งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ A STUDY OF THE KNOWLEDGE AND THE UNDERSTANDING IN THE FOUR MAHASATIPATTHANA MEDITATION PRACTICE OF FOREIGN PRACTICIONER. โดย อัญชลี จตุรานน วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๗

2 สารบัญ บทที่ ๑ - บทนำ บทที่ ๒ - วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท บทที่ ๓ - วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในแนวทางของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) บทที่ ๔ - ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ บทที่ ๕ - สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ

3 บทที่ ๑ บทนำ ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ A STUDY OF THE KNOWLEDGE AND THE UNDERSTANDING IN THE FOUR MAHASATIPATTHANA MEDITATION PRACTICE OF FOREIGN PRACTICIONER

4 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันมีสำนักวิปัสสนากรรมฐานสำหรับ ชาวไทยและชาวต่างชาติเกิดขึ้นมากมาย ? แต่ชาวต่างขาติมีข้อจำกัดทั้งทางด้านภาษา และความไม่คุ้นเคยในวัฒนธรรมประเพณี แบบแผนในการใช้ชีวิตในแนวทางของพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวต่างชาติอาจจะมีข้อจำกัดที่จะทำความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ผู้วิจัยจึงมีความตั้งใจที่จะทำงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อศึกษาถึงความรู้และความเข้าใจใน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรม ชาวต่างชาติ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษามาตรฐานและพัฒนาการอบรมการ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ แก่ผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติให้เกิด ความเข้าใจที่ถูกต้อง R

5 วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของ สำนักปฏิบัติธรรมนานาชาติ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เพื่อศึกษาความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติและประโยชน์ของการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรม ชาวต่างชาติ สำนักปฏิบัติธรรมนานาชาติ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ๒. ๓. R

6 ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา - ครอบคลุมเรื่องวิธีการปฏิบัติและประโยชน์จากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตาม แนวสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และในแนวทางของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ขอบเขตด้านเอกสาร - ข้อมูลปฐมภูมิ (พระไตรปิฎก, อรรถกถา) และข้อมูลทุติยภูมิ (งานเขียนของ นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา และเอกสารของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) ขอบเขตด้านประชากร - ผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติที่เข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐ วัน ณ สำนักปฏิบัติธรรมนานาชาติ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ขอบเขตด้านพื้นที่ - สำนักปฏิบัติธรรมนานาชาติ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตด้านระยะเวลา - เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ในช่วงวันที่ ๑ ตุลาคม – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ - เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นระยะเวลา ๑๐ วัน ในช่วงวันที่ ๒๘ ตุลาคม – ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

7 รูปแบบการวิจัย การวิจัยเอกสาร ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ ในแนวทางของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) การวิจัยภาคสนาม ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ

8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) ประกอบด้วยชุดคำถามเพื่อวัดความรู้ใน ๔ ระดับแรก คือความรู้จำ ความเข้าใจ (การแปลความ การตีความ และการขยายความ) การปรับใช้ และการวิเคราะห์ แบ่งชุดคำถามออกเป็น ๒ ตอนคือ ตอนที่ ๑ เป็นชุดคำถามเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจใน วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๒ เป็นชุดคำถามเพื่อวัดความรู้และความเข้าใจ ในประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนว สติปัฏฐาน ๔ รายละเอียดคำถามแบบสัมภาษณ์ภาษาไทยในภาคผนวก ช และแบบสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษในภาคผนวก ซ

9 ผลการบันทึกจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในภาคผนวก ฌ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสังเกต (Observation Schedule) ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) เป็นการมีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์ (Complete Participant) จัดสภาพแวดล้อมสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ เป็นธรรมชาติ (Natural or Field Observation) ใช้รูปแบบการสังเกตแบบเป็นทางการ (Formal Observation) ใช้แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) ผลการบันทึกจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในภาคผนวก ฌ

