งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การยกระดับคุณภาพ กศน. ๑. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ ๒. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การยกระดับคุณภาพ กศน. ๑. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ ๒. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 การยกระดับคุณภาพ กศน. ๑. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ ๒. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ๓. ยกระดับคุณภาพการศึกษาสายอาชีพ และ“ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน”

3

4 ๑. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ เป้าหมาย ๑) กศน. ตำบลและสถานศึกษาทุกแห่ง มีโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ ICT ที่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ๒) กศน. ตำบลและสถานศึกษาทุกแห่ง มีระบบการบริหารจัดการ และฐานข้อมูลสื่อ ICT ที่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓) กศน. ตำบลและสถานศึกษาทุกแห่งสามารถใช้ ICT ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการ ๔) บุคลากร กศน. ทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้และให้บริการทางด้าน ICT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 ยุทธศาสตร์ ๑) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ด้าน ICT เพื่อให้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ๒) พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพ ๓) พัฒนาสื่อ ICT ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียน ๔) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาคุณภาพด้านการผลิต การเผยแพร่ และการให้บริการสื่อ ICT เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ๕) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก ICT ในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความคล่องตัว ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างรวดเร็ว

6 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ด้าน ICT เพื่อให้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
แนวทางการขับเคลื่อน ๑) ประสานความร่วมมือกับกระทรวง ICT เพื่อวางโครงข่าย Internet ความเร็วสูงและจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้กับ กศน. ตำบล และสถานศึกษา กศน. ทุกแห่ง ๒) ดำเนินงาน/ประสานงานกับ กสทช. เพื่อขอรับการอนุญาตให้ใช้ช่องทางเผยแพร่รายการวิทยุเพื่อการศึกษา (E–Radio Network) และโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Free ETV) ด้วยระบบดิจิตอลแบบสาธารณะ เพื่อสามารถให้บริการกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุม ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ๓) พัฒนา กศน. ตำบลและสถานศึกษาให้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ ICT ที่จำเป็นเพื่อให้บริการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เครื่องเล่น VCD / DVD

7 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้าน ICT ให้มี
ประสิทธิภาพ แนวทางการขับเคลื่อน ๑) วางระบบบริหารจัดการ / ฐานข้อมูลสื่อ ICT เพื่อการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ๒) มีการจัดทำแผนงานบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน ในแต่ละพื้นที่ เพื่อการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการให้บริการ ICT แก่กลุ่มเป้าหมาย ๓) ประสานความร่วมมือกับ กสทช. รวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับการยกเว้นหรือลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร/เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำหรับส่วนราชการด้านการศึกษา (Education Rate :E - Rate) ๔) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดูแลงานด้าน ICT ของ กศน. ตำบล / สถานศึกษา อย่างชัดเจน

8 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาสื่อ ICT ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย มีเนื้อหา
สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียน แนวทางการขับเคลื่อน ๑) บูรณาการแผนงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสื่อ ICT ร่วมกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์หลักสูตรและการผลิตสื่อ ICT สู่การนำไปใช้เพื่อจัดการเรียนการสอน ตลอดจนกระบวนการประเมินผล ๒) ส่งเสริมให้เครือข่าย ภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ICT ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง ๓) จัดทำคลังความรู้สื่อ ICT โดยให้หน่วยงานระดับจังหวัดทำหน้าที่คัดกรองความถูกต้องของเนื้อหา

9 ยุทธศาสตร์ : ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาคุณภาพด้านการผลิต
การเผยแพร่และการให้บริการสื่อ ICT เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวทางการขับเคลื่อน ๑) กำหนดให้ กศน. ตำบล และสถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการสำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการ การใช้บริการ และความต้องการ ด้าน ICT อย่างต่อเนื่อง ๒) ส่งเสริมการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการผลิต การเผยแพร่ และการให้ บริการ ICT ๓) ส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงาน สถานศึกษา กศน. ในการขอรับการจัดสรรเงินทุนจากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสำรวจวิจัยด้าน ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต เผยแพร่และให้บริการ ICT ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

10 ยุทธศาสตร์ : ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก ICT ในการส่งเสริม
การศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความคล่องตัว ตอบสนองความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างรวดเร็ว แนวทางการขับเคลื่อน พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทาง ทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่นๆ เช่น Application ต่างๆ บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet, DVD, CD, และ MP3 เป็นต้น ตลอดจนประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อาทิ Facebook, line, WhatsApp, Instagram และ youtube เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้อย่างทันสมัย ทันเวลา สะดวก รวดเร็ว คล่องตัวและเป็นไปตามความต้องการ

