งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชนเผ่ากะเหรี่ยง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชนเผ่ากะเหรี่ยง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชนเผ่ากะเหรี่ยง

2 วิวัฒนาการและการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวเขา (กะเหรี่ยง)
โดย อาจารย์สันติ อภัยราช นิติศาสตรบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คนดีเมืองกำแพงเพชร ครูต้นแบบแห่งชาติ ครูภูมิปัญญาไทย ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร

3 รัฐกะเหรี่ยง ในประเทศพม่าปัจจุบัน
เมืองหลวงพะอัง ภูมิภาคภาคใต้พื้นที่30,383 ตารางกิโลเมตร ประชากร1,431,377 กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ปะดอง พม่า ไทใหญ่ ปะโอ มอญ ยะไข่ ศาสนาศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ฯลฯ

4 แผนที่รัฐกะเหรี่ยงในพม่า

5 การปกครอง รัฐกะเหรี่ยง
การปกครองของรัฐกะเหรี่ยงมี 3 จังหวัด 7 อำเภอ 410 ตำบล จังหวัดพะอัง(ผาอาง) จังหวัดเมียวดี จังหวัดเกาะเกริก

6 ความเป็นอยู่ของประชากรในรัฐกะเหรี่ยง

7 สภาพบ้านเรือนชาวกะเหรี่ยง

8 เขื่อนฮัตจี : แก่งฮัตจีในรัฐกะเหรี่ยง ขนาด 600 เมกะวัตต์

9 สตรีชาวกะเหรี่ยงร่วมงานฉลองเอกราช

10 ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่พบในประเทศไทย

11 ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท 1. สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด 2. โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน 3. ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

12 สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด

13 โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน

14 ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

15 บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

16 กะเหรี่ยงคอยาว

17 ชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ในอำเภอคลองลาน

18 กะเหรี่ยง อำเภอคลองลาน เป็นชนเผ่า"ปกากะญอ" ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

19

20

21

22 มาอาศัยอยู่ในประเทศพม่า
ตำนานกะเหรี่ยง ชาวกะเหรี่ยงอพยพมาจากประเทศจีนเมื่อหลายพันปีมาแล้ว มาอาศัยอยู่ในประเทศพม่า

23 พะโป้ชาวกะเหรี่ยงรุ่นแรกที่เข้ามาทำไม้ในประเทศไทย

24 วัดคูยาง ชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้บูรณะจึงชื่อว่า วัดคูยาง ยาง หมายถึง ชนชาติหนึ่งของกะเหรี่ยง

25 การย้ายถิ่น อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี

26 ปกากะญอกับช้าง ความสัมพันธ์ของคนกับช้าง
กะเหรี่ยงกับช้าง ปกากะญอกับช้าง ความสัมพันธ์ของคนกับช้าง

27 ชาวกะเหรี่ยงเชี่ยวชาญในการเลี้ยงช้าง

28 ความเชื่อเรื่อง ขวัญของคนกะเหรี่ยง

29 ปัจจุบัน    เนื่องจากปัจจุบันความเจริญเริ่มเข้าสู่ชนบทการพัฒนาเริ่มเกิดขึ้น จึงทำให้ความเชื่อวัฒนธรรมต่าง ๆ เริ่มลดน้อยลงไป ส่วนใหญ่กะเหรี่ยงในสมัยนี้จะนิยมไปคลอดบุตรในโรงพยาบาล เพราะถือว่าสะดวกสะบาย ไม่วุ่นวายเหมือนแต่ก่อน ยิ่งมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา ยิ่งทำให้เข้ามาคลอดบุตรในเมืองกันมากขึ้นจนมาถึงทุกวันนี้

30 การแต่งงานชาวกะเหรี่ยง
สู่ขอ (เอาะ เฆ)     (ตามหลักประเพณีกะเหรี่ยงฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย)

31 อาชีพชาวกระเหรี่ยง กะเหรี่ยง หรือ “ ปกากะญอ” ขึ้นชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่รักความสันโดษ อยู่อย่างเงียบ ๆ ชอบใช้ชีวิตอยู่กับป่าไม้ลำเนาไพร ยึดถืออาชีพที่เป็นอิสระ กะเหรียงดั้งเดิมส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา อยู่ตามป่าตามเขา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล ส่วนสัตว์เลี้ยงก็จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารมากกว่าการค้าขาย ใช้ชีวิตแบบพึ่งป่าพึ่งน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่

32 การค้าขายของชน เผ่ากะเหรี่ยง การค้าขายในอดีต         การค้าขายของชนเผ่ากะเหรี่ยงในอดีตจะไม่มีการใช้เงินตรา ส่วนใหญ่จะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า คือ เมื่อล่าสัตว์หรือหาของป่าได้ ก็จะนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ในเมือง หรือแลกเปลี่ยนกันเอง อยู่ที่ความพอใจ และการตกลงกันระหว่างสองฝ่าย การค้าขาย ปัจจุบัน          เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แทนที่จะเป็นสิ่งของเหมือนดังเช่นสมัยก่อน และในปัจจุบันจะพบว่า มีบางส่วนที่ทำการค้าขายขนาดย่อมภายในหมู่บ้านของตนเอง

33 การ เลี้ยงสัตว์ใน อดีต         จะนิยมเลี้ยงสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ สุกร เพื่อนำมาเป็นอาหาร โค กระบือ นำมาใช้ไถนา และช้าง นำมาใช้ในงานลากไม้ซุง นอกจากนั้นแล้วสัตว์ชนิดต่าง ๆ ยังถูกนำมาใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ด้วย เช่น งานแต่งงาน ก็จะมีการฆ่าหมูเลี้ยงแขก เป็นต้น

