งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการวิจัยนำร่อง: โครงการสำรวจสถานการณ์การตีตราและ เลือกปฏิบัติประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีหรือเอดส์(การศึกษาในหน่วยบริการสุขภาพ) ดร.นารีรัตน์ ผุดผ่อง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการวิจัยนำร่อง: โครงการสำรวจสถานการณ์การตีตราและ เลือกปฏิบัติประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีหรือเอดส์(การศึกษาในหน่วยบริการสุขภาพ) ดร.นารีรัตน์ ผุดผ่อง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการวิจัยนำร่อง: โครงการสำรวจสถานการณ์การตีตราและ เลือกปฏิบัติประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีหรือเอดส์(การศึกษาในหน่วยบริการสุขภาพ) ดร.นารีรัตน์ ผุดผ่อง สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข โรงแรมรามาดา เดมา กรุงเทพฯ 15 กรกฏาคม 2557

2 หัวข้อการนำเสนอ ความเป็นมาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ของโครงการฯ วิธีการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน

3 แนวคิดที่นำไปสู่การตรวจสอบและพัฒนากิจกรรม เพื่อลดการตีตราและการเลือกปฎิบัติในระบบบริการสุขภาพ
ปัจจัยขับเคลื่อน การตีค่าตามสังคม รูปแบบการแสดงออก ผลลัพธ์ ผลกระทบ ระดับบุคคล การขาดความตระหนักและขาดความเข้าใจ การมีอคติ ตัดสินและตีค่าตามสังคม การกลัวการติดเชื้อ 1) กลัวหรือเชื่อตามทัศนะของสังคม (Anticipated stigma) 2) ตีตราตนเอง (Internalized stigma) 3) ประสบการณ์การถูกตีตรา (Enacted stigma) 4) การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) -ไม่ไปตรวจเลือด ทำให้รู้สถานะติดเชื้อล่าช้า -ไม่กล้าเปิดเผยสถานะฯ -เข้าถึงการรักษาล่าช้า -ไม่ได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ทัศนะของสังคมต่อ ผู้ติดเชื้อหรือต่อคนที่มีพฤติกรรมเฉพาะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ -การติดเชื้อรายใหม่ - การตายเนื่องจากเอดส์ -คุณภาพชีวิตลดลง ระดับองค์กร การมีแนวทางปฏิบัติ/นโยบาย การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและศักยภาพของบุคลากร การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบ สิ่งแวดล้อม และสร้างปัจจัยเอื้อต่างๆ

4 ความเป็นมาและความสำคัญ
การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานบริการสุขภาพจะ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการก้าวไปสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ การตีตราและการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในแทบทุกส่วนของสังคม แต่มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 54) เกิดขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ ให้บริการด้านสุขภาพ (UNAID, 2011) ผลการประเมินแผนเอดส์ชาติ (พ.ศ ) พบว่า การ ป้องกันและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เป็นส่วนที่ต้องการการ ปรับปรุงและพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการติดตาม สถานการณ์เพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง (Srivanichakron et al., 2011) 4

5 โครงการได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจาก หลายหน่วยงาน
IHPP, RIHES, CM PHO, BMA เป็นทีมวิจัยในการพัฒนาเครื่องมือและลง พื้นที่เพื่อทดลองใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลในจังหวัดนำร่อง และเขียน รายงานผลการวิจัย สถาบันรีเสิร์ชไทรแองเกิล (RTI International) เป็นผู้เชี่ยวชาญการ พัฒนาเครื่องมือ ทำหน้าที่สนับสนุนด้านความรู้และเทคนิคต่างๆในการ พัฒนาเครื่องมือ การเก็บข้อมูล การเขียนรายงาน และจัดทำคู่มือในการ ติดตามสำรวจสถานการณ์ การสนับสนุน ความร่วมมือ และคำแนะนำ จาก NAMc, FAR, TNP+, UN joint team (UNAIDS, UNDP, UNFPA, ILO) การสนับสนุนด้านงบประมาณ - โครงการนำร่อง จาก ILO - ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค จาก USAID 5

