งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
แนวทางการเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อน ECT มีดังนี้ ส่งตรวจ EKG ส่ง x-ray LS spine AP-lateral รายแพทย์ทราบก่อน ECT ตรวจสภาพช่องปาก จำนวนฟันที่เหลือ ฟันปลอม ตรวจสอบว่ามีฟันโยกหรือไม่ ลักษณะการสบฟันปกติหรือไม่ ประสานทันตแพทย์ตรวจซ้ำทุกครั้งในการบำบัด ประวัติการเกิดขากรรไกรเคลื่อน ประวัติและการรักษาโรคทางกาย มียารักษาภาวะแทรกซ้อนทางกายที่ทานระหว่าง ECT หรือไม่ หากมี กำหนดให้ ก่อน ECT ให้ผู้ป่วยทานยามื้อเช้า เวลา น. และดื่มน้ำไม่เกิน 50 ml CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

2 แบบบันทึกสำหรับเตรียมพร้อมผู้ป่วยก่อน ECT
สำหรับหอผู้ป่วย สำหรับหน่วย ECT CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

3 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
การประเมินที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ การได้รับยาที่ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่ Corticosteroids ยากันชัก (phenytoin, carbamazepine, phenobarbital) Thyroxine hormone Loop diuretics Lithium Narcoleptics, metoclopramide, และยาอื่นๆ ที่เพิ่มระดับ prolactin Metrotrexate Cyclosporine A ประเมินการมองเห็น การได้ยิน และการทรงตัว อย่าละเลย เพิกเฉย!!! พยาบาลที่หน่วย ECT ต้องเยี่ยมผู้ป่วย ECT สม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ECT ทุกราย CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

4 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
ประเมินความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน ได้แก่ ประวัติการเกิดโรคกระดูกพรุนในครอบครัวหรือกระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ประวัติเคยกระดูกหัก(ความรุนแรงไม่สัมพันธ์กับการหัก เช่น หกล้ม) BMI ต่ำกว่า 18.5 หรือความสูงลดลงจากเดิม 3 ซม. กลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย มีกิจกรรมน้อย ผู้ป่วยหญิงที่หมดประจำเดือนเร็วก่อนอายุ 45 ปี โดยเฉลี่ยหญิงไทยหมดประจำเดือนอายุ 50 ปี(45 – 55 ปี) หรือประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 12 เดือน (ไม่ใช่ตั้งครรภ์) ประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ(นานกว่า 3 เดือน) ประวัติการสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน ดื่มสุราจัด ประวัติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ เช่น การขาดแคลเซียม วิตามินดี ฯลฯ สำหรับสุภาพบุรุษ ความต้องการเพศลดลงหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ที่มา : อ้างอิงข้อมูลจากมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย *** หากพบความเสี่ยง จะมีการติดตามระดับการชักเกร็งว่ารุนแรงระดับใด และติดตามอาการปวดหลัง หลังการรักษาด้วยไฟฟ้าทุกครั้ง *** แม้จะไม่ใช่ผู้สูงอายุก็ตาม CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

5 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระหว่าง ECT มีดังนี้ วิธีการประเมินอย่างง่ายๆเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อกระดูกข้อมือหัก ก่อน-หลัง ECT ให้บุคลากรยื่นแขนสาธิต ให้ผู้สูงอายุทำตาม แล้วประเมินความผิดปกติบริเวณข้อมือหรือแขนทั้งสองข้าง ***ขอดูมือหน่อยคุณตา คุณยาย*** CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

6 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
***ต้องเฝ้าระวังการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุทุกราย เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก โดย ปฐมนิเทศ โดยให้คำแนะนำผู้ป่วย เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณห้องพักในหน่วย ห้องน้ำ ทางเดิน รวมทั้ง วิธีการขอความช่วยเหลือจากบุคลากร สอนผู้สูงอายุ ในการเปลี่ยนอิริยาบถที่ช้าไม่รีบเร่ง ป้องกันปัญหาความดันโลหิตต่ำระหว่างเปลี่ยนท่า การเปลี่ยนท่าอย่างถูกวิธีป้องกันการบาดเจ็บบริเวณหลัง CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

7 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
***ต้องเฝ้าระวังการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุทุกราย เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก โดย หลังการรักษาด้วยไฟฟ้า ให้นอนพัก จนกระทั่งไม่มีภาวะงุนงง สับสน ยกเลิกการผูกมัดโดยเร็ว เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ป้องกันการรับบาดเจ็บหรือกระดูกหัก จากภาวะกระดูกบางและเปราะ CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56)

8 การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า
***ต้องเฝ้าระวังการหกล้มในผู้ป่วยสูงอายุทุกราย เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก โดย ตรวจประเมินอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน จากการรักษาด้วยไฟฟ้า โดยเฉพาะ อาการปวดหลัง ดูแลเคลื่อนย้ายโดยรถเข็นนั่งทุกราย ทุกครั้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและส่งกลับหอผู้ป่วยอย่างปลอดภัย CQI ECT กันยายน 2556 (ปีงบประมาณ 56) Kanok.P


ดาวน์โหลด ppt การเตรียมผู้ป่วยสูงอายุก่อนและการดูแลระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google