งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช

2 จัดทำโดย น.ส.รุ่งอรุณ โพนเวียง เลขที่ 19
น.ส.รุ่งอรุณ โพนเวียง เลขที่ 19 น.ส. อรอนงค์ เหลี่ยมมณี เลขที่ 27 น.ส. ทิพากร พลอยคีรี เลขที่ 35 น.ส. ลลิตา อุตสาหะ เลขที่ 36

3 อาจารย์ชนาธิป ปะทะดวง
เสนอ อาจารย์ชนาธิป ปะทะดวง

4 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาได้เริ่มทำการศึกษาทดลอง เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยทำการศึกษา และวิจัยร่วมกับภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืช ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ พร้อมมีพระราชกระแสรับสั่งให้ อนุรักษ์ต้นขนุนบริเวณหลังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง จึงเริ่มมีการ อนุรักษ์พันธุ์พืชหายากที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ขนุนไพศาลทักษิณ มณฑา ยี่หุบ พุดสวน และสมอไทย โดยการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หวาย ซึ่งเป็นพื้นฐาน ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเริ่มจัดตั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕

5 พ.ศ. 2503 ทรงพยายามปกปักยางนา
พ.ศ ทรงพยายามปกปักยางนา พ.ศ ทรงพยายามปกปักยางนา ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯ โดยรถยนต์ เมื่อเสด็จฯ ผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะ สงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่ สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนใน บริเวณนั้นมาก จะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้ พ.ศ ป่าสาธิตทดลอง เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรง ทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้น ยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราช- บริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1,250 ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยังอนุรักษ์ ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่ว ประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

6 พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช
พ.ศ ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช พ.ศ ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช ในวันพืชมงคล วันที่ 9 พฤษภาคม 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนัก ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ความสำเร็จของการใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขยายพันธุ์ขนุนไพศาล ทักษิณ นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ พระราชวังต่างๆ แล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้อีกหลายชนิด ได้แก่พุดสวน มณฑา ยี่หุบ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง และสมอไทยในพระที่นั่งอัมพรสถานมงคล ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ใน สภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลว มีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ 23 เปอร์เซ็นต์ พ.ศ ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย

7 พ.ศ สวนพืชสมุนไพร การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย พ.ศ สวนพืชสมุนไพร ในปี พ.ศ นอกจากมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์หวายแล้ว ยังได้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้นใน โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อรวบรวม พืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต และรวบรวมข้อมูลสรรพคุณ ตลอดจนการนำไป ใช้ประโยชน์กับทั้งให้มีการศึกษาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

8 การเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายเกลียวทอง
ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนา โครงการ- ส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ทำการศึกษาความเป็น ไปได้ในการนำน้ำกากมูลหมัก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จาก การผลิตก๊าซชีวภาพ มาทดลองเพาะเลี้ยงสาหร่าย- เกลียวทอง เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร สำหรับเลี้ยงปลา ต่อมาจากผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่ยืนยันว่า สาหร่ายเกลียวทองมีโปรตีนสูง รวมถึงสารอาหารที่มี ีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการพัฒนาปรับปรุงสูตรอาหาร เพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองในน้ำสะอาด และนำ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับบริโภค ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๓๒

9 การเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายเกลียวทอง
การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง จะเริ่มจากการนำเซลล์สาหร่ายที่แข็งแรงจาก ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มาเพาะเลี้ยงในบ่ออนุบาล จากนั้นจะย้ายมาเพาะ เลี้ยงในบ่อซีเมนต์กลางแจ้ง ที่เติมน้ำสะอาด และสารอาหาร โดยมีการควบคุม ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย เช่น แสงสว่าง การหมุนเวียนของน้ำ และการปนเปื้อนจากสารปนเปื้อน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น การเก็บเกี่ยว จะสามารถทำได้ภายในระยะเวลาประมาณ ๑๐ - ๑๕ วัน ถ้ามี ปริมาณแสงแดดที่พอเหมาะ โดยจะทำการสูบน้ำที่มีสาหร่ายเกลียวทองจากบ่อ ซีเมนต์ไปผ่านการกรองด้วยผ้าแพรลงก็ตอนเนต (plankton net) ที่มีความถี่ของ ตาข่ายสูงมาก ล้างสาหร่ายที่กรองได้ แล้วนำไปอบ และบด ให้เป็นผงละเอียด จากนั้นจึงนำสาหร่ายเกลียวทองที่เป็นผงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สาหร่าย เกลียวทองผงบรรจุแคปซูล และข้าวเกรียบรสสาหร่ายเกลียวทอง

10 ภาพกิจกรรม

11 ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt โครงการสวนจิตรดา การเพาะพันธุ์พืช

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google