งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบข้ามรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวในพื้นที่วัฒนธรรม “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัย จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบข้ามรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวในพื้นที่วัฒนธรรม “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัย จิตรกร โพธิ์งาม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบข้ามรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวในพื้นที่วัฒนธรรม “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัย จิตรกร โพธิ์งาม เรืองเดช เขจรศาสตร์

2 จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ที่พบทั้งในฝั่งลาวและแถบภาคอีสานของไทย ในฐานะภูมิภาคนี้เป็น “พื้นที่” ที่มีความสัมพันธ์กันมายาวนานในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่เรียกรวม ๆ กันได้ว่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ร่วมอยู่ในสาย “วัฒนธรรมล้านช้าง” เดียวกัน

3 พระเจ้าองค์ตื้อในลาว
ในฝั่งประเทศลาวพบพระพุทธรูปที่มีชื่อเรียกว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” หลายองค์ ได้แก่ 1) พระเจ้าองค์ตื้อ วัดพุทธองค์ตื้อ แขวงเวียงจันทน์ 2) พระเจ้าองค์ตื้อเมืองโส้ย แขวงหัวพัน โดยเฉพาะ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์นี้ คนลาวบอกว่า “เป็นองค์จริง” ส่วนที่กระจัดกระจายอยู่ในฝั่งไทยนั้นเป็นของปลอมที่ทำขึ้นใหม่ทั้งสิ้น นอกจากนี้พบว่า ยังมีพระเจ้าองค์ตื้อ ในแขวงต่าง ๆ เช่น ทุ่งไหหินที่แขวงเชียงขวาง เป็นต้น จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวหากได้ทำการสำรวจพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อในลาว ผู้วิจัยเชื่อว่า จะพบพระเจ้าองค์ตื้อเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน

4 พระเจ้าองค์ตื้อในไทย
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ บ้านปากแซง จ.อุบลราชธานี พระเจ้าองค์ตื้อ วัดภูพระ จ.ชัยภูมิ พระเจ้าองค์ตื้อในไทย พระเจ้าองค์ตื้อ บ้านท่าเดื่อ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ภาคอีสานของไทยพบพระเจ้าองค์ตื้อหลายองค์ ได้แก่ 1) พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมพู บ้านน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย 2) พระเจ้าองค์ตื้อ วัดเขาภูพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 3) พระเจ้าองค์ตื้อ บ้านท่าเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 4) พระเจ้าองค์ตื้อ วัดใต้เทิง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และ 5) พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ บ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี พระเจ้าองค์ตื้อวัดใต้เทิง จ.อุบลราชธานี

5 โจทย์การวิจัย เพราะเหตุใดทั้ง ๆ ที่ไทยและลาวปิดพรมแดนทางการเมืองมาเป็นเวลานาน เส้นพรมแดนของรัฐกลับไม่สามารถปิดกั้นความสัมพันธ์ผ่านความเชื่อข้ามพรมแดนของชุมชนสองฝั่งโขงได้ และเมื่อเปิดพรมแดนแล้ว รัฐและประชาชนของทั้งสองฝ่ายมีบทบาทอย่างไรต่อความสัมพันธ์ทางศาสนา

6 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ปฎิสัมพันธ์ทางสังคมข้ามพรมแดนภายใต้ระบบความเชื่อว่าด้วยพระเจ้า ใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี 2. บทบาทของรัฐและประชาชนไทย-ลาว เปรียบเทียบนโยบายของสอง บริบทสังคม 3. ระบบการจัดการพื้นที่ทางศาสนาระหว่างพรมแดน

7 ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาระบบความเชื่อที่ว่าด้วยพระเจ้าองค์ตื้อของชุมชนสองฝั่งโขง ได้แก่ ประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่ว่า ระบบความเชื่อและปฏิบัติการทางสังคมของผู้คนในสองบริบทสังคม มีการเปลี่ยนแปลงและคลี่คลายไปในทิศทางเดียวกันหรือแตกต่างกันอย่างไร 2. การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมข้ามพรมแดนกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ภายใต้ระบบความเชื่อว่าด้วยพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง จะสามารถสะท้อนให้เห็นระบบคุณค่าบางอย่างที่สามารถกำหนดเป็น Regional policy ของท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับความเป็นรัฐ-ชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสิ่งที่เรียกว่า ระบบ การจัดการพื้นที่ทางศาสนาระหว่างพรมแดน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมข้ามพรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเชิงเปรียบเทียบในแง่นโยบายการสนับสนุนการจัดการพื้นที่ทางศาสนาระหว่างพรมแดนได้

