งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายงานการศึกษากำหนดกรอบแนวทาง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายงานการศึกษากำหนดกรอบแนวทาง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายงานการศึกษากำหนดกรอบแนวทาง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย
จัดทำโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำ สภาผู้แทนราษฎร พฤศจิกายน ๒๕๕๑

2 สรุปกรอบกฎหมาย ภารกิจ และหน้าที่ของหน่วยงาน
2

3 กฎหมาย ภารกิจ หน้าที่ของหน่วยงาน
๘.๑ สรุปกรอบนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กฎหมาย ภารกิจ หน้าที่ของหน่วยงาน บทบาทตามภารกิจของหน่วยงานในแต่ละกระทรวง ควรจัดแบ่งตามกลุ่มภารกิจ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ที่อยู่ข้ามกระทรวงให้สามารถทำงานร่วมกันในเชิงปฏิบัติได้ โดยแบ่งกลุ่มภารกิจ เป็น ๘ กลุ่ม ได้แก่ (๑) นโยบาย การประเมิน และติดตาม (๒) น้ำต้นทุน ป่าต้นน้ำ พื้นที่ต้นน้ำ บึง สิ่งแวดล้อม (๓) ระบบชลประทานหลัก (๔) ระบบชลประทานรอง (๕) ระบบการจัดการน้ำชุมชน (๖) ระบบบริการน้ำประปาเพื่ออุตสาหกรรม (๗) ระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๘) ระบบสนับสนุน จำเป็นต้องมีกฎหมายที่เป็นแม่บทในการจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะใช้ชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ....” ในรายงานฉบับนี้ นำเสนอเพียงร่างเบื้องต้น จึงควรจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างเพียงพอ

4 กฎหมาย ภารกิจ หน้าที่ของหน่วยงาน(ต่อ)
๘.๑ สรุปกรอบนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กฎหมาย ภารกิจ หน้าที่ของหน่วยงาน(ต่อ) ควรมีองค์กรในระดับนโยบาย มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” เป็นผู้จัดทำนโยบายและมาตรการ โดยมี “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” เป็นเลขานุการ ในการรวบรวมข้อมูล และติดตามประเมินผล เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ และระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ควรต้องมีการทบทวนนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับแนวทางในร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ ที่จะออกใช้ในอนาคต หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรเตรียมการทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่จะปรับทัศนคติและบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางที่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและได้ผ่านกระบวนการเป็นกฎหมาย

5 การจัดกลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำ
1. นโยบาย การประเมิน และติดตาม สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ 2. น้ำต้นทุน ป่าต้นน้ำ พท.ต้นน้ำ บึง สิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมประมง กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ 3. ระบบชลประทานหลัก กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ 4. ระบบชลประทานรอง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 5. ระบบการจัดการ น้ำชุมชน การเคหะแห่งชาติ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรมการปกครอง กรมโยธาธิการและผังเมือง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 8. ระบบสนับสนุน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ส่วนราชการอิสระ/ รัฐวิสาหกิจ 6. ระบบบริการน้ำประปา น้ำเพื่ออุตสาหกรรม การประปานครหลวง กรมโรงงานอุตสาหกรรม การประปาส่วนภูมิภาค การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม รัฐวิสาหกิจ 7. ระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แนวทางการแบ่งกลุ่มภารกิจออกเป็น ๘ กลุ่ม ตามภารกิจหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และพิจารณาบทบาท หน้าที่หลักตามกฎหมายของหน่วยงานต่างที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง เพื่อจัดหน่วยงานต่างๆ นั้น โอนภารกิจ อบจ. อบต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดกลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำ

6 บทที่ ๓ หน่วยงาน ภารกิจ และ พรบ. กฎระเบียบเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... หลักการและเหตุผล ความทั่วไป ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ (กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิดเป็นที่ราชพัสดุ(1) มีคณะกรรมการที่ราชพัสดุทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการในการปกครองดูและ บำรุงรักษาและจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ) หมวด ๑ สิทธิในทรัพยากรน้ำ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ) หมวด ๒ องค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ให้ประชาชนรวมตัวกันจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน) หมวด ๓ องค์กรผู้ใช้น้ำ กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๔๘ (กำหนดประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์)

7 การพัฒนา ฟื้นฟู คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๑ (มีคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่พิจารณาแผน และจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) หมวด ๔ นโยบายทรัพยากรน้ำ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๐ (2) ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำ แผนการจัดการคุณภาพน้ำ ออกกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ประกาศกำหนดเขตการอนุรักษ์ดินและน้ำ) พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๔๕๖ (ห้ามปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งใดล่วงล้ำลำน้ำ รวมทั้งห้ามมิให้ผู้ใดเท ทิ้ง หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้หิน กรวด ทราย ดิน โคลน อับเฉา สิ่งของ หรือสิ่งปฏิกูลใด ๆ ลงในแม่น้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี) หมวด ๕ การพัฒนา ฟื้นฟู คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องมาจากน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๔๗ (กำหนดนโยบาย และจัดทำแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ) พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ (กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และควบคุมการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และห้ามการเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษลงไปในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำหรือทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษ)

8 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทางน้ำชลประทาน
พระราชบัญญัติชลประทานราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๘๒ (จัดการควบคุมการชลประทานที่ราษฎรจัดทำขึ้น) หมวด ๖ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทางน้ำชลประทาน พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ. ๒๔๘๔ (ส่งเสริมและควบคุมการชลประทานที่รัฐจัดทำขึ้น รวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ และการคมนาคมทางน้ำในเขตชลประทาน) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค) หมวด ๗ การบริหารจัดการน้ำท้องถิ่น พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ (ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะในท้องถิ่น จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๓๕ (คณะกรรมการน้ำบาดาล มีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ วิธีการต่าง ๆ ในการเจาะน้ำบาดาล รวมถึงการอนุรักษ์น้ำบาดาล และกำหนดอัตราค่าน้ำบาดาล ฯ ) หมวด ๘ การบริหารจัดการน้ำ ใต้ดิน หมวด ๙ การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ (กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ) หมวด ๑๐ การป้องกันและการแก้ไขภาวะวิกฤตน้ำ

9 การประเมินและติดตามผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
หมวด ๑๑ การประเมินและติดตามผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หมวด ๑๒ กองทุนทรัพยากรน้ำ หมวด ๑๓ ความรับผิดทางแพ่งในกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (กำหนดความรับผิดทางแพ่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ) ร่างพระราชบัญญัตินโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. หมวด ๑๔ บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล


ดาวน์โหลด ppt รายงานการศึกษากำหนดกรอบแนวทาง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google