งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับตำบล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับตำบล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับตำบล
ความสำคัญของทีม SRRT ตำบล และ การเฝ้าระวังเหตุการณ์เพื่อค้นหาความผิดปกติ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับตำบล

2 วัตถุประสงค์การอบรมเครือข่ายระดับตำบล
เข้าใจหลักการเฝ้าระวังเหตุการณ์และสามารถ พัฒนาระบบในระดับตำบล เพื่อเสริมการเฝ้าระวัง ระบบปกติ รู้จักชนิดของเหตุการณ์ผิดปกติทางด้าน สาธารณสุข รู้จักและสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งข่าวชนิด ต่างๆ เพื่อแจ้งเหตุการณ์ผิดปกติได้ สามารถตรวจสอบข่าวเบื้องต้นที่ได้รับแจ้งจาก แหล่งข่าวและตอบสนองได้เหมาะสม

3 ประเด็นสำคัญ หลักการเฝ้าระวังเหตุการณ์ แหล่งข่าวชนิดต่าง ๆ
ขั้นตอนการเฝ้าระวัง ประเภทของเหตุการณ์ผิดปกติและตัวอย่าง

4 SARS ประเทศไทย 2546 Probable case ป่วย 8 ตาย 2

5 ไข้หวัดนกระบาด 2547 ไข้หวัดนก, ประเทศไทย Confirmed case ป่วย 17 ตาย 12 สัตว์ปีกถูกทำลาย 30 ล้านตัว ผลกระทบกับการส่งออก 0.9 % GDP ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว 6 % GDP

6 ไข้หวัดนกเวียดนาม 27 พฤศจิกายน 2553 สัตว์ปีกติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
27 พฤศจิกายน 2553 สัตว์ปีกติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือของเวียดนาม ผู้ป่วยไข้หวัดนก ในประเทศอินโดนีเซีย อียิปต์ ประเทศละ 1 ราย จากการสัมผัสสัตว์ปีกป่วยตายในชุมชน

7 อหิวาตกโรคในเฮติ ณ วันที่ 20 พย.53 ผู้ป่วย 60,240 ราย ตาย 1,415 ราย
ผู้ป่วย 60,240 ราย ตาย 1,415 ราย แหล่งที่คาดว่าจะเป็นที่มาของอหิวาตกโรค คือ แม่น้ำอาร์ตีบอนีต เนื่องจากมีผู้ป่วยบางส่วนได้ดื่มน้ำจากแม่น้ำดังกล่าว[5] ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอันประกอบด้วยแพทย์ ยารักษาโรคและน้ำสะอาด ถูกส่งไปในบริเวณที่เกิดการระบาดเพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือเพื้อชะลอและยับยั้งการระบาดของโรค[5] ทีมสหประชาชาติกำลังสืบสวนตัวอย่างการทิ้งน้ำเสียซึ่งรั่วไหลมาจากฐานรักษาสันติภาพเนปาลี ซึ่งทำให้ระบบแม่น้ำมีเชื้อโรค นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานรักษาเสถียรภาพเฮติสหประชาชาติได้รับรองผลการทดสอบแล้ว[6]

8 การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จ. เชียงใหม่
เรือนจำฝาง/รร จอมทอง เวียงแหง หางดง เมือง

9 Streptococcus suis ตำบลสบเตี๊ยะ และ ตำบลแม่สอย
อ. จอมทอง

10 อาหารเป็นพิษ จ. เชียงใหม่
เดือน เหตุการณ์ สาเหตุ ม.ค อสม.จันทบุรี(40) อาหารบุฟเฟ่ต์ มี.ค สำนักปฏิบัติธรรม สกพ(8) หอยแครงลวก มี.ค นักเรียน ฝาง(29) ก๋วยเตี๋ยว เม.ย ชาวบ้าน ดอยหล่อ(20) ลาบหมูดิบ พ.ค ชาวบ้าน สันป่าตอง(7) ตับปิ้ง มิ.ย นักศึกษา ม.ช (10) น้ำพริกหนุ่ม ลาบหมู ก.ค ชาวบ้าน แม่ออน สกพ(67) หลู้ ส.ค พยาบาล ICN(50) ผัดผักกาดโรยปู ก.ย ชาวบ้าน อมก๋อย(10) ถั่วเน่าหมัก ต.ค ชาวบ้าน จอมทอง(120) น้ำประปาภูเขา

