งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการฝึกอบรมการป้องกันและ แก้ปัญหาข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการฝึกอบรมการป้องกันและ แก้ปัญหาข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการฝึกอบรมการป้องกันและ แก้ปัญหาข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตาย
บรรยาย โครงการฝึกอบรมการป้องกันและ แก้ปัญหาข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตาย วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบช.สกพ.

2 หัวข้อการบรรยาย 1.ธรรมะเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
2.ธรรมะกับหน้าที่ราชการตำรวจ บุญกิริยาวัตถุ 10

3 ธรรมะเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
โทษของการฆ่าตัวตาย คน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น เมื่อตายแล้วจะเกิดใหม่เป็นอะไร หรือจะไม่ต้องเกิดอีกนั้น ก็ขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้จะตาย ที่เรียกว่า มรณาสันนวิถี เป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี คือ สุคติภูมิ แต่ถ้าขณะนั้นจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เพราะถูกกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงำแล้ว ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ไม่ดี คือ ทุคติภูมิ (คือจะไปเกิดในภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับจิตในมรณาสันนวิถีมากที่สุดนั่นเอง) และถ้าขณะนั้นจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะหมดเหตุให้ต้องเกิดอีก

4 ธรรมะเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
โทษของการฆ่าตัวตาย คนที่จะสามารถฆ่าตัวตายได้นั้น ขณะนั้นจะต้องถูกความทุกข์ทางใจ (ทุกทางใจทุกชนิด เป็นจิตที่มีโทสะเป็นมูล) ครอบงำอย่างรุนแรง จึงจะสามารถทำลายชีวิตอันเป็นที่รักยิ่งของตนลงได้ ซึ่งความทุกข์ทางใจ หรือโทสมูลจิตนี้ อาจจะมีสาเหตุจากเรื่องทางใจ หรือเรื่องทางกายก็ได้ เช่น อกหัก ผิดหวัง เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ความล้มเหลวในชีวิต ฯลฯ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลังจากตายไปก็ย่อมจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย และด้วยความรุนแรงของไฟโทสะที่ครอบงำจิตใจนั้น ทุคติภูมิที่ว่าก็คงไม่พ้นนรกอย่างแน่นอน เพราะเป็นภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับโทสะที่สุดนั่นเอง ดังนั้น ผู้ที่คิดสั้นจะยุติปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายนั้น ขอให้คิดดูให้ดี เพราะนอกจากจะต้องไปพบกับทุกข์ครั้งใหม่ในนรก ซึ่งเป็นทุกข์ที่รุนแรงกว่าแล้ว ยังเป็นการสร้างทุกข์ สร้างปัญหาให้กับคนอื่นๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ต้องรับความทุกข์ที่เขาไม่ได้ก่ออีกด้วย กรุณาให้ความเป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นด้วย

5 ธรรมะกับหน้าที่ราชการตำรวจ
บุญกิริยาวัตถุ 10

6 บุญกิริยาวัตถุ 10 1. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย)
2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) 3. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) 4. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) 5. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) 6. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) 7. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) 8. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) 9. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) 10. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์)

7 1. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย)
บุญที่เกิดจากการทำทาน ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้ดีอยู่แล้ว บางคนอาจนึกว่าการทำบุญมีเฉพาะข้อนี้เพียงข้อเดียว การทำทานก็คือ การให้ซึ่งมีทั้งที่จับต้องได้เช่น ทรัพย์สิน วัตถุ สิ่งของ ซึ่งอานิสงส์ในการทำทานมากหรือน้อยขึ้นอยู่หลัก 3 ประการคือ 1. สิ่งที่ให้มีความบริสุทธิ์คือได้มาด้วยความสุจริตไม่เบียดเบียนใคร 2. เจตนาอันบริสุทธิ์ของผู้ให้ คือให้เพราะมีความต้องการจะช่วยเหลือ เกื้อกูล ไม่ใช่อยากได้ชื่อเสียง หรืออยากรวยมากขึ้น ผู้ที่เราให้ หากผู้ที่เราให้เป็นคนที่ปฏิบัติดี เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ อานิสงส์ก็จะมีมาก และถ้าให้โดยไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ให้พระสงฆ์รูปไหนก็ได้เพื่อจะได้สืบทอดศาสนาแก่คนรุ่นหลังหรือ สร้างสิ่งของเพื่อส่วนรวม อานิสงส์ก็จะมีมาก การทำทานอีกประเภทที่ไม่ได้ใช้เงินหรือวัตถุคือ การให้ธรรมทาน ( ให้ธรรมะเป็นทาน ) วิทยาทาน ( ให้ความรู้เป็นทาน ) และ อภัยทาน เป็นทานที่มีอานิสงส์สูงมากซึ่งสูงกว่าให้วัตถุทานเสียอีก