6 คำถามของการศึกษา มีการตีตราและเลือกปฏิบัติประด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีหรือ เอดส์ในการบริการสุขภาพ (ที่เกิดขึ้นกับผู้ให้และผู้รับบริการ) ในประเทศไทยหรือไม่ ถ้ามีปัญหาที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้อง กับเรื่องใด และมีมากน้อยเพียงใด เครื่องมือและวิธีการในการสำรวจที่ไม่ซับซ้อนและเหมาะสม กับบริบทของประเทศไทยควรเป็นอย่างไร การพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องมือสำรวจ ติดตาม และประเมินผลสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติ ที่ เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยควรเป็นอย่างไร

7 วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ในการตรวจสอบการตีตราและ การเลือกปฏิบัติในกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ และผู้ให้บริการสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีหรือเอดส์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือนี้ในการสำรวจ และติดตามสถานการณ์การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่ เกี่ยวข้องกับการให้บริการเอชไอวีหรือเอดส์ ในจังหวัดนำร่อง 2 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่

8 วิธีดำเนินงาน ระยะที่ 1: พัฒนาเครื่องมือและวิธีการดำเนินงาน
ระยะที่ 2: สำรวจสถานการณ์ตึตรา & เลือกปฎิบัติในสถานพยาบาล - ประชุมอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ (กรุงเทพฯ & เชียงใหม่). - ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นในการสำรวจสถานการณ์ฯในพื้นที่ ระยะที่ 1: พัฒนาเครื่องมือและวิธีการดำเนินงาน - ทบทวนวรรณกรรม - ประชุมระดมสมอง ปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เกี่ยวข้อง - ทดสอบข้อคำถามหรือเครืองมือ (นนทบุรี/ ลำพูน). ผลลัพธ์ 1: ชุดคำถามและระเบียบวิธีการเพื่อใช้การดำเนินงานในระยะที่ 2 ผลลัพธ์ 2: 1. พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ (จังหวัด). 2. เข้าใจสถานการณ์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีปัญหามากน้อยขนาดไหน. Output 3: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: 1. ชุดข้อคำถามที่เหมาะสมในการติดตามสถานการณ์ฯที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล 2. ระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจ ติดตามและประเมินอย่างต่อเนื่องในระดับจังหวัด

9 เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง และการเก็บข้อมูล

10 เครื่องมือที่ใช้: แบบสอบถาม
แบบสอบถามผู้บริหาร 13 ข้อ แบบสอบถามผู้ปฎิบัติในรพ. 65 ข้อ แบบสัมภาษณ์ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ 33 ข้อ

11 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการนำร่อง: กรุงเทพฯ + เชียงใหม่
***เป็นรพ.ที่มีแผนก ARV และยินดีเข้าร่วมโครงการฯโดยความสมัครใจ ประเภทของโรงพยาบาล โรงพยาบาลที่เข้าร่วม รัฐบาล 26 เอกชน 6 รวม 32 11

12 จำนวนที่เข้าร่วมโครงการฯ
กลุ่มตัวอย่าง ประเภทอาสาสมัคร จำนวนที่เข้าร่วมโครงการฯ ผู้บริหาร (ผอ./รองผอ.) – แบบสอบถามตอบด้วยตัวเอง 13 ข้อ 30 ผู้ปฏิบัติงานในรพ. -แบบสอบถามตอบด้วยตัวเอง 65 ข้อ* 738 ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ -แบบสัมภาษณ์ 33 ข้อ* 714 (ณ คลินิก ARV=614+ ณ เครือข่าย NGOs* 100) *รวมคำถามที่ให้อาสาสมัครแสดงความคิดเห็นต่อแบบสอบถามเพื่อการปรับปรุงด้วย **เครือข่ายกลุ่มเฉพาะ เช่น MSM/TG, SW, PWID, Migrant และ PLHIV (ที่ไม่ใช่ของรพ.) 12

