งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
กฎหมายสรรพสามิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

2 Circulation Of Tax Thailand Germany B CORPORATION sale of automobiles
(international transactions) B CORPORATION (Subsidiary of A) A CORPORATION prices paid (international incomes) (International income) Customs Excise (Plus Local Tax) VAT (Local Tax included) Dividends (Income Tax to Shareholders) Local Manufacture Excise (Plus Local Tax) VAT (Local Tax included) Factory & Office of ก. Corporation Land and House Tax, Locality Development Tax & Signboard Tax Domestic sale VAT (Local Tax included) Special Business Tax (Plus Local Tax) Stamp Duty Net profits (Income Tax)

3 กฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการกรมสรรพสามิต
กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม - พ.ร.บ. ทุกฉบับที่รับผิดชอบ - ประมวลรัษฎากร - กฎหมายศุลกากร - พ.ร.บ. ชดเชยค่าภาษีอากร ฯ - พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม ฯ ฯลฯ - ป. อาญา - ป. วิ. อาญา - พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ ฯลฯ กฎหมายควบคุมการปฏบัติราชการ - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ - พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ฯ กฎหมายอื่น ๆ

4 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภาษีสรรพสามิต พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม ใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ ยกเว้นจาก พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดฯ

5 คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร
วงจรการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ (ม ) เจ้าหน้าที่ (ม ) คู่กรณี (ม ) คณะกรรมการ (ม ) การแจ้ง (ม ) คำสั่งทางปกครอง (ม ) ระยะเวลาและอายุความ (ม ) อุทธรณ์ (ม ) เพิกถอน (ม ) ขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) บังคับทางปกครอง (ม ) ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร

6 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

7 ข้อที่ต้องพิจารณาตาม กฎหมายเฉพาะ (กฎหมายสรรพสามิต)
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 กฎหมายเฉพาะ (กฎหมายสรรพสามิต) - มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม - มีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ** ต่ำกว่าหรือสูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ ** - มิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งตามกฎหมายสรรพสามิต

8 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ...
มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ... (8) การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในทางอาญา …” มาตรา 5 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

9 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 5 “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

10 พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต
1. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำคำสั่งทางปกครอง (ม. 12 และ 13) 2. สิทธิของคู่กรณีในการมีทนายความหรือที่ปรึกษา (ม. 23) 3. เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ (ม. 26) 4. การแจ้งสิทธิและการชี้แจง (ม. 27 และ 30)

11 พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต
5. รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง (ม. 37, 40 และ 41) 6. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (ม. 44) 7. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (ม. 49, ) 8. การขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) 9. การบังคับทางปกครอง (ม. 57, 62 และ 63) 10. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง (ม. 68, 69, 70, 71 และ 74)

12 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 23 ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น

13 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 26 เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

14 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 16 บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกี่ยวกับการเสียภาษี หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร …”

15 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 27 ให้เจ้าหน้าแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็นแก่กรณี …” มาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

16 พ.ร.บ. วิ. ปกครองฯ มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ …”

17 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 41 คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์ … (2) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง … เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย กรณีตาม (2) (3) และ (4) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น

18 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 40 คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง

19 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 44 ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว …”

20 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว

21 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 70 การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนำไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้านำไปส่งไม่พบผู้รับ และหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว มาตรา 71 การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือเมื่อครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น

22 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 18 หนังสือเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษี หรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของบุคคลนั้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือตามวิธีในวรรคหนึ่ง จะกระทำโดยวิธีปิดหนังสือนั้นในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน โรงอุตสาหกรรม ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของผู้รับนั้นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้

23 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 57 คำสั่งทางปกรองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

24 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 140 ทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ค้างชำระภาษีอาจถูกยึดและขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระภาษีที่ค้าง โดยให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึดหรือขายทอดตลาดได้โดยมิต้องขออำนาจศาล การยึดทรัพย์สินจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ส่งคำเตือนเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีที่ค้างภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์สินจะกระทำมิได้ในระหว่างระยะเวลาที่ได้ยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 86 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 89 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 96 และตลอดเวลาที่ทำการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านหรืออุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุด

25 พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 63 ถ้าบทกฎหมายใดกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามาตรการบังคับนั้นมีลักษณะที่จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามหมวดนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามหมวดนี้แทนก็ได้ มาตรา 62 ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้นได้ การอุทธรณ์การบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

26 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ
มาตรา 8 “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง …”

27 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 4 “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

28 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 5 “หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดซึ่งเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ …”

29 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 6 “ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้”

30 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 7 “ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี …”

31 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 9 “ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายนั้น”

32 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ
มาตรา 10 “ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ...”

