งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพยาบาลด้านจิตสังคมแก่ผู้ป่วยโรคผิวหนัง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพยาบาลด้านจิตสังคมแก่ผู้ป่วยโรคผิวหนัง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพยาบาลด้านจิตสังคมแก่ผู้ป่วยโรคผิวหนัง
โดย ศุภวรรณ นิลรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตจังหวัดตรัง

2

3 ความเจ็บป่วยส่งผลกระทบไม่เฉเพาะต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย แต่มีผลกระทบรวมถึงจิตสังคมและจิตวิญญาณของผู้ป่วยที่เจ็บป่วยและครอบครัว งานวิจัยพบว่า ผู้ที่พักเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีความเครียดทางอาการสูง และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง และการกังวลทางจิตสังคมเพิ่มขึ้น ในการดูแลช่วยเหลือจะมีผลต่อการนั้นหลายโรค เช่น การปรับตัวต่อความเจ็บป่วย

4 ความเจ็บป่วยทางโรคผิวหนังยังมีผลต่อด้านจิตใจอย่างยิ่ง : มีผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองของผู้ป่วย จึงไม่ควรละเลยในการดูแลจิตใจ

5 โรคผิวหนังบางโรค ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วย รู้สึกรำคาญ อับอาย เศร้าใจ สูญเสียภาพลักษณ์ รู้สึกว่าตนอัปลักษณ์ เช่น โรคด่างขาว กลากเกลื้อน อีสุกอีไส งูสวัด โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อนเท่านี้ เป็นต้น ญาติ พี่น้อง บุคคลในครอบครัวมีความรู้สึกแตกต่างกันหรือรังเกียจ แม้แต่เราเป็นฝ้าเป็นสิวหรือใบหน้าหมองคล้ำสักเล็กน้อย ยังรู้สึกกังวลใจ เรามักสื่อสิ่งที่ทำให้เราสวยขึ้น ดูดี น่ามอง เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยเหล่านี้จึงต้องดูแลจิตและสังคมของเขา

6 ให้การดูแลจิตใจและสังคม ผู้ป่วยโรคผิวหนังได้อย่างไร
แล้วพยาบาลจะ... ให้การดูแลจิตใจและสังคม ผู้ป่วยโรคผิวหนังได้อย่างไร

7 การดูแลจิตใจอย่างง่ายๆ หรือเบื้องต้น เช่น การแสดงอาการไม่รังเกียจ การยอมรับ เข้าใจผู้ป่วย พูดคุยด้วย มีปฏิสัมพันธ์ด้วย เหมือนคุยกับผู้ป่วยโรคอื่น ๆ หรือคนทั่วไป

8 ผู้ป่วยโรคผิวหนังมักถูกรังเกียจจากสังคม กอปรกับอาการแสดงของโรค ทำให้บุคคลรู้สึกเสียกำลังใจ เครียด วิตกกังวล แยกตัวออกจากสังคม ดังนั้นพยาบาลจึงควรดูแลจิตใจและสังคมอย่างซับซ้อนโดย - ให้การปรึกษารายบุคคล - ให้การปรึกษารายกลุ่ม

9 ก่อนการให้คำปรึกษา เรามาเรียนรู้ กลุ่มภาวะอารมณ์และความรู้สึก

10 กลุ่มภาวะอารมณ์และความรู้สึก
กลุ่มอารมณ์โกรธ คือ ไม่ชอบใจ ไม่สนใจ ไม่พอใจ ไม่สบอารมณ์ รำคาญ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ผิดหวัง เจ็บร้อนแทน เหลืออด ฉุน ยัวะ โกรธ โมโห เดือด เจ็บใจ เคียดแค้น คับแค้นใจ กลุ่มอาการเกลียด คือ ไม่ชอบ รังเกียจ เกลียด เหม็นหน้า ชิงชัง อิจฉา ริษยา ขยะแขยง สะอิดสะเอียน กลุ่มอาการกังวล คือ สองจิตสองใจ ลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ ห่วงใย คลางแคลงใจ กังวล สับสน กลุ้มใจ หนักใจ กระอักกระอ่วน อึดอัดใจ คับข้องใจ ยุ่งยากใจ วุ่นวายใจ ร้อนใจ กระวนกระวาย กระสับกระส่าย