8 2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย)
บุญที่เกิดจากการรักษาศีล คือการงดเว้นการกระทำผิดที่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น สำหรับฆราวาส ก็คือ ศีล 5 คือ ไม่ฆ่าสัตว์แม้สัตว์ตัวเล็กก็พยายามเลี่ยง , ไม่ลักทรัพย์ ฉ้อโกง , ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่พูดโกหกหลอกลวง, ไม่ดื่มสุราในขาดสติ

9 3. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย )
บุญที่เกิดจากการภาวนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) สมถภาวนา คือ การฝึกจิตใจให้สงบ ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม ไหว้พระสวดมนต์ 2) วิปัสนาภาวนา คือ การเจริญสติเพื่อดูกายใจของตัวเอง เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นความจริงของชีวิตว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ไม่มีตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้ วิปัสนาภาวนา ถือว่าเป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้วเนื่องจากเป็นทางสู่มรรคผลนิพพาน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะสร้างบุญกุศลในการเจริญวิปัสสนาแต่เพียงอย่างเดียว เพราะการทำทานและรักษาศีลตลอดจนการทำสมถภาวนาจะเป็นฐานให้การเจริญวิปัสสนาเจริญๆยิ่งๆขึ้นไป

10 4. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย)
บุญที่เกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพบุคคลที่บุคคลที่ควรอ่อนน้อมตามวัยวุฒิ ชาติวุฒิ คุณวุฒิและคุณธรรม นอกจากนั้นผู้รู้ได้บอกว่าบุญที่ทำได้ง่ายและมีอานิสงส์สูงมากคือ การกราบไหว้พระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า หากเรากราบกรานด้วยความเคารพ เลื่อมใส นอบน้อมเข้าใจว่าพระองค์มีบุญคุณกับเราและมนุษย์เพียงใดที่ออกยอมลำบากออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาถึง 45 ปี เพื่อให้สัตว์โลกได้พบทางพ้นทุกข์แล้ว ก็เป็นบุญมหาศาลแล้ว

11 5. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย)
5. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) บุญที่เกิดจากการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นหรือส่วนรวม คือการช่วยออกกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์ช่วยงานของผู้อื่นหรือส่วนรวม เช่น สร้างวัด สะพาน โรงเรียน การเป็นอาสาสมัคร เป็นต้น

12 6. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย)
บุญที่เกิดจากการแบ่งปันบุญหรือการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่น เช่น เรามีโครงการที่จะทำดีเพื่อส่วนรวมสักอย่าง เราอยากให้ คนอื่นมีส่วนร่วมได้ทำความดีนั้นด้วยไม่หวงบุญไว้คนเดียว หรือ เมื่อเราทำบุญไม่ว่าจะเป็นในหมวดทาน ศีล ภาวนาหากทำแล้ว เราได้อุทิศส่วนกุศล ให้กับคนอื่นเช่น บิดามารดา เจ้ากรรมนายเวร ญาติที่ล่วงลับก็จะเกิดเป็นบุญกุศลในข้อนี้

13 7. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย)
7. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) บุญที่เกิดจากการยินดีในบุญของผู้อื่น เช่น เราได้เห็นผู้ที่ทำบุญในหมวดทาน ศีล ภาวนาแล้วเรามีใจพลอยยินดีอนุโมทนาบุญหรือเปล่งคำว่า สาธุ ก็จะได้บุญกุศลในข้อนี้ แม้กระทั่งดูทีวีเห็นคนทำดี หรือ เห็นคนลาบวชไปปฏิบัติธรรมให้กับในหลวง แล้วเราชื่นชมยินดีอนุโมทนาบุญกับเขา ก็ไปการได้บุญกุศลในข้อนี้แล้ว

14 8. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย)
บุญที่เกิดจากการฟังธรรม รวมถึงการอ่านหนังสือธรรมะ การดูทีวีรายการธรรมะ ฟังซีดีธรรมะ หากเราน้อมใจเข้าพิจารณาแล้วนำไปปฏิบัติก็เป็นบุญกุศลตามข้อนี้

