งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อย การเผาผลาญและการขับถ่าย : Endocrine, Colostomy ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)

2 ต่อมไร้ท่อ

3 กายวิภาคและสรีรวิทยาของต่อมไร้ท่อ

4 พยาธิวิทยาและความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
การหลั่งฮอร์โมนมากเกินไป (Hyperfunction)อาจเป็นผลมา จาก ต่อมไร้ท่อทำหน้าที่มากเกินไป เนื่องจากขนาดของต่อมโตมากขึ้น (hypertrophy) มีการสร้างเซลของต่อมมากขึ้น (hyperplasia) หรือเป็นเนื้องอก มีการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองออกมากระตุ้นมากเกินมากเกินไป อวัยวะที่เป็นเป้าหมายของฮอร์โมนมีความไวต่อฮอร์โมนอย่างผิดปกติ แม้ว่า จะมีการหลั่งของฮอร์โมนตามปกติ แต่เนื้อเยื่อตอบสนองเพิ่มขึ้น เอง

5 พยาธิวิทยาและความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ(ต่อ)
การหลั่งฮอร์โมนน้อยเกินไป (Hypofunction) หรือไม่เพียงพอ อาจเป็นผลมาจาก ต่อมทำหน้าที่ลดลง เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิด ไม่มีต่อมไร้ท่อชนิดนั้น หรือเจริญไม่เพียงพอ ความผิดปกติในการสร้างถูกทำลายโดยการรักษา จากยา การผ่าตัด ฉายรังสี การให้ภูมิคุ้มกันบางชนิด มีการตายของเซล ต่อมไร้ท่อ มีเลือดออก หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีการเจริญของ เนื้อเยื่อชนิดอื่นผิดที่ ขาดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้น อวัยวะเป้าหมายลดความไวในการตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้นๆ แม้จะมี ฮอร์โมนหลั่งตามปกติ

6 การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติและการตรวจร่างกายทั่วไปของระบบต่อมไร้ท่อ การซักประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน การซักประวัติความเจ็บป่วยในอดีต การซักประวัติการเจ็บป่วยภายในครอบครัว การซักประวัติสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมส่วนตัว การซักประวัติการใช้ยา การตรวจร่างกาย ใช้หลักการตรวจร่างกายเหมือนโรคอื่นๆโดยทั่วไป แต่มีข้อควรสังเกต สำหรับผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ขนาด สัดส่วนของรูปร่าง การกระจายของไขมัน ความ อ้วน ผิวหนัง ลักษณะ และสี เล็บ ผม หรือขนตามร่างกาย ใบหน้า การเคลื่อนไหวของลูก นัยน์ตา ลักษณะของตา เบ้าตา บริเวณลำคอ การกลืนอาหาร อาการเหล่านี้อาจจะแตกต่าง ไปจากโรคอื่นที่สามารถสังเกตได้ง่าย การตรวจทางห้องทดลองการตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัย และการรักษา

7 หลักการพยาบาลทั่วไปของโรคระบบต่อมไร้ท่อ
วางแผนการให้การพยาบาลโดยคำนึงถึงภาวะที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่ ดูแลการบริหารยา/ฮอร์โมนทดแทนให้ตรงตามแผนการรักษา อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เน้นการศึกษาแก่ประชาชนทั้งในมิติของการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อ หลายรายต้องดำเนินชีวิตตามแผนการรักษาตลอดชีวิต หรือ เป็นระยะเวลานาน พยาบาลมีหน้าที่สอนผู้ป่วยในการดูแล ตนเองอย่างง่าย

8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ของต่อมใต้สมองส่วนหลัง

9 Diabetes Insipidus; DI
เป็นกลุ่มอาการที่มีการขับปัสสาวะออกมาจำนวนมาก ปริมาณปัสสาวะ มากกว่า 3 ลิตรใน 24 ชั่วโมงและมีความเข้มข้นของปัสสาวะน้อย

10 สาเหตุ มีสาเหตุจากความผิดปกติที่ต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หรือต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary gland) ทำให้มีการหลั่งของ anti-diuretic hormone ลดลงโดยอาจมีสาเหตุจาก พันธุกรรม เนื้องอก/มะเร็งที่สมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การผ่าตัดสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะ ระบบภูมิต้านทาน ความผิดปกติของไต

11 พยาธิสรีรวิทยา ฮอร์โมน Vasopressin(VP)/Anti-diuretic hormone ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โดยมีผลต่อไต ทำให้ไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เซล มี ผลต่อหัวใจและหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหดตัว และมีผลต่อต่อมใต้สมอง (pituitary gland) โดยกระตุ้นการหลั่งของ adrenocorticotrophic hormone (ACTH) จากต่อมใต้ สมอง การเกิดความผิดปกติของการหลั่ง VP ทำให้มีกลไกการการเกิดโรคที่ แตกต่างกันตามชนิดของภาวะเบาจืด

12 พยาธิสรีรวิทยา(ต่อ) ภาวะเบาจืดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง/สมองส่วน Hypothalamus มักเกิดจากการมีเนื้องอกในสมอง/การบาดเจ็บ/การผ่าตัด สมอง ผู้ป่วยมักมีปัสสาวะมากตั้งแต่วันแรกที่ผ่าตัดและจะค่อยๆดีขึ้นใน 3-4 วัน หลังผ่าตัด หรืออาจะเป็นชนิดถาวร ภาวะเบาจืดจากความผิดปกติของท่อไตมีผลให้การดูดกลับลดลงทำให้ปัสสาวะออก มาก เกิดจากการได้รับยา Lithium เป็นเวลานาน หรือมีภาวะแคลเซียมใน เลือดสูงและโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ภาวะเบาจืดจากการดื่มน้ำมาก มักพบในผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตหรือความ ผิดปกติของศูนย์กระหายน้ำที่อยู่ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus)

13 อาการ มีอาการสำคัญ 3 อย่าง คือ ปัสสาวะมาก (polyuria) กระหาย น้ำ และดื่มน้ำบ่อย อาการเบาจืดอาจะเกิดขึ้นกระทันหัน ปัสสาวะจะ มากและเจือจาง ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า หากผู้ป่วย ปัสสาวะออกมากและดื่มน้ำทดแทนไม่ทันจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ เลือดจะมีความเข้มข้นขึ้น และค่าออสโมลาริตี้ (osmolarity) ใน serum จะสูงกว่า 280 mOsm/L ปริมาณปัสสาวะ จะอยู่ในช่วง 3-20 L/d และปัสสาวะบ่อยทุก นาที

14 การวินิจฉัยโรค มีประวัติถ่ายปัสสาวะมากและบ่อย โดยมีปัสสาวะมากกว่า 3 L ใน 24 ชั่วโมง มัก ได้รับยาที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ประวัติการเป็นโรคต่างๆเช่น เบาหวาน โรคไต การบาดเจ็บทาง สมอง ได้รับการฉายรังสี ได้รับการผ่าตัด ประวัติทางพันธุกรรม เป็นต้น ตรวจร่างกายพบการขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาทและหัวใจ ตรวจปัสสาวะพบค่าออสโมลาริตี้ต่ำ (hypoosmolarity) ตรวจเลือดพบว่า ค่าโซเดียมสูง (hypernatremia) และค่าออสโมลาริตี้ใน serum สูง (hyperosmolarity) การตรวจ water deprivation test คือ การทดสอบความสามารถในการกัก เก็บน้ำของร่างกายเมื่อมีการขาดน้ำ การทำ CT (computered tomography)และ MRI (Magnetic resonance image) ของสมอง

15 การรักษา รักษาด้วยการให้น้ำทดแทน
ให้ฮอร์โมนทดแทน เช่น Chlorpropamide, Clofibrate, Corbamazepine เพื่อกระตุ้น การหลั่งของ VP และเพิ่มความไวของไตต่อ VP

16 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการสูญเสียน้ำและอิเลคโตรลัยท์เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่สมอง/ต่อมใต้สมอง ดูแลการได้รับสารน้ำทดแทน และการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำทดแทน ตรวจวัดและบันทึกสัญญาณชีพอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมงในช่วงที่ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะ บ่อย บันทึกปริมาณน้ำเข้าออกจากร่างกาย ประเมินระดับความรู้สึกตัว ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน ประเมินความตึงตัวของผิวหนัง (skin turgor) หากมีผิวแห้งให้ทาโลชั่น ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ

17 กลุ่มอาการที่มีการหลั่งฮอร์โมนต้นการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome of Inappropiate antidiuretic hormone) เป็นภาวะที่มีการหลั่งฮอร์โมน Arginine vasopressin (AVP) ซึ่งเป็นฮอร์โมนต้นการขับ ปัสสาวะหลั่งออกมามากว่าปกติ ทำให้มีการดูดน้ำกลับคืนที่ไต เข้าสู่ร่างกายมากขึ้นกว่าปกติ มีผลทำให้เกิดภาวะน้ำเกิน หรือ ภาวะ water intoxication

18 สาเหตุ มีความผิดปกติที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หรือต่อมใต้สมองส่วน หลัง หรือการสร้างฮอร์โมน vasopressin มากผิดปกติจากการมีเนื้องอกหรือเป็นโรคเนื้อเยื่อ ของปอด

19 พยาธิสรีรวิทยา โดยปกติ vasopressin (VP) จากการสร้าง nuclei ในไฮโปทาลามัสและ เก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) จะหลั่ง ออกมาเพื่อควบคุมระดับออสโมลาริตี้ (osmolarity) ของพลาสมา (plasma) ให้อยู่ในระดับปกติ เมื่อออสโมลาริตี้ (osmolarity) ลดลงจะมีกลไกลย้อนกลับ (negative feedback) ไปยับยั้งไม่ให้มีการหลั่ง VP ออกมา ทำให้มีการขับ น้ำที่ไตมากขึ้น ระดับออสโมลาริตี้ในพลาสมา (plasma osmolarity) จึง เพิ่มขึ้นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) มีการหลั่งของ VP ออกมาผิดปกติทำให้มีการขับน้ำออกมา ลดลง เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ และมีออสโมลาริตี้ในพลาสมา (plasma osmolarity) ต่ำ ปัสสาวะเข้มข้น ออสโมลาริตี้ในปัสสาวะ (urine osmolarity) จะสูง มีน้ำคั่งในร่างกายมาก ทำให้เกิดภาวะ water intoxication

20 อาการและการรักษา อาการ การรักษา
ทำให้มีอาการน้ำคั่งในร่างกาย สมองบวมน้ำ โซเดียมในซีรัมลดลง (hyponatremia) อ่อนเพลีย สับสน ซึม การรักษา รักษาโดยให้ hypertonic solution หากผู้ป่วยมี อาการซึม ชัก หมดสติ ให้ช้าๆ เพิ่มโซเดียม จำกัดน้ำ และให้ยา

21 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะไม่สมดุลของน้ำและอิเลคโตรลัยท์เนื่องจากมีภาวะน้ำเกิน ประเมินอาการและอาการแสดงของการได้รับน้ำเกิน เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ระดับการรู้สติเปลี่ยนไป ฟังปอดได้ยินเสียง ralse ผลถ่ายภาพรังสีปอดพบมีน้ำคั่งในปอด (pulmonary edema) ระดับโซเดียมลดต่ำลง มีค่าออสโมลาริตี้ในซีรัม (serum osmolarity)ลดลง ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะลดลง เหนื่อยหอบ นอน ราบไม่ได้ ไอมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู บวมที่ปลายมือปลายเท้า หลอดเลือดดำบริเวณคอโป่ง (necked vein engorged) บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และหากมีภาวะ water intoxication สามารถ บันทึกได้ทุก 1-2 ชั่วโมง จำกัดน้ำตามแผนการรักษาและดูแลการได้รับ Hypertonic solution ตาม แผนการรักษา บันทึกสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา

22 Thyroid gland

23 HPT-Axis

24 ความผิดปกติของโรคต่อมไทรอยด์
ความบกพร่องในการทำหน้าที่สร้างหรือหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน และอาจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและขนาด ของต่อมไทรอยด์ได้ ระดับฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ (hypothyroidism) ระดับฮอร์โมนมากกว่าปกติ (hyperthyroidism) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร อุณหภูมิของร่างกาย การใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อ และการ เปลี่ยนแปลงของระบบประสาท

25 ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ (hypothyroidism)
ไม่มีเนื้อต่อมที่จะสร้าง Thyroxine หรือเนื้อเยื่อต่อมมีน้อย เกิดตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดา เรียกว่า cretinism ทำให้มีความผิดปกติของการเจริญเติบโต คือ จะเจริญเติบโตช้า มีลักษณะเฉพาะเป็นเด็กแคระแกร็น ในวัยผู้ใหญ่ เรียกว่า ภาวะ Myxedema เกิดจากต่อมไทรอยด์ถูกทำลายจากการถูกตัดออก หรือการ ฝ่อของต่อมไทรอยด์เอง Thyroiditis การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบชนิดเฉียบพลัน (acute thyroiditis) การอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน (subacute thyroiditis) เกิดภายหลังการติดเชื้อไวรัสของระบบ ทางเดินหายใจ หรือคางทูม การอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic thyroiditis) การอักเสบจะเป็นๆหายๆ เชื่อว่า เกิดจากปฏิกิริยาออโตอิมมูน (autoimmune) เรียกการอักเสบ ชนิดนี้ว่า Hashimoto’s thyroiditis การอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาออโตอิมมูนแต่เป็นการอักเสบเรื้อรังที่ทำให้เกิดเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้ต่อมแข็ง และโต เรียกว่า Riedel’s thyroiditis

26 ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ (hypothyroidism)
คอพอก (Goiter) จากการขาดธาตุไอโอดีน แบ่งออกเป็น คอพอกธรรมดา (simple goiter) หรือคอพอกชนิดเอนเดอร์มิก (endermic goiter) เป็นการขยายใหญ่ของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้าง Thyroxine hormone ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ของร่างกาย คอพอกชนิด Sporodic goiter เป็นคอพอกที่เกิดจากความผิดปกติ ของการสร้าง Thyroxine hormone จากอาหารที่รับประทาน หรือยาที่ขัดขวางการสร้าง Thyroxine หรือความบกพร่องใน กระบวนการสร้างฮอร์โมน

27 สาเหตุ เกิดจากต่อมไทรอยด์ไม่เจริญมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาเป็นผลจากกรรมพันธุ์ แม่ที่ เป็นโรคของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland) หรือผู้ที่รักษาด้วยยาต้านไทรอยด์ (anti-thyroid drug) หรือได้รับสาร กัมมันตภาพรังสีในการรักษาขณะตั้งครรภ์ หรือเกิดจากมารดาที่ขาดธาตุไอโอดีนใน อาหาร ส่วนในผู้ใหญ่สาเหตุเกิดจากการทำผ่าตัดเอาเนื้อต่อมออก หรือจากการเป็น มะเร็งของต่อมไทรอยด์ การขาดฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ ซึ่งพบในกลุ่มโรค Sheehan’s syndrome กระบวนการปฏิกิริยาออโตอิมมูนของร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ (antibody) มาทำลายเนื้อเยื่อของต่อม หรือเกิดการอักเสบขึ้นจากการติดเชื้อ ไวรัสและแบคทีเรียพวก streptococcus

28 สาเหตุ ความบกพร่องในการสังเคราะห์ Thyroid hormone
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์กเอง มีความผิดปกติสังเคราะห์ฮอร์โมนออกมา น้อย ทำให้ Thyroid Stimulating Hormone; TSH เพิ่มขึ้น ภาวะคอพอกที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น (endemic goiter) จากการ รับประทานไอโอดีนเข้าไปไม่เพียงพอ จากการขาดไอโอดีนในอาหารและน้ำ พบในที่ห่างไกลทะเล หรือการดูดซึมของลำไส้ไม่ดี การรับประทานอาหารที่เป็น สารก่อคอพอก (goitrogens) มากเกินไป พบในกะหล่ำปลี หัว ผักกาด ยาต้านไทรอยด์ การมีธาตุไอโอดีนในปริมาณมาก จะไปขัดขวางการสังเคราะห์ และการหลั่ง thyroid hormone

29 อาการและอาการแสดง ระบบหลอดเลือดและหัวใจ : ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง ซึ่งสัมพันธ์กับความ ช้าลงของการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว (peripheral vasoconstriction) ทำให้ผิวหนังเย็น หัวใจเต้น ช้า(bradycardia) ชีพจรเบา เนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) ลดลง ความดันโลหิตต่ำ (hypotension) เส้นเลือดเปราะ แตกง่ายและขาดความยืดหยุ่น ระบบทางเดินอาหาร : ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง เกิดภาวะท้องผูก (constipation) parietal cells ฝ่อ ความอยากอาหารลดลง แต่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การดูดซึมอาหารและยาจะช้ากว่าปกติ

30 อาการและอาการแสดง ระบบผิวหนัง : ทำให้เกิดการสะสมของ Hyalurobic acid ทำ ให้เกิดการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้บวมฉุ กดไม่บุ๋ม เนื้อเยื่อ กล่องเสียงบวม ทำให้เสียงแหบ ลิ้นบวมคับปาก ผมแห้ง ร่วงง่าย และยาวช้า กว่าปกติ ผิวหนังแห้งเพราะต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานน้อย ผิวซีด ระบบประสาท : การขาด thyroid hormone ในเด็กแรกเกิด ทำให้ระบบประสาทของเด็กจะไม่เจริญ กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน ในผู้ใหญ่ จะพบไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ความคิดช้า เฉื่อยชา ซึมเซา หูตึง จากประสาทเสื่อม อาจพบตามองไม่เห็นเวลากลางคืน (Night blindness) กล้ามเนื้อคลายตัวช้า เกิดตะคริวได้ง่าย เวลาอากาศเย็น

31 อาการและอาการแสดง ระบบผิวหนัง : ทำให้เกิดการสะสมของ Hyalurobic acid ทำ ให้เกิดการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้บวมฉุ กดไม่บุ๋ม เนื้อเยื่อ กล่องเสียงบวม ทำให้เสียงแหบ ลิ้นบวมคับปาก ผมแห้ง ร่วงง่าย และยาวช้า กว่าปกติ ผิวหนังแห้งเพราะต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานน้อย ผิวซีด ระบบประสาท : การขาด thyroid hormone ในเด็กแรกเกิด ทำให้ระบบประสาทของเด็กจะไม่เจริญ กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน ในผู้ใหญ่ จะพบไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ความคิดช้า เฉื่อยชา ซึมเซา หูตึง จากประสาทเสื่อม อาจพบตามองไม่เห็นเวลากลางคืน (Night blindness) กล้ามเนื้อคลายตัวช้า เกิดตะคริวได้ง่าย เวลาอากาศเย็น

32 อาการและอาการแสดง ระบบหายใจ ทำให้มีน้ำคั่งในปอด (Pleural effusion, ภาวะออกซิเจนต่ำในกระแสเลือด (Hypoxia) ระบบกระดูก ทำให้บริเวณปลายของกระดูก (epiphyseal plate) ในเด็กเกิดมีแคลเซียมมาเกาะ (ossification) การ เจริญของกระดูกช้า ทำให้เด็กตัวเตี้ยแคระ กระบวนการเผาผลาญอาหาร ทำให้อุณหภูมิของร่างกายต่ำลง (hypothermia) ทนต่ออากาศหนาวไม่ได้ ระดับคลอ เรสเตอรอลสูง (hypercholesteronemia) ประจำเดือนผิดปกติ

33 อาการและอาการแสดง หากผู้ป่วยได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง หรือขาดการรักษา ต่อเนื่องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของ myxedema คือ myxedema coma หลอดเลือดตีบแคบจากไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว มีคาร์บอนไดออกไซค์คั่งในเลือด อุณหภูมิของร่างกายต่ำ หายใจช้า และอาจตายได้

34 การประเมินสภาวะสุขภาพ
การซักประวัติของผู้ป่วยด้านต่างๆ อุปนิสัยการบริโภคอาหาร ไม่บริโภคอาหารทะเล ชอบรับประทานผักดิบ ประเภทกระหล่ำปลี หัวผักกาด สตรอ เบอรี่ เป็นประจำ ถิ่นที่อยู่เดิม เป็นที่ห่างไกลทะเล หรือขาดแคลนแร่ธาตุไอโอดีน ประวัติการเจ็บป่วย อาจพบว่า เคยมีอาการต่อมไทรอยด์อักเสบ (thyroiditis) เคยเป็นโรคต่อม ไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) และได้รับการรักษาโดยการรับประทานยาต้านไทรอยด์ (anti-thyroid drug) เป็นเวลานาน ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (thyroidectomy) ออก หรือได้รับการฉายรังสี หรือการกลืนสารกัมมันตภาพรังสีไอโอดีน เคยตกเลือดหลังคลอด และต่อจากนั้นก็ ไม่มีประจำเดือนอีกเลย ซักถามถึงอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ การกลืนอาหารลำบาก ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ภาวะคอโต น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ภาวะท้องผูก บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

35 การประเมินสภาวะสุขภาพ
ประสาทและกล้ามเนื้อ ตรวจดู reflex ของกล้ามเนื้อและเอ็น จะพบว่า กล้ามเนื้อคลาย ตัวช้ากว่าปกติ (Hung up reflex : ภาวะ slow reflex ของ deep tendon reflex) ตำแหน่งที่เห็นชัดที่สุด คือ ankle reflex

36 การประเมินสภาวะสุขภาพ
การตรวจสัญญาณชีพ (Vital signs) พบว่า ชีพจรจะ เบา ช้า ความดันโลหิตลดลง หายใจช้า อุณหภูมิของร่างกาย ต่ำกว่า 24 oC ระบบย่อยอาหาร เสียงการเคลื่อนไหวของ bowel sound ลดลง เคาะได้ยินเสียงโปร่ง ท้องผูก (constipation) แน่นอึดอัด น้ำหนักตัวเพิ่ม

37 การประเมินสภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษ Serum Thyroxine test= T4 Serum Triiodothyronine test = T3 การหาค่าคลอเรสเตอรอล (cholesterol) การวัดระดับ TSH การหาค่าการจับของไอโอดีนกับโปรตีนในซีรั่ม (Protien Bound Iodine; PBI) การวัดค่าไอโอดีนของไทรอยด์ฮอร์โมน (Butanol Extraction Iodine= BEI) การวัดการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ (Radioactive Iodine Uptake; RAIU)

38 การรักษา ในรายที่เนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ถูกทำลาย หรือไม่มีเนื้อเยื่อต่อมในการสร้าง Thyroxine จะต้องให้ Thyroxine เข้าไปทดแทน เช่น Levothyroxine, Synthroid ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบ ของ Thyroxine (Synthetic isomer of T4) ในรายที่เกิดภาวะ Hypothyroidism จากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ ให้ยาในกลุ่ม steroid เพื่อลดการอักเสบ ให้นอนพักและได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ในรายที่เป็นคอพอกธรรมดา มักจะไม่จำเป็นต้องรักษาถ้าไม่เกิดอาการผิดปกติ เพียงแต่ให้รับประทานอาหารที่มีไอโอดีน ปกติควรได้รับวันละ g

39 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสน/พลัดตกหกล้ม เนื่องจากระดับไทรอยด์ฮอร์โมนลดต่ำลง สังเกต บันทึกระดับความรู้สึกตัว (neuro signs) และสัญญาณชีพ (vital signs) ทุก 1-4 ชั่วโมงตามอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และควรได้รับการแก้ไขได้ทันท่วงทีเมื่อเกิด การเปลี่ยนแปลงดังนี้ ความดันโลหิตลดต่ำลงกว่าปกติ ชีพจรเบาและช้า การหายใจช้า อุณหภูมิของ ร่างกายต่ำกว่าปกติมาก กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น โดยให้ทำกิจกรรมช้าๆ เพื่อไม่ให้เหนื่อยเกินไป และป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของระบบไหลเวียนโลหิต รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าของโรค ดูแลอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ พร้อมทั้งสังเกตและบันทึกสภาพจิตใจ ภาวะซึมเศร้า ความสนใจต่อ สิ่งแวดล้อม และอาการทางระบบประสาท ยกไม้กั้นเตียงขึ้นก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง ผูกมัด ถ้าจำเป็น ดูแลให้ได้รับยาเพื่อให้ระดับ Thyroid hormone อยู่ในระดับปกติ เพื่อให้การเผาผลาญ ดีขึ้น สังเกตและบันทึกความผิดปกติจากผลข้างเคียงของยา คือ อาการเหนื่อย หายใจลำบาก เจ็บ หน้าอกเนื่องจากการเผาผลาญเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาจเกิด อาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ มีผื่นตามผิวหนัง