11 เครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว
บทบาทหน้าที่ เฝ้าระวังโรค/ตรวจจับความผิดปกติ สอบสวนควบคุมป้องกันโรค เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระดับประเทศ ระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล การเฝ้าระวังเหตุการณ์ในพื้นที่ เพื่อค้นหาความผิดปกติ ระดับหมู่บ้าน

12 สมาชิกเครือข่ายระดับตำบล
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. หรือ สอ. (แห่งละ 1 คน) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ตำบลละ 3 คน) บุคลากร อปท. ได้แก่ อบต. หรือ เทศบาล ตำบล (1-2 คน) กลุ่มอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ปศุสัตว์ตำบล ครู

13 เพื่อค้นหาความผิดปกติ

14 การเฝ้าระวังเหตุการณ์
การรับแจ้งเหตุการณ์ผิดปกติอย่างรวดเร็ว โดยมีการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้ได้ข่าวสาร ข้อมูลการเกิดโรคและภัยสุขภาพ จากแหล่งข่าว ชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และมีการตอบสนองที่รวดเร็ว

15 การเฝ้าระวังเหตุการณ์
ทำไมต้องมี การเฝ้าระวังเหตุการณ์

16 ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มารักษาที่รพ.สอ. หรือโรงพยาบาล
ธรรมชาติการเกิดโรค ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มารักษาที่รพ.สอ. หรือโรงพยาบาล ผู้ป่วยจำนวนมากที่อยู่ในชุมชน ไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล -มีอาการไม่รุนแรง -มีเชื้อโรคในตัวแต่ไม่มีอาการ (พาหะ) 16 16

17 ปัญหาการเฝ้าระวังโรคในระบบปกติ
ตัวอย่างผู้ป่วย 5 รายในการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง รายที่ 2 รายที่ 1 รพ. สต. รายที่ 3 รายที่ 5 รายที่ 4 รพ.เอกชน ดัดแปลงจาก Dr.Marjorie P. Pollack, ProMed Mail

18 การเฝ้าระวัง 2 ระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
1. การเฝ้าระวังโดยรายงานผู้ป่วย 2. การเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ สอ./รพ.สต. รายคน รายเหตุการณ์ เหตุการณ์ผิดปกติเกี่ยวกับสาธารณสุข เก็บ วิเคราะห์ แปลผล แจ้ง ตรวจสอบ รายงาน สัญญาณภัย ประเมิน และสอบสวน มีความสำคัญสาธารณสุข กระจายเผยแพร่ ควบคุมโรค ดัดแปลงจาก ECDC 18

19 เป้าหมายของเครือข่ายระดับตำบล
3 ร (เร็ว) รู้เร็ว (และตรวจสอบ) รายงานเร็ว (แจ้งข่าว) ควบคุมเร็ว (มาตรการเบื้องต้น)

20 เหตุการณ์ที่มักจะพบ ช่วงเวลาที่มีโอกาส ในการควบคุมโรค เริ่มมีผู้ป่วย
รายแรก ทราบผล การตรวจ วันที่รายงานโรค วันที่ผู้ป่วย มาพบแพทย์ ส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ดำเนินมาตรการ ควบคุมโรค จำนวน ผู้ป่วย ช่วงเวลาที่มีโอกาส ในการควบคุมโรค จำนวนวัน

21 การรายงานและดำเนินการเร็ว
เริ่มมีผู้ป่วย รายแรก ดำเนินมาตรการ ควบคุมโรค จำนวนผู้ป่วยที่ป้องกันได้ จำนวน ผู้ป่วย จำนวนวัน

22 โรคประจำถิ่นหรือกลุ่มอาการที่พบบ่อย
โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบในพื้นที่ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในคน

23 หรือกลุ่มอาการที่พบบ่อย
โรคประจำถิ่น หรือกลุ่มอาการที่พบบ่อย

24

25 ผู้ป่วยอุจจาระร่วงที่มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง
ภาพซ้าย อาการขาดน้ำอย่างรุนแรง สังเกตุรอยย่นที่หน้าท้อง เป็นลักษณะของผิวหนังที่โดนยกขึ้นมาแล้วไม่คืนสภาพเดิมเหมือนคนทั่วไป และอาจเห็นว่าขอบตาลึกโหล แต่ในรูปนี้เห็นไม่ชัดมาก ภาพขวา ผู้ป่วยอหิวาตกโรคชาวไทยที่มีอาการช็อคและไตวาย ขณะที่ถ่ายภาพนี้ได้รับการรักษาจนดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยโชว์หลังมือที่โดนแทงน้ำเกลือถึง 5 ครั้งเพราะเส้นเลือดแฟบไปหมดเนื่องจากถ่ายมาก ต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที 25 Company Logo

