งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.
(ร่าง) ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 1 กย. 2557

2 ค่าใช้จ่าย รพ. (Hos. Expenditure)
ค่าแรง Labor Cost % ค่า Material Cost % ยา วัสดุ Lab วัสดุทันตกรรม วัสดุ X-Ray วัสดุการแพทย์ วัสดุสำนักงาน ค่าจ้างเหมา % ค่าสาธารณูปโภค %

3 ตัวอย่าง เรื่องยา มูลค่า ประมาณ 2.5 แสนล้าน ถึง 3 แสนล้าน
มูลค่า ประมาณ 2.5 แสนล้าน ถึง แสนล้าน 75 % จาก Original (PREMA) บริษัท 25 % จาก General (TPMA) บริษัท

4 ETHICS (จริยธรรม) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ สภาวิชาชีพ
เฉพาะเรื่อง (ส่งเสริมการขาย) เจ้าหน้าที่พัสดุ

5 กลไกขับเคลื่อน 1. นโยบาย - ธรรมาภิบาล - เพิ่มประสิทธิภาพ
1. นโยบาย - ธรรมาภิบาล - เพิ่มประสิทธิภาพ 2. ข้อมูล - Compare เขต/จว./ประเภท และขนาดสถานบริการ - Benchmark 3. CQI - แต่ละด้าน (ยา Lab ฯลฯ) - ธรรมาภิบาล - วัฒนธรรมองค์กร - ประสิทธิภาพ ค่ายา ค่า Lab/1 RW

6 กลไกขับเคลื่อน 4. คุณภาพ รพ. การติดตาม - การนำนโยบาย
- การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ - การเรียนรู้ พัฒนาตนเอง 5. ประเมินผล - ประจำงวด - ประจำปี - สัมพันธ์การส่งเสริมการขาย 6. บังคับใช้ - ให้รางวัล เชิดชูเกียรติ - การลงโทษ ผู้ละเมิด - การติดดาวผู้บริหาร

7 ระเบียบ ว่าด้วยการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา (ระเบียบแม่)
ประกาศ (ลูก) แนวทางบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา โดยคณะกรรมการฯ แนวทางจัดทำแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา

8 ความคาดหวัง กำหนดกระบวนการที่ควรดำเนินการก่อนการจัดซื้อจัดหายาตามระเบียบพัสดุฯ การดำเนินการที่เป็นระบบโปร่งใส ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับ มีการบริหารจัดการร่วมกันระดับจังหวัดและเขต เพิ่มประสิทธิภาพของระบบ

9 ข้อ 4 คำนิยาม “ส่วนราชการ” หมายความว่า กรมหรือส่วนราชการที่เรียกซื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

10 ข้อ 1 ชื่อระเบียบ ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546

11 ข้อ 4 คำนิยาม “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยบริการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งดำเนินการอันเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาล การควบคุม ป้องกันและกำจัดโรค การศึกษา การค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนการชันสูตรและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่า และให้หมายรวมถึงหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการดำเนินการในการจัดหาหรือควบคุมการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา

12 ข้อ 4 คำนิยาม “กลุ่มของหน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยบริการและหน่วยงาน ที่รวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการตามระเบียบนี้ตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย “ยา” หมายความว่า ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

13 ข้อ 4 คำนิยาม “เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา” หมายความว่าวัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ วัสดุเอกซเรย์ วัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ในทางการแพทย์ และให้หมายความรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยเฉพาะราย

14 ข้อ 5 การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการระดับหน่วยงาน ส่วนราชการ หรือดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วมระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต หรือกลุ่มของหน่วยงานของส่วนราชการ แล้วแต่กรณีโดยคณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะทำงานย่อยตามประเภทของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามความเหมาะสม

15 การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการของหน่วยงาน ให้ดำเนินการตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชนหรือระดับกองขึ้นไป ทั้งนี้การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วมตามวรรคหนึ่ง ในระดับอำเภอหรือจังหวัด คณะกรรมการและคณะกรรมการร่วมให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ผู้รวบรวมรายงาน วิเคราะห์ กำกับ และประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบนี้

16 หน่วยงาน ยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รพศ./ รพ.ชุมชน ระดับรพ. / จังหวัด รพ.สต
เป้าหมายข้อ 5 การบริหารจัดการ โดยคณะกรรมการ หน่วยงาน ยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รพศ./ รพ.ชุมชน PTC รพ PTCจังหวัด คณะกรรมการเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หรือ แบ่งกรรมการตามประเภทเวชภัณฑ์ เป็น วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุทันตกรรม วัสดุการแพทย์ ระดับรพ. / จังหวัด รพ.สต คณะกรรมการร่วมระดับอำเภอ หรือจังหวัด

