งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 การวัดและการสร้างสเกล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 การวัดและการสร้างสเกล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 การวัดและการสร้างสเกล
อ.สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดสเกล
ผู้วิจัยจะต้องศึกษาแนวทางและวิธีการในการวัดหรือการสร้างมาตรวัดสำหรับตัวแปรทุกตัวที่ต้องใช้ในการวิจัย ถ้าการวัดถูกต้องภายใต้เครื่องมือการวัดที่มีประสิทธิภาพผลของงานวิจัยที่ออกมานั้นก็จะสมบูรณ์ถูกต้องไปด้วย

3 ความหมายของการวัดตัวแปร
การวัดตัวแปรในการวิจัย หมายถึง กระบวนการที่ระบุถึงความแตกต่างในคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ หรือการแปลงสภาพจากนามธรรม หรือแนวคิด(Concepts) ให้เป็นลักษณะที่เป็นรูปธรรม หรือเป็นตัวเลข เพื่อใช้อธิบายถึงคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร และแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งกระบวนการวัดดังกล่าวแสดงถึงวิธีการที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลภายใต้หลักเกณฑ์ต่างๆ โดยให้เป็นไปตามหลักสถิติ

4 ตัวอย่างการวัดตัวแปร
หัวข้อวิจัยเรื่อง : ฐานะทางเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ตัวแปรอิสระด้านปัจจัยส่วนบุคคล คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งที่บ่งชี้ฐานะทางเศรษฐกิจ - รายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน - หรือรายได้ของครอบครัวต่อเดือน - หรือจำนวนทรัพย์สินที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน - หรือสภาวะการเป็นหนี้

5 ตัวอย่างการวัดตัวแปร
การศึกษาวิจัยเรื่อง : การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรตาม : เป็นปัจจัยด้านคุณภาพชีวิต ต้องทำการวิเคราะห์ว่า สิ่งใด เป็นสิ่งที่บ่งชี้ทางด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน เช่น สิ่งบ่งชี้ทางด้านคุณภาพชีวิต - แหล่งอาศัย (เป็นแหล่งชุมชน แหล่งแออัด ใกล้สวนสาธารณะ ฯลฯ) - ที่พักอาศัย (พักอาศัยอยู่กับครอบครัว อาศัยอยู่กับเพื่อน ฯลฯ) - ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (รายได้ครอบครัว, ค่าใช้จ่ายที่ได้รับ)

6 รูปแสดงกระบวนการนิยามศัพท์
แนวคิด (Concept) นิยามแนวคิด (Conceptional Definition) นิยามศัพท์ปฎิบัติการ (Operational Definition) รูปแสดงกระบวนการนิยามศัพท์

7 การนิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition)
การนิยามศัพท์ในการวิจัย หรือการนิยามศัพท์ปฏิบัติการ เป็นการหาคำที่เข้าใจได้ง่ายและเป็นสากล มาอธิบายแนวคิดที่ต้องการนิยาม(แนวคิด) เช่น ความพึงพอใจ คือ การแสดงออกในสิ่งที่เป็นที่ต้องการ การนิยามศัพท์ปฏิบัติการนั้น ผู้วิจัยอาจกระทำโดยการระบุ รายการหรือข้อคำถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย เช่น การระบุข้อคำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้) ข้อคำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจ หรืออื่นๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากข้อคำถามทั้งหมดมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงปริมาณ และในเชิงคุณภาพ

8 (Conceptional Definition) นิยามศัพท์ปฎิบัติการ
แนวคิด (Concept) นิยามแนวคิด (Conceptional Definition) นิยามศัพท์ปฎิบัติการ (Operational Definition ) ความพึงพอใจ การแสดงออกถึงความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์ หรือบริการ การให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกคำตอบที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เช่น 1. ผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้เป็นสิ่งที่มีคุณภาพ 2. ผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้มีราคาที่เหมาะสม 3. ผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้มีกลิ่นหอม

9 (Conceptional Definition) นิยามศัพท์ปฎิบัติการ
แนวคิด (Concept) นิยามแนวคิด (Conceptional Definition) นิยามศัพท์ปฎิบัติการ (Operational Definition ) ลักษณะงาน การแสดงออกของพนักงานที่มีต่องานที่ปฎิบัติ การให้พนักงานตอบแบบสอบถามที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เช่น 1. ท่านคิดว่างานที่ท่านปฎิบัติอยู่เป็นงานที่มีผลตอบแทนสูง 2. ท่านคิดว่างานที่ท่านปฎิบัติอยู่เป็นงานที่ส่งผลให้ท่านได้พัฒนาทักษะความสามารถของท่านเพิ่มขึ้น 3. ท่านคิดว่าตำแหน่งงานที่ท่านทำอยู่เป็นที่ต้องการของผู้อื่น