26 เครือข่ายระดับตำบล ควรจะทำอย่างไรดี

27 กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที ซักถามประวัติอาหาร เก็บอาหารที่สงสัย (ถ้ายังมีเหลืออยู่) ไว้ในตู้เย็น เพื่อส่งตรวจหาเชื้อโรค

28

29 กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที ประสานงานกับครูพี่เลี้ยงในการทำความสะอาด เด็กที่ป่วยให้หยุดอยู่กับบ้าน ทำความสะอาดพื้น  เครื่องใช้  หรือของเล่นเด็กที่ อาจปนเปื้อนเชื้อโรคด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอร็อกซ์)  อัตราส่วน  คือ น้ำยา 20 ซีซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซีซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง

30

31 กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที ประสานงานกับครู (กรณีมีนักเรียนป่วย) ผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวด เมื่อยเนื้อตัว เป็นต้น หยุดเรียนและพักรักษาตัวที่บ้านเป็นระยะเวลา 7 วันจนกว่าจะหายเป็นปกติ (ใช้หน้ากากอนามัย) ทำความสะอาดราวบันได ลูกบิดประตู โต๊ะทานอาหาร คีบอร์ด เม้า ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และมีการเปิดประตูหน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกภายในห้องเรียน มีการคัดกรองเด็กนักเรียน ก่อนเข้าห้องเรียนทุกเช้า

32 ไข้สูงหลายวัน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องอืด มีจุดเลือดออกตามตัว อาจซึมหรือช็อค
หรือ ไปหาหมอแล้วพบว่าเป็นไข้เลือดออก

33 กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที เช็ดตัวลดไข้ และแนะนำให้ไปหาหมอ ป้องกันยุงกัดผู้ป่วย โดยทายากันยุงและนอนในมุ้งทั้งกลางวันและกลางคืน สำรวจลูกน้ำยุงลายในรัศมี เมตร รอบบ้านผู้ป่วย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

34 2. โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบในพื้นที่
ไข้ออกผื่นและปวดข้อ

35 2. โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบในพื้นที่
มีคนตายโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการคล้าย ๆ กันหลายคนในหมู่บ้าน เช่น ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ 2 ราย เกิดขึ้นหลังน้ำท่วม

36 กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที ค้นหาผู้ป่วยรายอื่นเพิ่มเติม (กรณีที่มีผู้ป่วยไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ 2 ราย เกิดขึ้นหลัง น้ำท่วม

37 โรคไข้หวัดนก

38 สงสัยโรคไข้หวัดนก เพื่อเฝ้าระวังโรค
1) สัตว์ปีกที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม มีการตายอย่างน้อย ร้อยละ 10 ใน 2 วัน หรือมีอัตราการกินอาหารและน้ำลดลงร้อยละ 20 ใน 1 วัน หรือ 2) สัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบหลังบ้าน มีอัตราการตายอย่างน้อย ร้อยละ 5 ใน 2 วัน 3) สัตว์ปีกตามข้อ 1) และ 2) แสดงอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้ - ตายกะทันหัน - อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก หน้าบวม น้ำตาไหล - อาการทางระบบประสาท เช่น ชัก คอบิด - ท้องเสีย หรือขนยุ่ง ซึม ไม่กินอาหาร ไข่ลด ไข่รูปร่างผิดปกติ หงอนเหนียงสีคล้ำ หรือ หน้าแข้งมีจุดเลือดออก

39 การดำเนินการ หากพบสัตว์ปีก สงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนก
แจ้ง จนท. รพ.สต. เฝ้าระวังโรคในคน แจ้ง ปศุสัตว์อำเภอ ตรวจสอบและควบคุมโรค ค้นหาผู้ป่วยโรคเชิงรุกในหมู่บ้าน ไข้สูง มีน้ำมูกไอ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย

40 3. เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในคน
ปลาตายจำนวนมาก ไก่ตายจำนวนมาก สุกรตายจำนวนมาก

41 3. เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในคน
ภาวะน้ำท่วม/น้ำหลาก และ มีชาวบ้านมีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง จำนวนหลายราย

