งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับจรรยาบรรณในการบริหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับจรรยาบรรณในการบริหาร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับจรรยาบรรณในการบริหาร

2 พระราชกรณียกิจและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับธรรมภิบาลมีมากมาย ซึ่งรวบรวมเป็น 4 เรื่องใหญ่ๆดังนี้ 1.แนวคิดการจัดการที่ยั่งยืน 2.ธรรมภิบาลในการบริหาร 3.ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสังคม 4.การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

3 1. แนวคิดการจัดการที่ยั่งยืน
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างยั่งยืน จะต้องอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักการพื้นฐานของการพัฒนาทั้งดานเศรษฐกิจและสังคม ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความกินดีอยู่ดีมีความสุขอย่างพอเพียงของปวงชนชาวไทย

4 เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

5 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

6 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

7 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วน และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

8 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

9 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

10 พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกันเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเสมือนเสาเข็ม ต้องทำแบบคนจน พึ่งตนเอง

11 เศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเสมือนเสาเข็ม
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป

12 ต้องทำแบบคนจน ต้องทำแบบคนจน เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ เพราะถ้าเราเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก จะมีแต่ถอยหลัง ประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลัง และถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเริ่มการบริหารที่เรียกว่า แบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างสามัคคี นี่แหละ คือเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอดไป

13 พึ่งตนเอง พึ่งตนเองนั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง

14 2. ธรรมาภิบาลในการบริหาร

15 ธรรมาภิบาลในการบริหาร
ธรรมมาภิบาล คือ แนวคิดของ การปกครองหรือการบริหารจัดการ มีการนำมาใช้เพื่อการบริหารงานแล้ว จะเกิดความเชื่อมั่นว่าจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือ ความเป็นธรรม, ความสุจริต, ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยมีหลักการสำคัญ 6 หลักการ

16 ธรรมาภิบาลในการบริหาร

17 ทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 ประการนี้ ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นหัวใจในการปกครอง องค์พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง ได้ทรงเคารพและยึดเป็นแนวทางในการบริหารประเทศตลอดมา

18 ทศพิธราชธรรม 1. ทาน หมายถึง การให้ และแบ่งปันให้มวลประชา 2. ศีล หมายถึง รักษาความสุจริต คือ ประพฤติดีงาม สำรวมกายและวจี 3. ปริจจาคะ หมายถึง บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือ สามารถเสียสละความสุขสำราญ 4. อาชวะ หมายถึง ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง 5. มัททวะ หมายถึง ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่ง

19 ทศพิธราชธรรม 6. ตปะ หมายถึง ตัดกิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำจิตใจ ระงับ ยับยั้งข่มใจได้ไม่หลงใหล 7. อักโกธะ หมายถึง ไม่โกรธ คือ ไม่เกรี้ยวกราด 8. อวิหิงสา หมายถึง ไม่เบียดเบียน 9. ขันติ หมายถึง ความอดทน 10. อวิโรธนะ หมายถึง ความไม่คลาดธรรม คือ การประพฤติอยู่ในธรรม อันถือประโยชน์สุขความดีงามของรัฐและราษฎร์เป็นที่ตั้ง

20 3.ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสังคม
ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสังคมคือ การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

21 แนวทางการในทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การทรงงานของพระองค์จะยึดหลักของ “ภูมิสังคม” นั่นก็คือ ภูมิประเทศ + สังคม โดย ภูมิประเทศ นั้นหมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศ และแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค ต้องเข้าใจและใช้ให้เหมาะสม ส่วน สังคม ก็หมายถึงคน ประชาชน ซึ่งต้องเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่ ความต้องการ ความเชื่อ และ ศาสนา ทำให้ปัญหารวมถึงแนวทางในการแก้ปัญหาแตกต่างกันไป

22 หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10 ประการ
1.ความรับผิดชอบ หากปราศจากข้อนี้ก็จะไม่สามารถเป็น ผู้บริหารที่ดีได้ 2.ความซื่อสัตย์ สุจริต ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งกับตนเองและผู้อื่น 3. มีเหตุมีผล คิดไตร่ตรองก่อนไม่หลงงมงาย รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ยึดติดกับอารมณ์ 4.กตัญญู กตเวที ตอบแทน พระคุณของแผ่นดิน 5.การมีระเบียบวินัย ไม่ใช่วันนี้พูดอย่างพรุ่งนี้พูดอีกอย่าง