34 การทอผ้า

35 การประดิษฐ์ลวดลายในผืน ผ้าขณะทอ มีขั้นตอนดังนี้ ลายในเนื้อผ้า         ลักษณะลวดลายจะปรากฏ เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ หากเป็นลายนูนตามแนวตั้ง การกำหนดลายจะทำพร้อมกับการเรียงด้าย คือใช้จำนวนด้ายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมนที่ที่ต้องการให้เป็นลายนูน ส่วนด้ายขวางใช้จำนวนเท่าปกติ การทอวิธีนี้นิยมใช้ทอเสื้อผู้ชายสูงอายุของเผ่ากะเหรี่ยง ลวดลายสลับสี          เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

36 ลายจก         เป็นการทอลวดลายโดยการสอดด้ายสลับ (ซึ่งไม่ใช่ด้ายเส้นเดียวกับด้ายขวางเข้าไปเป็นบางส่วนในเนื้อผ้า ตามลวดลาย และสีในตำแหน่งที่ต้องการ การยกด้ายยืนจะไม่เป็นไปตามการยกตะกอ แต่ผู้ทอจะใช้นิ้วมือ หรือขนเม่นช่วยสอดยกด้ายขึ้นตามจำนวนที่กะไว้ และสอดด้ายสีที่ต้องการเข้าไป ระหว่างด้ายยืนนั้น ฉะนั้นลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าทั้งผืนอาจไม่เหมือนกันก็ได้ ลายขิด          คือการทอผ้าโดยให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัวโดยกำหนดสีตามด้ายยืน การแยกด้ายยืนใช้วิธีนับเส้นเป็นช่าง ๆ และสอดไม้หน่อสะยาเข้าไปเป็นตัวนำ ไม้จะช่วยแยกด้ายให้ช่องระหว่างด้ายยืนกว้างเพื่อความสะดวกในการสอดด้ายขวาง กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายสลับซับซ้อนน้อยกว่า และของอีสานไม่นิยมทอลายขิดพร้อมกับการสลับสี แต่ของกะเหรี่ยงนิยมทอลายขิด และเล่นลายสลับสี ดังนั้นในผ้าผืนเดียวจึงมีทั้งลวดลายยกดอกนูนขึ้นมาของลายขิด และลายเล่นสีสลับกัน

37 ผ้าทอคนกะเหรี่ยง

38 ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า) ลอเมอเจอะ (ลายต่อลูกเดือย)
ตัวอย่าง การปักลายลูกเดือยในแต่ละรูปแบบของกะเหรี่ยงสะกอ จ. เชียงราย พะโดกิ (ลายงูเหลือม) ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า) ลอเมอเจอะ (ลายต่อลูกเดือย) สิพอ (ลายตัวบุ้ง)

39 การทอผ้าชาวกะเหรี่ยง

40 การย้อมสีธรรมชาติ กะเหรี่ยงจะมีความชำนาญในการย้อมสีเส้นด้ายด้วยวัสดุจากธรรมชาติ โดยจะกะด้ายให้เพียงพอในการขึ้นเครื่องทอแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้สีที่เหมือนกัน การย้อมสีธรรมชาติมีวิธีแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ แต่ทั้งนี้ถ้าอยากให้สีติดดีต้องนำด้ายมาผ่านกระบวนการละลายไขมัน โดยต้มน้ำเดือดประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วซักด้วยนํ้าเย็นจนฝ้ายเป็นสีขาว ปัจจุบันชาวบ้านใช้วิธีซักด้วยผงซักฟอกแล้วล้างออก จากนั้นจึงนำไปย้อมสีขณะด้ายกำลังเปียก

41

42 เส้นด้ายที่ย้อมด้วยวัสดุธรรมชาติชนิดต่าง ๆ

43 ของใช้ประจำวันชาวกะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงมีอุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากิน ที่ทำขึ้นเองมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มีการคิดค้น และทำขึ้นมาจากวัสดุ ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ช้อน ครกกระเดื่อง ไม้กวนข้าว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วมาจากภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งนับได้ว่าเป็นความกลมกลืนกับธรรมชาติได้อย่างยิ่งนัก แต่ในสมัยนี้นับวันสิ่งของเหล่านี้ ก็เริ่มหายากขึ้นทุกที เนื่องจากปัจจุบันความทันสมัยเริ่มมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม คนเราก็เริ่มแสวงหาแต่สิ่งใหม่ของใช้ใหม่ๆ จนแทบจะไม่รู้จักของใช้ในอดีตเลยก็ว่าได้

44 "โช่ โต่" หรือครกกระเดื่อง    เป็นเครื่องใช้ชนิดหนึ่งที่ชาวกะเรี่ยงทำขึ้นมาจากท่อนไม้ หรือถ้าจะให้ดีต้องทำจากต้นสัก เพราะจะมีความคงทนมากกว่าต้นไม้อื่น วิธีทำคือ นำท่อนไม้มาเจาะให้เป็นรู โดยใช้ขวานตอกกับเหล็กที่ใช้กับงานนี้โดยเฉพาะ เจาะจนเป็นรูใหญ่วงกลมพอที่จะนำสิ่งของลงไปได้" "โช่โต่" ใช้สำหรับการตำ"ข้าวปุ๊ก" หรือตำข้าวเปลือก

45 " ก่อ แหล่" หรือกะโด๊ง      ใช้ในเวลาที่จะนำข้าวไปหุง โดยตักข้าวสารเทลงในนี้ก่อนที่จะนำไปหุง เพื่อที่จะนำเอาสิ่งรกปรก เศษไม้ หรือมอนข้าวออกก่อน วิธีการทำตัดไม้ไผ่นำมาผ่าแล้วปอกให้บางแล้วนำมาจับสานให้เข้าดังในรูป

46 "เม เดอ" กล่องข้าวเหนียว    ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียว ทำมาจากไม้ไผ่จับสานให้เข้ากัน เก็บความร้อนได้ดีข้างในจะมีผ้าขาวบางรองกันความชื้นอยู่ พกพาง่ายสะดวก มีลักษณะเหมือนกระติกข้าวของชาวอีสาน