13 วิธีการเก็บข้อมูล ทีมวิจัยฝึกคนเก็บข้อมูลและคนสัมภาษณ์เข้าไปเก็บข้อมูลให้ โดยมีผู้ประสานงาน แต่ละรพ.อำนวยความสะดวกให้ การตอบแบบสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ประมาณครึ่งหนึ่งต้องทิ้งแบบสอบถามไว้แล้วไปตามเก็บที่หลัง อีกครึ่งหนึ่งตอบแบบสอบถามให้ภายในวันที่เข้าไปเก็บข้อมูล (10 นาที) บุคลากรทุกคนตอบแบบสอบถามให้วันต่อวัน (ภายในวันเดียวกันที่แจกแบบสอบถาม จะไม่มีการทิ้งแบบสอบถามไว้ข้ามวัน โดยบางรพ.สามารถให้เจ้าหน้าที่ที่ถูกสุ่มคัดเลือกมาตอบแบบสอบถามในห้องเดียวกัน) (15-25 นาที) ค่าตอบแทนเป็นของที่ระลึกมูลค่าไม่เกิน 200 บาทต่อราย การสัมภาษณ์ ผู้ประสานงาน ณ คลีนิก ARV หรือ ณ เครือข่าย แนะนำโครงการคร่าวๆ และสอบถามความสมัครใจของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ จากนั้นแนะนำให้รู้จักกับผู้สัมภาษณ์ในสถานที่เป็นส่วนตัว ใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ นาทีต่อราย ค่าตอบแทนเป็นเงินค่าเดินทาง 200 บาท (ชม.) – 300 บาท (กรุงเทพฯ) 13

14 การวิเคราะห์ข้อมูล และ ผลการวิเคราะห์เบิ้องต้น

15 การลดข้อคำถามในแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ (1)
กระบวนการที่ใช้ในการลดข้อคำถาม (เทคนิคของสถาบันรีเสิร์ชไทรเอง เกิล: RTI international) ใช้ 2 วิธีการหลัก คือ 1. ประสบการณ์นักวิจัยและประสบการณ์จริงจากภาคสนาม (field experiences) เช่น - ความเข้าใจและปฏิกริยาของผู้ตอบแบบสอบถามหรือผู้ถุกสัมภาษณ์ - ข้อสังเกตอื่นๆ 2. พิจารณารายละเอียดของแต่ละข้อคำถาม (item performances) เช่น - เข้าใจได้ง่ายหรือกำกวม คำตอบที่ได้เบี่ยงเบนจากคำถามหรือไม่ - สถิติ เช่น ความถี่หรือจำนวนของการคำถามนั้นๆ หรือความสัมพันธ์ของคำถามนั้นกับคำถามในส่วนอื่นๆ เป็นต้น - ดูว่าเป็นประเด็นสำคํญ กับยุคสมัย เกี่ยวข้องกับบริบทของพื้นที่ หรือ ของประเทศไทย 15

16 การลดข้อคำถามในแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ (2)
จำนวนข้อคำถามที่เหลือหลังจากผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการแล้ว 1. แบบสอบถามแบบตอบด้วยตัวเองของผู้บริหาร จาก 13 ข้อ เหลือ 8 ข้อ 2. แบบสอบถามแบบตอบด้วยตัวเองของผู้ปฏิบัติงานรพ. จาก 65 ข้อ - เหลือ 14 ข้อ สำหรับ sentinel site* - เหลือ 7 ช้อ สำหรับ provincial site 3. แบบสัมภาษณ์ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี จาก 33 ข้อ เหลือ 17 ข้อ *ความเห็นส่วนตัวใช้แบบนี้ไปเลยทุกจังหวัดน่าจะดีไม่ว่าจะเป็น sentinel site หรือไม่ก็ตาม เพราะแบบสอบถามไม่ได้ยาวมาก และน่าจะเป็นประโยขน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว 16

17 สถานการณ์การตีตราและการเลือกปฏิบัติใน 2 จังหวัดนำร่อง
ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ให้บริการสุขภาพ (Health care staff) ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีหรือผู้รับบริการสุขภาพ (PLHIV)