33 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ
มาตรา 11 “ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้ว หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ ก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ …” มาตรา 14 “เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๑ ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

34 การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต
รัฐธรรมนูญ ฯ ม. 6, 34, 237 และ 238 ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 มาตรา 1(3), 17, 31, 59, 80, 83, 84, 90, 91, 95, 102 และ 105

35 การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - มาตรา 2 (2) (3) (4) (7) (8) (9) (10) (11) (13) (16) (20) (21) (22) - มาตรา 16, 17, 37, 38, 61, 66 - การจับ มาตรา ที่สำคัญคือ มาตรา 78, 80 วรรค 1, 81, 82 และ 83 - การค้น มาตรา ที่สำคัญคือมาตรา 92, 93, 96, 98 (2) และ 102

36 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ
มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมสรรพสามิต “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายวามว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงการคลังหรือบุคคลอื่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

37 ผู้มีอำนาจตรวจค้นและจับกุม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ
มาตรา 131 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” มาตรา 134 “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้จับกุมผู้ต้องหาในความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัตินี้ …”

38 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 (16) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้ง ...เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต …ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม

39 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 16 “… อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลาย … ซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ” มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาทั้งปวง”

40 พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิตและผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

41 พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 28 “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจโรงงานสุราที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หรือสถานที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำ หรือขาย หรือเก็บสุรา หรือเชื้อสุรา หรือสินค้าอื่นใดที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ในเวลาทำการ” มาตรา 29 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”

42 พ.ร.บ. ยาสูบ ฯ มาตรา 55 “ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการกรมสรรพสามิตเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

43 พ.ร.บ. ไพ่ ฯ มาตรา 4 “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 12 “เพื่อที่จะดูว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อทำการตรวจค้นได้”

44 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

45 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 78 (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117”

46 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”

47 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ”

48 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

49 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน

50 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

51 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 (5) เมื่อทีรโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78 การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป”

52 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 96 “การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา”

53 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2(9) “หมายอาญา” หมายความถึง หนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77

54 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 61 “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 97 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา ซึ่งได้มอบหรือส่งมาให้จัดการภายในอำนาจของเขา หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออก จะมอบหรือส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตอำนาจของศาลดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจประจำจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือตำบล ซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้ ในกรณีหลังเจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้องรับผิดชอบในการจัดการตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการให้ก็ได้ หรือจะมอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมายซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้นได้มอบหรือส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกันก็ได้”

55 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 97 “ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้นหรือผู้รักษาการแทนซึ่งต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเท่านั้น มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น”

56 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 98 “การค้นในที่รโหฐานนั้นจะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย (2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า”

57 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 93 “ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด”

58 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 102 วรรคหนึ่ง “การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน”

59 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 83 “ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป

60 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 83 ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและจะไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย

61 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 83 ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการปกป้องทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น”

62 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 84 วรรคหนึ่ง “เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้”

63 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 84 วรรคสี่ “ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรอรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสองแก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี”

64 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 3347/2529 เจ้าพนักงานสรรพสามิตและตำรวจค้นพบของกลางซึ่งเป็นภาชนะเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราที่บริเวณบ้านจำเลย และสอบถามแล้วจำเลยรับว่าเป็นของตน ดังนี้ ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าซึ่งเจ้าพนักงานเห็นจำเลยกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าจำเลยกระทำผิดมาแล้วสด ๆ จึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับจำเลยได้โดยไม่มีหมายจับ เมื่อเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจเพราะไม่มีหมายจับ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด ฎีกาที่ 825/2534 เจ้าพนักงานสรรพสามิตมีอำนาจเข้าไปตรวจค้นในสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราในเวลาทำการได้ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92

65 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 2914/2537 โรงค้าไม้ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการ ภายในโรงค้าไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(13) แม้โจทก์ร่วมจะมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78(4) แต่การจับกุมตามกรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมที่กระทำไปก็หาต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวไม่ การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

