งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษา
พ.ศ

2 อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา
โดย นายปริวัฒน์ วรรณกลาง อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา 8 พฤศจิกายน 2556

3 ประเด็นการเชื่อมโยง... บทนำ : มิติโครงสร้างองค์กรสถาบันการพลศึกษา
: มิติโครงสร้างองค์กรสถาบันการพลศึกษา : มิติด้านภารกิจ หน้าที่สถาบันการพลศึกษา ส่วนที่ 1 กรอบและทิศทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ ส่วนที่ 2 นโยบายและแนวทางการบริหารราชการ นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

4 นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ. 2556-2560
ส่วนที่ 3 นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ ด้านการศึกษา ด้านกีฬา ด้านการวิจัย ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านกิจการนักเรียน และนักศึกษา ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน และกีฬาไทย 7. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม 8. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

5 สถาบันการพลศึกษา บทนำ : มิติด้านโครงสร้างองค์กร สำนักงานอธิการบดี
วิทยาเขต โรงเรียนกีฬา

6 : มิติด้านภารกิจ หน้าที่ สถาบันการพลศึกษา
การศึกษา การกีฬา

7 กรอบและทิศทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2556-2560
ส่วนที่ 1 กรอบและทิศทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ สถาบันการพลศึกษา มีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนา การจัดการศึกษา และการกีฬา เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จุดเริ่มต้นสำคัญ คือ การบริหารเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี และการใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างต่อเนื่องสนองตอบ ความต้องการของสังคมและสามารถแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในและต่างประเทศในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

8 การกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารราชการของสถาบันการพลศึกษาได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 และตอบสนองต่อแผนพัฒนา นโยบาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

9 นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก
ส่วนที่ 2 นโยบายและแนวทางการบริหารราชการ สถาบันการพลศึกษา พ.ศ นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 1. การจัดทำแผนพัฒนากรอบอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภารกิจของสถาบัน จัดทำกรอบอัตรากำลังที่สอดคล้องกับโครงสร้างและภารกิจของสถาบันทุกหน่วยงาน และทุกสายงาน แยกเป็นสายผู้บริหาร สายผู้สอน และสายสนับสนุน จัดทำมาตรฐานตำแหน่งทุกตำแหน่ง จำแนกตามประเภท และสายงานตามลักษณะงานที่รับผิดชอบตามกรอบภารกิจของสถาบัน หน้าที่ และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนั้นๆ

10 ครู อาจารย์จะต้องมีกรอบอัตรากำลังแยกตามคณะและตามรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน (Teaching load) ผู้ฝึกสอนกีฬาของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาจะต้องพิจารณาตามชนิดกีฬาที่เปิดสอน บุคลากรทางการศึกษาจะต้องจัดทำภาระงานให้ชัดเจน (Working load) ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญให้ปฏิบัติงานด้านการสอนหรือวิจัยถึงอายุ 65 ปี โดยให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากับอัตราเงินเดือนขั้นสุดท้ายที่ได้รับก่อนออกจากราชการ 

11 2. จัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
กำหนดนโยบาย ดังนี้ 1. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึ้นทั้งในสำนักงานอธิการบดี วิทยาเขต และโรงเรียนกีฬา โดยให้ศูนย์อาเซียนศึกษาในสำนักงานอธิการบดี เป็นหน่วยงานกลาง (CEO) ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการด้านอาเซียนศึกษาของสถาบัน 2. การเปิด-ปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกับชาติสมาชิกประชาคมอาเซียน

12 3. การจัดการศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา
กำหนดแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 สถาบันการพลศึกษา โดยคณะวิชาจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาโท และจัดการเรียนการสอนโดยสถาบันเอง

13 รูปแบบที่ 2 สถาบันการพลศึกษา โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่เป็นคู่สัญญาความร่วมมือด้านวิชาการ จัดหลักสูตรระดับปริญญาโทและ/หรือปริญญาเอก เป็นหลักสูตรนานาชาติ โดยลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ - หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและปริญญา ของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ* เป็นการจัดการศึกษาแบบ off shore โดยสถาบันการพลศึกษาจะเอื้ออำนวยด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ทรัพยากรและบุคคลากร รวมทั้งการมีสวนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

14 - หลักสูตรแบบปริญญาร่วม
- หลักสูตรแบบปริญญาร่วม* (Joint Degree Program) ระหว่างสถาบันการพลศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ที่จัดทำหลักสูตร และจัดการเรียนการสอนร่วมกันในสถาบันการพลศึกษาตลอดทั้งหลักสูตร หรือมีบางส่วนจัดในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ หรือผสมผสานกับการจัดการศึกษาระบบทางไกลผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต - หลักสูตรแบบสองปริญญา*(Double Degree Program) ที่เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการพลศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศจัดทำหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับหลักสูตรปริญญาร่วมข้างต้นแต่ผู้สำเร็จการศึกษาได้ปริญญาบัตรจากทั้งสองสถาบัน

