งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556
ปรเมษฐ์ จินา สาธารณสุขอำเภอบ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ปี 58-59

2 ประเด็นการบรรยาย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กฎหมายสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน กฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน การบังคับใช้กฎหมาย

3 งานสาธารณสุข เป็นงานสำคัญที่ต้องเสียสละ
“...หม่อมฉันรู้สึกอยู่ตลอดว่า การสาธารณสุขนั้นเป็นการสำคัญอย่างดียิ่ง ทั้งเป็นเครื่องบำรุงกำลังของชาติไทย และเป็นสาธารณะประโยชน์แก่มนุษยชาติทั่วไปด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อมีโอกาสอันใดที่หม่อมฉันพอที่จะออกกำลังกายและสติปัญญา หรือทรัพย์ อันเป็นผลที่จะทำนุบำรุงให้การนั้นเจริญขึ้นแล้ว หม่อมฉันยินดีที่ปฏิบัติเสมอ..” ลายพระหัตถ์ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมสาธารณสุข

4 ความหมายของกฎหมาย “คำสั่งทั้งหลายของบรรดาผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องโทษ” พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

5 ความหมายของกฎหมาย “บรรดาข้อบังคับทั้งหลายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคล โดยมีความมุ่งหมายจะคุ้มครองประโยชน์ทั่วไปของมนุษย์” ศาสตราจารย์ เอช เอกูต์

6 ความหมายของกฎหมาย “ข้อบังคับของรัฐ ซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ” ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย

7 กฎหมาย Law คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ โดย ที่ตราโดยผู้มีอำนาจอธิปไตย
เพื่อ กำหนดและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ผล ตามธรรมดาผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับผลร้าย

8 องค์ประกอบของกฎหมาย กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ต้องกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจ ต้องใช้บังคับทั่วไปในสังคม ต้องมีสภาพบังคับ

9 1. กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
กฎหมายลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชกำหนด คำสั่งของคณะปฏิวัติหรือปฏิรูป

10 1. กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
กฎหมายลายลักษณ์อักษร พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง กฎหมายส่วนท้องถิ่น (ข้อกำหนดส่วนท้องถิ่น) ข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับ อบจ. ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบังคับ อบต.

11 2. ตราขึ้นโดยผู้มีอำนาจ
กำหนดโดยผู้มีอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยขึ้นอยู่กับในแต่ละยุค รัฐสภามักจะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

12 3. ต้องใช้บังคับโดยทั่วไป
ใช้บังคับกับคนทุกคนในราชอาณาจักรไทย บังคับกับทุกคน ยกเว้น... บังคับในราชอาณาจักรไทย ยกเว้น...

13 4. ต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับคือผลร้าย กรณีที่บุคคลฝ่าฝืนกฎหมาย จำต้องได้รับผลร้ายจากการฝ่าฝืนกฎหมาย ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สภาพบังคับบางครั้งเรียกว่าโทษ โทษจึงแบ่งเป็นโทษตามกฎหมาย เช่น ทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครอง

14 สภาพบังคับทางแพ่ง เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของบุคคลทางกฎหมายหรือนิติกรรมและนิติเหตุ นิติกรรม โมฆะกรรม โมฆียกรรม นิติเหตุ การบังคับให้ชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย

15 สภาพบังคับทางอาญา ริบทรัพย์สิน ปรับ กักขัง จำคุก ประหารชีวิต

16 สภาพบังคับทางปกครอง มาตรการทางการปกครอง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 ให้ชำระเงินหรือปรับทางปกครอง กระทำหรือละเว้นการกระทำ เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการโดยตนเองหรือผู้อื่น ปรับทางการปกครอง

17 ตัวอย่างโทษปรับทางการปกครอง
ความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง (ระเบียบ คตง. ว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544) โทษชั้นที่ 1 ปรับไม่เกินเงินเดือน 1 เดือน โทษชั้นที่ 2 ปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 2 เดือนถึง 4 เดือน โทษชั้นที่ 3 ปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 5 เดือนถึง 8 เดือน โทษชั้นที่ 4 ปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 9 เดือนถึง 12 เดือน

18 กฎหมายหลักที่ใช้ในระบบยุติธรรมไทย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

19 ที่มาของกฎหมาย ปพพ. ม. 4 “อันว่ากฎหมายนั้น ท่านว่าต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น เมื่อใดไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าและไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ท่านให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนี้ก็ไม่มีด้วยไซร้ ท่านให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