66 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 7387/2543 ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาลว่า “...ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 นั้น มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้วเท่านั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวรับรองให้กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ดังนั้น บทบัญญัติในเรื่องการค้นในที่รโหฐานในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมใช้บังคับต่อไปได้

67 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 1455/2544 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 97 และมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นโดยมีหมายค้นจะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้น และทำการค้นต่อหน้าเจ้าของหรือบุคคลในครอบครัวของเจ้าของสถานที่ที่จะค้น หรือมิฉะนั้นก็ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นสองคนที่ขอให้มาเป็นพยานก็ได้ ร้อยตำรวจเอก พ. ผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้นเป็นหัวหน้าในการตรวจค้นและทำการตรวจค้นต่อหน้าจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของบ้าน จึงถือว่าเป็นบุคคลในครอบครัวตามที่ระบุไว้ในมาตรา 102 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็เป็นผู้เข้าใจในสาระของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอที่จะให้ความยินยอมโดยชอบแล้ว ดังนั้น การค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

68 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 5336/2543 ผู้ดำเนินการจับกุมและตรวจค้นคือร้อยตำรวจเอก ศ. ซึ่งสืบทราบและวางแผนจับกุมจำเลย โดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลยในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ขับรถบรรทุก จากการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดได้ซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐานนั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่หากไม่ดำเนินการทันที ยาเสพติดอาจถูกโยกย้าย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้จำเลยดูแล้ว ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92(1)-(5) หรือไม่ ฎีกาที่ 667/2535 ชั้นจับกุมกฎหมายมิได้บังคับให้พนักงานตำรวจผู้จับกุมต้องบอกให้ผู้ถูกจับทราบก่อนว่า ถ้อยคำที่ผู้ถูกจับกล่าวนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในชั้นพิจารณาได้

69 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 1605/2544 สิบตำรวจโท ช. สืบทราบว่าบ้านของจำเลยเป็นแหล่งลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ได้ใช้วิธีซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เมื่อเห็นจำเลยขุดบริเวณแปลงผักและนำสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้ จึงใช้วิทยุสื่อสารเรียกเจ้าพนักงานตำรวจที่รออยู่ให้ไปที่เกิดเหตุและได้ออกมาแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอตรวจค้น เมื่อใช้จอบขุดบริเวณที่จำเลยกลบไว้ก็พบเมทแอมเฟตามีน กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ประกอบทั้งมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน แม้สิบตำรวจโท ช. กับพวกเข้าค้นโดยไม่มีหมายค้นก็สามารถกระทำได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92(4) ฎีกาที่ 1549/2525 ป.วิ.อ. มาตรา 83 บัญญัติแต่เพียงให้เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้ถูกจับว่าเขาจะต้องถูกจับเท่านั้น มิได้บัญญัติให้มีการแจ้งข้อหาหรือการทำบันทึกการจับกุมแต่ประการใด

70 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
“บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” มาตรา 31 “ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล”

71 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
“บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา …” กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น …”

72 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
“ ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น”

73 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
“เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด” มาตรา 91 “เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป …”

74 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 1333/2532 ผู้กระทำผิดต่อ พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ มาตรา 19 วรรคแรก โดยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 49 คือปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดนั้น ความผิดตามมาตรา 19 วรรคแรก ดังกล่าวเกิดจากการมียาสูบทั้งหมดไว้ในครอบครอง มิใช่เฉพาะจำนวนที่เกินห้าร้อยกรัม จึงต้องปรับจำเลยตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบทั้งหมดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายและมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ มิใช่ปรับเฉพาะตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบที่เกินห้าร้อยกรัมเท่านั้น

75 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 212/2532 ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 16 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 หรือตัวแทน ออกหนังสือสำคัญแบบ ส. 1/42 สำหรับขนสุราออกจากสถานที่ขายสุราของตนได้ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดไว้ โดยถือเสมือนหนึ่งเป็นใบอนุญาตขนสุราตามมาตรา 14 การที่จำเลยซื้อเบียร์จำนวน 2,400 ขวด จากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุรา และผู้ได้รับใบอนุญาตได้ออกหนังสือสำคัญแบบ ส. 1/42 ให้จำเลย โดยเขียนชื่อผู้ซื้อซึ่งจำเลยเป็นผู้บอกไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่ปรากฏว่าบุคคลดัง กล่าวจะมีตัวตนจริงหรือไม่ จึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนด ไม่มีผลให้หนังสือสำคัญดังกล่าวเป็นเสมือนใบอนุญาตขนสุรา จำเลยจึงมีความผิดฐานขนสุราโดยไม่ได้รบอนุญาตตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 14, 38 ทวิ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ (ฉบับที่ 2) มาตรา 8

