งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รถจักร รถไฟ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รถจักร รถไฟ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รถจักร รถไฟ

2 รถไฟ (train) เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไตามราเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราว 2 อันขนานกัน แต่ยังหมายรวมถึงประเภทราวเดี่ยวหรือประเภทที่ใช้พลังแม่เหล็กด้วย รถไฟจะขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หลายๆตัวที่ติดอยู่ใต้ท้องรถ รถไฟสมัยใหม่จะใช้กำลังจากหัวรถจักรดีเซลหรือจากไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟที่อยู่เหนือตัวรถหรือตามรางสาม (Third Rail) เดิม รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้หม้อต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดแรงดัน แรงดันจะทำการขับเคลื่อนกลไกทำให้ล้อรถไฟเคลื่อนที่ได้ การที่ใช้ฟืนเป็นแหล่งพลังงานในการต้มน้ำ และฟืนที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ทำให้เรียกรถชนิดนี้ว่า รถจักรไอน้ำ รถไฟแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ หัวรถจักร, รถดีเซลราง, รถโดยสาร และ รถสินค้า

3 ประวัติ รถไฟเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้ว เดิมทีเดียวสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก ต่อมาในปี พ.ศ จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ ชื่อว่า ร็อคเก็ต (Rocket)ซึ่งสามารถแล่นได้ด้วยตนเองเป็นผลสำเร็จ นำมาใช้ลากจูงรถแทนม้าในเหมืองถ่านหิน ภายหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำและรถจักรชนิดอื่นๆ ขึ้นอีกหลายแบบ รถไฟได้เปลี่ยนสภาพจากรถขนถ่านหินมาเป็นรถสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ดังเช่นในปัจจุบัน

4 วิวัฒนาการของรถไฟ                                                                          เจมส์ วัตต์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ได้สร้างปรากฏการณ์บางอย่างที่ทำให้วิถีแห่งปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไป เมื่อเครื่องจักรไอน้ำที่เขาคิดค้นเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนแรงงานคน สร้างจุดกำเนิดแห่งวิถีการผลิต และบานปลายสู่การปฏิวัติอุสาหกรรม ทำให้คนในยุคนั้นต้องใช้ชีวิตไปตามระบบสายพาน ทั้งยังปลูกฝังความเชื่อให้แก่มนุษย์ว่า การก่อกำเนิดของเครื่องจักร เปรียบเสมือนการเอาชนะธรรมชาติ หลังจากนักประดิษฐ์หลายคนพยายามคิดค้นวิธีการที่จะนำเครื่องไอน้ำมาติดกับเฟืองล้อเพื่อให้รถเคลื่อนตัว พวกเขากลับประสบความล้มเหลว แต่คนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหัวรถจักรคันแรกของโลก เป็นชาวอังกฤษ นามว่า ริชาร์ด เทควิทริค (Richard Trevithick) ชายคนนี้เป็นวิศวกรฝีมือดี เขานำเครื่องไอน้ำมาสวมกับตัวถังรถด้วยกลไกที่เขาประดิษฐ์ขึ้น ก่อนนำมาวางบนรางแล้วทำให้มันวิ่งได้ แต่ผู้คนในเวลานั้นกลับไม่เชื่อว่าสิ่งประดิษฐ์ของเขาจะเคลื่อนที่ด้วยเรี่ยวแรงของเครื่องจักร สิบปีให้หลังมีผู้พยายามสานฝันของเทควิทริคให้เป็นความจริง เขาคือ ยอร์ช สตีเฟนสัน (George Stephenson) ชายคนนี้ได้หยิบนำเทคโนโลยีรถจักรของเทควิทริคมาปรับเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ ในที่สุดเขาก็คิดออกแบบ พัฒนา ปรับปรุง และสร้างหัวรถจักรไอน้ำขึ้นมาและตั้งชื่อว่า บลือเซอร์ ผนวกกับแผนทางการตลาด ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ‘หัวรถจักร’ วิ่งด้วยพลังไอน้ำจริงๆ จนได้รับสมญาว่า บิดาแห่งการรถไฟ