10 ประโยชน์การวัดตัวแปร
เพื่อใช้เปรียบเทียบผลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถนำตัวเลขที่ได้จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลตามสถิติที่ถูกต้อง ไปใช้ในการเปรียบเทียบกับงานวิจัยของนักวิจัยอื่น เพื่อใช้ควบคุมการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ปรับกระบวนการทางความคิดให้อยู่ในสภาพของตัวเลขแล้ว หมายถึง ผู้วิจัยสามารถจัดเก็บหรือ นำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์ คำนวณทางสถิติได้ตามความต้องการ เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

11 หลักสำคัญของการวัดตัวแปร
ความถูกต้องของการวัด (Validity) ความถูกต้องของการวัด หมายถึง การวัดในสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาได้ตรงประเด็นตามที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ภายใต้หลักเกณฑ์วิชาการที่ถูกต้อง มีข้อมูลเอกสารวิชาการ ทฤษฎีสนับสนุน และสามารถอ้างอิงได้ ความเชื่อมั่นของการวัด (Reliability) ความเชื่อมั่นของการวัด หรือการวัดความเที่ยง หมายถึง เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวัดตัวแปรที่ต้องการแล้วนั้น ผลที่ได้จากการวัดนั้นจะต้องมีความเชื่อมั่น หรือมีความเที่ยงของการวัด โดยพิจารณาจากการวัดถึงแม้จะมีการวัดบ่อยครั้งเพียงใด ผลที่ได้ออกมานั้นจะต้องมีความเหมือนกัน หรือสอดคล้องกันทุกครั้ง หากสิ่งที่ต้องการวัดนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง

12 หลักสำคัญของการวัดตัวแปร (ต่อ)
ความไว หรือความสามารถแบ่งแยกในการวัด (Sensitivity) ความไว หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดมีความสามารถในการจำแนกความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติของตัวอย่างที่ต้องการศึกษาได้อย่างละเอียด มีความหมายของการวัด (Meaningful) ความหมายของการวัด หมายถึง ในการวัดตัวแปรนั้น สามารถวัดได้อย่างถูกต้อง มีความหมาย ผู้วิจัยอ่านแล้วสามารถตีความหมายได้

13 ระดับการวัด (Types of Scales)
1. ระดับกลุ่ม (nominal Scales) 2. ระดับอันดับ (Ordinal Scales) 3. ระดับช่วงหรือระดับอันตรภาค (Interval Scales) 4. ระดับอัตราส่วน (Ratio Scales)

14 Type of Scales ระดับการวัดหมายถึง การจำแนกกลุ่มหรือข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาโดยอาจกำหนดตามคุณลักษณะตามข้อมูลที่จัดเก็บ ให้อยู่ในระบบที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งระดับการวัดที่สำคัญแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ในแต่ละระดับของการวัด จะมีความแตกต่างตามเกณฑ์คุณสมบัติ และเกณฑ์คุณภาพของระดับการวัด โดยการจำแนกตามเกณฑ์ต่างๆดังกล่าวนั้น จะมีผลต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ภายใต้สถิติที่เหมาะสมกับระดับการวัดแต่ละระดับด้วย

15 Type of Scales (ต่อ) ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางของระดับการวัดสำหรับข้อคำถามที่ต้องการวัดว่าให้อยู่ในระดับใด มีความต้องการข้อมูลนั้นละเอียดมากน้อยเพียงใด

16 1. ระดับกลุ่ม (Nominal Scales)
เป็นการวัดที่ง่าย กำหนดตามลักษณะกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ต้องมีคุณสมบัติของแต่ละกลุ่มที่ไม่มีการซ้ำซ้อนกัน ผู้วิจัยไม่สามารถจัดเรียงลำดับ หรือระบุความสัมพันธ์ของช่วงระยะ หรือระบุความแตกต่างในรายละเอียดใดได้ การจำแนกกลุ่มเช่น สถานภาพสมรส เพศ ศาสนา และอื่นๆ

17 2. ระดับอันดับ (Ordinal Scales)
บอกถึงอันดับของข้อมูลแบบเรียงลำดับได้ ไม่สามารถบอกช่วงความห่างได้ สามารถบอกถึงความมากกว่า น้อยกว่าได้

