งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ครีมกันแดด (Sunscreen).

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ครีมกันแดด (Sunscreen)."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ครีมกันแดด (Sunscreen)

2 ครีมกันแดด ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ สารเคมีที่มีฤทธิ์ ช่วยปกป้องผิวหนังจากแสงแดด

3 รังสียูวี (Ultraviolet rays)
  รังสียูวี (Ultraviolet rays) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความ ยาวคลื่นอยู่ที่ nm เป็นตัวที่เกี่ยวข้องกับพวกเรามากที่สุด ในชีวิตประจำวัน เพราะมันสามารถทะลวงผ่านชั้นผิวหนังของเรา ได้   เป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ตามมา เช่น ผิวหมองคล้ำ ริ้วรอย ตีนกา มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น        

4 รังสียูวี(Ultraviolet rays)
รังสี UV มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ               1.รังสี UVA( ความยาวคลื่น 320 – 400 mm ) สามารถลอดผ่านกระจก และเมฆ เข้าถึงภายในชั้นผิว โดยจะ กระตุ้นให้เกิดการสร้างเมลานิน ทำให้ผิวคล้ำแดด แต่ไม่มี อาการแสบและเป็นสาเหตุให้เกิดรอยเหี่ยวย่น หรือผิวหย่อน ยาน                  

5 รังสียูวี (Ultraviolet rays)
  2.รังสี UVB (ความยาวคลื่น mm ) มี พลังงานมากกว่ารังสี UVA ดังนั้นมันจะทะลุทะลวงเข้าไป ยังชั้นผิวหนังแท้ ทำให้เกิดการเผาไหม้ หรือเรียกว่า Sunburn                   

6 รังสียูวี (Ultraviolet rays)
3.รังสี UVC : ( ความยาวคลื่น mm) รังสีชนิดนี้จะเจอน้อย เนื่องจากถูกดูดซับโดยโอโซนในชั้นบรรยากาศ ไม่effect กับผิวหนัง

7 ประเภทครีมกันแดด ครีมกันแดดมีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้คือ           1. Chemical Sunscreen           เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่ปกป้อง แสงแดด โดยการดูดซับรังสีแสงแดดเข้าไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดน แดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็เสื่อมสภาพ นั่นคือสาเหตุที่เราจึงต้อง ทาครีมกันแดดทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีปริมาณมาก อาจเกิดการ ระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย            

8 ประเภทครีมกันแดด  2. Physical Sunscreen           เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถสะท้อน รังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผล ระคายเคืองต่อผิวหนัง น้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่มีข้อด้อยคือ ครีมกันแดดประเภทนี้ไม่สามารถให้ SPF ที่สูงๆ ได้ และเมื่อ ทาบนผิวหนังแล้ว หน้าจะดูขาวมาก เนื่องจากสารจะเคลือบบน ผิวหนังชั้นบน เพื่อรอแสงกระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย

9 ประเภทครีมกันแดด  3. แบบผสม Chemical-Physical Sunscreen           เป็นการเสริมข้อดี ลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคาย เคืองต่อผิวหนัง จากสารประเภทสารเคมี และลดความขาวเมื่อทาครีม และเสริมประสิทธิภาพ ในการป้องกันแสงแดดร่วม

10 ค่า SPF & PA คืออะไร ? 1. SPF หรือ Sun Protection Factor เป็นค่าระดับการ ปกป้องผิวจากรังสี UVB หรือ จำนวนเท่าของเวลาที่ผิวทน ต่อรังสีอัลตราไวโอเลตนี้ได้หลังจากทาครีมกันแดดแล้ว ปกติผิวของเราจะรับแสงแดดได้โดยปราศจากครีมกันแดด ได้ประมาณ นาที  ถ้าครีมกันแดดระบุไว้ว่า SPF30 ก็จะหมายถึง เรา สามารถอยู่กลางแดดได้ประมาณ 30×30 = 900 นาที หรือ 15 ชั่วโมง โดยที่ผิวไม่ไหม้แดง 

11 ค่า SPF & PA คืออะไร ? 2. PA หรือ Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่ เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซึมของรังสี UVA ดังนั้นจึง ถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ PA+ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA PA++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง PA+++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด

12 ส่วนผสมในครีมกันแดด ส่วนผสมในครีมกันแดด สามารถแบ่งตามสารออกฤทธิ์ได้ ดังนี้           1. สารออกฤทธิ์กลุ่มสารเคมีที่ป้องกัน UVA ได้แก่ Oxybenzone, Sulisobenzone, Dioxybenzone, Avobenzone, Merxoryl sx           

13 ส่วนผสมในครีมกันแดด 2. สารออกฤทธิ์กลุ่มสารเคมีที่ปัองกัน UVB ได้แก่ Aminobenzoic acid (PABA), Homosalate, Cinoxate, Octyl methoxycinnamate, Octyl salicylate, Padimate O, Phenylbenzimidazole sulfonic acid, Trolamine salicylate, Methyl anthralinate          

14 ส่วนผสมในครีมกันแดด  3. สารออกฤทธิ์กลุ่ม Physical เป็นสารกันแดดที่สะท้อน แสงที่ป้องกันทั้ง UVA และ UVB ได้แก่ Titanium dioxide, Zinc Oxide

15 วิธีเลือกใช้ครีมกันแดด
เลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับผิว ของตนเองเพื่อให้มี ประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะผิวแต่ละชนิดเหมาะกับครีมกันแดด แตกต่างกัน - ผิวขาวแบบชาวยุโรป เป็นผิวบางมาก เกิดผิวไหม้ง่ายมากหลัง สัมผัสกับแสงแดด จึงจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ๆ (SPF 45-60) - ผิวขาวอมชมพูในคนเอเชีย ผิวชนิดนี้บอบบางมาก เกิดผิวไหม้ได้ ไว เกิดผิวสีแทนได้ ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ค่อนข้างสูง (SPF )

16 วิธีเลือกใช้ครีมกันแดด
- ผิวขาวเหลืองในคนเอเชีย ผิวชนิดนี้บางแต่ยังมีเมลานินอยู่บ้างจึงสามารถทน ต่อแสงแดด การเกิดผิวหนังร้อนแดงได้ช้ากว่าผิว 2 ชนิดแรก ควรเลือกครีมกัน แดดชนิดที่มีค่า SPF ปานกลาง (SPF30) - ผิวคล้ำ มีเมลานินสูง ผิวสีน้ำตาลไม่เกิดการไหม้ ไม่เกิดสีแทน ใช้ครีมกัน แดดที่มี SPF ต่ำ (SPF 15)

17 จัดทำโดย นางสาวพิมชนก ไคลมี คณะสาธารณสุขศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt ครีมกันแดด (Sunscreen).

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google