5 เมื่อโลกพัฒนาสู่ยุค อุตสาหกรรมเฟื่องฟู หัวรถจักรไอน้ำที่พ่นลูกไฟและควันโขมงใช้ถ่านหินและฟืนเป็นเชื้อเพลิงก็เริ่มถูกลดบทบาทลงมีหัวรถจักรดีเซลขึ้น มาแทนที่ เพราะก่อมลพิษน้อยกว่าและยังวิ่งได้เร็วกว่าด้วย โดยวิศวกรชาวเยอรมัน รูดอล์ฟ ดีเซล เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันโซล่าเป็นเชื้อเพลิงนำมาใช้เป็นเครื่องยนต์สำหรับรถไฟ ซึ่งปัจจุบันยังคงใช้อยู่ แต่คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะถูกแทนที่ด้วยรถไฟความเร็วสูง เพราะได้มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งพัฒนาไปสู่ รถไฟฟ้าพลังแม่เหล็ก เ ป็นระบบการขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบนี้จะทำให้รถไฟเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็วและเงียบกว่าระบบขนส่งแบบด้วยล้อ สามารถทำความเร็วได้ใกล้เคียงกับเครื่องบินไอพ่นและเครื่องบินเจ็ท (ประมาณ 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วของรถไฟพลังแม่เหล็กที่ถือว่าเป็นสถิติโลกขณะนี้อยู่ที่ 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยรถไฟญี่ปุ่น (JR-Maglev) ทำลายสถิติโลกที่รถไฟ TGV ของฝรั่งเศสลงด้วยความเร็วที่มากกว่ากันอยู่ 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

6 ประเภทของรถไฟ

7 รถจักรไอน้ำ (Steam Locomotive) ใช้พลังแรงดันสูงจากไอน้ำอันเกิดจากน้ำต้มเดือด ในการดันลูกสูบเพื่อหมุนล้อ ปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว

8 รถจักรดีเซล (Diesel Locomotive)แบ่งออกเป็น
- รถจักรดีเซลการกล (Diesel-Mechanical Locomotive) ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยตรงในการขับเคลื่อนล้อ ปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว - รถจักรดีเซลไฮดรอลิก (Diesel-Hydrolic Locomotive) - รถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel-Electric Locomotive) ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดไฟฟ้านำไปหมุนมอเตอร์ลากจูง (Traction Motor:TM)เป็นรถจักรดีเซลที่มีใช้การมากที่สุดในโลก

9 รถจักรไฟฟ้า (Electric Locomotive) ใช้ไฟฟ้านำไปหมุนมอเตอร์ลากจูง (Traction Motor:TM) เป็นรถจักรที่มีกำลังสูงมากกว่าประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ได้แก่ - รถดีเซลราง (Diesel Multiple Unit:DMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังดีเซล ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยดีเซลการกล หรือดีเซลไฮดรอลิก - รถรางไฟฟ้า (Electric Multiple Unit:EMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซึ่งใช้ไฟฟ้า - รถรางไอน้ำ (Steam Railcar) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำ ปัจจุบันไม่มีแล้ว

