งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 เทคนิคการสร้างแอพพลิเคชัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 เทคนิคการสร้างแอพพลิเคชัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 เทคนิคการสร้างแอพพลิเคชัน
สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษร ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเท่านั้น

2 ขั้นตอนการสร้างแอพพลิเคชันด้วยฟอร์ม
ฟอร์ม (Form) ก็คือ หน้าจอที่ใช้แสดงผล ซึ่งภายในฟอร์มสามารถมีคอนโทรลวางอยู่ หรือมีฟอร์มอื่น ๆ อยู่ภายในก็ได้

3 ออกแบบฟอร์ม เป็นขั้นตอนแรกที่เราต้องทำ โดยอาจร่างแบบคร่าว ๆ ไว้ ว่าฟอร์มที่ต้องการจะถูกใช้งานอย่างไร ประกอบด้วยคอนโทรลอะไรบ้าง ซึ่งควรคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้ ตรวจสอบดูว่าต้องการให้ฟอร์มทำงานอะไร อย่าพยายามสร้างฟอร์มที่ทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างในฟอร์มเดียว เพราะอาจจะมีปัญหาตอนแก้ไข ขนาดไม่ใหญ่, ไม่เล็ก ซึ่งสังเกตคอนโทรลที่วางลงไปไม่เบียดเสียด หรือห่างกันเกินไป การตั้งชื่อฟอร์ม, ข้อความใน Caption ควรง่ายต่อการสื่อความหมาย

4 วางคอนโทรลในฟอร์มตามที่ออกแบบไว้
วางคอนโทรลลงบนฟอร์มโดยดับเบิ้ลคลิกคอนโทรลที่ต้องการใน ToolBox แล้วจึงมาจัดวางในตำแหน่งที่ต้องการ โดยต่อไปเราจะมาสร้างแอพพลิเคชันที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าพรอพเพอร์ตีต่าง ๆ ของฟอร์ม วางคอนโทรลลงบนฟอร์ม

5 เขียนโค้ดกำกับการทำงาน
เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามที่ต้องการและมีประสิทธิภาพ เราจะต้องเขียนโค้ดเข้าไปเพื่อสั่งการทำงานบางอย่าง เปลี่ยนค่าพรอพเพอร์ตี้ของคอนโทรล หรือเรียกใช้เมธอดของคอนโทรลต่าง ๆ ดังนี้ เริ่มจากเราเขียนโค้ดแอพพลิเคชัน โดยเลือกอีเวนต์ Form_Load ซึ่งเราจะทำการ Disable คอนโทรลบางตัว ในอีเวนต์ Click ของปุ่ม นั้นเราจะให้ฟอร์มทำการเปลี่ยนข้อความในแถบเมื่อผู้ใช้งานคลิกปุ่มนี้ โดยนำข้อความจากคอนโทรล txtCaption ไปใช้ เมื่อผู้ใช้งานคลิกปุ่ม ก็ให้ Enable คอนโทรล Option ซึ่งจะเปลี่ยนสีฟอร์มตามที่ต้องการ

6 รันแอพพลิเคชัน เมื่อเขียนโค้ดเสร็จแล้ว ก็สั่งให้ Visual Basic รันแอพพลิเคชันโดยการกด <F5> เพิ่มเติมความสามารถด้วยการใช้งานไดอะล็อกบ็อกซ์ การใช้งานไดอะล็อกบ็อกซ์มีอยู่ 2 ลักษณะได้แก่ การใช้ MessageBox กับการใช้ InputBox การใช้งาน MessageBox เราจะใช้ MessageBox ในการบอกข้อมูลแก่ผู้ใช้งาน แล้วให้ผู้ใช้งานเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การยืนยันการปิดโปรแกรม หรือการเตือนผู้ใช้งานทราบเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผิดพลาด เป็นต้น

7 ตัวอย่างการใช้งาน MessageBox
Title Prompt Button

8 การใช้งาน InputBox เราจะใช้ InputBox ในการขอข้อมูลจากผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานจะกรอกข้อมูลที่ต้องการไปแล้วคลิกปุ่ม ตัวอย่างเช่น รหัสประจำตัวผู้ใช้งาน เป็นต้น สำหรับการเรียกใช้งาน InputBox นั้น จะเรียกใช้งานผ่านคำสั่ง InputBox ซึ่งผลการทำงานจะเป็นข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา เราจะนำไปใช้งานในส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรม โดยคำสั่ง InputBox นั้นมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ Var_string = InputBox(Prompt [, Title] [, Default, xPos, yPos])

9 ตัวอย่างดังต่อไปนี้ Resp = InputBox(“กรุณาระบุรหัสประจำตัวของคุณด้วยค่ะ”,”ยินดีต้อนรับ”,”abc”) MsgBox “รหัสประจำตัวของคุณคือ”& resp & “ยินดีต้อนรับค่ะ,vbOKOnly+vbInformation,”Bangkok ” Title Prompt ค่าที่ป้อนเข้ามา


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 เทคนิคการสร้างแอพพลิเคชัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google