งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรณีถูกสัตว์กัด-ต่อย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรณีถูกสัตว์กัด-ต่อย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กรณีถูกสัตว์กัด-ต่อย
การปฐมพยาบาล กรณีถูกสัตว์กัด-ต่อย โดย ... ครูนวพร โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา จังหวัดชัยภูมิ

2 การปฐมพยาบาลกรณีถูกสัตว์กัด, ต่อย
  กรณีที่ถูกสัตว์ทำร้ายที่พบบ่อยแบ่งออกได้ดังนี้ 1. งูกัด หากถูกงูกัดควรตีงูให้ตายแล้วเก็บซากไปให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด จะได้ใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดถูกชนิดและให้สังเกตรอยงูกัด ถ้าเป็นรอยงูกัดของงูพิษ จะปรากฏรอยเขี้ยวงูเป็น 2 จุด อาจเป็นรอยลากยาว ขณะกระชากหนี หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว พิษของงู มี 3 ประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของงู      1.พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin) เกิดจากงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยมและงูทับสมิงคลา      อาการ เริ่มจากแขนไม่มีแรง กระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต หยุดหายใจ และตายในที่สุด      2. พิษต่อระบบการแข็งตัวของเลือด (Hematotoxin) เกิดจากงูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ      อาการ เริ่มจากปวดแผลมาก มีเลือดซึมออกจากแผล เลือดออกจากอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด เกิดจากภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลว ตายในที่สุด      3. พิษต่อกล้ามเนื้อ (Mytotoxin) เกิดจากงูทะเล      อาการ เริ่มแรก ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมาปัสสาวะสีแดงคล้ำ จากกล้ามเนื้อถูกทำลาย ตามด้วยไตวาย และหายใจล้มเหลว

3 การปฐมพยาบาล      1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล      2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม      3. ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว      4. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ      5. การห้ามเลือดควรใช้ผ้าสะอาดกดแผลโดยตรง      6. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะเคลื่อนไหวมากทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น      7. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำหรือระดับเดียวกับหัวใจ      8. ให้ยาแก้ปวดได้ แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า ข้อควรระวัง      - อาการของพิษงูเกิดได้ตั้งแต่ นาที หลังถูกกัด หรือ อาจนานถึง 9 ชม. จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง      - การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู ส่วนใหญ่ทำมาจากม้า ซึ่งอาจแพ้ได้ จึงควรฉีดต่อเมื่อมีอาการของพิษงูเท่านั้น 2. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข, แมว กัด โรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัดที่สำคัญคือโรคพิษสุนัขบ้า โดยมีความเสี่ยงดังนี้      - ถ้าถูกกัดโอกาสจะเป็นโรคเฉลี่ยประมาณ 35% ขึ้นกับบริเวณที่กัด      - กัดที่ขา โอกาสเป็นโรค 21%      - กัดที่หน้า โอกาสเป็นโรค 88%      - ถ้าแผลตื้นหรือ เป็นรอยถลอก จะเป็นโรคน้อยกว่าแผลลึกๆ หลาย ๆ แผล      - เชื้อติดต่อสู่คนทางน้ำลาย (ถูกกัด ,เยื่อเมือก)      - ระยะที่แสดงอาการอาจตั้งแต่ 4 วัน - 4 ปี