10 รถไฟในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นต้นกำเนิด เรียกว่า “Rail-way” ซึ่งแปลว่าทางเหล็ก ก็เพราะได้พิจารณาจากลักษณะ ของทางที่รถเคลื่อนไปซึ่งทำด้วยเหล็กเส้นยาว ๆ ที่มีความแข็งแรงวางเป็นคู่ขนานกันไป แล้วให้ล้อรถกลิ้งไปบนเหล็กขนานคู่นี้ ซึ่งในระยะแรกเริ่มเป็นรถจักรที่ใช้กำลังไอน้ำ และ ไอน้ำจะเกิดได้ต้องใช้ไฟไปต้มน้ำให้เดือดเป็นไอ เราจึงเรียกว่า “รถไฟ” รุ่นถัดมา เป็นรถไฟที่ใช้เครื่องยนต์มีการใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนในหลาย ๆ ประเทศจะออกแบบมาเพื่อให้เกิดสมรรถนะสูงสุดต่อการใช้งาน รถจักรดีเซล คือ รถจักรที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องต้นกำลัง และมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับส่งหรือถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนล้อ เพื่อขับเคลื่อนตัวเอง และลากจูงรถพ่วง รถจักรดีเซลระบบไฟฟ้า รถจักรที่ใช้วิธีการถ่ายทอดกำลังด้วยระบบไฟฟ้า เรียกว่ารถจักรดีเซลไฟฟ้า (diesel electric locomotive ระบบไฮดรอลิก รถจักรที่ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังด้วยระบบของเหลว (ไฮดรอลิก) เรียกว่ารถจักรดีเซลไฮดรอลิก (diesel hydraulic locomotive) อุปกรณ์เครื่องถ่ายทอดกำลังเรียกว่า เครื่องแปลงแรงหมุน (torque converter) จะประกอบด้วยใบพัด 2 ตัวเรียกว่า อิมเพลเลอร์ (impeller) และเทอร์ ไบน์รันเนอร์ (turbine runner) และมีน้ำมันอยู่ภายในเครื่องยนต์ดีเซลต้นกำลังจะหมุนอิมเพลเลอร์ให้ปั่นน้ำมัน เพื่อมีแรงไปหมุนเทอร์ไบน์รันเนอร์ ซึ่งจะมีกำลังงานหรือแรงเพิ่มขึ้นพอเพียงที่จะไปหมุนเพลาล้อรถจักรได้โดยผ่านฟันเฟืองและกลไกต่าง ๆ

11  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รถดีเซลรางได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ทำให้มีสมรรถนะสูง และมีความคล่องตัวในการใช้งาน สามารถที่จะวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงกว่า ๘๐ กม./ชม. และสามารถที่จะเร่งความเร็วให้ถึงอัตราเร็วสูงสุดนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น ตัวรถสามารถสร้างให้มีน้ำหนักเบาแต่มีกำลังเครื่องยนต์สูง นอกจากนี้รถดีเซลรางยังมีระบบห้ามล้อประสิทธิภาพสูง จึงทำให้สามารถห้ามล้อ เพื่อหยุดได้ในเวลารวดเร็วเป็นการช่วยให้มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นอีก โดยปกติเรานำเอารถดีเซลรางมาพ่วงต่อกันเข้าเป็นขบวนสำหรับวิ่งรับส่งผู้โดยสารในระยะใกล้ และหยุดรับส่งผู้โดยสารทุกสถานี มีบางคราวที่นำไปใช้วิ่ง บริการในระยะไกลปานกลางแทนขบวนรถโดยสารซึ่งลากจูงโดยรถจักร

12 จากดีเซลราง มาสู่รถไฟฟ้าความเร็วสูง                                      รถไฟฟ้า หรือรถไฟลอยฟ้า อยู่ในจำพวกการขนส่งระบบรางและเป็นพาหนะตระกูลเดียวกับรถรางและรถไฟ แทบทุกประเทศในโลก รถไฟฟ้าและรถไฟนำมาวิ่งอยู่ในรางเดียวกัน รางรถไฟฟ้ามีขนาด เมตร ทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ใช้น้ำมันดีเซลเหมือนรถไฟธรรมดา ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้าให้โทษกับสิ่งแวดล้อมในด้านมลพิษทางอากาศไม่มากนักเนื่องจากวิ่งด้วยระบบไฟฟ้า (ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 700 โวลท์) รถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเยอรมัน ที่มีล้อบดอยู่ที่รางจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหากเพิ่มความเร็วมากขึ้นไปอีกก็จะมีขอบเขตจำกัดในทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้นในเรื่องขีดจำกัด และความสามารถในการรองรับของราง สำหรับพาหนะที่มีล้อในการเคลื่อนที่ ดังนั้นรถไฟฟ้าที่มีความเร็วสูงจึงพัฒนาขึ้นมาให้มีการเหนี่ยวนำและเคลื่อนที่โดยแม่เหล็กไฟฟ้าต่อไป