47 "ต่า คา" หรือ กระจาด   เอาไว้เก็บของใช้ประเภท ด้าย หรือของใช้พวกครัวเรือนเช่น จำพวกกระเทียม หอม พริก ผลไม้ต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำมาจากไม้ไผ่จับสานเช่นเดียวกันกับกระติกข้าว

48 "โช่ โต่" หรือ ครก      โช่โต่ ใช้สำหรับตำเครื่องปรุงเวลาทำอาหาร ซึ่งทำมาจากไม้เจาะให้เป็นวงกลม ส่วนด้ามที่เรียกสากจะทำจาก ไม้เช่นเดียวกัน แต่ต้องเป็นช่างฝีมือของหมู่บ้านถึงจะทำได้ เพราะต้องใช้ฝีมือและเวลาในการทำ มีลักษณะเหมือนครกทั่วไปที่ใช้ในปัจจุบัน

49 "น่อ เบลอะ" หรือ กระบวย     กระบวย ทำมาจากกะลามะพร้าว ด้ามจะทำด้วยไม้ บางคนอาจจะมีลายที่แกะสลักเป็นลายศิลปะของกะเหรี่ยง ใช้ตักนํ้าดื่ม

50 "ปอ เฮอ" หรือ ไห นึ่งข้าวเหนียว     ทำมาจากท่อนไม้ นำมาเจาะให้เป็นรูใช้มีดแต่งให้เป็นรูปร่างลักษณะดังรูปภาพ เอาไว้สำหรับนึ่งข้าวเหนียวหรือนึ่งขนม เช่น นึ่งขนมกล้วย หรือ ฟักทองนึ่งของกะเหรี่ยง เป็นต้น

51 "ทีเดอ" หรือ นํ้าเต้า     เป็นอุปกรณ์เก็บนํ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการบรรจุนํ้าในเวลาเดินทางไปไร่ไปสวน สะดวกในการพกพา ทำขึ้นมาจากลูกนํ้าเต้า คือนำมาเจาะรูเอาเมล็ดข้างในออกก็บรรจุนํ้าได้ทันที

52 "ก่อ แข่" หรือ ไม้แบกข้าว    เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแบกข้าว และสะดวกในการแบก ทำขึ้นมาจากไม้หวาย และใช้เชือกเป็นส่วนประกอบ เป็นอุปกรณ์ดั้งเดิมของชนเผ่ากะเหรี่ยง แต่ในปัจจุบันแทบจะไม่หลงเหลืออยู่เลย

53 "เม่ ชิ เคาะ" หรือ ตะค้อง     เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่จับสาน เวลาที่ออกไปหาปลาจะใช้มัดติดกับลำตัวเมื่อจับปลาได้จะเก็บไว้ในอุปกรณ์ชนิด

54 "กื๊อ"หรือ กระบุง     ทำมาจากไม้ไผ่ที่มีความแข็งแรงและหนา จับสานแบบละเอียดมีความคงทนสามารถใช้ได้นาน สมัยก่อนใช้เก็บเสื้อผ้า หรือเก็บเมล็ดข้าว,ข้าวโพด เพราะมีความถี่ไม่รั่วสามารถเก็บวัสดุต่างๆได้อีกหลายชนิด และเวลาไปไร่ไปสวนจะใช้แบกของพวกผักกลับบ้านหรืออาจจะเรียกได้ว่าเอนก ประสงค์เลยก็ว่าได

55 "น่อโด ค่าว" หรือ ไม้กวนข้าว      ทำมาจากไม้ทั่วไป มีลักษณะโก้งและแบน ใช้สำหรับกวนข้าว ซึ่งปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาใช้ช้อนหรือทัพพีเป็นส่วนใหญ่

56 "คู" หรือ เขียง     อุปกรณ์นี้ทำมาจากท่อนไม้ เหมือนเขียงทั่วไป ใช้สับเนื้อหรือผักเพื่อประกอบอาหาร

57 "กว๊ะ" หรือ ขวาน     เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากเหล็กที่ตีให้เป็นรูปร่างของขวาน มีด้ามเป็นไม้ ซึ่งสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะผ่าฟืน,สับไม้ไผ่ ตัดไม้ทำบ้านเรือน

58 "แคาะ" หรือ มีด     เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิตประจำวัน จะเริ่มตั้งแต่การทำอาหาร การสร้างบ้านเรือน การฟันไร่ก็จำเป็นต้องใช้มีด สมัยก่อนมีการตีมีดขึ้นเอง โดยช่างฝีมือในหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่นำมาเสนอ อยากเห็นของจริงและส่วนอื่นๆที่มากกว่านี้ก็สามารถเข้ามาชมได้ที่หมู่บ้าน ของชาวกะเหรี่ยง

59 ข้อห้ามชาวกะเหรี่ยง

60

61 ประเพณีชาวกะเหรี่ยง วันขึ้นปีใหม่
พิธีขึ้นปีใหม่ (นี่ซอโค่)          วันขึ้นปีใหม่ ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า นี่ซอโค่ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันขึ้นปีใหม่จะจัดปีละครั้งเท่านั้น เป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง เพราะเหล่าญาติพี่น้องที่ได้แต่งงาน หรือจากบ้านไปทำงานที่อื่น จะกลับมาร่วมงานปีใหม่กันอย่างถ้วนหน้า สิ่งที่ควรเตรียมก่อนวันขึ้นปีใหม่ คือ ขนม หลายชนิด เช่น ข้าวเหนียวต้ม ข้าวปุ๊ก ข้าวหลาม เพื่อวันรุ่งขึ้นจะถวายแด่เทพเจ้า เตรียมเหล้า สำหรับประกอบพิธีและดื่มร่วมกัน

