งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่
ตาม พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดย อ. ธนวัฒน์ เนติโพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

2 อำนาจของนายทะเบียน แบ่งหลัก ๆ ออกได้เป็น ๑. อำนาจในการอนุญาต
๒. อำนาจลงโทษในทางปกครอง ๓. อำนาจในการปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพรบ.ภาพยนตร์ ฯ

3 ๑. อำนาจในการอนุญาต มาตรา ๓๗ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน มาตรา ๓๘ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

4 อำนาจในการอนุญาต (ต่อ)
อำนาจในการอนุญาต (ต่อ) มาตรา ๕๓ ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน มาตรา ๕๔ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

5 อำนาจในการอนุญาต (ต่อ)
อำนาจในการอนุญาต (ต่อ) อำนาจในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์/กิจการจำหน่าย ให้เช่าภาพยนตร์ ตามมาตรา ๔๐ โดยต้องขอก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุและเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขออยู่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตจนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต มาตรา ๔๒ ถ้าใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือบกพร่องในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งต่อนายทะเบียนและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงกรณีดังกล่าว อำนาจรวมไปถึงกิจการร้านวีดิทัศน์ด้วย (มาตรา ๕๗)

6 ๒. อำนาจในการลงโทษทางปกครอง
อาจแบ่งออกได้เป็น 1. อำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต 2. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต 3. อำนาจลงโทษปรับในทางปกครอง

7 ๑. อำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต
มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ปรากฏแก่นายทะเบียนว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ประกอบกิจการโดย ฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ หรือมาตรา ๖๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินครั้งละเก้าสิบวัน (ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ฝ่าฝืน ม. ๕๙ คือไม่ดำเนินการภายในวัน เวลาและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือฝ่าฝืนม. ๖๐ คือไม่แยกพื้นที่การใช้บริการระหว่างร้านวีดิทัศน์กับร้านจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์ออกจากกัน)

8 ๒. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา ๓๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๕๗ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว กรณีเป็นเรื่องการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ซึ่งในกรณีนี้นายทะเบียนจะต้องมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทันที

9 ๒. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (ต่อ)
มาตรา ๗๑ วรรค ๒ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ หรือมาตรา ๖๐ อีก ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต กรณีเป็นเรื่องถูกนายทะเบียนลงโทษด้วยการสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้ว หากกระทำผิดซ้ำอีก นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (เป็นดุลพินิจ)

10 ๒. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (ต่อ)
มาตรา ๗๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดถูกลงโทษ ปรับทางปกครองตามมาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๖๙ และจงใจหรือเจตนากระทำความผิดที่ถูกลงโทษ ปรับทางปกครองซ้ำอีก ให้นายทะเบียนมีอำนาจ สั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว แล้วแต่กรณี

11 ๓. อำนาจลงโทษปรับทางปกครอง
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ปรากฏแก่นายทะเบียนว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ผู้ใดดำเนินกิจการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๕๗ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินสองหมื่นบาทต่อวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

12 สรุปมาตรา ๖๙ กรณีที่ ๑. ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ตามมาตรา ๓๗ หรือประกอบกิจการร้านให้เช่าแลกเปลี่ยนจำหน่ายภาพยนตร์ตามมาตรา ๓๘ ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ไม่ขอใบแทนกรณีใบอนุญาตสูญหายเสียหาย ภายใน ๑๕ วัน ไม่แจ้งประเภทของภาพยนต์ที่นำออกฉายไว้ใน ที่เปิดเผยในบริเวณโรงภาพยนตร์

13 สรุปมาตรา ๖๙ (ต่อ) กรณีที่ ๒. ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ตามมาตรา ๕๓ หรือประกอบกิจการร้านให้เช่า แลกเปลี่ยน จำหน่ายวีดิทัศน์ตามมาตรา ๕๔ - ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย - ไม่ขอใบแทนกรณีใบอนุญาตสูญหายเสียหายภายใน ๑๕ วัน