11 ๒. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
๒. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป้าหมาย ๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลทดสอบ N-Net สูงขึ้นร้อยละ ๑๐ ของค่าเฉลี่ยในภาคเรียนที่ผ่านมา ๒) ประชากรมีอัตราการรู้หนังสือไทย อ่านออก เขียนได้ร้อยละ ๑๐๐ ๓) สถานศึกษามีการเตรียมผู้เรียนสำหรับส่งต่อให้เข้ารับการศึกษาระดับอาชีวศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนในระดับฝีมือ ๔) ผู้เรียนมีคุณภาพเพิ่มขึ้นในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และความเป็นพลเมือง รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ๕) คุณภาพการศึกษานอกระบบได้รับการยกระดับต่อยอดองค์ความรู้สู่นวัตกรรมทางการศึกษา

12 ยุทธศาสตร์ ๑) ระดมสรรพกำลังขับเคลื่อนคุณภาพ
๒) เร่งปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ๓) เสริมสร้างและพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษานอกระบบ ๔) พัฒนาระบบการติดตาม ประเมิน และวิจัย การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในเชิงมุ่งผลสัมฤทธิ์

13 ยุทธศาสตร์ : ระดมสรรพกำลังขับเคลื่อนคุณภาพ
แนวทางการขับเคลื่อน ๑) กำหนดนโยบายปีแห่งการขับเคลื่อนคุณภาพภายใต้สโลแกน “กศน.ยุคใหม่ ยกระดับคุณภาพสู่สากล” ๒) ขับเคลื่อนการพัฒนาครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ๓) พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามบริบทของจังหวัด พัฒนาครู กำกับ ติดตาม ประเมินผลการขับเคลื่อนคุณภาพ ๔) กำหนดมาตรการให้การยกระดับผลสัมฤทธิ์เป็นตัวชี้วัดของหน่วยงาน/สถานศึกษา ๕) สถานศึกษาจัดทำบันทึกข้อตกลง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบ N-Net

14 ยุทธศาสตร์ : เร่งปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
แนวทางการขับเคลื่อน ๑) ทบทวนแนวคิด เป้าหมายของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และสร้างความเข้าใจกับหน่วยงาน สถานศึกษา ครู ภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการศึกษา ๒) ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน กศน. ที่มีศักยภาพ มีความรู้และประสบการณ์ มีภารกิจงานประจำ และต้องการยกระดับการศึกษา ๓) จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านโครงงาน (Project based) เน้นการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา โดยผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง

15 ยุทธศาสตร์ : เร่งปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
แนวทางการขับเคลื่อน ๔) กำหนดการเรียนรู้แบบ กศน. โดยนำวิธีการเรียนรู้แบบต่างๆ มาใช้ร่วมกันในแต่ละรายวิชา คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง พบกลุ่ม การสอนเสริม การใช้โครงงานเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ ๕) พัฒนาสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเอง มีแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน รวมถึงการทดสอบท้ายบทเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้ และจัดให้ผู้เรียนอย่างเพียงพอ ๖) พัฒนาและบริหารจัดการระบบ TV กศน. /โทรทัศน์ช่อง ติวเตอร์ กศน. อินเทอร์เน็ต/วิทยุ ให้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้และให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

16 ยุทธศาสตร์ : เร่งปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
แนวทางการขับเคลื่อน ๗) เสริมสร้าง และพัฒนาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายของหลักสูตร การวิเคราะห์ผู้เรียน ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้เทคโนโลยี จัดการเรียนรู้และประสานภาคีเครือข่าย ๘) กำหนดมาตรการให้นำการสอนเสริม และการเข้าค่ายวิชาการมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีแผนการสอนเสริมที่ชัดเจน และมีปฏิทินการจัดค่ายวิชาการอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง ๙) พัฒนาระบบสะสมผลการเรียนและ e-Exam ให้มีมาตรฐานเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชาชน

17 ยุทธศาสตร์ : เร่งปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
แนวทางการขับเคลื่อน ๑๐) เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมมือกันในการจัดการศึกษา ให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

18 ยุทธศาสตร์ : เสริมสร้างและพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ
การศึกษานอกระบบ แนวทางการขับเคลื่อน ๑) เสริมสร้าง และพัฒนาผู้บริหารให้เข้าใจเป้าหมายของการจัดการศึกษา ภาวะผู้นำทางวิชาการ การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในองค์กร ๒) บริหารจัดการปัญหาครูที่ต้องรับผิดชอบผู้เรียนจำนวนมาก ประกอบกับผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทำให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ ๓) กำหนดมาตรการให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