10 แบบประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือวิจัยในภาคผนวก ฏ
การประเมินความน่าเชื่อถือของเครื่องมือวิจัย ได้รับการตรวจความสอดคล้องของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล กับวัตถุประสงค์การวิจัย (Index of Concordance, IOC) จาก ผู้เชี่ยวชาญ ๓ ท่าน พระมหาดวงจันทร์ คุตฺตสีโล, ดร., นธ.เอก, ปธ. ๕, พธ.บ. (ศาสนา), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies) ผศ. ดร. วิโรจน์ อินทนนท์, ปธ.๗, พธ.บ. (ศาสนา), M.A. (Philosophy), Ph.D. (Philosopy) รศ. สนิท สัตโยภาส, กศ.บ. (การศึกษาบัณฑิต), ศศ.ม. (การสอนภาษาไทย) ได้ค่าความสอดคล้องเฉลี่ย ๐.๘๗ จึงสรุปได้ว่าเครื่องมือเก็บ รวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือในเกณฑ์สูง สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวม ข้อมูลสำหรับงานวิจัยได้ แบบประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือวิจัยในภาคผนวก ฏ

11 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและในแนวทางของ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม

12 การประเมินความรู้และความเข้าใจ
การประเมินความรู้และความเข้าใจ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ยึดข้อเท็จจริงจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เพื่อให้ คะแนนแต่ละคำตอบจากการสัมภาษณ์ และ คำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ย ข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม นำมาอภิปรายเพิ่มเติมกับผลการวิจัยจากการ สัมภาษณ์ เปรียบเทียบความสอดคล้องของ ข้อมูลทั้ง ๒ ส่วน

13 ตัวอย่างการประเมินความรู้และความเข้าใจ
ตัวอย่างการประเมินความรู้และความเข้าใจ What is the meaning of acknowledging the points during the sitting meditation? (การกำหนดจุดในการนั่งสมาธิคืออะไร?) คำตอบที่สามารถประเมินได้ว่าเป็นคำตอบที่มีความรู้ความเข้าใจในคำถามนี้ ต้องอยู่ในกรอบแนวคิดที่ว่าการกำหนดจุดในการนั่งสมาธิคือ การกำหนดรู้จุดต่างๆของร่างกาย ซึ่งจำนวนจุดที่จะต้องกำหนดรู้จะเพิ่มขึ้นตามลำดับในระยะต่างๆ +1 Jackie Woodall Male American Meditator To draw focus (concentration) to specify point of bodily awareness (การกำหนดจุดในการนั่งสมาธิคือ การดึงสมาธิและความจดจ่อไปยังจุดที่กำหนดบนร่างกาย) คำตอบที่อยู่นอกเหนือหรือขัดแย้งกับกรอบแนวคิดนี้ หรือผู้ให้สัมภาษณ์ไม่สามารถให้คำตอบได้ จะถูกประเมินว่าผู้ให้สัมภาษณ์ไม่มีความรู้ความเข้าใจในคำถามนี้ Ron Kim Female South Korean Meditator To acknowledge where I am, what am I doing. (การกำหนดจุดในการนั่งสมาธิคือ การระลึกรู้ว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่) เกณฑ์การประเมินความรู้และความเข้าใจในภาคผนวก ฑ ตัวอย่างเอกสารการประเมินความรู้และความเข้าใจในภาคผนวก ฒ

14 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
บทที่ ๒ วิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ A STUDY OF THE KNOWLEDGE AND THE UNDERSTANDING IN THE FOUR MAHASATIPATTHANA MEDITATION PRACTICE OF FOREIGN PRACTICIONER

15 ความหมายของวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ความหมายของวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท) คือ หนทางปฏิบัติเพื่อการชำระจิตให้บริสุทธิ์หนทางหนึ่งใน พระพุทธศาสนา เป็นหนทางที่มุ่งเน้นการเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นสภาวะต่างๆ ตามความเป็นจริง วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเห็นสิ่ง ทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง มี ๔ หมวดคือ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตามระลึกรู้กาย) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตาม ระลึกรู้เวทนา) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตามระลึกรู้จิต) และ ธัมมา นุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตามระลึกรู้ธรรม) สติปัฏฐาน