62 ตกกลางคืนของก่อนวันขึ้นปีใหม่ ผู้นำศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า "ฮี่โข่" จะทำการเรียกเหล่าชาวบ้านมาชุมนุม ในแต่ละบ้านจะส่งตัวแทนบ้านละหนึ่งคน คือ หัวหน้าครอบครัว (ต้องเป็นผู้ชาย) ตอนไปชุมนุมจะต้องเตรียมเหล้า บ้านละหนึ่งขวดไปยังบ้านของผู้นำศาสนา (ฮี่โข่) ด้วย เมื่อมาพร้อมกันทั้งคน และเหล้าแล้ว ฮี่โข่จะเริ่มทำพิธีกรรมพิธีกรรมนี้ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า พิธีกินหัวเหล้า (เอาะซิโค) โดยตอนแรกจะนำขวดเหล้ามารวมกัน โดยฮี่โข่จะทำการอธิษฐาน จากนั้นจะรินเหล้าลงในแก้ว แล้วให้คนที่มาร่วมพิธีดื่ม วิธีการดื่มคือ เอาขวดแรกของคนที่มาถึงก่อน ฮีโข่จะเอามาเทลงแก้ว แล้วฮี่โข่จะจิบเป็นคนแรก จากนั้นก็ให้คนต่อไปจิบต่อ จิบเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคนที่มาร่วมงาน แล้ววนกลับมาถึงคิวฮี่โข่ ฮี่โข่จะทำการเททิ้งพร้อมอธิษฐานให้พร แด่เจ้าบ้านและครอบครัวของเจ้าของเหล้าขวดที่ได้เทไปแล้ว จะทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบทุกขวดของทุกบ้านที่มาร่วมงาน บางครั้งบางทีหมู่บ้านไหนที่มีหลังคาเรือนเยอะอาจทำถึงเช้าเลยก็ว่าได้

63 เช้าวัน ขึ้นปีใหม่          ชาวกะเหรี่ยงจะตื่นแต่เช้าแล้วมาฆ่าหมู ฆ่าไก่ เพื่อจะนำมาประกอบพิธีในวันรุ่งเช้า โดยเริ่มจากการนำไก่ที่ฆ่าแล้ว พร้อมเหล้าหนึ่งขวดมาตั้งที่ขันโตก เพื่อจะประกอบพิธีมัดข้อมือ หรือเรียกขวัญของลูกหลานในแต่ละบ้าน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะเป็นผู้ประกอบพิธีนี้ เวลานี้สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะอยู่กันครบหน้า (คล้าย ๆ กับการรดน้ำดำหัว) ผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มมัดข้อมือลูกหลาน โดยจะนำไม้มาเคาะที่ขันโตก เพราะเชื่อว่า เป็นการเรียกขวัญของลูกหลานให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นก็มัดข้อมือพร้อมอธิษฐานให้พร ในคำอธิษฐานนั้น จะกล่าวให้ทุกคนในครอบครัวอยู่ดีมีสุข หลุดพ้นจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หลังจากมัดข้อมือเสร็จแล้วจะรับประทานอาหารร่วมกัน พอรับประทานอาหารเสร็จ ก็จะออกตระเวนไปตามบ้านของแต่ละบ้านแต่ละครอบครัว เพื่อกินสังสรรค์กัน พร้อมรินเหล้าเพื่ออธิษฐาน และอวยพรให้ซึ่งกันและกัน จากนั้นจะเดินทางไปกินเหล้าทุก ๆ บ้านในหมู่บ้าน และอวยพรให้ทุกบ้านมีแต่ความสุขไปด้วย พิธีขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงนั้นจะมีวันที่สำคัญที่สุด คือ วันแรก ส่วนวันอื่น ๆ แล้วแต่ว่าอยากกินถึงวันไหน ซึ่งแล้วแต่แต่ละหมู่บ้านที่ได้จัดขึ้น หลังจากพิธีขึ้นปีใหม่ “นี่ซอโค่” เรียบร้อยแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่จะ ต้องเริ่มต้นวิถีการทำมาหากินของปีถัดไป...

64          ที่กล่าวมาทั้งหมดคือกะเหรี่ยงพุทธ หรือ "เอาะ แค" นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงอีกกลุ่ม คือ กะเหรี่ยงคริสต์ กะเหรี่ยงคริสต์จะมีพิธีกรรมที่คล้าย ๆ กัน แต่จะทำในแบบ ศาสนาของตนเอง คือเข้าโบสถ์ อธิษฐานเสร็จ จะทานเข้าร่วมกัน จากนั้นจะมีการประมูลราคาข้าวของของแต่ละบ้านที่นำมาประมูลร่วมกัน หลังจากประมูลราคาสิ่งของเสร็จ ก็จะมีการจัดกลุ่มแข่งกีฬาพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ ตกเย็นมีการแสดงละครสร้างความบรรเทิง จะไม่มีการกินเหล้า หรือเมามายในวันนี้ จากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้านของตนเอง ในช่วงนี้จะมีการอธิษฐานทุกคืนจนครบ 7 คืน จึงจะถือว่าสิ้นสุดพิธีขึ้นปีใหม่

65 วันอิสเตอร์ นับถือศาสนาคริสต์อีกพิธีหนึ่ง จากข้อมูลที่ได้จากผู้ประกอบพิธีทางศาสนา ได้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมา และการประกอบพิธีกรรมในวันอิสเตอร์ ความสำคัญวันอิสเตอร์เป็นวันที่พระเจ้าทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย ซึ่งมีหลักการนับวัน และเวลาอยู่ในช่วงวันอาทิตย์ หลังพระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 21 เดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ตามหลักที่พระคัมภีร์ที่ได้บัญญัติไว้ จึงทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องวันอิสเตอร์ เชื่อกันว่าพระเยซู์ยอมให้ทหารโรมันแห่งชนชาติอิสราเอลตรึงพระองค์บนไม้ กางเขน เพื่อถ่ายบาปให้กับมนุษย์โลก หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ลงพระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายเก็บไว้ใน อุโมงค์ ก่อนที่จะนำไปฝัง หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ได้สามวันพระองค์ได้ฟื้นคืนชีพในเช้ามืดของวัน อาทิตย์