76 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 3796/2532 ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 5 บัญญัติห้ามการทำสุราซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในมาตราเดียวกัน ส่วนมาตรา 32 บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 ซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งหมดในวันเวลาเดียวกัน แสดงว่าจำเลยทำสุราและมีสุราทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ของกลางในคราวเดียวกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ขณะเดียวกันการมีสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากเช่นกัน ฎีกาที่ 4337/2532 การทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น พ.ร.บ. สุรา ฯ บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การทำสุราแช่และการทำสุรากลั่นถือว่ามีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกัน ส่วนการมีสุราแช่หรือสุรากลั่นก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกันเช่นกัน แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็น 4 ข้อ ก็ไม่ทำให้เป็นการกระทำแยกกันได้ จำเลยคงมีความผิดเพียงสองกรรมเท่านั้น

77 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 4899/2536 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น คำว่า “ค่าอากร” หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้ ฎีกาที่ 232/2543 การที่จำเลยมียาสูบของกลางที่ผลิตในต่างประเทศโดยมีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรขาเข้าไว้ในความครอบครอง และยาสูบมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย กับการที่จำเลยมียาสูบจำนวนเดียวกันนั้นไว้เพื่อขายนั้น แม้การกระทำนั้นจะผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับ แต่ก็เป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียอากรตามกฎหมาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่การที่จำเลยได้ขายยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการมีไว้เพื่อขายและเป็นคนละกรรมกันอีกกรรมหนึ่ง

78 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 1141/2534 ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และฐานขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราดังกล่าว แม้จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน และบางฐานมีบทลงโทษในมาตราเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าความผิดในแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นตอน ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฎีกาที่ 6055/2534 สุราของกลางที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราได้ซื้อจากผู้ที่ไม่มีสิทธิขายโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 40 ทวิ นั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 45 มิได้บัญญัติให้ริบสุราของกลาง ทั้งสุราของกลางดังกล่าวก็มิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใชในการกระทำผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด อันจะเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาให้ริบเสียได้ ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33

79 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 1440/2544 จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานร่วมกันขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรี หลังจากที่จำเลยลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในเขตต่อเนื่องแล้ว ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจำเลยทั้งห้าขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือเจตนาอื่น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาต่างหากจากความผิดฐานอื่น เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานนี้เป็นความผิดกรรมเดียว ส่วนความผิดฐานร่วมกันนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้เสียภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 กับความผิดฐานร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 162 (1) เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต่าง พ.ร.บ. กัน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91

80 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 8299/2540 การมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ สุราต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์สุรา สินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และมีไพ่ไว้ในครอบครอง แม้จะยึดของกลางทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่าง พ.ร.บ. โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม รวม 4 กระทง ไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ มาตรา 50 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 33 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 162 และ พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำความผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ. มาตรา 31

81 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 4040/2543 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19, 147(1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้า เป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนัก ตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่อง เป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนด การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ไม่

82 คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
ฎีกาที่ 4277/2540 รถยนต์ซึ่งประกอบขึ้นภายในประเทศโดยใช้อุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างประเทศและยังไม่เสียภาษีสรรพสามิต ถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรม เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจจับและยึดรถยนต์ของกลางจากเต็นท์ขายรถยนต์ของจำเลย แสดงว่าได้มีการเคลื่อนย้ายออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้ว ความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 20, 48(1), 148 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้นำรถยนต์ที่ยังไม่ได้เสียภาษีออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ในที่ซึ่งมิใช่คลังสินค้าทัณฑ์บน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 19, 147 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 167(1) บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่ปรากฏข้ออนุโลมให้ไปเสียหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วได้ จำเลยจึงมีความผิดในข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษี


ดาวน์โหลด ppt ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google