16 วิธีปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกำหนดรู้กองรูปว่าเป็นเพียงกองรูป ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน และมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงาม มี ๖ หมวดย่อย หมวดอานาปานะ พิจารณาลมหายใจเข้าออก หมวดอิริยาบถ พิจารณาการยืน เดิน นั่ง นอน หมวดสัมปชัญญะ พิจารณาอิริยาบถย่อยต่างๆ หมวดปฏิกูลมนสิการ พิจารณาอวัยวะ และความสกปรกของร่างกาย หมวดมนสิการธาตุ พิจารณาธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย หมวดนวสิวถิกะ พิจารณาซากศพทั้ง ๙ วาระ และน้อมใส่ตนว่าวันหนึ่งตนเองก็ต้องเป็นเช่น ซากศพนี้

17 วิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกำหนดรู้เวทนา คือความรู้สึกต่างๆ ว่าเป็นเพียงเวทนา มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน โดยจำแนกเป็นความรู้สึกสุข (สุขเวทนา) ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) และความรู้สึกวางเฉย ไม่ทุกข์ ไม่สุข (อทุกขมสุขเวทนา)

18 วิธีปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกำหนดรู้จิตว่าเป็นอย่างไร มีความโลภ โกรธ หลง หรือไม่ หดหู่ ฟุ้งซ่านหรือไม่ มีสภาวะอัน ยิ่งใหญ่ที่ข่มกิเลสได้ (มหัคคตะ) หรือไม่ มีจิตอื่นยิ่งกว่า (จิตที่ยังวนเวียนอยู่ในกามาวจร คือตั้งแต่นรก จนถึงสวรรค์) หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า (จิตที่วนเวียนอยู่ในชั้นรูปพรหมและอรูปพรหม) จิตมีสมาธิ หรือไม่ จิตหลุดพ้น (จากกิเลสทั้งปวง) แล้วหรือไม่

19 วิธีปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
วิธีปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณานามธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิต มี ๕ หมวดย่อย คือ หมวดนิวรณ์ พิจารณาเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีทั้ง ๕ ประการ คือกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา หมวดขันธ์ พิจารณากองขันธ์ทั้ง ๕ ที่มีทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบกันเป็นชีวิต ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หมวดอายตนะ พิจารณาอายตนะภายในทั้ง และอายตนะภายนอกทั้ง รวมถึงสังโยชน์ (กิเลสเครื่อง ร้อยรัดให้ติดอยู่ในกองทุกข์ ) ที่เกิดขึ้นจากการที่อายตนะกระทบกันนี้ หมวดโพชฌงค์ พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ทั้ง ๗ ประการ ประกอบด้วย สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา ว่ามีในตนหรือไม่ พิจารณาเหตุแห่งการเกิดและเจริญ หมวดสัจจะ คือการพิจาณา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค * ให้พิจารณาให้เห็นสภาวะต่างๆตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งอาศัยกันเกิดขึ้น มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ ตัวตน ไม่สวยงาม เพื่อปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง *

20 ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท) ประโยชน์ในปัจจุบัน คือประโยชน์ทางด้านร่างกายจากการฝึกเจริญกายา นุปัสสนาสติปัฏฐานและการเดินจงกรม ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทนต่อ ความทุกข์ทางกายและทางใจมากขึ้น มีสมาธิที่เข้มแข็ง ประโยชน์ในภายภาคหน้า คือปัญญาที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ อันเป็นปัญญาแห่ง การรู้แจ้งเห็นสภาวะต่างๆตามที่เป็นจริง สลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน เพื่อ เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนให้ผู้ปฏิบัติได้ไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้นหากยังไม่บรรลุมรรคผล นิพพานในชาติปัจจุบัน รวมถึงการบรรลุมรรคผลตั้งแต่ลำดับแรกคือโสดาปัตติ ผลและพัฒนาขึ้นตามลำดับ ประโยชน์สูงสุด ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือ การเกิดปัญญาเห็นพระไตรลักษณ์ของทุกสรรพสิ่ง ละความยึดมั่นถือมั่นใน ตัวตน เข้าถึงซึ่งมรรคผลนิพพาน อันเป็นภาวะที่หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง

21 ในแนวทางของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
บทที่ ๓ วิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในแนวทางของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ A STUDY OF THE KNOWLEDGE AND THE UNDERSTANDING IN THE FOUR MAHASATIPATTHANA MEDITATION PRACTICE OF FOREIGN PRACTICIONER

22 วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๒ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อยู่ภายใต้การดูแลของพระครูภาวนาวิรัช (สุพันธ์ อาจิณสีโล) เจ้าอาวาส วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) มีการอบรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ด้วยวิธีการ กำหนดพองหนอ ยุบหนอ ให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างต่อเนื่องกันตลอดปี ไม่ขาดสาย

23 ความหมายของวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ความหมายของวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) “สติปัฏฐาน ๔ คือการเอาสติมากำหนดที่กาย เวทนา จิต และธรรม” มีการอธิบายขยายความใน ๒ ลักษณะดังนี้คือ อธิบายความหมายตามพุทธพจน์ อธิบายหมวดต่างๆในสติปัฏฐาน ๔ โดยยกพุทธพจน์จากมหาสติปัฏฐานสูตร อธิบายความหมายพร้อมวิธีปฏิบัติ อธิบายหมวดต่างๆในสติปัฏฐาน ๔ โดยนำมาปรับเข้ากับหลักการปฏิบัติของหมวดต่างๆ ตามแนวทางของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อันเป็นการอธิบายความที่รวมทั้งการอธิบายความหมายและอธิบายวิธีการปฏิบัติไว้ในคราวเดียวกัน เช่น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางกาย หรือรูปขันธ์ เช่น การเดินจงกรม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ และการกำหนด ลมหายใจเข้าออก รู้อาการพองยุบของท้อง เช่น พองหนอ ยุบหนอ

24 วิธีปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) เริ่มจากการกราบสติปัฏฐาน คือการกราบพระรัตนตรัย ด้วยการกำหนดรู้อาการทางกายอย่างละเอียด เป็นการ เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมกับการปฏิบัติอย่างเต็ม รูปแบบต่อไป จากนั้นจึงเดินจงกรมและนั่งสมาธิสลับกัน อย่างต่อเนื่องตลอดวัน เพิ่มลำดับขั้นในการปฏิบัติเป็น รายบุคคลตามความเหมาะสม นอกจากนี้ก็มีการกำหนด อิริยาบถย่อยระหว่างวัน คือการกำหนดอิริยาบถต่างๆที่ ร่างกายเคลื่อนไหวในระหว่างวันตั้งแต่ตื่นนอน ทำ กิจกรรมต่างๆระหว่างวันจนถึงเข้านอน โดยกำหนดรู้การ เคลื่อนไหวร่างกาย การคู้ การเหยียด และการขยับส่วน ต่างๆของร่างกายนั่นเอง * การกำหนดทุกๆอาการ ให้พิจารณารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า มี เพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน * กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน รายละเอียดวิธีการกราบสติปัฏฐาน การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ และการกำหนดอิริยาบถย่อย ในหัวข้อ ๓.๓.๑

25 วิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อมีเวทนา คือความรู้สึกใดๆปรากฏชัดขึ้นมาให้หยุด กำหนดอาการของอิริยาบถนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือ อาการพอง-ยุบ ขณะนั่งนั้นก่อน และให้มากำหนดรู้อยู่ที่ อาการของเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทั้งทางกายและ ทางใจ โดยกำหนดไปตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงขณะนั้น เช่น เจ็บหนอ เมื่อยหนอ ทุกข์ใจหนอ เฉยๆหนอ เป็นต้น โดยให้ตามกำหนดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเห็นว่าอาการของ เวทนานั้นเบาลง จางลง ก็ให้กลับมากำหนดอยู่ที่อาการ เดินหรือนั่งที่ปฏิบัติอยู่ในขณะนั้น * การกำหนดทุกๆอาการ ให้พิจารณารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า มี เพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน * เมื่อยหนอๆๆ ทุกข์หนอๆๆ เจ็บหนอๆๆ รายละเอียดวิธีการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในหัวข้อ ๓.๓.๓