40 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการคั่งของน้ำระหว่างเซล/ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง เนื่องจากการ ไหลเวียนของเลือดช้าลง/มีการคั่งของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด สังเกตอาการบวมของผู้ป่วย บันทึกจำนวนน้ำดื่มและปัสสาวะ จำนวนปัสสาวะจะออกมากขึ้น ภายหลังจากได้รับฮอร์โมนชดเชย ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อทราบความก้าวหน้าในการลดอาการบวม ในรายที่เป็นรุนแรง อาจจะต้องให้ยาขับปัสสาวะ (diuretic drug) หลังให้ยาควรสังเกต และบันทึกจำนวนปัสสาวะ และสังเกตอาการขาดโปรแตสเซียมจากการได้รับยาขับปัสสาวะ และให้ รับประทานโปแตสเซียมทดแทนจากผลไม้จำพวกกล้วย ส้ม เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เพราะจะทำให้เกิดอาการบวม และน้ำหนักเพิ่ม สังเกตอาการคั่งของน้ำในช่องอก จากการฟังเสียงปอด การหายใจ อาการหอบเหนื่อยจากลักษณะ การหายใจ หากพบเสียงแทรก เช่น wheezing หรือ crepitation บันทึกอาการและ รายงานแพทย์เพื่อแก้ไข สังเกต และบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการคั่งของน้ำในช่องท้อง ผู้ป่วยจะมีอาการแน่น อึด อัด ทำให้หายใจตื้น จัดให้นอนท่าศีรษะสูงเล็กน้อย (semifowler’s position)

41 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะขาดการสมดุลของน้ำ อิเลคโตรลัยท์และสารอาหาร เนื่องจากได้รับอาหาร น้อยเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ดูแลให้ได้รับอาหารทีมีแคลอรี่ต่ำ ให้อาหารโปรตีนสูง วิตามินสูงโดยเฉพาะวิตามินเอ ลักษณะอาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย จำกัดจำนวนแคลอรี่ให้ประมาณไม่เกิน 1,300 แคลอรี่ สังเกตและจำกัดกิจกรรมของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อลดการใช้พลังงานที่มากเกินไป ในรายที่เบื่ออาหาร ควรกระตุ้นให้รับประทานอาหารครั้งละน้อย มีอาหารเสริมระหว่างมื้อให้ เช่น น้ำผลไม้ นม การย่อยและการดูดซึมช้า อาจต้องให้วิตามินเพิ่ม เช่น วิตามินบี 12 และจากการสร้าง กรดในกระเพาะอาหารลดลง และเซลในกระเพาะอาหารฝ่อ เซลกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด แดงลดลง

42 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะท้องผูก/แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง และมีการคั่งของของเสียใน ร่างกายเนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้และการเผาผลาญอาหารลดลง ป้องกันอาการท้องผูก หรือการมีอุจจาระแข็งติดค้าง โดยกระตุ้นให้รับประทานอาหารที่มี กาก เช่น ผักและผลไม้ที่มีเส้นใย และดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว กระตุ้นให้ได้ขับถ่ายเป็น เวลาทุกวัน และติดตามผล หากไม่ได้ผล ในบางรายอาจต้องให้ยาระบาย เพื่อบรรเทาอาการ ในรายที่มีโรคหัวใจแทรกซ้อน ควรหลีกเลี่ยงการเบ่ง หรือการสวนอุจจาระ เพราะเป็นการ กระตุ้นเส้นประสาทวากัส (vagus nerve) ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเกิด อันตรายได้ ในรายที่มีภาวะ Hypothyroidism ไม่มาก หรือไม่มีอาการแทรกซ้อนจาก โรคหัวใจ แนะนำให้มีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม

43 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร เช่น ลิ้นคับปาก หูตึง ประสาทเสื่อม ความคิด ล่าช้า เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค ให้เวลาผู้ป่วยในการคิด การตอบคำถาม การทำกิจกรรมต่างๆ อธิบายในสมาชิกในครอบครัวยอมรับ และเข้าใจถึงบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นว่า เป็นเพราะขาด ไทรอยด์ฮอร์โมน หากได้รับไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทนอาการก็จะทุเลาลง การสื่อความหมายกับผู้ป่วย ควรพูดช้าๆ ชัดๆ บางครั้งอาจต้องพูดซ้ำๆ หรือใช้คำพูดที่สั้น เข้าใจง่าย อธิบายซ้ำและประเมินว่า ผู้ป่วยมีความเข้าใจเพียงใด โดยประเมินจากการ ซักถาม

44 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับไปอยู่บ้านเนื่องจากพร่องความรู้/ขาดความรู้ในการ ปฏิบัติตัวในการกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้รักษาความสะอาดของผิวหนัง เนื่องจากผิวหนังหยาบ แห้งและแตก ให้อาบน้ำโดยใช้สบู่อ่อนๆ ไม่ควรอาบน้ำอุ่น เพราะจะทำให้ผิวแห้งแตกมากยิ่งขึ้นและควรทาผิวด้วย โลชั่น/ครีม ระมัดระวังการเกิดแผลกดทับตามปุ่มกระดูก เนื่องจากน้ำหนักตัวมาก เคลื่อนไหวน้อย และมีอาการ บวมจากการคั่งของน้ำระหว่างเซล แนะนำการรับประทานอาหาร ควรเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินครบถ้วน และมีแคลอรี่ต่ำ ควรรับประทานอาหารประเภทกากใย เพื่อป้องกันภาวะท้องผูกและลดการเบ่งถ่าย แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุไอโอดีน อาหารทะเล เช่น ปลาทะเล กุ้งทะเล หอย อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเกลือไอโอดีน น้ำปลาผสมไอโอดีน งดการรับประทานผักดิบ พวกกะหล่ำปลี หัวผักกาด ถ้าต้องการรับประทานควรต้ม หรือลวกให้สุกก่อน

45 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับไปอยู่บ้านเนื่องจากพร่องความรู้/ขาดความรู้ในการปฏิบัติ ตัวในการกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวและลดการคั่งค้างของอุจจาระในลำไส้ หากมีอาการเบื่ออาหาร ควรจัดให้รับประทานอาหารแต่น้อย บ่อยครั้ง แนะนำให้สังเกตอาการจากฤทธิ์ข้างเคียงของยาในกลุ่ม thyroid hormone คือ มีการเปลี่ยนแปลง ทางอารมณ์ การเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (tachycardia) หรือช้ากว่าปกติ (bradycardia) หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์ ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำ หากน้อยเกินไปจะทำให้เกิด Hypothyroidism คือ หัวใจเต้นช้าลง ท้องผูก ผิวหนังแห้ง หยาบ รับประทานอาหารได้น้อย สิ่งเหล่านี้ผู้ป่วยและ/หรือผู้ดูแล จะต้องคอยสังเกตอาการ หากมีการเปลี่ยนแปลงควรไปพบแพทย์ก่อนนัด ห้ามซื้อรับประทานเอง หลีกเลี่ยงการ ใช้ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท เพราะจะกดศูนย์หายใจและทำให้หมดสติได้ สภาพแวดล้อม อุณหภูมิของห้องควรอบอุ่นเพียงพอ สวมเสื้อผ้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ ดื่มน้ำอุ่น ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรค และการเปลี่ยนแปลงขนาดของยาให้ เหมาะสมกับอาการของโรค ผู้ดูแล/ญาติควรให้การช่วยเหลือและมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงด้านการพูด การรับรู้ คือ พูดไม่ชัดจาก ลิ้นโต กล่องเสียงบวม หูตึงจากมีความผิดปกติของระบบประสาท อาการมึนงง เดินเซ จากกล้ามเนื้ออ่อนกำลัง

46 ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติ (hyperthyroidism)
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิต Thyroxine hormone มากกว่าปกติ ทำให้ระดับของฮอร์โมนกระจายอยู่ในกระแส เลือดและเข้าสู่เซล ซึ่งหน้าทีสำคัญ คือ เร่งกระบวนการเมตาบอ ลิสม (metabolism) ทำให้เกิดการสลายสารอาหารที่ สะสมไว้ในรูปของ glycogen ออกมาเป็นพลังงาน

47 ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติ (hyperthyroidism)
เกิดจากปฏิกิริยาอิมมูนของร่างกาย (autoimmune) เรียกว่า Graves’s disease เป็นภาวะที่มี Thyroid hormone มากกว่าปกติมีลักษณะเฉพาะโรค คือ มี Thyroid hormone สูง ตัว ต่อมไทรอยด์โต และมีอาการตาโปน (exophthalmos)

48 ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติ (hyperthyroidism)
เกิดจากการได้รับไอโอดีนมาก เรียกว่า Plummer’s disease หรือ เรียกว่า คอพอกเป็นพิษชนิดมัลติโนดูลาร์ (Toxic Multinodular Goiter) เกิดจากการได้รับ ไอโอดีนมากเกินไป ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้สร้าง Thyroxine ออกมามากผิดปกติ เกิดจากเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ เรียกว่า Thyroid nudolar เป็นโรคที่การสร้าง Thyroid hormone ไม่ อยู่ภายใต้การควบคุมของ TSH จากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ทำให้ต่อมไทรอยด์โต

49 สาเหตุ เกิดจากภาวะ Autoimmune กระตุ้นให้มีการหลั่ง Thyroid hormone ออกมามาก โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการควบคุมของ TSH เชื่อกันว่า มี สาเหตุจากกรรมพันธุ์ และเกิดร่วมกับโรค Addison’s disease และเบาหวาน เกิดจากความเครียดของร่างกาย การติดเชื้อ หญิงตั้งครรภ์ ความเครียดทางอารมณ์ เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์นาน (Long Action Thyroid Stimulating; LAST) ทำให้ต่อมไทรอยด์หลั่ง ฮอร์โมนออกมามาก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของคอพอกชนิดธรรมดา (Simple goiter) มีการสร้าง เซลของต่อมเพิ่มขึ้น (Hyperplasia) เกิดจากการได้รับการฉายแสงบริเวณคอและอก จนทำให้เกิดมะเร็งของต่อมไทรอยด์ชนิด papillary เกิดมะเร็งของต่อมไทรอยด์ในเวลาต่อมา

50 อาการและอาการแสดง อาการที่เกิดจากผลของ Thyroxine ที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดทำให้ กระบวนการเผาผลาญเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อระบบต่างๆ คือ การเผาผลาญสูงไปด้วย เนื้อเยื่อต่างๆต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำให้รับประทานจุ น้ำหนักตัวลด การเคลื่อนไหวของลำไส้เพิ่มขึ้น ถ่ายอุจจาระวันละหลายรอบ การเผาผลาญสูง ความต้องการใช้ออกซิเจนทำให้หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น หัวใจจะเต้นแรง เร็ว บางรายอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (cardiac arrhythmia) และหัวใจ วายในที่สุด ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac outpout) จะ เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยจะพบ systolic pressure สูงกว่าเดิม แต่ diastolic pressure จะปกติหรือลดลงจากเดิมเล็กน้อย มีการขยายตัวของ หลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vasodilation) ทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น

51 อาการและอาการแสดง ตาโปน (exophthalmos) เกิดจากการมีสารพวกไขมัน (fat), mucopolysaccharide และ Lymphocytes ไปเกาะที่ด้านหลังของ ลูกตา(eye ball) จึงทำให้บวม และดันลูกตาให้โปนออกมามากกว่าปกติ 10 เท่า ปิดเปลือกตาไม่สนิทจึงเกิดภาวะ cornea ulcer จากตาดำแห้ง อาการทางระบบประสาท ผู้ป่วยจะขาดสมาธิในการทำงาน นั่งนิ่งๆ เฉยๆไม่ได้ ขยับไปมา ตลอดเวลา มือและตัวสั่น หงุดหงิด ฉุนเฉียว ตื่นตกใจง่าย นอนหลับยาก อาการผิดปกติอื่นๆ ในผู้หญิงจะพบมีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนออก น้อย หากขาดการควบคุมอาการของโรคก็จะทำให้มีการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ความดัน โลหิตสูงมาก เจ็บอกจากหัวใจขาดเลือด ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ อุณหภูมิร่างกาย สูงมากกว่า 40 oC ความรู้สึกสับสน เหงื่อออก เสียน้ำและไม่รู้สึกตัวซึ่งเป็น ภาวะวิกฤตของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Crisis) ต้องรีบแก้ไข

52 อาการและอาการแสดง อาการที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ขยายขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้เกิด อาการดังนี้ ก้อนเนื้องอกที่โตขึ้นจะกดอวัยวะข้างเคียง คือ หลอดลม หลอด อาหาร และเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียง (Recurrent branch of Laryngeal nerve) ทำให้หายใจ ลำบาก กลืนอาหารลำบาก และเสียงแหบแห้ง ในรายที่เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรง (Thyroid Carcinoma) จะทำให้มีการแพร่กระจายของเซลมะเร็งไปยัง ต่อมน้ำเหลืองที่คอ

53 การประเมินสภาวสุขภาพ
การซักประวัติ ซักประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคคอพอกชนิดธรรมดา (simple goiter) คอพอกชนิดเป็นพิษ หรือโรคทางออโตอิมมูน เช่น Addison’s disease โรคเบาหวาน ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ระยะเวลาที่เริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง อาการ เปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น คอโต น้ำหนักลด ตกใจง่าย หงุดหงิด นอนหลับยาก แต่ตื่น ง่าย การตรวจร่างกาย การตรวจโดยการคลำขนาดของต่อมไทรอยด์ เสียง Thrill ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของ systolic pressure และ diastolic pressure คล้ายเสียงการเต้นของหัวใจ เสียง Bruit เกิดจากเส้นเลือดบริเวณที่มาเลี้ยงที่ต่อมเพิ่มมากขึ้น การตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด ตรวจสอบจากสัญญาณชีพ

54 การประเมินสภาวสุขภาพ
การตรวจกล้ามเนื้อและระบบประสาท จะพบว่า มีภาวะ Hypereflexia ตกใจง่าย อารมณ์อ่อนไหว กระวนกระวาย นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง มือสั่น การตรวจระบบผิวหนัง พบว่า ผิวหนังจะอุ่น ผิวละเอียดนุ่ม ชุ่มชื้น การตรวจระบบทางเดินอาหาร ฟังเสียง Bowel sounds พบว่า มีการเคลื่อนที่ของ ลำไส้มากกว่าปกติ น้ำหนักลดลงจากเดิม การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่างๆ การหาระดับ Thyroxine (T4) การหาค่า Triiodothyronine (T3) การหาค่า Thyroid Antibody Test การจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ (scanogram) เพื่อดูขนาด รูปร่าง และการทำงาน การตรวจชิ้นเนื้อของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Biopsy) อัตราการเผาผลาญพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate; BMR)

55 การรักษา การรักษาด้วยยา คือ ยาต้านไทรอยด์
ขัดขวางการสังเคราะห์ฮอร์โมน (Inhibitors of Biosynthesis) ยาที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ Propilthyouracil; PTU, Methimazole ยานี้จะขัดขวางการสังเคราะห์ ไทรอยด์ฮอร์โมน ขัดขวางการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ยาที่ใช้ คือ ไอโอดีน การให้ไอโอดีนในปริมาณปกติจะช่วย สังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน แต่ถ้าให้ในขนาดสูงๆ จะมีผลยับยั้งการทำงานของต่อม ยาที่ใช้ได้แก่ Potassium Iodide การรักษาด้วยการทำผ่าตัด โดยการทำผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน (Subtotal Thyroidectomy) ในผู้ป่วยมีก้อนเนื้องอก หรือต่อมโต เพื่อลดการสร้าง Thyroxine ส่วนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ อาจต้องผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออก ทั้งหมด (Total Thyroidectomy) ซึ่งสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ คือ Thyroid Crisis ภาวะเลือดออกใต้แผลผ่าตัด Thyroid strom และเสียงแหบ

56 การรักษา(ต่อ) การรักษาด้วยรังสี (Radioactive Iodine) เพื่อทำลายเนื้อเยื่อของ ต่อมไทรอยด์โดยเฉพาะ Parenchymal cell แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อ รอบๆต่อม ใช้รักษา Graves’s disease , Nodular Toxicgoiter และมะเร็งของต่อมไทรอยด์ที่แพร่กระจาย (Metastasis Thyroid Cancer) และใช้รักษาภายหลังการทำ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์

57 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากการเผาผลาญอาหาร ในร่างกายสูง ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยจัดอาหารเพิ่มให้เป็นวันละ 6 มื้อ เนื่องจากผู้ป่วยจะ รู้สึกหิวบ่อย ควรดูแลให้ได้รับอาหารที่ย่อยง่าย สามารถดูดซึมได้ดี กากใยน้อย ทำให้เกิดการระคายเคือง ต่อเยื่อบุทางเดินอาหารน้อย และไม่เป็นอาหารที่กระตุ้นการขับถ่าย หรืออาหารที่ทำให้เกิด แก๊ส เนื่องจากจะเพิ่มการทำงานของลำไส้ และกระตุ้นให้ถ่ายอุจจาระ ชั่งน้ำหนักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถ้าน้ำหนักลดลงควรเพิ่มอาหารให้มากขึ้นในแต่ละ มื้อ ดื่มน้ำมากๆ วันละ 3,000 ml เนื่องจากผู้ป่วยจะเสียน้ำออกทางเหงื่อจากอัตราการ เผาผลาญสูง

58 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแผลที่ตาดำ เนื่องจากตาโปนและเปลือกตาปิดไม่ สนิท จัดท่านอนศีรษะสูง (fowler’s position) เพื่อลดอาการบวมรอบๆเบ้าตา และ จำกัดอาหารลดเค็ม ป้องกันอาการบวม แนะนำให้สวมแว่นตาดำเพื่อป้องกันลม ฝุ่นละออง และแสงแดดจ้า หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ ลมแรง หรือแสงจ้า ใช้ยาหยอดตา เพื่อป้องกันตาแห้ง ควรป้ายตาด้วยขี้ผึ้งป้ายตา และใช้ผ้า gauze สะอาดปิดตาเวลาหลับ และติดด้วยพลาสเตอร์ในรายที่เปลือกตาปิดไม่สนิท แนะนำให้บริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตา โดยการกลอกตาไปมา วันละหลายๆครั้ง ในรายที่ตาดำแห้งมาก หรืออาจเกิดการติดเชื้อ ควรให้แพทย์รักษาเพื่อป้องกันอันตราย

59 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจาก หัวใจในหนึ่งนาทีเพิ่มขึ้นและร่างกายต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ตรวจสอบสัญญาณชีพ เพื่อประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ ลักษณะและจังหวะการเต้นของ หัวใจและชีพจร (sleeping pulse) ความดันโลหิต ลักษณะอัตราการหายใจ และอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง และลงบันทึกไว้สังเกตอาการเปลี่ยนแปลง ให้ความรู้ แนะนำ เกี่ยวกับอาการของโรค และแจ้งให้พยาบาลทราบเมื่อมีอาการ เปลี่ยนแปลง เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หน้ามืด มึนงง ลดภาวะเครียด และการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาวะของโรค รับฟังปัญหาความ ไม่สุขสบายต่างๆของผู้ป่วยและแก้ปัญหาให้ หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อลดการใช้เมตาบอลิสม และการทำงานของหัวใจ

60 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง เนื่องจากหลับยาก ตื่นตกใจง่าย และมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง รวบรวมข้อมูลเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับและขจัดสาเหตุ แนะนำวิธีที่ทำให้คลายความตึงเครียด ด้วยการอาบน้ำให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง จะทำให้ผู้ป่วยสดชื่น เพราะผู้ป่วยทนอากาศร้อนไม่ได้ และมีเหงื่อออกมาก การอ่านหนังสือ เบาสมอง ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง และเล่นเกมส์ ตามความเหมาะสมที่จะทำให้เพลิดเพลินและ อารมณ์ดี จัดสิ่งแวดล้อมให้รู้สึกสบาย และเงียบสงบ อากาศถ่ายเทดี ไม่ร้อน และพยาบาลไม่รบกวน ผู้ป่วยขณะหลับ จัดกิจกรรมให้ผู้ปวยปฏิบัติในเวลากลางวัน แนะนำให้ผู้ดูแล/ญาติของผู้ป่วยทราบถึง ลักษณะของโรคที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน จิตใจและอารมณ์ เพื่อไม่ให้ญาติรบกวนจนผู้ป่วยไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

61 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถควบคุมระดับของไทรอยด์ ฮอร์โมนได้/เตรียมตัวไม่ดี/ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด สังเกตและบันทึกสัญญาณชีพ ภายหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะความดันโลหิตและชีพจร หากเกิดภาวะเลือดออก ใต้แผลผ่าตัด ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย ตะแคงหน้า/ศีรษะไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หากผู้ป่วยไม่สามารถไอเอาเสมหะ ออกมาได้ อาจต้องใช้เครื่องดูดเสมหะ หรือสาเหตุอาจเกิดจากการมีเลือดออกและกดทับหลอดลม สังเกตและบันทึกอุณหภูมิของร่างกาย เนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น จะกระตุ้นกระบวนการเผา ผลาญให้เพิ่มมากขึ้นจนเกิดภาวะ Thyroid crisis ได้ ซึ่งพยาบาลควรเช็ดตัวลดไข้ และให้ดื่มน้ำ เพื่อ ลดอุณหภูมิของร่างกาย สังเกตและบันทึกจำนวนเลือดที่ออกจากบาดแผล ทั้งที่ซึมผ้า gauze และจำนวนเลือดที่ระบายออกทาง ขวดสูญญากาศ สังเกตภาวะ Thyroid crisis ผู้ป่วยจะเกิดอาการในระยะแรกๆ ภายใน 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด โดยจะมี อาการไข้สูง ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้อาเจียน กระสับกระส่าย เหงื่อออก อาการท้องเสีย อาจมีภาวะ ขาดน้ำ ไม่รู้สึกตัว บทบาทของพยาบาลควรต้องลดอุณหภูมิร่างกายลงด้วยการเช็ดตัวจนกว่าไข้จะลง เพราะถ้า ไข้สูงจะทำให้การเผาผลาญร่างกายเพิ่มขึ้น การใช้ Thyroxine จะเพิ่มขึ้น

62 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถควบคุมระดับของไทรอยด์ ฮอร์โมนได้/เตรียมตัวไม่ดี/ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด สังเกตและบันทึกอาการผิดปกิตของการชาตามปลายมือปลายเท้า หรืออาการมือจีบ (Obstetrician’s Hand) และอาการตะคริว ซึ่งเกิดจากการตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกไป ทำให้ การควบคุมแคลเซียมในร่างกายผิดปกติ คือ ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง อาการนี้จะเกิดภายหลังจากการ ผ่าตัด 1-7 วัน สังเกตอาการเสียงแหบ หรือไม่มีเสียง ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของ recurrent branch of Laryngeal nerve หรือเกิดจากการบวมของกล่องเสียง (vocal cord) สังเกตได้จากการพูด ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด จะพบว่า เสียงแหบ หรือพูดไม่มีเสียง ในกรณีที่เกิดจากการกระทบกระเทือนของกล่อง เสียง และการบวมของกล่องเสียงและสายเสียง จะเกิดเสียงแหบ/พูดไม่มีเสียง และอาการจะทุเลาภายใน 1- 2 สัปดาห์ สังเกตและบันทึกอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื่องจากการตัดต่อมไทรอยด์ออกหมด หรือเหลือไว้เป็นส่วนน้อย ทำใหผู้ป่วยอาจมีอาการเฉื่อยชา เซื่องซึม หงุดหงิดง่าย พูดช้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อุณหภูมิร่างกายต่ำ ชีพ จรเต้นช้า ความดันโลหิตสูง ทนต่ออากาศเย็นไมได้ ผิวหนังหยาบ อาการเหล่านี้จะไม่เกิดอย่างทันทีทันใด

63 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยรังสี เนื่องจากขาด ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อรับการรักษาด้วยรังสี อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่า สารกัมมันตภาพรังสีที่ใช้ ในรูปของสารรังสี ไอโอดีน 131 (I131) เป็นของเหลวใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ใช้รักษาโดยการ รับประทาน ผู้ป่วยจะรับประทาน 2-3 ครั้ง I131 จะไหลเวียนไปตาม กระแสเลือด และถูกขับออกทางไต ทางเหงื่อ สารรังสีจะถูกขับออกมาจากร่างกาย ทางเหงื่อ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำลาย อาเจียน และสิ่งต่างๆ ฉะนั้นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆของผู้ป่วย จะต้องแยกต่างหาก และจัดให้ผู้ป่วยนอนในห้องแยกเป็นพิเศษ