18 3. ระดับช่วงหรือระดับอันตรภาค (Interval Scales)
เป็นระดับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณ สามารถระบุได้ถึงช่วงความห่างที่เท่ากันในแต่ละช่วงของการวัดได้ แต่ระดับการวัดแบบนี้จะมีจุดเริ่มต้นที่ไม่มี 0 แท้ เช่น 0 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าบริเวณนั้นจะไม่มีค่าอุณหภูมิใดเลย คะแนน 0 คะแนน ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีความรู้เลย

19 4. ระดับอัตราส่วน (Ratio Scales)
มีความละเอียดมากที่สุดใน 4 ระดับที่กล่าวมา เป็นระดับการวัดที่มีจุดเริ่มต้นเป็น 0 แท้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง พื้นที่ พื้นที่ = 0 คือไม่มีพื้นที่เลย การวิจัยทางธุรกิจ เช่น ค่าของเงิน การนับประชากร อัตราผลผลิต อัตราภาษี และจำนวนของครุภัณฑ์ ระดับการวัดนี้สามารถนำค่าไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น

20 หน่วยของการวิเคราะห์
1. หน่วยวิเคราะห์ระดับบุคคล (Individual Units) 2. หน่วยวิเคราะห์ระดับกลุ่ม (Group Level) 3. หน่วยวิเคราะห์ระดับองค์กร (Organizational Units) 4. หน่วยวิเคราะห์ระดับสถาบัน (Institutional Units) 5. หน่วยวิเคราะห์ระดับพื้นที่ (Spatial Units) 6. หน่วยวิเคราะห์ระดับสังคม (Societal Units)

21 หน่วยของการวิเคราะห์
ระดับของหน่วยวิเคราะห์นั้นขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย และขอบเขตการวิจัยที่จะบอกถึงเกณฑ์ในการกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

22 1. หน่วยวิเคราะห์ระดับบุคคล (Individual Units)
งานวิจัยในเชิงธุรกิจ หรือทางสังคมศาสตร์ นิยมใช้บุคคลเป็นหน่วยวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรม หรือคุณสมบัติต่างๆของบุคคล เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ พฤติกรรม ความคิดเห็น ความพึงพอใจ และทัศนคติในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย

23 2. หน่วยวิเคราะห์ระดับกลุ่ม (Group Level)
มักเป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาคุณสมบัติในระดับกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจใช้ในการเปรียบเทียบในระดับกลุ่ม หรือใช้นำเสนอผลในระดับกลุ่มที่แตกต่างกัน เช่นการเปรียบเทียบอัตราเฉลี่ยของอายุในแต่ละกลุ่ม อัตราเฉลี่ยของอายุการทำงาน อัตราเฉลี่ยของระดับการศึกษา อัตราเฉลี่ยของรายได้ครอบครัว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลลักษณะของกลุ่มที่เก็บรวบรวมได้นั้น ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการอธิบายลักษณะเฉพาะระดับบุคคลได้

24 3. หน่วยวิเคราะห์ระดับองค์กร (Organizational Units)
องค์กรในการวิจัยหมายถึง องค์การที่เป็นสถาบันครอบครัว บริษัท ส่วนราชการ เช่น โรงเรียน สำนักงาน กรม หรือกองต่างๆ รวมถึงสถานศึกษาภาครัฐ หรือสถานศึกษาภาคเอกชน 4. หน่วยวิเคราะห์ระดับสถาบัน (Institutional Units) โดยสถาบันในที่นี้อาจเกิดจากการรวมตัวกันขององค์การที่ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกัน เช่น สถาบันกฎหมาย สถาบันการเมือง

25 5. หน่วยวิเคราะห์ระดับพื้นที่ (Spatial Units)
หมายถึง การวิเคราะห์ในแต่ละเขตพื้นที่ที่ได้มีการจัดแบ่ง หรือจำแนกออกเป็น หมู่บ้าน ในเขต หรือในอำเภอ เป็นต้น 6. หน่วยวิเคราะห์ระดับสังคม (Societal Units) เป็นการทำการศึกษาวิจัยที่ผู้วิจัยได้นำคุณสมบัติที่เป็นส่วนรวมในสังคมใหญ่ หรือในประเทศมาทำการศึกษาวิจัย เช่น การศึกษาวิจัย เรื่องความเท่าเทียมกันของเยาวชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือความเป็นธรรมในการบริหารประเทศแถบยุโรป ประสิทธิผลการบริหารงานระหว่างวัฒนธรรมตะวันตก และวัฒนธรรมตะวันออก เป็นต้น