26 วิธีปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตามกำหนดรู้อาการต่างๆที่ปรากฏทางจิต เช่น ในขณะที่กำลังกำหนดรู้อิริยาบถต่างๆอยู่นั้น บางครั้งจิต อาจจะไม่อยู่กับอาการที่กำลังกำหนดนั้น แต่ไปคิดถึง เรื่องราวต่างๆ ทั้งในอดีตและอนาคตบ้าง เรื่องดีบ้าง เรื่อง ไม่ดีบ้าง คิดถึงบุคคลต่างๆบ้าง หรือถูกความโลภ โกรธ หลงเข้าครอบงำบ้าง ให้ตามกำหนดรู้อาการต่างๆที่เกิด ขึ้นกับจิตในขณะนั้น เช่น “คิดถึงหนอ” “คิดหนอ” “โกรธหนอ” “อิจฉาหนอ” เป็นต้น จนกระทั่งเห็นว่า อาการนั้นๆของจิตลดน้อยลง จางลง หรือไม่ใส่ใจแล้ว ให้ กลับมากำหนดอยู่ที่อาการเดินหรืออาการพอง – ยุบ ของ ท้องขณะนั่งนั้น * การกำหนดทุกๆอาการ ให้พิจารณารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า มี เพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน * โกรธหนอๆๆ อิจฉาหนอๆๆ คิดหนอๆๆ รายละเอียดวิธีการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในหัวข้อ ๓.๓.๕

27 วิธีปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
วิธีปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตามกำหนดรู้ธรรม คือนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการที่ เกิดขึ้นในอารมณ์ของผู้ปฏิบัติ อันประกอบด้วยกาม ฉันทะ (ความพอใจในกามคุณ) พยาบาท (ความคิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) และวิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย) เมื่อนิวรณ์ตัวใดเกิดขึ้นก็ให้ตามกำหนดรู้ไปเรื่อยๆ เช่น “พอใจหนอ” “คิดร้ายหนอ” “หดหู่หนอ” “ฟุ้งซ่าน หนอ” “สงสัยหนอ” เป็นต้น จนอาการที่เกิดขึ้นดังกล่าว ข้างต้นเบาลง จางลง หรือไม่ใส่ใจแล้วให้กลับมากำหนด ที่อาการเดิน หรืออาการพอง – ยุบขณะนั่งนั้น * การกำหนดทุกๆอาการ ให้พิจารณารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า มีเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน * ง่วงหนอๆๆ ไม่พอใจหนอๆๆ ฟุ้งหนอๆๆ ชอบใจหนอๆๆ สงสัยหนอๆๆ รายละเอียดวิธีการปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในหัวข้อ ๓.๓.๗

28 ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) ประโยชน์ในปัจจุบัน คือประโยชน์จากการเดินจงกรมที่มีต่อร่างกายและการเพิ่มกำลังสมาธิ ประโยชน์จากการเจริญสติที่ทำให้สติมีกำลังมากขึ้น ผู้ปฏิบัติมีความสุขและมีความโน้มเอียง ไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ประโยชน์ในภายภาคหน้า คือการพัฒนาปัญญาละความเห็นผิดในการเห็นรูปนามเป็นสภาพ เที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นตัวตน อันเป็นการสะสมเหตุปัจจัยในการไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้น ประโยชน์สูงสุด (สอนตามพุทธพจน์) “ทางนี้เป็นทางเอก เป็นที่ไปของบุคคลเดียว ที่ไปแห่ง เดียว เพื่อความหมดจดพิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก ความร่ำไรรำพัน เพื่อ บรรลุถึงเญยธรรมคืออริยมรรคที่ขจัดเสียซึ่งความทุกข์และโทมนัส ให้ถึงซึ่งพระนิพพาน” คือ เมื่อผู้ปฏิบัติได้พัฒนาปัญญาไปตามลำดับจนสามารถปล่อยความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามได้ ทั้งหมด ก็จะบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาในที่สุด

