งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
สัมมนาพระพุทธศาสนา เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

2

3 ปัญหาของคนทั้งโลกกกกกก.......

4 ~ปัญหาความต้องการมากมายของมนุษย์???~
1.อยากได้รถ 2.อยากได้บ้าน 3.อยากมีเงิน 4..อยากได้งานดีๆ 5.อยากได้ของมียี่ห้อ และปัญหาอีกมากมาย

5 สาเหตุและที่มาของปัญหา.......

6 -มนุษย์ผู้ซึ่งไม่เคยพอ-
กิเลสมีในใจของทุกคน ความรัก โลภ โกธร และความหลง แล้วแต่ว่าใครจะมีมากน้อยเพียงใด ความโลภมีในมนุษย์ส่วนมาก มีส่วนน้อยมากที่จะพอใจในสิ่งที่ตนมี ใครๆก็อยากที่จะมีจะได้เหมือนคนอื่นๆ

7 ผลที่เกิดขึ้น

8 -ผลเสียที่ตามมาของความไม่พอเพียงของคนเรามีมากมาย-
1.อาชญากร ปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์มีมากขึ้น 2.มีคนเป็นโรคประสาทเพิ่มมากขึ้น 3.รายได้ไม่พอรายจ่าย 4.เป็นหนี้เป็นสิน 5.ครอบครัวเดือดร้อน และอีกมากมาย

9 แนวทางการแก้ไขปัญหา

10 ตลอดระยะเวลาทรงครองราชย์ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้างภูมิคุ้มกันให้พสกนิกรชาวไทย ด้วยการดำเนินชีวิตในแบบเรียบง่าย และก้าวเดินอย่างเป็นขั้นตอน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย “เศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตตลอดนานกว่า 25 ปี ยังคงใช้ได้กับทุกยุคสมัย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ปรัชญาดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ UN หรือองค์การสหประชาชาติได้ย้ำกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่าเป็นตัวอย่างที่น่าจะทำตาม               ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของในหลวง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป มีความว่า             

11   “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม และสิ่งแวดลอม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

12 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๗ มีความว่า “ขอให้ทุกคน มีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้”               ด้วยทรงเป็นห่วงเป็นใยราษฎร ผนวกกับทรงพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นเหมือนพีระมิดที่มีรากฐานอันแข็งแกร่ง พระองค์ทรงทุ่มเทการพัฒนามนุษย์รอบด้าน และทรงช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นระดับขั้นตอน ดังนั้น ในปีแห่งการเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปี โคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เดินทางมาเมืองไทยเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่ในหลวงของปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา

13 ทางองค์การสหประชาชาติ ได้เห็นพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอด 60 ปี ของการครองสิริราชสมบัติ ที่เป็นความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์รอบด้าน โดยไม่ทรงเลือกเชื้อชาติ ศาสนา เป็นพระราชกรณียกิจที่สะท้อนถึงความตั้งใจที่จะพัฒนาประชาชนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทั้ง คุณภาพชีวิต การศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติด โดยเฉพาะ โครงการพระราชดำริการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นการช่วยเหลือทั้งประชาชนในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ซึ่งประเทศอัฟกานิสถานได้แสดงความสนใจจะนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติตาม               ทั้งนี้ เรื่องที่เลขาธิการ UN เน้นมากคือ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเห็นว่าเป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะคลี่คลายความขัดแย้งในโลกปัจจุบันที่มีปัญหา มีการใช้ความรุนแรง และเป็นสิ่งที่ UN ธนาคารโลก และทุกองค์กรระหว่างประเทศ ได้ย้ำกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ว่าเป็นตัวอย่างที่น่าจะทำตาม                      

