งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบของวรรณคดี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบของวรรณคดี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ประกอบของวรรณคดี
บทสนทนา กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง และมุมมองของกวี

2 สมาชิกในกลุ่ม มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔
1. นางสาว ตรัยรัตน์ อั้นเต้ง เลขที่ 1 2. นางสาว ณัฏฐ์วรินท์ วณิชชานนท์ เลขที่ นางสาว ธมนวรรณ ขวัญนุ้ย เลขที่ นางสาว กชกร จีนหมิก เลขที่ นาย ฐิติวัฒน์ ติ๊บจันทร์ เลขที่ นางสาว ภรณ์วลักษณ์ สินชัย เลขที่ 6 7. นางสาว นัชชา จิตชาญวิชัย เลขที่ 8 8. นางสาว กานต์สินี ล่องแก้ว เลขที่ นางสาว กานต์กนก ล่องแก้ว เลขที่ 34

3 บทสนทนา(Dialogue) คือคำพูดของตัวละครที่ใช้โต้ตอบกันในเรื่อง บทสนทนานับเป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่องบันเทิงคดีได้ประการหนึ่ง เพราะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวคิดของผู้แต่ง ทราบถึงบุคลิกลักษณะของตัวละคร ข้อขัดแย้งระหว่างตัวละคร ภูมิหลังและรายละเอียดต่าง ๆ ได้ โดยผู้แต่งไม่ต้องบรรยายหรือพรรณนาความให้ยืดยาว นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินไปพร้อมกันด้วย

4 อาจสรุปวัตถุประสงค์ของการเขียนบทสนทนาได้ดังนี้
๑. เพื่อช่วยดำเนินเรื่องแทนการบรรยายของผู้แต่ง ๒. เพื่อช่วยให้รู้จักตัวละครในเรื่อง ทั้งรูปร่างลักษณะหน้าตาและนิสัยใจคอ โดยผู้แต่งไม่ต้องชี้แจงตรง ๆ ๓. เพื่อช่วยให้มีวิธีการไม่ซ้ำซาก คือใช้การบรรยายบ้าง ใช้การสนทนาบ้าง ๔. เพื่อสร้างความสมจริง คำพูดที่สมมติว่าเป็นถ้อยคำจริง ๆ ของตัวละครทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับความเป็นจริงมากกว่าคำบรรยายของผู้แต่ง ๕. เพื่อทำให้บทประพันธ์น่าอ่าน น่าสนใจและมีชีวิตชีวาขึ้น โดยเฉพาะบทสนทนาที่คมคาย มีอารมณ์ขัน หรือพูดได้ถูกต้องตามฐานะของตัวละคร และสมกับบทบาทในตอนนั้น ๆ

5 ลักษณะของบทสนทนาที่ดี
ลักษณะที่ ๑ มีความสมจริง หมายถึง ถ้อยคำที่ตัวละครใช้พูดโต้ตอบกันควรมีลักษณะเป็นธรรมชาติคล้ายคลึงกับที่บุคคลในชีวิตจริง ๆและหากตัวละครเป็นคนท้องถิ่น ผู้แต่งมักจะใช้บทสนทนาเป็นภาษาถิ่นเพื่อให้บทสนทนาช่วยสร้างบรรยากาศให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น

6 ลักษณะของบทสนทนาที่ดี(ต่อ)
ลักษณะที่ ๒ มีประโยชน์ หมายถึง คำพูดของตัวละครทุกคำ ควรจะมีประโยชน์ทั้งต่อผู้เขียนและผู้อ่านด้วย ประการที่หนึ่ง ควรเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่ผู้เขียนจะใช้เป็นสื่อสำหรับส่งความคิดหรือคติธรรมของตนไปยังผู้อ่านด้วยการผ่านทัศนะของตัวละคร ประการที่สอง ช่วยสร้างบรรยากาศของเรื่องให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น ประการที่สาม ช่วยแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยของตัวละครได้เด่นชัดขึ้น และประการสุดท้าย ช่วยดำเนินเรื่อง กล่าวคือ บทสนทนาของตัวละครนั้นบางครั้งจะช่วยขยายเรื่องให้คืบหน้าไป โดยผู้แต่งไม่ต้องเขียนคำอธิบายยาว ๆ

7 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง
1.กลวิธีที่เกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง การดำเนินเรื่องนั้น ผู้แต่งอาจมีวิธีนำเสนอหรือวิธีเขียนโดยผู้แต่ง(กวี) แต่ละคนจะใช้วิธีการดำเนินเรื่องไม่เหมือนกัน ผู้แต่งอาจจะมีวิธีการในการดำเนินเรื่องได้หลายวิธี เช่น - วิธีที่หนึ่ง : เล่าเรื่องตามลำดับปฏิทิน กล่าวคือ เรื่องที่เกิดขึ้นก่อน เล่าก่อน เรื่องที่เกิดขึ้นทีหลัง ก็เล่าทีหลัง เรียงลำดับก่อนหลัง  - วิธีที่สอง : การเล่าเรื่องย้อนต้น กล่าวคือ การเปิดเรื่องอาจจะนำเอาตอนใดตอนหนึ่งที่มีอยู่ในเรื่องเป็นส่วนเปิดเรื่องก็ได้ แล้วเล่าย้อนไปถึงต้นเรื่อง สลับไปสลับมากับเรื่องปัจจุบัน