29 การเกิดความรู้และความเข้าใจของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ (วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)) สุตมยปัญญา ช่วงการอบรมก่อนเข้าพิธีรับพระกรรมฐาน การดูการสาธิตวิธีการปฏิบัติในช่วงหลังพิธีรับพระกรรมฐาน การฟังการทบทวนความรู้ในการรวมกลุ่มปฏิบัติธรรมวันแรก การฟังพระวิปัสสนาจารย์อธิบายในช่วงการสอบอารมณ์ จินตามยปัญญา การสอบถามข้อสงสัยเพื่อทบทวนความรู้ในช่วงการรวมกลุ่มปฏิบัติในวันแรก การคิดพิจารณาในการรายงานผลการปฏิบัติและสอบถามข้อสงสัยกับพระวิปัสสนาจารย์ในการสอบอารมณ์ ภาวนามยปัญญา การเริ่มฝึกปฏิบัติในช่วงการสาธิตวิธีการปฏิบัติ การฝึกปฏิบัติด้วยตนเองทุกวัน

30 ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ
บทที่ ๔ ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ A STUDY OF THE KNOWLEDGE AND THE UNDERSTANDING IN THE FOUR MAHASATIPATTHANA MEDITATION PRACTICE OF FOREIGN PRACTICIONER

31 ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ งานวิจัยนี้ใช้หลักการประเมินความรู้และความเข้าใจด้วยการ ยึดข้อเท็จจริงตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและคำสอน ของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เป็นหลัก นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์และการสังเกตมา เทียบกับข้อเท็จจริงในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและคำ สอนของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ผู้วิจัยได้ประเมินคำตอบทุก ข้อของผู้ให้สัมภาษณ์ทุกท่านตามเกณฑ์การประเมินความรู้ และความเข้าใจในภาคผนวก ฑ ใส่คะแนนและคำนวณผลการวิจัยในตารางตามภาคผนวก ฒ ได้ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้

32 ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ระดับความรู้ความเข้าใจ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ดีมาก 61% 74% ดี 4% คะแนนเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่าง ปานกลาง 16% น้อย 19% คำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจมาก คำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจน้อย คำถามหลักๆเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คำถามเกี่ยวกับความหมายหรือคำจำกัดความ

33 ผลการวิจัยความรู้และความเข้าใจในประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ระดับความรู้ความเข้าใจ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ดีมาก 54% 71% คะแนนเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่าง ปานกลาง 32% น้อย 14% คำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจมาก คำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจน้อย คำถามหลักๆเกี่ยวกับประโยชน์ในปัจจุบันและ ประโยชน์ในภายภาคหน้า คำถามเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุด

34 สรุป อภิปรายผลการวิจัย
บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ A STUDY OF THE KNOWLEDGE AND THE UNDERSTANDING IN THE FOUR MAHASATIPATTHANA MEDITATION PRACTICE OF FOREIGN PRACTICIONER

35 สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยเรื่องความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตาม แนวสติปัฏฐาน ๔ ได้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคือร้อยละ ๗๔ ของ คะแนนเต็ม อยู่ในเกณฑ์มีความรู้ความเข้าใจในระดับดี มีกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ และความเข้าใจในระดับดีมากจำนวนร้อยละ ๖๑ ระดับดีจำนวนร้อยละ ๔ ระดับ ปานกลางจำนวนร้อยละ ๑๖ และระดับน้อยจำนวนร้อยละ ๑๙ ผลการวิจัยเรื่องความรู้และความเข้าใจในประโยชน์ของการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ได้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดคือร้อยละ ๗๑ ของคะแนนเต็ม อยู่ในเกณฑ์มีความรู้ความเข้าใจใน ระดับดี มีกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้และความเข้าใจในระดับดีมากจำนวนร้อยละ ๕๔ ระดับปานกลางจำนวนร้อยละ ๓๒ และระดับน้อยจำนวนร้อยละ ๑๔