14 ความพอเพียงที่พระองค์ทรงปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างให้ชาวไทยนั้น อยู่ในทุกขั้นตอนของการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ครั้นประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สมเด็จพระบรมราชชนนีพระราชทานเงินให้ใช้แต่พอสมควร พระองค์ทรงรู้จักคุณค่าของเงิน และทรงรู้จักหาเงินอย่างสุจริต แม้พระพี่เลี้ยงอยากถวายเงินพิเศษให้ เพื่อจะได้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย แต่ก็ไม่ทราบจะถวายอย่างไรดี วันหนึ่งเมื่อจักรเย็บผ้าของพระพี่เลี้ยงชำรุด พระองค์ทรงอาสาซ่อมให้จนจักรเย็บผ้าใช้การได้ พระพี่เลี้ยงจึงได้โอกาสทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินค่าซ่อมจักรให้เพื่อเป็นการตอบแทน               นอกจากนั้นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของพระองค์ท่าน ก็ได้มีผู้สนองใต้เบื้องพระยุคลบาทนำมาถ่ายทอดให้ฟังอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ของใช้ส่วนพระองค์ล้วนเป็นของธรรมดา อาทิ แปรงสีฟันและยาสีฟันฟลูโอคารีล ที่พระองค์ทรงม้วนหลอดจนหมด สบู่เหลวยี่ห้อบาเดคาสก็ทรงใช้จนหยดสุดท้าย พระองค์ทรงใช้มีดโกนและใบมีดยี่ห้อยิลเลตต์เฉกเช่นผู้ชายทั่วไป และแชมพูสระพระเกศาของทอสก้า 8711                                     

15   นาฬิกา “ยี่ห้อใส่แล้วโก้” ที่พระองค์ทรงเรียกของพระองค์เองราคาไม่กี่ร้อยบาท เป็นสิ่งเตือนใจคนไทยได้เป็นอย่างดีว่า คนที่ต้องพึ่งเฟอร์นิเจอร์แพงระยับมาประดับนั้น เพราะไส้ในไม่มีอะไร มีแต่เปลือก ในขณะที่ผู้ที่มีครบทุกอย่างแล้ว มีความพอแล้ว ไม่สนใจสิ่งของเหล่านี้               แม้กระทั่งฉลองพระบาทของพระองค์ก็เป็นผ้าใบยี่ห้อเดียว ราคาไม่กี่ร้อยบาท ที่ทรงก้าวพระบาทอย่างสม่ำเสมอมาตลอด 59 ปี ก็ไม่อาจทำให้ข้าราชบริพารที่ประดับเพชรแพรวพราว รองเท้าแพงลิบก้าวตามได้ทัน         ยามที่พระองค์ทรงเครื่องใหญ่ หรือตัดผม ก็ทรงอย่างคนธรรมดาสามัญทั่วไป เริ่มต้นตามแบบโบราณด้วยการใช้พระแสงกรรไกรขลิบกระเกศาพอเป็นพิธี ก่อนใช้ตะไกรบัตตะเลี่ยน ใช้เวลาในการทรงประมาณ นาที ย้อนไปในปี ๒๕๐๑ ชุบ แย้มเพกา ผู้ถวายงานรับใช้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากความชราภาพ พระองค์ก็ไม่มีกระแสรับสั่งให้ใครถวายงานแทน ขณะนั้นหลายคนเข้าใจว่า อาจจะทรงเครื่องใหญ่ด้วยพระองค์เอง แบบใช้พระหัตถ์ถือกระจก เช่นเดียวกับการสระพระเกศา ที่ทรงเองมาโดยตลอด อีกทั้งยังโปรดจะไว้พระเกศาให้ยาวเผื่อตัด 5-6 สัปดาห์ต่อครั้ง

