งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม
(นัยต่อการบริหารรัฐกิจ) โดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2 บริบทสังคมการเมืองไทย
อ่านหนังสือพิมพ์ท่านเห็นข่าวเหล่านี้...กำลังบอกอะไรเกี่ยวกับบริบทสังคมการเมืองไทย

3 แรงเกื้อหนุนสังคม-ประชาชน มติชน พ้นฮุบ แกรมมี่ ถอยลดสัดส่วนหุ้น
กรณีนสพ.มติชน แรงเกื้อหนุนสังคม-ประชาชน มติชน พ้นฮุบ แกรมมี่ ถอยลดสัดส่วนหุ้น (มติชน 17 กันยายน)

4 ประชาชนคัดค้านการเวณคืนที่เพื่อก่อสร้างศูนย์คมนาคมตากสิน
ชาวแม่เหียะค้านการขยายสนามบินเชียงใหม่ ภาคประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความโปร่งใสกรณี FTA กับสหรัฐ โดยกลุ่มFTA Watch กลุ่มอนุรักษ์นัดต้านกระเช้าไฟฟ้าดอยหลวงเชียงดาว เอ็นจีโอต้านปลูกมะละกอ GMOs เชิงค้า 30 องค์กรเร่งสธ.เอาผิดเอกชนฮั้วยา สมัชชาคนจนทวงสัญญารัฐ เครือข่ายคนจนภาคใต้เดินหน้ายึดสวนปาล์มเพิ่ม กลุ่มอนุรักษ์อุดรรณรงค์ต้านเหมืองโปแตซ เริ่มมหกรรมประชาชนต้านท่อก๊าซที่จะนะ กลุ่มเหล้าพื้นบ้านแพร่ชุมนุมไล่สรรพสามิต สมัชชาคนจนให้เปิดเขื่อนปากมูลถาวร กลุ่มต้านโรงไฟฟ้าหินกรูดยื่นหนังสือถึงรัฐบาล

5 การเกิดขึ้นของกลุ่มประชาสังคม (Civil Society) ในบริบทการเมืองไทย
สะท้อนปัญหาของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) ความจำเป็นของการขยายพื้นที่ของระบอบประชาธิปไตยเพื่อสามารถรองรับพลังทางสังคมใหม่ในกระบวนการใช้อำนาจและกำหนดนโยบาย (Participatory Democracy)

6 ประชาสังคม (Civil Society)
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม:ประชาสังคมหมายถึงสังคมที่ประชาชนทั่วไปมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของประชาชน โดยอาศัยองค์กร กลไก กระบวนการ และกิจกรรมอันหลากหลายที่ประชาชนจัดขึ้นหรือส่วนของสังคมที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งดำเนินงานโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและไม่ใช่ภาคธุรกิจ ซึ่งดำเนินงานโดยมุ่งหวังกำไร เอนก เหล่าธรรมทัศน์: civil society หมายถึง ส่วนรวมที่ไม่ใช่รัฐ สะท้อนการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง (Citizen) ไม่ใช่ในฐานะราษฎร (subject) หรือ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่รอรับการบริการของรัฐเท่านั้น ธีรยุทธ บุญมี: ประชาสังคม เป็นพื้นที่แตกต่างจากรัฐ ประกอบด้วยหลายภาคส่วน คือ ธุรกิจ วิชาชีพ ปัญญาชน นักศึกษา ชาวบ้าน นักศึกษาร่วมแรง

7 ประชาสังคมของไทย กระบวนการนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516
กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มองค์กรธุรกิจ กลุ่มประชาสังคมยุคใหม่ กลุ่มชุมชน: กลุ่มรักบ้านเกิด ชุมชนบ้านครัว ชุมชนบางซื่อ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มสิ่งแวดล้อม กลุ่มคนพิการ