36 ผลบันทึกจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
อภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัย จากการสัมภาษณ์ ผลบันทึกจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม และปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่ได้รับการอบรมมา สอดคล้องกับผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดี กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการให้นิยามความหมายของวิธีการน้อย แต่ก็สามารถ อธิบายวิธีการปฏิบัติได้ถูกต้อง ซึ่งมีประโยชน์มากกว่าการที่รู้คำนิยามความหมายแต่ไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจในประโยชน์สูงสุดของการปฏิบัติในระดับน้อย ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า ความรู้และความเข้าใจในประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายภาคหน้าก็มีผลมากพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติ มีแรงจูงใจและความตั้งใจที่จะฝึกปฏิบัติต่อไปอย่างต่อเนื่อง และศึกษาหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ มากขึ้นต่อไปในอนาคต

37 ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) สามารถให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติเพิ่มเติมในชุดคำถามที่มีผลการวิจัย สรุปว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์น้อยด้วยการให้ความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติได้ในหลายโอกาส เช่น ๑.) ความหมายของการกำหนดระยะการเดิน ๒.) ความหมายของการกำหนดจุดในการนั่งสมาธิ ๓.) การกำหนดอิริยาบถย่อยมีวิธีการอย่างไร ๔.) ความหมายของ กาย เวทนา จิต และธรรม ๕.) ประโยชน์สูงสุดของการปฏิบัติ การให้โอวาทหลังพิธีรับพระกรรมฐาน ในระหว่างการสอบอารมณ์ การแจกเอกสารรายละเอียดหลังจบการฝึกอบรม

38 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป การเลือกวิธีการเก็บข้อมูล - ผู้วิจัยสามารถเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า ๑ วิธี โดยอาจจะใช้ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์หรือการสำรวจเป็นหลักในการประเมินผลการวิจัย และใช้ข้อมูลจากการสังเกตแบบ มีส่วนร่วมเป็นข้อมูลเสริมในการอภิปรายผลการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง - ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลว่าช่วงเวลานั้นๆมีจำนวนกลุ่ม ตัวอย่างเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นจำนวนเพียงพอหรือไม่ และคำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆที่อาจเกิดขึ้นใน กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล - หากผู้ทำวิจัยมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และไม่สามารถดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ได้ ก็ควรเลือกใช้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ และเสนอแนะให้ใช้การเก็บ รวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูล ด้วยวิธีหลักไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์หรือการสำรวจก็ตาม

39 ข้อเสนอแนะทางเลือกหัวข้อวิจัย
ข้อเสนอแนะทางเลือกหัวข้อวิจัย ศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในพระไตรปิฎกกับคำสอนของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เปรียบเทียบความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมและผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติที่ไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม ศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ศึกษาแรงจูงใจในการมาฝึกอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ศึกษาความพึงพอใจในการฝึกอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

40 กิตติกรรมประกาศ พระครูพิพิธสุตาทร, ดร. และ ผศ. ดร. เทพประวิณ จันทร์แรง
พระมหาดวงจันทร์ คุตสีโล, ดร. รศ.สนิท สัตโยภาส และ ดร.วิโรจน์ อินทนนท์ พระครูภาวนาวิรัช เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เพื่อนร่วมรุ่นพุทธศาสตรมหาบัณฑิตรุ่นที่ ๑๕ เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยทุกท่าน นายวัชระ และนาง กิซเซลา จตุรานน คุณสุมาลี จตุรานน พระนาวี อธิจิตโต (จตุรานน) ขอกราบขอบพระคุณ อานิสงส์และประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยนี้ ขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และ สังฆบูชา ขออุทิศผลบุญนี้แด่บิดามารดาผู้ล่วงลับ ครูอาจารย์ทุกท่านและสรรพสัตว์ทั้งหลายในทุกภพภูมิ ขอให้ทุกท่านได้มีโอกาสปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พัฒนาจิตใจให้ถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพานโดยทั่วกัน

41 ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารงานวิจัยเต็มรูปแบบ ตารางบทสัมภาษณ์ และคะแนนประเมิน เอกสารสรุปย่องานวิจัย งานนำเสนอในรูปแบบ พาวเวอร์พอยท์ งานนำเสนอในรูปแบบวีดีโอ


ดาวน์โหลด ppt ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google