64 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยรังสี เนื่องจากขาด ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อรับการรักษาด้วยรังสี ห้ามผู้ป่วยออกจากห้องพักจนกว่าปริมาณรังสีจะหมดไป ฉะนั้น ขณะที่ร่างกายผู้ป่วยมีสาร กัมมันตรังสีอยู่นั้น ผู้ป่วยจะต้องช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด และห้ามผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือเด็กเข้า เยี่ยม แนะนำให้ผู้ป่วยให้ดื่มน้ำมากๆ วันละ 2,000-3,000 ml และรับประทานอาหารอ่อน แคลอรี่สูง แนะนำสังเกตอาการผิดปกติจากผลข้างเคียงของสารรังสีไอโอดีน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว ผู้ป่วยจะกลับบ้านได้ เมื่อปริมาณสารรังสีในร่างกายเหลือน้อยที่สุด หรือหมดไปแล้วจาก เสื้อผ้า สิ่งขับถ่าย เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านจะต้องย้ำถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด อย่างสม่ำเสมอ

65 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
พร่อง/ขาดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินโรคและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้รับการสอน/เตรียมตัวก่อนกลับบ้าน อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดโรค ว่าเกิดจากความ ผิดปกติในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีการสร้างมากกว่าปกติจากการ ขาดไอโอดีนเรื้อรัง จากเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายมีการเผา ผลาญเพิ่มข้น ร่างกายต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ขณะที่รับยาต้านไทรอยด์ และยาที่มีส่วนประกอบ ของไอโอดีน แนะนำสังเกตอาการแพ้ยา เช่น ผื่นตามตัว ไข้ เจ็บคอ และ การได้รับยามากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะ hypothyroidism เหล่านี้ เป็นอาการผิดปกติที่ผู้ป่วยต้องสังเกตเพื่อรายงานทีม รักษาพยาบาล

66 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
พร่อง/ขาดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินโรคและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้รับการสอน/เตรียมตัวก่อนกลับบ้าน ก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต้านไทรอยด์เพื่อให้ระดับของ ไทรอยด์ฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ (euthyroid) เพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด และ 2 สัปดาห์ก่อนการทำผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ควรออกกำลังกายมากเกินไป การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด ต้องสอนวิธีการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ การ พลิกตะแคงตัวหลังผ่าตัดและลุกจากเตียงโดยเร็ว สิ่งที่ต้องสอนเป็นพิเศษ คือ การบริหารคอ เพื่อป้องกันคอแข็งโดยการเอียงคอ ซ้าย-ขวา เริ่มจาก น้อยครั้งและเพิ่มมากขึ้น ให้ก้มและเงยคอ โดยใช้มือประสานไว้บริเวณ ท้ายทอย

67 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
พร่อง/ขาดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินโรคและการปฏิบัติ ตัวที่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้รับการสอน/เตรียมตัวก่อน กลับบ้าน ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hyperthyroidism ควรรับประทานอาหารที่มี โปรตีนสูง แคลอรี่สูง วันละ 4,000-5,000 แคลอรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ มีผลในการกระตุ้นระบบประสาท เช่น ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แนะนำการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ผู้ป่วยนอนหลับในเวลากลางคืนให้ มาก และไม่ควรนอนหลับในเวลากลางวัน

68 Parathyroidsim

69 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroidism)
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) มีหน้าที่สร้างและหลั่งพารา ไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone) ซึ่งจะควบคุมระดับ แคลเซียม ฟอสเฟต และวิตามินดีในร่างกาย ซึ่งทั้งแคลเซียมและฟอสเฟตมี ความสำคัญต่อร่างกายในการเจริญเติบโต สร้างกระดูกและฟัน การแข็งตัวของเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การสร้างน้ำนมในมารดาหลังคลอดบุตร วิตามินดี ร่างกายสามารถสร้างได้เองที่เซลผิวหนัง โดยอาศัยแสง ultraviolet ปกติ ร่างกายต้องการวิตามินดีวันละ 400 ยูนิต มีความสำคัญต่อร่างกายในการดูด กลับของแคลเซียมและฟอสเฟตที่หลอดไตส่วนต้น (proximal tubule) เพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียมออกจากกระดูก กระตุ้นเซลทำลายกระดูก (osteoclasts)

70 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroidism)
Thyrocalcitonin หรือ Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ สร้างจาก parafollicular cells ในต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ ยับยั้งการสลายตัวของกระดูก ยับยั้งการทำงานของเซลทำลายกระดูก (osteoclasts) ช่วยเพิ่มการพอกพูนของแคลเซียมบนกระดูก และลดการดูดกลับของแคลเซียม ฟอสเฟต ทำให้ถูกขับออกทาง ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ซึ่งระดับของแคลเซียมจะมีผลต่อการหลั่งของ calcitonin

71 ภาวะพาราไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ (hypoparathyroidism)
ภาวะพาราไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypoparathyroidism) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับ ของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้ระดับแคลเซียมใน เลือดต่ำ (hypocalcemia) และระดับฟอสเฟตในเลือดสูง (hyperphosphatemia) ทำให้เกิดอาการผิดปกติของ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ คือ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อจะมี ความไวต่อการกระตุ้นมากกว่าปกติ (hyperexcitability) ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก หรือเกร็ง เป็นตะคริว (tetany)ที่มือและเท้า ได้ง่าย

72 สาเหตุ เกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ถูกตัดออก
เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เนื้อเยื่อของต่อมตายเนื่องจากขาดเลือด ไปเลี้ยง เกิดจากการได้รับการฉายรังสีบริเวณคอ ทำให้ต่อมพาราไทรอยด์ถูกทำลาย ไปด้วย เกิดจากความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ เช่น การติดเชื้อ ส่วนมากจะ เป็นเชื้อ Moniliasis ที่ต่อมพาราไทรอยด์ หรือบริเวณใกล้เคียง เกิดจากความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์มาแต่กำเนิด คือ การเจริญของ ต่อมพาราไทรอยด์ไม่สมบูรณ์

73 อาการและอาการแสดง อาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการสำคัญที่เกิดขึ้นต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย คือ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นเหน็บชา หรือตะคริวที่ข้อมือและข้อเท้า นิ้วมือ กระตุก ข้อนิ้วมือจะงอ มีการหดเกร็งของข้อต่างๆ ทำให้มีลักษณะของมือจีบที่เรียกว่า Accoucheur’s hand ถ้าเป็นมากๆ จะมีการหดเกร็งของกล่องเสียง (laryngospasm) และอาจมีอาการกระตุกเฉพาะที่ หรือทั้งตัว

74 อาการและอาการแสดง ระบบหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก เนื่องจากการหดเกร็งของ glottis และอาจมีการหดเกร็งของหลอดลม กระบังลม และกล้ามเนื้อ ทรวงอก ทำให้หายใจลำบาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมา ริมฝีปากเขียว ระบบหัวใจและหลอดเลือด การเต้นของหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจหดเกร็ง หัวใจหยุดเต้นหรือหัวใจวายได้ ระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้จะเกิดการหดตัว ถุงน้ำดีหดรัด ตัว ลำไส้หดเกร็งและกล้ามเนื้อหน้าท้องหดเกร็ง ทำให้เกิดอาการปวดท้องแบบ เป็นตะคริว (abdominal cramping) ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระ เป็นไขมัน (steatorrhea)

75 อาการและอาการแสดง อาการที่เกิดขึ้นเรื้อรัง
ผู้ป่วยจะมีอาการเปลี่ยนแปลงช้า แต่จะทราบได้จากการตรวจร่างกาย พบมีอาการ Chvostek’s signและ Trousseau’s sign อาการอื่นๆที่เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ผมบาง แตก ผิวหนัง แห้งหยาบ ตกสะเก็ด มีหินปูนไปเกาะที่ตาทำให้เกิดต้อกระจก มีการติด เชื้อที่ปากและเล็บ มีการเจริญของฟันผิดปกติ หัวใจเต้นผิดปกติ หาก x-ray กระโหลกศีรษะจะพบว่า มีแคลเซียมเกาะที่ Basal ganglia

76 การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ อาการที่เป็นเหตุนำให้ต้องมาโรงพยาบาล (chief compliant) เช่น อาการชักกระตุก อาการเป็นตะคริว อาการหายใจลำบาก หอบ หัวใจเต้นผิดปกติ รวมทั้งประวัติการ เจ็บป่วยในอดีต เช่น เคยทำผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือต่อมพาราไทรอยด์มาก่อน หรือเคยได้รับการ ฉายรังสีบริเวณคอมาก่อน ระยะเวลาการเกิดอาการผิดปกติ ความถี่บ่อย อุปนิสัยในการรับประทาน อาหาร การตรวจร่างกาย อาการแสดงที่สามารถตรวจได้ คือ Chvostek’s sign อาการ Trousseau’s sign การตรวจความไวของระบบประสาทของกล้ามเนื้อจะพบ Tendon reflex จะเร็วกว่าปกติ การตรวจตาโดยส่องไฟ จะพบว่า มีแคลเซียมไปเกาะในตา ทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นต้อกระจก ตาจะมองเห็นไม่ ชัดเจน การตรวจปากและฟัน จะพบว่า ในปากมีการติดเชื้อ Moniliasis ที่กระพุ้งแก้มและลิ้น ถ้าเกิดในเด็กจะ พบว่า ฟันจะไม่เจริญ การตรวจผิวหนัง จะพบว่า ผิวหนังแห้ง หยาบ ตกสะเก็ด ผมบาง มีการติดเชื้อที่เล็บ ทำให้เล็บเปราะ ลักษณะอื่นๆที่ตรวจพบ คือ รูปร่างเล็ก ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ อาจพบปัญญาอ่อน

77 Chvostek’s sign

78 Trousseau’s sign

79 Hyperreflexia

80 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการและการตรวจพิเศษต่างๆ เจาะเลือดเพื่อดูปริมาณแคลเซียม จะพบว่า ระดับของแคลเซียมลดลงต่ำกว่า 9 mg% เจาะเลือดหาค่าฟอสเฟต จะพบระดับของฟอสเฟตใน serum สูงกว่าปกติ เจาะเลือดหาค่าของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน จะพบว่า มีระดับต่ำกว่าปกติ การตรวจปัสสาวะเพื่อหาแคลเซียมในปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง พบว่า มีระดับ แคลเซียมต่ำหรือไม่พบเลย และพบระดับของฟอสเฟตในปัสสาวะต่ำร่วมด้วย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบว่า ช่วงของ Q-T ยาวกว่าปกติ เกิดจากหัวใจบีบตัว แล้วคลายตัวช้า Skull X-ray พบว่า มีแคลเซียมที่ basal ganglia และพบว่า ขอบ ผิวของฟันหนาตัวขึ้น

81 การรักษา การให้ยาจำพวกแคลเซียมทางหลอดเลือดดำ ยาที่มักจะใช้ได้แก่ 10%แคลเซียม กูลโคเนต ( 10%calcium gluconate) และให้ยารับประทาน ได้แก่ แคลเซียม กลูโคเนต(calcium gluconate), แคลเซียม แลคเตท (calcium lactate), หรือแคลเซียม คลอไรด์ (calcium chloride) การให้วิตามินดี ในรูปของวิตามินดี 2 ทางการรับประทานหรือที่เรียกว่า Ergocalcifered โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ดูดซึมแคลเซียม โดยให้วันละ 25, ,000 unit

82 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม เนื่องจากเป็นตะคริว/ ชักเกร็ง ประเมินอาการเป็นตะคริว เช่น การกระตุกของแขนขา ข้อมือข้อเท้า มือลีบ ชาตามปลายมือปลายเท้า หรือ ทดสอบ Chvostek’s signและ Trousseau’s sign หากพบความผิดปกติดังกล่าว ให้ รายงานแพทย์และเตรียมยาฉีดแคลเซียม กลูโคเนตสำหรับให้ทางหลอดเลือดดำไว้พร้อมตลอดเวลา จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ดูแลช่วยเหลือการทำกิจวัตรของผู้ป่วย ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การ พยาบาล ให้คำแนะนำเรื่องการใช้อุปกรณ์เพื่อเรียกเจ้าหน้าที่ในการให้การดูแล ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ โดยเฉพาะการหายใจ หากพบอาการหายใจลำบากจากการหดเกร็งของ หลอดลมและ glottis ให้รายงานแพทย์ทันที และเตรียมเครื่องช่วยเจาะคอ ดูดเสมหะ และออกซิเจนไว้ให้ พร้อมเสมอ ประเมินการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะ pulse pressure ค่าปกติ mmHg ประเมินลักษณะและอัตราการเต้นของหัวใจ หากพบอาการผิดปกติให้รายงานแพทย์ทันที ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลของแคลเซียมในกระแสเลือด และนำมาเป็นแนวทางใน การให้การดูแลรักษาพยาบาลต่อไป

83 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากขาด ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง แนะนำเรื่องการรับประทานอาหารเพิ่มแคลเซียม เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว นม และ อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ไข่แดง ป้องกันภาวะท้องผูกโดยแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ พร้อมทั้งดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว รักษาความสะอาดในช่องปาก และรักษาความสะอาดของเล็บมือ/เท้าเพราะมีโอกาสติดเชื้อ ได้ง่าย ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ไม่อาบน้ำอุ่น/ร้อนจัด ใช้สบู่อ่อน และใช้ครีม/โลชั่นทาผิวอยู่ เสมอ อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นต้องการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

84 ภาวะพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าปกติ (hyperparathyroidism)

85 สาเหตุ เนื้องอกของต่อมพาราไทรอยด์ ส่วนมากเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา (Adenomas Hyperplasia) ส่วนน้อยจะพบว่า เป็นเนื้องอกชนิด ร้ายแรง ประวัติได้รับการฉายรังสีบริเวณคอและศีรษะตั้งแต่ยังเด็ก เกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ การขาดวิตามินดีทำให้กระตุ้นการหลั่งของพารา ไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น การดื่มนมมากเกินไป และได้ยาขับปัสสาวะในกลุ่ม Thiazide ซึ่งทำให้เกิด ความผิดปกติในการขับแคลเซียมออก เกิดเนื้องอกของปอด ต่อมไทมัส (thymus gland) ไต ตับอ่อน ซึ่งในผู้ป่วย เหล่านี้จะพบว่า มีสารที่หลั่งออกมามีฤทธิ์คล้ายพาราไทรอยด์ฮอร์โมน ทำให้ระดับ ของแคลเซียมและพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูง

86 อาการและอาการแสดง ระบบทางเดินอาหาร ผลของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนต่อลำไส้จะทำให้กระตุ้นการดูดซึม แคลเซียมเพิ่มขึ้น ระดับของแคลเซียมที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวด ท้องและมีการหลั่ง gastrin เพิ่ม ทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่ง HCl เพิ่มขึ้น จึง ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดอาการ ท้องผูกจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผลของแคลเซียมที่อยู่ในรูปที่แตกตัว (free ions) ใน กระแสเลือดจะจับกับ tropinin C ทำให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น ระบบการขับถ่ายปัสสาวะ ระดับของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำระดับของ แคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ที่ไตจึงมีกลไกการเพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมและ ลดการดูดกลับของฟอสเฟต ทำให้ฟอสเฟตถูกขับออกมากับปัสสาวะเพิ่มขึ้น ปัสสาวะจะมี สภาพเป็นด่าง และจากการที่ไตดูดกลับแคลเซียมเพิ่มขึ้นจะทำให้แคลเซียมตกตะกอน เกาะ ที่เซลของท่อไตเกิดเป็นนิ่วในไต ไตอักเสบ อัตราการกรองที่ glomerulus ลดลง เกิด ภาวะเลือดเป็นกรด โลหิตเป็นพิษ ทำให้ไตวายและเสียชีวิตในที่สุด

87 อาการและอาการแสดง ระบบกระดูกและโครงร่าง พาราไทรอย์ฮอร์โมนจะกระตุ้นการสร้างกระดูกและการ สลายกระดูก แต่ในภาวะที่พาราไทรอยด์ฮอร์โมนมีปริมาณมากจะกระตุ้นให้เกิดการ สลายมากกว่าการสร้าง ทำให้แคลเซียมถูกดึงออกมาอยู่ในกระแสเลือด กระดูกจะ เปราะ หักได้ง่าย ตา เกิดจากสารประกอบแคลเซียมที่สูงกว่าระดับปกติในกระแสเลือด ทำให้ไปเกาะที่ รอบๆตาดำ เรียกว่า Limbus Keratopathy ทำให้คัน ระคายเคืองที่ตา ตาแดง และอาจเกิดตามัวในที่สุด อาการอื่นๆที่พบ คือ จะพบว่า มีอาการคันที่ผิวหนัง โลหิตจางจากการสร้างเม็ดเลือด แดงลดลง และตับอ่อนอักเสบ

88 การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ อาการที่เป็นเหตุนำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เช่น ปวด ท้อง มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง ปวดกระดูก และปวดทั้งตัว กล้ามเนื้อลีบ มีไข้จากไตอักเสบ ปัสสาวะขุ่น ประวัติการ เจ็บป่วยเคยได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอตั้งแต่ยังเด็ก เคย ได้รับการผ่าตัดนิ่วในไตหลายครั้ง เคยเป็นเนื้องอกของปอด ต่อมไทมัส (thymus gland) ไต ชอบรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ดื่มนมมากกว่า 1 ลิตร/วัน หรือขาดสารอาหารประเภทแคลเซียม หรือ วิตามินดี

89 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจร่างกาย ลักษณะทั่วไป รูปร่างเตี้ย แขนขาเล็กลีบ หลังโกง ผิวหนังแตกแห้ง ผมแห้ง เล็บมือสั้นและมี ลักษณะนิ้วปุ้ม สัญญาณชีพ พบว่า ความดันโลหิตค่อนข้างสูง เนื่องจากผนังหลอดเลือดมีแคลเซียมไปเกาะ ชีพจรเต้นช้า อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าระดับปกติเล็กน้อยจากการติดเชื้อที่ไต การหายใจ เร็วกว่าปกติเล็กน้อย การตรวจระบบประสาท พบ tendon reflex ช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การตรวจระบบทางเดินอาหาร ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้น้อย เคาะท้องได้เสียง โปร่งจากภาวะท้องอืด ท้องผูก การตรวจตา รอบๆตาดำมีแคลเซียมฟอสเฟตเกาะ และอาจพบ ตาแดง การตรวจสอบ ประสาทการได้ยินจะเสียไป

90 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ การเจาะเลือดเพื่อหาค่าแคลเซียม (serum calcium test) ค่าปกติ mg% หากพบว่า ค่าสูงกว่าปกติแสดงว่า ต่อมพาราไทรอยด์อาจจะ มีการหลั่งฮอร์โมนที่มากกว่าปกติ การเจาะเลือดเพื่อหาค่าฟอสเฟต (phosphate = PO4 หรือ Inorganic phosphate=P) เป็นการตรวจดูฟอสฟอรัสที่อยู่ใน ร่างกาย ค่าปกติของฟอสเฟตที่พบในเลือด คือ mg% ถ้าได้ค่า ต่ำกว่าปกติ จะพบในภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยกว่าปกติ การเจาะเลือดหาค่าพาราไทรอยด์ฮอร์โมน (serum parathyroid hormone)

91 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ การจัดปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง ค่าปกติ mg/24 hr จะพบค่าสูงกว่าปกติในผู้ที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมน ออกมามากกว่าปกติ การตรวจหาค่า Alkaline phosphatase =AP) ค่าที่สูงกว่า ปกติพบในผู้ที่ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากว่าปกติ โรค osteomalacia, และโรคกระดูกอ่อน (rickets) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrokardiogram; EKG) จะพบว่า มี Q-T interval สั้น ช่วงของ PR และ QRS ยาวกว่าปกติเล็กน้อย การตรวจ X-ray โดยการถ่ายภาพกระดูกตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะ พบว่า ในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ กะโหลกศีรษะจะบาง กระดูกแขนขา กระดูกส้นเท้าจะเล็กลง นอกจากนี้ยังพบนิ่ว ที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

92 การรักษา การรักษาด้วยยา
ให้ sodium phosphate ทางหลอดเลือดดำเพื่อชดเชยฟอสเฟต ในร่างกายและลดระดับของแคลเซียมใน plasma โดยป้องกันไม่ให้ แคลเซียมถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร ให้ glucocorticoids ยาที่นิยมใช้คือ prednisolone ซึ่ง จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ลดลง แต่ขับถ่ายทางไตเพิ่มขึ้นต้านฤทธิ์ ของวิตามินดี ให้ calcitonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับของแคลเซียมใน plasma ลดลง โดยมีฤทธิ์ตรงข้ามกับพาราไทรอยด์ฮอร์โมน

93 การรักษา(ต่อ) การรักษาด้วยการทำผ่าตัด
การรักษาด้วยการทำผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกบางส่วน (subtotal parathyroidectomy) เพื่อให้การ หลั่งของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนลดลง แคลเซียมใน plasma ก็จะ ลดลงด้วย แต่จะมีภาวะแทรกซ้นอ คือ เลือดออกใต้แผลผ่าตัด ติด เชื้อ เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียอาจถูกรบกวน/ทำลาย และอาจ ทำให้การหลั่งของพาราไทรอยด์ฮอร์โมนลดลงกว่าปกติ

94 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม จากภาวะกระดูกบาง และหักง่าย ป้องกันและระมัดระวังอุบัติเหตุ ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล แนะนำให้ใช้ อุปกรณ์เรียกเจ้าหน้าที่หากต้องการทำกิจกรรม รองเท้าที่สวมใส่ต้องมีพื้นกันลื่น พื้นห้อง จะต้องไม่มัน หรือขัดมัน หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ห้าม ผูกมัด งดเว้นการยกของหนัก ออกกำลังกายหักโหม ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา สังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น ลมพิษ คลื่นไส้ อาเจียน บวม ถ้ามีอาการดังกล่าวให้รายงานแพทย์

95 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอัตราและลักษณะการหายใจ อัตราและลักษณะการเต้น ของหัวใจ ความดันโลหิต หากพบว่า ชีพจรเต้นช้ากว่าปกติ ความดันโลหิตลดลง มีอาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก กระสับกระส่ายให้รายงานแพทย์ทันที ประเมินการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบว่า Q-T interval สั้น, PR interval และ QRS ยาวกว่าปกติให้รายงานแพทย์ จัดให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย แนะนำให้ใช้อุปกรณ์เรียกเจ้าหน้าที่หาก ต้องการทำกิจกรรม ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา และติดตามประเมินค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ในหลอดเลือดส่วนปลายอย่างสม่ำเสมอ

96 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากภาวะกรดใน กระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร งด อาหารรสจัด กระตุ้นให้รับประทานอาหารน้อยๆแต่บ่อยครั้ง ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง งดเว้นการรับประทานยากระตุ้นการหลั่งกรด ประเมินอาการปวดท้อง อาการอื่นๆที่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ปวดท้องก่อน/หลังอาหาร ลักษณะปวดแบบจุกเสียดหรือปวดแสบร้อน และสังเกตลักษณะของอาเจียน แนะนำผู้ป่วย/ญาติให้หลีกเลี่ยงภาวะเครียดที่จะกระตุ้นการหลั่งกรด งดเว้นการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะ เช่น น้ำอัดลม

97 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเคลื่อนไหวของ ลำไส้ลดลง ให้ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร จัดอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ แต่งดผัก ผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง เช่น หัวผักกาดเขียว และน้ำอ้อย กระตุ้นให้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายตามความเหมาะสมของอาการ กระตุ้นการขับถ่ายให้เป็นเวลา ดูแลการได้รับยาระบายตามแผนการรักษาของแพทย์

98 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อเนื่องจากมีแผลผ่าตัดบริเวณลำคอ รักษาความสะอาดของแผล ทำความสะอาดแผลด้วย Aseptic technique แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติล้างมือบ่อยๆ สังเกตลักษณะของการติดเชื้อแผลผ่าตัด เช่น ปวด บวม แดง ร้อน หนองที่แผล ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกายเพื่อประเมินภาวะติดเชื้อในร่างกาย ดูแลการได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์และประเมินผลข้างเคียงของยา แนะนำให้รับประทานอาหารที่ส่งเสริมการหายของแผล เช่น โปรตีน วิตามินซี และดื่มน้ำ มากๆ

