งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สมุทัย ธรรมที่ควรละ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สมุทัย ธรรมที่ควรละ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สมุทัย ธรรมที่ควรละ

2 สมุทัย ธรรมที่ควรละ

3 หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในหัวข้อ สมุทัย : ธรรมที่ควรละ ของอริยสัจ ๔ มีอยู่หลายหัวข้อ ซึ่งได้แก่ ธรรมนิยาม อุปาทาน ๔ และนิวรณ์ ๕

4 ธรรมนิยาม “นิยาม” หมายถึง ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ มี ๕ ประการ อุตุนิยาม พีชนิยาม นิยาม ๕ กรรมนิยาม จิตตนิยาม ธรรมนิยาม

5 อุตุนิยาม (Physical Laws)
หมายถึง กฎธรรมชาติ ที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่นฤดูกาล อุณหภูมิ ดินฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดของโลก และจักรวาลก็เป็นไป ตามกฎธรรมชาติข้อนี้ เช่นเดียวกับกฎทางฟิสิกส์ทั้งหมด พีชนิยาม (Biological Laws) หมายถึง กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ การสืบพันธุ์หรือพันธุกรรม (DNA) ก็จัดอยู่ในพีชนิยาม เช่นเดียวกับกฎทฤษฎีทางชีววิทยาทั้งหมด

6 จิตนิยาม (Psychological Laws)
หมายถึง กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต เช่น การเกิดดับของจิต การรับอารมณ์ของจิต องค์ประกอบของจิต (เจตสิก) กรรมนิยาม (Moral Laws) หมายถึง กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ หรือกฎแห่งกรรม ธรรมนิยาม (Causal Laws) หมายถึง กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็น เหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากล กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้

7 เหตุ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เข้ากระทบ
ธรรมนิยาม มีกฎอยู่ว่า “ทุกสิ่งอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น โดยสิ่งหนึ่ง เป็นเหตุ อีกสิ่งหนึ่งเป็นผล” คือผลทั้งหลายย่อมมาจากเหตุทั้งสิ้น หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของธรรมนิยาม คือ ปฏิจจสมุปบาท (หลักอิทัปปัจจยตา) “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับไปด้วย ” เป็นปัจจัย จึงมี สำรวม ไม่ประมาท เหตุ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เข้ากระทบ เข้าใจ หยุดแค่เวทนาด้วยสติรู้ทัน เข้าใจสภาวธรรม หรือหยุดตัณหา

8 ปฏิจจสมุปปบาท (อิทัปปัจจยตา) มี ๑๒ ประการดังที่กล่าวไว้ในวงจรชีวิต ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ พวกเรียกว่า ไตรวัฏ หรือ วัฏฏะ ๓ ๑) กิเลสวัฏ (กิเลส) (Defilements) เป็นตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒) กรรมวัฏ (กรรม) (Karma or Action) เป็นกระบวนการกระทำหรือปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่างๆ ประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ ๓) วิบากวัฏ (วิบาก) (Results) คือสภาพชีวิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของการกระทำและกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้าง ให้เกิดกิเลสต่อไปอีก ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สาฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น

9 “ผู้ใดเห็น (เข้าใจ) ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม
การที่พระพุทธเจ้าได้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระองค์ได้ตรัสรู้ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นเป็นหลักธรรมสำคัญ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดเห็น (เข้าใจ) ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั่นย่อมเห็นเรา“

10 อุปาทาน ๔ “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ ประการ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน อุปาทาน ๔ สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน

11 กามุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในกาม
คือ การยึดมั่นพึงพอใจติดพันในกาม ในสิ่งที่อยากได้หรือไม่อยากได้ ในกามหรือทางโลกๆ เช่นใน รูป, รส, กลิ่น, เสียง, โผฏฐัพพะ(สัมผัส)ที่น่าใคร่ น่าพอใจ ความปรารถนา ทิฏฐุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ หรือทฤษฎี  คือ การยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสในความเชื่อ, ความเข้าใจ(ทิฏฐิ), ทฤษฎีความคิด, ลัทธิของตัวของตน. อันมักมีความอยากให้เป็นไป หรือไม่อยากให้เป็นไปตามที่ตนเชื่อ, ตามที่ตนยึดถือ  ถ้าผิดไปจากที่ตนพึงพอใจยึดถือหรือเข้าใจ ก็จะไม่เห็นด้วยหรือต่อต้าน โดยไม่รู้ถูกรู้ผิดตามความเป็นจริงของธรรม