66 เหตุผลเชื่อ การว่าช่วงเวลาที่ศพของพระองค์ได้ถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ มารีย์ หญิงชาวมักดาลา และสะโลเมเป็นสาวกของพระเยซู หญิงเหล่านี้จะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะนำน้ำมันหอมมารินลงบนพระศพของพระองค์ เป็นการช่วยรักษาศพให้คงสภาพไม่เน่าเปื่อย ฉะนั้น เมื่อถึงวันอิสเตอร์คนปกากะญอจะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะไปยังสุสานของแต่ละครอบครัว จะนำดอกที่เตรียมไว้นำไปเคารพศพของบรรพชนของตนเอง เมื่อทุกคนทำธุระของตัวเองเสร็จ ทุกคนในหมู่บ้านมาครบ อาจารย์ศาสนาจะเป็นผู้เริมกล่าวเปิด และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

67 กิจกรรมควานหาไข่       กิจกรรมหาไข่เป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินเด็กๆ จะชอบเป็นพิเศษ เป็นกิจกรรมที่น่ารักอบอุ่น จะเห็นความพยายามของทุกคนที่ตั้งใจที่หาไข่ที่ซ่อนไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณสุสานกิจกรรมนี้มีมาช้านานเป็นกิจกรรมที่สนุก และแฝงไปด้วยคติสอนใจ ความหมาย และที่มาที่ไปเล่ากันว่ามีแกะอยู่หนึ่งร้อยตัว แล้ววันหนึ่งมีแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัว ซึ่งเป็นตัวที่เกเร และเจ้าของรักมากจึงออกตามหาจนเจอ เมื่อเจอจึงเกิดความชื่นชมยินดี ฉะนั้นการหาไข่จึงเปรียบเสมือนการหาแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัวนั้นเอง ซึ่งเป็นตำนานที่บรรพบุรุษชาวปากากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้สืบทอดเป็นตำนานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติลงไว้ในพระคัมภีร์เพื่อ เป็นสื่ออันสำคัญให้ลูกหลาน ได้ศึกษา และได้ปฏิบัติตาม ณ.เวลานี้เป็นระยะเวลากว่าร้อยกว่าปีที่มีการปฏิบัติกันมา และคาดหวังว่าจะมีสืบทอดกันไปในเจตนารมณ์ที่ดีงามตลอดไปตราบเท่าที่เผ่า พันธุ์มนุษย์ยังคงอยู่

68 เรียนภาษากับชาวกะเหรี่ยง
หมายเหตุ ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันอยู่ในหน้านี้ คือ กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งต่างจากกะเหรี่ยงโปว์

69 การแต่งกายชาวกะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กะเหรียงสะกอ กะเหรี่ยงโป และ อีก 2 กลุ่ม คือคะยา หรือบะเว และตองสู หรือพะโอ กะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีวัตนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่การแต่งกายของแต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ ชัด ฉะนั้น ลักษณะการแต่งกายจึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดเจนถึงเอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงแต่ละที่ แต่ละกลุ่ม

70 ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิต ปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัด กาญจนบุรี ก็มีลวดลายตกแต่งเสื้อผ้าแตกต่างจากภาคเหนือ อย่างเชียงรายที่มีการนำแฟชั่นใหม่ ๆ มาทำซึ่งมีลักษณะที่แปลก และแวกแนวออกไป เช่น ทำผ้าปูโต๊ะที่มีลวดลายใหม่ ๆ ที่ประยุกต์ และมีลายปักแบบลายไทย บ้างก็ทำสะไบ เพื่อขายออกยังมีลูกเล่นลวดลายอื่น ๆ ที่เพิ่มอีกมากมายซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย และการพัฒนาของเทคโนโลยี

71 อย่างไรก็ตามกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยังคงรักษาลักษณะร่วมที่แสดงสถานะของหญิงสาว และหญิงแม่เรือน เช่นเดียวกัน คือ หญิงทุกวัยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องสวมชุดยาวสีขาว (เช ควา) เมื่อแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนมาเป็นสวมใส่เสื้อสีดำ หรือที่เรียกว่า "เช โม่ ซู" และผ้าถุงคนละท่อนเท่านั้น ห้ามกลับไปสวมใส่ชุดยาวสีขาวอีก ส่วนผู้ชายทั้งกลุ่มโป และสะกอแถบภาคเหนือมักสวมกางเกงสีดำ และสีน้ำเงิน หรือกรมท่า ในขณะที่แถบจังหวัดตาก และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มักสวมโสร่ง ลักษณะเสื้อผู้ชายวัยหนุ่มใช้สีแดงทุกกลุ่ม แต่มีลวดลายมากน้อย ต่างกัน การแต่งกายในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีปีใหม่ พิธีแต่งงาน เน้นสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ จะเห็นชัดว่าชายหนุ่ม และหญิงสาวจะพิถีพิถันแต่งกายสวยงามเป็นพิเศษ