99 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมหมวกไต (Adrenal gland problems)

100 ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex)
Mineralocorticoids ฮอร์โมนกลุ่มนี้ คือ aldosterone ทำ หน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและโซเดียม โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการดูดกลับของ โซเดียมและคลอไรด์ รวมถึงขับโปแตสเซียมที่ distal tubule Glucocorticoids ฮอร์โมนกลุ่มนี้ คือ cortisol ทำหน้าที่ควบคุม เมตะบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยมีผลต่อการสร้างเสริม (anabolic effect) และผลต่อการแยกสลาย (catabolism effect) ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) ฮอร์โมนกลุ่มนี้ คือ แอนโดรเจน (androgen) ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเพศ

101 ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตส่วนแกน (adrenal medulla)
หลั่งฮอร์โมนในกลุ่ม catecholamine ได้แก่ ได้แก่ epinephrine/adrenaline และ nor epinephrine/noradrenaline ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ต้องต่อสู้ ป้องกันตัวจากภยันอันตราย ส่งผลต่อระบบ ไหลเวียน ระบบหายใจ กล้ามเนื้อและตับ

102 ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
ความผิดปกติจากการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก ถ้าการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอกมากกว่าปกติ จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Cushing’s syndrome ถ้าการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอกน้อยกว่าปกติจะเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Addison’s syndrome ความผิดปกติจากการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน ถ้าการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นในทำงานมากกว่าปกติ คือ ทำให้เกิด pheochromocytoma ถ้าการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นในทำงานน้อยกว่าปกติ จะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ หรือมีอาการแต่ไม่เป็นอันตราย

103 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกมากเกินไป
คุชชิ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน cortisol จากต่อมหมวกไตส่วนนอกมากกว่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของต่อม หมวกไตเองหรือความผิดปกติของต่อมใต้สมองส่วนหน้าก็ได้

104 สาเหตุ เนื้องอกของต่อมใต้สมอง หรือมีพยาธิสภาพของโรคอยู่ที่ต่อมใต้สมอง ทำให้เกิดการหลั่ง ฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenocorticotrophic hormone= ACTH) มากกว่าปกติ ความผิดปกติจากภายนอกต่อมใต้สมอง หรือต่อมหมวกไต ซึ่งจะพบได้ในโรคมะเร็งปอด ชนิด Oat Cell Carcinoma การเจริญเติบโตอย่างช้าๆของต่อมหมวกไต ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไต (adrenal adrenomas) การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของต่อมหมวกไต ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงของต่อม หมวกไต (adrenal carcinomas) การรักษาด้วย corticosteroids เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความผิดปกติของต่อม หมวกไต จากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่มีลักษณะคล้ายคุชชิ่ง (Pseudo Cushing’s Syndrome)

105 อาการและอาการแสดง ผิวหนัง พบว่า ผิวหนังบาง มีรอยแตกบริเวณหน้าท้อง (abdominal striae) สะโพก เต้านม ต้นแขน/ขา มีสิวที่หน้าและลำตัว ผิวหนังคล้ำกว่าปกติ มี ขนมากตามอก แขน ขา หน้า หากเกิดแผลจะพบว่า แผลหายช้า

106 อาการและอาการแสดง กระดูกและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบ กระดูกเปราะง่าย ปวดกระดูก ปวดหลัง อาการอื่นๆที่พบ อารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงง่าย ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ประจำเดือน ผิดปกติ มีการสะสมไขมันตามลำตัว ต้นคอเป็นโหนก (buffalo hump) หน้าอ้วน (moon face) และเกิดต้อกระจก (cataracts) ความดัน โลหิตสูง มีจ้ำเลือดใต้ผิวหนังเวลาถูกกระแทก

107 การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ซักถามถึงอาการสำคัญที่ต้องมา โรงพยาบาล ซึ่งเกี่ยวกับความผิดปกติของต่อมหมวกไต เช่น อ่อนเพลีย เป็นสิวผิดปกติ มีจ้ำเลือดง่าย ปวดหลัง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดศีรษะ ประจำเดือนผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต อาจพบว่า เคยเป็นวัณโรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิต สูง และประวัติการดื่มสุรา การได้รับยา steroid

108 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจร่างกาย ลักษณะโดยทั่วไป ดูลักษณะเฉพาะของกลุ่มอาการคุชชิ่ง จะพบว่า ผู้ป่วยหญิงจะมีลักษณะ เหมือนเพศชาย คือ มีหนวดเครา ขนที่หน้าอก แขนขา มากกว่าปกติ ส่วนผู้ป่วยชายจะมี ลักษณะเหมือนหญิง คือ มีนมใหญ่กว่าปกติ หน้ากลม มีสิวที่หน้าและลำตัว ต้นคอด้านหลัง หนานูน สัญญาณชีพ พบว่า ความดันโลหิตค่อนข้างสูง อุณหภูมิไม่สูง ชีพจรปกติ หายใจหอบ เล็กน้อย ท้อง ผิวหนังหน้าท้องพบมีลายแตก คลำพบก้อนในท้อง ถ้าเป็นก้อนเนื้องอกของต่อมหมวก ไต ทรวงอก ทรวงอกและลำตัวจะหนาอ้วน แขนขา แขนขาจะเล็ก มีรอยแตกของผิวหนังที่ต้นแขน ต้นขา เวลานั่งยองๆแล้วลุกยืนจะทำ ได้ยาก

109 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ การตรวจหา cortisol ใน plasma (Plasma Cortisol Test) การตรวจหา Dexamethasone Suppression Test การตรวจหา Plasma Adreno- Corticotropic Hormone Test การตรวจ Metyrapone Test การถ่ายภาพรังสี Adrenal Angiography การถ่ายภาพ the Sella Turcica

110 การรักษา การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้รักษาในระยะที่ทำผ่าตัดไม่ได้ คือ
Aminogluthimamide หรือ Elipten เพื่อลดการสร้าง cortisol โดยการขัดขวางการเปลี่ยน chloresterol เป็น prednisolone ผลข้างเคียงของยา คือ รบกวนการทำงานของ กระเพาะอาหารและลำไส้ ระบบประสาท และให้เกิดผื่นตามผิวหนัง Metyrapone หรือ Metopirone เป็นยาที่ช่วยลดการสร้าง cortisol ผลข้างเคียงของยา ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เป็นผื่นขึ้น (skin rashes) Mitotane/Lysodren เป็นยาที่ยับยั้งการสร้าง glucocoryicoids ผลข้างเคียงของยา ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน งง และมีผื่นขึ้น

111 การรักษา(ต่อ) การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัด จุดประสงค์เพื่อลดระดับ cortisol ให้ลดลง ใน ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไต จะทำผ่าตัดเอาต่อมหมวกไต และก้อนเนื้อ งอกออกข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง (adrenalectomy) แต่ถ้าเป็นมะเร็ง ของต่อมหมวกไตจะใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมด้วย ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นเนื้อ งอกของ pituitary gland จะทำผ่าตัด Hypophysectomy การรักษาด้วยการทำผ่าตัด ก่อนทำผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการรักษาภาวะผิดปกติ ต่างๆ เช่น ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ในอยู่ในระดับที่ทำผ่าตัดแล้วไม่ เกิดอันตราย หากมีการติดเชื้อต้องรักษาอาการติดเชื้อก่อน

112 การรักษา(ต่อ) การรักษาด้วยการฉายรังสี
การรักษาด้วยการฉายรังสีมักทำควบคู่กับการผ่าตัด หรือการรักษา ด้วยยาในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกที่ pituitary gland รังสีที่ใช้ คือ Cobalt-60 หรือ Yttrium-90

113 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะบวมน้ำ เนื่องจากมีการคั่งของน้ำและโซเดียม จำกัดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียม และจัดอาหารให้มีโปรตีนมากๆ ประเมินอาการบวม เช่น อาการบวมตามแขนขา และชั่งน้ำหนักทุกวัวนเพื่อประเมินการคั่ง ของน้ำภายในร่างกาย ประเมินและบันทึกปริมาณของน้ำที่ร่างกายได้รับ และน้ำที่ออกจากร่างกายทุก 8 ชั่วโมง ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหาค่าโซเดียมใน serum หากสูงกว่า 150 mEq/L ให้รายงานแพทย์ทราบ

114 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจทำงานผิดปกติเนื่องจากระดับของโปแต สเซียมในเลือดลดต่ำลง ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะความดันโลหิตและชีพจร หากมีการ เปลี่ยนแปลงให้รายงานแพทย์ ดูแลการได้รับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม องุ่น สับปะรด และจำกัด โซเดียม ประเมินอาการขาดโปแตสเซียม คือ กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง รวมทั้งอัตราการเต้นของหัวใจที่ ผิดปกติ ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหาค่าโปแตสเซียมใน serum

115 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อน แรง ประเมิน motor power ของแขนขา ดูแลยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังจากให้การพยาบาลแล้ว จัดสิ่งแวดล้อมให้สะดวกแก่ผู้ป่วย เวลาเดินควรมีเครื่องยึดเกาะ แนะนำให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์การเรียกเจ้าหน้าที่เมื่อต้องการทำกิจกรรม/กิจวัตรประจำวัน แนะนำให้ผู้ป่วยใส่รองเท้าที่มีพื้นยาง ยึดเกาะพื้นได้ดี ดูแลให้ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีตามแผนการรักษาอย่างเพียงพอ รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ หรือผู้ป่วยบ่นถึงอาการปวดหลัง ปวดตามข้อ

116 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง/ลดลง แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัส/ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดต่อ เช่น โรคติดต่อของระบบ ทางเดินหายใจ ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการให้การพยาบาลผู้ป่วย ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เช่น อุณหภูมิของร่างกาย เสียงเสมหะ น้ำมูก ผิวหนังที่เกิดเป็นแผล รักษาความสะอาดของร่างกาย หลีกเลี่ยงอากาศที่ร้อนหรือเย็นจัด ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลเม็ดเลือดขาว ผลการเพาะเชื้อ เป็นต้น

117 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเนื่องจากพร่อง/ขาดความรู้ ในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด อธิบายความจำเป็นของการรักษาโดยการผ่าตัด ประโยชน์ที่จะได้รับ อธิบายขั้นตอนการเตรียมผิวหนังก่อนการทำผ่าตัด ซึ่งบริเวณที่เตรียมคือ หน้าท้อง ช่วงข้าง ลำตัวด้านที่จะทำผ่าตัดถึงกลางหลัง และบริเวณฝีเย็บ แนะนำให้งดน้ำ อาหารก่อนการทำผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง และสวนอุจจาระ ใส่สาย สวนปัสสาวะ สอนการไอ การหายใจเข้าออกลึกๆ และการลุกจากเตียงโดยเร็วหลังผ่าตัดเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน

118 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกน้อยเกินไป
ต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) ให้ฮอร์โมน สำคัญ คือ cortisol, mineralocorticoid และ androgen ถ้าร่างกายสร้างฮอร์โมนดังกล่าวน้อยกว่าปกติ ไม่ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดโรคแอดดิสัน (addison’s syndrome) ซึ่งเกิดมีพยาธิสภาพของต่อม หมวกไตเอง ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปกติ (primary adrenal insufficiency) และเกิดจากพยาธิสภาพของ ต่อมใต้สมอง

119 สาเหตุของ Primary Adrenal Insufficiency
การติดเชื้อที่ทำให้ต่อมหมวกไตอักเสบ จากภาวะออโตอิมมูนของ ร่างกาย ทำให้เซลของต่อมถูกทำลาย และฝ่อเล็กลง การติดเชื้อวัณโรค เชื้อรา เชื้อ Histoplasmosis การแพร่กระจายของเนื้องอก การขาดเลือดไปเลี้ยงที่ต่อมหมวกไต เนื่องจากการอุดตันของหลอด เลือดจาก thrombosis หรือจากการได้รับอันตรายโดยตรง การผ่าตัดต่อมหมวกไตออก ซึ่งส่วนมากพบในผู้ที่ผ่าตัดต่อมหมวกไต ออกทั้งสองข้าง

120 สาเหตุของ Secondary Adrenal Insufficiency
การได้รับ steroid เป็นเวลานาน ทำให้ต่อมใต้สมองถูก กด ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นต่อมหมวกไต (ACTH) ได้ ต่อมใต้สมองขาดเลือดมาเลี้ยง หรือต่อมใต้สมองมีก้อนเนื้องอก ความเครียดทางอารมณ์และร่างกาย เช่น ภาวะเครียดภายหลัง การทำผ่าตัดหรือก่อนผ่าตัด

121 อาการและอาการแสดง อาการเรื้อรังที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต คือ อาการที่เกิดจากการขาด aldosterone ทำให้มีผลต่อระบบ ไหลเวียนโลหิต เนื่องจากทำให้ปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนลดลง เนื่องจากโซเดียมถูกขับออกและดึงเอาน้ำออกมาด้วย ปริมาณน้ำใน ร่างกายจะลดลง ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) ลดลง ความดันโลหิตลดลง และ อาจช็อคได้จากภาวะขาดน้ำ (hypovolemic shock)

122 อาการและอาการแสดง อาการที่เกิดจากการขาด glucocorticoids ทำให้มีผลต่อระบบ ทางเดินอาหาร ทั้งการย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ ทำให้ระดับน้ำตาล ในเลือดต่ำ (hypoglycemia) มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง บางครั้งอาจมีอาการท้องเสีย ท้องผูก น้ำหนักลด นอกจากนั้นจะมีผลต่อระบบ ประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการรับรส การได้ยินและการดมกลิ่นจะเสียไป บุคลิกภาพแปรปรวน ทำให้ซึมเศร้า หรือหงุดหงิด ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆสีเข้ม ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงมากๆ เช่น หน้า หลังมือ ข้อศอก เข่า เยื่อบุตา ขาวและเหงือก อาการที่เกิดจากการขาด androgens จะทำให้ขนรักแร้ อวัยวะเพศมี น้อย

123 การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ซักถามถึงอาการสำคัญ ส่วนมากจะพบว่า ผู้ป่วยมาด้วย อาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้ มีไข้ โดยหาสาเหตุไม่ได้ เมื่อ ซักถามถึงอาการปัจจุบันที่เกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยจะพบว่า ผู้ป่วย มักมีความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ ตกเลือดหลังคลอด ความ ผิดปกติของภาวะออโตอิมมูน การได้รับการผ่าตัดต่อมหมวกไต/ต่อมใต้ สมอง การได้รับการรักษาด้วย steroid เป็นระยะเวลานาน และ ประวัติการฉายรังสีบริเวณใกล้เคียง หรือต่อมใต้สมอง

124 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจร่างกาย ลักษณะทั่วไป ตรวจระดับความรู้สึกตัว สัญญาณชีพ ส่วนมากจะพบความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว มีไข้ หายใจหอบเหนื่อย ผิวหนังจะมีสีคล้ำและขาดความ ตึงตัว มีขนน้อย เมื่อคลำตับจะพบว่า ตับมีขนาดโตกว่า ปกติเล็กน้อย อาจคลำพบก้อนเนื้องอกที่หน้าท้องได้

125 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ การตรวจหาโซเดียมในเลือดในผู้ป่วยที่มีระดับของ aldersterone ต่ำ จะมีระดับโซเดียมต่ำกว่าปกติจากการสูญเสียโซเดียมทางปัสสาวะ การตรวจหาโปแตสเซียมในเลือด ในผู้ป่วยที่มีระดับของ aldersterone ต่ำ จะมีระดับโปแตสเซียมสูงกว่าปกติ การตรวจหาค่า cortisol ใน plasma (Plasma Cortisol Test) การตรวจระดับ Plasma ACTH การเจาะเลือดตรวจทางเคมี (Blood chemistry) การเอกซเรย์

126 การรักษา เป็นการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนเข้าไปทดแทน เช่น cortisol mg/d, Prednisolone 7.5 mg/d และให้ โซเดียมทดแทนในอาหาร

127 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค เนื่องจากเกิดภาวะไม่สมดุลของน้ำ และโซเดียม ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ในรายที่รับประทานอาหารไม่ได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน พยาบาลควรดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 1 ชั่วโมง ประเมินระดับความรู้สึกตัว ทุก 1 ชั่วโมง บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง สังเกตอาการผิดปกติจากระดับฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ติดตามผลการตรวจโซเดียมจากห้องปฏิบัติการ หากพบผิดปกติให้รายงานแพทย์เพื่อแก้ไข

128 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง และมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและ ไขมันสูง ประเมินอาการที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่น เหงื่อ ออก ตัวเย็น สับสน ความดันโลหิตลดลง และติดตามผลของระดับน้ำตาลในเลือด แนะนำให้ผู้ป่วยมีน้ำหวาน หรือลูกอมติดตัวไว้เสมอ เพื่อป้องกันภาวะช๊อคจากน้ำตาลใน เลือดลดลง ดูแลช่วยเหลือการทำกิจกรรม/กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยเพื่อลดการใช้พลังงาน ดูแลให้ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา

129 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เนื่องจากการ มีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะลักษณะและอัตราการเต้นของหัวใจ ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมต่ำ/ไม่มีโปแตสเซียม งดน้ำผลไม้ประเภท ส้ม มะนาว น้ำอ้อย และเครื่องดื่มเกลือแร่ รวมถึงงดผลไม้พวกแตงไทย กล้วย องุ่น สับปะรด ดูแลให้ได้รับยาขับโปแตสเซียมตามแผนการรักษา ติดตามผลของโปแตสเซียมในกระแสเลือด ติดตามผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

130 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อ เนื่องจากภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ดูแลให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย ปากและฟัน ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยน้ำ สบู่ รายที่ใส่สายสวนปัสสาวะควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และดูแลการใส่สายสวน ปัสสาวะให้เป็นระบบปิด ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการให้การพยาบาล แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติล้างมือให้สะอาดาก่อนและหลังการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก (mask) เสมอที่ต้องอยู่ในชุมชน หรือผู้ป่วยติดเชื้ออื่นๆ ดูแลการได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา

131 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมหมวกไตส่วนแกน
ต่อมหมวกไตส่วนแกน (adrenal medulla) สร้างฮอร์โมน catecholamines ซึ่งประกอบด้วย adrenaline/epinephrine และ nor adrenaline/nor epinephrine การหลั่งฮอร์โมนถูก ควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลางโดยมี nerve fiber ส่งไปยัง ต่อมหมวกไต ซึ่งฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะฉุกเฉิน เครียด กลัว เจ็บปวด สาเหตุ ไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดในครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเป็นเนื้องอก (adenoma) ของต่อมหมวกไตมาก่อน ส่วนมะเร็งของต่อมหมวกไต อาจเกิดจากการแพร่กระจายของมะเร็งมาจากอวัยวะ อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง

132 อาการและอาการแสดง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดที่ผิวและอวัยวะภายในที่เป็นกล้ามเนื้อ เรียบหดตัว แต่เส้นเลือดที่กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัว SA node จะถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณเร็วขึ้น รวมถึง conducting system จะ เร็วขึ้นด้วย ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะสูงลอย ตลอดเวลา ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ แต่เพิ่มการทำงานของหูรูด (sphincter) ของ กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ กระตุ้นการทำงานที่คล้ายคลึงกับการทำงาน ของระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system; CNS) ทำให้ตื่นเต้น เหงื่อออก อ่อนเพลีย ม่านตาขยาย และคลื่นไส้อาเจียน บางครั้งจะมี อาการปวดท้องร่วมด้วย

133 อาการและอาการแสดง ระบบหายใจ หลอดลมขยายตัว เพิ่มความเร็วและแรงในการหายใจ ระบบอื่นๆ จะพบ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ระดับ insulin ต่ำ เนื่องจากถูกกระตุ้นจนล้า ทำให้การหลั่ง insulin ลดลง ในรายที่ เป็นมาก อาจทำให้เกิดอาการตามัว ตามองไม่เห็นจากการบวมของขั้ว ประสาทตา

134 การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ซักถามถึงอาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล เช่น ปวดศีรษะ เหนื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ระยะเวลาที่เป็น หรือเริ่มรู้สึกว่า มีอาการเปลี่ยนแปลงจากปกติ การรักษาก่อนหน้านี้ ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว การผ่าตัดที่เกี่ยวกับสมอง/ต่อมใต้สมอง/ต่อมหมวกไต ประวัติ ความเจ็บป่วยในครอบครัวที่เกี่ยวกับเนื้องอกของต่อมหมวกไต/ ที่อื่นๆ/โรคระบบออโตอิมมูน ประวัติทางจิตสังคม ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมในสังคม อุปนิสัย

135 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจร่างกาย สภาพทั่วไป อาการมือสั่น ระดับความรู้สึกตัว น้ำหนักตัวลดลง/เพิ่มขึ้น ท่าทางตื่นเต้น เหงื่อออก สัญญาณชีพ ความดันโลหิตสูงทั้ง systolic and diastolic เปรียบเทียบกับความดันโลหิตระหว่างท่านั่งและท่ายืน ซึ่งจะสูงลอยตลอดเวลา ชีพจรจะเร็วกว่าปกติ หายใจหอบเหนื่อย ตา พบว่า ม่านตาขยาย ในรายที่เป็นมากจนเกิดอาการบวมของประสาทตา จะ ทำให้มีอาการตามัว หรือตามองไม่เห็น ท้อง ถ้าก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ อาจจะคลำพบได้ที่หน้าท้อง แต่ถ้าก้อนเนื้อ งอกมีขนาดเล็ก/ไม่โตมาก อาจคลำไม่พบความผิดปกติ ฟัง bowel sound พบว่า ช้าลง

136 การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการและการตรวจพิเศษ venillylmadelic acid-VMA ใน 24 ชั่วโมง เป็นการ ตรวจเพื่อดูผลผลิตของ metanephrine และ nor metanephrine ซึ่งถูก catabolized มาจาก epinephrine และ nor epinephrine ในผู้ป่วยที่เป็น เนื้องอกของต่อมหมวกไตส่วนแกน (Pheochromocytoma) จะมีค่า VMA สูงกว่าปกติ หาค่า catecholamines ในปัสสาวะ การตรวจ CT Scan

137 การรักษา การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมความดันโลหิต โดยการลดระดับของ catecholamines ซึ่งยาที่ใช้ได้แก่ Phentolamine/Regitaine ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้หัวใจเต้นช้าลง โดยลดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) ลด sympathetic tone ที่ควบคุมการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ลดการหลั่ง rennin-angiotensin และ catecholamines จากปลายประสาท sympathetic ผลข้างเคียงของยา คือ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ท้องอืด ผื่นตามตัว หัวใจล้มเหลว Nitropusside/Nipride หรือ Sodium Nitropusside ออก ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กขยายตัว และความต้านทานของหลอดเลือดแดงส่วน ปลายลดลง ทำให้ความดันโลหิตลดลง Propanolol/Inderal ออกฤทธิ์ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ความดัน โลหิตลดลง

138 การรักษา(ต่อ) การรักษาด้วยการทำผ่าตัด การทำผ่าตัดต่อมหมวกไต (adrenalectomy) ออกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ก่อนจะทำ ผ่าตัดต้องควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และควบคุม ระดับน้ำตาลในเลอด และผลของเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ไม่ เกิดอันตรายภายหลังจากการทำผ่าตัด ซึ่งภายหลังการผ่าตัดมักจะเกิด ภาวะแทรกซ้อน คือ ระดับความดันโลหิตไม่คงที่อาจจะเกิดความดัน โลหิตลดมาก น้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดตก เลือดและหัวใจวายหลังผ่าตัด

139 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเนื่องจากความดัน โลหิตสูงลอยตลอดเวลา สังเกตและบันทึก อาการและอาการแสดงผิดปกติ เช่น อาการตามัว ระดับความรู้สติ อาการอ่อน กำลังของกล้ามเนื้อที่ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น แนะนำให้พักผ่อนอยู่บนเตียง จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ จัดกิจกรรมการพยาบาลให้รบกวนผู้ป่วย น้อยที่สุด ดูแลช่วยเหลือการทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันให้ผู้ป่วย ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังจากให้การพยาบาลเสร็จ แนะนำให้ใช้เครื่องมือในการเรียกเจ้าหน้าที่เมื่อต้องการทำกิจกรรม ประเมินและบันทึกความดันโลหิต อย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง หากพบว่า ระดับความดันโลหิตสูงกว่า ปกติให้รายงานแพทย์ทันที ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หัวใจล้มเหลว