12 สีลัพพตุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในศีลและพรต
คือ การยึดมั่นถือมั่น ยินดียินร้ายในศีล(ข้อบังคับ) และพรต(ข้อปฏิบัติ) อันมักเติมแต่งด้วยกิเลสตัณหาอย่างงมงาย เช่น การทรมานกายเพื่อให้บรรลุธรรม, เชื่อว่าขลังว่าศักสิทธิ์,  เชื่อว่าปฏิบัติสมาธิอย่างเดียวแล้วปัญญาบรรลุมรรคผลจักเกิดขึ้นเอง, ทําบุญเพื่อบนบานหวังความสุข, การบนบาน ฯลฯ.  ล้วนเกิดแต่อวิชชา คือยังไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง  จึงไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆก็เพื่อเป็นที่ยึด ที่วางจิต

13 อัตตวาทุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในวาทะว่าเป็นของตน
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่านี่เป็นตัวตน นี่เรา นั่นของเรา โดยไม่ได้มองสภาพเป็นจริงที่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง รวมถึงตัวตนนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาสัมพันธ์กัน ไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง อุปาทาน  เป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยที่บุคคลเพิ่มเชื้อเข้าไปให้กับตนต้องอุบัติในภพต่าง  ๆ ตามอำนาจของกิเลสและกรรม และที่ไม่ควรลืมก็คือ  อวิชชา ตัณหา กับอุปาทานนั้นเป็นพวกเดียวกัน คือเป็นกิเลสด้วยกันความเกี่ยวข้องนั้น พึงเห็นได้จากการที่สัตว์ทั้งหลายไม่มีความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลายเพราะอวิชชานั้นเอง ทำให้จิตของเขามีความดิ้นรนทะยานอยากเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน บุคคลยิ่งอยากยิ่งยึดมากเท่าไรเหตุผลในเรื่องนั้น ๆ  ก็จะอ่อนลงด้วยเหตุนี้ อุปาทานจึงเป็นปหาตัพพธรรม คือธรรมที่ควรละ เช่นเดียวกับปัจจุบันคือ อวิชชา ตัณหา สังขาร ภพ

14 นิวรณ์ ๕ “นิวรณ์” หมายถึง สิ่งที่ปิดกั้นจิตคนไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม หรือไม่ให้ได้รับความดีได้อย่างเต็มที่ มี ๕ ประการ พยาบาท กามฉันทะ นิวรณ์ ๕ ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

15 กามฉันทะ คือ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น) พยาบาท คือ ความคิดด้วยความอาฆาต ต้องการแก้แค้น ความคิดโกรธ ความอยากทำลายล้างคนหรือสัตว์ที่ทำให้โกรธ ความไม่พอใจ วิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

16 ถีนมิทธะ ถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย มิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะ ทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส มิทธะ ถีนะ

17 นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน

18 สยองสุดๆ!! หน้าเละเพราะเสพติดศัลยกรรมพลาสติก
ตัวอย่างเหตุการณ์ สยองสุดๆ!! หน้าเละเพราะเสพติดศัลยกรรมพลาสติก อุปาทาน ๔ กามุปาทาน

19 วอนเมตตา ครูสาวเหยื่ออารมณ์ผัวเก่า จุดไฟเผาทั้งเป็นสาหัส
ตัวอย่างเหตุการณ์ วอนเมตตา ครูสาวเหยื่ออารมณ์ผัวเก่า จุดไฟเผาทั้งเป็นสาหัส นิวรณ์ ๕ พยาบาท

20 ตัวอย่างเหตุการณ์ ระทึกขวัญวันไหว้ครูนศ.วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรีของขึ้น
อุปาทาน ๔ สีลัพพตุปาทาน


ดาวน์โหลด ppt สมุทัย ธรรมที่ควรละ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google