8 เหตุผลการเกิดและเคลื่อนไหวของประชาสังคม
เพื่อการร้องทุกข์ หรือเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแก้ปัญหาที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือการเหลียวแล เช่น สมัชชาคนจน เครือข่ายเกษตรกร เพื่อมุ่งตรวจสอบกระบวนการใช้อำนาจรัฐ เช่น กรณีทุจริตยา โดยชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายสหพันธ์คุ้มครองผู้บริโภค เครื่อข่ายประชาชนต่อต้านคอรัปชั่น กรณีคลองด่าน การประท้วงอำนาจรัฐและเรียกร้องให้ถ่ายโอนอำนาจที่รัฐเคยมีมาเป็นของประชาชน เช่น กรณีการรณรงค์เรื่องพ.ร.บ.ป่าชุมชน การต่อต้านโรงไฟฟ้าที่บ่อนอก-หินกรูด และการคัดค้านท่อก๊าซที่จะนะ

9 ความหมายของประชาธิปไตย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน : “รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่” ประธานาธิบดีลินคอล์น : “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน”

10 รูปแบบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านผู้แทน (Representative Democracy) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)

11 ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านตัวแทน (Representative Democracy)
ประชาชนเลือกตัวแทนเพื่อไปทำหน้าที่แทนตน ในการปกครอง หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยแบบตัวแทนคือ การเลือกตั้ง เป็นรูปแบบที่แพร่หลายในประเทศ ประชาธิปไตยทั่วไป

12 ความสุจริตของระบบเลือกตั้ง ปัญหาความซับซ้อนของสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่
ปัญหาของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ปัญหาความเป็นตัวแทน การเมืองของชนชั้นนำ ความสุจริตของระบบเลือกตั้ง ปัญหาความซับซ้อนของสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ ปัญหาการเข้าถึงอำนาจของคนรากหญ้า

13 การปรับกระบวนทัศน์ทางการเมือง
การยอมรับข้อจำกัดของประชาธิปไตยตัวแทนในการดูแลผลประโยชน์ประชาชนที่แตกต่างขัดแย้งกัน ความจำเป็นในการเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจของประชาชนเข้าไปในระบอบเพื่อให้เวทีประชาธิปไตยเป็นพื้นที่เปิดสำหรับคนทุกคน รวมทั้งประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า ความจำเป็นที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องเลิกใช้ชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นฐานความชอบธรรมในการตัดสินใจ

14 ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)
ประชาชนสามารถใช้อำนาจทางตรงโดยไม่ผ่านผู้แทน เป็นการกระจายอำนาจในการตัดสินใจและจัดสรรทรัพยากร

15 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 การเพิ่มการมีส่วนร่วมในโครงสร้างทางการเมืองระดับชาติ กำหนดให้มีองค์กรอิสระที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชนในการเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็น เช่น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมือง การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น การรับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั่งเดิมมีสิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชานในการบวนการนโยบายสาธารณะ

16 ธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. เมืองพัทยา กทม.) มีตัวแทนของประชาชนจากการเลือกตั้ง มีหน้าที่หลากหลาย ความอิสระของท้องถิ่นระดับหนึ่ง การบริหารเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงานราชการส่วนกลางและภูมิภาค (กรมการปกครอง/กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น/สำนักงานเกษตรจังหวัดประมงจังหวัด/ จังหวัด/ อำเภอ) ผู้บริหารมาจาการแต่งตั้ง มีหน้าที่เฉพาะด้าน แขนขาของรัฐบาล การบริหารงานโดยผู้เชี่ยวชาญเน้นประสิทธิภาพ

17 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย
ร่วมรับรู้ข้อมูล: พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของทางราชการ ม. 58 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

18 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย
ร่วมให้ข้อมูล ม. 59 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

19 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย
ม. 76 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ม.79 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม และกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

20 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย
ริเริ่ม ม. 170 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ม. 287 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาพิจารณาออกข้อบัญญัติ

21 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย
ตรวจสอบ ม. 304 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงได้

22 ยุทธศาสตร์การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ มาตรา 3/1 (การมีส่วนร่วม และโปร่งใส) พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 8 (3)(4) (5) มาตรา 39, 43, และ 44

23 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง (3) การกำหนดขั้นตอนที่โปร่งใส และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการชี้แจงทำความเข้าใจ (4) ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ

24 ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม) (ต่อ) มาตรการการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สร้างความรู้และความเข้าใจการทำงานแบบใหม่แก่เจ้าหน้าที่และประชาชน วางหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานมีระบบปรึกษาหารือกับประชาชน/สำรวจความต้องการของประชาชน ในโครงการที่อาจกระทบประชาชน ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน สร้างอาสาสมัครภาคประชาชน สร้างระบบการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ กำหนดตัวชี้วัดสำหรับการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม

25 กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน

26 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน การดูแลจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว การดูแลจัดการทรัพยากรส่วนรวม องค์กรชุมชน

27 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ กำหนดหลักการสำคัญไว้ 2 ประการ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น”

28 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการรับฟังความคิดเห็น มีการบัญญัติไว้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 59 ความว่า “ บุคคลย่อมได้สิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญ อื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด”

29 กระบวนการประชาพิจารณ์
ขั้นตอนของกระบวนการประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 การสั่งให้ทำประชาพิจารณ์โดยผู้มีอำนาจฯ เงื่อนไขที่ผู้มีอำนาจสั่งให้ทำประชาพิจารณ์ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย วิธีการสั่งให้ประชาพิจารณ์ ผู้มีอำนาจสั่งเห็นสมควรและสั่งให้ประชาพิจารณ์ ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ประชาพิจารณ์โครงการของรัฐ และผู้มีอำนาจฯ เห็นสมควร หน่วยงานของรัฐเห็นว่าการทำประชาพิจารณ์จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามโครงการของรัฐ และผู้มีอำนาจฯ เห็นด้วย

30 กระบวนการประชาพิจารณ์
การสั่งให้ทำประชาพิจารณ์ต้องสั่งก่อนที่จะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการของรัฐ การแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ วิธีการประชาพิจารณ์ต้องดำเนินการตามประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ การทำรายงานประชาพิจารณ์ การประกาศผลการทำประชาพิจารณ์

31 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.4 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลงประชามติ หลักการลงประชามติ ผู้มีสิทธิในการลงประชามติ การดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ

32 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น องค์กรชุมชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่น จำนวนผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า ไม่เกิน 100,000 คน 1/5 100, ,000 คน 20,000 คน 500, ,000,000 คน 25,000 คน เกิน 1,000,000 คน 30,000 คน

33 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ) ผู้แทนของผู้เข้าชื่อ ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง จัดส่งคำร้อง ไปยังสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ถูกร้อง ขอให้ลงคะแนนเสียงถอดถอน ผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้น ภายใน ๓๐ วันนับแต่ วันได้รับแจ้งคำร้อง จัดทำคำชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อแก้ข้อกล่าวหา ยื่นต่อผู้ว่าฯ แจ้งเรื่อง พร้อมส่งคำร้อง คำชี้แจง (ถ้ามี) ต่อคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) หรือบุคคลที่ กกต.มอบหมาย เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (กกต.จว.) ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำชี้แจง ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศ กำหนดวันลงคะแนนเสียง ถอดถอน และดำเนินการ จัดให้มีการลงคะแนนเสียง ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ไม่เกิน 90 วัน นับจากวันได้รับแจ้ง กกต. หรือบุคคลที่ กกต. มอบหมาย

34 รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น (ต่อ) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น (Rule Making) การมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยอ้อม การมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยตรง

35 หลักเกณฑ์ในการเข้าชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
กำหนดให้ราษฎรผู้สิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เสนอ ในการยื่นรายชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น คำร้องขอ ต้องประกอบด้วย ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ชื่อ ที่อยู่ และรายมือของผู้เข้าชื่อในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พร้อมลายชื่อของผู้เข้าชื่อพร้อมสำเนาบัตรประชาชน เสนอต่อสภาท้องถิ่น ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เสนอนั้นจะต้องมีข้อกำหนดที่ชัดเจนเพียงพอได้ว่ามีความประสงค์จะตราข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องใด ประธานสภาท้องถิ่นพิจารณาและนำเสนอที่ประชุมสภาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น