17 องค์ประกอบคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ประธาน ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการหรือ ผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย กรรมการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้สั่งใช้ ผู้ใช้ และผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดหา หน่วยงาน กรรมการและเลขานุการ ผู้รับผิดชอบยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยานั้น ๆ

18 หน้าที่คณะกรรมการ กำหนดนโยบาย : กำหนดความต้องการ การจัดซื้อจัดหา การความคุมเก็บรักษา การเบิกจ่าย การใช้ และรวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัย จัดทำกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ฯ ควบคุมกำกับ การดำเนินการตามนโยบายและแผน สรุปรายงานผลการควบคุมกำกับ และวิเคราะห์ความเสี่ยงให้ผู้บังคับบัญชา

19 ข้อพิจารณาการดำเนินการ
การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ในระดับรพ/จังหวัด(รวม or แยกกลุ่มเวชภัณฑ์ ?) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

20 ข้อ 6 การจัดทำบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 เป็นผู้จัดทำให้สอดคล้องกับกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามวรรคสอง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานหรือส่วนราชการ ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้ส่งบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอนุมัติ

21 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาในจังหวัดที่มีความสอดคล้อง ลดหลั่นตามศักยภาพและระดับของหน่วยงาน รวมถึงกำหนดกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่จะมีการใช้ร่วมกันในหน่วยงานทุกระดับในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ เพื่อให้การใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน และเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการรับส่งต่อผู้ป่วย การจัดทำบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานสังกัดส่วนราชการให้เป็นไปตามที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด

22 เป้าหมายข้อ 6 การจัดทำกรอบ บัญชียา&เวชภัณฑ์ ที่ใช้ร่วมกันในทุกระดับ
รพศ. รพช. M รพช. F รพ.สต. นโยบาย “ ได้พบหมอ รอไม่นาน อยู่ใกล้ไกลได้ยาเดียวกัน”

23 ข้อ 7 การจัดทำแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี ให้หน่วยงานจัดทำและนำเสนอคณะกรรมการตามข้อ 5 หัวหน้าหน่วยงานเพื่อให้ความเห็นชอบและเสนอ หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย พิจารณาอนุมัติตามลำดับ จากนั้นให้ดำเนินการให้เป็นไป ตามแผน สำหรับหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคให้เสนอแผนการจัดซื้อฯ ต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุมัติ

24 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเสนอขอปรับแผนจัดซื้อฯ ให้เสนอผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง(นพ.สสจ.)พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติการปรับแผน แนวทางในการจัดทำแผนและปรับแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

25 เป้าหมายข้อ 7 การจัดทำแผนจัดซื้อยา&เวชภัณฑ์
ให้ทุกรพ. จัดทำแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี (รายละเอียดตามประกาศกระทรวงฯ) โดยกลุ่มงานที่รับผิดชอบยาและเวชภัณฑ์นั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผน นำเสนอคณะกรรมการตามข้อ 5 และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

26 เป้าหมายข้อ 7 การจัดทำแผนจัดซื้อยา&เวชภัณฑ์
ส่วนภูมิภาคให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้อนุมัติแผนและการปรับแผนเมื่อ ต้องการใช้ยา/เวชภัณฑ์ฯนอกแผน อัตราการใช้สูง>แผน, วงเงินเดิมไม่พอ

27 ข้อพิจารณาการดำเนินการ
รพ.จัดทำแผนจัดซื้อยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาปี 2558 ตามร่างประกาศแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน เสนอนพ.สสจ.อนุมัติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กำหนดรายละเอียดขั้นตอน ช่วงเวลาการเสนอขออนุมัติแผน ช่วงเวลา/ความถี่ในการขอปรับแผน เกณฑ์/เงื่อนไขมอบหน.หน่วยงานอนุมัติปรับแผนได้ เพื่อไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ แล้วแจ้งสสจ.ทราบ มิชักช้า

28 องค์ประกอบของแผน (1) รายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา (2) ประมาณการจัดซื้อประจำปี (3) ประเภทเงินที่จะจัดซื้อ (4) งวดในการจัดซื้อ

29 รูปแบบแผน

30 รวบรวมข้อมูลการใช้ย้อนหลัง 3 ปี
ประมาณการการใช้ในช่วงปีงบประมาณต่อไป ข้อมูลปริมาณคงเหลือยกมาในปีนี้ กำหนดปริมาณที่จะจัดซื้อ ข้อมูลราคาต่อหน่วย (ราคากลาง ราคาอ้างอิง ราคาจัดซื้อที่ผ่านมา 2 ปี ฯลฯ) ประมาณการ/กำหนดวงเงินการจัดซื้อ