8 นิยามศัพท์เฉพาะ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) หมายถึง การแสดงออกมาเป็นคุณลักษณะอันเป็นความสัมพันธ์เชิงพลวัตระหว่างคนในพื้นที่ ซึ่งได้กำหนดออกมาเป็นมาตรฐานในรูปแบบของพฤติกรรม ระดับจิตสำนึก และความสัมพันธ์ภายในกลุ่มของตนเอง ทั้งนี้โดยผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ และพฤติกรรมออกมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งที่สามารถกำหนดความหมายของความเป็นคนพวกเดียวกัน จนถือได้ว่าเป็น “พลวัตทางอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว” ที่ร่วมอยู่ใน “พื้นที่ทางวัฒนธรรม” เดียวกัน

9 นิยามศัพท์เฉพาะ ระบบความเชื่อในพื้นที่ทางวัฒนธรรม หมายถึง ระบบความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว เกี่ยวกับพระเจ้าองค์ตื้อ ที่ปรากฏในแผนที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่ทางวัฒนธรรม (Spiritual Space) หมายถึง บริเวณที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของผู้คนว่าเป็นพวกเดียวกัน โดยพิจารณาจากประวัติความเป็นมา ค่านิยม ความเชื่อ หรือคุณลักษณะอันเป็นอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ ซึ่งปรากฏเชิงสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงออกร่วมกันอันเป็นแหล่งที่มาของพลังทางสังคม หรือระบบความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ในภาษาอีสานเรียกว่า “ผีตัวเดียวกัน”

10 นิยามศัพท์เฉพาะ แผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Map) หมายถึง ความเชื่อมโยงของระบบความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรม ของชุมชนไทย-ลาว เกี่ยวกับพระเจ้าองค์ตื้อ ในอาณาบริเวณลุ่มน้ำโขง จิตวิญญาณ (Mentality) หมายถึง ความหมายที่แสดงออกมาถึงความเป็นพวกเดียวกัน ผลรวมในการปฏิบัติของสังคมนั้น ๆ ที่มีพื้นฐานด้วยวิธีการผลิต และความสัมพันธ์ร่วมกับธรรมชาติ กิจกรรมของสถาบันทางสังคมและตัวกำกับอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน ตลอดทั้งเป็นความเชื่อ ค่านิยมที่มีการจัดลำดับชั้น ศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมร่วมกัน และการแสดงตัวตนออกมา ไม่ว่าจะเป็นภาษา สัญลักษณ์ ตลอดจนวิธีการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์จากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง

11 นิยามศัพท์เฉพาะ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) หมายถึง ช่องทางการกระจายทรัพยากรระหว่างสมาชิกในพื้นที่วัฒนธรรม โดยเกิดขึ้นมาจากการกระทำร่วมกันของคนในสังคมทั้งที่เป็นทางตรงและทางอ้อมโดยมีข้อตกลงกันและกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Group Network) หมายถึง ความสัมพันธ์ของคนกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยแหล่งกำเนิด ภาษา ศาสนา ความเชื่อเดียวกัน เป็นพื้นฐานในการได้มาซึ่งทรัพยากรและการประกันความเสี่ยงของการเข้าร่วมกิจกรรม

12 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจะใช้แนวคิดเรื่องพื้นที่และเวลา เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า กระบวนการโลกาภิวัตน์ มีลักษณะตรงที่ไม่ลงตัวเป็นรูปเป็นร่างที่แน่นอน แต่ทว่ามีลักษณะเคลื่อนที่ได้และไหลเวียน รวมถึงมีการซ้อนทับกันไปมาและไม่ต่อเนื่องกัน Anthony Giddens เสนอเรื่อง การไกลห่างทางเวลาและพื้นที่ (time-space distranciation) จะช่วยให้เข้าใจโลกาภิวัตน์ได้ดีขึ้น เนื่องจากเงื่อนไขที่เวลาและพื้นที่ถูกจัดระเบียบใหม่ให้สิ่งที่เห็นมีอยู่เชื่อมโยงกันกับสิ่งที่ไม่อยู่ไม่เห็น (to connect presence and absence) ปรากฏการณ์นี้ David Harvey เรียกว่า “การผนวกรวมสถานที่เข้ากับเวลา” (time-space compression)

13 แผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในพื้นที่วัฒนธรรมไทย-ลาว กรณีบุญประเพณี พระเจ้าองค์ตื้อ วัดปากแซง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ระบบความเชื่อ พื้นที่ทางวัฒนธรรม กลุ่มไทย-ลาว กรณีบุญประเพณี พระเจ้าองค์ตื้อ ระบบคิด จิตสำนึก ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี พฤติกรรม เศรษฐกิจ การเมือง บริบททางสังคม วิเคราะห์ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่และเวลา ตามแนวทางหลักคิดหลังสมัยใหม่ ชาติพันธุ์ลาว ชาติพันธุ์ไทยไทย ความสัมพันธ์เชิงระบบ ตามแผนที่วัฒนธรรม

