งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด
ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค ก.ค.55 มีรายงานผู้ป่วย ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยมากกว่าปี ประมาณ เท่า

2 กลุ่มอายุผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555
ร้อยละ @ กลุ่มอายุที่พบว่ามีรายงานผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ ปี (ร้อยละ 55.11) และ กลุ่มอายุ ปี (ร้อยละ ) @ ส่วนใหญ่พบการระบาดในศูนย์เด็กเล็ก @ ปัจจัยเสี่ยง : การเล่นคลุกคลีกับเด็กที่ป่วย การใช้แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือร่วมกัน

3 สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555
สถานการณ์โรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555 พบผู้ป่วย ราย 16 อำเภอ

4 จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก จำแนกรายอำเภอ รายเดือน จ.ร้อยเอ็ด ปี 2555

5

6 โรค มือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัส หลายชนิด (EV71) พบบ่อยในกลุ่มเด็กทารก และ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิด ประปรายตลอดปี เพิ่มมากขึ้น ในหน้าฝน ช่วงอากาศเย็น และ ชื้น โดยทั่วไป อาการไม่รุนแรง ผื่น และตุ่มน้ำใส หายได้เอง ในเวลา วัน 

7 เชื้อเอนเทอโรไวรัส

8 อาการที่สำคัญ 1 หลังได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะเริ่มแสดงอาการป่วย
หลังได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วย มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะพบ ตุ่ม หรือ ผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ (มักอยู่ที่ด้านข้างของนิ้ว) ฝ่าเท้า (มักอยู่ที่ส้นเท้า) บริเวณอื่น : หัวเข่า ข้อศอก หรือ ก้น ในปาก : เป็นตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก หรือ กระพุ้งแก้ม หลังจากเด็กได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะเริ่มมีอาการไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะพบตุ่ม หรือผื่นนูนสีแดงเล็ก ไม่คัน ที่ฝ่ามือ ข้างนิ้วมือ ที่ส้นเท้า มีอาการเจ็บปาก เนื่องจากมีตุ่มแดง อักเสบที่ลิ้น เหงือก และ กระพุ้งแก้ม อาจพบที่บริเวณหัวเข่า ข้อศอก หรือ ก้น ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบ ๆ ตุ่มพองจะอักเสบ แดง และ แตกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บในปาก ทำให้ทานอาการได้น้อย อาการจะดีขึ้นและหายเป็นปกติได้เอง ภายใน 7-10 วัน

9 อาการที่สำคัญ 2 ตุ่มจะกลายเป็น ตุ่มพองใส บริเวณ รอบๆอักเสบ และ
แดง กดแล้วเจ็บ ต่อมา จะแตกออก เป็นแผลหลุมตื้นๆ ระยะนี้ เด็กจะมีอาการ เจ็บปาก รับประทานอาหารได้น้อย อาการจะทุเลา และ หายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน

10 การติดต่อ สัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่ง : จมูก, ลําคอ และ นํ้าในตุ่มใส
อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ ยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เชื้อเอนเทอโรไวรัส สามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ เชื้อมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดต่อ จากคนสู่สัตว์ หรือ จากสัตว์สู่คนได้

11 การรักษา ผู้ปกครอง/ครูพี่เลี้ยง
หายได้เอง ( 7 วัน) การรักษาประคับประคอง และ บรรเทาอาการ การลดไข้ และลดอาการเจ็บปวด จากแผลในปาก ภาวะแทรกซ้อน อยู่ในความดูแลแพทย์ มีภูมิคุ้มกัน เฉพาะต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค ผู้ปกครอง/ครูพี่เลี้ยง สังเกตอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง : ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารและ นํ้า  แจ้งผู้ปกครอง /แจ้งจนท. รพ.สต.

12 จะทำลายเชื้อได้อย่างไร
โดยแสงอัลตราไวโอเล็ต ในสภาพที่แห้ง โดยการต้มที่ oC นาน 30 นาที โดยใช้น้ำยาซักล้างทั่วไป โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 1% โดยใช้น้ำประปา ที่มีคลอรีน ppm. โดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ การทำลายเชื้อ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้ -โดยแสงอัลตราไวโอเล็ต ในสภาพที่แห้ง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน -โดยการต้มที่ องศาเซลเซียส นาน 30 นาที -น้ำยาซักล้างทั่วไป โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (Sodium Hypochlorite) 1% หรือ กลูตาราลดีไฮด์ (Glutaraldehyde), ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) 0.3%และคลอรีนผสมน้ำ 0.1 ppm (part per million) หากทำลายเชื้อในอุจจาระจะต้องใช้คลอรีนที่เข้มข้นมากกว่านี้ -โดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ (pasteurization), steam sterilization, Ethylene Oxide Sterilization(ETO) และ hydrogen peroxide gas plasma

13 การป้องกันโรค โรคนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
ป้องกันโดยการ รักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น จัดให้มีอ่างล้างมือ และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

14 การป้องกันโรค หากพบเด็กป่วย รีบป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ ไปยังเด็กคนอื่น ๆ แนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และ ห้างสรรพสินค้า

15 หากมีเด็กป่วยจำนวนมากในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรทำอย่างไร
มาตรการช่วงที่เกิดโรคระบาดต้องเน้นการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งอาจมีความจำเป็นจะต้องประกาศเขตติดโรคและปิดสถานที่ อาคาร สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ฯลฯ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กป่วย และเน้น การล้างมือบ่อยๆ ในกรณีที่มีการระบาดของโรค มือ เท้าปาก ต้องมีการสกัดกั้นไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อ โดยการประกาศเขตติดโรค ปิดสถานที่รับเลี้ยงเด็กอ่อน โรงเรียนเด็กเล็กสระว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับเด็กป่วย ทำความสะอาดสถานที่ที่มีเด็กป่วย โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ และควรดำเนินการดังนี้

16 ควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ
แจ้งการระบาดไปยังหน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ (สอบสวนการระบาด ให้ความรู้ และคำแนะนำ) เผยแพร่คำแนะนำเรื่อง โรคมือเท้าปาก แก่ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม ควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ เฝ้าระวัง โดยตรวจเด็กทุกคน หากพบคนใดที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน วัน หรือจนกว่าจะหาย -แจ้งการระบาดไปยังหน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปสอบสวนการระบาด ให้ความรู้ และคำแนะนำ -เผยแพร่คำแนะนำเรื่อง โรคมือเท้าปาก แก่ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม และควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ -เฝ้าระวัง โดยตรวจเด็กทุกคน หากพบคนใดที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน วัน หรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ๆ

17 การค้นหาผู้ป่วย

18 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt สถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก (HFMD) จ.ร้อยเอ็ด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google