20 ที่มากฎหมาย กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี
กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งหรือหลักกฎหมายทั่วไป

21 กฎหมายลายลักษณ์อักษร
แหล่งกฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทย รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง

22 จารีตประเพณี หลักพิจารณาว่าจารีตประเพณีที่ถือเป็นกฎหมาย ต้องมีมานาน
ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ต้องไม่เลื่อนลอย กำหนดได้แน่นอนโดยสถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องไม่มีกฎหมายห้ามไว้หรือขัดกับกฎหมาย

23 หลักกฎหมายทั่วไป หลักกฎหมายดั้งเดิม
หลักผู้ซื้อต้องระวังในกฎหมายลักษณะซื้อขาย หลักกฎหมายที่แฝงอยู่ในบทกฎหมายต่างๆ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

24 ประเภทของกฎหมาย กฎหมายลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ กฎหมายระหว่างประเทศ

25 ศักดิ์ของกฎหมาย การเรียงลำดับความสำคัญของกฎหมาย
การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมาย

26 รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พรฎ. กฎกระทรวง ข้อกำหนดส่วนท้องถิ่น

27 การใช้กฎหมาย หลักการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย การอุดช่องว่างกฎหมาย

28 หลักการใช้กฎหมาย ขอบเขตการใช้กฎหมาย จะต้องคำนึงว่าจะใช้กฎหมายในประเด็นใดดังนี้ บุคคล สถานที่ เวลา การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย

29 หลักการใช้กฎหมาย บุคคลที่กฎหมายมีผลบังคับ
หลัก : กฎหมายที่ออกมาใช้บังคับย่อมใช้ได้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติใด ข้อยกเว้น : ข้อยกเว้นตามกฎหมายภายใน ตามรัฐธรรมนูญ : พระมหากษัตริย์, ส.ส. หรือ ส.ว. ตามกฎหมายอื่น ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ ประมุขของรัฐ ทูต เป็นต้น

30 หลักการใช้กฎหมาย เวลาที่กฎหมายใช้บังคับ
เมื่อได้ประกาศใช้กฎหมายแล้ว กฎหมายนั้นเองย่อมจะระบุเวลาที่จะใช้บังคับแห่งกฎหมายนั้นไว้ กำหนดวันใช้ไว้แน่นอน กำหนดให้ใช้เมื่อระยะเวลาหนึ่งล่วงพ้นไป หลัก “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง”

31 หลักการใช้กฎหมาย สถานที่ที่กฎหมายใช้บังคับ
หลัก : กฎหมายไทยย่อมใช้บังคับเฉพาะแต่ในราชอาณาจักรเท่านั้น เป็นไปตาม “หลักดินแดน” ข้อยกเว้น : กฎหมายบางฉบับใช้บังคับเฉพาะเพียงบางส่วนของดินแดน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เมื่อมีกฎหมายยกเว้นการใช้กฎหมายทั่วไปหรือใช้กฎหมายเฉพาะในบางพื้นที่ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489

32 การใช้กฎหมายกับสถานที่
หลัก บังคับในราชอาณาจักรไทยหรือดินแดนไทย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหลักดินแดน กล่าวคือกฎหมายของรัฐใดย่อมใช้บังคับแก่การกระทำที่เกิดขึ้นภายในเขตของรัฐนั้น ดินแดนผืนแผ่นดิน และเกาะในราชอาณาจักร ดินแดนพื้นน้ำภายในอาณาจักร พื้นน้ำทะเลอาณาเขตชายฝั่งทะเลที่เป็นดินแดนของประเทศไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล ท้องอากาศเหนือราชอาณาจักร ข้อยกเว้น ดินแดนโดยสมมติ เรือไทย ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลก อากาศยาน ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลก

33 การใช้กฎหมายเวลา กฎหมายฉบับนั้นมีผลบังคับใช้เมื่อใด
กฎหมายฉบับนั้นยังมีผลบังคับใช้อยู่ยังไม่ถูกยกเลิก

34 การตีความกฎหมาย หลักการตีความกฎหมาย การตีความตามอักษร
การตีความตามเจตนารมณ์

35 การตีความกฎหมายไทย ความหมาย : การค้นหาความหมายของกฎหมายที่มีถ้อยคำไม่ชัดเจนแน่นอน กำกวม หรือมีความหมายหลายทาง เพื่อหยั่งทราบว่าถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร

36 หลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมายทั่วไป
การตีความกฎหมายโดยบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ การตีความกฎหมายโดยอาศัยหลักวิชาการ การตีความตามตัวอักษร การตีความตามเจตนารมณ์ การตีความตามความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบของกฎหมาย การตีความตามประวัติความเป็นมาของกฎหมาย

37 การอุดช่องว่างในกฎหมาย
โดยจารีตประเพณี โดยการเทียบเคียงกับกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง โดยใช้หลักกฎหมายทั่วไป

38 การอุดช่องว่างของกฎหมาย
ความหมาย : กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือกฎหมายจารีตประเพณีที่จะนำไปปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงได้ ช่องว่างของกฎหมายเกิดขึ้นได้ 2 กรณี กรณีที่ผู้ร่างกฎหมายคิดไปไม่ถึงว่าจะมีช่องว่างของกฎหมายเกิดขึ้น กรณีที่ผู้ร่างกฎหมายคิดถึงช่องว่างแห่งกฎหมายนั้น แต่เป็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ยังไม่สมควรบัญญัติไว้ให้ตายตัว

39 วิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย
กรณีที่กฎหมายได้กำหนดวิธีการในการอุดช่องว่างไว้แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ให้ใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หลักกฎหมายทั่วไป ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

40 กรณีที่กฎหมายมิได้กำหนดวิธีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายไว้
หลักเกณฑ์ : ศาลต้องพยายามหาหลักเกณฑ์มาพิพากษาคดี จะยกฟ้องโดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายมาปรับแก่คดีไม่ได้ ข้อยกเว้น : ในกฎหมายอาญา การอุดช่องว่างของกฎหมายต้องไม่เป็นไปในทางที่จะทำให้โทษที่จะลงหนักขึ้น

41 การสิ้นผลของกฎหมายจารีตประเพณี
ประชาชนเลิกยึดถือปฏิบัติ มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติขึ้นเป็นอย่างอื่น มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรไปบัญญัติไว้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายลายลักษณ์อักษร

42 1. กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการและการปกครอง
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 พ.ร.บ.ความรับผิดทางการละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

43 2. กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย
2. กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย 2.1 กลุ่มกฎหมายวิชาชีพ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พ.ร.บ. วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 พ.ร.บ. วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 พ.ร.บ. วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

44 2.2 กลุ่ม กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ
พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 พ.ร.ก. ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

45 2.3 กลุ่ม กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. ยา พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541

46 2.4 กลุ่ม กฎหมายเกี่ยวกับการอนามัยและสิ่งแวดล้อม
พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528 พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2547 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509

47 2.5 กลุ่ม กฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพและการประกันสุขภาพ
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

48 วิธีอ่านกฎหมาย ให้ดูชื่อกฎหมายและปีที่บังคับใช้
ให้ดูวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ นิยามสำคัญ โดยนิยามที่เป็นชื่อกฎหมาย โครงสร้างกฎหมาย ประกอบที่หมวด กี่มาตรา หากไม่มีหมวด ให้ดูมาตราที่เป็นสาระที่สำคัญ คณะกรรมการ มีชื่อว่าอะไร มีองค์ประกอบอย่างไร มีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอะไร บทลงโทษ เป็น โทษทางแพ่ง อาญา หรือทางปกครอง บทเฉพาะกาล

49 ความเป็นวิชาชีพ วิชาชีพมาจากภาษาอังกฤษว่า ‘Profession’
ที่มีรากศัพท์มาจากคำกริยา to profess ที่มาจากภาษาละติน pro+ fateri แปลว่า ยอมรับ, รับว่าเป็นของตน ตอนแรกใช้ศัพท์ภาษาไทยว่า “อาชีวปฏิญญาณ” ซึ่ง พลตรีพระเจ้า วรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งแตกต่างกับคำว่า ‘Occupation’ ที่เรียกว่า “อาชีพ” การที่เรียกว่า อาชีวปฏิญญาณ เนื่องจากรากฐานที่มาของคำนี้คือ “…การปฏิญญาณตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมเนียมที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน หาใช่การทำมาหากิน หรือทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่เพียงอย่างเดียว”