13 รถไฟแม็กเลฟ (maglev)                                         ในทศวรรษที่ 1960 ได้มีการค้นคว้าวิจัยเรื่องระบบขับเคลื่อนด้วยพลังแม่เหล็กในสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศอังกฤษ นาย Eric Laithwaite วิศวกรชาวอังกฤษได้พัฒนารถไฟ พลังแม่เหล็กให้ใช้งานได้จริงๆ รถไฟพลังแม่เหล็กของเขาวิ่งอยู่บนรางความยาว 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) และผ่านการทดสอบวิ่ง แต่การคิดค้นวิจัยของเขานั้นได้มีการยกเลิกในปี 1793 เนื่องจากขาดงบประมาณ และโครงการก็ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ต่อมา ราวทศวรรษที่ 1790 เยอรมนี และญี่ปุ่น ได้เริ่มค้นคว้าวิจัยเรื่องรถไฟพลังแม่เหล็กบ้าง หลังจากผ่านความล้มเหลวมามากมาย ในที่สุด ทั้งสองชาติก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นยอดนี้จนสำเร็จราวๆทศวรรษที่ 1990 อย่างไรก็ตาม ตัวนำยิ่งยวดที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก กับเทคโนโลยีนี้ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการยอมรับเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในหลายๆประเทศเป็นระบบการขนส่งที่สร้างมลภาวะทางเสียงที่น้อยกว่ามาก ประหยัดเชื้อเพลิง ไม่มีมลพิษออกมาจากน้ำมันหรือสิ่งที่ได้จากสนามแม่เหล็ก เป็นการเดินทางที่ประหยัดต้นทุน รวดเร็ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ที่สำคัญกว่านั้นเป็นระบบที่พึ่งพาน้ำมันน้อยกว่ารถไฟหรือเครื่องบิน

14 รถไฟฟ้าพลังแม่เหล็กลอยตัว (maglev) อาศัยหลักการลอยตัวอยู่เหนือรางจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และจะเป็นระบบขนส่งมวลชนในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ปัจจุบันยานยนต์ที่เดินทางโดยใช้เวลารวมได้ใกล้เคียงกับเครื่องบินคือ รถไฟฟ้าแม่เหล็กลอยตัว โดยมีการลอยอยู่เหนือราง นั่นคือ มีเบาะอากาศอยู่เหนือราง การขนส่งทางภาคพื้นดินด้วยความเร็วสูงที่เป็นรถไฟฟ้าที่ลอยในอากาศด้วยแม่เหล็กหรือจะกล่าวได้ว่า “บิน” อยู่เหนือรางก็ได้ โดยมีชื่อเรียกกับเป็นสากลว่า รถไฟฟ้าแม่เหล็กลอยตัว หรือรถไฟแม็กเลฟ (maglev มาจากคำว่า magnetically levitating) คอมพิวเตอร์จะควบคุมพลังที่สร้างสนามแม่เหล็ก และสามารถบังคับให้รถหยุดเหนือรางได้อย่างแม่นยำที่ 10 mm. เสมอ ไม่ว่าจะขนอะไรก็ตาม รถไฟ Maglev ไม่มีวันที่สัมผัสกับคอนกรีตและรางเหล็กที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของมัน

15 Maglev เทคโนโลยีการขนส่งแห่งศตวรรษ
Maglev เทคโนโลยีการขนส่งแห่งศตวรรษ   สำหรับการขนส่งในอนาคต เส้นทางที่เคยใช้เวลา 1 ชั่วโมง จากการขับรถฝ่าเข้าไปในการจราจรที่ติดขัด เสียงดัง และเต็มไปด้วยมลพิษ รถไฟ Maglev ใช้เวลาเพียง 7 นาทีครึ่ง จากประตูสู่ประตู มันเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมสำหรับการนำ รถไฟ Maglev เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาของระบบขนส่งในประเทศต่างๆ ปัญหาอย่างหนึ่งของระบบการขนส่งไม่ว่าจะเป็นทางถนน หรือแม้กระทั่งทางอากาศได้เดินทางมาถึงถึงจุดอิ่มตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการบินกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ ผู้คนหลงรักเครื่องบินไอพ่น มันสะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลาเดินทางไกลได้ ความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น บนพื้นดินความล่าช้าคือปัญหาสำคัญ แต่บนท้องฟ้าเริ่มมีปัญหาด้วยเช่นกัน แต่ละปีเที่ยวบินมีมากขึ้น มีการเสริมเข้ามา สนามบินใหญ่ขึ้น ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการบริการ และเมื่อมีการนำเครื่อง Super jumbo A380 เข้ามาใช้ มันเป็นการสร้างการแข่งขันให้เครื่องบินใหญ่ขึ้น มีความจุผู้โดยสารมากขึ้น แต่ทางออกยังตามมาด้วยปัญหาอื่น ๆ คือ ต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ราคาน้ำมันแพงขึ้น เริ่มหายากมากขึ้น แต่ผู้คนยังคงต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ต้นทุนในการบินก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย และไม่มีทางออกให้กับปัญหาดังกล่าว จึงมีการหาทางออกของปัญหา และหาระบบกการขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้ามาแทนที่การขนส่งทางอากาศ ทำให้เหล่าวิศวกรที่เห็นจุดอ่อนของการขนส่งทางอากาศคือ การบินระยะสั้นที่ไม่เกิน 1,700 Km จะอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของตลาดการบิน มีต้นทุนที่สูงที่สุด ไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเครื่องบิน ทำให้ทีมวิศวกรออกแบบ รถไฟ Maglev ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทดแทน การใช้เครื่องบินในการเดินทางในระยะกลาง ส่งผลในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย ต้นทุนดำเนินการ มีความ รวดเร็ว และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

16 ข้อดีของ รถไฟ Maglev:     - ระยะเวลาวิ่งไม่คลาดเคลื่อนเพียงวินาที ก็เป็นจุดเด่นของ รถไฟ Maglev รถไฟ Maglev เป็นระบบขนส่งที่มีความปลอดภัยสูง เมื่อเกิดข้อผิดพลาด หรือ คอมพิวเตอร์สามารถตรวจจับได้ ระบบก็จะหยุดลงทันที รถไฟ Maglev ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมัน เพราะฉะนั้นเวลาเกิดอุบัติเหตุจะไม่มีไฟไหม้ ไม่มีการระเบิด ซึ่งไฟก็คือ หายนะ หมายความว่า เมื่อเครื่องบินตกก็เกิดไฟไหม้ รถชนก็เกิดไฟไหม้ แต่ไม่มีไฟไหม้กับระบบเช่นนี้ และอีกอย่างหนึ่งคือไม่สัมผัสกับราง ดังนั้นแม้ว่ามัน จะบรรทุกน้ำหนักมากเพียงใด ก็ไม่มีทางตกจากรางได้เลย เพราะการตกราง เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ของรถรางความเร็วสูงแบบเก่า ด้วยการใช้ความเร็วสูงในการเดินทาง จะมีแรงเหวี่ยง และเกิดการกระเด็นออกนอกตัวรถ และอุบัติเหตุลักษณะนี้จะมีเศษต่างๆ ฉีกขาดและเสียบทะลุ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งจะไม่สามารถเกิดขึ้นกับ รถไฟ Maglev ได้เลย จะไม่มีอุบัติเหตุข้างเคียงเกิดขึ้นจากการชนกัน จะไม่มีเศษฉีกขาดเจาะทะลุ ทุกคนสามารถมั่นใจกับระบบของ รถไฟ Maglev ได้อย่างเต็มที่

17 รายชื่อสมาชิกกลุ่ม ม.6.9 นาย ไชยรัชฏ์ นามเมือง เลขที่ 12 นาย โอสธี ทะริยะ เลขที่ 14 นายทรงกลด บวรสิทธิปัญญา เลขที่ 47


ดาวน์โหลด ppt รถจักร รถไฟ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google