19 ยุทธศาสตร์ : เสริมสร้างและพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ
การศึกษานอกระบบ แนวทางการขับเคลื่อน ๔) สรรหาครูต้นแบบแต่ละรายวิชา เพื่อเป็นแกนนำในการถ่ายทอดเทคนิค และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ๕) สร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน ๖) พัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

20 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาระบบการติดตาม ประเมิน และวิจัย การ
ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในเชิงมุ่งผลสัมฤทธิ์ แนวทางการขับเคลื่อน ๑) ใช้กระบวนการติดตาม ประเมิน และวิจัย เป็นเครื่องมือในการแสวงหายุทธวิธีการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบในเชิงผลสัมฤทธิ์ ๒) สร้างความเข้าใจและความตระหนักให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ๓) มีระบบการประเมินผลประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้

21 ๓. ยกระดับคุณภาพการศึกษาสายอาชีพ และ “ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน”
๓. ยกระดับคุณภาพการศึกษาสายอาชีพ และ “ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน” เป้าหมาย ๑) จัดให้มี ๑ จังหวัด ๑ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนครบวงจร ๒) จัดให้มี ๑ อำเภอ ๑ สุดยอดอาชีพ กศน. ๓) พัฒนาการฝึกอบรมอาชีพเพื่อผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ๔) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนหลักสูตรอาชีพ กศน. ๕) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพ

22 ยุทธศาสตร์ ๑) พัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน ๒) พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสายอาชีพของ กศน.เพื่อการเข้าสู่อาชีวศึกษา

23 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพ
ชุมชนไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน แนวทางการขับเคลื่อน ๑) พัฒนาบุคลากร กศน. ให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวางแผนและการบริหารทางธุรกิจ และมีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยทางการตลาดให้กับกลุ่มเป้าหมาย ๒) ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการจัดการเรียนรู้/การฝึกอบรม ที่เน้นการปฏิบัติจริง ๓) ส่งเสริม พัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน และเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ครบวงจรอย่างแท้จริง

24 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพ
ชุมชนไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน แนวทางการขับเคลื่อน ๔) ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของหน่วยงานและสถานศึกษาต่างๆ ตลอดจน เอกชน และภาคีเครือข่ายอื่นในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชน ๕) จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ

25 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพ
ชุมชนไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน แนวทางการขับเคลื่อน ๖) จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชนและความต้องการของตลาด

26 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสายอาชีพของ กศน.
เพื่อการเข้าสู่อาชีวศึกษา แนวทางการขับเคลื่อน ๑) พัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของตลาด ศักยภาพของพื้นที่ และทิศทางการพัฒนาประเทศ ๒) ประสานความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษา และ สถานประกอบการในลักษณะไตรภาคีเพื่อการส่งต่อผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของ กศน.เข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

27 ยุทธศาสตร์ : พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสายอาชีพของ กศน.
เพื่อการเข้าสู่อาชีวศึกษา แนวทางการขับเคลื่อน ๓) พัฒนาระบบแนะแนวการศึกษาให้นักศึกษาเห็นช่องทางการศึกษาต่อ โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษาและการประกอบอาชีพ ๔) ส่งเสริม สนับสนุนการนำความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้อาชีพ ไปเทียบระดับการศึกษา และเทียบโอนความรู้สู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเข้าสู่การศึกษาสายอาชีวศึกษา

28 กลไกการขับเคลื่อน ๑. จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพ กศน. ในแต่ละด้าน และคณะทำงานบูรณาการการยกระดับคุณภาพ กศน. เพื่อให้มีการจัดทำและประสานแผนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพสู่สากล ๒. พัฒนาสมรรถนะของผู้มีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพ กศน ทั้งบุคลากร กศน.และภาคีเครือข่ายให้มีความพร้อมและสามารถนำยุทธศาสตร์/แนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม

29 กลไกการขับเคลื่อน ๓. พัฒนาระบบแนะแนว ติดตามประเมินผล รวมทั้งระบบส่งต่อผู้เรียนสู่ระดับอาชีวศึกษาร่วมกับ สอศ. และสถานประกอบการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับสมรรถนะของตนเอง ความต้องการของตลาด และทิศทางการพัฒนาประเทศ

30


ดาวน์โหลด ppt การยกระดับคุณภาพ กศน. ๑. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ ๒. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google