14 สรุปมาตรา ๖๙ (ต่อ) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ปฏิบัติตาม นายทะเบียนมีอำนาจกำหนด โทษปรับทางปกครอง ไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท/วัน ตลอดเวลาที่มีการฝ่าฝืนอยู่

15 สรุปมาตรา ๖๙ (สุดท้าย) อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะมีคำสั่งปรับ จะต้องปฏิบัติตาม พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๐ เสียก่อน กล่าวคือในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

16 การบังคับโทษปรับทางปกครอง
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมชำระค่าปรับทางปกครองตามที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๖๙ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

17 การบังคับโทษปรับทางปกครอง
พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕๗ คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาด เพื่อชำระเงิน ให้ครบถ้วน วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจ สั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

18 ปัญหาขัดข้องการลงโทษปรับทางปกครองตามมาตรา ๖๘
มาตรา ๖๘ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ผู้ใดฉายภาพยนตร์ไทยน้อยกว่าสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๙ (๔) ต้องชำระค่าปรับทางปกครองตามอัตราที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด ทั้งนี้ไม่เกินสามแสนบาท มาตรา ๙ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๔) เสนอคำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) ออกประกาศกำหนดสัดส่วนระหว่างภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะนำออกฉายในโรงภาพยนตร์ตาม (๑) ของ บทนิยามคำว่า “โรงภาพยนตร์” ในมาตรา ๔

19 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
มาตรา ๖๗ คำสั่งไม่ออกใบอนุญาต คำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต คำสั่งให้ชำระค่าปรับทางปกครอง คำสั่งพักใช้หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของนายทะเบียน ตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๐ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ วรรคสอง มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ หรือมาตรา ๗๓ ผู้ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ถ้าพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าเห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

20 ๓. อำนาจในการปฏิบัติการให้เป็นไปตาม พรบ.ภาพยนตร์ ฯ
มาตรา ๖๑ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานที่สร้างภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ ร้านวีดิทัศน์ สถานที่ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบภาพยนตร์ วีดิทัศน์ สื่อโฆษณา หรือการกระทำใด ที่อาจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

21 (๒) ตรวจ ค้น อายัด หรือยึดภาพยนตร์ วีดิทัศน์ หรือสื่อโฆษณาในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างเวลา พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๓) สั่งให้หยุดการสร้างภาพยนตร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๓ วรรคหนี่ง (๔) สั่งห้ามการฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง (๕) สั่งให้หยุดการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สื่อโฆษณาที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๕๒

22 เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม (๑) หรือ ทำการค้นตาม (๒) แล้วถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จจะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้ การค้นตาม (๒) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควร เชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้หลักฐานดังกล่าว จะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไป จากเดิม ให้ดำเนินการค้น อายัด หรือยึดหลักฐานที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น

23 แต่อย่าลืม.....พกบัตร มาตรา ๖๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๑ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

24 โทษทางอาญา สรุปฐานความผิดที่น่าสนใจมีดังนี้
๑. นำภาพยนตร์/วีดิทัศน์ ออกฉาย จำหน่าย ให้เช่า โดยที่ภาพยนตร์นั้นยังมิได้ผ่านการตรวจพิจารณา (ม. ๒๕/ม. ๔๗) ๒. ประกอบกิจการโรงภาพยนตร์/ร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (ม. ๓๗/ม.๕๓) ๓. ภาพยนตร์/วีดิทัศน์ที่ผู้รับอนุญาตมีไว้ในสถานประกอบกิจการของตน ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตหรือไม่แสดงเครื่องหมายการอนุญาต หมายเลขรหัสตามที่นายทะเบียนกำหนด (ม. ๔๓/ม. ๕๘)

25 โทษทางอาญา ๔. ฉายภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้
๔. ฉายภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้ หรือไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไปใน สถานที่ที่บุคคลทั่วไปสามารถดูได้ (มาตรา ๔๖) ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๑ (มาตรา ๘๓)

