งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 หลักการเย็บประกอบตัวกระโปรง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 หลักการเย็บประกอบตัวกระโปรง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 หลักการเย็บประกอบตัวกระโปรง

2 จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกลำดับขั้นการ เย็บประกอบตัวกระโปรงได้ อย่างถูกต้อง 2. ใช้เทคนิคการเย็บตามลำดับขั้นตอนได้ถูกต้อง

3 หัวข้อเรื่องศึกษา ขั้นตอนการเย็บประกอบกระโปรง ออกโปรแกรม

4 ขั้นตอนการเย็บประกอบกระโปรง
การเย็บกันยืด เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณแนวโค้งของเอวยืด จึงจำเป็นจะต้องเย็บกันยืด วิธีเย็บกันยืดให้เย็บห่างจากรอยเย็บ 0.2 ซ.ม ด้วยฝีเข็มธรรมดาบนผ้าชิ้นเดียว ภาพการเย็บกันยืดส่วนเอว

5 การเย็บกันลุ่ย ตะเข็บที่เย็บกันลุ่ย หารเป็นริมผ้าไม่ต้องเย็บกันลุ่ยก็ได้ การเย็บกันลุ่นมีหลายวิธี เลือกใช้ได้ตามที่สะดวก ตะเข็บที่จำเป็นจะต้องกันลุ่ยคือ ตะเข็บข้าง

6 การเย็บเกล็ด เกล็ดในตัวกระโปรงทั้งชิ้นหน้าและชิ้นหลัง ก่อนลงมือเย็บจะต้องเนาก่อน ในขณะที่เนาเกล็ดให้เนาจากปลายแหลมของเกล็ดไปยังโคนเกล็ดหรือ ส่วนที่กว้างของเกล็ด และในการเย็บให้เย็บจากโคนเกล็ดหรือสาวนที่กว้างไปหาปลายเกล็ดหรือส่วนปลายแหลมจะได้เล็ดเรียวแหลม ทิ้งปลายด้ายให้ยาวพอที่จะผูก (ไม่ควรเย็บซ้ำที่ปลายเกล็ด) ภาพลักษณะการเย็บเกล็ด

7 การติดซิป เนากระโปรงด้านนอกของกระโปรงซีกขวามือให้ผ่าส่วนที่จะติดซิป ยื่นจากเส้นกลางตัวอีก 0.2 ซ.ม นำผ้ามาเย็บทับริมผ้าของซิปด้วยจักรตามความยาวของซิปที่เนาไว้ด้วยตียผีติดซิป และพับริมผ้าด้วยซ้ายมือตามส่วนที่เผื่อตะเข็บไว้ และเนาผ้าด้านซ้ายให้ติดกับซิป ให้ริมผ้าปิดรอยผีจักรที่เย็บไว้ในผ้าซีกขวามือ เย็บผ้าซีกซ้ายมือตามที่เนาไว้ ผีจักรที่เย็บจะชิดกับฟันซิป ริมผ้าจะปิดรอยเย็บด้านขวา (ดังในภาพ) ให้ดึงปลายด้ายที่เย็บไปผูกไว้ด้านใน หมายเหตุ การติดซิปกระโปรงในเส้นกลางตัวด้านหลังและในเส้นตะเข็บข้างด้านซ้ายติดโดยวิธีเดียวกัน โดยให้ผ้าด้านขวามือทับผ้าด้านซ้ายมือ และชิ้นหน้าจะต้องทับกับผ้าชิ้นหลังเสมอไป

8 ภาพการติดซิป

9 การเย็บตะเข็บข้าง เย็บตะเข็บข้างของกระโปรงทั้งซ้ายและขวา
การเข้าขอบเอวกระโปรง การตัดผ้าขอบเอวต้องตัดให้ยาวมากกว่ารอบเอวของกระโปรง 5 ซ.ม เป็นส่วนเผื่อเย็บและส่วนเกยเมื่อติดตะขอ ถ้าต้องการให้ขอบเอวด้านหน้าเป็นมุมแหลมต้องเผื่อตางหาก และเผื่อเย็บขอบด้านกว้างอีก 2 ซ.ม สมมติขอบเอวกว้าง 4 ซ.ม ต้องตัดผ่ากว้าง 10 ซ.ม

10 นำขอบเอวขนาดกว้าง ยาว ตามต้องการ วางบนผ้าขอบเอวที่ตัดเตรียมไว้ มาเย็บให้ผ้าแข็งติดกับผ้าชั้นนอกจามมุมขอบด้านล่างไว้ เย็บปลายขอบด้านหลังให้ชิดกับขอบผ้าแข็ง เย็บหัวขอบด้านหน้าให้ชิดกับขอบผ้าแข็ง ตัดมุมแข็งของผ้าชั้นนอกทิ้ง กลับขอบเอวให้ผ่าแข็งอยู่ด้านใน รีดให้เรียบ นำขอบเอวมาเย็บให้ติดกับตัวกระโปรงโดยวางผ้าด้านไม่ติดผ้าแข็งเป็นด้านที่เย็บติดตัวกระโปรง วางหัวขอบให้พอดี ให้ส่วนเหลือ 3 ซ.ม อยู่ที่ปลายขอบ เย็บวงรอบขอบ

11 เมื่อต่อขอบเอวกับกระโปรงเรียบร้อยแล้ว พลิกขอบเอวขึ้นแล้วดันผ้าแข็งไว้ด้านใน ให้ตะเข็บต่อเอวอยู่ด้านนอกของผ้าแข็ง แล้วพับริมผ้าด้านในสอยหรือเย็บจักรเพื่อความแข็งแรง

12 การพับและสอยชายกระโปรง การพับและการสอยชายกระโปรงให้สวย ต้องให้รอยพับบางและรอยสอยเบาที่สุด กระโปรงที่พับแร้วไม่เห็นรอยพับด้านในนูนออกไปตามด้านนอก เป็นการพับที่ถูกวิธี เช่นเดียว กับการสอยรอยที่พับ ถ้าเห็นรอยที่สอยอยู่ด้านนอกเป็นจุดบุ๋ม เรียกว่าเป็นการสอยที่ไม่ถูกวิธี ฉะนั้น การพับและการสอยชายกระโปรง จะต้องพิจารณาตามลักษณะของผ้าที่นำมาสอยด้วย

13 จบบทที่ 7 ออกโปรแกรม กลับไปหัวข้อเรื่อง


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 หลักการเย็บประกอบตัวกระโปรง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google