72 อาหารชาวกะเหรี่ยง อาหารเป็นส่วนหนึ่งของทุกชีวิตทุกเผ่าพันธ์ อาหารกะเหรี่ยงจะมีเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือรสชาติจะเผ็ดและจัดจ้านจะมีส่วนประกอบของอาหารแบ่งออกเป็นหลายสูตรดังนี้ แกงไก่ใส่หัวปุก "พอ ชอเต่ลอคื่อ" เครื่องปรุง 1. หัวปุกที่สับเป็นก้อนๆ 2. เนื้อไก่สับเป็นชิ้น เครื่องแกง 1. ตะไคร้ 2. กระเทียม 3. หอมแดง 4. ขมิ้น 5. พริกขี้หนูแห้ง 6. กะปิ 7. เกลือ ปริมาณแล้วแต่ผู้ทำจะกะเอาเอง โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด วิธีทำ 1. ตั้งหม้อแกงเทน้ำมันลงนิดหน่อย 2. คั่วเครื่องแกงกับเนื้อไก่ 3. พอได้ที่เทนํ้าลงไปพอปริมาณ 4. รอให้นํ้าเดือดใส่หัวปุกลงไปตั้งไฟให้ร้อนรอจนหัวปุกเปื่อยเป็นใช้ได้

73 แกงหางไหวใส่หมู "เง่ข่าดื่อ เดอเทาะย่า" เครื่องปรุง 1. หางไหว 2
แกงหางไหวใส่หมู "เง่ข่าดื่อ เดอเทาะย่า" เครื่องปรุง 1. หางไหว 2. เนื้อหมู เครื่องแกง 1. ตะใคร้ตัดเป็นท่อน ๆ 2. นํ้ามันพืช 3. พริกขี้หนู 4. กะปิ 5. เกลือ 6. ข่าที่ซอยเป็นชิ้น 7. ผักชี นำเครื่องแกงทั้งหมดโขลกให้ละเอียด วิธีทำ 1. ซอยเนื้อหมูให้เป็นชิ้น ๆ 2. ตั้งหม้อแกงเทนํ้ามันลงนิดหน่อย 3. คั่วเครื่องแกงกับเนื้อหมู 4. พอได้ที่เทนํ้าลงไปแล้วตามด้วยหางไหว 5. ตั้งไฟให้ร้อนรอจนสุกแล้วโรยหน้าด้วยผักชี

74 แกงเย็นปลา " ญ่า โพ จื่อ ที" เครื่องปรุง 1
แกงเย็นปลา " ญ่า โพ จื่อ ที" เครื่องปรุง 1. ปลาขาวจากแหล่งนํ้าธรรมชาติ 2. เกลือป่น 3. ตะไคร้หั่นเป็นท่อน 4. หอมแดงซอยเป็นชิ้น 5. ข่าซอยเป็นชิ้น 6. พริกแห้งโลนไฟ 7. บะเกอะเออ (ทำมาจากผักกาดขมซอยตากแห้ง) 8. ลูกมะกอก 9. ใบผักชี 10. นํ้าเปล่า วิธีทำ 1. นำปลามาย่างให้สุก 2. นำเครื่องปรุงที่เตรียมไว้คลุกให้เข้ากัน 3. ใส่เนื้อปลาลงไป 4. เติมนํ้าเปล่าลงไป 5. นำใบผักชี ที่ซอยมารวยหน้า

75 แกงเบือ "ต่า คอ พ้อ" เครื่องปรุง 1. ข้าวสาร 2. หน่อไม้ 3. หางไหว 4
แกงเบือ "ต่า คอ พ้อ" เครื่องปรุง 1. ข้าวสาร 2. หน่อไม้ 3. หางไหว 4. เนื้อไก่หรือเนื้อหมู เครื่องแกง 1. กระเทียม 2. ตะไคร้ 3. ข่า 4. ขมิ้น 5. กะปิ 6. เกลือ โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด วิธีทำ 1. เอานํ้าใส่ลงไปในหม้อที่ตั้งไว้เทลงไปพอประมาณ 2. นำข้าวสารใส่ลงไปในหม้อแกง 3. ในระหว่างที่ต้มนํ้ากับข้าวสาร ตั้งกระทะอีกที่หนึ่งเทนํ้ามันลงไปนำเครื่องแกงที่โขลกคั่ว กับเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ที่เตรียมไว้ 4. พอข้าวที่ต้มเริ่มเดือดนำเนื้อหมูที่คั่ว กับเครื่องแกงใส่ลงไปแล้วรอจนสุก

76 แกงข้าวขั่ว "ต่า เค่อ" เครื่องปรุง 1. เนื้อไก่ หรือ เนื้อหมู 2
แกงข้าวขั่ว "ต่า เค่อ" เครื่องปรุง 1. เนื้อไก่ หรือ เนื้อหมู 2. ข้าวคั่ว 3. ดอกงิ้ว เครื่องแกง 1. กระเทียม 2. ตะไคร้ 3. ข่า 4. ขมิ้น 5. กะปิ 6. เกลือ โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้เข้ากัน วิธีทำ 1. นำเครื่องแกงมาคั่วให้เข้ากัน 2. นำเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ใส่ลงไป 3. เมื่อคั่วเข้าที่แล้วเทนํ้าลงไปรอจงเดือด 4. ใส่ข้าวคั่วลงไปแล้วรอจนสุก

77 นํ้าพริกถั่วเน่า " มื้อซ่าโต่ทะน่อแคาะ" เครื่องปรุง 1. ถั่วเน่า 2
นํ้าพริกถั่วเน่า " มื้อซ่าโต่ทะน่อแคาะ" เครื่องปรุง 1. ถั่วเน่า 2. พริกแห้ง 3. กระเทียม 4. เกลือ 5. ผักชี วิธีทำ 1. นำพริกแห้ง กระเทียม เกลือ โขลกให้ละเอียด 2. นำถั่วเน่าคลุกให้เข้ากับเครื่องปรุงใส่นํ้าอุ่นนิดหน่อยโรยน่าด้วยผักชี