16 นอกจากของใช้ส่วนพระองค์แล้ว กิจวัตรประจำวันที่พระองค์ทรงโปรดปรานแต่หากสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม พระองค์ก็ทรงเลิกทำ อย่างเช่น เมนูหูฉลาม ที่พระองค์ทรงโปรดเสวยเป็นอย่างมาก ทรงเสวยเป็นพระกระยาหารว่างตอนดึกทุกคืน แต่เมื่อได้ทอดพระเนตรรายการสารคดีที่ชาวประมงจับปลาฉลามมาตัดครีบ แล้วโยนลงทะเล นับแต่นั้นมาก็ไม่ทรงเสวยหูฉลามอีกเลย               การทำงานก็เช่นเดียวกัน พระองค์มีวิธีการทรงงานอย่างเรียบง่ายภายในห้องทำงาน สามคูณสี่เมตร ภายในห้องทรงงานที่มีวิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เทเล็กซ์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์อากาศ แผนที่อื่นๆ แสดงถึงพื้นที่หมู่บ้าน แม่น้ำ ภูเขา และป่าอย่างละเอียด เวลาทรงงานจะประทับบนพื้น โดยไม่ทรงงานบนเก้าอี้เหมือนคนทำงานทั่วไป เพื่อวางสิ่งของต่างๆ ได้อย่างถนัด               พระองค์ทรงประทับพับเพียบกับพื้น ตามวิถีชีวิตไทยที่สอนเรื่องความเรียบง่าย ทรงประทับพับเพียบ 5-6 ชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนท่า ทรงกองเอกสารบนพื้น ที่มีข้าราชบริพารนั่งล้อมวงเฝ้ากัน โดยไม่ต้องเข้าห้องประชุม ไม่ต้องมีโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อเป็นการประหยัด                             

17    นอกจากนั้น ยามที่ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรถึงบนบ้าน พระองค์ก็ทรงนั่งพับเพียบกับพื้นในระดับเดียวกับราษฎร และไม่ทรงรังเกียจของถวายของชาวบ้านแบบตามมีตามเกิดเลย อีกทั้ง ยังทรงโปรดอมมะขามป้อมแทนที่จะเป็นลูกอมที่นิยมทั่วไป        พระองค์ทรงมีความตั้งใจจริง และความขยันหมั่นเพียร ในการทรงงานต่อจนเสร็จแม้จะดึกดื่นเพียงไหน               ดั่งที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวไว้ในหนังสือหลักธรรม หลักทำตามรอยพระยุคลบาทว่า วันนั้นเสร็จงานห้าทุ่ม เสด็จฯ ไปแล้วเราก็เข้าค่าย ไปนอนอยู่ในค่ายมฤคทายวัน นอนอยู่ก็ปรากฏว่าตี 2 วิทยุเรียกมาให้ไปเข้าเฝ้า เราเหนื่อยมาตั้งแต่บ่าย 4 โมงเย็นจนกระทั่งถึง 5 ทุ่ม ตี 2 ทรงเรียกไปขอแผนที่ ขอข้อมูลเพิ่มเติม ในขณะที่เรากลับไปสลบไสล ทรงกลับไปทรงงานต่อ เราละอายไหมครับ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าปรากฏขึ้นหนสองหน แต่ปรากฏขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่งานไม่เสร็จ “พระเจ้าอยู่หัวเวลาทำอะไร ทรงมุ่งมั่นมาก เรื่องความขยันไม่ต้องพูด ทรงงานไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีเวลากลางวัน กลางคืน”

18 นอกจากนี้ ยังทรงให้ความสำคัญกับนักโทษ ด้วยทรงวินิจฉัยฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษด้วยพระองค์เองทุกเรื่องอย่างละเอียดถี่ถ้วน ในปีหนึ่งๆ มีฎีการ่วมพันราย และมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันออกไป แต่พระองค์ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยด้วยความยุติธรรม เที่ยงตรงเสมอมาโดยมิได้ขาด และทรงพระญาณวิเศษสอดส่องฎีกาเหล่านั้นด้วยความยุติธรรม และทรงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาประกอบพระบรมราชวินิจฉัยอยู่เสมอ อีกทั้งยังทรงสอนให้ประชาชนรู้จักประหยัด และบันทึกค่าใช้จ่าย พระองค์ทรงสอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย และทำงบดุลของมหาดเล็กคนหนึ่ง ตั้งแต่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ดังนั้น มิควรหรือที่ครูในทุกโรงเรียนจะสอน และฝึกให้เด็กประถมรู้จักการทำงบดุล ฝึกสอนให้บันทึกค่าใข้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพราะตราบใดที่เรารู้ว่ารายรับมีเท่าไหร่ และใช้ไปในแต่ละวันเท่าใด การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด จากพระปณิธานของพระองค์ในเรื่องของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่มิได้เป็นเพียงแค่ข้อคิด แต่ยังทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ดังนั้น คนไทยทุกคนที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เรารักในหลวง” ก็สมควรที่จะนำไปปฏิบัติตาม ให้สมกับที่เกิดมาอยู่ใต้เบื้องพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ท่าน

