งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ควรเริ่มตรวจแป๊บสเมียร์เมื่อใด ใครบ้างที่ควรตรวจแป๊บสเมียร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ควรเริ่มตรวจแป๊บสเมียร์เมื่อใด ใครบ้างที่ควรตรวจแป๊บสเมียร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ควรเริ่มตรวจแป๊บสเมียร์เมื่อใด ใครบ้างที่ควรตรวจแป๊บสเมียร์
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก ควรเริ่มตรวจแป๊บสเมียร์เมื่อใด * เมื่อมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว 1-2 ปี (แม้อายุยังไม่ถึง 35 ปี) * หญิงมีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป กรณีที่มีเซลล์ผิดปกติและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา เซลล์เหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง การเกิดมะเร็งปากมดลูก ยังไม่ทราบสาเหตุ ที่แน่นอน แต่จากการศึกษาพบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ * หญิงที่ติดเชื้อไวรัสหงอนไก่ (HPV) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุปากมดลูก และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้โดยไวรัสตัวนี้สามารถติดต่อกันทางการมีเพศสัมพันธ์ หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อย หญิงสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่สามารถกระตุ้นให้เซลล์ที่ปากมดลูกมีการแบ่งตัวผิดปกติและมีการตรวจพบสารนี้ในน้ำเมือกที่ปากมดลูกของหญิงที่สูบบุหรี่ หญิงที่ไม่เคยตรวจแป๊บสเมียร์หรือตรวจแต่ตรวจไม่สม่ำเสมอ(สม่ำเสมอ หมายถึงตรวจอย่างน้อยทุก 2-5 ปี หากผลการตรวจครั้งสุดท้ายปกติ) ภัยเงียบ ! ผู้หญิง ดังนั้นหญิงทุกคนที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป จึงควรตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจภายในและทำแป๊บสเมียร์ ผู้หญิง 2000 กว่ารายตรวจพบ ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก จากการทำแป๊บสเมียร์ ในโครงการปี 2548 (โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และสามารถรักษาให้หายได้) ใครบ้างที่ควรตรวจแป๊บสเมียร์ * หญิงเมื่อครบอายุ 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 ปี ควร ได้รับการตรวจแป๊บสเมียร์ เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็ง * หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วทุกคน (ถึงแม้อายุจะน้อยกว่า 35 ปี) * ผู้ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติหรือมีตกขาวผิดปกติ อาการผิดปกติ ที่ควรได้รับการตรวจ หมายเหตุ ผู้หญิงส่วนใหญ่ ที่มีเซลล์ปากมดลุกผิดปกติยังไม่มีอาการ อะไรเลย แต่อาการที่ควรสงสัยและต้องรีบปรึกษาแพทย์ คือ มีเลือดออกจากช่องคลอดกระปริบประปรอย มีเลือดออกระหว่างหรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีอาการตกขาวผิดปกติ ส่วนอาการปวดอุ้งเชิงกราน ตกเลือด ขาบวม หรือปวดหลังจะพบในมะเร็งระยะท้ายๆ * หญิงที่ตัดมดลูกแล้ว * หญิงวัยหมดประจำเดือน * หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ *กลุ่มเลสเบี้ยน (หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน) ทั้ง 4 กลุ่มยังคงได้รับการตรวจแป๊บสเมียร์ ด้วยความปรารถนาให้ท่านมีสุขภาพดี จาก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โทร.(055)

2 มะเร็ง คืออะไร? ปากมดลูกอยู่ที่ไหน มะเร็งปากมดลูกพบบ่อยหรือไม่
การตรวจแป๊บสเมียร์ทำอย่างไร มะเร็ง คืออะไร? ในประเทศไทย พบผู้เป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 6,000 รายและเสียชีวิตประมาณ 3,000 ราย ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 45 ปี โดยธรรมชาติของโรคจะเริ่มจากการมีเซลล์เปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก จะใช้เวลาเกือบ 10 ปี ซึ่งทำให้การคัดกรองหาความผิดปกติของปากมดลูกมีประโยชน์สามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งปากมดลุกลงได้ มะเร็ง คือ โรคของเซลล์ของร่างกายซึ่งปกติเซลล์ของร่างกายจะมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวภายใต้การควบคุมของยีนส์ ทำให้เซลล์ของร่างกายเจริญเติบโต ถ้าเซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตผิดปกติอย่างรวดเร็ว เป็นก้อนเรียกว่า เนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น ชนิดธรรมดา (Benign) และชนิดร้ายแรง (Malignant) การตรวจแป๊บเสมียร์ เป็นการตรวจที่ง่ายและรวดเร็วใช้ เวลาเพียง 2-5 นาที โดย 1. คุณขึ้นนอนบนเตียง และขึ้นขาหยั่ง 2. แพทย์หรือพยาบาลจะสอดเครื่องมือที่เรียกว่าปากเป็ดอันเล็กๆ (Speculum) เข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้มองเห็นปากมดลูกชัดเจน 3. แพทย์หรือพยาบาล จะป้ายเซลล์ที่ปากมดลูก โดยใช้ไม้เล็กๆ เก็บเซลล์ที่คอมดลูกและมดลูก ป้ายบนแผ่นใส (Glass slide) ทำให้เซลล์ติดกระจกแน่นและส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ แป๊บสเมียร์คืออะไร แป๊บสเมียร์ เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก ซึ่งการตรวจนี้เป็นการค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง ปากมดลูกอยู่ที่ไหน ทำไมต้องทำแป๊บสเมียร์ การทำแป๊บสเมียร์ สามารถตรวจเซลล์ปากมดลูกที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็น ระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งถ้าทำการรักษาและติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ จะลดอัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปากมดลูกเป็นช่องทางเปิดเข้าสู่มดลูก ปากมดลูกอยู่ส่วนล่างสุดของปากมดลูก โดยมดลูกจะอยู่ในอุ้งเชิงกรานและส่วนที่เป็นปากมดลูก คือส่วนที่ยื่นลงมาอยู่ในช่องคลอด เซลล์ปากมดลูก ปกติ เซลล์ปากมดลูก เปลี่ยนแปลงเป็น ระยะก่อนเป็นมะเร็ง เซลล์ปากมดลูก เปลี่ยนแปลง เป็นมะเร็ง มดลูก รังไข่ ปากมดลูก แป๊บสเมียร์ช่วยคุณได้ ช่องคลอด


ดาวน์โหลด ppt ควรเริ่มตรวจแป๊บสเมียร์เมื่อใด ใครบ้างที่ควรตรวจแป๊บสเมียร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google