42 3. เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในคน
โคลนถล่ม มีผู้ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต

43 กิจกรรมที่ควรดำเนินการ
ส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบทันที เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

44

45 ผู้แจ้งข่าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม)
เพื่อน เพื่อนบ้าน ผู้ร่วมงาน ครอบครัวผู้ป่วย ผู้ป่วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.เทศบาล ครู ตำรวจ ผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน อาสาสมัครอื่น ๆ เช่น อาสาสมัครปศุสัตว์ อปพร. อาสาชุมชน คลินิกเอกชน ร้านขายยา เจ้าของร้านค้าปลีก ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมออกกำลังกาย กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี พระในวัด

46 แนวทางการรายงานเหตุการณ์ผิดปกติ
อสม/อปท/เครือข่าย ลงพื้นที่/ตรวจสอบ/ประเมินเบื้องต้น ไม่ใช่ เป็นโรค/เหตุการณ์ ที่ควรต้องแจ้งข่าวหรือไม่ สิ้นสุด ใช่ หาข้อมูลเพิ่มเติม แจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

47 การหาข้อมูลเพิ่มเติม กรณีมีผู้ป่วย 1-2 ราย
มีอาการอย่างไรบ้าง เริ่มไม่สบายตั้งแต่เมื่อไหร่ หมอบอกว่าเป็นโรคอะไร (กรณีที่ไปหาหมอมาแล้ว) การรักษาที่ได้รับ เช่น นอนโรงพยาบาลหรือไม่ เป็นผู้หญิง หรือ ผู้ชาย อายุ อาชีพ ที่อยู่อาศัยจริง ๆ สถานที่ทำงาน / โรงเรียน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ตอนนี้เป็นอย่างไร มีใครที่บ้านหรือละแวกบ้านเป็นแบบนี้หรือไม่

48 การหาข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่มีผู้ป่วยหลายคน
ส่วนใหญ่มีอาการอะไรบ้าง เริ่มไม่สบายตั้งแต่เมื่อไหร่ หมอบอกว่าเป็นโรคอะไร (กรณีที่ไปหาหมอมาแล้ว) มีผู้ป่วยทั้งหมดกี่ราย และมีคนเสียชีวิต หรือไม่ ถ้ามีกี่ราย เป็นผู้หญิง /ผู้ชายกี่คน ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มอายุใดเป็นส่วนใหญ่ เช่น เป็นเด็ก คนชรา เกิดปัญหาที่ไหน เช่น หมู่บ้านไหน โรงเรียนอะไร

49 ตัวอย่าง การระบาดโรคอุจจาระร่วง

50 ประโยชน์ของการเฝ้าระวังเหตุการณ์
-พบเหตุการณ์ผิดปกติหรือการระบาดได้เร็วขึ้น ขณะที่ปัญหายังไม่ลุกลาม -สามารถใช้ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เมื่อการให้บริการรักษาพยาบาลหยุดชะงัก เช่น น้ำท่วมใหญ่ -ข้อมูลที่ได้ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ทันเหตุการณ์ -ส่งผลทำให้ประชาชนปลอดภัย มีสุขภาพดี

51 เหตุการณ์ผิดปกติที่ต้องแจ้งข่าว
ผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน มีหลายรายพร้อมๆกัน ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยเป็นโรคที่มีความสำคัญ เช่น ไข้เลือดออก อหิวาตกโรค ไข้หวัดนก เหตุการณ์ผิดปกติในสัตว์และสิ่งแวดล้อม 51

52 คำถามที่ต้องตอบเมื่อได้รับข่าว
เหตุการณ์ร้ายแรงหรือไม่ ข่าวเชื่อถือได้หรือไม่ แพร่ระบาดได้เร็วหรือไม่ เป็นประเด็นการเมืองหรือไม่ ปัญหาสุขภาพนี้ ผิดปกติหรือไม่ มีความกังวลในระดับนานาชาติหรือไม่ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ที่มา: Dr.Marjorie P. Pollack, ProMed Mail 52

53 ข่าวเชื่อถือได้ เนื่องจาก..........
แหล่งข่าว มีความน่าเชื่อถือ เช่น อสม ครูอนามัย มีการยืนยันตรงกันมากกว่า 1 แหล่งข่าว มีรายละเอียดของข่าวสารที่ตรวจสอบได้ มีพยานหลักฐาน หรือภาพถ่ายแสดง เหตุการณ์เชื่อมโยงกับปัญหาที่พบมาก่อน กรุณายกตัวอย่างเหตุการณ์ ที่เกิดในพื้นที่จริง เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่าย 53 53