15 9. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย)
บุญที่เกิดจากการแสดงธรรม เช่นการเผยแพร่คำสอนทางพุทธศาสนา หรือการพิมพ์หนังสือธรรมะแจก

16 10. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์)
10. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐุชุกัมม์) บุญที่เกิดจากมีความเห็นตรง หรือความเห็นชอบ หรือที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นข้อแรกของมรรคมีองค์ 8 ของอริยสัจ 4 คือเห็นว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

17 บุญกิริยาวัตถุ 10 สรุปแล้วจะเห็นได้ว่าแต่ละวันเราสามารถทำบุญกุศลได้มากมาย ไม่ใช่รอแต่วันที่ว่างแล้วไปทำบุญที่วัดหรือสถานที่รับบริจาค ซึ่งศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้เราเชื่อคำสอนอย่างงมงายแต่ท่านได้ให้ทดลองปฏิบัติดู หากท่านลองทำบุญทำ ๑๐ ประการอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็จะนำท่านได้รับความสุขความเจริญ ดังพุทธพจน์ที่ได้ตรัสไว้ว่า “ พึงสั่งสมบุญทั้งหลาย อันจะนำความสุขมาให้ “ พระอริยสงฆ์ได้บอกไว้ว่า ตราบใดที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน เรายังจะต้องเดินทางอีกยาวไกล เวียนว่ายตายเกิดใน สังสารวัฎฏ์ หลายภพหลายชาติ เวลามาเราก็มาคนเดียว เวลาจะไปเราก็จะไปคนเดียวสามี ภรรยา ลูกหลานอย่างมากก็มาส่งข้างเตียง สิ่งที่จะเอาไปด้วยก็คือ บุญกุศล ที่เป็นเสบียงติดตัวไปไว้ในชาติต่อๆ ไป

18 จบการบรรยาย

19 หลักธรรมที่นำมาแก้ปัญหากับการฆ่าตัวตาย
อริยสัจจ์ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ) ประกอบด้วย :- ๑. ทุกข์ ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ๒. สมุทัย สาเหตุของความทุกข์ ได้แก่ความทะยานอยากต่าง ๆ ความต้องการเกินขอบเขต คือ ตัณหา ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ฯ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไปฯ ๔. มรรค หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ หรือ "อริยมรรคมีองค์แปด" ถ้าสรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

20 หลักธรรมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
พรหมวิหาร ๔ (ธรรมประจำใจอันประเสริฐ) ประกอบด้วย :- ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข  มีจิตใจแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า  ๒. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์  ๓. มุทิตา ความยินดีในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ไม่ดีหรือเสียใจเกินไปในเหตุอันสุดวิสัยไม่มีอคติปลงใจได้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว การใช้หลักธรรมที่ว่าด้วย "พรหมวิหาร ๔ " หมั่นพิจารณาอยู่เสมอ โดยการ แผ่เมตตาไปด้วย

21 หลักธรรมที่นำมาแก้ปัญหากับการฆ่าตัวตาย
โลกธรรม ๘ หมายถึง ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลก และสัตว์โลกก็หมุนเวียนตามมันไป คือ ๑. มีลาภ เสื่อมลาภ ๒. มียศ เสื่อมยศ ๓. มีสรรเสริญ มีนินทา ๔. มีสุข มีทุกข์

22 หลักธรรมที่นำมาแก้ปัญหากับการฆ่าตัวตาย
การไหว้พระสวดมนต์และรักษาศีล ๕  การฝึกสมาธิ การไหว้พระสวดมนต์เป็นวิธีที่จะช่วยให้คลายจากความเครียด ความทุกข์ ความเดือดร้อน ไม่เป็นโรคจิตโรคประสาท และการฆ่าตัวตายได้เช่นกัน เพราะการไหว้พระสวดมนต์ช่วยให้จิตใจสงบเป็นสมาธิ เยือกเย็นทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งถึงโทษของการฆ่าตัวตาย และจะไม่คิดที่จะทำลายตนเองหรือผู้อื่นต่อไป  การรักษาศีล ๕ สามารถลดละไม่ให้คิดฆ่าตัวตายได้ เพราะศีล ๕ ช่วยควบคุม กายกับวาจาให้เรียบร้อย และเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิเกิดปัญญาจะบรรลุพระนิพพานได้


ดาวน์โหลด ppt โครงการฝึกอบรมการป้องกันและ แก้ปัญหาข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google