งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาท หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดอาเซียนของกรมวิชาการเกษตร วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมมารวย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาท หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดอาเซียนของกรมวิชาการเกษตร วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมมารวย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาท หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดอาเซียนของกรมวิชาการเกษตร วันพุธที่ 9 กรกฎาคม ณ โรงแรมมารวย กรุงเทพฯ โดย กุลวิไล สุทธิลักษณวนิช

2 บทบาท หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดอาเซียนของกรมวิชาการเกษตร นโยบายของกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารด้านพืชในตลาดอาเซียน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3 นโยบายของกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืชในตลาดอาเซียน ยุทธศาสตร์กรมวิชาการเกษตรปี และยุทธศาสตร์งานวิจัยกรมวิชาการเกษตรปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน พัฒนาศักยภาพในการตรวจสอบคุณภาพและรับรองสินค้าเกษตรด้านพืชส่งออก ตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานประเทศคู่ค้า และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบตามระบบ ISO/IEC 17025 การควบคุมกำกับดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืชที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ การพัฒนาวิธีทดสอบ การตรวจติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าเกษตร การเตรียมความพร้อมเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งปนปลอมอาหารของอาเซียน

5 การพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบตามระบบ ISO/IEC 17025
ห้องปฎิบัติการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช - สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช - สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 – 8 - สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

6 การพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบตามระบบ ISO/IEC 17025
ห้องปฎิบัติการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช 1. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา 2. ห้องปฏิบัติการสารปนเปื้อน 3. ห้องปฏิบัติการสารพิษจากเชื้อรา 4. ห้องปฏิบัติการสารเจือปน 5. ห้องปฏิบัติการสารพิษตกค้าง 6. ห้องปฏิบัติการโภชนาการ

7 การพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบตามระบบ ISO/IEC 17025
ห้องปฎิบัติการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช 7. ห้องปฏิบัติการเคมีภาชนะบรรจุ 8. ห้องปฏิบัติการสิ่งปนปลอม 9. ห้องปฏิบัติการกายภาพภาชนะบรรจุ 10.ห้องปฏิบัติการกายภาพและประสาทสัมผัส 11.ห้องปฏิบัติการ GMO

8 การควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืชที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ

9 กรมวิชาการเกษตร โดยกลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้า สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นหน่วยงานให้บริการตรวจสอบคุณภาพสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ เพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ได้มีการจัดทำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ในการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการเอกชนที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ เพื่อสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ในการรองรับภารกิจการถ่ายโอนงานด้านบริการทดสอบ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553

10 ได้ออกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช พ.ศ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มกราคม เพื่อใช้ในการควบคุมกำกับดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืชที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับ โดยพิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC และข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า

11 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555

12 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ประกอบด้วย
นิยาม (ข้อ ๓ ในประกาศฯ) คุณสมบัติห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๔ ในประกาศฯ) ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ) เงื่อนไข (ข้อ ๑๑ ในประกาศฯ) การลดขอบข่าย (ข้อ ๑๒ ในประกาศฯ) การขยายขอบข่าย (ข้อ ๑๓ ในประกาศฯ)

13 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ประกอบด้วย (ต่อ) การยกเลิกหรือเพิกถอน (ข้อ ๑๔ ในประกาศฯ) การแจ้งเตือน (ข้อ ๑๕.๑ ในประกาศฯ) การพักใช้ (ข้อ ๑๕.๒ ในประกาศฯ) การเพิกถอน (ข้อ ๑๕.๓ ในประกาศฯ)

14 คุณสมบัติห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๔ ในประกาศฯ)
๔.๑ เป็นนิติบุคคล และได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ๔.๒ ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ๔.๓ กรณีห้องปฏิบัติการทดสอบตามข้อ ๔.๑ และข้อ ๔.๒ มีขอบข่ายรายการทดสอบที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานISO/IEC จะต้องมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามภาคผนวก

15 ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ)
ข้อ ๕ ห้องปฏิบัติการทดสอบยื่นคำขอตามแบบสมพ. ๗ พร้อมหลักฐานและเอกสารตามที่ระบุในแบบสมพ. ๘ และ สมพ. ๙ ต่อ สมพ. กรมวิชาการเกษตร แบบสมพ. ๗ คำขอให้ยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช แบบสมพ. ๘ ข้อมูลจำเพาะส่วนที่ขอให้ยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช แบบสมพ. ๙ ข้อมูลทั่วไปของระบบบริหารจัดการ