54 เหตุการณ์ร้ายแรง เนื่องจาก..........
เป็นโรคร้ายแรง พิจารณาจาก มีคนตาย หรืออาการหนักและนอนโรงพยาบาล โรคที่รักษาไม่ได้หรือหายช้า ทำให้เกิดความพิการได้ ประชากรส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบหรือเสี่ยง เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือ ข่าวทีวี 54 54

55 ปัญหาสุขภาพนี้ผิดปกติ เนื่องจาก...........
โรคใหม่ในพื้นที่หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคเกิดนอกฤดูกาลหรือในกลุ่มเสี่ยงที่ต่างจากปกติ วิธีการติดต่อต่างไปจากเดิม หรือไม่ทราบ อาการแตกต่างจากโรคปกติที่เคยพบ มีผู้ป่วยในหมู่บ้านเหมือนที่เป็นข่าว 55 55

56 แพร่ระบาดได้เร็ว เนื่องจาก........
เป็นการติดต่อจากคนสู่คน เชื้อโรคมีระยะฟักตัวของโรคสั้น มีพาหะ รังโรค หรือ แมลงนำโรค ทำให้การ แพร่ระบาดเร็ว เกิดในที่แออัด มีประชากรหนาแน่น เช่น ค่าย อพยพ เรือนจำ 56 56

57 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เนื่องจาก....
เป็นสินค้า เช่น อาหารกระป๋อง เกี่ยวข้องกับการส่งออกหรือนำเข้า เกิดขึ้นในพื้นที่ท่องเที่ยว เกิดในคนวัยทำงาน ทำให้ขาดงาน มีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา 57 57

58 เป็นประเด็นการเมือง เนื่องจาก.......
ปัญหาเกิดในค่ายพักพิงชั่วคราว เกิดขณะที่มีการย้ายถิ่นของประชากรจำนวนมาก เกิดแถวพรมแดนระหว่างประเทศ นักการเมืองกลัวเป็นข่าว 58 58

59 มีความกังวลระดับนานาชาติ........
เกิดในแถบพรมแดนระหว่างประเทศ เป็นโรคที่แพร่ระหว่างประเทศได้ง่าย เกี่ยวข้องกับการค้าและการท่องเที่ยว 59 59

60 ภาพรวมของการทำงาน การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การประสานงาน
สนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

61 สรุปการทำงานร่วมกันในเครือข่าย
SRR T อำเภ อ ศูนย์ รับ แจ้ง ข่าว สอ. / รพ. สต. แหล่งข่าวในชุมชน ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น สอบสวน ตรวจสอบ แจ้งข่าว เหตุการณ์ผิดปกติในชุมชน

62 SRRT เครือข่ายระดับตำบล
กลุ่ม วัตถุประสงค์ สิ่งที่คาดหวัง อสม/เครือข่าย จนท. รพ.สต. SRRT อำเภอ แจ้งข่าว ตรวจสอบ สอบสวน รู้เร็ว รายงานเร็ว ควบคุมเร็ว 62

63 เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนา
มีศูนย์รับแจ้งข่าวที่ รพ.สต. บุคลากรเข้าใจขั้นตอนทำงานระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event-based surveillance) มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างใกล้ชิดในพื้นที่ สอ./รพ.สต. อสม. อบต./เทศบาล หน่วยงานอื่นๆ เช่น ปศุสัตว์ตำบล ครู สื่อมวลชน

64 สรุป ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่ระดับตำบล เป็นระบบเสริมการเฝ้าระวังระบบปกติ (รง.506) เพื่อช่วยให้ตรวจพบการระบาดได้เร็วขึ้น ศูนย์รับแจ้งข่าวที่รพ.สต. รับแจ้งเหตุการณ์เกิดโรคในคน และเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดในสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของคน หัวใจของความสำเร็จคือ ทุกเหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งต้องมีการตอบสนอง คือ มีการตรวจสอบข่าวและควบคุมโรค

65 หัวใจของความสำเร็จ ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์
ทุกเหตุรายงานมีความหมาย ต้องตอบสนอง

66 ขอขอบคุณ ขอขอบคุณ 66


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับตำบล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google