50 พัฒนาการกฎหมายวิชาชีพ
คำนี้เดิมใช้ในทางศาสนา หมายความว่า การประกาศตนว่ามีศรัทธาในศาสนาหรือ การประกาศปฏิญาณตน ใช้ในการปฏิญาณตนในทางศาสนาคริสต์ หากนับไปแล้วนักบวชในทางศาสนาคริสต์เป็น อาชีวปฏิญญาณแรกของโลก นำมาใช้วงการแพทย์ และทนายความ และขยายมามาสู่วิชาชีพต่างๆ เช่นวิศวกร สถาปนิก บัญชี สัตวแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือผู้ประกอบโรคศิลปะบางกลุ่มเป็นต้น

51 องค์ประกอบวิชาชีพ ศาสตราจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ ปรมาจารย์ด้านกฎหมายท่านหนึ่งในสังคมไทย ได้อธิบายไว้จะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 3 ลักษณะ ด้วยกัน ได้แก่ เป็นอาชีพที่เป็นการงานที่มีการอุทิศตนทำไปตลอดชีวิต การงานที่ทำนั้น ต้องได้รับการสั่งสอนอบรมเป็นวิชาชีพชั้นสูง ในลักษณะอบรมกันหลายปี ผู้ทำงานประเภทนั้น จะต้องมีชุมชน หรือเป็นหมู่คณะ ที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีสำนึกใน จรรยาบรรณ เกียรติยศ และศักดิ์ศรี ตลอดจนมีองค์กรและกระบวนการเพื่อสอดส่องพิทักษ์รักษาขนบธรรมเนียม เกียรติศักดิ์ ศักดิ์ศรี นั้นด้วย

52 การเป็นวิชาชีพในระดับสากล
แนวคิดการรวมกลุ่มผ่านสมาคมหรือสถาบันทางวิชาชีพ การตั้งสมาคมหรือสถาบันการฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาชีพขั้นสูงแล้วให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือเข้าศึกษา เช่นกรณี American Public Health Association –APHA แนวคิดการออกเป็นกฎหมายให้เป็นวิชาชีพ Registered Professional Law การออกเป็นกฎหมายโดยตรงให้แต่ละสาขาวิชาชีพเช่นในกรณีของ Australia การผสมผสานทั้งสองแนวคิด มีทั้งการออกกฎหมายบังคับโดยตรงและมีสมาคมหรือสถาบันร่วมด้วย

53 ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองในเมืองไทย
กลุ่มวิชาชีพด้านอื่น ทนายความ, นักบัญชี, สถาปนิก, วิศวกร, นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทย์, ทันตแพทย์, พยาบาล, สัตวแพทย์, เภสัชกร, นักเทคนิคการแพทย์, นักกายภาพบำบัด

54 ชื่อกฎหมายวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านอื่นๆ
ทนายความ ได้แก่ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 นักบัญชี ได้แก่ พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 วิศวกร ได้แก่ พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ. 2542 สถาปนิก ได้แก่ พ.ร.บ. สถาปนิก พ.ศ. 2543 นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ พ.ร.บ. ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551

55 การเกิดขึ้นของกฎหมายวิชาชีพด้านสาธารณสุข
พ.ร.บ. วิชาชีพแพทย์ พุทธศักราช 2466 พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะพุทธศักราช 2479 พ.ร.บ. ควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505 พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 พ.ร.บ. วิชาชีพอื่นๆ

56 การแยกตัวออกจากกฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 พ.ร.บ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 พ.ร.บ. วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พ.ร.บ. วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 พ.ร.บ. วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 พ.ร.บ. วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

57 สรุปกฎหมายวิชาชีพด้านสุขภาพที่บังคับใช้อยู่
แพทย์ พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พยาบาล พ.ร.บ. การพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 ทันตแพทย์ พ.ร.บ. วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 เภสัชกร พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 นักเทคนิคการแพทย์ พ.ร.บ. วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 นักกายภาพบำบัด พ.ร.บ. วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 แพทย์แผนไทย พ.ร.บ. วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 สาธารณสุขชุมชน พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

58 ความพยายามในการเสนอกฎหมายวิชาชีพ
มีการเปิดประเด็นเรื่อง การคุ้มครองการปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่อื่นที่มิใช่แพทย์ โดยเฉพาะการทำงานที่สถานีอนามัย (บทความในวารสารหมออนามัย, การประชุมวิชาการที่ มหิดล, การวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการทำเกินหน้าที่และขอบเขตของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย) ปี พ.ศ กฎหมายที่คุ้มครองขณะนั้นคือ ระเบียบฯ (พ.ศ. 2518) อาศัยอำนาจตามความใน กฎหมาย วิชาชีพเวชกรรม กระทรวงฯ แก้ไขโดยแก้ระเบียบฯ ฉบับใหม่ เป็นระเบียบชื่อเดิม ในปี พ.ศ. 2539 มีแนวคิดที่จะยกร่างกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุข

59 ร่างกฎหมายไม่ผ่าน การประชุม สนช. วันที่ 28 มีนาคม 2550 เวลา น สภา สนช. ได้พิจารณาลงมติต่อร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... สนช. ลงมติโดยไม่เห็นชอบ ด้วยคะแนนเสียง 59 ต่อ 36 งดออกเสียง 3 จากผู้เข้าประชุม 98 คน ถือเป็นร่างกฎหมายฉบับแรกที่ไม่ผ่านการให้ความเห็นชอบ โดย สนช.

60 A window of opportunity
Kingdon (1984) Therory of policy window Problem stream – What the problem is Policy stream – How to solve the problem Political stream – Action to address problem The three streams converging create the window Unless all three streams come together at the same time then the window remains closed!

61 ความพยายามในอีกระลอก
ที่ประชุมคณบดีคณะสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมวิชาชีพสาธารณสุข สมาคมหมออนามัย ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย

62 สรุปการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ...
สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ เห็นชอบหลักการ ในวาระที่ ๑ ด้วยคะแนน ๓๕๑ ต่อ ๑ สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เห็นชอบร่างกฎหมายในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนน ๓๔๙ ต่อ ๐ งดออกเสียง ๑ วุฒิสภา รับหลักการในวาระที่ ๑ ทั้งหมด ส่วนวาระที่ ๓ ในคราวประชุมวันที่ ๒๑ และ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๖ เห็นชอบร่างกฎหมาย แต่มีเงื่อนไขให้แก้ไขตามที่ วุฒิสภา แก้ไข (๖๔ เสียงเห็นชอบแต่ให้แก้ไข และ ๒๓ เสียง เห็นชอบโดยไม่แก้ไข) สภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุม วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา ด้วยคะแนน ๓๓๔ ต่อ ๗ ส่งผลให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมสองสภา เพื่อพิจารณาร่าง กฎหมาย

63 ขั้นตอนการตรากฎหมาย คณะกรรมาธิการร่วมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้ประชุมร่วมกันและได้ข้อยุติในร่างกฎหมายต้องตรงกัน และประชุมนัดสุดท้ายเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ส่งร่างคืนทั้งสองสภา เพื่อให้ความเห็นชอบการแก้ไข ทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผ่านขั้นตอนสุดท้ายวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. เมื่อผ่านความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีนำเสนอเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมาย

64 นิยามวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค การตรวจประเมินและบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยในชุมชน โดยนำหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ แต่ไม่รวมถึงการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

65 การประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
การประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน หมายความว่า (๑) การส่งเสริมการเรียนรู้ การแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค การบำบัดโรคเบื้องต้นและการฟื้นฟูสภาพต่อบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยการผสมผสานต่อเนื่อง และเชื่อมโยงเป็นองค์รวม (๒)​ การประยุกต์หลักวิทยาศาสตร์ โดยการกระทำด้านการอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อการควบคุมป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคและลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน (๓) การตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการวางแผนครอบครัวตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด (๔) การตรวจประเมินอาการเจ็บป่วยและการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการส่งต่อตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

66 องค์ประกอบสภาการสาธารณสุขชุมชน
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน ประกอบด้วย (๑) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข (๒) กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชา ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน เลือกกันเอง ให้เหลือสองคน (๓) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข หนึ่งคน (๔) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนแพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสภาการพยาบาล แห่งละหนึ่งคน (๕) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน (๖) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เลือกกันเอง จำนวนหนึ่งคน (๗) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์ ด้านละหนึ่งคน (๘) กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการใน (๑)​ (๒) (๓) (๔) (๕)​ (๖) และ (๗) รวมกัน สรุป เป็นกรรมการตามกฎหมาย ทั้งสิ้น ๒๔ คน แบ่งเป็น ๑๒ คน ที่มาโดยตำแหน่ง และจากการเลือกตั้งของสมาชิก ๑๒ คน