14 วิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจัย
การค้นคว้าวิจัยในงานนี้ เป็นการหาความหมายของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมาในจิตสำนึกของคนที่อยู่อาศัยที่มีโลกของตนเอง อันเป็นโลกที่เกิดขึ้นมาใน “พื้นที่เฉพาะ” ซึ่งเป็นระบบของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ไม่ปรากฏในสถานการณ์ปกติ หากแต่จะปรากฏตัวขึ้นมาในบริบทของ “งานบุญประเพณีพระเจ้าองค์ตื้อ วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี”

15 วิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยจะใช้วิธีวิทยาของนักทฤษฎีทางด้านพื้นที่เป็นแนวทางในการศึกษา ทัศนะของสำนักคิดนี้มิได้มองพื้นที่ในฐานะที่เป็นเส้นแบ่งต่าง ๆ ในสังคม แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของบรรดาเส้นแบ่งเหล่านี้ สาระสำคัญของแนวคิดนี้สรุปได้ว่า “เมื่อพื้นที่และเวลามีปฏิสัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา” เสมอ แนวคิดเรื่องพื้นที่และเวลาจะถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และตีความปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวที่เกิดขึ้นในพื้นที่พิเศษ กรณีบุญประเพณีพระเจ้าองค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้เป็นการค้นหาระบบคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อนำมากำหนดเป็นนโยบายของท้องถิ่นและรัฐ-ชาติ

16 ขอบเขตของการวิจัย 1. พื้นที่ ชุมชนสองฝั่งโขงที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยการเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งประกอบด้วยบุคคล 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ฝั่งลาว คือ บ้านตะพาน เมืองละครเพ็ง แขวงสาละวัน ซึ่งเคยเข้าร่วมในกิจกรรมบุญประเพณีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี 2) ฝั่งไทย คือ บ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมบุญประเพณีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี

17 แผนผังแสดงพื้นที่โครงการวิจัย

18 ขอบเขตของการวิจัย 2. เนื้อหา วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ว่าด้วย “พระเจ้าองค์ตื้อ” ทั้งจากข้อมูลเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม เพื่อจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมสองฝั่งโขง - แผนที่วัฒนธรรมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อสองฝั่งโขง - พื้นที่ศึกษา (บ้านปากแซง และบ้านตะพาน) - บุญประเพณีและกิจกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความ เชื่อเรื่องพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ - ความสัมพันธ์ข้ามพรมแดนผ่านระบบความเชื่อว่าด้วย พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ - บทบาทของรัฐและประชาชน เปรียบเทียบนโยบายของ สองบริบทสังคม - ระบบการจัดการพื้นที่ทางศาสนาระหว่างพรมแดน - องค์ความรู้ใหม่และข้อเสนอเชิงนโยบาย

19 ขอบเขตของการวิจัย วิเคราะห์และตีความประวัติศาสตร์ชีวิตของชาวบ้าน เพื่อถอดรหัสความคิด จิตสำนึกและพฤติกรรมของผู้คนออกมาใน 3 วิธีหลัก คือ 1.Community Analysis 2.Strategic of Discourse 3.Critical Discourse Analysis 3. เวลา การวิจัยครั้งนี้จะใช้ระยะเวลา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551-กันยายน 2552 ดังปรากฏในปฏิทินปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

20 ปฏิทินปฏิบัติงาน 1. ศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม
2. จัดระบบ/ เรียบเรียงข้อมูลตามวัตถุประสงค์/ นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 1 3. ทบทวนข้อมูลภาคสนาม/ ปรับปรุงข้อมูล เรียบเรียงใหม่/ นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 2 4. ปรับปรุงรายงานฉบับสมบูรณ์/ นำเสนอรายงาน การวิจัยต่อ สกว./ จัดพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย และบทความ

21 ประวัติผู้วิจัย ชื่อผู้วิจัย นายจิตรกร โพธิ์งาม
ชื่อผู้วิจัย นายจิตรกร โพธิ์งาม ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 สถานที่ทำงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถนนราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ โทรสาร ที่อยู่ 227 หมู่ 10 ถนนชยางกูร บ้านขามใหญ่ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ มือถือ การศึกษา ปริญญาตรี ศศ.บ. (การพัฒนาชุมชน) ปริญญาโท ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา) ปริญญาเอก ปร.ด. (ไทศึกษา) งานวิจัย 1. ผลกระทบทางเศรษฐกิจของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เขตชุมชนทหาร ตำบลโสกเชือก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ.2535) 2. โลกทัศน์ของชาวบรู บ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ.2536) 3. การดำรงอยู่และภาวะล่มสลายของอาชีพเครื่องปั้นดินเผาชุมชนห้วยวังนอง ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ.2544) 4. วาทกรรมเรื่องเขื่อนปากมูล (พ.ศ.2549)

22 งบประมาณการวิจัย 600,000 บาท

23 THE END


ดาวน์โหลด ppt ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบข้ามรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวในพื้นที่วัฒนธรรม “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัย จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google