งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 เรื่อง พลังงานลม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 เรื่อง พลังงานลม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 เรื่อง พลังงานลม ลม เป็นการเคลื่อนไหวของอากาศจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ไปสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำในแนวนอน โดยลมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนเราก็คือ ลมระกับพิ้นผิว ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทตามเหตุที่เกิดและบริเวณที่เกิดคือ ลมประจำฤดู ลมประจำเวลา และลมประจำถิ่น

2 ซึ่งแต่ละประเภทที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ
ลมประจำปี เป็นลมที่พัดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปีในส่วนต่างๆของโลก แตกต่างกันไปในแต่ละละติจูดของโลก ลมประจำฤดู เป็นลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางตามฤดูกาลเรียกว่า ลมมรสุม ลมมรสุมที่มีความสำคัญมากก็คือ ลมมรสุมฤดูร้อน ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม ลมมรสุมฤดูหนาว ในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์

3 ลมประจำเวลา เป็นลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศระหว่าง2บริเวณในระยะเวลาสั้นๆ ได้แก่ ลมบก ลมทะเล ลมภูเขา และลมหุบเขา

4 พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดและบริสุทธิ์ ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีกังหันลม กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม ให้เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้มาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือในปัจจุบันใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

5 ชนิดของกังหันลม การจำแนกชนิดของกังหันลมมี 2 วิธี กล่าวคือ
การจำแนกตามลักษณะการวางตัวของแกนหมุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบแกนนอน ( แกนราบ) หมายถึง กังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของกระแสลม และแบบแกนตั้ง (แกนดิ่ง) กังหันลมที่มีแกนหมุนตั้งฉากกับทิศทางของกระแสลม และตั้งฉากกับพื้นผิวโลก การจำแนกตามลักษณะแรงขับที่กระแสลมกระทำต่อใบกังหันมี 2 แบบคือ การขับด้วยแรงยก และการขับด้วยแรงฉุดหรือแรงหน่วง

6 ส่วนประกอบของระบบกังหันลม
ส่วนประกอบสำคัญ ๆ ของระบบกังหันลมทั่วๆไป อาจแบ่งได้ดังนี้ 1.ใบกังหัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดพลังงานกลที่เพลาของกังหัน 2.ระบบควบคุม ระบบควบคุมในชุดกังหันลมส่วนใหญ่จะมี2ชนิด โดยเฉพาะแบบแกนนอนคือ ควบคุม ให้ตัวกังหันหันหน้าเข้าหาทิศทางลมตลอดเวลา และควบคุมเพื่อป้องกันการเสียหายเนื่องจาก ความเร็วลมแรงจัด ๆ 3.ระบบส่งกำลัง การส่งกำลังจากตัวกังหัน เพื่อไปใช้งาน อาจต่อกับเพลาได้โดยตรง หรือผ่านระบบว่งกำลัง เช่น เฟือง สายพาน และไฮดรอลิกส์ 4.หอคอย หอคอยทำหน้าที่ ยึดตัวกังหันลมให้อยู่ในระดับสูงเพื่อรับกระแสลมได้มากขึ้นทุกทิศทาง

7 ผลกระทบจากการใช้พลังงานลม
ผลต่อทัศนียภาพ เนื่องจากจะต้องใช้กังหันขนาดใหญ่อาจบดบังส่วนต่างๆของพื้นที่ไป การเกิดมลพิษทางเสียง เมื่อใบพัดขนาดใหญ่ทำงานจะเกิดเสียงดังมาก รบกวนผู้อยู่ใกล้เคียง การรบกวนคลื่นวิทยุ ซึ่งเกิดจากใบพัดส่วนใหญ่ทำจากโลหะ เมื่อหมุนจะทำให้เกิดการรบกวนคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ในระยะ 1-2 กิโลเมตร ผลกระทบต่อระบบนิเวศ เมื่อติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ อาจทำให้สิ่งมีชีวิตใกล้เคียงอพยพไปอยู่ที่อื่น


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 เรื่อง พลังงานลม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google