31 การจัดทำแผนและการกำหนดวงเงินการจัดซื้อให้กำหนด
เป็นรายไตรมาส ดังนี้ ไตรมาสที่ 1 จัดซื้อในเดือน ตุลาคม - ธันวาคม ไตรมาสที่ 2 จัดซื้อในเดือน มกราคม – มีนาคม ไตรมาสที่ 3 จัดซื้อในเดือน เมษายน – มิถุนายน ไตรมาสที่ 4 จัดซื้อในเดือน กรกฎาคม – กันยายน สิ้นปี สรุปผลการจัดซื้อ (จำนวน / มูลค่า)

32 ดำเนินการจัดซื้อตามที่กำหนดในแผน
สรุปผลและควบคุมกำกับ รายไตรมาส ประเมินผลการดำเนินการตามแผน ในเดือนตุลาคม

33 ข้อ 8 หน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคที่ตั้งอยู่ในจังหวัดหรือตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน สามารถดำเนินการจัดหายาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่งมีมูลค่าสูงหรือมีปริมาณการใช้มากร่วมกันในระดับจังหวัดหรือเขตเดียวกันได้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม หน่วยงานสังกัดส่วนราชการเดียวกัน อาจดำเนินการจัดหายา ร่วมกันในกลุ่มของหน่วยงาน หรือส่วนราชการ หรือดำเนินการร่วมกับจังหวัดหรือเขต ในพื้นที่เดียวกัน ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม

34 สำหรับแผนบริหารจัดการร่วมของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาในระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับกลุ่มของหน่วยงาน ระดับส่วนราชการ ทั้งในเรื่องแผนการจัดซื้อร่วม ต่อรองราคาร่วม แผนการสำรองร่วม แผนการจัดการคลังร่วม เป็นต้น ให้ได้รับการอนุมัติจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงประจำเขต หรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย แล้วแต่กรณี หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดหา แผนการจัดซื้อร่วม ต่อรองราคาร่วม แผนการสำรองร่วม แผนการจัดการคลังร่วม เป็นต้น ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

35 เป้าหมายข้อ 8 การจัดการร่วมระดับจังหวัดและเขต
หลักการคือ ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที ใช้ร่วมกัน และมูลค่าสูง ให้ดำเนินการจัดซื้อร่วมกันในระดับจังหวัดหรือระดับเขต ยา มติคณะรัฐมนตรี 13 มีค 50 ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ สามารถดำเนินการซื้อร่วมระดับเขต ใช้สัญญาจะซื้อจะขายฯ มอบอำนาจรพ.ออกใบสั่งซื้อเองตามความต้องให้การ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที กสธ. กำลังขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ เหมือนยา หากยกเว้นแล้วจะแจ้งให้ทราบ

36 ข้อพิจารณาการดำเนินการ
กำหนดรายการยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา มูลค่าสูง เพื่อทำแผนจัดซื้อร่วมระดับจังหวัด กำหนดรายการ ต่อรองร่วมกันระดับจังหวัด แผนการ สำรองร่วม แผนการจัดการคลังร่วม

37 ข้อ 9 ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดทำคุณลักษณะเฉพาะของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากรณีจำเป็นบางรายการ และแจ้งเวียนให้ทราบให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ นำคุณลักษณะเฉพาะดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อต่อไป เป้าหมาย ไม่ให้ล็อก spec

38 ข้อ 10 ยา แต่ละรายการให้ดำเนินการจัดซื้อตามแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี โดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา หรือวิธีการจัดซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวงเงินที่กำหนดในแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี และทำสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ ยกเว้นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน ทั้งนี้ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด เป้าหมาย เมื่อทำแผนแล้ว ให้วางแผนดำเนินการจัดซื้อตามวงเงินในแผน ตามระเบียบพัสดุฯ ในช่วงเวลาที่ดำเนินการ ถ้ายาขาดจากคลัง ให้ซื้อวิธีตกลงราคาก่อน

39 ข้อ 11 วิธีดำเนินการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้หน่วยงานหรือส่วนราชการถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะรัฐมนตรี ประกาศและหนังสือแจ้งเวียนการปฏิบัติของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

40 ข้อ 12 ในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานจะต้องจัดระบบการควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างผู้ทำหน้าที่จัดซื้อและผู้ทำหน้าที่ควบคุมคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้รัดกุม สำหรับหน่วยงานที่มีความพร้อมอาจบริหารจัดการโดย แยกหน่วยจัดซื้อและหน่วยคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาออกจากกันเพื่อให้มีระบบตรวจสอบกันที่ชัดเจน