26 ข้อสงสัย...? ประกอบกิจการร้านจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา ๓๘ โทษ มาตรา ๗๙) และประกอบกิจการ ร้านจำหน่ายให้เช่าวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา ๕๔ โทษ มาตรา ๘๒) เป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ ? ฎีกาที่ ๔๐๙๓/๒๕๕๕ เป็นความผิดกรรมเดียว น่าสงสัยว่า หากมีการนำเอาภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผ่านการ ตรวจพิจารณามาจำหน่ายให้เช่า (มาตรา ๒๕ โทษมาตรา ๗๘) พร้อมกับการประกอบกิจการร้านภาพยนต์และวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ศาลฎีกายังจะถือเป็นความผิดกรรมเดียวอีก หรือเปล่า ?

27 ความผิดตาม พรบ.ภาพยนตร์ฯ มาตรา ๓๘ (ประกอบกิจการร้านให้เช่าจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต)
ความผิดตามมาตรา ๕๔ (ประกอบกิจการร้านให้เช่าจำหน่าย วีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต) ความผิดตามมาตรา ๒๕ (นำภาพยนต์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาออกจำหน่ายให้เช่า) ความผิดตามมาตรา ๔๗ (นำวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาออกจำหน่ายให้เช่า) ประกอบ ๘๑ ฎีกาที่ ๗๑๙๖/๒๕๕๔ เป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษฐานประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักสุดเพียงบทเดียว ให้คืนของกลาง

28 ส่วนแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ ๑,๕๘๓ แผ่น จำเลย ใช้ในการประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งยังไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณา ศาลฏีกาเห็นว่า สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ และไม่นำภาพยนต์และวีดิทัศน์ไปให้คณะกรรมการตรวจพิจารณา แผ่นภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของกลางจึง มิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดอันพึงริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ ให้คืนของกลาง

29 กรณีศึกษา ๑. กรณีที่มีผู้ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจำนวนสถานประกอบการคาราโอเกะ หรือกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรือร้านเกมส์ ๒. ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์แล้ว แต่ภายหลังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะทำอย่างไร

30 กรณีศึกษา ๓. ร้านให้บริการอินเตอร์เน็ตจะต้องได้รับอนุญาตตาม พรบ.ภาพยนตร์ฯ หรือไม่ ๔. กรณีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ว่าจ้างหรือมอบหมายให้มีผู้ดูแลสถานประกอบกิจการ มีการกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ดูแลไว้หรือไม่

31 กรณีศึกษา ๕. มีผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ แต่ระหว่างที่ยังมิได้รับอนุญาตได้ดำเนินกิจการไปก่อนแล้วโดยการให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี และ ไม่เกิน ๑๘ ปีเข้าใช้บริการก่อนเวลาที่กฎกระทรวงกำหนด ดังนี้ เมื่อพบเหตุการณ์ดังกล่าวสมควรจะดำเนินการอย่างใดต่อไป

32 กรณีศึกษา ๖. การที่มีผู้เสนอจำหน่ายภาพยนต์และวีดิทัศน์ หรือไฟล์ข้อมูลภาพยนตร์และวีดิทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ด มีความผิดหรือไม่อย่างไร ๗. เอาแผ่นเก่ามาขาย ก็ถือว่าเป็นการประกอบกิจการร้านจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์ที่ต้องขอรับอนุญาตตามมาตรา ๓๘ เช่นกัน

33 กรณีศึกษา ๘. ร้านภาพยนต์และวีดิทัศน์ที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต แต่มาขอยกเลิกใบอนุญาต จะทำได้หรือไม่ ๙. โรงแรมที่มีบริการให้แขกผู้เข้าพักเลือกชมภาพยนตร์จากโทรทัศน์ในห้องพักโดยเสียค่าตอบแทน (Pay TV) ถือเป็นการประกอบกิจการโรงภาพยนตร์หรือไม่

34 กรณีศึกษา ๑๐. การฉายภาพยนต์ผ่าน Projection ไปบนจอ (หรือทางจอทีวีปกติ) ในงานประเพณี งานเลี้ยงสังสรรค์ จะเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์หรือไม่


ดาวน์โหลด ppt อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google