36 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า ½ ร่วมกันเข้าชื่อ เสนอ
ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น เขตชุมชนหนาแน่น เปิดโอกาสให้ผู้ซึ่งมีรายชื่อตามประกาศที่ไม่ได้เข้าร่วมลงชื่อคัดค้าน ภายในระยะเวลา20 วัน ครบจำนวนที่กำหนด ไม่ครบจำนวนที่กำหนด สภาท้องถิ่น ผู้แทนของผู้เข้าชื่อจัดเข้าชื่อเพิ่มเติม ภายในระยะเวลา 30 วัน ข้อบัญญัติท้องถิ่น ครบ ไม่ครบ จำหน่ายเรื่อง

37 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง (3) การกำหนดขั้นตอนที่โปร่งใส และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการชี้แจงทำความเข้าใจ (4) ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ

38 ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
ความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน พิธีกรรม ขาดการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย (Meaningful Participation) ค่าใช้จ่ายและเวลา ขาดการบริหารจัดการที่ดี

39 ความหมายและแนวคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชน

40 การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)
หมายถึง การที่ประชาชนเข้าไปร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการที่ประชาชนจะต้องมีอิสระในทางความคิด มีความรู้ความสามารถในการกระทำ และมีความเต็มใจที่จะเข้าร่วมต่อกิจกรรมนั้นๆ โดยที่การมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องมีลักษณะการเข้าร่วมอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นสุด กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การเกิดจิตสำนึกในตนเองและถือเป็นภาระหน้าที่ของตน ร่วมคิด ร่วมกันวางแผนงาน ร่วมดำเนินงาน ร่วมกันติดตามประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์

41 หลักการที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ต้องเกิดจากความเต็มใจและความตั้งใจ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพ/อิสรภาพ

42 ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา การสร้างฉันทามติ ลดความขัดแย้งทางการเมืองและเกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจของรัฐ การเพิ่มความง่ายในการนำไปปฏิบัติ ลดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งที่รุนแรงได้ ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชน การพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน ช่วยทำให้ประชาชนสนใจประเด็นสาธารณะมากขึ้น

43 บทบาทของประชาชน ความเป็นพลเมือง สำนึกของความเป็นพลเมือง ใฝ่รู้
ความตื่นตัวทางการเมือง มีส่วนร่วมกิจกรรมสาธารณะ แตกต่างจากการเป็นลูกค้า

44 การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชน

45 การบริหารจัดการกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควรยึดหลัก 4 S คือ
Starting Early : เริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก Stakeholders : ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Sincerity : จริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ Suitability : ความเหมาะสม

46 การมีส่วนร่วมของประชาชนจำเป็นต้องมีการวางแผน
ขั้นเตรียมการ เตรียมทีมงาน ตรวจสอบสถานการณ์ภายในหน่วยงาน ประเมินสถานการณ์ ขั้นการจัดทำแผนการมีส่วนร่วม ระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คาดการณ์ระดับการโต้เถียง ระบุเป้าหมายของการมีส่วนร่วม ระบุเงื่อนไขพิเศษของชุมชน การเลือกเทคนิคและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน การเขียนแผนการมีส่วนร่วม ขั้นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

47 การมีส่วนร่วมของประชาชนจำเป็นต้องรู้ผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) หมายถึง ปัจเจกชน กลุ่มบุคคล องค์กร สถาบันหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากการตัดสินใจหรือจากการดำเนินโครงการหรือนโยบายนั้น การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Analysis) ชัดเจนและครอบคลุม เทคนิคการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม

48 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Analysis)
ประเภทของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ผู้มีส่วนได้เสียอ้อม

49 ขั้นตอนการวิเคราะห์ ระบุผู้มีส่วนได้เสีย ระบุผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
ระบุระดับอิทธิพลและความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย

50 การมีส่วนร่วมของประชาชนต้องชัดเจนในระดับการมีส่วนร่วมและเทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสม
ระดับของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอำนาจให้ประชาชน การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท การมีส่วนร่วมในระดับหารือ การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนมีหลากหลายที่เหมาะสมแต่ละเทคนิคหรือวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

