งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผู้วิจัย นายธีรภัทร พึ่งเนตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผู้วิจัย นายธีรภัทร พึ่งเนตร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผู้วิจัย นายธีรภัทร พึ่งเนตร
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมฐานข้อมูล เรื่องการสร้างแบบสอบถาม (Queries) โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และวิธีการสอนแบบปกติ ผู้วิจัย นายธีรภัทร พึ่งเนตร

2 ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
จากสภาพปัญหาในการเรียนการสอนรายวิชา การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 พบว่า ผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ไม่คงทนถาวร ผู้สอนดูแลให้คำแนะนำในระหว่างการฝึกปฏิบัติไม่ทั่วถึง ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

3 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และวิธีการสอนแบบปกติ

4 กรอบแนวคิดในการวิจัย
รูปแบบการเรียน ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน การเรียนรู้แบบร่วมมือ (TGT) การสอนแบบปกติ

5 สมมติฐานการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้วิธีการเรียนรู้ แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม สูงกว่าวิธีการสอนแบบปกติ

6 5. ขั้นยอมรับความสำเร็จของทีม
วิธีดำเนินการวิจัย 1. ขั้นเตรียมเนื้อหา 2. ขั้นจัดทีม 3. ขั้นการเรียนรู้ 4. ขั้นการแข่งขัน 5. ขั้นยอมรับความสำเร็จของทีม

7 ตารางแสดงข้อมูลที่เก็บรวบรวม
รูปแบบวิธีการสอน N S.D. ผลต่างของค่าเฉลี่ย t df Sig 1 tailed วิธีการสอนรูปแบบ TGT 36 14.75 2.50 1.33 2.436 70 0.009 วิธีการสอนแบบปกติ 13.42 2.13 จากตาราง พบว่า การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ทั้งสองกลุ่มของผู้เรียน วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ คะแนน ส่วนวิธีการสอนแบบปกติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกันเท่ากับ 1.33 คะแนน

8 สรุปผลการวิจัย ดังนั้น จากการทดสอบสถิติ t พบว่า ค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมสูงกว่าวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของประเด็จ แสนเมืองแก้ว (2552) ที่ทำการวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคเกมกลุ่มแข่งขันเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องเอกภพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

9 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง 2. ผู้เรียนมีการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม 3. ผู้สอนได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอน

10 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ผู้วิจัย นายธีรภัทร พึ่งเนตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google