78 นิทานชาวกะเหรี่ยง เรื่อง โท่ลุ่ยซู โท่ลุ่ยงวา (นกพิราบสีขาว แบนกพิราบสีดำ) ครั้ง หนุ่มมีหนุ่มสาวคู่หนึ่งที่รักกันมากจึงตัดสินใจแต่งงานกัน แต่ทั้งสองนั้นยากจนมาก และทั้งสองจึงตัดสินใจที่จะลองไปหาสมบัติดู เมื่อเข้าไปในป่าฝ่ายสามีเมื่อเห็นตอไม้ ก็บอกกับภรรยาว่า “ เจ้าดูกระต่ายนั่นสิน่าจับมากินจัง ” “ ฝ่ายก็ภรรยาตอบว่าใช่จ่ะพี่ ” พอเดิน ๆ ไปอีกก็เจอ นกพิราบสีดำ แต่ฝ่ายภรรยากลับบอกว่า “ พี่จ๊ะดูนกนั่นสิตัวมันขาวสวยจังเลยพี่ ” “ ใช่จ่ะ “ สามีกล่าว แล้วทั้งสองก็พากันเดินไปจนถึงทะเลสาปแห่งหนึ่ง สามีจึงลงไปวิดน้ำในสระเพื่อที่จะหาสมบัติ วิดไปได้สักพักหนึ่งก็ตะโกนถามภรรยาว่าน้ำจวนจะแห้งหรือยังจ๊ะ “ ฝ่ายภรรยาตอบว่าจวนแล้วจ่ะพี่ ” ภรรยาคอยพูดให้กำลังใจและลงไปช่วยทั้งที่ทะเลสาปนั้นใหญ่มาวิดทั้งปีก็คงไม่ แห้ง

79 เมื่อเจ้าแห่งน้ำได้ยิยและเห็นถึงความรัก ของทั้งสองจึงได้ปรากฎตัวและมอบ เงินทองให้ทั้งสอง 3 ไห แต่มันหนักเกินกว่าที่ทั้งสองจะแบกกลับบ้านได้ ฝ่ายสามีจึงกล่าวว่า “ ไม่เป็นไรถ้ามันเป็นของของเราจริงมันจะกลับมาอยู่ที่บ้านเรา ” และเมื่อพวกโจรรู้เข้าจึงพากันไปหวังจะขโมยไห3 ใบนั้น แต่เมื่อไปถึงและเปิดดูข้างในปรากฏว่าในนั้นเป็นอึ พวกโจรจึงโกรธมากจึงแบกไหนั้นไปไว้ที่หน้าบ้านของสามีภรรยาคู่นั้นหวังจะแก้ แค้น และเมื่อทั้งสองตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็เห็นไห 3ใบนั้นมาอยู่หน้าบ้านทั้งสองก็ดีใจมาก เป็นอย่างที่พี่ว่าจริง ๆ ด้วย และทั้งสองก็มีเงินทองมากมายจึงเอาไปแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้าน

80 และเมื่อไปถึงบ้านของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ซึ่งทะเลาะกันบ่อยมา ทั้งสองก็ถามที่มาของสมบัติที่ได้มา และคิดจะไปหาบ้าง ทั้งสองจึงออกเดินทาง และเมื่อเดินเข้าไปในป่าเมื่อฝ่ายสามีเห็น ตอไม้ก็กล่าวว่า “ ดูกระต่ายตัวนั้นสิน่าจับเอามากินนะ ” ฝ่ายภรยาก็ตอบว่า “ จะบ้าเหรอนั่นมันตอไม้ชัด ๆ ” และเมื่อเดินไปอีก ฝ่ายภรรยาจึงกล่าวว่าดูนกพิราบตัวนั้นสิขาวสวยจัง อีกฝ่ายหนึ่งก็ตอบว่า จะบ้าเหรอมันดำออกขนาดนั้น และเมื่อไปถึงทะเลสาปเมื่อฝ่ายสามีวิดน้ำไปได้สักก็ตะโกนถามภรรยาว่าน้ำใกล้ จะแห้งหรือยัง จะบ้าเหรอมันจะใกล้แห้งได้ยังไงล่ะสระมันออกจะใหญ่ขนาดนี้และทั้งสองก็ ทะเลาะกันยุกยิก ยุกยิก เมื่อเจ้าแห่งน้ำได้ยินและเห็นเข้าก็รู้สึกรำคาญและโกรธมากจึงจับทั้งสองหัก คอตายทั้งสองคน

81 การตายชาวกะเหรี่ยง การ เตรียมศพ         ในหมู่บ้านหากมีผู้คนในหมู่บ้านเสียชีวิตลง เพื่อนบ้านทุกคนจะหยุดงานเพราะถือเป็นข้อห้าม ซึ่งเรียกว่า “ดึปกาซะลอ หม่า” คือข้อห้ามสำหรับวิญญาณที่หลุดหายไป ทุกคนในหมู่บ้านจะหยุดทำงานเพื่อที่จะมาในงานของผู้ตาย ขั้นแรกญาติพี่น้องก็จะอาบน้ำศพ และนำเสื้อผ้าใหม่ ๆ มาสวมใส่ให้เสร็จแล้วก็จะห่อศพด้วยเสื้อตีข้าว และเตรียมสัมภาระให้แก้ศพ หลังจากห่อศพแล้วจะหาไม้ไผ่หนึ่งท่อนยาวนำมาผ่าออกเป็น 4 ซีกเท่า ๆ กัน ครึ่งท่อนแล้วง่ามลงบนศพเพื่อยึดศพให้มั่น เรียกไม้ไผ่ท่อนนี้ว่า ไม้ง่ามศพ จากนั้นก็จะนำเสื้อผ้า ของศพที่ญาติพี่น้องมอบให้ แขวนไว้ที่ปลายท่อนไม้ไผ่ เสื้อผ้า และข้าวของของศพนี้เรียกว่า ”ปวา ซี อ่ะ กื่อ” มีความหมายว่า “สัมภาระศพ” เป้าหมายการเตรียมสัมภาระของศพนี้ ก็เพื่อทำความร่มรื่นให้ศพ ขณะเดินทางกลับไปยังโลกหน้า

