งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ๑. คำไทยที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มักมีหลายพยางค์ ส่วนมากใช้เป็นคำนาม กริยา และวิเศษณ์ เช่น บุษบา วัตถุ สงเคราะห์ ปรีดา ประเสริฐ ๒. มักมีตัวการันต์อยู่ด้วย เช่น กษัตริย์ ศาสตร์ การันต์ พราหมณ์ ฯลฯ ๓. คำที่ประสมด้วยพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ญ ฌ ฎ ฏ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฤ

2 ๔. คำที่สะกดแตกต่างจากคำไทยแท้
๕. คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม้ไต่คู้ ไม่ใช่คำบาลี-สันสกฤต ยกเว้นบางคำที่ไทยมาเติมวรรณยุกต์เอกภายหลัง เช่น เล่ห์ พ่าห์ เสน่ห์

3 พยัญชนะวรรค พยัญชนะบาลี ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ วรรคกะ ก ข ค ฆ ง วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ วรรคกะ ก ข ค ฆ ง วรรคจะ จ ฉ ช ฌ ญ วรรคฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ วรรคตะ ต ถ ท ธ น วรรคปะ ป ผ พ ภ ม เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ

4 หลักทั่วไปของภาษาบาลี
๑. พยัญชนะบาลีมี ๓๒(๓๓) ตัว สระ มี ๘ ตัว สระประกอบด้วย อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๒.คำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตามในวรรคเดียวกันเสมอ พยัญชนะแถวที่ ๑, ๓, ๕ เป็น ตัวสะกด

5 ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด แถวที่ ๑ หรือ ๒ เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกขะ
ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ สะกด แถวที่ ๓ หรือ ๔ เป็นตัวตามได้ เช่น อัคคี วิชชา ถ้าแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกแถวในวรรคเดียวกัน ตามได้ เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ ยกเว้น ง ตามตัวเองไม่ได้

6 ๓. สังเกตจากพยัญชนะ ฬ มีใช้เฉพาะบาลี เช่น จุฬา วิฬาร์ ครุฬ
๔. บาลีมีตัวสะกดและตัวตามที่ซ้ำกัน ไทยจะตัดตัวที่ซ้ำกันออกให้เหลือตัวเดียว เช่น รัฏ ฐ รัฐ ปุญ ญ บุญ นิส สิต นิสิต กิจ จ กิจ เขต ต เขต

7 ภาษาสันสกฤต ๑. สันสกฤตมีพยัญชนะ ๓๔(๓๕) ตัว เพิ่ม ศ ษ สระสันสกฤต มี ๑๔ ตัว เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ภ ภา ๒. ตัวสะกดตัวตามของสันสกฤตจะอยู่ต่างวรรคกัน เช่น สัปดาห์ อักษร บุษบา อัศจรรย์ ฯลฯ ๓. สันสกฤตนิยมใช้ตัว ฑ เช่น กีฑา จุฑา ครุฑ ๔. นิยมใช้อักษรควบเป็นตัวสะกด เช่น จักร อัคร บุตร จันทร ๕. มักจะมี ษ หรือ รร อยู่ในคำนั้นๆ เช่น ราษร์ ฤษี ภรรยา กฤษณา

8 ข้อแตกต่างระหว่างภาษาบาลี กับ ภาษาสันสกฤต
๑.สระบาลี มี ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๑.สระสันสกฤตมี ๑๔ ตัว เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ภ ภา ๒.พยัญชนะ บาลี มี ๓๒ (๓๓ ) ตัว ๒.พยัญชนะสันสกฤตมี ๓๔ (๓๕) ตัว เพิ่ม ศ ษ ๓.บาลีนิยม ฬ เช่น จุฬา กีฬา อาสาฬห วิฬาร์ ๓.สันสกฤตนิยมใช้ ฑ ฒ เช่น จุฑา กรีฑา ๔.ไม่นิยมคำควบกล้ำและอักษรนำ เช่น ปฐม มัจฉา วิชชา สามี ๔.นิยมคำควบกล้ำ และอักษรนำ เช่น ประถม มัตสยา วิทยา สวามี ๕.มีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดตัวตามแน่นอน ๕.มีหลักตัวสะกดตัวตามไม่แน่นอน ๖.ใช้ริ กลางคำ เช่น อริยะ จริยา อัจฉริยะ ๖.ใช้ ร กลางคำ เช่น อาจารย จรรยา อารยะ ๗.บาลีใช้ อะ อิ อุ เช่น อมตะ ติณ ปุจฉา อุตุ ๗.สันสฤต ใช้ ฤ เช่น อมฤต ตฤณ ปฤจฉา ฤดู ๘.บาลีใช้ ส ทั้งหมด เช่น สงฆ์ สามัญ ปัสสาวะ อัสสุ มัสสุ สิกขา สัจจะ ๘.ใช้ ส จะมีพยัญชนะวรรค ต (ต ถ ท ธ น )เป็นตัวตาม เช่น สตรี สถานี พัสดุ สถิติ พิสดาร

9 ให้นักเรียนแยกคำบาลีและสันสกฤตออกมาให้ได้อย่างถูกต้อง
ชื่อ นามสกุล ชั้น เลขที่ ให้นักเรียนแยกคำบาลีและสันสกฤตออกมาให้ได้อย่างถูกต้อง สามี      สวามี ดัชนี         ฤดู ดรรชนี            ฤษี นฤคหิต    นิคหิต เขต        เกษตร ไทยทาน      เกียรติ เขม        เกษียร       ปราณี นารายณ์       อาสาฬห บริเวณ             อริยะ จรรยา               จักรี บุตรี               ปรีดา ชิวหา                                                 มัลลิกา วัลลีย์       อัสสาสะ อุณหภูมิ       กัญญา นรินทร์ อธิปไตย   อิทธิ    มโหฬาร   สิริ     องค์    นิพพาน                              ฤทธิ์ อัคคี       อัคนี อักขร               อักษร               ปัจจุบัน กัป      กัลป์ แพทย์         รังสี รัศมี                   พฤกษ์

10 คำบาลี คำสันสกฤต

11 แบบทดสอบท้ายบทเรียน ๑.คำไทยที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตมีมีพยางค์เดียว ส่วนใหญ่เป็นคำนาม กริยาและวิเศษณ์

12 ๒.คำบาลี-สันสกฤตนั้นนิยมมีตัวการันต์อยู่ด้วย

13 ๓.คำบาลี-สันสกฤต มักประสมด้วยพยัญชนะต่อไปนี้ ม ญ ฒ ต ศ ษ ส ฤ

14 ๔.คำบาลี-สันสกฤต ไม่นิยมมีรูปวรรณยุกต์และไม้ไต่คู้ยกเว้นบางคำ

15 ๕.พยัญชนะบาลีมี ๓๓ ตัว ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป

16 ๖.คำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตามในวรรคเดียวกันเสมอ

17 ๗.ฬ และ ฑ มีในภาษาบาลีเท่านั้น

18 ๘.คำบาลี นิยมคำควบกล้ำและอักษร นำ

19 ๙.คำสันสกฤต มีหลักเกณฑ์ตายตัวแน่นอน

20 ๑๐. ส มีใช้ทั้ง คำบาลีและสันสฤตแต่หลักการใช้ที่แตกต่างกัน

21


ดาวน์โหลด ppt ภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google