11 กลุ่มภาวะอารมณ์และความรู้สึก
กลุ่มอารมณ์กลัว คือ ไม่กล้า เกรงใจ ขยาด หวาด กลัว ระแวง ตกใจ เสียขวัญ ตื่นตระหนก ขวัญผวา อกสั่นขวัญแขวน ขวัญหนีดีฝ่อ กลุ่มอารมณ์เบื่อ คือ อ่อนใจ เพลียใจ เหนื่อยใจ ละเหี่ยใจ ห่อเหี่ยว หดหู่ เซ็ง เบื่อ เอือมระอา อิดหนาระอาใจ กลุ่มอารมณ์เหงา คือ เงียบเหงา หงอย เปล่าเปลี่ยว โดดเดี่ยว เดียวดาย ว้าเหว่ อ้างว้าง เคว้งคว้าง วังเวงใจ หมดที่พึ่ง

12 กลุ่มภาวะอารมณ์และความรู้สึก
กลุ่มอารมณ์ดี คือ ดีใจ สบายใจ คลายกังวล โล่งอก โล่งใจ ร่างเริง รื่นเริง คึกคัก สนุกสนาน เป็นสุข ปิติ อิ่มเอิบใจ ภาคภูมิใจ ปลื้มใจ ปลาบปลื้ม ซาบซึ้ง ชื่นใจ ประทับใจ ตื่นตันใจ กลุ่มอารมณ์เอียงอาย คือ เคาะเขิน เหนียม เปิ่น กระดาก เอียงอาย กลุ่มอารมณ์อับอาย คือ หน้าแตก ขายหน้า เสียหน้า อับอาย ละอายใจ กลุ่มอารมณ์เศร้า คือ เสียดาย น้อยใจ สะท้อนใจ สะเทือนใจ เสียใจ เศร้า โศกสลด รันทด สลดใจ ชอกช้ำ ช้ำใจ ทุกข์ระทม ร้าวรานใจ ร้าค่า ท้อแท้ หมดกำลังใจ สิ้นเชิง หมดอาลัยตายอยาก

13 การให้การปรึกษา

14 หลักในการให้การปรึกษา
แนวทางการให้การปรึกษา เน้นที่ตัวผู้รับการปรึกษาหรือ client-centered ให้ผู้ประสบปัญหาแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยให้ผู้ให้การปรึกษาเป็นผู้ช่วย (facilitator) ผู้ให้การปรึกษาจะไม่ใช้ความคิดของตนเองเป็นหลัก (counselor-centered) หรือชักจูงแนะนำวิธีการแก้ปัญหา

15 หน้าที่ของผู้ให้การปรึกษาคือ
ให้ขวัญและกำลังใจ ช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความพร้อมในการแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้รับการปรึกษา มองเห็นปัญหาและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวกับปัญหา ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหา ที่ผู้รับการปรึกษายังไม่ทราบ ให้ความช่วยเหลือทางสังคมที่จำเป็น ช่วยพัฒนาทักษะชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยวิธีการทั้ง 5 ข้อนี้ จะทำให้ผู้รับการปรึกษาสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

16 ขั้นตอนของการให้การปรึกษา
สร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่เอื้อต่อการให้การปรึกษา การทำความเข้าใจกับการปรึกษา การศึกษาปัญหาและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหา การแก้ปัญหา ยุติการให้การปรึกษา

17 การให้การปรึกษาแบบกลุ่ม

18 เทคนิคสำคัญนี้ใช้ในการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม
การยอมรับ การสร้างความรู้สึกอบอุ่น การแสดงความเข้าใจ การทำความกระจ่างชัด การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน การอภิปรายอย่างมีส่วนร่วมในกลุ่ม การใช้เทคนิคสะท้อนกลับ การระดมความคิดในกลุ่ม