4      - อาการของสุนัขที่เป็นพิษสุนัขบ้า แบ่งเป็น 3 ระยะ
     1. ระยะอาการนำ จะซึมลง กินข้าวและน้ำน้อยลง ระยะนี้กินเวลา 2-3 วัน ก่อนเข้าระยะที่สอง      2. ระยะตื่นเต้น เป็นอาการทางระบบประสาท สุนัขจะกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ตัวแข็ง น้ำลายไหล ลิ้นห้อย ต่อมามีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ขึ้น ระยะนี้พบได้ 1-7 วันก่อนเข้าระยะท้าย      3. ระยะอัมพาต จะเกิดอัมพาตทั่วตัว ถ้ามีอาการอัมพาตสุนัขจะตายใน 24 ชม.      รวมระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงตายไม่เกิน 10 วัน ส่วนใหญ่จะตายใน 4-6 วัน      - อาการของพิษสุนัขบ้าในคน แบ่งเป็น 3 ระยะ      1. ระยะอาการนำ จะเริ่มมีไข้ อ่อนเพลียคล้ายเป็นไข้หวัด อาจมีปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน อาการที่แปลกไป คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลง กังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และในคนไทย พบว่ามีอาการคันรอบๆ บริเวณที่ถูกกัด หรือ คันแขนขาข้างที่ถูกกัด อาจมีอาการชา เจ็บเสียวรอบๆ บริเวณที่ถูกกัด      2. ระยะอาการทางระบบประสาท แบ่งย่อยเป็น           2.1 อาการกลัวน้ำ จะมีอาการตึงแน่นในลำคอ กลืนอาหารแข็งได้ แต่กลืนอาหารเหลวลำบาก เวลากินน้ำจะสำลัก และเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อในลำคอกระตุกเกร็ง ร้องโหยหวนคล้ายหมาเห่าหอน เพราะกล้ามเนื้อควบคุมสายเสียงเป็นอัมพาต           2.2 อาการกลัวลม ผู้ป่วยจะสะดุ้งผวาเมื่อถูกลมพัด           2.3 อาการประสาทไว ผู้ป่วยจะกลัว สะดุ้งเกร็งต่อสัมผัสต่างๆ ไม่ชอบแสงสว่าง           2.4 อาการคลุ้มคลั่งประสาทหลอน ผู้ป่วยอาจอาละวาด ดุร้ายน่ากลัว           2.5 อาการอื่นๆ เช่น อัมพาต      3. ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เข้าสู่ระยะโคม่า

5 การปฐมพยาบาล      1. รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลายๆ ครั้ง พยายามล้างให้เข้าถึงรอยลึกของแผล ถ้าไม่มีสบู่ใช้ผงซักฟอกแทนก็ได้      2. ทำความสะอาดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น alcohol 70%      3. ถ้าแผลฉกรรจ์มีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดออกก่อนระยะหนึ่งเพื่อล้างน้ำลายซึ่งอาจมีเชื้อไวรัสออก      4. ถ้าสามารถเฝ้าดูอาการสัตว์ (กรณีที่มีเจ้าของ) ควรกักขังและเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 10 วัน      5. กรณีที่สัตว์ตาย ควรนำส่งเพื่อตรวจหาเชื้อด้วย      6. ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันบาดทะยักทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตว์มีอาการก่อน 3. สัตว์ที่มีเหล็กในต่อย      สัตว์พวกผึ้ง แตน ต่อ หมาร่า มดตะนอย พวกนี้ จะมีเหล็กไน และจะมีต่อมน้ำพิษ ผู้ป่วยที่ถูกต่อยจะมีอาการเจ็บ ปวด และบวม ตรงบริเวณที่ถูกต่อย ถ้ายังไม่ดึงเหล็กไนออก กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกต่อยจะหดตัวต่อไปอีก 2-3 นาที ทำให้เหล็กไนฝังตัวลึกอีก และน้ำพิษจะถูกปล่อยเข้าไปเพิ่มมากขึ้น อาการอื่นๆ ที่พบ คือ ลมพิษ หอบหืด อาเจียน คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการหายใจไม่ออก และช็อกได้จนถึงเสียชีวิตได้ในที่สุด การปฐมพยาบาล      1. ให้รีบเอาเหล็กไนออก โดยใช้ใบมีดขูดออกหรือใช้เทปใสปิดทาบแล้วดึงออกเหล็กไนจะติดออกมา      2. ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำและสบู่ เช็ดให้แห้ง แล้วทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ถ้ามีอาการปวดมาก ก็ประคบด้วยความเย็น เพื่อลดอาการปวด เมื่ออาการทุเลาลง      3. ทาบริเวณที่ถูกต่อยด้วย Antihistamine cream จะบรรเทาอาการบวมแดงได้มาก      4. ถ้าแพ้พิษจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นหายใจไม่ออก หน้าเขียว ความดันโลหิตต่ำลงและ ช็อก กรณีเช่นนี้ต้องใช้สายรัดรัดเหนือบริเวณที่ถูกต่อย ถ้าสามารถทำได้ จนกระทั่งอาการแพ้หมดไป ขณะเดียวกันก็รีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อรู้ว่ามีอาการแพ้พิษดังกล่าว

6 ขอบคุณที่มาข้อมูล: http://www.nurse.nu.ac.th
ครูนวพร ศรีวงษ์ชัย โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ขอบคุณที่มาข้อมูล:


ดาวน์โหลด ppt กรณีถูกสัตว์กัด-ต่อย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google