งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาวะการติดเชื้อหนอนพยาธิในลำไส้: กรณีศึกษาแบบย้อนหลังในจังหวัดอุบลราชธานี ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์1, 2, ปริญญาภรณ์ หรินทรสุทธิ2, ประสิทธิ์ เพ็งสา1, สมาพร สิริลาภ1,2,

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาวะการติดเชื้อหนอนพยาธิในลำไส้: กรณีศึกษาแบบย้อนหลังในจังหวัดอุบลราชธานี ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์1, 2, ปริญญาภรณ์ หรินทรสุทธิ2, ประสิทธิ์ เพ็งสา1, สมาพร สิริลาภ1,2,"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาวะการติดเชื้อหนอนพยาธิในลำไส้: กรณีศึกษาแบบย้อนหลังในจังหวัดอุบลราชธานี
ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์1, 2, ปริญญาภรณ์ หรินทรสุทธิ2, ประสิทธิ์ เพ็งสา1, สมาพร สิริลาภ1,2, สรญา แก้วพิทูลย์1, 2 1วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข, 2โครงการบริการตรวจหนอนพยาธิในลำไส้ในประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลักการและเหตุผล: โรคหนอนพยาธิในลำไส้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา ประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อพยาธิไส้เดือน 1,000 ล้านคน พยาธิปากขอ 730 ล้านคน พยาธิแส้ม้า 500 ล้านคน พยาธิเส้นด้าย 200 ล้านคน พยาธิใบไม้ลำไส้ และพยาธิใบไม้ตับ ประมาณ 21 ล้านคน (WHO, 1997; Crompton, 1999) อัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิลำไส้รวมทั้งพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2524, 2534, 2539 และ 2544 คิดเป็นร้อยละ 54.7, 41.7, 35.0 และ 22.5 จำแนกตามรายเขตสาธารณสุข ในเขต 7 ซึ่งประกอบด้วย อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีษะเกษ และยโสธร คิดเป็นร้อยละ 26.2 (Jongsuksuntigul, 2002) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะการณ์ติดเชื้อหนอนพยาธิจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการวางแผนควบคุมและป้องกัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะอัตราการติดเชื้อของหนอนพยาธิในลำไส้ในประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) สถานที่ทำการศึกษา: พื้นที่ 25 อำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานี ดังรูปที่ 1 วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากโปรแกรมตรวจเช็คสุขภาพประจำปี (Health Check Program) ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 – 22 มิถุนายน 2550 ซึ่งรายงานโดยเจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน และหน่วยเคลื่อนที่ต่างๆ จาก 25 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี และได้รายงานผลการตรวจสุขภาพมายังสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ภาวะการติดเชื้อออกเป็นรายอำเภอ อัตราการติดเชื้อหนอนพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆโดยแบ่งระดับความถี่ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1.ไม่เคยกิน 2. นานๆ กินครั้ง 3. กินบ่อยๆ หรือกินประจำ ผลการศึกษา: ข้อมูลตรวจเช็คสุขภาพจำแนกตามแหล่งที่ส่งมา ดังนี้ สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยเคลื่อนที่ต่างๆ และโรงพยาบาล จำนวนประชาชนที่เข้ารับการตรวจหนอนพยาธิ 112,320 ราย คิดเป็นร้อยละ ของประชากรทั้งหมด เป็นชายและหญิงร้อยละ และ ภาวะการณ์ติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดต่างๆ ดังรูปที่ 2 ผลการตรวจหนอนพยาธิพบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 8.36 เป็นชายและหญิง 4.67 และ 3.69 ภาวะการณ์ติดพยาธิจำแนกตามอำเภอ ดังรูปที่ 3 การศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบ ๆ ประชาชนตอบแบบสอบถาม ดังนี้ ไม่เคยกิน ร้อยละ นานๆ กินครั้ง ร้อยละ กินบ่อยๆ หรือกินประจำ ร้อยละ 1.44 ตามลำดับ สรุป: รายงานนี้แสดงถึงภาวะติดเชื้อหนอนพยาธิในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีล่าสุดนับจากปี 2544 เป็นต้นมา และยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งพบอัตราการติดเชื้อในทุกอำเภอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องวางแผนควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ติดเชื้อพยาธิสตรองจิลอยดีส พยาธิปากขอ และพยาธิใบไม้ตับ นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลสำคัญในการทำวิจัยต่อไป เอกสารอ้างอิง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. โปรแกรมตรวจเช็คสุขภาพ (1 ต.ค มิ.ย. 2550) Cromptom DTW How much human helminthiasis is there in the world?. J Parasitol, 85: Jongsuksuntigul P Epidemiology of opisthorchiasis and national control program in Thailand: in proceeding of parasitic infection in northeast Thailand, April 12-14, 2002, Sofitel Hotel, Khon Kaen, Thailand. World Health Organization. Division of control of Tropical Diseases. Progress report Geneva: WHO, 1997 รูปที่ 1 แสดงพื้นที่ที่เก็บตัวอย่าง รูปที่ 2 แสดงอัตราการติดเชื้อหนอนพยาธิชนิดต่างๆ รูปที่ 3 แสดงอัตราการติดเชื้อหนอนพยาธิใน 25 อำเภอ จ.อุบลราชธานี งานวิจัยนี้ได้รับงบสนับสนุนในการนำเสนอผลงานโดย ฝ่ายวิจัย วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2 Dr.Soraya Kaewpitoon,MD Conclusion and Discussion
Prevalence of Metabolic Syndrome In Ubonrajathanee University Population Dr.Soraya Kaewpitoon,MD Primary care unit, College of Medicine and Public health, Ubon Rajathanee University Ubonrajathanee 34190, Thailand Abstract A survey study of population aged 20 years and over was conducted in March There were 1,008 persons age range 20 to 57 years. The prevalence of metabolic syndrome using WHO and International Diabetes Federation definition was 6.2 and 18.7%, respectively. This prevalence was high compared with the previous study in Thailand for adults above 20 years of age. Women had a higher prevalence than men. Introduction Conclusion and Discussion The prevalence of obesity has been increased rapidly and major adverse outcome of obesity is a metabolic syndrome accepted as the risk of cardiovascular diseases in adult. The prevalence of metabolic syndrome was high. The interventions in prevention of the metabolic syndrome should be started for overweight in thailand. Material and Method A survey of population aged 20 years and over was conducted in March using criteria of metabolic syndrome by WHO and IDF criteria. The measurements based on body mass index (BMI), waist circumference and blood pressure Results There were 1,008 persons included in the present study, age range from 20 to 60 years. The prevalence of metabolic syndrome using World Health Organization (WHO) evaluation and International Diabetes Federation (IDF) definition was 6.2 and 18.7%, respectively. This prevalence was high compared with the previous study in Thailand. Women had a higher prevalence than men. The authors should search for Thai cut-off values of abdominal obesity in adults to have the correct data for public health plan and management because there are variations among the different background and countries. Figure 1 Population of the study All subjects who participated in the study, and all health personnel who assisted in this survey. This research was supported by the research affair, College of Medicine and Public Health Acknowledgements Figure 2 The prevalence of metabolic syndrome using World Health Organization (WHO) evaluation and International Diabetes Federation (IDF) definition


ดาวน์โหลด ppt ภาวะการติดเชื้อหนอนพยาธิในลำไส้: กรณีศึกษาแบบย้อนหลังในจังหวัดอุบลราชธานี ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์1, 2, ปริญญาภรณ์ หรินทรสุทธิ2, ประสิทธิ์ เพ็งสา1, สมาพร สิริลาภ1,2,

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google