18 ผลการวิเคราะห์ฝั่งผู้ให้บริการหรือบุคลากรผู้ปฏิบัติรพ.
(Health facility staff survey) 18

19 คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม: ผู้ให้บริการสุขภาพ
ตาราง 1 : คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คุณลักษณะ N % ตำแหน่งงาน ระดับวิชาชีพ 444 60.2 ต่ำกว่าระดับวิชาชีพ 280 37.9 Missing 14 1.9 อายุ (ปี) เฉลี่ย 37 (Range = 18-70) 8  1.1 เพศ ผู้หญิง 581 78.7 ผู้ชาย 151 20.5 6 0.8 งานที่ปฏิบัติอยู่ ณ ปัจจุบัน เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริการ HIV 398 53.9 ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริการ HIV 326 44.2 ได้พบปะ ติดต่อ หรือให้บริการแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ กี่คน(ในช่วง1 เดือนที่ผ่านมา) ไม่เคยพบเลย 24 3.3 1-10 264 35.8 11-100 166 22.5 110 14.9 > 500 23 3.1 Total 738 100.0 19

20 ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้ให้บริการสุขภาพ (1)
ตาราง 2 : แสดงความกังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีจากการปฎิบัติประจำวันในรพ. ลักษณะของ ความกลัว โดยภาพรวม: % รายงานว่ากลัวอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อนี้ 1) กัววลว่าจะติดเชื้อ จากการสัมผัสหรือจับต้องเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ 2) กังวลว่าจะติดเชื้อจากการทำแผลให้ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ 3) กังวลว่าจะติดเชื้อ จากการ เจาะเลือดให้ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ N 712 700 581 526 % เจ้าหน้าที่ที่ตอบคำถาม 65.6% 36.6% 60.8% 63.5% 20

21 ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้ให้บริการสุขภาพ (2)
ตาราง 3 : ระบุว่าตนเองใช้วิธีการป้องกันการติดเชื้อเกินกว่ามาตรฐานเวลาต้องให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ลักษณะของการป้องกันที่เกินกว่ามาตรฐาน โดยภาพรวม: % รายงานว่าตนเองใช้วิธีการป้องกันการติดเชื้อมากกว่ามาตรฐาน 1) ใส่ถุงมือ 2 ชั้นเฉพาะกับ PLHIV 2) ใช้วีธีการป้องกันตัวเองเป็นพิเศษเฉพาะกับ PLHIV แต่จะไม่ทำกับผู้ป่วยอื่นๆ N 648 617 600 % เจ้าหน้าที่ที่ตอบคำถาม 51.7% 38.1% 42.7% 21

22 ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้ให้บริการสุขภาพ (3)
ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้ให้บริการสุขภาพ (3) ตาราง 4 : ทัศนคติการตีตราที่มีต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ประโยคที่แสดงทัศนคติ โดยภาพรวม: % เจ้าหน้าที่ที่เห็นด้วยข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อแรก และไม่เห็นด้วยในข้อสุดท้าย 1) ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯส่วนใหญ่ไม่สนใจว่าตนเองอาจทำให้ผู้อื่นติดเชื้อได้ [เห็นด้วย] 2) ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ ควรมีความละอายต่อสถานการติดเชื้อของตนเอง 3) คนติดเชื้อเอชไอวีเพราะเขาไม่มีความรับผิดชอบหรือมีพฤติกรรมที่ผิดศึลธรรม 4) ผู้หญืงที่ตืดเชื้อเอชไอวีควรมีลูกได้ ถ้าเธอต้องการ [ไม่เห็นด้วย] N 738 731 732 733 729 % เจ้าหน้าที่ที่ตอบคำถาม 87.8% 35.6% 42.9% 67.7% 56.5% 22

23 ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้ให้บริการสุขภาพ (4)
ตาราง 5 : สังเกตเห็นบุคลากรในรพ.เดียวกันแสดงพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี พฤติกรรมที่สังเกตเห็น โดยภาพรวม: % สังเกตเห็นพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ข้อนี้ เจ้าหน้าที่ไม่เต็มใจหรือหลีกเลี่ยงการให้บริการสุขภาพแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ เจ้าหน้าให้การดูแลรักษาพยาบาลที่ด้อยคุณภาพแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยอื่นๆ N 697 696 % เจ้าหน้าที่ที่ตอบคำถาม 22.7% 19.5% 13.4% 23