140 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เนื่องจากไม่ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่ได้ แนะนำให้พักผ่อนอยู่บนเตียง จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ จัดกิจกรรมการพยาบาลให้รบกวน ผู้ป่วยน้อยที่สุด บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย ทุก 8 ชั่วโมง ประเมินและบันทึกการคั่งของน้ำในร่างกาย เช่น อาการบวม กดบุ๋ม ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษาและเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของ ยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หัวใจล้มเหลว

141 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เนื่องจาก พร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวภายหลังการทำผ่าตัด แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การหายใจเข้าออกลึกๆ การไอ อย่างมีประสิทธิภาพ การพลิกตะแคงตัว การลุกจากเตียงโดยเร็ว การบรรเทาอาการปวดด้วยการจัดท่านอน โดยไม่ควรนอนตะแคงไปทางด้านที่ทำผ่าตัด ใช้ ผ้าหรือหมอนใบเล็กๆหนุนใต้แผล แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีน และแคลอรี่สูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อป้องกันภาวะ น้ำตาลในเลือดสูง แนะนำให้ใช้เทคนิคผ่อนคลาย หรือการเพ่งจุดสนใจเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด

142 เบาหวาน (Diabetes Mellitus)
โรคเรื้อรังที่มีความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซมโดยสัมพันธ์กับการสร้าง อินซูลิน (Insulin) ที่ผิดปกติ และ/หรือ การนำอินซูลิน (Insulin) ไปใช้ที่ ผิดปกติ และ/หรือทั้งสองแบบ ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะ คือ มีระดับน้ำตาลในเลือด เมื่ออดอาหารสูงกว่าปกติ ( 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 6.1 มิลลิโมล/ลิตร) เป็นผลมาจากการสร้างอินซูลิน (Insulin) ที่ผิดปกติ หรือการออกฤทธิ์ของ อินซูลิน (Insulin) ผิดปกติ หรือทั้งสองอย่าง

143 การแบ่งชนิดของเบาหวาน อาการที่สัมพันธ์กับเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus type I) พบได้ ร้อยละ ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เป็นเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin) หรือเป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นในคนอายุน้อย สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ แต่มักจะเกิดขึ้นในผู้ที่อายุน้อย (< 30 ปี) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบาหวานในผู้ที่อายุน้อย (Juvenile-onset diabetes) ผู้ป่วยจะมีรูปร่างผอมบาง หรือมีน้ำหนักลดลง มักจะสัมพันธ์กับพันธุกรรม ภูมิคุ้มกัน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไวรัส ร่างกายจะผลิตอินซูลิน (Insulin) ได้ในปริมาณเล็กน้อย และมีความต้องการ อินซูลิน (Insulin) จากภายนอก

144 การแบ่งชนิดของเบาหวาน อาการที่สัมพันธ์กับเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) พบได้ ร้อยละ ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เป็นเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลินหรือภาวะเบาหวาน ในผู้ใหญ่ซึ่งมักจะเริ่มมีอาการเมื่อเข้าอยู่ในวัยผู้ใหญ่ สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ แต่มักจะพบผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และมีภาวะน้ำหนัก เกินร่วมด้วยเสมอ สาเหตุของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะพบว่า มีภาวะน้ำหนักเกิน พันธุกรรม และ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เมื่อตรวจระดับอินซูลิน (Insulin) ในกระแสเลือดอาจจะพบได้ทั้งระดับอินซูลินที่ลดต่ำ หรือความต้านทานของเซลเนื้อเยื่อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยในระยะแรกจะพบว่า มีรูปร่างอ้วนแต่ต่อมาจะมีรูปร่างผอมลงเนื่องจากการปรับตัว ของร่างกายในการผลิตน้ำตาลจากสารอื่น (Gluconeogenesis) มาเพื่อ นำไปใช้เป็นพลังงานในเซล

145 การแบ่งชนิดของเบาหวาน อาการที่สัมพันธ์กับเบาหวาน
เบาหวานที่สัมพันธ์กับภาวะอื่นหรืออาการอื่น (Diabetes Mellitus with other conditions or syndromes) อาจจะมีอาการแสดงที่ชัดเจนว่า เป็นเบาหวาน หรืออาจจะมีภาวะบางอย่างที่ สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานเนื่องจากความเจ็บป่วยก็ได้ อาการจะแสดงมากน้อยเพียงใดขึ้นกับความสามารถของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน (Insulin) และความต้องการของผู้ป่วยในการได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือการได้รับอินซูลิน(Insulin) ทดแทน

146 การแบ่งชนิดของเบาหวาน อาการที่สัมพันธ์กับเบาหวาน
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) มีอาการแสดงของเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ในระยะไตรมาสที่สองและ/หรือสาม ซึ่งพบ ได้ประมาณร้อยละ 2-5 กลไกการเกิดเบาหวานเชื่อกันว่า อาจจะเกิดจากฮอร์โมนที่สร้างจากรกซึ่งจะมีฤทธิ์ยับยั้ง การทำงานของอินซูลิน (Insulin) เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนปริกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม ร้อยละ ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (Obesity) จะกลายเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) ภายใน 10 ปี ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้แก่ ภาวะน้ำหนักตัวเกิน (Obesity) อายุมากกว่า 30 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นเบาหวาน และการคลอดก่อนหน้านี้ ทารกมีน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม

147 การแบ่งชนิดของเบาหวาน อาการที่สัมพันธ์กับเบาหวาน
ภาวะก่อนเบาหวาน (Pre-diabetes) ในอดีตภาวะนี้จะถูกจัดให้เป็นภาวะที่มี ความผิดปกติของความทนต่อระดับน้ำตาล มักจะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เป็นภาวะที่เกิดขึ้นและโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเหล่านี้ มักจะพัฒนาไปเป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 ตรวจพบว่า ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะสูงกว่าปกติแต่ไม่สูงจนสามารถ วินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีระดับความทนต่อระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ Impaired Fasting Glucose (IFG) หรือ Impaired Glucose Tolerance (IGT) อยู่ที่ 100 mg/dL (5.56 mmol/L) ถึง 125 mg/dL (6.9 mmol/L) Oral Gluocose Tolerance Test (OGTT) อยู่ระหว่าง 140 mg/dL (7.8 mmol/L) ถึง 199 mg/dL (11.0 mmol/L) HgB A1C อยู่ระหว่าง 5.7% ถึง 6.4%

148 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
พันธุกรรม (Genetic disorder) การเรียงตัวยีน (Gene) ที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลิน (Insulin) ผิดปกติ การเรียงตัวของยีน (Gene) ผิดปกติทำให้มีไขมัน (Adipose tissue) ในช่องท้องและอวัยวะภายในมากผิดปกติซึ่งทำให้ความทนต่อ อินซูลิน (Insulin) เพิ่มขึ้นผิดปกติ ภาวะความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน (Immune Mediated Disease) อาจจะเกิดจากการที่สัมผัสกับไวรัส ทำให้เม็ดเลือดขาว ชนิด T cells ทำลายเบต้าเซล (β-cells) ของตับอ่อน ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) เป็นสาเหตุหนึ่งของเบาหวานชนิด ที่ 1

149 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
ภาวะอ้วน (Obesity) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่เชื่อว่า กระตุ้นให้เกิดภาวะ เบาหวานโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่เนื้อเยื่อใน ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลิน (Insulin) โดยอาจเกิดจาก ตัวรับอินซูลิน (Insulin Receptor) ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (Insulin) และ/หรือ จำนวนของตัวรับอินซูลินซึ่งปกติจะอยู่บริเวณเซล กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ไขมัน (Fat) และเซลตับ (Liver cells) มีไม่เพียงพอ (Insufficient in number)

150 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
ภาวะตับอ่อนลดการสร้างอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเกิดจากเบต้าเซล (β cells) ของตับอ่อนเกิดความล้าจากการปรับตัวในการสร้างอินซูลิน (Insulin) หรือ อาจจะเกิดจากการสูญเสียเนื้อของตับอ่อนในส่วนเบต้าเซล (β cells)ภาวะอ้วน (Obesity) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่เชื่อว่า กระตุ้นให้เกิดภาวะเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) การสร้างน้ำตาลโดยตับไม่เหมาะสม (Inappropriate Glucose Production) ทันทีที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง ตับจะทำหน้าที่ใน การสลายไกลโคเจน (Glycogen) นำมาสร้างเป็นน้ำตาลใหม่เพื่อคงระดับ ของน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในภาวะเหมาะสม

151 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
การปลี่ยนแปลงการสร้างของฮอร์โมน และไซโตไคน์ (Cytokines) โดย เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose Tissue) ซึ่งโดยปกติจะทำหน้าที่สำคัญใน การเมตาบอลิซึมน้ำตาลและไขมัน (Glucose and Fat Metabolism) ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) ในกลุ่มคนที่มีภาวะความดัน โลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท มีความเสี่ยงที่จะเกิด ภาวะเบาหวานมากกว่าคนที่มีความดันโลหิตปกติ

152 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) เป็นกลุ่มอาการ ของความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึมและจะเพิ่มความเสี่ยงต่อระบบหัวใจ และไหลเวียน และภาวะเบาหวาน ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) การเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลิน (Elevated Insulin Level) ระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดสูงขึ้น (High Levels of Triglyceride) ระดับไขมันเอชดีแอลลดลง (Decreased Levels of High-density Lipoprotiens ; HDLs) ระดับไขมันแอลดีแอลเพิ่มขึ้น (Increase Levels of Low-Density Lipoprotiens; LDLs) ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) ภาวะอ้วนลงพุง

153 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) จะมี ประมาณร้อยละ 7 สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) แนะนำ ให้ตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงตั้งแต่การมาฝากครรภ์ครั้งแรก โดยข้อบ่งชี้ในการคัดกรองภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้ อ้วนมาก (Severe Obesity) มีประวัติเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ในท้องก่อน (Pior History of Gestational Diabetes) ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการที่มีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือกลุ่มอาการพีซีโอเอส (Polycystic Ovary Syndrome) มีประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัวด้วยโรคเบาหวาน

154 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
อายุ (Age) พบว่า ผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี มีโอกาสที่จะเกิด เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) มากกว่าผู้ที่อยู่ ในช่วงอายุอื่น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ในบุคคลช่วงอายุดังกล่าวมีกิจกรรม/การออกกำลัง กายลดลง น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นมีและการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ แต่ในทาง กลับกัน ก็พบว่า ในเด็กและวัยรุ่นก็มีอัตราการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจ เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีการใช้พลังงาน ลดลง และได้รับพลังงานจากการรับประทานอาหารมากเกินไป ภาวะสูงอายุ ในผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีระดับน้ำตาลในกระแส เลือดสูง โดยมักจะพบได้บ่อยในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป และยิ่งพบเพิ่มขึ้นในอายุที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ ประมาณร้อยละ 10 ถึง 30 ผู้สูงอายุ

155 ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดเบาหวาน
เชื้อชาติ (Race) พบว่า เชื้อชาติจะมีความเกี่ยวข้องกับเบาหวาน ชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) แต่ยังไม่มี หลักฐานสนับสนุนชัดเจนนัก โดยเชื้อชาติที่มักพบว่า มีแนวโน้มที่จะเกิด เบาหวานมากกว่าเชื้อชาติอื่น เช่น ในคนอเมริกัน คนแอฟริกัน-อเมริกัน กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมสเปน อเมริกัน-อินเดีย หรือเอเชีย-อเมริกัน และ คนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นต้น

156 พยาธิสรีรวิทยาและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

157 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของเบาหวาน (Acute Complications of Diabetes Mellitus) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ภาวะเลือดเป็นกรดจากมีคีโตน (Diabetes Ketoacidosis; DKA) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจนทำให้เกิดออสโมลาริตี้ในเลือดสูงมาก (Hyperglycemic Hyperosmolar Nonketotic Syndrome; HHNS) การติดเชื้อ (Infection)

158 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (70 mg/dL) หรือน้อยกว่า 3.9 มิลลิโมล/ลิตร (3.9 mol/L) สาเหตุ ได้รับอินซูลินหรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณสูงมากเกินไป ได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรืออินซูลินในขณะท้องว่าง ขนาดของยาลดระดับน้ำตาลในเลือด หรืออินซูลินไม่เหมาะสม เช่น ผู้สูงอายุที่มีการทำลาย หรือขับยาออกจากร่างกายลดลงจากไตหรือตับเสื่อม/เสียหน้าที่ ดื่มสุราโดยไม่ได้รับประทานอาหาร ออกกำลังกายหรือทำงานหนักมากกว่าปกติ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 (Diabetes Mellitus Type I) ประมาณร้อยละ 50 จะเกิดภาวะน้ำตาล ในเลือดต่ำในขณะที่นอนหลับเวลากลางคืน หรือช่วงเช้ามืดเนื่องจากเวลากลางคืนเป็น ช่วงเวลาที่ร่างกายไม่ได้รับน้ำตาลจากภายนอกยาวนานกว่าช่วงเวลาอื่น

159 อาการแสดง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเย็น ชื้น (Cold and Clammy skin) เหงื่อออก ชาตามปลายมือ เท้า และปาก หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ อารมณ์ เปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ อาการสั่น มึนงง เป็นลม เดินไม่มั่นคง พูดไม่ เป็นคำ หิว การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่น ตาลาย ตาพร่ามัว และ มองเห็นภาพซ้อน กรณีรุนแรงมากอาจจะชัก หรือหมดสติ ไม่รู้สึกตัวได้

160 การป้องกัน ควบคุมอาหารตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และจำกัดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้พอเหมาะ ห้ามงดรับประทานอาหาร ในกรณีที่ รับประทานอาหารได้น้อยให้รับประทานอาหารชนิดอื่นทดแทน ฉีดอินซูลิน (Insulin) หรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลตามแผนการรักษาของ แพทย์ ทั้งปริมาณ และเวลา สามารถพิจารณาปรับยาฉีดตามการตรวจวัดระดับน้ำตาล การออกกำลังกาย หากนานเกินกว่า 30 นาที ควรปรึกษาแพทย์ ในกรณีที่ออกกำลัง กายมากกว่าปกติ ควรรับประทานอาหารสักเล็กน้อย เช่น ดื่มนม 1 แก้ว หรือแครก เกอร์ 2-3 แผ่น หรือผลไม้ 1 ส่วน ก่อนการออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมงทุก ครั้ง ควรสอนวิธีการติดตามตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Self- monitoring Glucose) อย่างสม่ำเสมอ

161 การป้องกัน ควรแจ้งญาติหรือบุคคลใกล้ชิดให้ทราบว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน และอธิบายวิธี ช่วยเหลือเมื่อมีอาการผิดปกติ ควรมีผลไม้ ลูกอม น้ำตาลก้อน หรือขนมปังแครกเกอร์ติดตัวไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) และ ผู้สูงอายุ ควรพกบัตรแสดงเพื่อแสดงว่า เป็นผู้ป่วยเบาหวานติดตัวไว้เสมอ ในกรณีฉุกเฉิน ผู้ที่ พบเห็นจะได้ช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

162 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ให้ดื่มน้ำหวานปริมาณ มิลลิลิตร หรือดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น น้ำส้มปริมาณ มิลลิลิตร หรือประมาณ ½ -1 แก้ว หรือ รับประทานผลไม้ เช่น กล้วย 1 ผล ส้มขนาดกลาง 1 ผล ซึ่งเทียบเท่ากับกลูโคส กรัม อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมง่ายและจะเพิ่มระดับน้ำตาล ในเลือด มิลลิกรัม/เดซิลิตร (60-65 mg/dL) ที่ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 15 นาที ให้ตรวจน้ำตาลในเลือดและดื่มเครื่องดื่มซ้ำ

163 ภาวะเลือดเป็นกรดจากมีคีโตน (Diabetes Ketoacidosis; DKA)
พบมากในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) แต่ก็ยังสามารถพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) แต่น้อย โดยมีสาเหตุจากการขาดอินซูลิน (Insulin Deficiency) จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เป็นระยะเวลานาน ร่างกายจึงต้องสลายแหล่งพลังงานจากที่อื่นมาใช้ เช่น การสลาย ไขมันที่เก็บสะสมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์คือ คีโตน (Ketone Body) ทำให้มีคี โตนในเลือด (Ketosis) ซึ่งคีโตน (Ketone) มีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำให้เลือดมี ภาวะเป็นกรด (Acidosis)ไปด้วย จึงเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการเผาผลาญ (Metabloic Acidosis)

164 สาเหตุ มีการติดเชื้อในร่างกายทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียด (Stress)
การได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ ไม่ทราบว่า ตนเองเป็นเบาหวานจึงไม่ได้รับยารักษาเบาหวาน ไม่สนใจภาวะสุขภาพของตน ละเลยการรักษา

165 อาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียนมาก พบในผู้ป่วย DKA เกือบทุกราย
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ถ่ายปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ บางรายอาจมีปัสสาวะมากกว่า 5 ลิตร/วัน (5 L/d) อาการแสดงของภาวะไม่สมดุลน้ำ เช่น ความตึงตัวของผิวไม่ดี (Poor Skin Turgor), เยื่อบุต่างๆแห้ง (Dry Mucous Membrane), หัว ใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) และมีความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) หากมีอาการรุนแรงจะแสดงอาการ ของภาวะไม่สมดุลน้ำอย่างรุนแรง ผิวแห้งเหี่ยว สูญเสียความชุ่มชื้น ตาลึกโหล ปวดท้องซึ่งเป็นอาการที่อาจเกิดจากเบื่ออาหาร (Anorexia) และอาเจียน (Vomiting)

166 อาการและอาการแสดง Kussmaul Respiration เป็นอาการหายใจเร็ว ลึกและมีอาการ หายใจลำบากร่วมด้วย ซึ่งมักจะเกิดเมื่อ ร่างกายอยู่ในภาวะเป็นกรดจากเมตาบอลิก (Metabolic Acidosis) ซึ่งจะพบว่า ผู้ป่วยจะมีกลิ่นหายใจหอมหวาน คล้ายผลไม้ เมื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจะพบว่า จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (250 mg/dL) หรือมากกว่า 13.9 มิลลิโมล/ลิตร (13.9 mmol/L) ตรวจค่าความเป็นกรด-ด่างในเลือดจะพบว่า มี pH น้อยกว่า 7.3 และซีรัมไบคาร์บอเนต (Serum Bicarbonate; HCO3-น้อยกว่า 15 มิลลิอิควิวาเลนซ์/ลิตร (15 mEq/L) ตรวจพบคีโตนในเลือดและปัสสาวะ : positive ketone ในปัสสาวะและหรือใน เซรั่ม

167 การป้องกัน ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเพื่อให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งในเรื่องการ ควบคุมอาหาร การฉีดอินซูลิน (Insulin) และการออกกำลังกาย หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (240 mg/dL) ควร งดเว้นการออกกำลังกาย และควรตรวจระดับคีโตนในปัสสาวะร่วมด้วย ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเจ็บป่วย ห้ามหยุดยาฉีดอินซูลิน (Insulin) เมื่อเจ็บป่วย ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อปรับ ขนาดของอินซูลินตามความเหมาะสม

168 การป้องกัน ควรไปพบแพทย์ หากมีอาการดังต่อไปนี้
อาเจียนมากรับประทานอาหารไม่ได้เลยใน 2 ชั่วโมง มีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส (39 oC) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 400 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (400 mg/dL) นานเกิน 12 ชั่วโมง ฉีดอินซูลินชนิดน้ำใส เพิ่ม 20% มากกว่า 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง แต่ อาการและผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หรือในปัสสาวะไม่ดีขึ้น

169 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน
ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด/จากปลายนิ้ว (Dextrostrix) หรือในปัสสาวะ ตรวจติดตามระดับคีโตน (Ketone) ในปัสสาวะ หรือในเลือด ดูแลให้ได้รับอินซูลินชนิดใส (Short Acting) เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคี โตน (Serum Ketone) ถ้า 4 ชั่วโมงต่อมายังตรวจพบคีโตนอีก ให้รายงานแพทย์เพื่อ พิจารณาปรับแผนการรักษา ดูแลการได้รับสารน้ำชนิด Isotonic Solution ทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินการทำงานของไต ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอัตราและลักษณะการเต้นของหัวใจ อัตราและลักษณะของการ หายใจ ตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ประเมินอาการทางระบบประสาท/ระดับความรู้สึกตัว ดูแลการได้รับอิเลคโตรลัยท์ (Electrolyte) ตามแผนการรักษา เมื่อตรวจพบภาวะไม่สมดุล ของอิเลคโตรลัยท์ (Electrolyte Imbalance)

170 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจนทำให้เกิดออสโมลาริตี้ในเลือดสูงมาก (Hyperglycemic Hyperosmolar Nonketotic Syndrome; HHNS) การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนเลือดมีความเข้มข้นสูงมาก แต่ไม่ มีภาวะเลือดเป็นกรด พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) ในวัยกลางคน หรือวัย สูงอายุที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี หรือเมื่อมีการเจ็บป่วย รุนแรง หรือมีภาวะติดเชื้อ จะมีการหลั่งฮอร์โมนต่างๆซึ่งทำให้ความ ต้องการอินซูลินเพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายหลั่งอินซูลินได้ไม่พอ หรือการ ตอบสนองของอินซูลินลดลง

171 สาเหตุ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เช่น รับประทานอาหารชนิดคาร์โบไฮเดรตมาก เกินไป ขาดการออกกำลังกาย รับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือฉีดอินซูลิน ไม่สม่ำเสมอ หรือขาดยา บางคนอาจเกิดภาวะนี้โดยไม่ทราบมาก่อนว่า เป็น เบาหวาน การเจ็บป่วยอย่างรุนแรง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease) หรือการติดเชื้อรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (Urinary Tract Infection) ได้รับยาที่ต้านฤทธิ์อินซูลิน (Insulin) เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ยาขับปัสสาวะ

172 อาการแสดง กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติ โดยเฉพาะใน เวลากลางคืน ต่อเนื่องกันหลายวันหรือสัปดาห์ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ตาพร่า มัว ซึม หรืออาจจะหมดสติ ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการชักกระตุก เฉพาะที่

173 การป้องกัน ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้ ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รับประทานยาหรือการฉีดยาอย่างสม่ำเสมอ ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการ ผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว กระหายน้ำและมีปัสสาวะมากผิดปกติถ้าพบว่า ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น ให้ปรับเพิ่มขนาดของยา และปรับอาหารตามคำแนะนำจากทีมผู้ดูแลรักษา ถ้าระดับ น้ำตาลในเลือดยังไม่ลดลง หรือมีอาการชักกระตุกเฉพาะที่ หรือมีอาการซึม ให้รีบพามารักษาตัวใน โรงพยาบาล อย่าหยุดอินซูลิน หรือหยุดรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดเอง ถึงแม้ว่า จะรับประทานอาหาร ไม่ได้ ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ หากเจ็บป่วย ควรพบแพทย์และต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่า เป็นเบาหวาน เพื่อที่แพทย์จะ ได้หลีกเลี่ยงยาที่มีอันตรกิริยา (Drug Interaction) กับยาลดระดับน้ำตาล ในเลือด หรืออินซูลิน (Insulin)

174 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจนทำให้เกิดออสโมลาริตี้ในเลือดสูงมาก
ติดตามการตรวจหาระดับน้ำตาลจากปลายนิ้ว (Dextrostrix) หรือปัสสาวะ ดูแลการได้รับอินซูลิน (Insulin) ตามแผนการรักษาของแพทย์ หากผู้ป่วยรู้สึกตัว กระตุ้นให้ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดมากๆ จะช่วยการเพิ่มการขับน้ำตาลออก จากร่างกายทางปัสสาวะ ดูแลการได้รับสารน้ำชนิด Isotonic Solution ทางหลอดเลือดดำตามแผนการ รักษา ดูแลการได้รับอิเลคโตรลัยท์ทดแทนตามแผนการรักษา สังเกตภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะที่มี อินซูลินในเลือดต่ำ(Hypoinsulinemia) และ ภาวะปัสสาวะมากจากการขับ ออสโมติกเอเจนท์ออกทางไตมากขึ้น (Osmotic Diuresis) บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของไต

175 การติดเชื้อ (Infection)
ผู้ป่วยเบาหวานมักจะเกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ง่ายกว่าผู้ป่วยอื่น กลไกในการที่ทำ ให้เกิดการติดเชื้อนั้น เกิดจากปัญหาในการเคลื่อนไหวของเซลที่ต่อต้านการติดเชื้อ เช่น เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลด์ (Neutrophils) และโมโนไซต์ (Monocyte) ทำให้ความสามารถในการจับและทำลายเชื้อโรคลดลง นอกจากนั้น การเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือด สูงอยู่เป็นระยะเวลานาน และมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้การเกิดการติดเชื้อ เช่น การเสื่อม ของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)

176 การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อในร่างกาย
การดูแลสุขภาพทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ เช่น การดูแลสุขภาพผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณ อวัยวะส่วนปลาย เหงือก และช่องปาก ร่วมกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแส เลือดให้เหมาะสมจะสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการหลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคมากกว่า คนปกติ แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติของการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยเบาหวานเมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแล้วนั้น มี โอกาสที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล 2 เท่าของคนปกติ

177 Angiopathy Diabetic Retinopathy Diabetic Nephropathy
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน (Chronic Complications of Diabetes Mellitus) Angiopathy Diabetic Retinopathy Diabetic Nephropathy Diabetic Neuropathy

178 Angiopathy ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เกิดจากการทำลายของหลอดเลือดซึ่งเป็นผลมา จากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานซึ่งภาวะนี้ จะ เป็นสาเหตุให้นำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยพบว่า ประมาณร้อยละ 68 ของผู้ที่เสียชีวิตมักจะเกิดจากโรคทางระบบหัวใจและไหลเวียน และ ประมาณร้อยละ 16 เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง (Strokes)

179 ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular Complication)
เป็นภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดใหญ่และขนาดเล็กซึ่งรวมถึงหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดส่วนปลายด้วย ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดภาวะเหล่านี้ ได้แก่ อ้วน (Obesity) สูบบุหรี่ (Smoking) ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) พฤติกรรมการรับประทานอาหาร สมาคมผู้ป่วยเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ หลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ไว้ดังนี้ ความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 130/80 มิลลิเมตรปรอท ( < 130/80 mmHg) LDL น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหรือน้อยกว่า 2.6 มิลลิโมล/ลิตร (100 mg/dL หรือ 2.6 mmol/L) Triglyceride น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (150 mg/dL) หรือน้อยกว่า 1.7 มิลลิโมล/ลิตร (1.7 mmol/L) HDL มากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (40 mg/dL) หรือมากกว่า 1.0 มิลลิโมล/ลิตร (1.0 mmol/L) ในเพศชาย HDL มากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (50 mg/dL) หรือมากกว่า 1.3 มิลลิโมล/ลิตร (1.3 mmol/L) ในเพศหญิง

180 ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก (Microvascular Complication)
เป็นผลมาจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (Arterioles) และหลอด เลือดแดงฝอย (Capillaries) ที่ตอบสนองต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะ เวลานาน (Chronic Hyperglycemia) โดยที่มักจะเกิดกับหลอดเลือดขนาด เล็ก เช่น นัยน์ตา ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา (Diabetic Retinopathy) และภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic Nephropathy) รวมถึงภาวะแทรกซ้อน ที่ ผิวหนัง (Dermopathy) การตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาด เล็กนี้ควรตรวจตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) แต่ส่วนใหญ่ จะเริ่มปรากฎอาการเมื่อเป็น เบาหวานแล้ว ปี

181 Diabetic Retinopathy กระบวนการที่หลอดเลือดขนาดเล็กที่ตาถูกทำลาย และเกิดการอุดตันซึ่งเป็นผลมา จากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้มีจุดเลือดออก มีการรั่วของพลาสมา (Plasma Leakage) จอประสาทตาบวม การทำงานเสื่อมสภาพลง เมื่อ เริ่มเป็นอาจจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นจะเกิดหลอดเลือดฝอยใหม่ขึ้นมา แทนที่ ซึ่งหลอดเลือดฝอยที่เกิดใหม่เหล่านี้จะเปราะและแตกง่าย ทำให้เกิดเลือดออก ในจอประสาทตา หรือบางครั้งแตกเข้ามาในวุ้นของลูกตา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตามัว การมองเห็นถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ หากมีเลือดออกรุนแรงมากอาจจะทำให้ตาบอด ได้

182 อาการแสดงของการเปลี่ยนแปลงในตาของผู้ป่วยเบาหวาน
อาการตามัวชั่วคราว เนื่องจากเลนส์มีการเปลี่ยนแปลง จากระดับน้ำตาลที่เปลี่ยนแปลงเร็วๆ เช่น สูงมาก หรือ ในทางกลับกันจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงแล้วกลับลงมาอยู่ในระดับปกติ ในช่วงแรกๆอาจมีอาการตามัวชั่วคราว ได้ ไม่ควรปรับแว่นสายตาในช่วงนี้ ตามองเห็นภาพซ้อน เกิดจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ กล้ามเนื้อตาทำงานไม่ประสานกัน ต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งจะเป็นชนิดที่รักษายาก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ปวดศีรษะเนื่องจากมีเส้นเลือด มาเลี้ยงบริเวณม่านตามากขึ้น พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ต้อกระจก (Cataract) โดยเลนส์ตาที่รับแสงจะเกิดภาวะขุ่น ทำให้เกิดอาการตามัวในคนปกติ เมื่อสูงอายุขึ้น มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะต้อกระจก (Cataract) แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะพบอุบัติการณ์ของต้อกระจกเพิ่มขึ้นได้ในผู้ป่วยเบาหวาน แม้แต่ในผู้ป่วยอายุน้อยซึ่งจะแสดงความก้าวหน้าของ โรค (Progress of Disease) ที่รวดเร็วมากกว่าคนปกติ กระจกตาและเยื่อหุ้มตามีความผิดปกติ ความรู้สึกรับสัมผัสของกระจกตาลดลง กระจกตาถลอกได้มากกว่าคน ปกติ กระจกตาติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ที่ใส่เลนส์สัมผัส (Contact Lens) และเป็นแผลที่กระจกตาได้ง่าย ขึ้น Diabetic Retinopathy

183 Diabetic Nephropathy เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease; ESRD) ที่พบได้บ่อยที่สุดร้อยละ 40 ของผู้ป่วยในประเทศสหรัฐอเมริกา และจากการสำรวจเมื่อปี พศ ในประเทศไทยพบร้อยละ 34 การแบ่งระยะ (Staging) ของ Diabetes Nephropathy ใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) ออกเป็น 5 ระยะ

184 Diabetic Nephropathy ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มี renal hypertrophy และ hyper filtration ซึ่งพบได้ตั้งแต่เริ่มแรกของการวินิจฉัย ในระยะนี้จะพบว่า ผู้ป่วยจะมี GFR เพิ่มขึ้นร้อยละ เมื่อเทียบกับประชากรในวัยเดียวกัน แต่หลังจากให้ การรักษาด้วย Insulin จะพบว่า GFR จะลดลงจนเป็นปกติได้ ระยะที่ 2 เรียกว่า “Slient Nephropathy” ในระยะนี้จะยังคงมี Hyperfiltration มีความดันโลหิต และUrinay Albumin Excretion Rate (UAER) ปกติ พบได้แม้ให้การรักษาระดับน้ำตาลแบบ ปานกลาง (Average Glycemic Control) ผู้ป่วยจะอยู่ในระยะนี้ ประมาณ 5-15 ปี จากการวิจัย พบว่า ปริมาณของ Hyperfiltration ที่ เกิดขึ้นจะแปรผันตรงกับระดับของน้ำตาลในเลือดที่สูงจนถึง 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (250 mg/dL) เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่านี้จะแปรผกผันกับ GFR คือ อัตราการกรองที่ไตจะลดลง

185 Diabetic Nephropathy ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มี Microalbuminuria มักเกิดภายในระยะเวลา ปีนับแต่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวาน จะพบว่า ระดับ GFR อาจจะยังสูงกว่าปกติหรือ ลดลงมาสู่ระดับปกติ การเกิด Microalbuminuria จะสัมพันธ์กับความดันโลหิตที่ เพิ่มขึ้นเล้กน้อย ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ตรวจพบ Albuminuria ได้มากกว่า 200 ไมโครกรัม/นาที หรือมากกว่า 300 มิลลิกรัม/ 24 ชั่วโมง มีระดับโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 500 มิลลิกรัม/24 ชั่วโมง ระยะที่ 5 เป็นระยะที่เกิด ESRD โดยมี GFR ลดต่ำกว่า 15 มิลลิตร/นาที/ ตารางเมตร (15 ml/min/ 1.73 m2) พบได้ในปีที่ 7-10 หลังจากเข้าสู่ ระยะที่ 4 หากไม่ได้รับการรักษาใดๆ หรือประมาณร้อยละ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) ที่เป็นเบาหวานมานาน ปี แต่ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) มักจะพบในปีที่ 5-25

186 Diabetic Neuropathy ภาวะที่เส้นประสาท (Nerve) ถูกทำลายที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิด (Diabetes Mellitus Type I และ II) เนื่องจากความผิดปกติของ เมตาบอลิซึม หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะที่เส้นประสาทถูกทำลายที่ มักจะพบได้บ่อย คือ ภาวะเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกทำลาย (Sensory Neuropathy) ซึ่งจะทำให้การรับรู้ความรู้สึกต่างๆโดยเฉพาะความรู้สึก เจ็บปวดที่อวัยวะส่วนปลาย (Lower Extremities) เช่น ปลายมือ ปลายเท้า หรือนิ้วเท้า และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อวัยวะส่วนนั้นถูกตัด

187 การประเมินผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การประเมินผู้ป่วยเบาหวานตามคำแนะนำของสมาคม โรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) ปี คศ มีดังนี้ การซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน การตรวจร่างกายของผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและ/หรือการตรวจพิเศษ

188 การซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน
ภาวะปัสสาวะมาก (Polyuria) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะมาก, กระหายน้ำมาก (Polydypsia) กระหายน้ำมาก, รับประทานอาหารจุ (Polyphagia) โดย เป็นผลจากแรงดันออสโมติก (Osmotic Pressure) ของน้ำตาลในกระแส เลือด และมักจะพบอาการเหล่านี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) มีน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เนื่องจากการที่ผลิตอินซูลิน (Insulin) ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และ/หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำ ให้น้ำตาลมีอยู่ในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ น้ำหนักตัวลดลง (Weight Loss) มักจะพบในเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) ซึ่งเกิดจากการที่อินซูลิน (Insulin) ไม่ สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปใช้ในเซลได้ ดังนั้น จึงต้องสลายพลังงานจากแหล่ง อื่น เช่น ไขมัน และโปรตีนเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน

189 การซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน
ตามัว (Blurred Vision) การมองเห็นไม่ชัดเจน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) อาการเหล่านี้จะแสดงเมื่อ ได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานและไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ได้แล้วประมาณ 5 ปี ส่วนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานต้องทำการ ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ทันที แผลที่เกิดขึ้นจะหายช้า (Slow wound healing) มีการติดเชื้อที่ช่องคลอด/อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (Vaginal Infection and Genital Organ Infection) อ่อนแรงและมีอาการชา (Weakness and Paresthesias) มีอาการเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่ดี (Signs of inadequate circulation to the feet)

190 การซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน
มีอาการแสดงของหลอดเลือดแดงแข็งจากไขมันอุดตัน (Atherosclerosis) ที่อวัยวะสำคัญ เช่น ไต สมอง หัวใจ และหลอด เลือดฝอยส่วนปลาย ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) มักจะ ไม่มีอาการแสดงที่จำเพาะเนื่องจากในระยะแรกของการเป็นเบาหวานนั้น จะยังไม่ แสดงอาการให้เห็นมากนัก อาการแสดงส่วนใหญ่ที่มักพบในเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) คือ อาการอ่อนเพลีย (Fatigue) การติดเชื้อซ้ำๆ (Recurrent Infection) การติด เชื้อรา หรือยีสต์ในช่องคลอดซ้ำๆ (Recurrent Vaginal Yeast or Candidal Infection) เป็นแผลแล้วหายยาก (Prolong Wound Healing) การมองเห็นเปลี่ยนแปลง (Visual Change)

191 การซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน
ประวัติครอบครัว (Family history) เมื่อซักประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัวแล้วพบว่า มีการเจ็บป่วย เป็นเบาหวาน บุคคลนั้นจะมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานมากกว่าบุคคลที่ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยใน ครอบครัวด้วยเบาหวาน หรือประวัติความผิดปกติในครอบครัวเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) ถ้าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีโอกาส พัฒนาไปเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus type II) ได้ โดยเฉพาะเมื่อพบว่า ทารกที่ เกิดมามีน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม ประวัติการคุมกำเนิด การมีบุตร เพื่อปรึกษาวางแผนครอบครัว ประวัติการรักษาเดิม ความสม่ำเสมอของการรับการรักษา การรักษาเดิมที่ได้รับ เพื่อประเมินความสนใจภาวะ สุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน การออกกำลังกาย การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การใช้ยาอื่นที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาล ความถี่และความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (Diabetes Ketoacidosis)

192 การตรวจร่างกายของผู้ป่วย
การตรวจสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต (Blood Pressure) เนื่องจาก ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) ปริมาณ ร้อยละ 60 จะพบว่า มีความดันโลหิตสูง (Hypertension) มากกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท (130/80 mmHg) สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) ถ้าพบว่า มีความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการ เช่น ปลายมือปลายเท้าบวม หรือปวดศีรษะ ถ้าความดันโลหิตสูงมากอาจเสี่ยงต่อภาวะหลอด เลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เป็นสาเหตุให้เป็นอัมพาตหรือ เสียชีวิตได้ การวัดส่วนสูงและน้ำหนัก นอกจากเป็นการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย จากการ คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) ของผู้ป่วยแล้วยังนำมาใช้ ประเมินความสามารถในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ตามเกณฑ์

193 การตรวจร่างกายของผู้ป่วย
การวัดรอบเอว พบว่า การกระจายตัวของไขมัน (Fat distribution) โดยเฉพาะผู้ที่ มีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องหรืออ้วนลงพุงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) มากกว่าผู้ที่มีการสะสมของไขมันบริเวณ อื่น โดยปกติ เพศชายไม่ควรมีเส้นรอบเอว (Waist Circumference) เกิน 90 เซนติเมตร (90 cm) ในเพศหญิงไม่ควรมีเส้นรอบเอว (Waist Circumference) เกิน 80 เซนติเมตร (80 cm) การตรวจอาการแสดงของโรคอื่นที่ทำให้เกิดเบาหวาน เช่น Acromegaly, Cushing’s Syndrome, ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid examination) การตรวจท้องโดยเฉพาะตับเพื่อตรวจหาภาวะตับโต (Hepatomegaly)

194 การตรวจร่างกายของผู้ป่วย
การตรวจเหงือกและฟัน การตรวจตา (Fundoscopy) ในผู้ป่วยชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) ตรวจเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน เพื่อ ประเมินระดับความรุนแรงของโรคในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) ตรวจเมื่อเป็นเบาหวานมานาน 5 ปีขึ้นไป การตรวจผิวหนัง การตรวจมือ เล็บและเท้า เป็นการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิด แผลที่เท้า การตรวจผิวหนังโดยทั่วไปและตำแหน่งที่ฉีดยาอินซูลิน (Insulin)

195 การตรวจทางห้องปฏิบัติการและ/หรือการตรวจพิเศษ
การตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือด/พลาสม่า โดยเฉพาะในกลุ่ม Pre- diabetes ภาวะ Impaired Fasting Glucose (IFG) หรือ Impaired Glucose Tolerance (IGT) จะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเมื่ออด อาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Glucose) อยู่ที่ 100 mg/dL (5.56 mmol/L) ถึง 125 mg/dL (6.9 mmol/L) หรือมี Oral Gluocose Tolerance Test (OGTT) อยู่ระหว่าง 140 mg/dL (7.8 mmol/L) ถึง 199 mg/dL (11.0 mmol/L) หรือมีค่า HgB A1C อยู่ระหว่าง 5.7% ถึง 6.4%

196 การตรวจทางห้องปฏิบัติการและ/หรือการตรวจพิเศษ
ผลการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HgB A1C) หรือการตรวจฟรุคโตซามีน (Fructosamine) เป็นการตรวจวัดความสามารถในการที่กลูโคสจับกับโปรตีนโดยไม่ ต้องใช้เอนไซม์ (Enzyme) เป็นไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ค่าปกติ % ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเมื่ออยู่ในภาวะอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (126 mg/dL) หรือมากกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิโมล/ลิตร (7 mmol/L) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ในการยืนยันอาการแสดงของภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง เช่น ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ และรับประทานจุ ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม (Random Plasma Glucose) มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (200 mg/dL) หรือ 11.1 มิลลิโมล/ลิตร (11.1 mmol/L)

197 การตรวจทางห้องปฏิบัติการและ/หรือการตรวจพิเศษ
ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากรับประทานน้ำตาล 75 มิลลิกรัม (75 mg) แล้ว 2 ชั่วโมง (Two-hours Plasma Glucose Level) มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (200 mg/dL) หรือ 11.1 มิลลิโมล/ลิตร (11.1 mmol/L) โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีนี้เป็นการตรวจที่ให้ผลการทดสอบที่แน่นอนที่สุด การตรวจคีโตนในปัสสาวะ (Urine Ketone) ในคนปกติจะสร้างคีโตนใน ปริมาณที่น้อยมาก คือ มีปริมาณในเลือดน้อยกว่า 0.5 มิลลิโมล/ลิตร (0.5 mmol/L) เนื่องจากมีอินซูลิน (Insulin) ในการยับยั้งกระบวนการสลาย ไขมัน (Lipolysis) ให้เป็นกรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid) การตรวจโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ (Urinary Albumin Excretion Rate; UAER) เป็นการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคไตจากภาวะเบาหวาน คน ปกติจะมีค่า UAER น้อยกว่า 20 มิลลิกรัม/วัน (20 mg/d) หรือ 15 ไมโครกรัม/นาที (15 µg/min)

198 การตรวจทางห้องปฏิบัติการและ/หรือการตรวจพิเศษ
การตรวจ Fasting Lipid Profile การตรวจ Thyroid Stimulating Hormone (TSH) ควรตรวจ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Type I) ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) ตรวจเมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็น เบาหวานชนิดที่ 2 การตรวจ Microalbumnuria เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) และควรตรวจในเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type II) เมื่อเป็นมานานแล้ว 5 ปี ขึ้นไป การตรวจ BUN, Creatinine เป็นการตรวจการทำงานของไตในการกรองของ เสียออกจากร่างกาย จะตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เบาหวาน

199 การรักษาในผู้ป่วยเบาหวาน
เป้าหมายในการรักษาเบาหวาน คือ ลดอาการแสดงของ เบาหวาน ส่งเสริมการมีภาวะสุขภาพที่ดี และป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังของเบาหวานซึ่งการจะ บรรลุเป้าหมายในการรักษาเบาหวานเหล่านี้ คือ การที่ผู้ป่วย เบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติหรือ ใกล้เคียงกับภาวะปกติที่สุด

200 การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันขึ้นกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) ต้องการยาฉีดอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดโดยอาจต้องฉีดยาถึงวันละ 5-6 ครั้ง แต่ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) ต้องการแค่การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และ/หรือการรับประทานยาลด ระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในบางครั้งที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนถึงภาวะ อันตรายก็อาจจะต้องการยาฉีดอินซูลิน (Insulin) เพื่อลดระดับน้ำตาลอย่าง รวดเร็วเป็นครั้งคราว

201 อินซูลิน (Insulin) Rapid-acting Insulin Short-acting Insulin
Lispo (Humalog), Clear Aspart (NovoLog), Clear Glulisine (Apidra), Clear Short-acting Insulin Regular (Humulin R, Novolin R, ReilOn R), Clear Intermediate-acting Insulin NPH (Humulin N, Novolin N, ReilOn N), Cloudy

202 อินซูลิน (Insulin) Long-acting Insulin Combination Therapy (Premixed)
Glargine( Lantus), Clear Determir (Levemir), Clear Combination Therapy (Premixed) NPH /regular 70/30* (Humlin 70/30 Novolin 70/30, ReliOn 70/30), Cloudy NPH /regular 50/50* (Humlin 50/50), Cloudy Lispo protamine/Lispo 75/25* (Humalog Mix 75/25), Cloudy Aspart protamine/Aspart 70/30*(NovoLog Mix 70/30), Cloudy

203 การเก็บรักษาอินซูลิน (Storage of Insulin)
อินซูลิน (Insulin) เป็นโปรตีนจึงต้องการการจัดเก็บที่พิเศษ เนื่องจากความร้อนจัดหรือเย็นจัดจะทำลายโมเลกลุของโปรตีน ขวด อินซูลินก่อนที่จะเปิดใช้ควรต้องเก็บที่อุณหภูมิประมาณ 4 องศา เซลเซียส ( 4 OC) ตามอายุข้างขวด หลังเปิดใช้แล้วสามารถเก็บไว้ ที่อุณหภูมิประมาณ 4-25 องศาเซลเซียส(4-25 OC) ได้ ประมาณ 4 สัปดาห์ หากต้องเดินทางสามารถเก็บไว้ในกระติกใส่ น้ำแข็ง ห้ามแช่แข็ง ได้ตลอดระยะเวลาเดินทางแม้ว่า จะเดินทางไปใน ประเทศเขตร้อนก็ตาม

204 การฉีดอินซูลิน (Insulin Injection)
ล้างมือให้สะอาด ตรวจดูชนิดของอินซูลิน ขนาด และวิธีการได้รับอินซูลินให้ถูกต้องตามแผนการรักษาของแพทย์ ตรวจดู วันหมดอายุข้างขวด (หากเปิดใช้ครั้งแรก) และตรวจดูวันหมดอายุก่อน 4 สัปดาห์ ภายหลัง เมื่อเปิดใช้ ครั้งแรก ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึงขวดอินซูลิน (Insulin) ไปมาอย่างเบามือเพื่อผสมสารละลายอินซูลิน เฉพาะในอินซูลินชนิดขุ่น (Cloudy) ในขณะที่อินซูลินชนิดใส (Clear) ไม่ต้องคลึงขวด ดูดอินซูลินจากขวดตามขนาดที่แพทย์สั่งใช้ เลือกบริเวณที่ฉีดอินซูลินที่เหมาะสม ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์และฉีด เข้าไปในชั้น Subcutaneous tissue โดยปักเข็มทำมุม 90 องศา (90O) ภายหลังจากฉีดอินซูลินแล้ว ห้ามคลึงผิวบริเวณที่ฉีด ให้กดผิวหนังบริเวณนั้นไว้ประมาณ 5 วินาที ทิ้งเข็มและกระบอกฉีดยาอินซูลินในภาชนะที่เหมาะสม

205 การเลือกบริเวณที่จะฉีดอินซูลิน
ตำแหน่งที่อินซูลินดูดซึมได้ดีที่สุด คือ บริเวณหน้าท้อง รองลงมา คือ หน้าขาส่วนบน และแขน ตามลำดับ

206 ปัญหาจากการใช้อินซูลิน (Problem with Insulin Therapy)
Allergic Reaction ปฏิกิริยาการแพ้เฉพาะที่ เป็นปฏิกิริยาการอักเสบของ ร่างกายเฉพาะที่ที่มีต่ออินซูลิน เช่น อาการคัน ผื่นแดง และอาจมีแผลไหม้ (Burn) รอบๆผิวหนังที่ฉีดอินซูลินซึ่งมักจะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 1-3 เดือน หรือได้รับการรักษาด้วย Anti-histamine ในขนาดต่ำๆ Lipostrophy เป็นการฝ่อของผิวหนังชั้น Subcutaneous tissue ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการที่ใช้ผิวหนังบริเวณนั้น ฉีดอินซูลินบ่อยเกินไป แก้ไขได้ด้วยการงดฉีดอินซูลินบริเวณผิวหนังส่วนนั้นประมาณ 6 เดือน ผิวหนังบริเวณดังกล่าว ก็จะกลับมาสู่สภาพปกติ และสามารถป้องกันได้ ด้วยการสลับสับเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดอินซูลินอยู่เสมอ