26 การสร้างมาตรวัด สเกล (Scale) ในงานวิจัยหมายถึง มาตรวัดที่ใช้สำหรับวัดคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยการกำหนดสเกล หรือมาตรวัดนั้น ผู้วิจัยจะต้องมีความสามารถในการสร้างมาตรวัดให้มีความเที่ยงตรง และมีความเชื่อมั่นได้ โดยทั่วไป การวิจัยที่มีการวัดทัศนคติ ในงานวิจัยหมายถึง การวัดระดับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ซึ่งผู้วิจัยสามารถทำการศึกษาได้จากการกำหนดมาตรวัดทัศนคติในประเด็นที่ต้องการ แทนการสังเกตจากการแสดงออกของกลุ่มตัวอย่างจากคำพูด หรือท่าทาง

27 การสร้างมาตรวัด (ต่อ)
กระบวนการสร้างมาตรวัดทัศนคติเป็นกระบวนการสร้างเครื่องมือในการประเมินทัศนคติ จากผลคะแนนของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากรในการศึกษาวิจัย โดยมีการจัดลำดับของทัศนะคติจากขั้นสูงที่สุด ไปจนถึงขั้นต่ำที่สุด เช่น ชอบที่สุด จนถึง ไม่ชอบที่สุดเป็นต้น

28 การสร้างมาตรวัดทัศนคติ (Attitude Measurement)
มีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการทำให้ได้เข้าใจถึงกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องภายใต้มาตรวัดที่มีมาตรฐานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างมาตรวัดทัศนคติประเภทต่างๆ ขั้นแรกคือ ทำการศึกษาจากข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยจะต้องสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย จากนั้นกำหนด หรือระบุนิยามปฏิบัติการในแต่ละคุณสมบัติเฉพาะตามรายการที่ศึกษา นำไปใช้กับกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมาย นำคำตอบหรือข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย

29 คำถามในการสร้างสเกลหรือวัดทัศนคติ
ข้อคำถามในการวัดทัศนคติที่เหมาะสมมีลักษณะที่สำคัญคือ (ศ.ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546) ต้องเป็นข้อความที่สั้นไม่ยุ่งยาก ไม่เป็นข้อความที่ใช้คำปฏิเสธซ้ำ ข้อความที่ใช้ไม่ควรถามถึง 2 สิ่งพร้อมกันเพราะจะเป็นการยุ่งยากในการตีความ ดังเช่น ทานพึงพอใจในบุคลิกภาพ และรูปแบบการทำงานของหัวหน้างานของท่าน เพราะ เป็นการถามถึง 2 สิ่ง คือ บุคลิกภาพ และรูปแบบการทำงาน หลีกเลี่ยงที่จะนำข้อความหรือสุภาษิตที่เป็นที่รู้จักดีมาถาม เพราะผู้ตอบมักจะให้คำตอบทันทีโดยไม่คิดให้ลึกซึ้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่แฝงไว้ด้วยค่านิยมทางสังคม ที่ทุกคนควรเห็นด้วย ควรใช้ข้อความให้ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม ไม่คลุมเครือต่อผู้ตอบ

30 คำถามในการสร้างสเกลหรือวัดทัศนคติ (ต่อ)
ควรใช้ข้อความที่เรียกร้องความสนใจของผู้ตอบ ควรใช้ข้อความที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้ตอบคิดและแสดงความคิดเห็นตามปกติวิสัยของผู้ตอบเอง

31 รูปแบบของข้อคำถาม ลักษณะที่สำคัญของมาตราวัดหรือการตั้งข้อคำถามเพื่อใช้ในการวัดข้อมูล โดยทั่วไปสามารถจำแนกเป็น 4 ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดลำดับ (Ranking) การประมาณค่า (Rating) การจำแนก (Sorting) และการจัดกลุ่ม (Categorization)

32 รูปแบบของข้อคำถาม (ต่อ)
1. คำถามที่มีคำตอบให้เลือก 2 ทาง (Dichotomous Questions) 2. คำถามที่มีหลายระดับ (Scale Questions) 3. คำถามที่มีหลายคำตอบให้เลือก (Multiple Choice Questions) 4. คำถามที่สามารถเลือกได้หลายคำตอบ (Checklist Questions) 5. คำถามที่ใส่ลำดับที่ในคำตอบ (Ranking Questions) 6. คำถามแบบปลายเปิด (Open-Ended Questions)

33 หนังสืออ้างอิง ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. ดร. กิติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2554


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 การวัดและการสร้างสเกล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google