51 Tell me, I forget. Show me, I remember. Involve me, I understand.

52 การมีส่วนร่วมในระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร
Inform วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างความสำนึก / ตระหนักและให้การศึกษา เทคนิค : นิทรรศการ, แผ่นพับ, ตู้ข้อมูล, สื่อ ใบปลิวให้การศึกษา, ศูนย์ข้อมูล, เอกสารข้อเท็จจริง รายงาน, จุลสาร, ทัศนศึกษา

53 การมีส่วนร่วมในระดับหารือ Consult
วัตถุประสงค์ : แสวงหาข้อมูลและให้ข้อมูลป้อนกลับ เทคนิค : พบปะแบบไม่เป็นทางการ (open house) แบบสอบถาม สัมภาษณ์กลุ่มย่อย สายด่วน Public Hearing

54 การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท
Involve วัตถุประสงค์ :ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีข้อเสนอแนะ เทคนิค : Workshop World Café เวทีสาธารณะ

55 Collaboration วัตถุประสงค์ : ก่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน
การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ Collaboration วัตถุประสงค์ : ก่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน เทคนิค : คณะที่ปรึกษา คณะทำงาน (task force)

56 Empowerment วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดให้มีเวทีสำหรับการตัดสินใจ
การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอำนาจประชาชน Empowerment วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดให้มีเวทีสำหรับการตัดสินใจ เทคนิค : ประชามติ/ ประชาคม/ citizen jury

57 การมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา empowerment
สภาเมืองขอนแก่น (เทศบาลนครขอนแก่น) การแก้ไขความขัดแย้งโดยประชาคม (อบต.ห้วยกะปิ)

58 การมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา Collaboration
คณะกรรมการพิจารณาการจัดเก็บภาษี การวางแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น (อบต.ห้วยกะปิ)

59 การมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา Involvement
ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ (เทศบาลนครขอนแก่น) อาสาสมัครสิ่งแวดล้อม (เทศบาลนครพิษณุโลก) คลังสมอง และ กลุ่มเยาวชน (เทศบาลตำบลอุโมงค์)

60 เงื่อนไขที่มีผลต่อความสำเร็จ ในการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้นำองค์กร ทีมงานและองค์กร ประชาชน

61 สรุปเทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชน

62 เวทีสาธารณะ ข้อดี ยืดหยุ่นและเปิดกว้างสำหรับทุกคน
  ยืดหยุ่นและเปิดกว้างสำหรับทุกคน   เปิดโอกาสให้ซักถาม โต้ตอบ มีเจ้าหน้าที่ประจำโต๊ะข้อมูลเพื่อให้และรับข้อมูลเพิ่มเติม ข้อจำกัด   ถ้าในพื้นที่โครงการมีความขัดแย้ง เวทีนี้อาจทำให้เกิด ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น   ต้องคำนึงถึง วัน เวลา สถานที่ ต้องสัมพันธ์กับด้านอาชีพ ศาสนา วัฒนธรรม

63 การพบปะแบบไม่เป็นทางการ
ข้อดี ช่วยสร้างความไว้วางใจ และสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะไม่เป็นทางการ รู้สึกผ่อนคลายและติดต่อสื่อสารได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น ข้อจำกัด ต้องใช้เวลาที่ยาวนานในการวางแผนและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ประชาชนเข้าร่วมค่อนข้างน้อย

64 การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนแก่ชุมชน
ข้อดี มีความใกล้ชิดและทราบปัญหาที่แท้จริง สามารถดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ ข้อจำกัด ใช้เวลาและบุคคลจำนวนมาก มีความยากในการสื่อต่อชุมชนให้เป็นไปในทางเดียวกัน

65 การประชุมเชิงปฏิบัติการ
ข้อดี เลือกกลุ่มเฉพาะที่สนใจและที่เกี่ยวข้องได้ดี ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับสูง ใช้จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ใช้ทบทวนแผนหรือการพัฒนาแผนการปฏิบัติงาน ข้อจำกัด  การกระจายข้อมูลไม่ค่อยดี จัดเวลาที่เหมาะได้ยาก ค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลาเตรียมการมาก ผู้นำการประชุมต้องชำนาญ ข้อมูลอาจเบี่ยงเบนตามผู้นำการประชุม