15 นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ. 2556-2560
ส่วนที่ 3 นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ ด้านการศึกษา ด้านกีฬา ด้านการวิจัย ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านกิจการนักเรียน และนักศึกษา ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน และกีฬาไทย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

16 ด้านการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนกีฬา
1. ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ และสัญญา การจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนกีฬาให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และสามารถบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ทบทวนและผลักดันการใช้ระบบ E-Education ให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานวิชาการ

17 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตผลคุณภาพด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันการปรับปรุงหลักสูตรเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้บริการวิชาการสังคม และโครงการพิเศษที่เน้นผู้เรียนให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง อาทิ สหกิจศึกษา (Co-operative Education) โดยทำความตกลงร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับคณะวิชาและวิทยาเขตที่มีศักยภาพ

18 2. ด้านกีฬา 2.1 การกำหนดชนิดกีฬาที่เปิดสอนในโรงเรียนกีฬาและวิทยาเขต จุดเน้นสำคัญ คือ มุ่งพัฒนานักกีฬาตามชนิดกีฬาที่สอดคล้องกับรายการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ เช่น กีฬาซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ เป็นต้น กระจายชนิดกีฬาที่เปิดสอนให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

19 ต้องมีความเชื่อมโยงกันในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา โดยคำนึงถึงการ บูรณาการร่วมกันระหว่างโรงเรียนกีฬา กับวิทยาเขต สามารถพัฒนาต่อยอดกับวิทยาเขตที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันหรือจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อส่งต่อการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง

20 เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2.2 การพัฒนานักกีฬา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ Input Process Output

21 ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
กำหนดให้วิทยาเขตที่มีศักยภาพเป็นเจ้าภาพหลัก (CEO) ในแต่ละชนิดกีฬา โดยทำข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมกีฬาต่างๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนานักกีฬา เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 2.2.2 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับการเบิกจ่าย 2.3 จัดทำปฏิทินการแข่งขันกีฬา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

22 มีแนวทางดำเนินการดังนี้
2.4 การจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย มีแนวทางดำเนินการดังนี้ - จัดทำระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณจัดการแข่งขัน เช่น อัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจัดการแข่งขันให้สามารถเบิกจ่ายได้สะดวก คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

23 - พัฒนาระบบฐานข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณที่เป็นจริงของคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาฝ่ายต่างๆ เพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับสถาบันการพลศึกษาต่อไป - กำหนดลำดับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาฯ กีฬาโรงเรียนกีฬาฯ เพื่อให้วิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาที่จะเป็นเจ้าภาพได้รับทราบล่วงหน้า 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม วางแผนบริหารจัดการ และการเสนอของบประมาณในการปรับปรุงอาคารสถานที่ สนามกีฬาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

24 3. ด้านการวิจัย จากแหล่งเงินทุนทั้งภายในและภายนอก
3.1 จัดหางบประมาณสนับสนุนการวิจัย จากแหล่งเงินทุนทั้งภายในและภายนอก - งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) - งบประมาณสนับสนุนจากเงินรายได้ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬานั้นๆ - งบประมาณสนับสนุนจากงบดำเนินงานของสถาบันการพลศึกษา - งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

25 3.2 จัดทำระเบียบ แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายให้มีความคล่องตัว
- งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเงินรายได้ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา สถาบันสามารถจัดทำระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณซึ่งเป็นงบเงินอุดหนุน เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณ - งบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากงบดำเนินงานของสถาบัน สามารถเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง - งบประมาณวิจัย วช. และเงินรายได้ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา สามารถจัดทำระเบียบการเบิกจ่ายเป็นงบเงินอุดหนุน เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

26 - งบประมาณจากหน่วยงานภายนอก
(กรณีที่บุคลากรรับทำงานวิจัยให้หน่วยงานภายนอกหรือหน่วยงานภายนอกมาจ้างให้จัดทำงานวิจัย) สามารถออกระเบียบ แนวปฏิบัติในการเบิกจ่าย โดยงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นของผู้ทำวิจัยและอีกส่วนหนึ่งนำเข้าเป็นเงินรายได้ของหน่วยงาน เช่น ผู้ทำวิจัยได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 85 โดยส่งเข้าเป็นเงินรายได้ของต้นสังกัดร้อยละ 15 ของงบประมาณทั้งหมด

27 3.3 จัดทำกระบวนการเร่งรัดการวิจัยเพื่อให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด โดยให้มีการกำหนดแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งต้องคำนึงถึงเนื้องาน เวลาและงบประมาณให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

28 3.4 ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยภายในประเทศ ให้ต้นสังกัดจัดสรรงบประมาณสนับสนุน - การนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยในต่างประเทศ ให้สถาบันจัดสรรงบประมาณสนับสนุน - พัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ในสาขาที่เป็นจุดเด่นของสถาบัน เช่น การวิจัยเชิงทดลองด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในการฝึกซ้อมกีฬาและการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา - สร้างปัจจัยเกื้อหนุนหรือแรงจูงใจด้วยการส่งเสริม สนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยของสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับดีเด่น