41 รายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูง วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษหรือยาที่มีส่วนประกอบเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ให้หน่วยงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และส่วนราชการ จัดระบบในการควบคุมกำกับและตรวจสอบที่เข้มงวด รัดกุม และรายงานเป็นลำดับชั้น เป็นประจำทุกเดือนหรือรายไตรมาสตามความเหมาะสม

42 เป้าหมายข้อ 12 ระบบควบคุมตรวจสอบ
แยกผู้รับผิดชอบ จัดซื้อ เก็บรักษา/เบิกจ่าย กุญแจคลัง 2 ชุด แยกผู้จัดเก็บกุญแจ ไม่เปิดประตูคลังตลอดเวลา จัดทำทะเบียนควบคุมเวชภัณฑ์ 2 ชุด แยกผู้รับใบเบิก และผู้จัดยาตามใบเบิก แยก การจ่ายของ/การลงบัญชีเบิกจ่าย วางระบบที่สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายจากคลังได้

43 ข้อ 13 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต และส่วนราชการ ต้องควบคุมและกำกับติดตามการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานในจังหวัดและเขตหรือส่วนราชการ โดยให้สรุปรายงานเป็นรายไตรมาส และรายงานให้กระทรวงสาธารณสุขทราบ ปีละ 2 ครั้ง หลักเกณฑ์และแนวทางการควบคุมกำกับติดตามและรายงานผลการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

44 ข้อ 14 ให้หน่วยงาน ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานจัดซื้อ การใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิ ใช่ยาให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมและสรุปผลการดำเนินการในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และจัดทำราคาอ้างอิงยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้หน่วยงานหรือส่วนราชการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการดำเนินการจัดซื้อต่อไป หลักเกณฑ์และแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานจัดซื้อ การใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

45 ข้อ 15 การสั่งใช้และการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 ของแต่ละหน่วยงาน จัดให้มีนโยบายและระบบการกำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ (Utilization Evaluation) ทั้งในด้านประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความปลอดภัย และรวมถึงการรายงานผลการกำกับ ประเมินตรวจสอบที่ชัดเจน

46 เป้าหมายข้อ 15 Utilization Evaluation
เพื่อมั่นใจว่า การสั่งใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เหมาะสม คณะกรรมการกำหนดรายการยา/เวชภัณฑ์ฯ ที่ต้องกำกับติตดามการใช้ จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้ กำกับติดตามว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ สรุปผลการประเมินเสนอคณะกรรมการ เพื่อการวางแผนการดำเนินการต่อไป

47 ข้อพิจารณาการดำเนินการ
คณะกรรมการเวชภัณฑ์ พิจารณา จัดให้มีนโยบาย ระบบ UE ในกลุ่มเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา

48 ข้อ 16 หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าส่วนราชการ ต้องประกาศแนวปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการจัดซื้อจัดหา และการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาไว้ในที่เปิดเผย และเป็นลายลักษณ์อักษร เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

49 ข้อ 17 การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาแต่ละประเภทให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด เป้าหมาย กสธ.จะประกาศแนวทางปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ฯ

50 ข้อ 18 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต และส่วนราชการ พึงจัดกลไกส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ให้มีการยกย่อง เชิดชูหน่วยงาน องค์กร หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์จริยธรรมที่ดี รวมถึงกลไกการกำกับการปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์จริยธรรม ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต และส่วนราชการวิเคราะห์ ประเมิน และรายงานการปฏิบัติที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมการขายต่อกระทรวงสาธารณสุขทั้งที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

51 ข้อ 19 เขต และส่วนราชการสามารถกำหนดแนวทางเพิ่มเติมเพื่อปฏิบัติตามระเบียบและประกาศ ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบและประกาศแนบท้ายระเบียบนี้

52 ข้อ 20 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขรักษาการและให้มีอำนาจในการออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ และในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

53 เขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
(ร่าง) ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการบริหารจัดการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาฯ พ.ศ.... 1. คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด คณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาฯ 10. 9. กรรมการ 2. 3. บัญชีรายการยา/เวชภัณฑ์ฯ แผนจัดซื้อประจำปี Utilization Evaluation จริยธรรม หลักเกณฑ์ฯ 6. 4. แผนจัดซื้อร่วม สำรองร่วม/คลังร่วม จัดซื้อตามระเบียบพัสดุฯ 5. กรอบบัญชีรายการยา/เวชภัณฑ์ฯร่วม อนุมัติ กำกับ จัดทำ 8. รายงาน กำกับ ติดตาม สสจ. จัดซื้อรวม 11. เขตสุขภาพ รายงาน ศูนย์ข้อมูลเวชภัณฑ์ กสธ. 7. กระทรวงสาธารณสุข กำกับ ติดตาม กำกับ ติดตาม

54 ขอบคุณค่ะ 54


ดาวน์โหลด ppt ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google