207 ปัญหาจากการใช้อินซูลิน (Problem with Insulin Therapy)
Somogyi Effect เป็นปฏิกิริยาย้อนกลับของการใช้อินซูลินเกินขนาด (Rebound effect in which an overdose of insulin) ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลใน เลือดต่ำ (Hypoglycemia)ในขณะที่ผู้ป่วยหลับ ซึ่งปฏิกิริยาตรงกันข้ามของร่างกายที่จะเกิด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกาย คือ การสลายไขมัน (Lipolysis) การสร้างน้ำตาลกลูโคส จากไกลโคเจน (Gluconeogenesis) และการสลายไกลโคเจน (Glycogenolysis) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลับมามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) และมีคีโตนในเลือดสูง (Ketosis) ทำให้แพทย์และทีมสุขภาพผู้ให้ การดูแลอาจจะเพิ่มขนาดของอินซูลินดังนั้นจึงเกิดวงจรเหล่านี้ซ้ำๆกันทุกวัน ผู้ป่วยมักบ่นว่า ปวดศีรษะ และอาจจะมีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน หรือฝันร้าย ดังนั้น ในผู้ป่วยที่ สงสัยว่าจะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับของการใช้อินซูลินเกินขนาด (Somogyi Effect) ควรต้อง ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (Dextrostrix) ในเวลาเช้า และเพิ่มการตรวจระดับ น้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (Dextrostrix) ในช่วงเวลา น. และ น. เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลต่ำในกระแสเลือด (Hypoglycemia)

208 ปัญหาจากการใช้อินซูลิน (Problem with Insulin Therapy)
Dawn Phenomenon เป็นปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำตาล ในเลือดสูงเมื่อเวลาตื่นตอนเช้า ซึ่งเกิดจากระดับของอินซูลินที่จะมีขึ้น สูงสุดเมื่อเวลาก่อนฟ้าสาง (Predawn hours) จากการ ทำงานของโกร๊ทฮอร์โมน (Growth Hormone) และคอร์ติ ซอล (Cortisol) พบในผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ และมีแนวโน้ม จะรุนแรงมากขึ้นหากผู้ป่วยเบาหวานนั้นเป็นเด็กหรือเข้าสู่วัยรุ่น การ รักษาปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเมื่อเวลาตื่นตอนเช้า (Dawn Phenomenon) จะใช้การปรับระยะเวลาให้ อินซูลินให้ถี่ขึ้น หรือการเพิ่มขนาดของอินซูลิน

209 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Agents)
Sulfonylureas Glipizide (Glucotrol, Glucotrol XL) Glyburide (Micronase, DiaBeta, Glynase) Glimepiride (Amaryl) Oral กระตุ้นการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสลายไกลโคเจนและลดการ สังเคราะห์กลูโคสใหม่ และเพิ่มความไวต่ออินซูลินของเซล SE น้ำหนักเพิ่ม น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

210 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Agents)
Meglitinides Repaglinide (Prandin) Nateglinide (Strarlix) Oral กระตุ้นการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อนให้เร็วขึ้นกว่าปกติ SE น้ำหนักเพิ่ม น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

211 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Agents)
Biguanides Metformin (GLucophage, GLucophage XR, Riomet, Foramet) Oral ลดอัตราการสร้างน้ำตาลจากตับโดยการกระตุ้นให้น้ำตาลดูดซึม เข้าสู่เซลกล้ามเนื้อ SE ท้องเสีย มีภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกคั่ง (Lactic Acidosis) ห้ามให้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดนี้ในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีด สีภายใน 48 ชั่วโมง

212 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Agents)
Alpha-Glucosidase Inhibotors Acarbose(Precose) Miglitol (Glyset) Oral ชะลอระยะเวลาการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร SE ท้องอืดเนื่องจากมีแก๊สในทางเดินอาหาร ปวดท้อง และ ท้องเสีย

213 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Agents)
Thiazolidinediones Pioglitazone (Actos) Rosiglitazone (Avandia) Oral เพิ่มการดูดซึมกลูโคสของเซลกล้ามเนื้อ และลดการสร้างกูล โคสในร่างกาย SE น้ำหนักเพิ่มขึ้น บวม และเป็นข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจ ล้มเหลว

214 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Agents)
Dipeptidyl Peptidase-4 (DDP-4) Inhibitor Sitagliptin (Januvia) Vidagliptin (Galvus) Oral กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน และลดการสร้างน้ำตาล จากตับ SE ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เกิดแผลในคอ (Sore throat) ปวดศีรษะ และท้องเสีย

215 การใช้โภชนบำบัด (Nutritional Therapy)
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังของเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิตต้องลดลง เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อระบบ หัวใจและไหลเวียนโลหิต ต้องสามารถปรับเข้ากับการดำรงชีวิตประจำวันได้ง่าย เพื่อลดหรือรักษาภาวะ อ้วน/น้ำหนักเกิน (Obesity) ภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ (Dyslipidemia) โรคของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต และภาวะไต ถูกทำลาย (Nephropathy) ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น ความผิดปกติของระบบต่างๆลดลง ต้องสามารถนำไปปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรม ความเชื่อ การดำรงชีวิตชอง ผู้ป่วยในแต่ละรายได้ง่าย

216 ส่วนประกอบของอาหารผู้ป่วยเบาหวาน (Food Composition)
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันประเภทไม่ อิ่มตัว เชิงเดี่ยว (monosaturated fats) ประมาณร้อยละ ของ พลังงานทั้งหมดที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน คาร์โบไฮเดรตที่ได้ ควรมาจาก ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole grains) ผลไม้ (Fruits) ผัก และนมประเภทไขมันต่ำ (Low- fat milk) ไม่แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low- carbohydrate) ไกลซีมิกอินเด็กซ์ (Glycemic Index; GI) เป็นศัพท์ที่ใช้ในการวัดผลของ คาร์โบไฮเดรตต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นภายหลังจากการที่คนรับประทานอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ เมื่อคนเรารับประทานอาหารเข้าไปในร่างกาย คาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างรวดเร็วในระหว่างการย่อยอาหาร ให้กลูโคสเข้าสู่ระบบ ไหลเวียนโลหิตอย่างรวดเร็ว เรียกว่ามีค่า GI สูง; ในขณะที่อาหารที่ให้ GI ต่ำ คาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างช้าๆ ค่อยๆให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่าง สม่ำเสมอ สำหรับคนส่วนมาก อาหารที่มีค่า GI ต่ำมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

217 ส่วนประกอบของอาหารผู้ป่วยเบาหวาน (Food Composition)
ไขมัน (Fats) อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรมีไขมันเป็นส่วนประกอบ ประมาณร้อยละ ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งหมดต่อวัน และควร กำหนดให้มีส่วนประกอบเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวมีปริมาณพลังงานน้อยกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน โคเรสเตอรอลน้อยกว่า 300 มิลลิกรัม/วัน (300 mg/d) การที่ได้รับอาหารประเภทไขมันและโคเรสเตอรอลลดลงนั้น จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและระบบไหลเวียน ในผู้ป่วยที่มี ระดับของแอลดีแอล โคเรสเตอรอล (LDL cholesterol) สูงนั้น แนะนำให้ ลดการบริโภคไขมันประเภทอิ่มตัว (Staturared fats) น้อยลงกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน และโคเรสเตอรอลน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน (200 mg/d)

218 ส่วนประกอบของอาหารผู้ป่วยเบาหวาน (Food Composition)
โปรตีน (Protein) โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน ควรจะน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ ควรได้รับต่อวัน ในผู้ป่วยเบาหวานแนะนำให้ได้รับโปรตีนน้อยกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการที่ได้รับโปรตีนในปริมาณปานกลางจนถึงปริมาณสูงจะทำร่างกายได้รับไขมัน ประเภทอิ่มตัว (Saturated fats) ที่เป็นองค์ประกอบในโปรตีนนั้น และทำให้ตับ ต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียประเภทไนโตรเจน แอลกอฮอล์ (Alcohol) ให้พลังงานสูง และไม่มีสารอาหารที่สำคัญ นอกจากนั้น ยัง ทำให้มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นด้วย ในผู้ป่วยเบาหวานที่ดื่มสุราเป็นประจำ สุราจะไป ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) อย่างรุนแรงโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วย การฉีดอินซูลิน หรือยาเม็ดรับประทานเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้น ในผู้ป่วย เบาหวานที่ดื่มสุราจะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำได้ยากกว่าปกติอีกด้วย

219 การออกกำลังกาย (Exercise)
การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่จำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type II) และผู้ที่อยู่ในภาวะก่อนที่จะเป็น เบาหวาน (Pre-diabetes) เนื่องจากการออกำลังกายจะช่วยเพิ่มตัวรับ อินซูลิน (Insulin receptor) เซลและทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ลดลง นอกจากนั้น ยังทำให้น้ำหนักลดลง และลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)อีกด้วย การออกกำลังกายโดยปกติจะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) แอลดีแอล (LDL) และเพิ่มเอชดีแอล (HDL) ด้วย อยู่แล้ว

220 การออกกำลังกาย (Exercise)
ระยะอบอุ่นร่างกาย (Warm Up Exercise) เป็นการอบอุ่นร่างกาย ด้วยการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากท่าบริหาร ยืดเส้นยืดสาย หรือการเดินอย่างช้าๆ ระยะนี้ควรใช้เวลา นาที ระยะออกกำลังกาย (True Exercise) เป็นการออกกำลังกายหลักที่ควรจะเป็น โดยในระยะแรก ควรเริ่มออกกำลังกายเท่าที่ทำได้ โดยไม่เหนื่อยจนเกินไป และค่อยๆเพิ่มเวลาขึ้น จนสามารถใช้ระยะเวลา ต่อเนื่องกันตั้งแต่ นาที ซึ่งทั่วๆไปจะทำได้ประมาณ นาทีแต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง ใน ระดับความหนักปานกลาง และบางครั้งอาจเสริมด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่ร่างกายไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย ควรดื่มน้ำหวาน หรือรับประทานอาหารว่างเบาๆทุก 30 นาที ส่วนในผู้ป่วยที่มีประวัติภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)อยู่บ่อยครั้ง ควร รับประทานอาหารว่างเบาๆก่อนการออกกำลังกายประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ และควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงกลางวันหรือวันที่มีแดดร้อนอบอ้าวเพราะผู้ป่วยเบาหวานอาจจะ ขาดประสิทธิภาพในการขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย และมีปัญหาเรื่องภาวะไม่สมดุลน้ำ และอิเลคโตรลัยท์ ระยะผ่อน (Cool Down Exercise) เป็นระยะผ่อนการออกกำลังกายลงอย่างช้าๆ โดยไม่หยุด ออกกำลังกายในทันที ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที และตามด้วยการบริหารยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้ร่างกายได้ กำจัดของเสียที่ยังค้างอยู่ในกล้ามเนื้อให้น้อยลง ลดอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย

221 การเจาะเลือดด้วยตนเอง (Self-monitoring Blood Glucose; SMBG)
เป็นการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนการรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย และการบริหารยา การให้คำแนะนำสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวานและญาติ/ผู้ดูแลในการเจาะเลือดเพื่อติดตามระดับ น้ำตาลกระแสเลือดด้วยตนเอง

222 การเปลี่ยนถ่ายตับอ่อน (Pancreas Transplantation)
สามารถใช้เพื่อการรักษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type I) และมีภาวะไตวาย ระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Failure)ที่มีแผน ที่จะเปลี่ยนไตอยู่แล้ว มักจะให้การรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายตับอ่อน ร่วมด้วยไปเลย หรืออาจจะทำภายหลังจากเปลี่ยนถ่ายไตเรียบร้อย แล้ว ในผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายตับอ่อนต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อ ป้องกันการปฏิเสธเนื้อเยื่อที่นำมาปลูกถ่าย (Graft) ซึ่งอาจจะ เกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ติดเชื้อได้ง่ายตามมาด้วย

223 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
การรักษาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้/พร่องความรู้ในการดูแล ตนเอง ข้อมูลสนับสนุน อธิบายการทำหน้าที่ของอินซูลิน อธิบายบทบาทของอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด อธิบายบทบาทของการออกกำลังกายต่อระดับน้ำตาลในเลือด อธิบายอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อธิบายอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อธิบายขั้นตอนตามลำดับในการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อธิบายขั้นตอนตามลำดับในการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อธิบายผลของภาวะความเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันต่อระดับน้ำตาลในเลือด อธิบายความผิดปกติที่ต้องขอความช่วยเหลือ/การดูแลรักษาโดยทีมสุขภาพ

224 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
การรักษาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้/พร่อง ความรู้ในการดูแลตนเอง เป้าหมาย ผู้ป่วยสามารถอธิบายขั้นตอนในการรักษาได้พอสังเขป รวมถึงความรู้ เกี่ยวกับโรคและแผนการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยสามารถบอกแนวทางในการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน หรือลด ความก้าวหน้าของโรคในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง

225 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
การรักษาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้/พร่องความรู้ในการดูแลตนเอง ประเมินระดับความรู้ปัจจุบันของผู้ป่วยเกี่ยวกับการดำเนินโรค อาการและอาการแสดง ภาวะแทรกซ้อนและวิธีการแก้ไข หรือการป้องกันเพื่อเตรียมความรู้ในการอธิบายให้ผู้ป่วย ทราบ อธิบายการดำเนินของโรค อธิบายเหตุผลที่สำคัญของการพยาบาลต่างๆที่ผู้ป่วยไม่ทราบเพื่อให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจใน การรักษา หรือกระบวนการดูแลผู้ป่วย และให้ความร่วมมือในการดูแล การเปลี่ยนแปลงการ ดำเนินชีวิตให้เข้ากับแผนการรักษา สอนผู้ป่วยในการประเมินเพื่อป้องกัน/ลดอาการแสดงของโรคให้น้อยที่สุดเพื่อส่งเสริมการ รักษาโรค เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม หรือแนะนำการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เข้ากับผู้ป่วยมาก ที่สุดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นโดยมีเหตุผลเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตที่เหมาะสมและ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตทำให้เกิดผลดีต่อการรักษาที่ยั่งยืน

226 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
การรักษาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้/พร่องความรู้ ในการดูแลตนเอง อธิบายถึงภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อสร้าง ความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ป่วยในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว สอนผู้ปวยให้สังเกตอาการและอาการแสดงของความผิดปกติต่างๆ เพื่อแจ้งให้แก่แพทย์และทีมผู้ดูแลรักษาทราบ และเพื่อเตรียมความ พร้อมในการรักษา ส่งต่อข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยไปให้แก่ทีมผู้ดูแลในชุมชนที่ผู้ป่วย อาศัยเพื่อทีมผู้ดูแลในชุมชนจะได้ให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

227 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
สารอาหารไม่สมดุล : ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เนื่องจาก รับประทานอาหารมากเกินกว่าพลังงานที่ใช้ไป หรือการได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด บางประเภทที่ทำให้เกิดน้ำหนักเกิน ข้อมูลสนับสนุน การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอและบันทึกไว้ การรักษาอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามที่แพทย์/ทีมสุขภาพแนะนำ การเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใช้กลยุทธ์ในการควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการต่างๆ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่คงที่ และเหมาะสม การพบแพทย์/ให้ข้อมูลกับแพทย์/ทีมสุขภาพเมื่อพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ การอธิบายย้อนกลับได้ถึงวิธีการบริหารอินซูลิน (Insulin)

228 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
สารอาหารไม่สมดุล : ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการ ของร่างกาย เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินกว่าพลังงานที่ ใช้ไป หรือการได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางประเภทที่ทำ ให้เกิดน้ำหนักเกิน เป้าหมาย รักษาสมดุลของโภชนาการ, การมีกิจกรรม/ออกกำลังกาย, และการ ใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนัก อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

229 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
สารอาหารไม่สมดุล : ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินกว่าพลังงานที่ใช้ไป หรือการได้รับยาลดระดับ น้ำตาลในเลือดบางประเภทที่ทำให้เกิดน้ำหนักเกิน การสอนเกี่ยวกับการจัดเตรียมอาหาร อธิบายเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพอารมณ์/ทัศนคติ/ระดับของความคาดหวังของ ผู้ป่วยหรือผู้ให้การดูแลต่อโรคจะส่งผลต่อการจัดเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับ โรคเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้ป่วย/ผู้ให้การดูแล ช่วยเหลือ/ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการจัดเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับ สภาวะโรคเพื่อให้การจัดเตรียมอาหารได้เหมาะสมกับโรคยิ่งขึ้น ส่งต่อผู้ป่วยไปปรึกษานักโภชนาการ/ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารเฉพาะโรค เพื่อให้ความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

230 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
สารอาหารไม่สมดุล : ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินกว่าพลังงานที่ใช้ไป หรือการได้รับยาลดระดับ น้ำตาลในเลือดบางประเภทที่ทำให้เกิดน้ำหนักเกิน การสอนเกี่ยวกับการมีกิจกรรม/การออกกำลังกาย ให้ข้อมูลกับผู้ป่วยถึงวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกาย และประโยชน์ของการ ออกำลังกายเพื่อทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายและมี ความตั้งใจในการออกกำลังกายอย่างจริงจัง สอนผู้ป่วยในการเฝ้าระวัง/สอนให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างระมัดระวังเท่าที่ ร่างกายสามารถปฏิบัติได้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย กระตุ้น/ให้กำลังใจผู้ป่วยในการปฏิบัติกิจกรรม/การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ต่อเนื่องเพราะการออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

231 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
สารอาหารไม่สมดุล : ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เนื่องจาก รับประทานอาหารมากเกินกว่าพลังงานที่ใช้ไป หรือการได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด บางประเภทที่ทำให้เกิดน้ำหนักเกิน การจัดการเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia Management) เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะมาก กระหายน้ำมาก รับประทาน อาหารจุ อาการอ่อนเพลีย ตามัว หรือปวดศีรษะเพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ป่วยทราบว่า มีระดับน้ำตาลใน เลือดสูง และต้องการรักษาด้วยอินซูลิน (Insulin) ป้องกันสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง เช่น มีการเจ็บป่วยในปัจจุบันเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับ ขนาดของอินซูลิน (Insulin) ได้ตามความเหมาะสม ช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดและ การออกกำลังกายควบคู่กันอย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเหมาะสม จำกัดการออกกำลังกายเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (250 mg/dL) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตรวจพบคีโตนด้วย เพื่อลดความต้องการของร่างกายในการเตรียมความพร้อมต่อการ เปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาล

232 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ/อวัยวะส่วนปลายได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากการรับความรู้สึกสูญเสียไป หรือภาวะต่อเนื่องจากการ ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ข้อมูลสนับสนุน ความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยง การหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ

233 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ/อวัยวะส่วนปลายได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากการรับความรู้สึกสูญเสียไป หรือภาวะต่อเนื่องจากการ ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป้าหมาย ไม่เกิดการบาดเจ็บที่เป็นผลมาจากการที่การรับความรู้สึกของเท้า ลดลง ไม่เกิดการบาดเจ็บที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

234 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ/อวัยวะส่วนปลายได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการรับความรู้สึกสูญเสียไป หรือภาวะต่อเนื่องจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) การสอนเกี่ยวกับการดูแลเท้า (Foot Care) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเส้นประสาทถูกทำลาย (Neuropathy) การบาดเจ็บ และโรคหลอดเลือด กับปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผล และการตัดนิ้วหรืออวัยวะส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการ ป้องกันภาวะเสี่ยงและดูแลเท้าอย่างจริงจัง ระมัดระวังเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บกับเท้า/เท้าเป็นแผล เช่น ความร้อนมาก เกินไป ความเย็นจัด การตัดหนังตาย ตาปลา สารเคมี การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ การใช้พลาสเตอร์ ติดผิวหนัง การเดินเท้าเปล่า การสวมรองเท้าเปิดนิ้วเท้า สอนผู้ป่วยเป็นรายบุคคลในการเลือกรองเท้า สวมรองเท้า การตัดเล็บ การตัดหรือเล็มหนัง การเดินบนพื้นหยาบ เพื่อให้ผู้ป่วยทราบและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

235 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ/อวัยวะส่วนปลายได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการรับความรู้สึกสูญเสียไป หรือภาวะต่อเนื่องจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) การจัดการต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia Management) ตรวจติดตามภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการให้การรักษา หรือปรับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล/อินซูลิน สอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อประเมินการ เรียนรู้ของผู้ป่วย สอนผู้ป่วยให้พกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมง่ายติดตัวไว้ตลอดเวลาเพื่อรักษาภาวะน้ำตาลใน เลือดต่ำ สอนผู้ป่วยให้พกบัตรแสดงว่า เป็นผู้ป่วยเบาหวานติดตัวไว้เพื่อช่วยให้ผู้พบเห็นให้การ ช่วยเหลือได้ถูกต้อง เหมาะสม

236 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อภาวะระบบประสาทและระบบไหลเวียนส่วนปลายบกพร่อง เนื่องจากหลอดเลือดถูกทำลายจากเบาหวาน ข้อมูลสนับสนุน Capillary refill times การรับความรู้สึกที่อวัยวะส่วนปลาย สีผิว ลักษณะของผิวที่ถูกทำลาย หรือบาดแผล อุณหภูมิของอวัยวะส่วนปลาย เช่น แขน ขา ชีพจรบริเวณปลายขาทั้งซ้ายและขวา (Doralis Pedis Pulse, Tibialis Posterior)

237 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อภาวะระบบประสาทและระบบไหลเวียนส่วน ปลายบกพร่องเนื่องจากหลอดเลือดถูกทำลายจาก เบาหวาน เป้าหมาย (Goals) ผู้ป่วยสามารถบอกได้ถึงผลของเบาหวานที่มีต่อการไหลเวียน เลือดของอวัยวะส่วนปลาย ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการประเมินการที่มีเลือดไหลเวียนไป เลี้ยงอวัยวะส่วนปลายอย่างเหมาะสม

238 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อภาวะระบบประสาทและระบบไหลเวียนส่วนปลายบกพร่อง เนื่องจากหลอดเลือดถูกทำลายจากเบาหวาน สอนและให้คำแนะนำในการประเมินการไหลเวียนของอวัยวะส่วนปลาย เช่น ชีพจรที่อวัยวะส่วนปลาย อาการบวม capillary refill times สี ผิว และอุณหภูมิเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจพบความผิดปกติ ตรวจผิวหนังบริเวณที่เกิดแผลเพื่อเตรียมให้การพยาบาลที่เหมาะสมในการ ป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการเกิดเนื้อตาย ดูแล/ป้องกันอวัยวะส่วนปลายจากการเกิดบาดแผล หรือได้รับบาดเจ็บ เช่น ดูแลความสะอาดของเท้า สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม มิดชิด ป้องกันเท้าไม่ให้ เกิดบาดแผล อาจต้องใช้การตัดรองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเพื่อป้องกันการ เกิดบาดแผลที่เท้า

239 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
เสี่ยงต่อภาวะระบบประสาทและระบบไหลเวียนส่วนปลายบกพร่อง เนื่องจากหลอดเลือดถูกทำลายจากเบาหวาน ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะเลือดหนืด/เลือดข้น กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยัง ส่วนต่างๆของร่างกายและอวัยวะส่วนปลาย แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การ สูบบุหรี่ การสวมเสื้อผ้ารัด แน่น คับ การต้องอยู่ในที่ที่อากาศเย็น เกินไป และการนั่งไขว่ห้าง เป็นต้น แนะนำผู้ป่วยในการดูแลรักษาความสะอาดของเท้าให้เหมาะสม

240 Colostomy ทวารเทียม

241 คำนิยาม colostomy Colostomy หมายถึง การผ่าตัดให้เกิดช่องเปิดของลำไส้ใหญ่ ออกมาภายนอกร่างกาย โดยผ่านผนังหน้าท้องเพื่อเป็นทางระบายออก ของอุจจาระแทนตำแหน่งเดิม คือ ทวารหนัก บริเวณช่องเปิดลำไส้ส่วน ที่โผล่ออกมาจากหน้าท้องเรียกว่า stoma เพื่อมิให้อุจจาระผ่านไป ยังบริเวณที่มีพยาธิสภาพหรือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยมีขั้นตอนใน การผ่าตัดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำไส้ใหญ่ส่วนที่มีพยาธิสภาพถูกตัด ออกไป ขั้นตอนที่ 2 นำส่วนของสำไส้ส่วนต้น (proximal end) มาเปิดที่หน้าท้องแล้วเย็บตรึงไว้