29 4. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
4.1 กำหนดผู้รับผิดชอบ กำกับ ติดตามและดำเนินงาน โดยให้ผู้บริหารระดับสถาบัน วิทยาเขต คณะวิชา แต่งตั้งคณะกรรมการหรือบุคคลเพื่อรับผิดชอบ กำกับ ติดตามและดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก

30 4.2 จัดทำมาตรฐานการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยให้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับวิทยาเขต 17 แห่งเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก

31 4.3 การเชื่อมโยงนโยบายและแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากระดับสถาบันไปสู่วิทยาเขตและคณะวิชา เพื่อการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการมอบหมายและถ่ายทอดภารกิจให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานให้มีความรู้และเข้าใจสามารถปฏิบัติได้

32 5. ด้านกิจการนักเรียนและนักศึกษา
5.1 สร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงาน ด้านองค์การนักเรียน นักศึกษา - ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งองค์การนักเรียนและนักศึกษาทั้งในวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬาให้มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ของสถาบัน เช่น กิจกรรมด้านกีฬา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย - จัดทำระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการดำเนินงานขององค์การนักเรียนและนักศึกษา

33 -จัดหางบประมาณสนับสนุนองค์การนักเรียน นักศึกษา สภานักศึกษาและชมรม โดยคณะกรรมการบริหารองค์การนักเรียน นักศึกษา เพื่อเสริมสร้างพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้เป็นคนดี มีจิตอาสา มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 5.2 ขับเคลื่อนกิจกรรมนักเรียน นักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยโครงการนำร่องในปีการศึกษา 2557 ดังนี้ - โครงการไหว้ครูของนักเรียนและนักศึกษา ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา - โครงการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ ของวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา 5.3 จัดหาสถานที่ทำการองค์การนักเรียน นักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน

34 6. ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย
- จัดทำประกาศ กำหนดพื้นที่จังหวัดให้แต่ละวิทยาเขตรับผิดชอบ - ให้แต่ละวิทยาเขตสำรวจการละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย ในแต่ละจังหวัดที่รับผิดชอบ - สรุปส่งให้สถาบันการพลศึกษา กองกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ รวบรวม - จัดทำโครงการ อนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ - สถาบันการพลศึกษา รวบรวมและเผยแพร่

35 7. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
7.1 พัฒนาระบบและกลไกการบริการทางวิชาการ 7.2 กำหนดให้มีเจ้าภาพหลักรับผิดชอบ ในแต่ละกิจกรรม/โครงการ เช่น การบริการด้านกีฬา การตัดสินกีฬา การเป็นผู้ฝึกสอน การจัดการแข่งขัน การให้บริการด้านอาคารสถานที่

36 8. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ
8.1 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล - ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผลงานทางวิชาการ/ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น โดยปรับปรุงพัฒนาขั้นตอน กระบวนการดำเนินการให้ชัดเจน และสามารถตรวจสอบ ติดตามรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้ในทุกขั้นตอน

37 8.2 การจัดตั้งกองทุน - กองทุนเพื่อบุคลากร - กองทุนนักเรียนและนักศึกษา

38 8.3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี
8.3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี - มีระบบฐานข้อมูลที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการบริหารจัดการในการที่จะขับเคลื่อนพัฒนาการสถาบันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน - มีฐานการคิด หลักการ วิธีการ และกลยุทธ์ในการทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สร้างความพึงพอใจไปสู่การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาอย่างแท้จริง

39 - สร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในและภายนอก
ทั้งในสำนักงานอธิการบดี คณะวิชา วิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา รวมทั้งหน่วยงาน องค์กรกีฬา สมาคมกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนำได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในในการบริหาร การตัดสินใจและร่วมในกระบวนการจัดการศึกษา - บริหารจัดการโดยอาศัยระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย จัดทำระบบฐานข้อมูล เช่น ด้านบุคลากร นักกีฬา นักเรียน นักศึกษาให้เป็นปัจจุบัน เพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

40 8.4 สร้างเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดี
- จัดทำระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์การดำเนินงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล - สร้างแนวปฏิบัติให้มีขั้นตอนชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินงานในแต่ละหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ - สร้างและพัฒนาเครื่องมือ แบบฟอร์ม จัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกภารกิจของสถาบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร รวมทั้งระบบกลไกการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการที่ดี

41 นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี
8 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ ด้านการศึกษา 1 ด้านการบริการวิชาการ และแก่สังคม 7 2 ด้านกีฬา ด้านการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน และกีฬาไทย 6 3 ด้านการวิจัย 5 ด้านกิจการนักเรียน และนักศึกษา 4 ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา นโยบายการบริหารราชการ 4 ปี พ.ศ

42 ขอขอบคุณ คณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ ข้าราชการ
และบุคลากรของสถาบันการพลศึกษาทุกท่าน สำหรับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เชื่อมโยง บูรณาการภารกิจของสถาบันให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมาย >>>


ดาวน์โหลด ppt นโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google