งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 รายเดือน จดหมายข่าว Food Safety ประจำเดือนนี้ ขอเสนอเรื่องที่ทำให้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มี หนังสือให้เขต ศูนย์ปฏิบัติการ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 รายเดือน จดหมายข่าว Food Safety ประจำเดือนนี้ ขอเสนอเรื่องที่ทำให้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มี หนังสือให้เขต ศูนย์ปฏิบัติการ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 รายเดือน จดหมายข่าว Food Safety ประจำเดือนนี้ ขอเสนอเรื่องที่ทำให้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มี หนังสือให้เขต ศูนย์ปฏิบัติการ และจังหวัด ชะลอโครงการส่งเสริมการ ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน ปี 2551 เนื่องจากประกาศของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอ และการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช สำหรับการส่งออกสินค้าผักและ ผลไม้สดไปสหภาพยุโรป พ. ศ. 2550 สาเหตุจากสินค้าเกษตรที่ส่งออกจากประเทศไทย โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ไปยังสหภาพยุโรปมีการตรวจพบ สารพิษตกค้าง การปนเปื้อนจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรจึงได้ออก ประกาศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว และส่งเสริมการส่งออก สินค้าเกษตร ทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้าเกษตรที่ ส่งออก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ดังนี้ 1. ผู้ประสงค์จะขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชสำหรับส่งออกสินค้าผัก และผลไม้สดไปยังสหภาพยุโรป ต้องจดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร 2. สินค้าผักและผลไม้สดที่ส่งออก ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และ มาจากโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการ ผลิตที่ดี (GMP) ของกรม วิชาการเกษตร จากประกาศดังกล่าว ทำให้กรมส่งเสริมการเกษตรต้องหัน กลับมาทบทวนกิจกรรม ภายใต้โครงการฯ ว่าสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ต้อง ปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติม กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งคงไม่นานที่จะทราบเรื่องนี้ และจะ ได้ดำเนินการ ตามโครงการต่อไป. สสข.5 สงขลา กำหนดการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ หลักสูตร การตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) พืช ระหว่างวันที่ 25-29 กุมภาพันธ์ 2551 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ( พืชสวน ) ผู้เข้าอบรม คือ เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด้าน GAP พืช จังหวัดละ 2 คน และศูนย์บริหาร ศัตรูพืช ศูนย์ละ 1 คน Hot New

2 การดำเนินการในกิจกรรมการนำเกษตรกรเข้าสู่ระบบ GAP ในปี 2550 ที่มีการทำ MOU ร่วมกันระหว่างกรมวิชาการ เกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร ในการรับรองแหล่งผลิตพืช และเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือ ระบบฐานข้อมูล GAP ซึ่งเป็น บทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมได้พัฒนาโปรแกรม ระบบ GAP ขึ้น แต่ยังเป็นระบบ Off Line ซึ่งพบว่ามีปัญหาใน ขั้นตอนถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง 2 หน่วยงาน ดังนั้นในปี 2551 กรม ส่งเสริมการเกษตรจึงได้พัฒนาระบบการจัดทำโปรแกรมฐานข้อมูล GAP เป็นระบบ On Line รายละเอียด มีดังนี้ 1. เป็นระบบบันทึกผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถลดขั้นตอน เวลา ประหยัดทรัพยากร รวดเร็ว และ เป็นปัจจุบัน โดยระบบจะสรุปผลการบันทึกข้อมูลเวลา 24.00 น. ของทุกวัน 2. สามารถออกรหัสแปลง และเลขทะเบียน Q ของทุกพืช ทั่วประเทศได้อัตโนมัติ และ ไม่ซ้ำซ้อน 3. สามารถบันทึกข้อมูลทุกขั้นตอน โดยผู้รับผิดชอบในแต่ ละขั้นตอน และบันทึกแบบ GAP 01 ด้วยเครื่องสแกน กล้องถ่ายรูปดิจิตอล หรือโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่ง ใช้เนื้อที่ไม่มากนัก ช่วยลดขั้นตอน การส่งเอกสาร และประหยัดทรัพยากร 4. การบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล จะทำได้เฉพาะบุคคลที่ รับผิดชอบเท่านั้น ทั้งในส่วนของกรม ส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ส่วนการเรียกดูข้อมูล สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด 5. ขั้นตอนการทำงาน เริ่มบันทึกจากแบบ GAP 01 การ ตรวจประเมินเบื้องต้น การตรวจรับรอง แปลง การรับรองของ CB และการให้ใบ Q 6. ชนิดพืชที่ขอ GAP จำนวน 208 ชนิด โดยใช้รหัสของ กรมส่งเสริมการเกษตร ขณะนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร กำลังทำการ ทดสอบระบบอยู่ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2551 ซึ่ง เขตจะจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายทะเบียน ผู้รับผิดชอบ โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้ มาตรฐาน และเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ในเดือนมีนาคม 2551 ที่ปรึกษา คณะทำงาน 1. นายสมนึก สะอาดใส 2. นางสาวศิริกุล ศรีแสง จันทร์ 3. นายสุพิศ จิตรภักดี 4. นายมิตร ยอดทอง 5. นายประถม มุสิกรักษ์ 6. นางทัศนีย์ ศุภกุล ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 2


ดาวน์โหลด ppt ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 รายเดือน จดหมายข่าว Food Safety ประจำเดือนนี้ ขอเสนอเรื่องที่ทำให้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มี หนังสือให้เขต ศูนย์ปฏิบัติการ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google