งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
จัดทำโดย นางสาวพรนภา จักสาน นางสาวจิรัชญา เมืองมูล

2 หลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในกันปัจจุบัน เกิดจาการค้นคว้า ทดลอง และค้นพบ ของนักวอทยาศาสตร์ เมื่อประมาณพุทธศักราช 2374 คือ ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) และโจเซฟ เฮนรี่ (Joseph henry) โดยใช้วิธีการหมุดขดลวด ตัวนำเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็กจะมีแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำปรากฏที่ปลาย ของขดลวดตัวนำ และให้ลวดตัวนำเคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกันเข็มของกัล วานมิเตอร์จะกระดิกไปทิศทางหนึ่งซึ่งตรงข้ามกัน กระแสที่ไหลกลับไป กลับมา ดังกล่าว คือ หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternation Current Generator)

3 การเกิดรูปคลื่นไซน์ ในสภาวะปกติเส้นแรงแม่เหล้กจะเคลื่อนที่จากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้ โดยจะมี ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กมากที่สุดบริเวณกึ่งกลางขั้ว ดังนั้น เมื่อขดลวด ตัวนำเคลื่อนที่ตัดผ่านบริเวณกึ่งกลางขั้ว จะเกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำสูงสุด

4 คาบเวลา คาบเวลา (Period) หมายถึง ช่วงเวลาที่เกิดรูปคลื่นครบ 1 ไซเกิล(ทั้งซีกบวกและ ซีกลบ) คาบเวลาใช้สัญลักษณ์ T มีหน่วยเป็นวินาที (Second ; s) แต่ในทางปฏิบัติ โดยทั่วไป อาจจะมีใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กลง ได้แก่ Mill Second (ms) vเป็นต้น

5 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าคืออะไร
Generator หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการทำงาน เมื่อมีสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดผ่านขดลวด หรือขดลวดเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กก็จะได้ไฟฟ้าออกมา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วนคือ ส่วนที่สร้างสนามแม่เหล็ก เรียกกว่า ฟิลด์(Field)และส่วนที่สร้างแรงดันไฟฟ้าเรียกว่าอาเมเจอร์ (Armature)

6 ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ฟิลด์จะเป็นส่วนที่อยู่กับที่ อาเมเจอร์จะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ แต่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ฟิลด์และอาเมเจอร์ สามารถเป็นได้ทั้งส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่หมุน โดยในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก จะสามารถสร้างได้ทั้งแบบฟิลด์และอาเมเจอร์หมุน แต่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ จะสร้างได้แต่แบบอาเมเจอร์อยู่กับที่เท่านั้น เพราะจะมีปัญหาน้อยกว่าแรงดันที่เกิดขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองตัวคือ ความเร็วรอบและเส้นแรงแม่เหล็ก

7 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเราสามารถเพิ่มแรงดันไฟฟ้าขึ้นได้โดย การปรับค่าความเข้มของสนามแม่เหล็ก และเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องกำเนิด แต่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับการเพิ่มแรงดันโดยการเพิ่มความเร็วไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะจะทำให้ความถี่ของแรงดันไฟฟ้าที่ได้เปลี่ยนแปลงไป สามารถทำได้เพียงการปรับความเข้มของสนามแม่เหล็กเท่านั้น


ดาวน์โหลด ppt หลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google