67 สมาชิกของสภาการสาธารณสุขชุมชน
หลักการของผู้ที่เป็นสมาชิกสภาการสาธารณสุข มาตรา ๑๐(๑) สมาชิกอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์และมีความรู้ในวิชาชีพการสาธารณสุขโดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการสาธารณสุขจากสถาบันการศึกษาที่สภาการสาธารณสุขรับรอง

68 วัตถุประสงค์ของสภาการสาธารณสุขชุมชน
มาตรา ๖ สภาการสาธารณสุขชุมชนมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (๒) ควบคุม กำกับ ดูแล และกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (๓) ควบคุมดูแลความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นเกี่ยวกับการสาธารณสุขชุมชน (๕) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (๖) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก (๗) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก (๘) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของประเทศไทย

69 อำนาจหน้าที่ของสภาการสาธารณสุขชุมชน
มาตรา ๗ สภาการสาธารณสุขชุมชนมีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (๒) ออกคำสั่งตามมาตรา ๓๙ วรรคสี่ (เกี่ยวกับการวินิจฉัยเมื่อสอบสวน) (๓) ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอนวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน เพื่อเสนอต่อ สกอ. (๔) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของสถาบันต่างๆเพื่อประโยชน์ในการสมัครสมาชิก (๕) รับรองหลักสูตรต่างๆสำหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรของสถาบันที่จะทำการสอนและฝึกอบรมในวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน (๖) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนใน (๕) (๗) จัดทำแผนการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานต่อสภานายกพิเศษอย่างน้อยปีละครั้ง (๘) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการสาธารณสุขชุมชน

70 การควบคุมการประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือกระทำด้วยวิธีการใดๆที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ซึ่งมีสิทธิที่จะประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน โดยมิได้รับใบอนุญาตจากสภาการสาธารณสุขชุมชน เว้นแต่ ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) การช่วยเหลือประชาชนตามหน้าที่ ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน (๒) นักเรียน นักศึกษาหรือผู้รับการอบรม.... (๓) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กระทำการประกอบวิชาชีพในการควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ...ตามระเบียบ (๔) บุคคลซึ่งทางราชการ...มอบหมาย...ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ...ตามระเบียบ... (๕) การปฏิบัติงานของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านซึ่งผ่านการอบรม...ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ...ตามระเบียบ...

71 กรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน ช่วงเริ่มต้น
มาตรา๕๐ ในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่เลือกกรรมการ..ให้กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นนายกสภาการสาธารณสุขชุมชน ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งนิติกรเชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ สป.สธ. หนึ่งคนเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สปสธ. ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคเอกชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เลขาธิการสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขซึ่งนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขแต่งตั้งหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขทำหน้าที่เลขาธิการ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการ สรุป มีกรรมการ จำนวน 11 คน

72 กรรมการสภาวิชาชีพตามบทเฉพาะกาล
๑.    ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นิติกรเชี่ยวชาญ ของ สปสธ. ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สปสธ. ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคเอกชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมมราชชนก นายไพศาล  บางชวด            นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นางทัศนีย์  บัวคำ                  อุปนายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข นายทัคคนา  สุวรรณไตรย์         เลขาธิการสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข รศ.ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย        ที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข   

73 หน้าที่คณะกรรมการในช่วงเริ่มต้น
มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๕๐ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ออกระเบียบว่าด้วยการรับสมัครสมาชิกและค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก และดำเนินการรับสมัครสมาชิกภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง (๒) ออกระเบียบว่าด้วยการเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งบุคคลตามมาตรา ๑๖ (๓) จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๕๐ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเก้าสิบวันตาม (๑) เพื่ออนุมัติระเบียบ ตาม (๒) (๔) ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๒) (๕)​และ (๖) การแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๗) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมอนุมัติระเบียบตาม (๓) (๕) ปฏิบัติการอื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ นี้

74

75

76 ตราสัญลักษณ์ สภาการสาธารณสุขชุมชน

77 การเตรียมตัวของนักการสาธารณสุขชุมชน
เตรียมหลักฐานการสำเร็จการศึกษา ตรวจสอบว่าตนเองมีคุณสมบัติในการสมัครเป็นสมาชิกหรือไม่ สมัครเป็นสมาชิกสภาการสาธารณสุขชุมชน เลือกกรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน ปฏิบัติตามหน้าที่ และใช้สิทธิ ตามกฎหมายวิชาชีพ


ดาวน์โหลด ppt พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google