16 ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ)
ข้อ ๖ เมื่อได้รับคำขอดังกล่าวแล้ว เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอ และคุณสมบัติของผู้ยื่นขอ หากเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและส่งคำขอไปยังคณะกรรมการ เพื่อทวนสอบขอบข่ายรายการทดสอบที่ได้รับการรับรอง หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าห้องปฏิบัติการมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนด จะให้ความเห็นชอบยอมรับความสามารถในขอบข่ายรายการทดสอบที่ได้รับการรับรองดังกล่าวและเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อออกหนังสือการยอมรับความสามารถให้กับผู้ขอ

17 ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ)
ข้อ ๗ กรณีที่ห้องปฏิบัติการทดสอบมีคุณสมบัติตามข้อ ๔.๓ ให้เจ้าหน้าที่ส่งคำขอและเอกสารดังกล่าวไปยังคณะผู้ตรวจติดตามและประเมินเพื่อดำเนินงานตามภาคผนวก หากห้องปฏิบัติการทดสอบไม่มีผลการเข้าร่วมในการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ หรือโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ ต้องทำการทดสอบตัวอย่างเทียบผล (Check Sample) ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด

18 ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ)
ข้อ ๘ เมื่อห้องปฏิบัติการทดสอบผ่านเกณฑ์ตามข้อ ๗ คณะผู้ตรวจติดตามและประเมินจะทำการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและทำการตรวจประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติการโดยแจ้งชื่อผู้ไปตรวจประเมินและวันเวลาให้ห้องปฏิบัติการทดสอบทราบล่วงหน้า ข้อ ๙ เมื่อดำเนินการตรวจประเมินเสร็จสิ้น คณะผู้ตรวจติดตามและประเมินจะดำเนินการสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

19 ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ)
ข้อ ๙ (ต่อ) หากคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จะให้ความเห็นชอบยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการ ในขอบข่ายรายการทดสอบดังกล่าว และเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายออกหนังสือการยอมรับความสามารถ

20 ขั้นตอนการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ (ข้อ ๕ - ข้อ ๑๐ ในประกาศฯ)
ข้อ ๑๐ หนังสือการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช มีอายุ ๓ ปี นับตั้งแต่วันออกหนังสือผู้ได้รับหนังสือการยอมรับความสามารถ และสามารถต่ออายุได้คราวละ ๓ ปี ถ้าประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือการยอมรับความสามารถ จะต้องยื่นคำขอก่อนหนังสือการยอมรับความสามารถสิ้นอายุ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๕

21 เงื่อนไข (ข้อ ๑๑ ในประกาศฯ)
ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการยอมรับความสามารถต้องปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑๑.๑ รักษาสถานภาพการได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC และ/หรือตามภาคผนวกในขอบข่ายรายการทดสอบที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑.๒ ส่งมอบเอกสารหรือข้อมูลต่างๆหรือให้ความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรในการดำเนินการต่างๆ ข้อ ๑๑.๓ แจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเมื่อได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับผลการทดสอบ พร้อมส่งหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องและแจ้งผลการจัดการเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ

22 เงื่อนไข (ข้อ ๑๑ ในประกาศฯ)
ข้อ ๑๑.๔ ต้องทำรายงานผลการทดสอบให้ตรงกับข้อเท็จจริง ห้ามมิให้ทำรายงานผลการทดสอบขึ้นทั้งฉบับหรือแค่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดในรายงานอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าผลการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน ข้อ ๑๑.๕ ต้องมีระบบการรักษาความลับของข้อมูลและผลการทดสอบ

23 การลดขอบข่าย (ข้อ ๑๒ ในประกาศฯ)
กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการลดขอบข่ายของห้องปฏิบัติการทดสอบ เมื่อพบว่าห้องปฏิบัติการทดสอบไม่สามารถรักษาขีดความสามารถในการดำเนินงานตามขอบข่ายนั้นๆได้ หรือห้องปฏิบัติการทดสอบแจ้งความประสงค์ขอลดขอบข่ายที่ได้รับการยอมรับความ สามารถ

24 การขยายขอบข่าย (ข้อ ๑๓ ในประกาศฯ)
ห้องปฏิบัติการทดสอบสามารถขยายขอบข่ายรายการทดสอบที่ขอให้ยอมรับ ความสามารถต่อกรมวิชาการเกษตรได้ ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ตามข้อ ๕

25 การยกเลิกหรือเพิกถอน (ข้อ ๑๔ ในประกาศฯ)
กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการยกเลิกหรือเพิกถอนการเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับ เมื่อปรากฏเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ข้อ ๑๔.๑ ห้องปฏิบัติการทดสอบมีความประสงค์ขอยกเลิกการเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับ ข้อ ๑๔.๒ ห้องปฏิบัติการทดสอบเลิกประกอบกิจการ