24 ผลการวิเคราะห์ฝั่งผู้รับบริการหรือผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
(PLHIV survey) 24

25 คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม: ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
ตาราง 6 : คุณลักษณะทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ Characteristics N (714) % อายุ เฉลี่ย  41.5 (18-73) ปี เป็นประชากรกลุ่มเฉพาะ? KP PLHIV (MSM, TG, SW, PWID, Migrant) 300 42.0 Non-KP PLHIV 481 67.4 การศึกษา ไม่ได้รับการศึกษา 68 9.5 ระดับประถมศึกษา 302 42.3 ระดับมัธยมศึกษา/ อาชีวะ 232 32.5 ระดับมหาวิทยาลัย 204 28.6 มีบัตรประกันสุขภาพแบบใด บัตร 30 บาทหรือบัตรทอง 518 72.5 บัตรประกันสังคม 136 19.0 ไม่มีบัตรใดเลย 21 2.9 ระยะเวลาที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อ HIV เฉลี่ย = 8.5 ปี ปัจจุบันกำลังรับยาต้านเอชไอวีอยู่ 666 93.3 - รับยาต้านไวรัสมานาน เฉลี่ย = 6.4 ปี  25

26 ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี (1)
ตาราง 7: ระบุว่าตนเองเคยตัดสินใจไม่ไปรับการรักษาที่รพ.เพื่อรับบริการไม่ว่าจะเป็นบริการสุขภาพทั่วไปหรือบริการเอชไอวี สถานการณ์  ไม่ไปรพ.เพื่อรับบริการสุขภาพทั่วไปหรือบริการเอชไอวี (710) เหตุผล (N=203*) เกี่ยวกับ การตีตรา (กลัวถูกเปิดเผยสถานะ) (ได้รับการบริการที่ไม่เป็นมิตร) กังวลเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ ไม่เกี่ยวกับ (เช่น ค่าใช้จ่ายเวลา เป็นต้น ) % PLHIV 22.0% 50.0% 19.9% 18.6% 41.7% *คนหนึ่งสามารถตอบได้หลายเหตุผล ซึ่ง 203 เหตุผลมาจากคนตอบคำถามนี้ทั้งหมด 156 คน ดังนั้น % รวมทั้งหมดจึงเกิน 100% 26

27 ข้อค้นพบสำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ: ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี (2)
ตาราง 8: ระบุว่าตนเองเคยมีประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในรพ. ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (N=612) สถานการณ์ ถูกปฏิเสธที่จะให้การรักษา ได้รับบริการล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ได้รับบริการที่ด้อยคุณภาพกว่าผู้ป่วยรายอื่น ถูกละเมิดสิทธิ์ เช่น ถูกเปิดเผยสถานะโดยการทำเครื่องหมายที่เตียงหรือแฟ้มประวัติ หรือถูกบังคับให้ตรวจหาเชื้อฯก่อนการให้บริการ (ผ่าตัด) บุคลากรรพ.แสดงท่าทีกลัวหรือหลีกเลี่ยงที่จะให้การดูแลรักษาพยาบาล % PLHIV 10.6% 16.3% 23.7% 29.4% 7.4% *คนหนึ่งสามารถระบุได้หลายเหคุการณ์ 27