242 ชนิดของทวารเทียม แบ่งตามชนิดของการผ่าตัดทำทวารเทียม
แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดทำทวาร เทียม แบ่งตามส่วนของลำไส้ที่นำมาเปิดทวารเทียม แบ่งตามรูเปิดของลำไส้

243 แบ่งตามชนิดของการผ่าตัดทำทวารเทียม
ทวารเทียมชนิดถาวร (permanent colostomy) หมายถึง การทำ colostomy ที่ไม่มีโอกาสจะต่อลำไส้หรือแก้ไขให้กลับมีการขับถ่ายให้ เหมือนเดิมได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีทวารเทียมนี้ติดตัวไปตลอดชีวิต ตำแหน่งของช่อง เปิดลำไส้จะอยู่บริเวณด้านซ้ายของหน้าท้องส่วนล่าง อุจจาระที่ออกมาจะมีลักษณะ เหมือนกับอุจจาระที่ออกมาทางทวารหนัก ทวารเทียมชนิดชั่วคราว (temporary colostomy) หมายถึง การทำทางเปิดหรือ ทางเบี่ยงชั่วคราว เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในผู้ป่วยที่จำเป็น เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น จึงปิดทวาร เทียมภายหลังประมาณ 2 เดือนหลังผ่าตัด อุจจาระมีลักษณะค่อนข้างเหลว และมีน้ำย่อยจาก ลำไส้ปนออกมาด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการทำทวารเทียที่ ascending colon และ transevers colon จึงมีภาวะกรดทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังรอบทวาร เทียม เกิดการแตกทำลายของผิวหนัง มีการอักเสบของผิวหนังได้ง่าย

244 แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดทำทวารเทียม
decompressing colostomy เป็นการผ่าตัดเพื่อบรรเทา อาการอุดตันที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ของลำไส้ใหญ่ชั่วคราว เช่น ในรายที่มี colon obstruction ที่มีการโป่งพองของลำไส้ใหญ่มากๆ หรือในผู้ป่วยที่เป็น toxic megacolon นอกจากนี้ยังมี loop colostomy ที่ สามารถใช้บรรเทาการอุดตันชั่วคราว diverting colostomy เป็นการผ่าตัดเพื่อเบี่ยงเบนทางเดินอุจจาระ ไม่ให้ผ่านบริเวณที่มีการอุดตันหรือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาการทำ เบี่ยงเบนอุจจาระให้สมบูรณ์ อาจจะทำ end colostomy, loop colostomy หรือ double-barrel colostomy

245 แบ่งตามส่วนของลำไส้ที่นำมาเปิดทวารเทียม
ascending colostomy ลักษณะอุจจาระที่ออกมาจะค่อนข้างเหลว มีปริมาณ ของน้ำย่อยมาก ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนังรอบๆ stoma ได้มาก

246 แบ่งตามส่วนของลำไส้ที่นำมาเปิดทวารเทียม
transverse colostomy ลักษณะของอุจจาระที่ออกมาจะเหลวค่อนข้างข้น มี น้ำย่อยปนออกมาน้อยลง

247 แบ่งตามส่วนของลำไส้ที่นำมาเปิดทวารเทียม
descending colostomy ลักษณะอุจจาระจะข้นมากขึ้นเกือบคล้ายอุจจาระ ปกติ เนื่องจากมีการดูดซึมน้ำกลับใน ช่องของ ascending และ transverse colons

248 แบ่งตามส่วนของลำไส้ที่นำมาเปิดทวารเทียม
sigmoid colostomy ลักษณะอุจจาระจะเหมือนอุจจาระปกติ เนื่องจากมีการดูด ซึมน้ำกลับตลอดทั้งลำไส้ใหญ่

249 แบ่งตามรูเปิดของลำไส้
double barreled colostomy ชนิดนี้ลำไส้จะถูกตัดขาดออกจากกัน และ เอาส่วนปลายทั้งสองมาทำทางเปิดออกทางหน้าท้อง จึงมีรูเปิด 2 แห่ง มักทำที่ transverse colon ส่วนต้นเรียกว่า “proximal loop colostomy” ซึ่งอุจจาระจะขับออกทางนี้ ส่วนปลายเรียกว่า “distal loop colostomy or distal opening” ส่วนนี้จะมีพวก เนื้อเยื่อที่ตายแล้วขับ ออกมา อาจมีอุจจาระเหลือค้างในส่วนล่างออกมาด้วย

250 แบ่งตามรูเปิดของลำไส้
single barreled colostomy (end colostomy) จะมี stoma 1 อัน ส่วนใหญ่เป็นชนิดถาวร ตำแหน่งที่จะทำคือ sigmoid colon อุจจาระจะมีภายใน ชั่วโมง เมื่อลำไส้มีการเคลื่อนไหวแบบบีบรูดจะมีอุจจาระ ออกมา

251 แบ่งตามรูเปิดของลำไส้
loop colostomy มักทำบริเวณ transverse colon ลำไส้ ไม่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยการนำเอา loop of colon ผ่าน abdominal incision แล้วใช้แท่งแก้วหรือ พลาสติก ยาว ประมาณ 3-6 นิ้วฟุต สอดผ่านเยื่อบุช่องท้องที่ยึดลำไส้ส่วนที่ติดกับผนังหน้าท้อง บริเวณ ใต้ loop ของลำไส้ เพื่อป้องกันมิให้ลำไส้ถูกดึงกลับเข้าไปในช่องท้อง และใช้ ท่อยางต่อระหว่างปลายของแท่งแก้ว ซึ่งป้องกันมิให้แท่งแก้วหลุด ใช้ผ้าก็อซปิด แผลไว้ จนกระทั่งแผลเริ่มมีการหายภายหลังการผ่าตัด 3-5 วัน แพทย์จะทำรู เปิดของ colostomy จะมีรูเปิด 2 แห่ง เป็น proximal และ distal loop แท่งแก้วจะสอดนาน 7-10 วัน เป็นเวลาที่แผลเริ่มหาย และ loop ของลำไส้ติดกับผนังหน้าท้อง

252 การพยาบาลผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดทำทวารเทียม
การให้ความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นในการผ่าตัด บอกให้ทราบและแสดงภาพประกอบของตำแหน่งที่ตั้งและหน้าที่ของช่องเปิด ลำไส้ การปฏิบัติตัวทั่วไประยะก่อนและหลังผ่าตัด การเลือกสรรอุปกรณ์ออสโตมีที่เหมาะสม การให้ความรู้แก่ญาติและบุคคลในครอบครัว ให้ผู้ป่วยมีโอกาสพูดคุยกับออสโตเมทที่มีทัศนคติที่ดี การทำความเข้าใจและยอมรับแผนการรักษาพยาบาล ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาและแนะแนวทางลดปัญหานั้น ๆ

253 การเตรียมผู้ป่วยด้านร่างกาย (Physical management)
การประเมินผู้ป่วย (patient evaluation) การซักประวัติและการตรวจร่างกายที่ดี บันทึกสัญญาณชีพผู้ป่วยและน้ำหนักตัวไว้ ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่าง การตรวจพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการและการตรวจ บันทึกจำนวนน้ำ, สารอาหารที่ผู้ป่วยได้รับสิ่งที่ขับถ่ายออกมา (intake, output) อย่างถูกต้อง เพื่อดูสมดุลของน้ำและอี เล็คโตรลัยท์ สภาพทางสรีระและโรคประจำตัว ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการผ่าตัดสูง

254 การเตรียมผู้ป่วยด้านร่างกาย (Physical management)
การเตรียมผู้ป่วยในการตรวจวินิจฉัยโรค การลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ก่อนผ่าตัด การเตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไปและผิวหนังบริเวณผ่าตัด ให้ผู้ป่วยเซ็นชื่ออนุญาตผ่าตัดให้เรียบร้อย เตรียมเลือด ให้ยานอนหลับ งดน้ำและอาหารทุกชนิดทางปากหลังเที่ยงคืนและใส่ nasogastric tube เก็บของมีค่า เครื่องประดับ อวัยวะเทียม

255 การเตรียมผู้ป่วยด้านร่างกาย (Physical management)
ทำเครื่องหมายแสดงตัวผู้ป่วยให้ชัดเจน เตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยก่อน เข้าห้องผ่าตัด ให้ยา premedication เช้าวันผ่าตัดเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม

256 การเตรียมผู้ป่วยด้านจิตใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดช่องเปิดลำไส้จะต้องอาศัยทีมทำงานหลายสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team) ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลทั่วไป พยาบาลเฉพาะทาง เภสัชกร สังคมสงเคราะห์ อาชีวะบำบัด นักกายภาพบำบัด เพื่อนร่วมงาน ครอบครัวและแหล่งสนับสนุนอุปกรณ์ที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยและครอบครัวให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมี ความสุขและยอมรับสภาพได้ การให้ความรู้ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องให้ความเป็นกันเอง สร้างความ เชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย โดยให้การช่วยเหลือประคับประคอง สภาพจิตใจในการปฏิบัติ ก่อนการผ่าตัดควรจัดให้ผู้ป่วยได้พูดคุยหรือได้เข้ากลุ่มกับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมี ช่องเปิดลำไส้

257 การกำหนดตำแหน่งช่องเปิดลำไส้ (Sitting of the stoma)
ทราบชนิดของ stoma เช่น sigmoid colostomy ช่องเปิดลำไส้จะอยู่ บริเวณหน้าท้องด้านล่างข้างซ้าย เป็นต้น หลีกเลี่ยงบริเวณเส้นรอบเอว สะดือ รอยแผลเป็นหน้าท้องจากการผ่าตัดครั้งก่อน รอยพับ ย่นของผิวหนังหน้าท้องหรือบริเวณปุ่ม หรือกระดูกที่นูนขึ้น เช่น iliac crest หรือชาย โครง stoma ควรตั้งอยู่ใน rectus muscle sheath เพื่อช่วยยึด stoma ไว้ เพื่อป้องกันการเกิด stomal hernia และ stomal prolapsed ในขณะที่พิจารณาตำแหน่งช่องเปิดลำไส้ ควรให้ผู้ป่วยเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น นั่ง นอน บิดตัว เอี้ยวตัวหรือก้มตัว เพื่อหาตำแหน่งที่ดีที่สุดและทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำช่องเปิดลำไส้ ก่อนเปิดลำไส้ โดยใช้ปากกาที่ลบไม่ได้ ทำเครื่องหมายไว้เป็นรูปวงกลม หรือ กากบาท และ ปิดด้วย sealant spray หรือแผ่นฟิลม์ใสปิดไว้

258 ลักษณะทั่วไปของทวารเทียม
รูปร่างของ stoma: ส่วนที่โผล่ออกมาจากผนังหน้าท้อง เรียกว่า stoma จะมี ขนาดแตกต่างกันได้เล็กน้อยในแต่ละคน บางครั้งอาจมีลักษณะกลม บางครั้งจะมีลักษณะรี ส่วนใหญ่จะยื่นออกมาจากผนังหน้าท้อง ส่วนน้อยจะเสมอกับผนังหน้าท้อง สีชมพู หรือ บางครั้งแดงคล้ำ ชุ่มชื้น อุ่น บริเวณผิวเรียบบุด้วยเยื่อบุ (mucous membrane) คล้ายกับในช่องปาก ไม่มีกล้ามเนื้อหูรูดในการควบคุมการขับถ่าย อุจจาระ และไม่มีประสาทสัมผัสส่วนปลายที่รับความรู้สึกเจ็บปวด แต่จะมีเลือดมาเลี้ยง มาก ในระยะแรกผ่าตัด stoma จะบวม ภายหลังจะค่อย ๆ ลดขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จึงควรวัด ขนาดของ stoma สัปดาห์ละครั้ง เพื่อจะได้ตัดขนาดของปากถุงรองรับอุจจาระได้ พอเหมาะกับขนาดที่เปลี่ยนแปลงไป การที่ stoma ไม่มีปลายเส้นประสาท จึงไม่เจ็บ เมื่อถูกสัมผัสหรือถูกบีบรัด จึงควรหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า หรือ เข็มขัด หรือ เข็มขัดนิรภัย ในรถ กดทับบริเวณนี้ ผิวหนังรอบ ๆ stoma เรียกว่า peristomal skin จะต้องระวังมิให้สัมผัสกับสิ่งขับหลั่งจาก stoma ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคือง

259 ลักษณะทั่วไปของทวารเทียม
ลักษณะของสิ่งขับหลั่งจาก stoma : สิ่งที่ขับออกมาจาก stoma ปกติใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจะมีลักษณะเป็น ของเหลว หลังจากนั้นลักษณะของเสียและการทำงานจะ แตกต่างกันไปตามประเภทของ stoma

260 การทำความสะอาดช่องเปิดทวารเทียมและผิวหนังรอบๆ
การทำความสะอาดช่องเปิดทวารเทียม แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 หลังผ่าตัด 4-5 วัน ทำความสะอาดแบบการทำแผล ด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด การ ดูแลทำความสะอาดบริเวณ stoma และผิวหนังรอบๆ stoma ระยะแรกจะมีอุจจาระไหลออกมามาก และอาจเป็นน้ำ ค่อนข้างเหลว ออกบ่อยไม่เป็นเวลา ควรดูแลทำความสะอาดให้แห้ง และสะอาดเสมอ โดยการเปลี่ยน colostomy bag เมื่อมี อุจจาระประมาณ 1/3 หรือ ½ ของถุง

261 การทำความสะอาดช่องเปิดทวารเทียมและผิวหนังรอบๆ
การทำความสะอาดช่องเปิดทวารเทียม แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 2 หลังผ่าตัด7-10 วัน แผลผ่าตัดจะเริ่มติดดี และเริ่มมี อุจจาระออกทาง stoma ให้ใช้สำลีสะอาดและน้ำต้มสุกทำความ สะอาด stoma และผิวหนังรอบๆ แล้วซับให้แห้ง ปิดด้วยถุงรองรับ อุจจาระ ระยะที่ 3 หลังผ่าตัด 6-8 สัปดาห์ แผลจะยุบบวมและมีขนาดคงที่ ระยะนี้สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่อ่อน ที่ไม่มีส่วนผสมของ น้ำมันซึ่งจะทำให้การยึดติดของถุงรองรับอุจจาระไม่แน่น แล้วซับให้แห้ง ทุกครั้งที่เปลี่ยนถุง ขณะอาบน้ำสามารถทำความสะอาดเหมือนการล้าง ทวารหนักตามธรรมดา

262 การทำความสะอาดและการดูแลรักษาผิวหนังรอบรูเปิดทวาร
ล้างช่องเปิดทวารเทียมด้วยน้ำสะอาด ใช้กระดาษชำระที่อ่อนนุ่มหรือผ้านุ่มๆ เช็ดผิวหนังรอบช่องเปิดทวารเทียม ในผู้ป่วยที่ใช้ skin barrier paste จะมี paste เหนียวติดอยู่ บริเวณผิวหนังรอบช่องเปิดให้เช็ดคราบพลาสเตอร์หรือ skin barrier paste ที่ติดค้างบริเวณผิวหนังด้วยน้ำอุ่น ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดคราบแข็งติดผิวหนังจะเป็นสาเหตุให้ผิวหนังแตกเป็นแผล เช็ดช่องเปิดและผิวหนังรอบช่องเปิดให้แห้ง ปิดถุงรองรับอุจจาระใบใหม่        

263 ข้อบ่งชี้ในการทำความสะอาด
 ข้อบ่งชี้ในการทำความสะอาด เมื่อมีการรั่วซึมของเสียทุกครั้ง เมื่อมีอุจจาระหรือของเสียมากกว่า 1/2 หรือ 1/3 ของถุง เมื่อมีอุจจาระมากหรือเปื้อนซึม หรือ ทำความ สะอาดพร้อมกับการอาบน้ำ

264 การเทของเสียออกจากถุง
ในรายที่ใช้ถุงระบบชิ้นเดียวเปิดปลาย ให้นั่งบนโถส้วมหรือเก้าอี้แยกขา ออก ปล่อยปลายถุงลงช่องระหว่างขาพร้อมทั้งเปิดปลายถุงในโถส้วม หรือภาชนะที่เตรียมรองรับไว้ เมื่อถ่ายเทของเสียออกเสร็จแล้วใส่น้ำเข้า ทางด้านปลายถุง ล้างอุจจาระให้สะอาดและเช็ดด้วยกระดาษชำระให้ สะอาดก่อนปิดถุงอีกครั้ง สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ถุงระบบ 2 ชิ้น อาจจะ ปล่อยของเสียออกแบบเดียวกับถุงชิ้นเดียวก็ได้ หรือ เปิดถุงออกจาก แป้นรองแล้วจึงปล่อยของเสียลงในโถส้วม พร้อมทั้งทำความสะอาดถุง โดยการใช้น้ำฉีดล้างจากด้านบนถุงลงไปจนสะอาด แล้วจึงปิดถุงไว้ เช่นเดิม

265 การลอกเปลี่ยนถุง ทำด้วยความนุ่มนวล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากผิวหนัง เป็นแผลถลอก และเกิดการเจ็บปวดมาก โดยการใช้นิ้วมือข้าง หนึ่งกดผิวหนังบริเวณที่ติดกับแป้นไว้ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง ค่อยๆ ลอกแป้นออกจากผิวหนัง ลอกแป้นจากขอบด้านบนของ แผ่นลงมาด้านล่างตรงข้ามกัน พยายามไม่ให้เป็นการดึงแป้น ข้างเดียว จะช่วยลดการเกิดอันตรายต่อผิวหนังได้

266 การปิดถุงรองรับอุจจาระ
เมื่อทำความสะอาด stoma และผิวหนังรอบๆ แล้ว ปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อป้องกันผิวหนังรอบๆ สัมผัส กับอุจจาระที่ผ่านออกจากลำไส้ ซึ่งจะทำให้ระคายเคือง และเป็นแผลได้ง่าย แต่ในรายที่สามารถฝึกการขับถ่าย เป็นเวลาได้ ไม่จำเป็นต้องปิดถุงรองรับไว้ตลอดเวลาก็ได้

267 ชนิดของถุงรองรับอุจจาระ
ถุงปลายเปิด ใช้สำหรับของเสียที่เป็นน้ำ อุจจาระเหลว และมีปริมาณ มาก เช่น ผู้ป่วยที่มี ileostomy หรือ transverse colostomy อาจเปลี่ยนถุงทุก 3 วัน หรือ มากกว่านั้นแล้วแต่ ความจำเป็น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้และผิวหนังรอบรูทวารเทียม อาจจะ ใช้ได้ทั้งอุปกรณ์ระบบชิ้นเดียวหรือ สองชิ้น ถุงปลายปิด ใช้สำหรับอุจจาระที่ค่อนข้างเป็นก้อน ใช้ได้ทั้งระบบชิ้น เดียวหรือสองชิ้นและเปลี่ยนถุงอย่างน้อยวันละครั้ง

268 ชนิดของอุปกรณ์รองรับของเสีย (Appliance types)
One – piece appliance ลักษณะเป็นถุงชิ้นเดียว ใช้ปิดครอบบริเวณ ผิวหนังรอบช่องเปิดลำไส้ อาจจะเป็นถุงพลาสติกธรรมดา (simple plastic bag with adhesive tape) หรือแผ่นปิดผิวหนังที่มีสารป้องกัน ผิวหนัง (skin protection component)

269 ชนิดของอุปกรณ์รองรับของเสีย (Appliance types)
Two pieces appliance ลักษณะเป็นอุปกรณ์ 2 ชิ้น คือ แป้นรอง/ แผ่นรองที่ติดกับผิวหนัง (faceplate, base plate, abdominal flange, wafer flange) และถุง (pouch หรือ bag) แผ่นรองที่ ติดกับผิวหนัง (faceplate, baseplate, abdominal flange, wafer flange) มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ ด้านที่ติดกับผิวหนัง เป็นตัวป้องกันผิวหนังและอีกด้านหนึ่งใช้สำหรับปิดถุงรองรับของเสีย

270 คุณสมบัติของถุง : ถุงที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
สามารถเก็บกลิ่นได้ดี ใช้ง่ายสะดวกสบาย ไม่ก่อให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว ถุงและแป้นควรทำด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ สามารถโค้งงอได้ตามรูปร่างของร่างกายและที่ สำคัญสามารถยืดหยุ่นได้เข้ากับผิวหนังหน้าท้องในรายที่มีผิวหนังมีแผลเป็นหรือรอยพับ มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง เหมาะสมกับความสามารถในการใช้ของผู้ป่วย เช่น ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาในการใช้มือ มี ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวข้อมือ นิ้วข้อมือหรือผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการมองเห็นควรใช้แบบ ชิ้นเดียว ราคาถูก ประหยัดเงิน ostomate สามารถเลือกใช้ตามฐานะเศรษฐกิจของตนเอง

271 การรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือ อาหารหมักดอง เพราะอาจทำให้ท้องเดิน รับประทานอาหารที่ป้องกันอาการท้องผูก ได้แก่ ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ วันละ 6-8 แก้ว/วัน ผัก ผลไม้ เป็นต้น ในกรณีที่อุจจาระเหลวมากให้ทานอาหารที่ลดกาก เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ข้าวขาว กล้วย ขนมปัง เป็นต้น และงดผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก เช่น น้ำอัดลม ถั่วเปลือกแข็ง เบียร์ แตงกวา กระหล่ำ ปลี ผักขม ข้าวโพด หัวผักกาด เป็นต้น เพราะอาจผายลมต่อหน้าผู้อื่น ทำให้เป็นที่รังเกียจได้ และ อาจทำให้ท้องอืดด้วย หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่น ปลา ไข่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม เครื่องเทศ หัวหอม ถั่ว ผัก กระเฉด ผักตระกูลกะหล่ำ สะตอ ผักกระถิน ชะอม ควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ ในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน จะช่วยให้การควบคุมการ ขับถ่ายดีขึ้น เมื่อถ่ายอุจจาระลักษณะปกติมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มอาหารชนิดอื่นๆ ได้ บาง รายมีอุจจาระเหลว แพทย์อาจให้ยาช่วยให้อุจจาระแข็งตัวขึ้น เช่น kaolin ทำให้ท้องผูก ถ้าท้องผูกก็รับประทานผัก และผลไม้มากขึ้น

272 การควบคุมกลิ่นและก๊าซ
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกลืนลมและแก๊สจากปฏิกิริยาของแบคทีเรียที่ไม่สามารถย่อย สารอาหารคาร์โบไฮเดรต การกลืนลมจากการใช้หลอดดูดน้ำ การพูดคุยระหว่างรับประทาน อาหาร การเคี้ยวหมากหรือ หมากฝรั่งและการสูบบุหรี่ ควรรับประทานอาหารที่ไม่ทำให้เกิด กลิ่นและแก๊ส วิธีการที่ดี่สุดในการควบคุมกลิ่นคือ การรักษาความสะอาดอย่างดี โดยดูแลก้นถุงให้สะอาด เปลี่ยนถุงอุจจาระเมื่ออุจจาระอยู่ในถุงประมาณ 1/3 ของถุง ปิดถุงรองรับอุจจาระให้ แน่น หากร่างกายหรือเสื้อผ้าเปรอะเปื้อนอุจจาระควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหรือทำ ความสะอาดช่องเปิดลำไส้ มีอุปกรณ์ในการควบคุมกลิ่นและแก๊สหลายชนิดที่สามารถ ป้องกันและลดกลิ่นอุจจาระ ได้แก่ deodorant, room deodorant และ deodorant ชนิดหยด ใส่ในถุง (appliance deodurant) เป็น ต้น และอาหารบางชนิดก็ช่วยลดกลิ่นได้ เช่น คะน้า ตำลึง ผักบุ้ง

273 การออกกำลังกายและฝึกการขับถ่าย
การออกกำลังกายที่สามารถทำได้ เช่น การบริหารแขน ขาและลำตัว เป็นต้น แต่ ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องมาก และ หลีกเลี่ยงการยกของ หนัก เพราะจะกระทบกระเทือนต่อลำไส้ที่นำมาเปิดหน้าท้อง สำหรับการทำงาน จะสามารถทำได้ เมื่อลำไส้ยุบบวม และร่างกายแข็งแรงแล้ว โดยปกติประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังผ่าตัดในระยะที่สามารถกลับไปทำงานได้ การฝึกหัดการขับถ่าย โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้องหัดเกร็งกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และเบ่งถ่ายอุจจาระทุกวัน ตอนเช้า นอกจากนี้ อาจต้องใช้ยา dulcolax หรือ glycerine เหน็บรูเปิดลำไส้ จะช่วยให้การ ขับถ่ายเป็นเวลา

274


ดาวน์โหลด ppt ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google