23 หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10 ประการ
6. การเสียสละ ไม่ใช่คิดถึงแต่ตนเองและครอบครัว 7. ความสามัคคี 8. ความประหยัด ดังโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้นคุ้มค่า มากกว่าการคุ้มทุน 9. ความอุตสาหะ 10. ความเมตตากรุณา

24 4.การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องน้ำ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องดิน แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีใหม่

25 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องน้ำ

26 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมทั้งเป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้ “หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”

27 การจัดการน้ำเสียตามพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นวิธีการที่จะสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งโดยวิธีการทางธรรมชาติ และการใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เพื่อให้เป็นต้นแบบสำหรับการนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ได้ ซึ่งหลักการสำคัญของโครงการตามแนวพระราชดำริอาศัยวิธีการ ๒ อย่าง คือ วิธีการทางชีวภาพและวิธีการทางกลศาสตร์

28 วิธีการทางชีวภาพ การใช้ น้ำดีไล่น้ำเสีย
วิธีการบำบัดน้ำเสียมี ๓ ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย โดยให้น้ำเสียทั้งหมดผ่านระบบบ่อตกตะกอน แสงอัลตราไวโอเลตและพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ จะช่วยเร่งให้เกิดการตกตะกอนเร็วขึ้น และฆ่าเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำทำให้น้ำสะอาดในระดับหนึ่งและจะไหลล้นเข้าสู่ขั้นตอนที่ ๒ คือ ระบบที่บำบัดด้วยแปลงหญ้า น้ำที่ผ่านกระบวนการทั้งสองขั้นนี้จะมีคุณภาพดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ขณะที่บางส่วนปล่อยเข้าสู่ขั้นตอนที่ ๓ คือ ระบบบำบัดด้วยป่าชายเลนก่อนไหลลงสู่ทะเลธรรมชาติ

29 วิธีการทางกลศาสตร์ กังหันน้ำชัยพัฒนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นเครื่องกลเติมอากาศหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ซึ่งต่อมาได้พระราชทานชื่อว่ากังหันน้ำชัยพัฒนา หลักการของกังหันน้ำชัยพัฒนาคือ การเติมอากาศลงไปในน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำให้มีมาก อันจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

30 การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

31 น้ำท่วม น้ำท่วม น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากฝนตกในพื้นที่ลุ่มมีปริมาณมากและตกติดต่อกันเป็นเวลานาน และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเกิดฝนตกหนักเป็นเวลานานๆ ในแต่ละครั้ง มักประสบปัญหาทำให้เกิดน้ำท่วมขังบนพื้นที่ หรือ ที่เรียกว่า “อุทกภัย” ซึ่งทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูกและทรัพย์สินต่างๆ

32 เขื่อนกักเก็บน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนต่างๆ ด้วยการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ ซึ่งทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้นี้จะระบายน้ำออกจากแหล่งกักเก็บน้ำทีละน้อยๆ เพื่อนำ มาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการเพาะปลูกในช่วงเวลาฝนไม่ตก หรือช่วงฤดูแล้ง ครั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปีต่อไป เขื่อนก็จะมีปริมาณพื้นที่รองรับน้ำจำนวนมาก เข้ามาเก็บไว้ ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม

33 ทางผันน้ำ การก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม วิธีการนี้จะต้องสร้างอาคารเพื่อควบคุมและบังคับน้ำบริเวณ ปากทางให้เชื่อมกับลำน้ำสายใหญ่ หลังจากนั้นก็ปิดลำน้ำสายเดิม ก่อนระบายออกสู่ท้องทะเล

34 โครงการแก้มลิง แก้มลิง เป็นการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โครงการแก้มลิง มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือ เต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"

35 การแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง

36 โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบิน ที่มีอัตราการ บรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้น ปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพ ในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้น ที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอ ก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา

37 โครงการฝนหลวง

38 อ่างเก็บน้ำ เป็นการเก็บกักน้ำ โดยการสร้างเขื่อนปิดกั้นระหว่างหุบเขาหรือเนินสูง เพื่อกั้นน้ำที่ไหลมา ตามร่องน้ำหรือ ลำน้ำธรรมชาติ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่แห้งแล้ง ลำธารและลำห้วย มีน้ำไหลเฉพาะในฤดูฝน ผลสำเร็จตามแนวพระราชดำรินี้ ปรากฏเป็นโครงการอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามภูมิภาคต่างๆ

39 ฝายทดน้ำ ในพื้นที่ทำกินที่อยู่ในระดับสูงกว่าลำห้วย ทรงเลือกใช้วิธีการก่อสร้างอาคารปิดขวางทางน้ำไหล เพื่อทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูงขึ้นจนสามารถผันเข้าไปตามคลอง หรือคูส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ส่วนน้ำที่เหลือจะไหลข้ามสันฝายไปเอง การก่อสร้างฝายจะต้องกำหนดให้มีขนาด ความสูง ความยาว มากพอที่จะทดน้ำให้ไหลเข้าคลองส่งน้ำ และสามารถระบายน้ำในฤดูน้ำหลากให้ไหลข้ามสันฝายไปได้ทั้งหมด เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาน้ำล้นตลิ่งปัญหาขาดน้ำในพื้นที่ เพาะปลูกได้อย่างดี

40 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องดิน

41 การใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์และปรับปรุงบำรุงดิน
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงคิดค้นวิธีการใช้และดัดแปลงจากวิธีการสมัยเก่าที่ใช้กันมาแต่ครั้งโบราณ โดยพระราชทานแนวคิดและทฤษฎีการใช้หญ้าแฝกให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามลักษณะและสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางตามความลาดของเขา เพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินที่เป็นร่องน้ำลึก การปลูกในพื้นที่ลาดชัน เพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน

42 การแกล้งดิน วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว สภาพพื้นที่ดินทางภาคใต้มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก วิธีการแก้ไขก็คือ ใช้กรรมวิธีการ “แกล้งดินให้เปรี้ยว” ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการปรับปรุงดินเปรี้ยว โดยวิธีการต่างๆ เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ ๑-๔ ต้นต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น

43 โครงการชั่งหัวมัน "ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งน้ำหนักมันเทศ เริ่มตั้งแต่ชื่อโครงการชั่งหัวมัน เหตุผลจริง ๆ คือ หัวมันบนตาชั่งยังขึ้นได้ แล้วที่แห้งแล้งขนาดไหน มันก็ต้องขึ้นได้ ที่มาของโครงการชั่งหัวมันมีอยู่ว่า ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่า มันเทศที่วางบนตัวชั่งมีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ

44 วัตถุประสงค์ของโครงการชั่งหัวมัน
1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี 2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร 3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์

45 การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ

46 การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ

47 การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ

48 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

49 ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง
เป็นแนวคิดของการผสมผสานความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรเข้าบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงควรให้ดำเนินการปลูกป่า ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์ ๔ อย่างคือ ป่าสำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผล และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ป่าหรือสวนและไม่ว่าจะเป็นป่าชนิดใดก็จะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และคงความชุ่มชื้นเอาไว้ อันเป็นการอำนวยประโยชน์ อย่างที่ ๔ ซึ่งเป็นผลพลอยได้

50 ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดที่ว่าบางครั้งป่าไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ ขอเพียงอย่าเข้าไปรบกวนและทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากปล่อยไว้ตามสภาพธรรมชาติชั่วระยะเวลาหนึ่งป่าไม้ก็จะขึ้นสมบูรณ์เอง

51 ทฤษฎีใหม่

52 ทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่ จะเน้นเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินจำนวนน้อย สามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยเน้นการผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปี โดยให้มีพืชผักและอาหารโปรตีนจากการเลี้ยงปลา เป็ด ไก่ ไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน

53 หลักการสำคัญของทฤษฎีใหม่
ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัดทั้งนี้ ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี (หลักสำคัญของทฤษฎีนี้)ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ กำหนดการแบ่งพื้นที่อัตรา

54 แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10

55 พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง  ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ

56 พื้นที่ส่วนที่สอง  ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

57 พื้นที่ส่วนที่สาม  ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย

58 พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ


ดาวน์โหลด ppt พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับจรรยาบรรณในการบริหาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google