งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 พ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 นโยบายการจัดการศึกษาระดับ กระทรวง ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น

2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
กำหนดให้คนพิการจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสมอภาคกับคนทั่วไปในสังคม และให้คนพิการได้รับสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นที่เหมาะสมจากรัฐอีกด้วย รายละเอียดตามมาตราดังนี้ มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ 2

3 มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา 54 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

4 มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยาก ลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

5 พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ
พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 “การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับผู้ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ

6 มาตรา 38 ระบุให้ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล และส่งเสริม สนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว องค์กรในชุมชน ฯลฯ ให้สามารถจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

7 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
7

8 มาตรา 15 การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ จะกระทำมิได้

9 การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการด้วย

10 มาตรา 16 คนพิการที่ได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา 15 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำ หรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

11 ...และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

12 มาตรา 17 ในการใช้สิทธิตามมาตรา 16 คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ อาจขอให้องค์กรด้านคนพิการ เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้ มาตรา 17

13 พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 13

14 มาตรา 5 คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา ดังนี้
ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา  เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น

15  ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล

16 มาตรา 19 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรา 19

17 มาตรา 6 ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา 6

18 มาตรา 3 วรรค 5 “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน มาตรา 3

19 มาตรา 29 ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษ ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติมีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 29

20 มาตรา 7 ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการ เรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะคนพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา 7

21 มาตรา 8 ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระ การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใด มาตรา 8

22 ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย

23 มาตรา 9 ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มาตรา 9

24 มาตรา 10 เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 10

25 มาตรา 3 วรรค 9 “ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่ คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น

26 ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยนาย อิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ

27 ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ
ข้อ ๓ ให้กำหนดประเภทความพิการ ดังนี้ (๑) ความพิการทางการเห็น (๒) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย (๓) ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย (๔) ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก (๕) ความพิการทางสติปัญญา (๖) ความพิการทางการเรียนรู้

28 ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและออกใบรับรองความพิการที่ระบุประเภทความพิการตามข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๙ เพื่อประกอบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. ๒๕๕๐ เว้นแต่นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนจังหวัดแล้วแต่กรณี เห็นว่าบุคคลนั้นมีสภาพความพิการที่สามารถมองเห็นได้โดยประจักษ์จะไม่ต้องให้มีการตรวจวินิจฉัยก็ได้

29 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการฯ

30 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ครู” หมายความว่า บุคลากรซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนสอน และ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษ สูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในทุกระดับหรือหน่วยงานการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนที่มีคนพิการเข้าเรียนหรือที่พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ

31 ข้อ ๔ ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ดังต่อไปนี้ ได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่ละประเภท อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๒) ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ อย่างน้อยสามปีต่อครั้ง

32 (๓) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องทางด้านการศึกษาพิเศษหรือพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาพิเศษที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี (๔) ส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

33 ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การดำเนินการตามข้อ ๔ ให้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) การฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาตาม (๑) ของข้อ ๔ ต้องเป็นหลักสูตรกลางที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้ตามความเหมาะสมและมีลักษณะเฉพาะเพื่อคนพิการแต่ละประเภท และสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำหลักสูตรกลางดังกล่าวไปใช้การฝึกอบรมหรือพัฒนานั้น ในการนี้ หากคณะกรรมการเห็นว่าสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดได้กำหนดหลักสูตรขึ้นเองมีความเหมาะสม คณะกรรมการก็สามารถให้ความเห็นชอบและถือเป็นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมหรือพัฒนานั้นได้

34 (๒) การพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพตาม (๒) ของข้อ ๔ ต้องเป็นหลักสูตรซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกอบรมเป็นการเฉพาะ โดยหลักสูตรนั้นจะต้องมีลักษณะตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์รวมทั้งโครงสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดจนมีการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรนั้น

35 (๓) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี ตาม (๓)ของข้อ ๔ ต้องเป็นการศึกษาที่มีการกำหนดประเภทของทุน สาขาวิชาที่จะศึกษา สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ และระยะเวลาการศึกษา (๔) การส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ตาม (๔) ของข้อ ๔ ต้องมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าว

36 ข้อ ๖ การพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับหน่วยงาน สถาบัน หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ดังกล่าวสามารถนำไปจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานยิ่งขึ้น

37 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการฯ

38 ข้อ ๔ ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ข้อ ๕ ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา ๘ แห่ง พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ใน การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากสถานศึกษาใดมีข้อโต้แย้งหรือมี ปัญหาในทางปฏิบัติที่จำเป็น ให้สถานศึกษานั้นเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเป็นรายไป

39 ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้สถานศึกษาซึ่งได้รับคนพิการเข้าศึกษา มีการดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ จัดระบบหรือรูปแบบที่สนับสนุนการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจความถนัด และความจำเป็นพิเศษตามประเภทของคนพิการทางการศึกษา จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการสิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้

40 ข้อ ๗ ในการจัดทำหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา ให้สถานศึกษาและส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หรือตามที่สถานศึกษาเห็นสมควร

41 ข้อ ๘ ในกรณีที่คนพิการซึ่งมีอุปสรรคและมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับ ความช่วยเหลือในการเดินทางเพราะเหตุแห่งความพิการนั้น ให้สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดบริการสำหรับการเดินทางในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเงินอุดหนุนของสถานศึกษาไม่เพียงพอ ให้สถานศึกษาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหรือส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษานั้นได้

42 ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษแก่สถานศึกษา ทั้งนี้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ

43 ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

44 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.2545 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ ความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษาพ.ศ.2545 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ คนพิการหรือผู้ปกครองที่จะประสงค์ใช้สิทธิดังกล่าวจะต้องยื่นคำขอต่อสถานศึกษา และสถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan : IEP) เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการตามกระบวนการของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google