26 การยกเลิกหรือเพิกถอน (ข้อ ๑๔ ในประกาศฯ)
ข้อ ๑๔.๓ ห้องปฏิบัติการทดสอบเป็นบุคคลล้มละลาย ข้อ ๑๔.๔ ห้องปฏิบัติการทดสอบถูกเพิกถอนตามข้อ ๑๕ เมื่อพบว่าห้องปฏิบัติการทดสอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถแจ้งเตือน สั่งพักใช้ หรือสั่งเพิกถอนหนังสือได้

27 การแจ้งเตือน(ข้อ ๑๕.๑ ในประกาศฯ)
๑๕.๑ ห้องปฏิบัติการทดสอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ครั้งที่ ๑ ให้แจ้งเตือนผู้ได้รับหนังสือการยอมรับความสามารถเป็นหนังสือ

28 การพักใช้ (ข้อ ๑๕.๒ ในประกาศฯ)
๑๕.๒ ห้องปฏิบัติการทดสอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ครั้งที่ ๒ ภายใน ๑ ปี นับแต่ครั้งที่ ๑ ให้พักใช้หนังสือการยอมรับความสามารถเป็นเวลา ๖๐ วัน

29 การเพิกถอน (ข้อ ๑๕.๓ ในประกาศฯ)
๑๕.๓ ห้องปฏิบัติการทดสอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ครั้งที่ ๓ ภายใน ๑ ปี นับแต่ครั้งที่ ๑ให้เพิกถอนหนังสือการยอมรับความสามารถ

30 ภาคผนวก ข้อกำหนดการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืชในขอบข่ายรายการทดสอบที่ยังไม่ได้รับการรับรอง ตามมาตรฐาน ISO/IEC17025

31 มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

32 เกณฑ์ให้การยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการ
ข้อกำหนด/หลักเกณฑ์สากล (24 ข้อกำหนด) 4. ข้อกำหนดด้านการบริหาร 5. ข้อกำหนดด้านวิชาการ ข้อกำหนดให้การยอมรับ (15 ข้อกำหนด) 4. ข้อกำหนดด้านการบริหาร 5. ข้อกำหนดด้านวิชาการ

33 1. ข้อกำหนดด้านการบริหาร
องค์กร ระบบการบริหารงาน การทบทวนข้อตกลง การจ้างเหมาช่วงงานทดสอบ การรับข้อโต้แย้งและข้อร้องเรียน การควบคุมบันทึก

34 2. ข้อกำหนดด้านวิชาการ บุคลากร สถานที่และสภาวะแวดล้อม วิธีทดสอบ
เครื่องมือและการสอบเทียบ การสอบกลับได้ของการวัด

35 2. ข้อกำหนดด้านวิชาการ การสุ่มเก็บตัวอย่าง การจัดการตัวอย่างทดสอบ
การประกันคุณภาพผลการทดสอบ การรายงานผล

36 ห้องปฏิบัติการทดสอบที่กรมวิชาการเกษตรให้ การยอมรับความสามารถ
ห้องปฏิบัติการทดสอบที่กรมวิชาการเกษตรให้ การยอมรับความสามารถ ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืชที่ยื่นขอ และได้รับการยอมรับความสามารถจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว จำนวน 14 แห่ง รายชื่อห้องปฏิบัติการทดสอบที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับความสามารถ พร้อมรายละเอียดขอบข่ายและรายการทดสอบ สามารถดูข้อมูลได้บน Web-site : http//www .doa.go.th/psco

37 การพัฒนาวิธีทดสอบ วิธีทดสอบตามกฎระเบียบที่จะออกใหม่
วิธีทดสอบที่ไม่มีห้องปฏิบัติการทดสอบเอกชนให้บริการ วิธีทดสอบที่ใช้ในการตรวจติดตาม แจ้งเตือนและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าเกษตร

38 การตรวจติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าเกษตร
หาข้อมูลการตรวจติดตามและเฝ้าระวังตามกฎระเบียบที่จะออกใหม่ ข้อมูลการตรวจติดตามคุณภาพสินค้าส่งออกตามกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า

39 การเตรียมความพร้อมเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งปนปลอมอาหารของอาเซียน
จากการประชุมหารือคณะผู้ทรงคุณวุฒิห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านวิเคราะห์อาหารอาเซียน ครั้งที่ 3 /2556 เมื่อวันที่ 22 มกราคม เห็นชอบให้เสนอสาขา Extraneous Matter (Flith) ของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ในการจัดตั้งเป็น (ASEAN Food Testing Laboratory : AFRL) สาขาใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อนำเสนอในคณะกรรมการห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านวิเคราะห์อาหารอาเซียน (AFTLC)

40 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt บทบาท หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดอาเซียนของกรมวิชาการเกษตร วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมมารวย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google