82 การขับลำนำ (อึทาปวาซี)         ตกเย็นจะเป็นเวลาแห่งการขับลำนำส่งวิญญาณศพ โดยชายหนุ่มและพ่อบ้านจะขึ้นขับลำนำที่ขับในช่วงนี้ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับคนตาย ลำนำสำหรับศพนี้ผู้ขับจำกัดเฉพาะแต่ผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงจะขับลำนำนี้ไม่ได้ ถือเป็นสิ่งต้องห้าม ผู้หญิงที่กำลังตั้งท้อง และเสียชีวิตลงก็จะมีการขับลำนำวิญญาณเช่นเดียวกัน แต่ผู้มาขับลำนำจะเป็นเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ลำนำที่ขับมีชื่อเรียกว่า “ทาโหร่ควา” ผู้เสียชีวิตที่เป็นวัยหนุ่มสาวจะมีการสร้างกระต๊อบหลังเล็กที่กิ่วดอย ใกล้ ๆ หมู่บ้าน และนำเสื้อผ้า ข้าวของไปวางไว้บนกระต๊อบหลังนั้น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า “เสอะเล” ผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้มีลำนำส่งวิญญาณโดยเฉพาะเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า “ทาเยอลอ” แปลว่า “ลำนำ คนึงหา”

83 พิธีส่งสัมภาระและข้าวของให้ศพ (เอ๊าะโล)         ก่อนที่จะปลงศพจะมีการเตรียมสัมภาระและข้าวของให้ศพ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยจำเป็นในการดำเนินงาน ได้แก่ ย่าม มีด หม้อ ชาม ถ้วย ไม้ขีดไฟ เชื้อมัน เชื้อข้าว กล้ากล้วย ยาสูบ หมาก พลู เป็นต้น ข้าวของสัมภาระทั้งหมดจะบรรจุลงในกะฉุกใบหนึ่ง เมื่อได้ เวลาปลงศพ กะฉุกใบนี้ก็จะถูกเอาไปด้วย ปลงศพเสร็จแล้วจะนำกะฉุกใบนี้ไปวางไว้ใต้ต้นไม้ จากนั้นนำขอเกี่ยวคอเสื้อผู้ทำพิธีและดึงกลับบ้านพอเป็นพิธี การทำพิธีส่งสัมภาระ และข้าวของให้ศพนี้ มีความหมายว่า ในโลกหน้าวิญญาญของศพจะต้องกลับไปทำมาหากินเช่นเดียวกับชีวิตในโลกนี้ จึงต้องมีการมอบสัมภาระ และข้าวของให้ มิเช่นนั้นวิญญาณจะมีความยากลำบาก ไม่มีข้าวของ และเครื่องใช้ในการทำมาหากิน

84 ข้อห้ามหลังปลงศพ          หลังจากปลงศพแล้วจะมีข้อห้ามใน ประเพณี คือ ไม่ให้คนในหมู่บ้านออกไปทำมาหากินนอกบ้าน ส่วนจะห้ามกี่วันนั้นขึ้นอยู่กับว่าศพนั้นมีการเก็บไว้กี่วัน หากเก็บไว้หนึ่งวันก็จะห้ามออกไปทำงาน 1 วัน ถ้าเก็บ 3 วันก็จะห้าม 3 วัน เป็นต้น ข้อห้ามนี้ เรียกว่า “ดึนาเกอะเกราะ” หมายความว่า “ข้อห้ามผีผู้ตาย” เพราะกะเหรี่ยง ปกาเกอะญอเชื่อว่าหลังจากปลงศพผีของผู้ตายยังเดินไปมาภายในบริเวณหมู่บ้าน อยู่จนกว่าจะพ้นจำนวนวันที่เก็บศพไว้ เพราะฉะนั้นหากผู้ใดออกนอกหมู่บ้านในช่วงนี้ ผีผู้ตายอาจเห็นเข้าและจับขวัญของผู้นั้นไป ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นล้มป่วยลงได้   พืชผักของศพ          หากมีผู้เสียชีวิตลงในกลางปี และผู้เสียชีวิตไม่มีโอกาสได้รับประทานพืชผักที่ตนปลูกลงไป ในกรณีนี้ญาติพี่น้องก็จะนำผลผลิตของพืชผักต่าง ๆ ในรอบปีนั้นไปฝากไว้ที่ไร่ หรือใต้ต้นไม้บริเวณของศพก็ได้หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้วิญญาณศพจะได้กลับมารับประทานผลผลิตของพืชผักเหล่านั้น แล้วจะได้กลับไปสู่สู่คติด้วยความสงบสุข จะได้ไม่กลับมาขอจากญาติพี่น้องอีก  

85 ปัจจุบัน         เนื่อง จากปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนไป จากที่เคยทำพิธีเเบบดั้งเดิม จึงหาดูงานศพแบบดั้งเดิมได้ยากมากขึ้น จะเห็นได้อย่างง่าย ๆ เช่น เสื่อตีข้าวที่ใช้ห่อศพได้มีการเปลี่ยนมาใช้เป็นโลงศพเเทน เเละพิธีการประกอบทางศาสนาอย่างการขับลำนำ หรือ "อึทาปวาซี" เเทบจะไม่ทำกันคนรุ่นหลัง จะมีส่วนน้อยมากที่จะให้ความสำคัญตรงจุดนี้ เนื่องจากการทำพิธีแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลานานเป็นข้ามคืนข้ามวัน ในสังคมที่คนปัจจุบันต้องเร่งรีบ จึงมีการย่นระยะเวลาในจุดนี้ ทำให้ส่วนสำคัญของพิธีได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบใหม่ คือ รวดเร็ว และลดขั้นตอนของบางอย่างไป

86 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt ชนเผ่ากะเหรี่ยง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google