19 ประโยชน์ของการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม
สมาชิกรู้สึกว่าตนเองมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว มีคนอื่นที่มีปัญหาเช่นเดียวกับตน ได้รับการสนับสนุนในการแก้ปัญหาจากกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายๆกัน สมาชิกเรียนรู้การให้และการรับความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประสบการณ์ที่ได้นำไปสู่การแสวงหาแหล่งช่วยเหลือ

20 เป้าหมายของการอภิปรายกลุ่ม
ให้สมาชิกแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ โดยการสำรวจตนเอง/ยอมรับตนเอง/เข้าใจปัญหา/การปรับปรุงตนเองและเผชิญปัญหาได้ โดยเลือกกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น โรคคล้ายกัน อายุ เพศ มีขนาดของกลุ่ม 6-10 คน

21 พยาบาลควรตระหนักในการดูแลจิตใจและสังคมของผู้ป่วยทุกคน ทั้งนี้พยาบาลต้องมี EQ เป็นคุณสมบัติแรก ซึ่งหมายถึงรู้จักอารมณ์ตน จัดการกับอารมณ์ตน และเข้าใจอารมณ์ของบุคคลอื่น มีมนุษยสัมพันธ์ ให้เกียรติ ยอมรับ เข้าใจและยกย่องผู้อื่น จึงจะสามารถให้การดูแลจิตใจ สังคมผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

22 พยาบาลมี EQ ต้องช่วยให้ผู้ป่วยมี RQ (พลังสุขภาพจิตเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส)
พลังสุขภาพจิต คือ ความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤตในชีวิต ฟื้นตัวกลับมาในเวลาอันรวดเร็ว เรียนรู้และเติบโตขึ้น

23 วิธีการสร้างพลังสุขภาพจิต
อึด (ทนต่อแรงกดดัน) ฮึด (มีกำลังใจ) สู้ (ต่ออุปสรรค)

24 วิธีการสร้างพลังสุขภาพจิต
อึด (ทนต่อแรงกดดัน) ความคิด – อารมณ์ คิดทางบวก – ควบคุมตนเอง

25 ลองมาคิดทางบวกกัน

26 เหตุการณ์ คิดทางบวก ก๋วยเตี๋ยวไม่ร้อน ช่วยให้เราอิ่ม ถูกเจ้านายด่า
ได้เรียนรู้จากความผิดพลาด คู่ครองขี้บ่น เขาห่วงใยในตัวเรา เป็นหนี้ ฝึกการใช้ชีวิตให้พอเพียง บ้านเมืองขัดแย้งไม่หยุด ประชาชนตื่นตัวและเป็นประชาธิปไตย

27 วิธีการสร้างพลังสุขภาพจิต
ฮึด (มีกำลังใจ) ทั้งจากตัวเรา และ คนอื่น - ประสบการณ์เดิม ปรึกษาคนที่เรารู้สึก ทุกคนเคยผ่านความยาก ผูกพันและห่วงใยเรา ลำบากมาแล้วทั้งนั้น เช่น คนในครอบครัว

28 โดยการตั้งเป้าหมายและการแก้ไขปัญหา
วิธีการสร้างพลังสุขภาพจิต สู้ (ต่ออุปสรรค) โดยการตั้งเป้าหมายและการแก้ไขปัญหา

29 “พยาบาลจะช่วยให้สังคมยอมรับ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอย่างไร”
โปรด...จับคู่แสดงความคิดเห็นในประเด็น “พยาบาลจะช่วยให้สังคมยอมรับ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอย่างไร”

30 โดย ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ญาติผู้ป่วย ให้ความรู้แก่สื่อทุกช่องทาง
ให้ความรู้ในโรงเรียน จัดอบรมคุณครู จัดอบรมแกนนำนักเรียน ให้ความรู้ในทีมสุขภาพ เช่น อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล เป็นต้น ลง web ให้เกิดการสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ฯลฯ

31 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การพยาบาลด้านจิตสังคมแก่ผู้ป่วยโรคผิวหนัง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google