8 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ)
วิธีที่สาม การสื่อความคิด กล่าวคือ เป็นการสื่อความคิดตามโลกทัศนะของผู้แต่งอย่างแจ่มแจ้ง  เป็นที่เข้าใจของผู้อ่าน หรือการมีสารัตถะของเรื่องที่ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านสามารถรับทราบและเข้าใจข้อคิดตามที่ผู้แต่งมีเจตนารมณ์จะสื่อ วิธีที่สี่ การคลี่คลายสารัตถะของเรื่องไปตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่เริ่มแรกจนจบเรื่อง โดยให้สอดคล้องกับสารัตถะของเรื่องและเจตนารมณ์ของผู้แต่งเรื่อง วิธีที่ห้า การใช้สัญลักษณ์และบุคลาธิษฐาน กล่าวคือ อาจจะใช้บุคลาธิษฐาน ทั้งเนื้อเรื่อง หรือใช้เฉพาะตอนบางตอน อีกทั้งยังช่วยให้เห็นความสามารถพิเศษของผู้แต่งว่า มีวิธีเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น แบบกล่าวตรงไปตรงมา 

9 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ)
หรือมีวิธีที่แปลกแตกต่างออกไป สัญลักษณ์บางอย่างเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์ของมนุษย์ทั่วไป เช่น ฤดูใบไม้ผลิเป็นสัญลักษณ์ของเยาว์วัย หรือความมีชีวิตมีชีวา สัญลักษณ์บางอย่างได้มาจากนิทานปรัมปรา เช่น ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของบุญบารมีของกษัตริย์ เป็นต้น

10 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ)
2. มุมมอง มุมมอง หรือ Point of view เป็นกลวิธีเล่าเรื่องโดยผ่านทัศนะของผู้เล่าเรื่องหรือผ่านทัศนะของตัวละครภายในเรื่องก็ได้ หากใช้กลวิธีการเล่าเรื่องผ่านสายตาของผู้เล่า ผู้เล่าเรื่องต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่างผู้อ่านกับเรื่องที่เล่า ดังนั้นผู้เล่าเรื่องเห็นเหตุการณ์อย่างไร มีทัศนคติกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร ย่อมต้องเล่าเรื่องไปตามมุมมองของเขาเช่นนั้น

11 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ)
อนึ่งผู้เล่าเรื่องในที่นี้ไม่ใช่ผู้แต่ง ผู้อ่านต้องแยกผู้แต่งกับผู้เล่าเรื่องออกจากกัน เพราะผู้แต่งเป็นบุคคลจริง ๆ ในขณะที่ผู้เล่าเรื่องเป็นเพียงบุคคลที่ผู้แต่งสมมติขึ้น ไม่มีตัวตนในเรื่องเพื่อให้ทำหน้าที่แทนผู้แต่ง กลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ ผู้เล่าเรื่องจะกล่าวถึงตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องโดยการเรียกชื่อเฉพาะของตัวละคร หรือใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เมื่อพูดถึงตัวละครนั้น

12 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ)
หากผู้แต่งใช้กลวิธีเล่าเรื่องผ่านตัวละครใดตัวละครหนึ่ง อาจจะเป็นตัวละครสำคัญ หรือเป็นตัวละครที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นตัวละครรองก็ได้ ผู้เล่าเรื่องในลักษณะนี้ย่อมต้องรู้เรื่องดีกว่า เพราะมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง กลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ ผู้เล่าเรื่องใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ เช่น ฉัน , เรา เมื่อกล่าวถึงตนเอง

13 กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องและมุมมอง(ต่อ)
นอกจากกลวิธีเล่าเรื่องโดยผ่านสายตาของผู้เล่าเรื่องและตัวละครแล้ว ยังมีวิธีเล่าเรื่องอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า กระแสสำนึก ( Stream of consciousness) เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ผู้แต่งปล่อยให้ความคิด , ความรู้สึก , อารมณ์ , ความทรงจำ ตลอดจนการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของตัวละครไหลพรั่งพรูออกมา เรื่องที่เล่าจึงไม่มีความต่อเนื่องและไม่มีการเรียบเรียงจัดลำดับเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกและความคิดในจิตใจของตัวละครออกมาให้ผู้อ่านได้สัมผัสโดยตรง ผู้แต่งอาจจะใช้วิธีในการเล่าเรื่องแบบนี้ไปตลอดทั้งเรื่อง หรือใช้เพียงบางตอนของเรื่องก็ได้

14 แหล่งอ้างอิง กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๔๘). วรรณคดีวิจารณ์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. บุญยงค์ เกศเทศ. (๒๕๓๖). แลลอดวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หทัยวรรณ ไชยะกุล. (๒๕๔๙). วรรณกรรมศึกษา. เชียงใหม่ฯ: มิ่งเมือง. ธนัช มหาสินทรัพย์. วรรณกรรมไทย ( เอกสารประกอบการเรียนการสอน). ลำปาง: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโยนก

15 ขอบคุณสำหรับการรับชม
สวัสดีค่ะ/ครับ ….


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบของวรรณคดี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google