28 ข้อจำกัดของการศึกษา จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อย เนื่องจากเป็นเพียงการศึกษานำร่องเพื่อพัฒนา เครื่องมือ จึงไม่อาจเป็นตัวแทนภาพรวมของประเทศไทยได้ เนื่องจากเป็นการสำรวจการรับรู้หรือความคิดเห็นส่วนบุคคล ดังนั้นผลที่ได้ อาจเกิดจากอคติ หรือความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งบางครั้งการรับรู้หรือสิ่งที่เขา สังเกตเห็นอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การตีตราหรือเลือกปฏิบัติ เช่น เหตุผลทางการแพทย์ หรือการปฏิบัติต่อผู้ป่วยอื่นๆ เช่นเดียวกันไม่เฉพาะแต่ เขาเท่านั้น เป็นต้น แม้ว่าทีมเก็บข้อมูลได้พยายามยืนยันเรื่องการรักษาความลับอย่างเคร่งครัด บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนอาจให้ข้อมูลที่ไม่จริงนัก เนื่องจากกังวลว่า จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเขาหรือทำให้รพ.เสียชื่อเสียง และใน ทำนองเดียวกัน ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯบางส่วนอาจไม่ได้ให้ข้อมูลจริงเนื่องจาก เกรงว่าจะมีผลต่อการรักษาหรือการได้รับยาต้านที่รพ. 28

29 สรุปผลการศึกษานำร่อง
แบบสำรวจที่ใช้ในระดับนานาชาติสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของ ประเทศไทยได้ โดยสามารถปรับให้สั้นและกระชับขึ้น แต่ยังคงเนื้อหาประเด็น สำคัญเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติได้อย่างครอบคลุม เช่น ความกลัวการติด เชื้อ ทัศนคติต่อผู้อยุ่ร่วมกับเชื้อ พฤติกรรมการบริการที่แสดงถึงการตีตราและเลือก ปฏิบัติ เป็นต้น บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของไทยบางส่วน มีความกลัวต่อ การติดเชื้อเอชไอวี เช่น การใช้วิธีการป้องกันการติดเชื้อที่มากกว่ามาตรฐานซึ่งไม่ มีความจำเป็นเมื่อให้การบริการผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ โดยการแสดงออกเหล่านี้อาจ เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ หรือเพราะไม่เข้าใจว่าเป็นการตีตราและเลือกปฏิบัติ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของไทยบางส่วน มีทัศนคติทาง ลบต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจเป็นสิ่งผลักดันที่จะนำไปสู่พฤติกรรมการตี ตราและเลือกปฏิบัติได้ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีบางส่วน หลีกเลี่ยงไม่ไปรับบริการที่รพ.ด้วยเหตุผล ของการกลัวการถูกตีตราและเลือกปฏิบัติจากบุคลากรรพ. ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีบางส่วน มีประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการถูกละเมิดสิทธิ์ แม้จะมีสัดส่วนไม่มาก 29

30 ข้อเสนอแนะ ข้อมูลจากการศึกษานำร่องนี้ สามารถใช้ไปประกอบในการออกแบบวิธีการลดการตี ตราและเลือกปฏิบัติในรพ.หรือสถานบริการของไทยได้ การลดความกลัวการติดเชื้อและลดทัศนคติด้านลบต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อในบุคลากร รพ. ควรเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมหรือกระบวนการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ ในรพ.หรือสถานบริการสุขภาพของไทย การสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิผู้ป่วยในบุคลากรรพ. เป็นสิ่ง สำคัญที่จะช่วยลดหรือป้องกันการละเมิดสิทธิ์ผู้ป่วยหรือผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ สามารถนำเครื่องมือหรือวิธีการสำรวจที่พัฒนาขึ้นในโครงการนำร่องนี้ไปขยายผล เพื่อใช้ในพื้นที่อื่นๆของไทยได้ เนื่องจากได้ถูกปรับให้สอดคล้องกับบริบทของ ท้องถิ่นและของไทยแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามผล หรือความก้าวหน้าของการดำเนินการลดการตีตราที่จัดทำขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ถ้า มีบริบทเฉพาะพื้นที่จริงๆ ก็อาจต้องพิจารณาปรับให้เหมาะสมเป็นการณ์เฉพาะ 30

31


ดาวน์โหลด ppt โครงการวิจัยนำร่อง: โครงการสำรวจสถานการณ์การตีตราและ เลือกปฏิบัติประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวีหรือเอดส์(การศึกษาในหน่วยบริการสุขภาพ) ดร.นารีรัตน์ ผุดผ่อง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google