งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สาขา วาริชศาสตร์ คณะ วิทยาศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สาขา วาริชศาสตร์ คณะ วิทยาศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สาขา วาริชศาสตร์ คณะ วิทยาศาสตร์
ปลาหมอสี จัดทำโดย นางสาว เยาวพา พื้นผา สาขา วาริชศาสตร์ คณะ วิทยาศาสตร์

2 ความรู้เกี่ยวกับปลาหมอสี
เป็นปลาที่กำลังเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาบ้านเรา แรกทีเดียวก่อนที่จะเข้ามาสู่ตลาดเอเชียนั้น ได้รับความ สนใจและนิยมเลี้ยงกันในแถบอเมริกา ยุโรปกันก่อนแล้ว เพราะเป็นปลาตู้ที่เลี้ยงง่าย มีสีสันโดดเด่น สวยงาม และแปลกตาของนักเลี้ยงปลาสวยงาม

3 แหล่งกำเนิด ปลาหมอสี มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ตามลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ มีนิสัยค่อนข้างรักถิ่นฐาน หากมีปลาอื่นบุกรุกเข้ามาในเขตของมัน มันก็จะขับไล่ผู้บุกรุกออกไป

4 อาหาร ปลาหมอสี ควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด ควรเลี้ยงอาหารปลากินพืช พวกปลากินสัตว์ เช่น กุ้ง ไรน้ำเค็ม หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยง กับอาหารสำเร็จรูปที่ใช้โดยทั่วไปควรมีส่วน ประกอบของกากถั่ว กุ้ง สาหร่ายเกลียวถ้าให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่มีไข่และน้ำเชื้อ

5 ธรรมชาติของปลาหมอสี เป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารนับสิบวัน หากท่านไม่อยู่บ้าน 5 – 10 วัน ตอนที่แม่ปลาที่ฟักไข่ด้วยปาก ต้องอมไข่จนไข่ฟักเป็นตัว และอมต่อไปจนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำออกจากปาก เพื่อหากินอาหารต่อไป ซึ่งใช้เวลาอีก วัน ในระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหารใดๆ ทั้งสิ้น

6 การเพาะพันธุ์ การผสมพันธุ์นั้นเมื่อตัวเมียเริ่มวางไข่ตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ ปลาหมอสีส่วนเมื่อตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อเสร็จปลาตัวเมียก็จะอมไข่ไว้และทำเช่นนี้เรื่อยๆจนไข่หมด ซึ่งปลาหมอสีจะอมไข่ได้ครั้งละประมาณ ฟอง เมื่อครบ 15 วัน ลูกปลาจะเริ่มฟักเป็นตัวระยะนี้เราสามารถนำแม่ปลามาเปิดปากเพื่อนำลูกปลาออกมาแล้วนำไปอนุบาลต่อไป

7 1. ปลาหมอสีสกุลแอริสโทโครมิส
สายพันธุ์ ปลาหมอสี 1. ปลาหมอสีสกุลแอริสโทโครมิส ลักษณะของจะงอยปากที่เป็นสันนูนขึ้นมาลักษณะลำตัวยาวแบนข้างหัวโต ตามีขนาดปานกลางคอดหางสั้น ครีบกระโดงที่ส่วนปลายเป็นก้านครีบอ่อนจะยกสูงขึ้นจากแนวของส่วนที่เป็นก้าน ครีบเดี่ยว ปลายกระโดงมนและยาวจรดโคนหาง ครีบอกและตะเกียบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดใหญ่ ปลายครีบเกือบตัดจุดเด่นคือในระยะโตเต็มวัยมีหัวสีฟ้าคราม ลำตัวสีน้ำเงินแถบสีดำ ขอบเกล็ดสีดำ ครีบกระโดงส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยวสีฟ้า ครีบก้นสีเหลือง มีจุดไข่สีฟ้า ตะเกียบสีเหลืองขอบฟ้าครีบอกเหลืองใส

8 2.ปลาหมอสีสกุลออโลโนคารา ลำตัวยาวเรียว หัวมีขนาดปานกลางได้สัดส่วนกับลำตัว ตาโตและโปน ช่วงตาห่างปาเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางยาวเรียว ครีบกระโดงมีปลายเรียวยาว ส่วนปลายสุดของกระโดยเกือบจรดปลายหาง ครีบหางเว้า ครีบก้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตะเกียบใหญ่กว่าครีบอกและปลายตะเกียบยาวเลยจุด เริ่มของครีบหาง ลักษณะเด่นของมาลาวีเหลือง พื้นลำตัวมีสีเหลืองและแถบสีน้ำเงินขวางลำตัว 5-7 แถบ แก้มสีน้ำเงิน กระโดงสีเหลือง มาลาวีเหลืองเป็นปลาขนาดเล็ก ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้กินสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติเป็นอาหารการผสมพันธุ์โดยตัวเมียอมไข่ ส่วนการเลี้ยง ผู้เลี้ยงจะให้อาหารสำเร็จรูป

9 3. ปลาหมอสีสกุลลาบิโอโทรเฟียส ที่ปลายจะงอยปากที่ยืนล้ำเลยออกไปจากริม ฝีปากบนลักษณะคล้ายปลายจมูกที่โด่งปลาสกุลนี้มีเพียง 2 ชนิด หมอปากโลมาตัวอ้วนห้าสี ลำตัวสีเหลืองส้มและมีจุดดำกระจายทั่วไป นัยน์ตาไม่มีสีแดงและมีจุดไข่ที่ครีบก้น หมอปากโลมาตัวผอม มีลำตัวสั้นและผอมกว่าหมอปากโลมาตัวอ้วน แต่จะงอยปากลาดเรียวแหลมกว่า มีสีเหลืองสนิมอยู่ในแนวสันหลัง ส่วนบนของข้างลำตัว

10 4.ปลาหมอสีสกุลโคพาไดโครมิส
สมาชิกของปลาสกุลนี้รูปร่างแตกต่าง กันไปตามชนิด ในช่วงนอกฤดูสมพันธุ์วางไข่ การหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ อาหารหลัก คือ แพลก์งตอนพืชและแพลก์งตอนสัตว์ ดังนั้น ปากของมันจึงพัฒนาให้เหมาะสมต่อการจับอาหารที่มีขาดเล็ก โดยริมฝีปากบนและล่างเชื่อมติดกันมีลักษณะคล้ายท่อ ซึ่งสามารถยืดและหดได้ ชนิดปลาในสกุลนี้ อาทิ หมอบอร์เลยี คาดันโก จุดเด่นของปลาหมอบอร์เลยี อยู่ที่ครีบตะเกียบที่มีปลายยาวเรียวเป็นสายรยางค์ ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเว้าไม่ลึก ครีบหูบางและโปร่งใสจนเห็นก้านครีบชัดเจน ลักษณะของสีแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่อยู่อาศัย

11 หลักทั่วไปใน การเลี้ยง ปลาหมอสี
1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็ว ควรพักน้ำประปา ไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้ 2. ใช้เครื่องกรองน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้ 3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้

12 4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มี ลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี 5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้ น้ำก็ควรจะพักไว้ในถัง หรือ ตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้

13 6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำ เพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยน น้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่ง ชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขต อันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก

14 จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt สาขา วาริชศาสตร์ คณะ วิทยาศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google