19 เศรษฐกิจพอเพียง       “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

21 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542
     ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป " เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy … คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ. จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ … Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ … และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. " พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542

22 หลักการนำคำสอนในพระพุทธศาสนามาแก้ไข....

23 หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์

24 หลักธรรมที่ 1 มัชฌิมาปทาธิปตา ( ทางสายกลาง )
คนเราการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้นั้น เราจะต้องตั้งอยู่ในความพอดี พอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ละโมปโลภมาก อยากได้ของเขามาเป็นของเรา ความต้องการของมนุษย์นั้นมีมากมายมหาศาล แต่ถ้าเราสามารถตัดความอยากในจิตใจได้แล้วนั้น ก็จะสามารถมีความสุขได้โดยที่เราไม่ต้องแก่งแย่งชิงดี สู้รบปบมือกับใคร ไม่ต้องเดือดร้อน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงของเรา

25 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

26 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

27 เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต • แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

28 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542
" ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ … จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป. … หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่ ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ. … ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้. จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน. …… พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงาน ได้. " พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

29 เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

30 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ

31      กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง      ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น      การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

32 พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542
" … ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ … ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล " พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

33 การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง " … ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่งคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นตามลำดับต่อไป … การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์" พระบรมราชโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม 2517

34 จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบการดำเนินชีวิต การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน

35 วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทึกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความเอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย การขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน แบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่ • เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน • เครือข่ายธุรกิจเอกชน นอกจากนี้แล้วยังมีเครือข่ายสนับสนุนตามภารกิจ ได้แก่ • เครือข่ายวิชาการ • เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้ • เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

36 ทั้งนี้แกนกลางขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550

37 ภาคผนวก

38 ชุดการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สื่อประเภทโมเดล
ตัวอย่างชุดการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ผู้บริโภค ซึ่งชุดการสอนชุดนี้มีจุดเด่นตรงที่นำของจำลองมาให้ผู้เรียนได้ดูของการแบ่งส่วนต่างๆของพื้นที่ในการทำเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างภาพโดยรวมของการจัดพื้นที่ในการทำเศรษฐกิจพอเพียง

39   สื่อการเรียนการสอนแบบนี้สามารถจัดวางโชว์ เพื่อเสริมความรู้ในการเรื่องการเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี เพราะผู้เรียนจะสามารถเห็นของจำลองเหมือนจริง แล้วยังมีข้อมูลประกอบให้ความรู้ด้วย

40

41 บรรณานุกรม

42 จัดทำโดย ด.ช.ชนะภัย ชมเชย เลขที่ 3 ด.ช.ณัฐพล สุริราวงค์ เลขที่ 7 ด.ช.ธนากฤต นันทาทอง เลขที่ 11 ด.ช.ลักษ์ติพงษ์ คำเขียว เลขที่ 15 ด.ญ.นริศรา ประยูรหงส์ เลขที่ 19 ด.ญ.ปาณิสรา ใจมุข เลขที่ 23 ด.ญ.พิ ชญา สัตยาวีวัฒนากุล เลขที่ 27 ด.ญ.วันวิสาข์ กัสนุกา เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2552

43 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google