดล้อม ให้ความรู้ สร้างปัญญาให้กับสังคม เพิ่มทุนทางปัญญา เป้าหมายทางเศรษฐกิจ ให้คำตอบ แก้ปัญหาของภาคผลิต นวัตกรรมเพื่อพัฒนา เพิ่มสมรรถภาพในการแข่งขัน

34 โครงสร้างนโยบายวิจัย

35 “ไม่ใช่ความสนใจของนักวิจัย หรือผู้ประกอบการบางรายเป็นตัวตั้ง”
การกำหนดนโยบายวิจัย การกำหนดนโยบายที่จะมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ได้นั้น ควรกำหนดนโยบายโดยมองจาก “ผู้ใช้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” เป็นตัวตั้ง ได้แก่ สาธารณชน ผู้บริโภคและตลาด ผู้ผลิตรายเล็ก-กลาง-ใหญ่ และผู้ทำการวิจัย รวมถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายวิจัย และองค์กรที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกำหนด วาระการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ “ไม่ใช่ความสนใจของนักวิจัย หรือผู้ประกอบการบางรายเป็นตัวตั้ง”

36 การกำหนดนโยบายวิจัย (ต่อ)
• สถาบันการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างบุคลากร มีนโยบายการบูรณาการงานวิจัยกับงานบัณฑิตศึกษา (Embedded graduate training) • หน่วยงานวิจัยควรทำการสำรวจความสามารถในการให้เวลาปฏิบัติงานของนักวิจัยด้วยหน่วย ภารกิจเต็มเวลา (Research FTE) • การพัฒนาฐานวิชาการ (Platform development) ควบคู่กับการ (Program funding) ของแต่ละฐานวิชาการ เพื่อการประยุกบรรจุ แผนงานและโครงการวิจัย ต์ใช้และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพทั้ง 5 สาขา • การสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดตั้ง National Research Consortium ซึ่งต้องเป็นความร่วมมือทั้งการวิจัยและงบลงทุนเพื่อการวิจัย โดยมีกลไกสนับสนุนเพื่อให้มีแรงขับเคลื่อนพอเพียง

37 โครงสร้างนโยบายการวิจัย: เทคโนโลยีชีวภาพ
Ethics IP vs non-IP Non-tariff barriers International agreements Technology advocacy Accountability Mechanism หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายวิจัย ผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายวิจัย สถาบันการศึกษา วิจัย-สร้างบุคลากร หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน องค์กรให้ทุนสนับสนุนการวิจัย วาระการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ Output ของงานวิจัย หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี Non-Profit Organization คณะกรรมการบริหารทรัพยากรวิจัย Effective communication with stakeholders&peers Research FTE Program funding/ Platform development National Research Consortium Embedded graduate training

38 กลไกขับเคลื่อนแผนการวิจัย เทคโนโลชีวภาพในระยะยาว
กลไกขับเคลื่อนแผนการวิจัย เทคโนโลชีวภาพในระยะยาว

39

40 ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt Policy Infrastructure

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google