66 คณะที่ปรึกษา ข้อดี สร้างกลไกการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
เกิดมุมมอง ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญรอบด้าน สมาชิกเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์โดยอัตโนมัติ ข้อจำกัด การประชุมไม่สามารถทำได้บ่อยครั้ง ขาดเป้าหมายร่วมกันได้

67 เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น
การสัมภาษณ์รายบุคคล  ข้อดี ได้สังเกตปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรได้ เป็นการพูดคุยตัวต่อตัว ให้รายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่า  ข้อจำกัด  ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ใช้เวลาและจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ควรฝึกฝนมาก่อน

68 เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น
การสนทนากลุ่มย่อย ข้อดี ค่าใช้จ่ายน้อย ทำง่าย เรื่องอ่อนไหวหรือเรื่องที่จะก่อให้เกิดขัดแย้ง จะใช้ได้ดี มีความยืดหยุ่นในการค้นหาประเด็นหรือข้อมูล คนเข้าร่วมเท่าเทียมกัน ช่วยลดความกลัวเกรง ข้อจำกัด ควรเลือกผู้ดำเนินการสนทนาที่มีบุคลิกเชิญชวนให้คนพูด ข้อมูลจะประมวลและวิเคราะห์ ตีความยาก เพราะหลากหลาย ผู้เข้าร่วมมักถือความสะดวกมากกว่าเป็นตัวแทนชุมชน

69 เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น
การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็ปไซด์ ข้อดี ติดตั้งที่ใดก็ได้ แสดงความคิดเห็นจากที่ใดก็ได้ ข้อจำกัด ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ใช้ได้เฉพาะประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจ

70 เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น ข้อดี ข้อมูลเจาะกลุ่มเฉพาะได้ดี ผู้ไม่ประสงค์ออกนามสามารถทำได้เต็มที่ วัดปริมาณได้ การสอบถามทางโทรศัพท์ได้รับความคิดเห็นทันที ข้อจำกัด แบบสอบถามอาจไม่ได้แสดงความคิดเห็นของชุมชนอย่างแท้จริง ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการตอบแบบสอบถาม ใช้เวลามาก ต้องสุ่มตัวอย่าง การแปลผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อน การสอบถามทางโทรศัพท์ไม่ค่อยโปร่งใส

71 เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น
สายด่วนสายตรง ข้อดี สะดวก รวดเร็ว ถ้ามีโทรศัพท์ ลดการเผชิญหน้า ได้ข้อมูลจากหลากหลายคน ค่าใช้จ่ายไม่มากในการดำเนินการ ข้อจำกัด ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่ติดตั้งโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายสูงในระยะแรก เป็นภาระของทีมงานมากในการตอบคำถามที่รวดเร็ว

72 เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น
ประชาพิจารณ์ ข้อดี เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการ เปิดโอกาสให้มีการซักถามได้ถึงข้อสงสัย เกิดระบบการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจของผู้มีอำนาจ ต้องมีการบันทึกความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร  ข้อจำกัด มีความเป็นทางการสูง เป็นการโต้แย้งแบบเผชิญหน้า อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ใช้เงินทุน บุคลากร และเวลา สูงมาก ควรทำร่วมกับเทคนิคการมีส่วนร่วมอื่นๆ

73 เทคนิคการให้ข้อมูล การจัดทำเอกสาร
- เอกสารข้อเท็จจริง จดหมายข่าว รายงานการศึกษา  ข้อดี มีข้อจำกัดด้านเวลาการนำเสนอ ชี้แจงข้อเท็จจริงในรูปเอกสาร เป็นหลักฐานประกอบอ้างอิงในการดำเนินงาน  ข้อจำกัด  สำนวนการเขียนมักเป็นทางการ หรือศัพท์ทางเทคนิค ถ้าไม่สะดุดตา จะไม่มีผู้สนใจ เป็นการสื่อสารทางเดียว จำกัดเฉพาะผู้อ่านออก

74 เทคนิคการให้ข้อมูล การจัดวีดีทัศน์ ข้อดี ได้หลายครั้ง
มีความสมจริง ทั้งภาพและเสียงประกอบ ไม่มีความซับซ้อนในการทำงาน นำเสนอให้ผู้รับได้ครั้งละจำนวนมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน  ข้อจำกัด ต้นทุนสูง ต้องใช้มืออาชีพ เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ยาก ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ใช้ได้เฉพาะในสถานที่ที่มีไฟฟ้า

75 เทคนิคการให้ข้อมูล การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ข้อจำกัด
ข้อดี ช่วยอำนวยความสะดวกในการเป็นแหล่งข้อมูลและข่าวสาร ข้อจำกัด เป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว การหาสถานที่ให้เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลาง ข้อมูลที่จะต้องทันสมัยตลอดเวลา

76 เทคนิคการให้ข้อมูล การสื่อสารผ่านทางสื่อมวลชน
- การแถลงข่าว วิทยุกระจายเสียง - หอกระจายข่าว  ข้อดี กระจายข้อมูลได้วงกว้างและรวดเร็ว สื่อมวลชนได้ข้อมูลเพื่อไปเผยแพร่ได้อย่างถูกต้อง เข้าถึงคนทุกระดับ และไม่เสียเวลา  ข้อจำกัด การเตรียมข้อมูลที่มีความถูกต้อง ประชาชนผู้สนใจไม่ได้เข้าร่วมในกรณีเฉพาะกลุ่มสื่อมวลชน การสื่อสารผ่านวิทยุไม่สามารถเสนอรายละเอียดที่ซับซ้อนได้ ช่วงเวลาต้องสอดคล้องกับผู้ฟังที่จะฟังได้ การใช้ภาษาในการสื่อสารต้องให้เหมาะสม  

77 เทคนิคการให้ข้อมูล การให้ข้อมูลข่าวสารโดยตรง จากเจ้าของโครงการ
- ทัศนศึกษา - การนำเสนอ - การชี้แจงในการประชุมของทางราชการ ข้อดี ผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์โดยตรงด้วยตนเอง ใช้ได้กับผู้ฟังหลายกลุ่ม รับรู้อย่างทั่วถึง และรวดเร็ว สร้างความเพลิดเพลินและจูงใจผู้เข้าร่วม ข้อจำกัด  ผู้นำเสนอต้องมีการเตรียมตัวมาอย่างดี ไม่สามารถคุมคนที่ไม่สนใจได้ในกรณีการทัศนศึกษา ค่าใช้จ่ายสูง ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

78

79 เงื่อนไขที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้นำองค์กร ทีมงานและองค์กร ประชาชน

80 บทสรุป การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ความสำเร็จของกระบวนการมีส่วนร่วมอยู่ที่ความสามารถในการจัดการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง มิใช่จัดให้เสร็จตามกฎหมายหรือไม่มีคนคัดค้านโครงการ เพราะการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางนำมาซึ่งการเรียนรู้ ข้อตกลงร่วมกันและการตัดสินใจที่รอบคอบมากขึ้น กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก มีการให้ข้อมูล กระตุ้นให้เกิดความคิดเห็นและให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนการตัดสินใจ

81 บทสรุป การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่ต้องการให้มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง (inclusive) ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อนและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเป็นอย่างจริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ ให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารสองทางอยู่ตลอดเวลา การมีส่วนร่วมที่สร้างสรรค์ต้องเป็นการผสมผสานเทคนิคการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

82 บทสรุป การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่การตระหนักในปัญหาจนจบโครงการ ฉะนั้นการมีส่วนร่วมมิใช่กิจกรรมที่ทำครั้งเดียวจบ สามารถทำซ้ำได้ ในหลากหลายรูปแบบ ไม่มีแผนการมีส่วนร่วมใดที่เหมาะสมกับทุกประเด็นปัญหา และไม่มีเทคนิคการมีส่วนร่วมรูปแบบใดที่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเป็นไปอย่างมีความหมาย (Meaningful public participation) หมายถึงข้อคิดเห็นหรือความห่วงกังวลของประชาชนต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ


ดาวน์โหลด ppt กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google